星期一, 四月 30, 2018

Kan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   1/1/5   ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระวินัยปิฎก
เล่ม ๑
มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ขอน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เวรัญชกัณฑ์อาทิผิด อักขระ
เรื่องเวรัญชพราหมณ์
[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ
ควงไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๕๐๐ รูป เวรัญชพราหมณ์ได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่านผู้เจริญ
พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล ประทับอยู่ ณ บริเวณ
ต้นไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๕๐๐ รูป ก็แลพระกิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น
ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์แม้
เพราะเหตุนี้ ทรงตรัสรู้เองโดยชอบแม้เพราะเหตุนี้ทรงบรรลุวิชชาและจรณะ
แม้เพราะเหตุนี้ เสด็จไปดีแม้เพราะเหตุนี้ ทรงทราบโลกแม้เพราะเหตุนี้
ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นศาสดา
ของเทพและมนุษย์ ทั้งหลายแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นพุทธะแม้เพราะเหตุนี้
ทรงเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เพราะเหตุนี้ พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้ง
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 四月 28, 2018

Samniang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   16/4/3  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๒๖. มีพระทาฐะขาวงาม
๒๗. มีพระชิวหาใหญ่
๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีสำเนียงอาทิผิดดัง
นกการะเวก
๒๙. มีพระเนตรดำสนิท
๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาโค
๓๑. มีพระอุณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างพระโขนง มีสีขาว
อ่อนควรเปรียบด้วยนุ่น
๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนี้แล ที่พระ
มหาบุรุษประกอบแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่าง
อื่น คือถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ . . . อนึ่ง ถ้าพระ-
มหาบุรุษเสด็จออกผนวชจะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลังคาคือ
กิเลสอันเปิดแล้วในโลก. ภิกษุทั้งหลาย พวกฤษีแม้เป็นภายนอก ย่อม
ทรงจำมหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษ ๓๒ เหล่านี้ได้ แต่ฤษีเหล่านั้นย่อม
ไม่ทราบว่าเบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมที่ตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ไว้ สัตว์ที่บำเพ็ญกุศลกรรมนั้น
ย่อมครอบงำเทวดาทั้งหลายอื่นในโลกสวรรค์โดยสถาน ๑๐ คือ อายุทิพย์
วรรณทิพย์ ความสุขทิพย์ ยศทิพย์ ความเป็นอธิบดีทิพย์ รูปทิพย์
เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ และโผฏฐัพพทิพย์ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์
นั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้มหาปุริสลักษณะนี้.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 四月 25, 2018

Samakkhi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 10/587/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สองบทว่า กิริยา มชฺเฌ มีความว่า กิริยาที่กระทำบุพกิจสวด
ปาฏิโมกข์ เป็นท่ามกลางของอุโบสถกรรม.
สองบทว่า นิฏฺฐานํ ปริโยสานํ มีความว่า ความจบปาฏิโมกข์
ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหมดทีเดียว พึงเป็นผู้พร้อมเพรียง ชื่นชมยินดีด้วยดีอยู่
เป็นผู้ไม่วิวาทอยู่ ศึกษาในพระปาฏิโมกข์นั้น เป็นที่สุด (ของอุโบสถกรรม).
หลายบทว่า ปวารณากมฺมสฺส สามคฺคี อาทิ มีความว่า กาย-
สามัคคีอาทิผิด อักขระของภิกษุทั้งหลายผู้คิดว่า จักทำปวารณา แล้วชำระสีมา นำฉันทะและ
ปวารณามา ประชุมกัน เป็นเบื้องต้นของปวารณากรรม.
สองบทว่า กิริยา มชฺเฌ มีความว่า ปวารณาญัตติและปวารณากถา
เป็นท่ามกลาง (ของปวารณากรรม).
คำของภิกษุผู้สังฆนวกะที่ว่า ข้าพเจ้าเห็นอยู่ จักทำคืน เป็นที่สุด
(ของปวารณากรรม).
ภิกษุย่อมเป็นผู้ควรแก่กรรม ด้วยวัตถุใด วัตถุนั้น ชื่อว่าวัตถุใน
กรรมทั้งหลาย มีตัชชนียกรรมเป็นต้น.
บุคคลที่ก่อวัตถุนั้น ชื่อว่าบุคคล.
สองบทว่า กมฺมวาจา ปริโยสานํ มีความว่า คำสุดท้ายแห่ง
กรรมวาจานั้น ๆ อย่างนี้ว่า ตัชชนียกรรม อันสงฆ์ทำแล้ว แก่ภิกษุชื่อนี้
ควรแก่สงฆ์ เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง, ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ เป็นที่สุด
ของกรรมทั้งหลาย มีตัชชนียกรรมเป็นต้น.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
พรรณนาอุโปสถาทิปุจฉาวิสัชนา จบ
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 四月 22, 2018

Weluwan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/511/4  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
วัสสูปนายิกขันธกะ
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๒๐๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระ
เวฬุวันอาทิผิด อักขระ อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรงบัญญัติการจำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้น เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน คนทั้งหลาย
จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึง
ได้เที่ยวอาทิผิด อาณัติกะจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอัน
เขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์อย่าง ๑ ซึ่งมีชีวะ ยังสัตว์เล็ก ๆ จำนวนมากให้
ถึงความวอดวายเล่า ก็พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเป็นผู้กล่าวธรรมอัน
ต่ำทราม ยังพัก ยังอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน อนึ่ง ฝูงนกเหล่านี้เล่า ก็ยัง
ทำรังบนยอดไม้ และพักอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน ส่วนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรเหล่านั้น เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบ
ย่ำอาทิผิด สระติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียน อินทรีย์อย่าง ๑ ซึ่งชีวะ ยังสัตว์เล็ก ๆ
จำนวนมากให้ถึงความวอดวาย ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนา จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-
หลาย เราอนุญาต ให้จำพรรษา.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 四月 18, 2018

Thamma

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 82/448/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ภูมินั้น, เมื่อบุคคลเหล่านั้นเกิดอยู่ในสุทธาวาสภูมิก็ดี บุคคลที่เกิดอยู่
ในอสัญญสัตตภูมิก็ดี ฆานายตนะไม่ใช่กำลังเกิด และมนายตนะก็ไม่ใช่
เคยเกิดแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น.
ก็หรือว่า มนายตนะไม่ใช่เคยเกิดแก่บุคคลใดในภูมิใด, ฆานา-
ยตนะก็ไม่ใช่เคยเกิดแก่บุคคลนั้นในภูมินั้น ใช่ไหม ?
ใช่.
จบ ฆานายตนมูละ มนายตนมูลี

ฆานายตนมูละ มนายตนมูลี :-
[๔๓๙] ฆานายตนะ.ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลใดในภูมิใด, ธัมมา-อาทิผิด อักขระ
ยตนะก็ไม่ใช่เคยเกิดแก่บุคคลนั้นในภูมินั้น ใช่ไหม ?
เมื่อบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดกำลังตายก็ดี บุคคลที่ฆานะเกิดไม่ได้
เหล่านั้นกำลังเกิดก็ดี ฆานายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้นใน
ภูมินั้น แต่ธัมมายตนะเคยเกิดแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น, เมื่อบุคคล
เหล่านั้นเกิดอยู่ในสุทธาวาสภูมิ ฆานายตนะไม่ใช่กำลังเกิด และธัมมา-
ยตนะก็ไม่ใช่เคยเกิดแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 四月 17, 2018

