Chat
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 65/664/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
กายวิเวกเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอัน
สงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏอาทิผิด อักขระ ที่แจ้ง
ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดกายอยู่ คือ เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว
นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งอยู่ในที่หลีกเร้น
ผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวไปอยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ
ประพฤติรักษา เป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า กายวิเวก.
จิตตวิเวกเป็นไฉน ? ภิกษุเข้าปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์. เข้า
ทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกและวิจาร. เข้าตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ.
เข้าจตุตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์. เข้าอากาสานัญจายตนฌาน มี
จิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆอาทิผิด อักขระสัญญา นานัตตสัญญา. เข้าวิญญาณัญจาย-
ตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา. เข้าอากิญจัญญายตนฌาน
มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา. เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มี
จิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา. เมื่อเป็นพระโสดาบัน มีจิตสงัดจาก
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และ
จากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น. เป็นพระสก-
ทาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย
ปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราค-
สังโยชน์เป็นต้นนั้น. เป็นพระอนาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์
ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยอย่างละเอียด และจากกิเลสที่
ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น. เป็น
พระอรหันต์ มีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论