星期四, 六月 30, 2016

Lambak

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 62/241/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระองค์. แม้พระเจ้ากุสราชนั้น ก็ทรงหาบกระเช้าเครื่องเสวยกลับลงมาแล้ว
ตั้งแต่นั้น ก็ไม่ได้ทรงพบเห็นพระนางได้อีกเลย. พระองค์ทรงกระทำอาทิผิด สระการงาน
หน้าที่ผู้จัดแจงภัตร แสนจะลำบากอาทิผิด อักขระเป็นอย่างยิ่ง เสวยภัตตาหารเช้าแล้ว ต้อง
ทรงผ่าฟืน ล้างภาชนะใหญ่น้อยเสร็จแล้ว เสด็จไปตักน้ำด้วยหาบ เมื่อจะ
บรรทมก็บรรทมที่ข้างหลังรางน้ำ ตื่นบรรทมก็ตื่นแต่เช้าตรู่ทีเดียว ทรงต้ม
ข้าวยาคูเป็นต้น ทรงหาบไปเองให้พระราชธิดาทั้งหลายเสวย แต่พระองค์
ต้องทรงเสวยทุกข์อย่างสาหัสเช่นนี้ ก็เพราะอาศัยความกำหนัด ด้วยอำนาจ
ความเพลิดเพลินติดใจในกามารมณ์. วันหนึ่งพระองค์ทอดพระเนตรเห็นนาง
ค่อมเดินไปข้างประตูห้องเครื่อง จึงตรัสเรียกมา แต่นางค่อมนั้นก็ไม่อาจจะ
ไปเฝ้าพระองค์ได้ เพราะเธอกลัวพระนางประภาวดี จึงรีบเดินหนีไป. ลำดับนั้น
พระองค์จึงรีบเสด็จติดตามไปทัน แล้วตรัสทักนางค่อมนั้นว่า ค่อมเอ๋ย. นาง
ค่อมนั้นเหลียวกลับมายืนอยู่แล้ว ถามว่า นั่นใคร แล้วทูลว่า หม่อมฉันไม่ทัน
ได้ยินว่าเป็นพระสุรเสียงของพระองค์. ลำดับนั้น พระเจ้ากุสราชจึงตรัสกะนาง
ค่อมนั้นว่า แน่ะค่อมเอ่ย แหม ! นายของเจ้าช่างจิตใจแข็งเหลือเกินนะ เรา
มาอยู่ในพระราชวังของพวกเจ้าตลอดกาลเพียงเท่านี้ ยังไม่ได้แม้เพียงการถาม
ข่าวถึงความไม่มีโรคเลย เรื่องอะไรจักให้ไทยธรรม ข้อนั้นจงยกไว้ก่อนเถิด
ก็แต่ว่าเจ้าควรจักกระทำพระนางประภาวดีของเราให้ใจอ่อนแล้ว ให้ได้พบกับ
เราบ้างเถิด. นางค่อมรับพระราชดำรัสแล้ว. ลำดับนั้น พระเจ้ากุสราชจึงตรัส
หยอกเย้านางค่อมว่า ถ้าเจ้าสามารถที่จะให้เราได้พบพระนางประภาวดีนั้นได้
เราจักทำความค่อมของเจ้าให้ตรงแล้ว จักให้สายสร้อยคอเส้นหนึ่ง ดังนี้แล้ว
จึงตรัสพระคาถา ๕ พระคาถา ดังต่อไปนี้ว่า
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 六月 29, 2016

