星期日, 七月 12, 2020

Tumhu

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 36/32/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
๓. อุปกิเลสสูตร
ว่าด้วยเรื่องอุปกิเลส ๕
[๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ซึ่งเป็นเหตุให้
ทองมัวหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่อง
ประดับไม่ได้ มี ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน คือ เหล็ก ๑ โลหะ ๑ ดีบุก ๑
ตะกั่ว ๑ เงิน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการ
นี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้ทองมัวหมองแล้ว ย่อมไม่อาทิผิด อาณัติกะอ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส
เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่องประดับไม่ได้ เมื่อใด ทองพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง ๕
ประการนี้ ย่อมอ่อน ใช้การได้ สุกใส ทนทาน จะทำเป็นเครื่องประดับก็ได้
คือ ช่างทองต้องการเครื่องประดับชนิดใด ๆ เช่น แหวน ตุ้มหูอาทิผิด lit สร้อยคอ
สังวาล ก็ทำได้ตามต้องการ ฉันใด อุปกิเลสแห่งจิต ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้า
หมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องไส เสียเร็ว ไม่ตั้งมั่นโดยชอบ
เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็มี ๕ ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน อุปกิเลส
๕ ประการเป็นไฉน คือ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑
อุทธัจจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ อุปกิเลสแห่งจิต ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็น
เหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส เสียเร็ว
ไม่ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ แต่เมื่อใด จิตพ้นจาก
อุปกิเลส ๕ ประการนี้ ย่อมอ่อน ใช้การได้ ผ่องใส ทนทาน ตั้งมั่นโดยชอบ
เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ และภิกษุ จะน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งได้ด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อธรรม
เครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในธรรมนั้น ๆ โดยแน่
นอน.
พระปิฎกธรรม

没有评论: