星期日, 八月 27, 2017

Makham

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/190/6  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มะพร้าว ผลขนุน ผลสาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไท แตงโม ฟักทอง
เป็นอันทรงห้าม และอปรัณณชาติทุกชนิด มีคติอย่างธัญญชาติเหมือนกัน.
มหาผลและอปรัณณชาตินั้น ไม่ได้ทรงห้ามไว้ก็จริง ถึงกระนั้น ย่อมเข้ากับ
สิ่งที่เป็นอกัปปิยะ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรในปัจฉาภัต.
น้ำปานะ ๘ อย่าง ทรงอนุญาตไว้ น้ำปานะแห่งผลไม้เล็กมี หวาย
มะขามอาทิผิด อักขระ มะงั่ว มะขวิด สะคร้อ และเล็บเหยี่ยว เป็นต้น มีคติอย่างอัฏฐบานอาทิผิด สระ
แท้ น้ำปานะแห่งผลไม้เหล่านั้น ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ก็จริง. ถึงกระนั้น ย่อม
เข้ากับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ; เพราะฉะนั้น จึงควร.
ในกุรุนทีแก้ว่า จริงอยู่ เว้นรสแห่งเมล็ดข้าวกับทั้งสิ่งที่อนุโลมเสีย
แล้ว ขึ้นชื่อว่าน้ำผลไม้อื่น ที่ไม่ควร ย่อมไม่มี น้ำผลไม้ทุกชนิดเป็นยาม
กาลิกแท้.
จีวรพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ ๖ ชนิด. จีวรอื่นอีก ๖ ชนิดที่
อนุโลมจีวรเหล่านั้น คือ ผ้าทุกุละ ผ้าแคว้นปัตตุนนะ ผ้าเมืองจีน ผ้าเมือง
แขก ผ้าสำเร็จด้วยฤทธิ์ ผ้าเทวดาให้ พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายอนุญาต
แล้ว.
บรรดาผ้าเหล่านั้น ผ้าปัตตุนนะนั้น ได้แก่ ผ้าที่เกิดด้วยไหมใน
ปัตตุนประเทศ. ผ้า ๒ ชนิด เรียกตามชื่อของประเทศนั่นเอง. ผ้า ๓ ชนิด
นั้น อนุโลมผ้าไหม ผ้าทุกุละ อนุโลมผ้าป่าน นอกจากนี้ ๒ ชนิด อนุโลม
ผ้าฝ้ายหรือผ้าทุกอย่าง.
บาตรพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม ๑๑ อย่าง อนุญาต ๒ อย่าง คือ
บาตรเหล็ก บาตรดิน. ภาชนะ ๓ อย่าง คือ ภาชนะเหล็ก ภาชนะดิน ภาชนะ
ทองแดง อนุโลมแก่บาตรนั้นแล.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 八月 26, 2017

Ruedu

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/193/6  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
กฐินขันธกะ
ภิกษุปาไฐยรัฐเดินทางเข้าเฝ้า
[๙๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอาทิผิด อักขระอาราม
ของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุปาไฐยรัฐจำนวน
๓๐ รูป ล้วนถืออารัญญิกธุดงค์ บิณปาติกธุดงค์ และเตจีวริกธุดงค์ เดิน
ทางไปพระนครสาวัตถีอาทิผิด สระเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจวนถึงฤดูเข้าพรรษา
ไม่สามารถจะเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษาในพระนครสาวัตถี จึงจำพรรษา ณ
เมืองสาเกต ในระหว่างทาง ภิกษุเหล่านั้นจำพรรษามีใจรัญจวนว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าประทับอยู่ใกล้ ๆ เรา ระยะทางห่างเพียง ๖ โยชน์ แต่พวกเราก็
ไม่ได้เฝ้าพระองค์ ครั้นล่วงไตรมาส ภิกษุเหล่านั้นออกพรรษาทำปวารณา
เสร็จแล้ว เมื่อฝนยังตกชุก พื้นภูมิภาคเต็มไปด้วยน้ำ เป็นหล่มเลน มีจีวร
ชุ่มชื้นด้วยน้ำ ลำบากกาย เดินทางไปถึงพระนครสาวัตถี พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกคหบดี เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง.
การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศัยกับพระอาคันตุกะอาทิผิด อักขระทั้ง
หลายนั่นเป็นพุทธประเพณี.

พุทธประเพณี
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอยังพอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอ
เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่
ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ ?
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 八月 24, 2017

Kuea Kun

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 32/178/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อนาปัตติวรรคที่ ๑๒

ว่าด้วยผู้ทำให้พระสัทธรรมอันตรธาน

[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
ฯลฯ ที่แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ ฯลฯ ที่แสดงลหุกาบัติว่า เป็นครุกาบัติ
ฯลฯ ที่แสดงครุกาบัติว่า เป็นลหุกาบัติ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า
เป็นอาบัติ ไม่ชั่วหยาบ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
ฯลฯ ที่แสดงอาบัติ มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ที่แสดง
อาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติทำคืน
ได้ว่า เป็นอาบัติทำคืนไม่ได้ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติทำคืนไม่ได้ว่า เป็นอาบัติ
ทำคืนได้ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลอาทิผิด อักขระ
เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนัตถะเพื่อมิใช่ประโยชน์
เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ทั้งย่อมประสบบาปมิใช่อาทิผิด บุญเป็นอันมาก และย่อมทำให้สัทธรรมนี้
อันตรธาน.
[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอนาบัติว่า
เป็นอนาบัติ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็น
อันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบ
บุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น.
[๑๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 八月 18, 2017

Thunlabat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 32/180/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาอนาปัตติวรรคที่ ๑๒

ก็ในอนาปัตติวรรคที่ ๑๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ในคำว่า อนาปตฺตึ อาปตฺติ เป็นต้น อนาบัติที่ท่านกล่าวไว้
ในที่นั้น ๆ ว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ไม่รู้อยู่ ไม่มีไถยจิต ไม่ประสงค์
จะให้ตาย ไม่ประสงค์จะอวด ไม่ประสงค์จะปล่อย (สุกกะ) ดังนี้
ชื่อว่าอนาบัติ. อาบัติที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า เป็นอาบัติแก่
ภิกษุ ผู้รู้อยู่ ผู้มีไถยจิต ดังนี้ ชื่อว่า อาบัติ. อาบัติ ๕ กอง ชื่อว่า
ลหุกาบัติ (อาบัติเบา) อาบัติ ๒ กอง ชื่อว่า ครุกาบัติ (อาบัติหนัก)
อาบัติ ๒ กอง ชื่อทุฏฐุลลาบัติอาทิผิด อักขระ (อาบัติชั่วหยาบ) อาบัติ ๕ กอง ชื่อว่า
อทุฏฐุลลาบัติอาทิผิด สระ (อาบัติไม่ชั่วหยาบ) อาบัติ ๖ กอง ชื่อว่า สาวเสสาบัติ
(อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ) อาบัติปาราชิก ๑ กอง ชื่อว่า อนาวเสสาบัติ
(อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ) อาบัติที่มีส่วนเหลือนั่นแหละ ชื่อว่า อาบัติ
ที่ทำคืนได้ อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือนั่นแหละ ชื่อว่าอาบัติที่ทำคืนไม่ได้.
คำที่เหลือ ในที่ทั้งปวง มีอรรถง่ายทั้งนั้น.
จบ อรรถกถาอนาปัตติวรรคที่ ๑๒
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 八月 17, 2017

Pupphe

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 27/185/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๗. ขัชชนิยสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่ถูกขันธ์ ๕ เคี้ยวกิน

[๑๕๘] กรุงสาวัตถี. ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จริงอยู่
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เมื่อตามระลึกถึงปุพเพอาทิผิด นิวาส
(ชาติก่อน) เป็นจำนวนมาก ก็จะระลึกได้ตามลำดับ สมณะหรือพราหมณ์
ทั้งปวงนั้น ก็จะตามระลึกถึงอุปาทานขันธ์ ๕ หรือขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง
บรรดาขันธ์เหล่านี้. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ จะตามระลึกถึงรูป
ดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้ จะตามระลึกถึงเวทนาดังนี้ว่า
ในอดีตกาลเราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้ จะตามระลึกถึงสัญญาดังนี้ว่า
ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ จะตามระลึกถึงสังขารดังนี้ว่า
ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสังขารอย่างนี้ จะตามระลึกถึงวิญญาณดังนี้ว่า
ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีวิญญาณอย่างนี้.
[๑๕๙] ก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่ารูป? เพราะ
สลายไปจึงเรียกว่ารูป สลายไปเพราะอะไร? สลายไปเพราะหนาวบ้าง
เพราะร้อนบ้าง เพราะหิวบ้าง เพราะระหายบ้าง เพราะสัมผัสแห่ง
เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะอะไรจึงเรียกว่าเวทนา? เพราะเสวยจึงเรียกว่าเวทนา เสวย
อะไร? เสวยอารมณ์สุขบ้าง เสวยอารมณ์ทุกข์บ้าง เสวยอารมณ์
ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า
สัญญา? เพราะจำได้หมายรู้จึงเรียกว่าสัญญา จำได้หมายรู้อะไร?
จำได้หมายรู้สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่าสังขาร? เพราะปรุงแต่งสังขตธรรม
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 八月 16, 2017

Thukhati

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 49/180/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ได้แก่ ซึ่งนางติสสา. บทว่า อวจ แปลว่า ได้กล่าวแล้ว. ก็เพื่อ
จะแสดงถึงอาการที่นางติสสากล่าว จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า ปาปกมฺมํ
กรรมชั่ว. บาลีว่า ปาปกมฺมานิ ดังนี้ก็มี. นางเปรตกล่าวว่า ท่าน
กระทำกรรมชั่วอย่างเดียว แต่ท่านไม่ได้สุคติด้วยดี เพราะกรรมชั่ว
โดยที่แท้ ได้แต่ทุคติอาทิผิด เท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านได้กล่าว คือโอวาท
เราในกาลก่อน โดยอาการใด กรรมนั้นก็ย่อมมีโดยอาการนั้น
เหมือนกัน.
นางติสสาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าว ๓ คาถา โดยนัยมี
อาทิว่า วามโต มํ ตฺวํ ปจฺเจสิ ท่านไม่เชื่อถือเรา ดังนี้. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า วามโต นํ ตฺวํ ปจฺเจสิ ความว่า ท่านเชื่อเรา
โดยอาการผิดตรงกันข้าม คือ ท่านยึดถืออาทิผิด สระเราแม้ผู้แสวงหาประโยชน์
แก่ท่าน ก็ทำให้เป็นข้าศึก. บทว่า มํ อุสูยสิ แปลว่า ท่านริษยาเรา
คือ ทำความริษยาเรา. ด้วยบทว่า ปสฺส ปาปานํ กมฺมานํ วิปาโก
โหติ ยาทิโส นี้ นางเปรตแสดงว่า ท่านจงดูวิบากของกรรมชั่ว
ที่ร้ายกาจมากนั้น โดยประจักษ์.
บทว่า เต อญฺเญ ปริจาเรนฺติ ความว่า ทาสีในเรือนของท่าน
และเครื่องอาภรณ์เหล่านี้ที่ท่านหวงแหนไว้ในกาลก่อน บัดนี้
บำเรอคนอื่น คือ คนอื่นใช้สอย. จริงอยู่ บทว่า อิเม นี้ ท่านกล่าว
โดยเป็นลิงควิปลาส. บทว่า น โภคา โหนฺติ สสฺสตา ความว่า
ธรรมดาว่าโภคะเหล่านี้ ไม่แน่นอน คือไม่ยั่งยืนเป็นของชั่วกาล
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 八月 15, 2017

Rueang Rong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 70/176/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ปิณฑจาริกวัตร คือถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ดังนี้แล้วจึงเสด็จ
เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก เริ่มตั้งแต่เรือนที่ตั้งอยู่ในที่สุดไป. มหา-
ชนโจษขานกันว่า ได้ข่าวว่า สิทธัตถกุมารผู้เป็นเจ้านายเที่ยวไปเพื่อก้อน
ข้าว จึงเปิดหน้าต่างในปราสาทชั้น ๒ และชั้น ๓ เป็นต้น ได้เป็นผู้
ขวนขวายเพื่อจะดู.
ฝ่ายพระเทวีพระมารดาของพระราหุล ทรงดำริว่า นัยว่า พระลูกเจ้า
เสด็จเที่ยวไปในพระนครนี้แหละด้วยวอทองเป็นต้น โดยราชานุภาพยิ่ง
ใหญ่ มาบัดนี้ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ. ถือกระเบื้องเสด็จ
เที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว จะงามหรือหนอ จึงทรงเปิดพระแกลทอดพระเนตร
ดู ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังถนนในพระนครให้สว่าง ด้วยพระ-
รัศมีแห่งพระสรีระอันเรืองอาทิผิด อาณัติกะรองด้วยแสงสีต่างๆ ไพโรจน์งดงามด้วยพุทธ-
สิริอันหาอุปมามิได้ ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สดใส
ด้วยพระอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ ตามประชิดล้อมรอบด้วยพระรัศมีด้าน
ละวา จึงทรงชมเชยตั้งแต่พระอุณหิส (ได้แก่ส่วนที่เลยหน้าผากไป) จน
ถึงพื้นพระบาท ด้วยคาถาชื่อว่านรสีหคาถา ๑๐ คาถามีอาทิอย่างนี้ว่า
พระผู้นรสีหะ มีพระเกสาเป็นลอนอ่อนดำสนิท มีพื้น
พระนลาตปราศจากมลทินดุจพระอาทิตย์ มีพระนาสิกโค้ง
อ่อนยาวพอเหมาะ มีข่ายพระรัศมีแผ่ซ่านไป ดังนี้.
แล้วกราบทูลแด่พระราชาว่า พระโอรสของพระองค์เสด็จเที่ยวไป
เพื่อก้อนข้าว. พระราชาสลดพระทัย เอาพระหัตถ์จัดผ้าสาฎกให้เรียบร้อย
พลางรีบด่วนเสด็จออก รีบเสด็จดำเนินไปประทับยืนเบื้องพระพักตร์ของ
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 八月 14, 2017

Phong Sai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 45/168/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๖. ทานสูตร
ว่าด้วยให้ทานที่ให้แล้วมีผลมาก
[๒๐๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำแนกทาน
เหมือนอย่างเรารู้ไซร้ สัตว์ทั้งหลายยังไม่ให้แล้ว ก็จะไม่พึงบริโภค อนึ่ง
ความตระหนี่อันเป็นมลทิน จะไม่พึงครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้น
ไม่พึงแบ่งคำข้าวคำหลังจากคำข้าวนั้นแล้วก็จะไม่พึงบริโภค ถ้าปฏิคาหกของ
สัตว์เหล่านั้นพึงมี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ผลแห่งการ
จำแนกทานเหมือนอย่างเรารู้ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายไม่ให้แล้วจึงบริโภค อนึ่ง
ความตระหนี่อันเป็นมลทินจึงยังครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลาย พึงรู้ผลแห่งการ
จำแนกทาน เหมือนอย่างที่ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ตรัสแล้วโดย
วิธีที่ผลนั้นเป็นผลใหญ่ไซร้ สัตว์ทั้งหลาย
พึงกำจัดความตระหนี่ อันเป็นมลทินเสีย
แล้ว มีใจผ่องใสอาทิผิด สระ พึงให้ทานที่อาทิผิด อาณัติกะให้แล้ว มี
ผลมาก ในพระอริยบุคคลทั้งหลายตาม
กาลอันควร อนึ่ง ทายกเป็นอันมาก ครั้น
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 八月 12, 2017

Ceto

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 71/209/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
วีชนีวรรคที่ ๖
วิธูปนทายกเถราปทานที่ ๑ (๕๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายพัด
[๕๓] เราได้ถวายพัดเล่มหนึ่ง แด่อาทิผิด อักขระพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ ผู้เป็นจอมแห่งสัตว์
มั่นคง.
เรายังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว ประนมอัญชลีถวายบังคม
พระสัมพุทธเจ้า บ่ายหน้าไปทางทิศอุดรหลีกไป.
พระศาสดาผู้อัครนายกของโลก ทรงรับพัดวีชนีแล้ว ประ-
ทับยืน ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ด้วยการถวายพัดนี้ และด้วยการตั้งจิตไว้ ผู้นี้จักไม่ไปสู่
วินิบาตตลอดแสนกัป.
เราปรารภความเพียร มีจิตแน่วแน่ มีใจตั้งมั่นในเจโตอาทิผิด สระคุณ
(คุณคือการกำหนดรู้ใจผู้อื่น) มีอายุ ๗ ปีโดยกำเนิด ได้
บรรลุพระอรหัต.
ใน ๖ หมื่นกัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง ทรงมี
พละมาก พระนามเหมือนกันว่า พิชชมานะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระวิธูปนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบวิธูปนทายกเถราปทาน
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 八月 08, 2017

Lae

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 89/161/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คือ ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูป อาศัยจิต หทยวัตถุ อาศัย
จิต, จิต อาศัยหทยวัตถุ, พึงกระทำมหาภูตรูป ๑ จนถึงอสัญญสัตว์.
๕. จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยธรรมที่ไม่ใช่จิตต-
สมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย
คือ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และอาทิผิด สระจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยจิตซึ่งเป็น
อเหตุกะ
ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ฯลฯ จิต.
ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม
อาศัยหทยวัตถุ.
โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยจิต.
๖. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตต-
สมุฏฐานธรรม อาศัยธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น
เพราะนเหตุปัจจัย
คือ ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และกฏัตตารูป
อาศัยจิต.
ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ จิตและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุ.
๗. จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยจิตตสมุฏฐานธรรม
และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๒ และ สมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นจิตตสมุฏ-
ฐานธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ และจิต ฯลฯ ขันธ์ ๒.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 八月 07, 2017

Nang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 60/184/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๑๖๙๐] เนื้อแพะ เป็นที่รักเป็นที่พอใจแห่งบุตร
อำมาตย์และราชโอรสทั้งหลาย ชนเหล่านั้นย่อมไม่
บริโภคเนื้อสุนัข ครั้งนี้ มิตรธรรมแห่งแพะกับสุนัข
มีต่อกัน.
[๑๖๙๑] ชนทั้งหลายย่อมใช้หนังอาทิผิด แพะเป็นเครื่อง
ลาดบนหลังม้า เพราะเหตุแห่งความสุข แต่ไม่ใช้
หนังสุนัขเป็นเครื่องลาดบนหลังม้า ครั้งนี้มิตรธรรม
แห่งแพะกับสุนัขมีต่อกัน.
[๑๖๙๒] แพะมีเขาอันโค้งจริง แต่สุนัขไม่มีเขา
เลย แพะกินหญ้า สุนัขกินเนื้อ ครั้งนี้มิตรธรรมแห่ง
แพะกับสุนัขมีต่อกัน.
[๑๖๙๓] แพะกินหญ้า กินใบไม้ ส่วนสุนัขไม่
กินหญ้าไม่กินใบไม้ สุนัขจับกระต่ายหรือแมวกิน
ครั้งนี้ มิตรธรรมแห่งแพะกับสุนัขมีต่อกัน.
[๑๖๙๔] แพะมี ๔ เท้า ๘ กีบ มีกายไม่ปรากฏ
สุนัขนี้นำหญ้ามาเพื่อแพะนี้ แพะนี้ก็นำเนื้อมาเพื่อ
สุนัขโน้น.
[๑๖๙๕] นัยว่า พระผู้เป็นจอมประชานิกรผู้
ประเสริฐกว่าชาววิเทหรัฐ ประทับอยู่บนปราสาทอัน
ประเสริฐ ได้ทอดพระเนตรเห็นการนำอาหารมาแลก
กันกินโดยประจักษ์ และได้ทอดพระเนตรเห็นมิตร-
ธรรมแห่งสุนัขกับแพะด้วยพระองค์เอง.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 八月 05, 2017

Katatta

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 86/185/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พึงนับเหมือนการนับในปฏิจจวาระในกุสลติกะ ที่นับไว้แล้วโดยวิธี
สาธยาย.
อนุโลม จบ

ปัจจนียนัย
๑. นเหตุปัจจัย
[๑๔๓๔] ๑. อุปาทินนุปาทานิยธรรม อาศัยอุปาทินนุปาทา-
นิยธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ซึ่งเป็น
อเหตุกะ เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.
ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตาอาทิผิด สระรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น
อุปาทินนุปาทานิยธรรม เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒
เกิดขึ้น. หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น. ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุ
เกิดขึ้น.
มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูป ที่เป็น
อุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูป เกิดขึ้น.
สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น
ฯลฯ กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูป เกิดขึ้น.
๒. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม อาศัยอุปาทินนุปาทา-
นิยธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 八月 04, 2017

Pucchaka

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/154/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ต้น ก็ไม่พึงกล่าวแม้โดยความเป็นเอการัมมณะ. แต่เพราะความที่พระนิพพาน
เป็นพหิทธาธรรม จึงชื่อว่า พหิทธารัมมณะฉะนี้. สติปัฏฐาน พระผู้มีพระ-
ภาคตรัสว่าเป็นโลกุตตระอันสำเร็จแล้วนั่นแหละ ในปัญหาปุจฉกะนี้ ด้วย
ประการฉะนี้. จริงอยู่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสสติปัฏฐานอันเป็นโลกิยะและ
โลกุตตระปะปนกันไว้ในสุตตันตภาชนีย์ทั้งนั้น แต่ในอภิธรรมภาชนีย์และปัญหา
ปุจฉกะนี้ ตรัสว่าเป็นโลกุตตระอย่างเดียว. แม้สติปัฏฐานวิภังค์นี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าก็นำออกจำแนกแสดงแล้ว ๓ ปริวรรต (คือ ๓ ตอน คือ สุตตันต-
ภาชนีย์ อภิธรรมภาชนีย์ และปัญหาปุจฉกะ) ดังพรรณนามาฉะนี้ แล.
วรรณนาปัญหาปุจฉกะอาทิผิด จบ
อรรถกถาสติปัฏฐานวิภังคนิทเทส จบ
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 八月 03, 2017

Hai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/159/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๔๗๗] บทว่า ทำความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความพยายามชอบ อันใด นี้
เรียกว่า ความเพียร. ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความ
เพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำความเพียร.

เพียรสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น
[๔๗๘] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้อาทิผิด สระเกิดขึ้น เป็น
อย่างไร ?
ในบทเหล่านั้น กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นไฉน ?
กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วย อโลภะ อโทสะ อโมหะนั้น กาย-
กรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีอโลภะ อโทสะ อโมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน
สภาวธรรมเหล่านั้น เรียกว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น.
ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมเหล่านี้ ที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ด้วยประการ
ฉะนี้.
[๔๗๙] บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทศว่า ฉันทะ เป็นไฉน ?
ความพอใจ การทำความพอใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำ
ฉันทะให้เกิด.
บทว่า พยายาม มีนิเทศว่า ความพยายาม เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม.
บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน ?
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 八月 02, 2017

Sali

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 56/193/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คุณเจ้าต้องการจะใช้สอย จงไปยืนอยู่ในที่ชื่อโน้น เรียกข้าพเจ้า
ว่า “อุนทุระ” เถิด ดังนี้แล้วก็ลาไป. ส่วนนกแขกเต้า ไหว้พระ-
ดาบสแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีทรัพย์
แต่เมื่อพระคุณเจ้าจะต้องการข้าวสาลีแดงละก็ โปรดไปที่อยู่
ของข้าพเจ้า ในที่ชื่อโน้น เรียกข้าพเจ้าว่า “สุวะ” ข้าพเจ้า
สามารถจะบอกแก่ฝูงญาติ ให้ช่วยขนข้าวสาลีอาทิผิด อักขระสีแดงมาถวายได้
หลายเล่มเกวียน แล้วลาไป. ฝ่ายพระราชกุมาร เพราะฝังใจใน
ธรรมของผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นสันดาน คิดได้ว่า การที่เรา
จะไม่พูดอะไร ๆ บ้าง ไปเสียเฉย ๆ ไม่เหมาะเลย เราจักฆ่า
ดาบสเสียเวลาที่ท่านมาหาเรา จึงอาทิผิด สระกล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า
ผู้เจริญ เมื่อข้าพเจ้าดำรงอยู่ในราชสมบัติแล้ว นิมนต์มาเถิด
กระผมจักบำรุงพระคุณเจ้าด้วยปัจจัย ๔ แล้วก็ลาไป. พระกุมาร
นั้นเสด็จไปได้ไม่นาน ก็ดำรงอยู่ในราชสมบัติ.
พระโพธิสัตว์ดำริว่า เราจักทดสอบคนเหล่านั้น ดังนี้แล้ว
จึงไปสู่สำนักงูก่อน ยืนอยู่ไม่ห่าง เรียกว่า “ทีฆะ”. เพียงคำเดียว
เท่านั้น งูก็เลื้อยออกมาไหว้พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ข้าแต่พระคุณ-
เจ้าผู้เจริญ ที่ตรงนี้มีทรัพย์อยู่ ๔๐ โกฏิ นิมนต์พระคุณเจ้าขุด
ค้นขนเอาไปให้หมดเถิด. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เอาไว้อย่างนี้แหละ
เมื่อมีกิจเกิดขึ้นจึงจะรู้กัน บอกให้งูกลับไปแล้วเลยไปสำนัก
ของหนู เอ่ยเสียงเรียก. แม้หนูก็ปฏิบัติดังนั้นเหมือนกัน. พระ-
โพธิสัตว์ก็บอกให้หนูกลับไป. เลยไปสำนักนกแขกเต้า เรียกว่า
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 八月 01, 2017

Cham Doem

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/131/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ภ. นานนักแล สีหะ ตระกูลของเธอได้เป็นสถานที่รับรองพวก
นิครนถ์มา ด้วยเหตุนั้น เธอพึงสำคัญเห็นบิณฑบาตว่าเป็นของควรให้นิครนถ์
เหล่านั้นผู้เข้าไปถึงแล้ว.
สี. โดยพระพุทธดำรัสแม้นี้ ข้าพระพุทธเจ้ายินดี พอใจยิ่งกว่า
คาดหมายไว้ เพราะพระองค์ตรัสอย่างนี้กะข้าพระพุทธเจ้าว่า นานนักแล สีหะ
ตระกูลของเธอได้เป็นสถานที่รับรองพวกนิครนถ์มา ด้วยเหตุนั้น เธอพึงสำคัญ
บิณฑบาตว่าเป็นของควรให้นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปถึงแล้ว ดังนี้ ข้าพระ-
พุทธเจ้าได้ทราบว่า พระสมณโคดมรับสั่งอย่างนี้ว่า ควรให้ทานแก่เราผู้เดียว
ไม่ควรให้ทานแก่คนพวกอื่น ควรให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่ควรให้
ทานแก่สาวกของศาสดาอื่น เพราะทานที่ให้แก่เราเท่านั้น มีผลมาก ทานที่
ให้แก่คนพวกอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้น มีผลมาก ทาน
ที่ให้แก่สาวกของศาสดาอื่นไม่มีผลมาก แต่ส่วนพระองค์ทรงชักชวนข้าพระ-
พุทธเจ้า ในการให้แม้ในพวกนิครนถ์ แต่ข้าพระพุทธเจ้าจักรู้กาลในข้อนี้เอง
ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ แม้ครั้งที่ ๓ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสก
ผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมอาทิผิด อักขระแต่วันนี้เป็นต้นไป พระพุทธเจ้าข้า.

สีหะเสนาบดี ได้ธรรมจักษุ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่สีหะเสนาบดี
คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา ซึ่งโทษแห่งกามอันต่ำทราม
อันเศร้าหมอง และอานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า
สีหะเสนาบดีมีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิต
 
พระปิฎกธรรม