Hai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 21/106/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อากิญจัญญายตนะ. อาตมภาพได้อาทิผิด อักขระมีความคิดเห็นว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร
เท่านั้นมีศรัทธาหามิได้ ถึงอาทิผิด เราก็มีศรัทธา อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้น
มีความเพียร . . .มีสติ.. . มีสมาธิ . .มีปัญญา หามิได้ ถึงเราก็มีความเพียร...
มีสติ.. . มีสมาธิ ...มีปัญญา อย่ากระนั้นเลย เราพึงตั้งความเพียรเพื่อทำธรรม
ที่อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศว่า ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
เข้าถึงอยู่นั้นให้แจ้งเถิดอาทิผิด อักขระ. อาตมภาพนั้นทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้ว
บรรลุธรรมนั้นโดยฉับพลันไม่นานเลย ครั้นแล้วได้เข้าไปหาอาฬารดาบส
กาลามโคตรแล้วได้ถามว่า ดูก่อนกาลามะ ท่านทำให้อาทิผิด สระแจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่ง
เอง บรรลุธรรมนี้ประกาศให้ทราบ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ.
อาฬารดาบส กาลามโคตรตอบว่า ดูก่อนอาวุโส เราทำให้แจ้งชัดด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้แล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
อาตมภาพได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส แม้เราก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้แล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้ .
อาฬารดาบส กาลามโคตรกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส เป็นลาภของเราทั้ง
หลายหนอ เราทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่เราทั้งหลายได้พบท่านสพรหมจารีเช่นท่าน
เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมใดแล้วประกาศให้ทราบ ท่าน
ก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนั้นแล้วประกาศให้ทราบ ท่าน
ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมใดแล้วประกาศให้ทราบ เราก็
ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนั้นแล้วประกาศให้ทราบ ดังนี้
เรารู้ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น ดังนี้ เรา
เช่นใด ท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น ดังนี้ . ดูก่อนอาวุโส บัด
นี้ เราทั้งสองจงมาอยู่ช่วยกันบริหารหมู่คณะนี้เถิด ดูก่อนราชกุมาร อาฬารดาบส
กาลามโคตร เป็นอาจารย์ของอาตมภาพยังตั้งให้อาตมภาพผู้เป็นอันเตวาสิกไว้
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 六月 26, 2016

Vuccati

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/248/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
วิริยสัมโพชฌงค์
คำว่า ตสฺส ตํ ธมฺมํ ได้แก่ ภิกษุนั้น วิจัยธรรมนั้น ซึ่งมีประการ
ตามที่กล่าวแล้วในหนหลัง. คำว่า อารทฺธํ โหติ ได้แก่ เป็นความเพียรที่
บริบูรณ์ เป็นความเพียรอันธรรมอุปถัมภ์แล้ว. คำว่า อสลฺลีนํ ได้แก่ ชื่อว่า
ความไม่ย่อหย่อน เพราะเป็นความพยายามทีเดียว. คำว่า อยํ วุจฺจติ นี้ เป็น
ความเพียรอันยังโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสเรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์.

ปีติสัมโพชฌงค์
คำว่า นิรามิสา ได้แก่ บริสุทธิ์ ชื่อว่าปราศจากอามิส เพราะ
ความไม่มีกามอามิส โลกอามิส และวัฏฏอามิส. คำว่า อยํ วุจฺจติอาทิผิด สระ ได้แก่
ปีตินี้ เป็นธรรมยังโพชฌงค์ให้เกิด สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่าเรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์.

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
คำว่า ปีติมนสฺส แปลว่า ผู้มีใจประกอบด้วยปีติ. คำว่า กาโยปิ
ปสฺสมฺภติ ได้แก่ นามกาย กล่าวคือ ขันธ์ ๓ (เวทนา สัญญา สังขาร)
ย่อมสงบระงับ ในเพราะความสงบระงับไปแห่งความเร่าร้อนด้วยกิเลส. คำว่า
จิตฺตมฺปิ ได้แก่ แม้วิญาณขันธ์ ก็ย่อมสงบระงับ ฉันนั้นเหมือนกัน. คำ
ว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ ปัสสัทธินี้ เป็นธรรมยังโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น สัมปยุต
ด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 六月 25, 2016

Tadanga

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/254/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
วิหารฌานอันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา. อนึ่ง ข้อนี้พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย
ไม่ปฏิเสธ เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยมติของอาจารย์เหล่านั้น พระโยคีย่อมเจริญ
สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิกขัมภนวิเวกโดยกิจในขณะที่เป็นไปของฌานเหล่า
นั้นนั่นแหละ. อนึ่ง ท่านกล่าวว่า เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยนิสสรณวิเวก
โดยอัชฌาสัยในขณะแห่งวิปัสสนา ฉันใด แม้จะกล่าวว่า เจริญสติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยปฏิปัสสัทธิวิเวก ดังนี้ ก็ควร. ในคำว่า อาศัยซึ่งวิราคะเป็นต้น
ก็นัยนี้เหมือนกัน.
จริงอยู่ วิราคะเป็นต้น ก็มีวิเวกเป็นอรรถนั่นแหละ. อนึ่ง โวสสัคคะ
(ความสละหรือการถอน) มีเพียง ๒ อย่าง คือ ปริจาคโวสสัคคะ และปักขันทน-
โวสสัคคะ. ในโวสสัคคะ ๒ นั้น การละกิเลสด้วยสามารถแห่งตทังควิเวก
ในขณะแห่งวิปัสสนา และด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทวิเวกในขณะ
แห่งมรรค ชื่อว่า ปริจาคโวสสัคคะ. การแล่นไปสู่พระนิพพานใน
ขณะแห่งวิปัสสนาโดยความเป็นผู้น้อมไปสู่ตทังคอาทิผิด สระวิเวกนั้น แต่ในขณะ
แห่งมรรคโดยการกระทำให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า ปักขันทนโวสสัคคะ.
โวสสัคคะแม้ทั้งสองนั้น ย่อมควรในนัยแห่งการพรรณนาอันเจือด้วยโลกิยะ
และโลกุตตระนี้. จริงอย่างนั้น สติสัมโพชฌงค์นี้ ย่อมสละกิเลสทั้งหลาย
โดยประการตามที่กล่าวแล้วด้วย ย่อมแล่นไปสู่นิพพานด้วย ฉะนี้.
บัณฑิตพึงทราบว่า ก็การที่น้อมไปอยู่ น้อมไปแล้ว ถึงที่สุดอยู่ ถึง
ที่อาทิผิด อาณัติกะสุดแล้วด้วยคำทั้งสิ้นนี้ว่า โวสฺสคฺคปริณามึ (น้อมไปเพื่อสละ) ซึ่งมีการ
สละเป็นอรรถ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้ว่า ก็ภิกษุนี้ ประกอบเนืองๆ
ในการเจริญโพชฌงค์ฉันใด สติสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงผล ซึ่งมีการสละกิเลส
อันมีโวสสัคคะเป็นอรรถด้วย ย่อมบรรลุผลอันมีการแล่นไปสู่พระนิพพานอันมี
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 六月 22, 2016

Acaya

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 90/790/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๒. อารัมมณปัจจัย
[๒๑๗] ๑. เหตุธรรมที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุ-
ธรรมที่เป็นอาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
๒. เหตุธรรมที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุ-
ธรรมที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณ-
ปัจจัย
๓. เหตุธรรมที่เป็นอปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุ-
ธรรมที่เป็นอาจยอาทิผิด อักขระคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
๔. เหตุธรรมที่เป็นอปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุ-
ธรรมที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณ-
ปัจจัย
๕. เหตุธรรมที่เป็นเนวจยคามินาปจยคามิธรรม เป็น
ปัจจัยแก่เหตุธรรมที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคานิธรรม ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย
๖. เหตุธรรมเป็นเนวาจยอาทิผิด อักขระคามินาปจยคามิธรรม เป็น
ปัจจัยแก่เหตุธรรมที่เป็นอาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณ-
ปัจจัย
๓. อธิปติปัจจัย
[๒๑๘] ๑. เหตุธรรมที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุ-
ธรรมที่เป็นอาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 六月 20, 2016

Yatana

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 87/250/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นอาจยคามิธรรม ด้วย
เจโตปริยญาณ.
อากาสานัญจายตนอาทิผิด อักขระกุศล เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนอาทิผิด อักขระกุศล ด้วยอำ-
นาจของอารัมมณปัจจัย.
อากิญจัญญายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนอาทิผิด อักขระกุศล.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณอาทิผิด อักขระ แก่
เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังอาทิผิด อักขระ-
สญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[๑๐๙๐] ๒. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินา-
ปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ พระอรหันต์พิจารณากิเลสที่ละแล้ว, รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิด
ขึ้นแล้วในกาลก่อน.
บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาอาทิผิด อักขระ.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นอาจยคามิธรรม ด้วย
เจโตปริยญาณ.
พระเสกขบุคคล หรือ ปุถุชน พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
อาจยคามิธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อกุศล
ดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตที่เป็นวิบากย่อมเกิดขึ้น.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 六月 16, 2016

Nikhorot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/287/2  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เมื่อเลือกหาที่เสด็จอยู่สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดว่า อารามของสักกะ
ชื่อนิโครธอาทิผิด น่ารื่นรมย์ จึงให้ทำปฏิชัคคนวิธีทั้งปวงในอารามนั้น มีของหอม
และดอกไม้ในมือ เมื่อจะทำการต้อนรับ ได้ส่งเด็กชายและเด็กหญิงชาว
พระนครรุ่นหนุ่มรุ่นสาว ประดับด้วยอลังการทุกอย่างไปก่อน ถัดจากนั้น ส่ง
ราชกุมารและราชกุมารีทั้งหลายไป แล้วไปเองในลำดับแห่งเหล่าราชกุมารและ
ราชกุมารีเหล่านั้น บูชาด้วยสักการะมีดอกไม้และจุณเป็นต้น ได้เชิญเสด็จ
พระผู้มีพระภาคเจ้าไปสู่นิโครธารามทีเดียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระขีณาสพ ๒ หมื่นแวดล้อม ประทับบนบวร
พุทธอาสน์ที่เขาตั้งอาทิผิด อักขระเตรียมไว้ในนิโครธารามนั้น. พวกศากยราชเป็นคนเจ้ามานะ
ถือตัวจัดนัก. พวกศากยราชเหล่านั้น ทรงดำริว่าสิทธัตถกุมาร ยังหนุ่มเด็ก
กว่าพวกเรา เป็นพระกนิฏฐะ เป็นพระภาคิไนย เป็นพระโอรส เป็นพระ
นัดดาแห่งพวกเรา จึงรับสั่งกะราชกุมารหนุ่ม ๆ ว่า พวกเธอจงบังคับ พวก
ฉันจักนั่งข้างหลังพวกเธอ. ครั้นเมื่อศากยราชเหล่านั้น ประทับนั่งอย่างนั้นแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเล็งดูอัธยาศัยของพวกเธอ แล้วทรงคำนึงว่า พวกพระ
ญาติไม่ยอมไหว้เรา เอาเถิดบัดนี้ เราจักให้พระญาติเหล่านั้นไหว้ ดังนี้แล้ว
ทรงเข้าจตุตถฌานเป็นบาทแห่งอภิญญา ออกแล้วเหาะขึ้นสู่อากาศด้วยพระฤทธิ์
ได้ทรงทำปาฏิหาริย์คล้ายยมกปาฏิหาริย์ที่ควงแห่งคัณฑามพฤกษ์ ราวกะว่าทรง
โปรยธุลีที่พระบาทลงบนเศียรแห่งพระญาติเหล่านั้น.
พระราชาทรงเห็นอัศจรรย์นั้น จึงตรัสว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่ออาทิผิด อาณัติกะพระองค์ซึ่งพระพี่เลี้ยงนำเข้าไปเพื่อไหว้พราหมณ์ในวันมงคล หม่อมฉัน
แม้ได้เห็นพระบาทของพระองค์ ไพล่ไปประดิษฐานบนกระหม่อมของพราหมณ์
จึงบังคมพระองค์ นี้เป็นปฐมวันทนาของหม่อมฉัน. ในวันวัปมงคล เมื่อ
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 六月 15, 2016

Rahule

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/295/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ก็บรรพชาและอุปสมบทมีอุปัชฌาย์เป็นมูล อุปัชฌาย์เท่านั้นเป็นใหญ่ ใน
บรรพชาและอุปสมบทนั้น อาจารย์ไม่เป็นใหญ่ เพราะเหตุนั้น พระธรรม
สังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล พระสารีบุตรผู้มีอายุ ยังพระราหุล
กุมารให้ผนวชแล้ว ดังนี้. ด้วยประการอย่างนี้ คำทั้งปวงอันผู้ศึกษาพึงกล่าวว่า
ครั้งนั้นแล พระเจ้าสุทโธทนผู้ศากยราช ทรงเกิดความสลดพระหฤทัย เพราะ
ทรงสดับว่า พระกุมารผนวชแล้ว ในเมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าขอพร ดังนี้
โดยไม่ระบุอย่าง คำว่า จงขอ เป็นคำไม่สมควรแก่บรรพชิตผู้เลี้ยงชีวิตด้วย
อุญฉาจริยา ทั้งพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่ทรงประพฤติ เพราะเหตุนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในพระบาลีนั้นว่า มหาบพิตรผู้โคตมะ พระตถาคต
ทั้งหลาย ทรงเลิกพรเสียแล้วแล.
ข้อว่า ยญฺจ ภนฺเต กปฺปติ ยญฺจ อนวชฺชํ มีความว่าพรใด
สมควรที่พระองค์จะประทานได้ด้วย เป็นพรหาโทษมิได้ด้วย คือเป็นพรอัน
วิญญูชนทั้งหลายไม่พึงครหา เพราะกิริยาที่รับของหม่อมฉัน เป็นปัจจัยด้วย
หม่อมฉันขอพรนั้น.
ข้อว่า ตถา นนฺเท อธิมตฺตํ ราหุเลอาทิผิด อักขระ มีความว่า ได้ยินว่าโหรทั้ง
หลายได้ทำนายพระโพธิสัตว์ในวันมงคลว่า จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฉันใด
เล่า ได้ทำนายทั้งพระนันทะทั้งพระราหุลในวันมงคลว่า จักเป็นพระเจ้าจักร-
พรรดิ ฉันนั้น. ครั้งนั้นพระราชาทรงเกิดพระอุตสาหะว่า เราจักชมจักรพรรดิ-
สิริของบุตร ได้ทรงถึงความหมดหวังอย่างใหญ่หลวง เพราะพระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงผนวชเสีย. จึงทรงยังพระอุตสาหะให้เกิดว่า เราจักชมจักรพรรดิอาทิผิด สิริ
ของพ่อนันทะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระนันทะแม้นั้นให้ผนวชแล้ว. ท้าว
เธอทรงอดกลั้นทุกข์แม้นั้น เสียได้ ทรงยังพระอุตสาหะให้เกิดว่า บัดนี้เราจัก
ได้ชมจักรพรรดิสิริของพ่อราหุล ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยัง

๑. ขอทานเลี้ยงชีพ
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 六月 13, 2016

