星期二, 十一月 10, 2020

Yueang Krai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 37/342/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ดังนี้ ชื่อว่าพึงกล่าวชอบ คือพึงนับว่ากล่าวความจริง ก็เหตุนั้น
เป็นไฉน ? ดูก่อนพราหมณ์ ความยินดีในรูป ฯลฯ ความยินดีใน
โผฏฐัพพะ. ตถาคตละได้แล้ว. มีอธิบายอย่างไร ? มีอธิบายว่า
ความยินดีในรูป ความยินดีในเสียง ความยินดีในกลิ่น ความยินดี
ในรส ความยินดีในโผฏฐัพพะ อันใด กล่าวคือความพอใจในกามสุข
ย่อมเกิดแก่พวกปุถุชน แม้ที่เขาสมมติกันว่าเป็นผู้ประเสริฐด้วย
ชาติกำเนิด หรือด้วยอุบัติ ผู้พอใจ เพลิดเพลิน กำหนัด
ในรูปารมณ์เป็นต้น รสเหล่าใด ย่อมดึงโลกนี้ไว้เหมือนผูกไว้ที่คอ
หรือเรียกว่าสามัคคีรส เพราะเกิดขึ้นด้วยความพร้อมเพรียงของ
วัตถุและอารมณ์เป็นต้น รสแม้ทั้งหมดนั้น ตถาคตละได้แล้ว. แม้
เมื่อควรจะตรัสว่า เราละเสียแล้ว ก็ไม่ทรงยกพระองค์ด้วยมมังการ
แสดงธรรมอีกอย่างหนึ่ง นั่นเป็นเทศนาวิลาสความเยื้องกรายอาทิผิด อักขระ
แห่งเทศนาของพระตถาคต.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปหีนา แปลว่า ไปปราศ หรือขาด
จากจิตสันดาน. ก็ในอรรถนี้ พึงเป็นฉัฏฐีวิภัติ ใช้ในอรรถแห่ง
ตติยาวิภัติ. ชื่อว่ามีรากตัดขาดแล้ว เพราะรากล้วนแล้วด้วยตัณหา
และอวิชชาของรสเหล่านั้น อันตถาคตตัดขาดแล้วด้วยตัณหา
คือ อริยมรรค ชื่อว่ากระทำให้เหมือนวัตถุพื้นที่ตั้งของต้นตาล
เพราะกระทำให้เป็นวัตถุที่ตั้งของความยินดีในรูปเป็นต้น เหล่านั้น
เหมือนวัตถุพื้นที่ตั้งของต้นตาล. เหมือนอย่างว่า เมื่อถอนต้นตาล
พร้อมทั้งราก กระทำประเทศคือพื้นที่ตรงนั้นให้เป็นเพียงพื้นที่ตั้ง
ของต้นตาลนั้น ต้นตาลนั้นย่อมไม่ปรากฏว่าเกิดขึ้นอีก ฉันใด เมื่อ
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: