星期三, 十一月 30, 2011

Winitchai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 33/442/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สูตรที่ ๙

[๓๓๐] ๘๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มี
วิญญาณจึงเกิดขึ้น ไม่มีวิญญาณไม่เกิดขึ้น เพราะละวิญญาณนั้นเสีย ธรรม
ที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้.
จบสูตรที่ ๙

สูตรที่ ๑๐

[๓๓๑] ๘๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มี
สังขตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ไม่มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ไม่เกิดขึ้น
เพราะละสังขตธรรมนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอาทิผิด อักขระอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วย
ประการดังนี้.
จบสนิมิตตวรรคที่ ๓

สนิมิตตวรรคที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๒๒) มีวินิจฉัยอาทิผิด ดังต่อไปนี้.
บทว่า สนิมิตฺตา แปลว่า มีเหตุ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒ เป็นต้น (ข้อ ๓๒๓-๓๒๗)

แม้ในสูตรที่ ๒ เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. ก็บททั้งหมด คือ นิทาน
เหตุ สังขาร ปัจจัย รูป เหล่านี้ เป็นไวพจน์ของ การณะ ทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒

๑. วรรคที่ ๓ มี ๑๐ สูตร เป็นสูตรสั้น ๆ จึงรวมอรรถกถาไว้ติดต่อกัน โดยลงเลขข้อสูตร
กำกับไว้ด้วย.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十一月 27, 2011

Thommanat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 35/517/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง
ด้วยหู...ดมกลิ่นด้วยจมูก.. .ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คือ อภิชฌาและโทมนัสอาทิผิด ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวม
ในมนินทรีย์ เธอประกอบด้วยอินทรียสังวรอันเป็นอริยะ เช่นนี้ ย่อมได้
เสวยสุขอัน บริสุทธิ์ไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน เธอย่อมทำความรู้สึกตัวในการ
ก้าวไป ในการถอยกลับ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการแล ในการเหลียว ย่อม
ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ย่อมทำความรู้สึกตัวในการ
ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ย่อมทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่มการเคี้ยว
การลิ้ม ย่อมทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว
ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น ความนิ่ง เธอประกอบด้วย
ศีลขันธ์ อินทรียสังวร และสติสัมปชัญญะ อันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมเสพ-
เสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ
ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้ง
กายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละความโลภในโลก มีใจปราศจากความ
โลภอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความโลภ ละความประทุษร้าย คือพยาบาท
ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูล แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อม
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ พยาบาท ละถีนมิทธะแล้ว มี
ความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติ มีสัมปชัญญะ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้าม
วิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 十一月 26, 2011

Chat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 65/664/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
กายวิเวกเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอัน
สงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏอาทิผิด อักขระ ที่แจ้ง
ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดกายอยู่ คือ เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว
นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งอยู่ในที่หลีกเร้น
ผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวไปอยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ
ประพฤติรักษา เป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า กายวิเวก.
จิตตวิเวกเป็นไฉน ? ภิกษุเข้าปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์. เข้า
ทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกและวิจาร. เข้าตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ.
เข้าจตุตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์. เข้าอากาสานัญจายตนฌาน มี
จิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆอาทิผิด อักขระสัญญา นานัตตสัญญา. เข้าวิญญาณัญจาย-
ตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา. เข้าอากิญจัญญายตนฌาน
มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา. เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มี
จิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา. เมื่อเป็นพระโสดาบัน มีจิตสงัดจาก
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และ
จากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น. เป็นพระสก-
ทาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย
ปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราค-
สังโยชน์เป็นต้นนั้น. เป็นพระอนาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์
ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยอย่างละเอียด และจากกิเลสที่
ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น. เป็น
พระอรหันต์ มีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 十一月 23, 2011

Lakunathaka

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 44/660/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
จูฬวรรคที่ ๗

๑. ปฐมภัททิยสูตร

ว่าด้วยผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว

[ ๑๔๗ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน
พระสารีบุตร ชี้แจงให้ท่านพระลกุณฐกภัททิยะเห็นแจ้ง ให้สมาทาน
ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถาโดยอเนกปริยาย ครั้งนั้นแล เมื่อ
ท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้ท่านพระลกุณฐกอาทิผิด อักขระภัททิยะให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาโดยอเนกปริยาย จิตของท่านพระลกุณ-
ฐกภัททิยะหลุดพ้นแล้วจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ทรงเห็นท่านพระลกุณฐกภัททิยะอาทิผิด อักขระผู้อันท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้เห็นแจ้ง
ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาโดยอเนกปริยาย จิตของ
ท่านพระลกุณฐกภัททิยะหลุดพ้นแล้วจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วในสิ่งทั้งปวงในเบื้องบนใน
เบื้องต่ำ ไม่ตามเห็นว่า เราเป็นนี้ บุคคลพ้นวิเศษ
แล้วอย่างนี้ ข้ามได้แล้วซึ่งโอฆะที่ตนยังไม่เคยข้าม
เพื่อความไม่เกิดอีก.
จบปฐมภัททิยสูตรที่ ๑
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 十一月 22, 2011

Phatthiya

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 51/104/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในภพดุสิต ดำรงอยู่ในดุสิตพิภพนั้นจน
ตลอดอายุ แต่นั้นก็ท่องเที่ยววนไปเวียนมาอยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น (เกิด)
เป็นเศรษฐี มีทรัพย์มาก ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
วิปัสสี ยังภิกษุสงฆ์ ๖๘,๐๐๐ ให้ฉันภัตตาหาร แล้วให้ครองไตรจีวร.
เขาบำเพ็ญกุศลเป็นอันมากอย่างนี้แล้ว บังเกิดในเทวโลก ดำรงอยู่
ในเทวโลกนั้นจนตลอดอายุ จุติจากเทวโลกนั้นแล้วบังเกิดในมนุษย์ เมื่อโลก
ว่างจากพระพุทธเจ้า ก็บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า ประมาณ ๕๐๐ ด้วยปัจจัย
๔ จุติจากมนุษยโลกแล้ว บังเกิดในราชตระกูล สืบราชสมบัติมาโดยลำดับ
บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า (ของพระองค์) ผู้บรรลุปัจเจกโพธิญาณดำรงอยู่แล้ว
เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เก็บพระธาตุมาก่อพระเจดีย์บูชา เขา
กระทำบุญนั้น ๆ ไว้ในภพนั้น ๆ อย่างนี้แล้ว เกิดเป็นบุตรคนเดียวของ
ภัททิยอาทิผิด เศรษฐี ผู้มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในภัทอาทิผิด อักขระทิยนคร ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้
มีนามว่า ภัททชิ ได้ยินมาว่า อิสริยสมบัติ โภคสมบัติ และบริวารสมบัติ
เป็นต้นของท่าน ได้มีเหมือนของพระโพธิสัตว์ในภพสุดท้าย.
ในครั้งนั้น พระศาสดาทรงจำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถี เสด็จไป
ภัททิยนคร พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เพื่อจะทรงสงเคราะห์ภัททชิกุมาร
ทรงคอยความแก่กล้าแห่งญาณ ของภัททชิกุมาร จึงประทับอยู่ ณ ชาติยาวัน.
แม้ภัททชิกุมาร นั่งอยู่บนปราสาทชั้นบน เปิดสีหบัญชรมองดู เห็นมหาชน
เดินทางไปฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงถามว่า มหาชนกลุ่ม
นี้ไปที่ไหน ? ทราบเหตุนั้นแล้ว ไปสู่สำนักของพระศาสดา ด้วยบริวารเป็น
อันมาก แม้เอง ฟังธรรมอยู่ ทั้ง ๆ ที่ประดับประดาไปด้วยอาภรณ์ทั้งปวง
ยังกิเลสทั้งมวลให้สิ้นไป บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน
กล่าวไว้ในอปทานว่า
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十一月 21, 2011

Khrueng

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 69/201/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า วิหาโร วิหาร ได้แก่ที่อยู่อันเหลือพ้นจากโรงมีหลังคาครึ่งอาทิผิด อาณัติกะหนึ่ง
เป็นต้น.
บทว่า อฑฺฉโยโค โรงมีหลังคาครึ่งหนึ่ง ได้แก่เรือนปีกครุฑ.
บทว่า ปาสาโท ปราสาท ได้แก่ ปราสาทยาวมีช่อฟ้าสอง.
บทว่า หมฺมิยํ เรือนโล้น ได้แก่ ปราสาทมีเรือนยอดตั้งอยู่ ณ พื้น
อากาศเบื้องบน.
บทว่า คุหา ถ้ำ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาขันธกะอย่างนี้ คือ ถ้ำอิฐ
ถ้ำหิน ถ้ำไม้ ถ้ำดิน. ส่วนในอรรถกถาวิภังค์ ท่านกล่าวถึงเสนาสนะที่ทำ
แสดงทางบริหารโดยรอบ และที่พักกลางคืนและกลางวันไว้ในภายในว่าวิหาร.
บทว่า คุหา ได้แก่ ถ้ำพื้นดิน ควรได้พักอาศัยตลอดคืนและวัน.
ท่านกล่าวบททั้งสองนี้ให้ต่างกัน คือ ถ้ำภูเขาหรือถ้ำพื้นดิน ท่านทำให้เป็น
วัตตมานาวิภัตติว่า นิสีทติ ย่อมนั่งด้วยอำนาจแห่งลักษณะทั่วไปแก่กาลทั้งปวง
แห่งมาติกา แต่ท่านทำเป็นรูปสำเร็จว่า นิสินฺโน นั่งแล้ว เพื่อแสดงการ
เริ่มและการสุดท้ายของการนั่ง เพราะมีการเริ่มภาวนาของภิกษุผู้นั่ง ณ ที่นี้.
อนึ่ง เพราะเมื่อภิกษุนั่งตั้งกายตรง กายย่อมตรง ฉะนั้นท่านไม่เอื้อ
ในพยัญชนะ เมื่อจะแสดงถึงความประสงค์อย่างเดียว จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
อุชุโก ตรง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ฐิโต สุปณิหิโต กายเป็นกายอันภิกษุนั้นตั้ง
ไว้ตรง ความว่า เป็นกายตั้งไว้ตรง เพราะตั้งตรงอยู่แล้ว มิใช่ตั้งไว้ตรงด้วย
ตนเอง. บทว่า ปริคฺคหฏฺโฐ คือมีความกำหนดถือเอาเป็นอรรถ. กำหนด
ถือเอาอะไร. ถือการนำออก. นำอะไรออก. นำอานาปาสติสมาธิตลอดถึง
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十一月 20, 2011

Pen

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 85/422/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๕๐๐] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ
ของอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อกุศลธรรมที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจ
ของอธิปติปัจจัย.
[๕๐๑] ๗. อกุศลธรรม เป็นอาทิผิด อักขระปัจจัยแก่อกุศลธรรม และอัพยากต-
ธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อกุศลที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐาน-
รูป ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[๕๐๒] ๘. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
๑. พระอรหันต์กระทำผลจิตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว
พิจารณา กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
๒. นิพพานเป็นปัจจัยแก่ผลจิต ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัย แก่
สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 十一月 16, 2011