Ngam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 48/244/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ของตน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สุตา ลตํ พฺรวุํ ดังนี้ก็มี ความว่า
นางสุดาเทพธิดา ธิดาของท้าวเวสสวัณมหาราชบอกกับนางลดาเพพธิดา.
บทว่า ติมิรตมฺพกฺขิ ได้แก่ มีดวงตาประกอบด้วยสีแดงคล้ายเกสร
ดอกจิก. บทว่า นเภว สโภเณ ได้แก่ งามอาทิผิด อักขระเหมือนท้องฟ้า อธิบายว่า
สดใสเพราะอวัยวะน้อยใหญ่บริสุทธิ์ดุจท้องฟ้าพ้นจากส่วนเล็กน้อย ที่เกิด
ขึ้นมีหมอกเมฆเป็นต้นในสรทสมัยงดงามอยู่ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า
นเภว ตัดบทเป็น นเภ เอว บนท้องฟ้านั่นเอง. เอวศัพท์เป็น
สมุจจยัตถะ ( ความรวม). อธิบายว่า งามในทุกแห่งคือในวิมานอันตั้ง
อยู่บนอากาศ และในที่อันเนื่องกับพื้นดินมีภูเขาหิมวันต์ และเขายุคนธร
เป็นต้น. บทว่า เกน กโต ได้แก่เกิดขึ้นด้วยบุญอาทิผิด อักขระ อะไร คือเช่นไร. บทว่า
ยโส ได้แก่ บริวารสมบัติ และชื่อเสียง. อนึ่ง คุณทั้งหลายอันเป็นเหตุให้
มีชื่อเสียงท่านใช้ด้วยศัพท์ว่า กิตฺติสทฺท.
บทว่า ปติโน ปิยตรา ได้แก่ เป็นที่รักของสามี คือเป็นที่โปรด-
ปรานของสามี. ท่านแสดงถึงความงามของนางลดาเทพธิดานั้นด้วยบทว่า
ปติโน ปิยตรา นั้น. บทว่า วิสิฏฺฐกลฺยาณิตรสฺสุ รูปโต ได้แก่
วิเศษสุด งามยิ่ง ดียิ่ง ด้วยรูปสมบัติ. บทว่า อสฺสุ เป็นเพียงนิบาต.
อนึ่ง อาจารย์บางพวกกล่าวว่า วิสิฏฺฐกลฺยาณิตราสิ รูปโต มีรูปร่าง
สะสวยยิ่งนัก. บทว่า ปทกฺขิณา ได้แก่ ฉลาดทุกอย่างและวิเศษด้วย.
บทว่า นจฺจน ในบทว่า นจฺจนคีตวาทิเต นี้ ได้ลบวิภัตติทิ้ง. ควรเป็น
นจฺเจ จ คีเต จ วาทิเต จ ในการฟ้อนรำ ในการขับร้อง และใน
การบรรเลง. บทว่า นรนาริปุจฺฉิตา ได้แก่ เทพบุตรเทพธิดาถามว่า
นางลดาเทพธิดาไปไหน นางทำอะไร ดังนี้ เพื่อเห็นรูปและเพื่อดูศิลปะ.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 六月 12, 2016

Achan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 48/248/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระองค์บนกลางเวที ขอพระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของ
ข้าพระองค์ด้วย.
สมเด็จอมรินทราธิราช ทรงสดับคำปรับทุกข์นั้นแล้ว เมื่อจะทรง
ปลอบอาจารย์อาทิผิด อักขระ จึงตรัสปลุกใจด้วยคาถา ความว่า
จะกลัวไปทำไมนะ ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าจะเป็น
ที่พึ่งของท่านอาจารย์ เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้บูชาท่าน
อาจารย์ ข้าพเจ้าผู้เป็นศิษย์จะไม่ปล่อยให้ท่าน
อาจารย์ปราชัย ท่านอาจารย์ต้องเป็นผู้ชนะนายมุสิละ
ผู้เป็นศิษย์แน่นอน.
เมื่อสมเด็จอมรินทราธิราชตรัสปลอบใจเช่นนี้ คุตติลบัณฑิตก็โล่ง
ใจคลายทุกข์ พอถึงวันนัดก็ไปประลองศิลป์กันบนเวทีหน้าพระโรง ใน
ที่สุด คุตติลบัณฑิตผู้อาจารย์เป็นฝ่ายชนะ นายมุสิละผู้เป็นศิษย์เป็นฝ่ายแพ้
ถึงแก่ความตายกลางเวที เพราะอาชญาของปวงชน สมเด็จอมรินทรา-
ธิราชทรงกล่าววาจาแสดงความยินดีด้วยคุตติลบัณฑิตแล้ว เสด็จกลับเทว-
สถาน ครั้นกาลต่อมา สมเด็จอมรินทราธิราชตรัสใช้ให้พระมาตลีเทพ
สารถี นำเวชยันตราชรถลงมารับคุตติลบัณฑิตไปยังเทวโลกเพื่อให้ดีดพิณ-
ถวาย คุตติลบัณฑิตจึงกราบทูลท้าวโกสีย์ในท่ามกลางเทพบริษัท เพื่อ
ไต่ถามถึงบุรพกรรมของเทพธิดาทั้งหลาย ณ ที่นั้น เป็นรางวัลแห่งการ
ดีดพิณเสียก่อน เมื่อได้รับพระอนุญาตแล้ว จึงได้ถามถึงบุรพกรรมของ
เทพธิดาเหล่านั้นว่า
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 六月 11, 2016