Paetsip Paet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 71/427/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดประสูติ แก้วทุกชนิด
ส่องแสงโชติช่วง บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็น
ศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดประสูติ ทรงย่างพระ-
บาทก้าวไป ก้าว บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็น
ศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่.
พอพระสัมพุทธเจ้าประสูติแล้วเท่านั้น ก็ทรงเหลียวแลดู
ทิศทั้งปวง ทรงเปล่งอาสภิวาจา นี้เป็นธรรมดาของพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย.
เรายังหมู่ชนให้เกิดสังเวช ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้นำของโลก ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าแล้ว บ่ายหน้ากลับ
ไปทางทิศปราจีน.
ในกัปที่ ๙๑ เเต่กัปนี้ เราชมเชยพระพุทธเจ้าใด ด้วยการ
ชมเชยนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการชมเชย.
ในกัปที่ ๙๐ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนามว่า
สัมมุขาถวิกะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
ในกัปที่ ๘๙อาทิผิด แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนาม
ว่าปฐวีทุนทุภิ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
ในกัปที่ ๘๘อาทิผิด แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอม-
กษัตริย์มีนามว่าโอภาสะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 四月 16, 2018

Rot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 59/425/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระคุณของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายว่า สิริสมบัติแม้ทั้งหมดนี้ คือ
ห่อทองห่อนี้ ๑ ดอกไม้ทอง ๑ เศวตฉัตรอาทิผิด อักขระ ๑ ช้างม้าและรถอาทิผิด อักขระที่เป็น
ราชพาหนะเหล่านี้ จำนวนหลายพัน ๑ ห้องคลังที่เต็มด้วยแก้วมณี
และแก้วมุกดาเป็นต้น ๑ แผ่นดินใหญ่ที่เต็มไปด้วยธัญชาตินานาชนิด ๑
เหล่านารีที่เทียบเคียงกับสาวอัปสร ๑ เป็นสมบัติของเรา ไม่ใช่ของ
คนอื่น แต่เป็นสิ่งที่อาศัยการถวายขนมกุมมาส ๔ ก้อน แก่พระปัจเจก
๔ องค์นั่นเอง สมบัตินั้นเราได้มาเพราะอาศัยพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่า
นั้น ดังนี้ แล้วได้กระทำกรรมของตนให้ปรากฏแล้ว. เมื่อพระองค์
ทรงรำลึกถึงผลกรรมนั้นแล้ว พระสรีระทั้งสิ้นเต็มเปี่ยมไปด้วยปีติ.
พระองค์ทรงมีพระราชหฤทัยชุ่มเย็นด้วยปีติ เมื่อทรงขับเพลงขับที่ทรง
อุทานออกมา ที่ท่ามกลางมหาชน ได้ตรัสคาถา ๒ คาถา ว่า :-
ได้ยินว่า การปรนนิบัติพระอโนมทัสสี-
ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีผลหาน้อยไม่ เชิญ
ดูผลของการถวายก้อนขนมกุมมาสที่แห้งและ
มีรสจืดชืดเถิด โปรดดูผลแห่งการถวายก้อน
ขนมกุมมาสที่เป็นเหตุให้เรามีช้าง โคม้า ทรัพย์
และข้าวเปลือกมากมาย ทั้งแผ่นดิน ทั้งสิ้น
และนางนารีเหล่านี้ ที่เปรียบด้วยนางอัปสร
เชิญดูผลของการถวายก้อนขนมกุมมาสเถิด.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 四月 14, 2018

Damrong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 45/366/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
วิวตฺตยิ สํโยชนํ ความว่า หมุนสังโยชน์ ๑๐ อย่างไปได้โดยรอบ คือทำให้
ไม่มีราคะ. บทว่า สมฺมา ได้แก่โดยเหตุ คือโดยการณ์. บทว่า มานาภิสมยา
ความว่า เพราะตรัสรู้ด้วยการเห็น หรือเพราะตรัสรู้ด้วยการละซึ่งมานะ.
อธิบายว่า อรหัตมรรคเห็นมานะ ด้วยอำนาจแห่งกิจ นี้เป็นการบรรลุ
ด้วยการเห็นซึ่งมานะนั้น. ก็มานะที่อริยมรรคเห็นแล้วนั้น อันอริยมรรคนั้น
ย่อมละได้ในทันใดนั้นเอง เหมือนชีวิตของสัตว์ที่ถูกกัดแล้ว ย่อมละได้ด้วยพิษ
ที่กัดแล้ว นี้เป็นการบรรลุด้วยการละซึ่งมานะนั้น. บทว่า อนฺตมกาสิ
ทุกฺขสฺส ความว่า พระอริยสาวกได้ทำที่สุดกล่าวคือเงื่อน ได้แก่สุดสาย
ปลายทาง แห่งวัฏทุกข์ทั้งหมด. มีอธิบายว่า ได้การทำทุกข์ให้เหลือไว้เพียง
ร่างกายในชาติสุดท้าย.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ บทว่า โย ได้แก่
พระอริยสาวกใด. บทว่า อทฺทา แปลว่า ได้เห็นแล้ว. อธิบายว่า เห็น
สุขเวทนาโดยเป็นทุกข์. แท้จริง สุขเวทนาเป็นเสมือนโภชนะที่เจือด้วยยาพิษ
ในเวลาบริโภคจะให้ความอร่อย ในเวลาเปลี่ยนแปลงไป ย่อมเป็นทุกข์อย่าง
เดียว. บทว่า ทุกฺขมทกฺขิ สลฺลโต ความว่า ทุกขเวทนาเมื่อเกิดขึ้นก็ดี
ถึงฐิติขณะ (ดำรงอาทิผิด อยู่) ก็ดี แตกดับไปก็ดี ย่อมเบียดเบียนทั้งนั้น เหมือน
ลูกศรกำลังเสียบเข้าสรีระก็ดี หยุดอยู่ก็ดี กำลังถอนออกก็ดี ย่อมให้เกิดความ
เจ็บปวดทั้งนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เห็นทุกข์นั้น
โดยเป็นลูกศร. บทว่า อทกฺขิ นํ อนิจฺจโต ความว่า เห็นอทุกขมสุข-
เวทนานั้น แม้ที่เกิดขึ้นละเอียดกว่า เพราะเป็นภาวะที่ละเอียดกว่าสุขและทุกข์
โดยความไม่เที่ยง เพราะมีความไม่เที่ยงเป็นที่สุด. บทว่า สเว สมฺมทฺทโส
ความว่า พระอริยสาวกนั้นเอง มีปกติเห็นเวทนาทั้ง ๓ โดยเป็นทุกข์เป็นต้น
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 四月 13, 2018

Mana

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 35/377/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ท่านเข้าไปถึงที่ภิกษุณีนั้นแล้ว นั่ง ณ อาสนะที่เขาจัดไว้ ครั้นนั่งแล้วจึงกล่าว
กะภิกษุณีนั้นว่า
ดูก่อนน้องหญิง ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยอาหาร เธอพึงอาศัยอาหาร
ละอาหารเสีย
ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยตัณหา เธอพึงอาศัยตัณหาละตัณหาเสีย
ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยมานะอาทิผิด อักขระ เธอพึงอาศัยมานะละมานะเสีย
ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยเมถุน ควรละเมถุนนั้นเสีย เมถุนนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนให้ชักสะพานเสีย
ดูก่อนน้องหญิง ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยอาหาร
เธอพึงอาศัยอาหารละอาหารเสีย ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้วน้องหญิง
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงกลืนกินอาหาร มิใช่
บริโภคเพื่อเล่น มิใช่เพื่อเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อประเทืองผิว เพียง
เพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อยังชีวิตให้เป็นไป เพื่อระงับความกระหายหิว
เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า ด้วยการกินอาหารนี้ เราจักระงับ
เวทนาเก่าด้วย จักไม่ยังเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไปได้ ความ
ไม่มีโทษ และความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา ต่อมา ภิกษุนั้นก็อาศัยอาหารละอาหาร
เสีย ดูก่อนน้องหญิง ข้อที่เรากล่าวว่า ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยอาหาร
เธอพึงอาศัยอาหารละอาหารเสีย ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้แลกล่าวแล้ว
ก็ข้อที่ว่า ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยตัณหา เธอพึงอาศัยตัณหาละตัณหา
เสีย นี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ได้ยินข่าวว่า
ภิกษุชื่อนั้น เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองสำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ เธอมี
ความปรารถนาว่า เมื่อไรนะ เราจักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ ฯลฯ
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 四月 12, 2018

Insi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 39/328/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เมตตสูตร
ว่าด้วยการแผ่เมตตาในสัตว์ทั้งปวง
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสอนพวกภิกษุผู้อยู่ป่าว่า
[๑๐] กิจนั้นใด อันพระอริยะบรรลุบทอันสงบ
ทำแล้ว กิจนั้นอันกุลบุตรผู้ฉลาดพึงทำ
กุลบุตรนั้น พึงเป็นผู้อาจหาญ ตรงและตรงด้วยดี
พึงเป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ
พึงเป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจน้อย
ประพฤติเบากายจิต
พึงเป็นผู้มีอินทรีย์อาทิผิด สงบ มีปัญญารักษาตัว เป็น
ผู้ไม่คะนอง ไม่ติดในสกุลทั้งหลาย
วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นใดอาทิผิด ด้วยกรรม
ลามกอันใดอาทิผิด ก็ไม่พึงประพฤติกรรมอันลามกนั้น
พึงแผ่ไมตรีจิตไปในหมู่สัตว์ว่า ขอสัตว์ทั้งปวง
จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด
สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ยัง
เป็นผู้สะดุ้ง [มีตัณหา] หรือเป็นผู้มั่นคง [ไม่มีตัณหา]
ทั้งหมดไม่เหลือเลย.
เหล่าใดยาวหรือใหญ่ ปานกลางหรือนั้น ผอม
หรืออ้วน.
เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น เหล่าใด
อยู่ในที่ไกลหรือไม่ไกล ที่เกิดแล้ว หรือที่แสวงหา
ภพเถิด.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 四月 11, 2018

Upasombot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 20/501/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนักเปรียบเหมือนบุคคล
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีป
ในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรง
ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่าน
พระโคดม พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา
อุปสมบท ในสำนักท่านพระโคดม.
ดูก่อนมาคัณฑิยะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวัง
อุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุ
ทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุได้ ก็แต่
ว่า เรารู้ความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชนทั้งหลายผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวัง
บรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน
ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชาอุปสมบทได้ไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่
ปริวาสสี่ปี ต่อเมื่อล่วงสี่ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชาให้อุปสมบท
เพื่อความเป็นภิกษุเถิด.
มาคัณฑิยปริพาชกได้บรรพชา ได้อุปสมบทอาทิผิด อักขระในสำนักของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว ก็เมื่อท่านมาคัณฑิยะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่แต่ผู้
เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านานเท่าไร ก็
ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง
ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ท่านมาคัณฑิยะได้เป็นพระ-
อรหันต์รูปหนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

จบมาคัณฑิยสูตรที่ ๕
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 四月 06, 2018

Yamkreng

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 8/563/1  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในสิกขา ภิกษุที่ไม่เคารพยำเกรงอาทิผิด สระในพระศาสดา ในพระธรรม ใน
พระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังการโจทกันให้เกิด
ในสงฆ์ การโจทย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็น
สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์แก่เทพดาและมนุษย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็น
รากแห่งการโจทกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอกได้ พวกเธอใน
บริษัทนั้น พึงพยายามละรากแห่งการโจทกันอันลามกนั้นแหละเสีย ถ้า
พวกเธอไม่เล็งเห็นรากแห่งการโจทกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอก
พวกเธอในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อแห่งราก แห่งการโจทกัน
อันลามกนั้นแหละ ความละรากแห่งการโจทกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วย
อย่างนี้ การยืดเยื้อแห่งรากแห่งการโจทกันอันลามกนั้น ย่อมมีต่อไป
ด้วยอย่างนี้ .
[๖๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่
ตีเสมอท่าน
ภิกษุเป็นผู้มีปกติอิสสา ตระหนี่....
ภิกษุเป็นผู้อวดดี เจ้ามายา.....
ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด.....
ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้
ยาก ภิกษุที่ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยากนั้น
ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 四月 04, 2018

Sota Lae Sanya?

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 68/177ก/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ธรรม ๘ ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ-อารมณ์แห่งญาณอันฌายี
บุคคลครอบงำไว้ ๘
ธรรม ๙ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙
ธรรม ๑๐ ควรรู้ยิ่ง คือ นิชชรวัตถุ - เหตุกำจัดมิจฉาทิฏฐิ
เป็นต้น ๑๐.
[๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติทั้งปวงควรรู้ยิ่ง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมชาติทั้งปวงควรรู้ยิ่ง คืออะไร ? คือ ตา รูป
จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุข-
เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย (แต่ละอย่าง ๆ) ควรรู้ยิ่ง
หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ
ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควร
รู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๔] รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ โสตะอาทิผิด อักขระ
ฆานะ ชิวหา กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมา-
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 四月 03, 2018

Wisutthi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 68/372/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อาทิว่า บทว่า โพชฺฌงฺคา ชื่อว่า โพชฌงค์ด้วยอรรถว่ากระไร ? ชื่อว่า
โพชฺฌงฺคา เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปเพื่อการตรัสรู้
บทว่า อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค - อริยมรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่า
อริยะ เพราะไกลจากกิเลสที่ถูกฆ่าด้วยมรรคนั้น ๆ เพราะทำความเป็น
อริยะ และเพราะทำให้ได้อริยผล. มรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่า อัฏฐังคิกะ.
มรรคมีองค์ ๘ นั้นดุจเสนามีองค์ ๔, เพียงองค์เท่านั้นดุจดนตรีมีองค์ ๕,
พ้นไปจากองค์แล้วย่อมไม่มี. องค์มรรคคือโพชฌงค์เป็นโลกุตระ, แม้
ส่วนเบื้องต้นก็ย่อมได้โดยปริยายแห่งทสุตตรสูตร.
บทว่า นว ปาริสุทฺธิปธานิยงฺคานิ - องค์เป็นประธานแห่งความ
บริสุทธิ์ ๙ ได้แก่ สีลวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์แห่งศีล เป็นองค์ เป็น
ประธานแห่งความบริสุทธิ์ ๑ จิตตวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์แห่งจิต เป็น
องค์เป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์ ๑ ทิฏฐิวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์แห่ง
ทิฏฐิ เป็นองค์เป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์ ๑ กังขาวิตรณวิสุทธิ-
ความบริสุทธิ์แห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย เป็นองค์เป็น
ประธานแห่งความบริสุทธิ์ ๑ มัคคามัคคญาณทัสนวิสุทธิอาทิผิด อักขระ - ความ
บริสุทธิ์แห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง เป็นองค์เป็นประ-
ธานแห่งความบริสุทธิ์ ๑ ปฏิปทาญาณทัสนวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์แห่ง
๑. ขุ. ป. ๓๑/๕๕๗.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 四月 02, 2018

Phakdi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 62/325/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
และของท่านทั้งสอง หรือของพวกญาติที่เหลือ ดูก่อน
ท่านผู้มีปีกทั้งสองดังสีทอง เมื่อท่านยอมสละชีวิตใน
เพราะคุณอันไม่ประจักษ์ ดังคนตาบอดกระทำแล้ว
ในที่มืด จะพึงยังประโยชน์อะไรให้รุ่งเรืองได้.
[๑๖๖] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าฝูงหงส์
ทั้งหลาย ทำไมหนอพระองค์จึงไม่ทรงรู้อรรถในธรรม
ธรรมอันบุคคลเคารพแล้ว ย่อมแสดงประโยชน์แก่
สัตว์ทั้งหลาย ข้าพระองค์นั้นเพ่งเล็งอยู่ซึ่งธรรมและ
ประโยชน์อันตั้งขึ้นจากธรรม ทั้งเห็นพร้อมอยู่ซึ่ง
ความภักดีอาทิผิด อักขระในพระองค์ จึงมิได้เสียดายชีวิต ความที่
มิตรเมื่อระลึกถึงธรรมไม่พึงทอดทิ้งมิตรในยามทุกข์
แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต นี้เป็นธรรมของสัตบุรุษ
ทั้งหลายโดยแท้.
[๑๖๗] ธรรมนี้นั้นท่านประพฤติแล้ว และความ
ภักดีในเราก็ปรากฏแล้ว ท่านจงทำตามความปรารถนา
ของเรานี้เถิด ท่านเป็นอันเราอนุมัติแล้ว จงไปเสีย
เถิด ดูก่อนท่านผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ก็แลเมื่อกาล
ล่วงไปอย่างนี้ คือ เมื่อเราติดบ่วงอยู่ในที่นี้ ท่านพึง
กลับไป ปกครองหมู่ญาติทั้งหลายของเราให้จงดีเถิด.
[๑๖๘] เมื่อสุวรรณหงส์ตัวประเสริฐ ประพฤติ
ธรรมอันประเสริฐ กำลังโต้ตอบกันอยู่ด้วยประการฉะนี้
นายพรานได้ปรากฏแล้ว เหมือนดังมัจจุราชปรากฏ
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 四月 01, 2018

Khaen Khai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 56/446/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
จิตจึงไม่ชุ่มชื่นในกองกิเลส ครั้งนั้น พวกเพื่อน ๆ ของเขา
ปรึกษากันว่า พวกเราจักนำหญิงคนหนึ่ง มาให้บุตรท่าน-
อุตตรเศรษฐี แล้วชวนกันเล่นนักขัตฤกษ์ เข้าไปหาเขา กล่าวว่า
เพื่อนรัก ในพระนครนี้มีงานมหรสพประจำเดือน ๑๒ เขาป่าวร้อง
กันทั่วแล้ว พวกเราพาหญิงคนหนึ่งมาให้ท่าน จักเล่นนักขัตฤกษ์
กัน แม้เมื่อเขาบอกว่า ผมไม่ต้องการผู้หญิง ก็พากันแค่นไค้อาทิผิด
กระเซ้าอยู่บ่อย ๆ จนต้องยอมรับ จึงไปแต่งนางวรรณทาสี
คนหนึ่ง ด้วยเครื่องประดับพร้อมสรรพ พาไปเรือนของเขา
กล่าวว่า เธอจงไปสู่สำนักของเศรษฐีบุตรเถิด ดังนี้แล้ว ส่งเข้าไป
สู่ห้องนอน แล้วพากันออกไป แม้นางจะเข้าไปถึงห้องนอน
เศรษฐีบุตรก็ไม่มองดู ไม่พูดจาด้วย นางคิดว่า ชายผู้นี้ไม่มองดู
เรา ผู้สวยงาม สมบูรณ์ด้วยความเพริศพริ้งอาทิผิด อักขระ แพรวพราว อย่างสูง
เห็นปานนี้เลย ทั้งไม่ยอมพูดจาด้วย บัดนี้ เราจักทำให้เขาจ้อง
มองดูเรา ด้วยกระบวนมายาและการเยื้องกรายของหญิงให้ได้
ดังนี้แล้ว เริ่มแสดงเสน่ห์หญิง เผยปลายฟัน ด้วยการโปรยยิ้ม
ทำชะมดชะม้อยเอียงอาย เศรษฐีบุตรมองดูเลยยึดเอานิมิตรใน
กระดูกฟัน เกิดอัฏฐิกสัญญา ร่างงามนั้นแม้ทั้งหมด ก็ปรากฏ
เป็นเหมือนโครงกระดูก เขาจึงให้รางวัลนาง แล้วส่งตัวกลับไป.
อิสระชนผู้หนึ่งเห็นนางลงมาจากเรือนนั้น ในระหว่างถนน
ก็ให้รางวัลพาไปสู่เรือนของตน ล่วงได้เจ็ดวัน งานนักขัตฤกษ์
ก็ยุติ มารดาของนางวรรณทาสีไม่เห็นกลับมา ก็ไปหาเศรษฐี-
 
พระปิฎกธรรม