Prakhot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/140/8  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เมื่ออุปัชฌายะกำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้นในระหว่าง อุปัชฌายะกล่าว
ถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย.
เมื่อกลับ พึงมาก่อน แล้วปูอาสนะที่นั่งฉันไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่ง
ผลัด พึงรับผ้านุ่งมา.
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อพึงผึ่งแดดอาทิผิด อักขระไว้ครู่อาทิผิด หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด.
พึงพับจีวร เมื่อพับจีวร พึงพับให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจมิ
ให้มีรอยพับตรงกลาง พึงทำประคดอาทิผิด อักขระเอวไว้ในขนดอันตรวาสก.
ถ้าบิณฑบาตมี และอุปัชฌายะประสงค์จะฉัน พึงถวายน้ำ แล้วน้อม
บิณฑบาตเข้าไปถวาย พึงถามอุปัชฌายะด้วยน้ำฉัน เมื่ออุปัชฌายะฉันแล้ว
พึงถวายน้ำ รับบาตรมาถือต่ำ ๆ อย่าให้กระทบ ล้างให้สะอาด เช็ดอาทิผิด อักขระให้แห้ง
แล้ว ผึ่งไว้ที่แดดครู่อาทิผิด หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด.
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือ
ข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงอาทิผิด อักขระหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึ่งเก็บบาตรไว้บน
พื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง.
เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือ
สายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร.
เมื่ออุปัชฌายะลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งอาทิผิด อักขระรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั่นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.
ถ้าอุปัชฌายะใคร่จะสรงน้ำ พึงอาทิผิด อาณัติกะจัดน้ำสรงถวาย ถ้าต้องการน้ำเย็น
พึงจัดน้ำเย็นถวาย ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนถวาย.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 十一月 15, 2011

Wisai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 33/207/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจากเทพยดากลับมาเกิดในมนุษย์ มีเป็นส่วน
น้อย สัตว์ที่จุติจากเทพยดาไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน
เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจากนรกกลับมาเกิดในมนุษย์
มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์
เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิด
ในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดในนรก เกิดใน
กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจาก
กำเนิดสัตว์เดียรัจฉานกลับมาเกิดในมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจาก
กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน
เกิดในปิตติวิสัยอาทิผิด มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานไป
เกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานไป
เกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดย
แท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยกลับมาเกิดในมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่
จุติจากปิตติวิสัยไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานอาทิผิด อาณัติกะ เกิดใน
ปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปเกิดในเทพยดา มี
เป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์
เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้ เปรียบเหมือนในชมพูทวีปนี้
มีสวนที่น่ารื่นรมย์ มีป่าที่น่ารื่นรมย์ มีภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีสระ
โบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ เพียงเล็กน้อย มีที่ดอน ที่ลุ่ม เป็นลำน้ำ เป็นที่
ตั้งแห่งตอและหนาม มีภูเขาระเกะระกะเป็นส่วนมากโดยแท้ฉะนั้น.

จบวรรคที่ ๔
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十一月 14, 2011

Samrap

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 13/482/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คือ เวทีชั้นหนึ่งเป็นทองอาทิผิด อาณัติกะ. ชั้นหนึ่งเป็นเงิน. เวทีทองได้มีแม่บันไดเป็นทอง
ลูกพนักเป็นเงิน. เวทีเงินมีแม่บันไดเป็นเงิน ลูกและพนักเป็นทอง. อานนท์
ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงพระดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงให้ปลูก
ดอกไม้เห็นปานนี้ คือ อุบล ปทุม โกมุท บุณฑริก. อันผลิดอกในทุกฤดู
ไม่ให้ชนทั้งหมดที่มาแล้วกลับไปมือเปล่า ที่สระโบกขรณีเหล่านี้. อานนท์
พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงให้ปลูกดอกไม้เห็นปานนี้คือ อุบล ปทุมโกมุท ปุณฑริก
อันผลิดอกในทุกฤดู ไม่ให้ชนทั้งหมด มีมือเปล่ากลับไปที่สระโบกขรณี
เหล่านั้น. อานนท์ ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ทรงพระดำริว่า ถ้า
กระไร เราพึงวางคนสำหรับเชิญคนให้อาบน้ำที่ฝั่งสระโบกขรณีเหล่านี้ จะได้
เชิญคนผู้มาแล้ว ๆ ให้อาบ. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะ จึงทรงวางคน
สำหรับเชิญคนให้อาบน้ำที่ฝั่งสระโบกขรณีเหล่านั้น สำหรับเชิญคนผู้มาแล้ว ๆ
ให้อาบ. อานนท์ ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ทรงดำริว่า ถ้ากระไร
เราพึงตั้งโรงทานเห็นปานนี้ คือ ข้าวสำหรับผู้ต้องการข้าว น้ำสำหรับผู้ต้อง
การน้ำ ผ้าสำหรับผู้ต้องการผ้า ยานสำหรับผู้ต้องการยาน ที่นอนสำหรับผู้
ต้องการที่นอน สตรีสำหรับผู้ต้องการสตรี เงินสำหรับผู้ต้องการเงิน และ
ทองสำหรับผู้ต้องการทองใกล้ฝั่งสระโบกขรณีเหล่านั้น. อานนท์ พระเจ้ามหา
สุทัสสนะ ได้ทรงตั้งโรงทานเห็นปานนั้นคือ ข้าวสำหรับผู้ต้องการข้าว น้ำ
สำหรับผู้ต้องการน้ำ ผ้าสำหรับผู้ต้องการผ้า ยานสำหรับอาทิผิด อาณัติกะผู้ต้องการยาน ที่นอน
สำหรับผู้ต้องการที่นอน สตรีสำหรับผู้ต้องการสตรี เงินสำหรับผู้ต้องการเงิน
และทองสำหรับผู้ต้องการทอง ใกล้ฝั่งสระโบกขรณีเหล่านั้น.
[๑๗๖] อานนท์ ครั้งนั้นแล พวกพราหมณ์ และคฤหบดี นำเอา
ทรัพย์จำนวนมาก เข้าไปเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า
ขอเดชะ ทรัพย์จำนวนมากนี้ พวกข้าพระพุทธเจ้าเจาะจงนำมาถวายแด่พระ
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十一月 13, 2011

Wichikitcha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 76/620/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ธรรมไม่มีสัมปยุตเหตุอันโสดาปัตติมรรคจะประหาณ เป็น
ไฉน ?
โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศล
ในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคจะประหาณ.
[๙๗๓] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ
เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เว้นโมหะที่บังเกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้
เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่
สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตตเหตุ
อันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณก็มี ที่เป็นธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุ อันมรรค
เบื้องสูง ๓ ประหาณก็มี.
ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ
เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาอาทิผิด สระ
โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตใน
ภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุ
อันมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ.
[๙๗๔] ธรรมมีวิตก เป็นไฉน ?
กามาวจรกุศล, อกุศล, จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง
ฝ่ายอกุศลวิบาก ๒ ดวง ฝ่ายกิริยา ๑๑ ดวง, รูปาวจรปฐมฌานฝ่ายกุศล ฝ่าย
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十一月 10, 2011

Ruppa That

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 83/27/3  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
วิจิกิจฉานุสัย นอนเนื่องอยู่ ณ ที่นี้ คือ ที่ทุกขเวทนา แต่
มานานุสัย ไม่ใช่นอนเนื่องอยู่ ณ ที่นั้น, วิจิกิจฉานุสัย และมานานุสัย
ก็นอนเนื่องอยู่ ณ ที่นี้ คือที่เวทนา ๒ ในกามธาตุ ที่รูปธาตุอาทิผิด สระ อรูปธาตุ.
จบ มานานุสยมูละ ทิฏฐานุสยาทิมูลี

มานานุสยมูละ ภวราคานุสยมูลี :-
มานานุสัย นอนเนื่องอยู่ ณ ที่ใด, ภวราคานุสัย ก็นอนเนื่อง
อยู่ ณ ที่นั้น ใช่ไหม ?
มานานุสัย นอนเนื่องอยู่ ณ ที่นี้ คือ ที่เวทนา ๒ ในกามธาตุ
แต่ภวราคานุสัย ไม่ใช่นอนเนื่องอยู่ ณ ที่นั้น. มานานุสัย และ
ภวราคานุสัย ก็นอนเนื่องอยู่ ณ ที่นี้ คือ ที่รูปธาตุ อรูปธาตุ.
ก็หรือว่า ภวราคานุสัย นอนเนื่องอยู่ ณ ที่ใด, มานานุสัย
ก็นอนเนื่องอยู่ ณ ที่นั้น ใช่ไหม ?
ใช่.
จบ มานานุสยมูละ ภวราคานุสยมูลี
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 十一月 09, 2011