Todeyya

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 67/253/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ดูก่อนโตเทยยะ ท่านจงรู้จัก รู้แจ้ง รู้ประจักษ์ซึ่งมุนีอย่างนี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ดูก่อนโตเทยยะอาทิผิด อักขระ ท่านจงรู้จักมุนี... แม้อย่างนี้.
[๓๖๕] คำว่า อกิญฺจนํ ในอุเทศว่า อกิญฺจนํ กามภเว อสตฺตํ
ดังนี้ ความว่า เครื่องกังวลคือราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวล
คือโมหะ เครื่องกังวลคือมานะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส
เครื่องกังวลคือทุจริต เครื่องกังวลเหล่านี้อันมุนีใดละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว
สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
มุนีนั้นตรัสว่า ไม่มีเครื่องกังวล โดยหัวข้อว่า กามา ในอุเทศว่า กามภเว
ดังนี้ กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯ ล ฯ เหล่านี้
เรียกว่าวัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านี้ เรียกว่ากิเลสกาม โดยอุเทศว่า ภพ ภพมี
๒ อย่าง คือ กรรมภพ ๑ ปุนภพอันมีในปฏิสนธิ ๑ ฯ ล ฯ นี้เป็นปุนภพ
อันมีในปฏิสนธิ.
คำว่า ผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกามและภพ ความว่า
ผู้ไม่มีเครื่องกังวล ไม่ข้อง คือ ไม่เกี่ยว ไม่เกี่ยวข้อง ไม่พัวพัน ออกไป
สลัดออก หลุดพ้น ไม่ประกอบในกามและภพ มีใจอันทำให้ปราศจาก
เขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกาม
และภพ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ผู้นั้นไม่มีความหวัง ไม่หวังอยู่ มีปัญญาและไม่มี
ความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา ดูก่อนโตเทยยะ
ท่านจงรู้จักมุนีผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกามและภพ
แม้อย่างนี้.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 六月 08, 2016

Kwang Khwang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 67/275/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

星期二, 六月 07, 2016

Upasamban

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   4/44/9  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทิเสส . . . ผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย . . . ผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ . . . ผู้ต้องอาบัติปฏิอาทิผิด อักขระเทส-
นียะ . . . ผู้ต้องอาบัติทุกกฏ . . . ผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต ว่าท่านถึงโสดาบัติ ดังนี้
เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.
พูดยกยอกระทบอาบัติ
[๒๓๒] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน
ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบ
อาบัติอุกฤษฏ์อาทิผิด อักขระ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้ต้องโสดาบัติ ว่าท่านต้องโสดาบัติ ดังนี้
เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.
อุปสัมบันอาทิผิด อักขระด่าอุปสัมบัน
พูดกดกระทบอาทิผิด อักขระคำสบประมาท
[๒๓๓] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน
ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันผู้มีความประพฤติทราม ด้วยกล่าว
กระทบคำด่าทราม คือ พูดกะอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังอูฐ . . . มีความ
ประพฤติดังแพะ . . . มีความประพฤติดังโค . . . มีความประพฤติดังลา . . .มีความ
ประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน . . . มีความประพฤติดังสัตว์นรก ว่าท่านเป็นอูฐ ว่า
ท่านเป็นแพะ ว่าท่านเป็นโค ว่าท่านเป็นลา ว่าท่านเป็นสัตว์ติรัจฉาน ว่าท่าน
เป็นสัตว์นรก สุคติของท่านไม่มี ท่านต้องหวังได้แต่ทุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.
พูดกดให้เลวกระทบคำสบประมาท
[๒๓๔] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน
ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันผู้มีความประพฤติอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าว
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 六月 04, 2016

Dam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   4/41/1  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ไม่ขาวนัก ว่าท่านเป็นคนสูงนัก ว่าท่านเป็นคนต่ำนัก ว่าท่านเป็นคนดำอาทิผิด อักขระนัก
ว่าท่านเป็นคนขาวนัก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.
พูดประชดกระทบรูปพรรณ
[๒๒๓] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน
ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีรูปพรรณทราม ด้วยกล่าวกระทบ
รูปพรรณอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้สูงเกินไป . .. ต่ำเกินไป. . .ดำเกินไป...
ขาวเกินไป ว่าท่านเป็นคนไม่สูงนัก ว่าท่านเป็นคนไม่ต่ำนัก ว่าท่านเป็นคน
ไม่ดำนัก ว่าท่านเป็นคนไม่ขาวนัก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ
คำพูด.
พูดยกยอกระทบรูปพรรณ
[๒๒๔] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน
ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีรูปพรรณอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบ
รูปพรรณอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้ไม่สูงเกินไป. . .ไม่ต่ำเกินไป. . . ไม่
ดำเกินไป ...ไม่ขาวเกินไป ว่าท่านเป็นคนไม่สูงนัก ว่าท่านเป็นคนไม่ต่ำอาทิผิด นัก
ว่าท่านเป็นคนไม่ดำนัก ว่าท่านเป็นคนไม่ขาวนัก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.
อุปสัมบันด่าอุปสัมบัน
พูดกดกระทบกิเลส
[๒๒๕] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน
ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีกิเลสทราม ด้วยกล่าวกระทบกิเลส
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 六月 03, 2016

Upadinnupadaniya

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 77/418/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ธรรมก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปาก-
นวิปากธัมมธรรมก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะอาทิผิด สระ โทมนัสสินทรีย์
เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ อินทรีย์ ๙
เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปา-
ทานิยะก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ โทมนัสสินทรีย์เป็นสังกิลิฏฐ-
สังกิเลสิกะ อินทรีย์ ๓ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ อินทรีย์ ๓ เป็นอสังกิลิฏฐ-
สังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ
ก็มี เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะก็มี อินทรีย์ ๙ เป็น
อวิตักกาวิจาระ โทมนัสสินทรีย์ เป็นสวิตักกสวิจาระ อุเปกขินทรีย์ เป็นสวิตักก-
สวิจาระก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี อินทรีย์ ๑๑ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็น
อวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี อินทรีย์ ๑๑ กล่าวไม่ได้ว่า
แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะ โสมนัสสินทรีย์
เป็นปีติสหคตะ เป็นนสุขสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นปีติสหคตะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็น
อุเปกขาสหคตะก็มี อินทรีย์ ๔ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็น
อุเปกขาสหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ
แม้เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี อินทรีย์ ๑๕ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ
โทมนัสสินทรีย์ เป็นทัสสนปหาตัพพะก็มี เป็นภาวนาปหาตัพพะก็มี อินทรีย์
๖ เป็นทัสสนปหาตัพพะก็มี เป็นภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นเนวทัสสนน-
ภาวนาปหาตัพพะก็มี อินทรีย์ ๑๕ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ
โทมนัสสินทรีย์ เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 六月 02, 2016

Akan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 71/155/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๓๖. อรรถกถาอธิมุตตเถราปทาน
อปทานของพระอธิมุตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต โลก-
นาถมฺหิ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ เมื่อพระ
โลกนาถพระนามว่าอัตถทัสสี ปรินิพพานแล้ว บังเกิดในเรือนมีตระกูล
แห่งหนึ่ง เลื่อมใสในพระรัตนตรัย นิมนต์ภิกษุสงฆ์ ให้ทำโรงปะรำด้วย
อ้อยทั้งหลาย แล้วบำเพ็ญมหาทานให้เป็นไป ในที่อาทิผิด อาณัติกะได้ปรารถนาสันติบท.
ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เสวยสมบัติทั้งสองในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เลื่อมใส
ในพระศาสนา เพราะท่านตั้งอยู่ในศรัทธา จึงปรากฏนามว่า อธิมุตตเถระ.
ท่านบรรลุพระอรหัต ด้วยอำนาจบุญสมภารที่ท่านทำไว้ด้วยอาการอาทิผิด อักขระ
อย่างนี้ ระลึกถึงบุพกรรมของตนแล้ว เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศ
ปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า นิพฺพุเต โลกนาถฺมหิ ดังนี้. คำ
ที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอธิมุตตเถราปทาน
๑. บาลีเป็นอธิมุตตกเถราปทาน.
 
พระปิฎกธรรม