Manyoeiya

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 12/182/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อนึ่ง โทษของบริษัทแล จะตกอยู่กับหัวหน้าบริษัทเท่านั้น ดังนี้ เหลียวมอง
รอบ ๆ ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โปฏฐปาท-
ปริพาชกได้เห็นแล้วแล ฯลฯ ปริพาชกเหล่านั้น ได้พากันนิ่ง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สณฺฐเปสิ อธิบายว่า ให้สำเหนียกถึงโทษแห่ง
เสียงนั้น คือให้เงียบเสียง พักเสียงนั้นโดยประการที่เสียงจะต้องเงียบอย่างดี.
เพื่อปกปิดโทษของเสียงนั้น เหมือนอย่างบุรุษเข้ามาสู่ท่ามกลางบริษัท ย่อม
นุ่งผ้าเรียบร้อย ห่มผ้าเรียบร้อย เช็ดถูสถานที่สกปรกด้วยธุลีเพื่อปกปิดโทษ
ฉะนั้น. บทว่า อปฺปสทฺทา โภนฺโต ความว่า เมื่อให้สำเหนียก ก็ให้เงียบ
เสียงนั้นโดยประการที่เสียงจะเงียบอย่างดี. บทว่า อปฺปสฺทกาโม ความว่า
โปรดเสียงเบา คนหนึ่งนั่ง คนหนึ่งยืน ย่อมไม่ให้เป็นไปด้วยการคลุกคลีด้วย
หมู่. บทว่า อุปสงฺกมิตพฺพํ มญฺเญยฺยอาทิผิด อักขระ ความว่า สำคัญว่าจะเสด็จเข้ามาใน
สถานนี้. ถามว่า ก็เพราะเหตุอะไร โปฏฐปาทปริพาชกนั่น จึงหวังการเสด็จ
เข้ามาของพระผู้มีพระภาคเจ้า. แก้ว่า เพราะปรารถนาความเจริญแก่ตน.
ได้ยินว่า ปริพาชกทั้งหลาย ครั้นพระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธ-
เจ้ามาสู่สำนักของตนแล้ว ย่อมยกตนขึ้นในสำนักของผู้บำรุงทั้งหลายของตน
ย่อมตั้งตนไว้ในที่สูงว่า ในวันนี้สมณโคดมเสด็จมาสู่สำนักของพวกเรา พระ-
สารีบุตรก็มา ท่านไม่ไปยังสำนักของใครเลย ท่านทั้งหลายพึงดูความยิ่งใหญ่
ของพวกเรา ดังนี้. ย่อมพยายามเพื่อคบอุปัฎฐากทั้งหลายของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าด้วย. ได้ยินว่า ปริพาชกเหล่านั้นเห็นอุปัฏฐากทั้งหลายของพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ครูของพวกท่านจะเป็นพระโคดมก็ตาม จะเป็น
สาวกของพระโคดมก็ตาม เป็นผู้เจริญย่อมมาสู่สำนักของพวกเรา พวกเรา
พร้อมเพรียงกัน แต่ท่านทั้งหลายไม่อยากมองดูพวกเราเลย ไม่ทำสามีจิกรรม
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 十一月 08, 2011

Phro

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 36/497/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๓. วจีทุจริตสูตร
ว่าด้วยโทษของวจีทุจริตและคุณของสุจริต
[๒๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะอาทิผิด สระวจีทุจริต ๕ ประการนี้
ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะวจีสุจริต ๕ ประการนี้ ฯลฯ
จบวจีทุจริตสูตรที่ ๓
๔. มโนทุจริตสูตร
ว่าด้วยโทษของมโนทุจริตและคุณของมโนสุจริต
[๒๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะมโนทุจริต ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน ? คือ แม้ตนเองย่อมติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณา
แล้วย่อมติเตียน ๑ กิตติศัพท์ที่ชั่วย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
โทษในเพราะมโนทุจริต ๕ ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะมโนสุจริต ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน ? คือ แม้ตนเองย่อมไม่ติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณา
แล้วย่อมสรรเสริญ ๑ กิตติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงอาทิผิด กระทำ
กาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์
ในเพราะมโนสุจริต ๕ ประการนี้แล.
จบมโนทุจริตสูตรที่ ๔
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十一月 06, 2011

Wakkhumutha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 2/450/2  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี ครั้งนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาอาทิผิด อักขระว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ร่างกาย
ของพวกเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อม
เพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบาก
ด้วยบิณฑบาตหรือ.
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังพอทนได้พระพุทธเจ้าข้า ยังพอให้เป็น
ไปได้พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจ
กัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต
พระพุทธเจ้าข้า.
พุทธประเพณี
พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่
ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม
พระตถาคตทั้งหลายอาทิผิด ย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรง
กำจัดด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงสอบถามภิกษุ
ทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติ
สิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน
อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยวิธีการอย่างไร.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 十一月 05, 2011

Manasikan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 65/394/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ธาตุมีความว่างเปล่าเป็นลักษณะ, อายตนะมีการสืบต่อเป็นลักษณะ,
สติปัฏฐานมีการบำรุงเป็นลักษณะ, สัมมัปปธานมีการเริ่มตั้งเป็น
ลักษณะ, อิทธิบาทมีความสำเร็จเป็นลักษณะ, อินทรีย์มีความเป็นใหญ่ยิ่ง
เป็นลักษณะ, พละมีความไม่หวั่นไหวเป็นลักษณะ, โพชฌงค์มีการนำ
ออกจากทุกข์เป็นลักษณะ, มรรคมีการเป็นเหตุเป็นลักษณะ, สัจจะมีความ
แท้เป็นลักษณะ, สมถะมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ, วิปัสสนามีการตาม
พิจารณาเห็นเป็นลักษณะ, สมถะและวิปัสสนามีรสเป็นหนึ่งเป็นลักษณะ,
ธรรมที่ขนานคู่กันมีการไม่ครอบงำเป็นลักษณะ, ศีลวิสุทธิมีการสำรวมเป็น
ลักษณะ, จิตตวิสุทธิมีความไม่ซัดส่ายเป็นลักษณะ, ทิฏฐิวิสุทธิมีการเห็น
เป็นลักษณะ, ขยญาณมีการตัดได้เด็ดขาดเป็นลักษณะ, อนุปปาทญาณมี
การระงับเป็นลักษณะ,
ฉันทะมีมูลเป็นลักษณะ, มนสิการอาทิผิด สระมีการตั้งขึ้นเป็นลักษณะ, ผัสสะ
มีการประชุมเป็นลักษณะ, เวทนามีการซ่านไปในอารมณ์เป็นลักษณะ,
สมาธิมีความประชุมเป็นลักษณะ, สติมีความเป็นใหญ่เป็นลักษณะ, ปัญญา
มีความยอดเยี่ยมกว่านั้นเป็นลักษณะ, วิมุตติมีสาระเป็นลักษณะ, พระ-
นิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะมีปริโยสานเป็นลักษณะ, ซึ่งแต่ละอย่างเป็น
ลักษณะที่แท้ไม่แปรผัน, พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสู่ลักษณะที่เเท้ด้วย
พระญาณคติ คือ ทรงบรรลุ ทรงบรรลุโดยลำดับ ไม่ผิดพลาดอย่างนี้. เหตุ
นั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
ตถาคต เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้ เป็นอย่างนี้.
 
พระปิฎกธรรม