星期三, 十二月 30, 2020

Ma

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 48/615/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

星期一, 十二月 28, 2020

Song

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 59/517/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

星期五, 十二月 25, 2020

Bhikkhuno

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 10/896/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ตอบว่า บุคคลที่ไม่ควรให้อุปสมบท
มี ๓ พวก กรรมสงเคราะห์มี ๓ อย่าง บุคคล
ที่ถูกนาสนะตรัสไว้ ๓ พวก อนุสาวนาเดียว
กัน สำหรับบุคคลมีจำนวน ๓ คน.

ต้องอาบัติเพราะอทินนาทานเป็นต้น
[๑,๒๕๓] ถามว่า อาบัติเพราะอทิน-
นาทาน มีเท่าไร อาบัติเพราะเมถุนเป็น
ปัจจัยมีเท่าไร เมื่อตัดเป็นอาบัติเท่าไรเพราะ
การทิ้งเป็นปัจจัยเป็นอาบัติเท่าไร
ตอบว่า อาบัติเพราะอทินนาทานมี
๓ อาบัติเพราะเมถุนเป็นปัจจัยมี ๔ เมื่อตัด
เป็นอาบัติ ๓ ตัว อาบัติเพราะการทิ้งเป็น
ปัจจัยมี ๕.

ปรับอาบัติควบกันเป็นต้น
[๑,๒๕๔] ถามว่า ในภิกขุโมอาทิผิด อักขระวาทก-
วรรค อาบัติทุกกฏ กับปาจิตตีย์ หมวดที่
ตรัสไว้เป็น ๙ ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น เป็นเท่าไร
ภิกษุณีเท่าไร เป็นอาบัติแก่ภิกษุเพราะจีวร
ตอบในภิกขุโนวาทกวรรค อาบัติ
ทุกกฏกับปาจิตตีย์ ที่ตรัสไว้หมวด ๙ ใน
พระปิฎกธรรม

星期四, 十二月 24, 2020

Sakwa

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/362/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
อาชีวะ. ภิกษุนั้นแหละ ย่อมถูกครหา ในปัจจุบัน ทั้งในเบื้องหน้า ก็ชื่อว่า
เป็นผู้ขวนขวายในอบาย ภิกษุนั้น เมื่อให้ไม้ไผ่อันเป็นของเฉพาะตนย่อม
ต้องอาบัติทุกกฏ ชื่อว่า กุลทูสกะ (ผู้ประทุษร้ายตระกูล) เมื่อให้ไม้ไผ่อัน
เป็นของเฉพาะของคนอื่น ย่อมต้องอาบัติ ด้วยเถยยจิต (ขโมย) สงฆ์พึง
กระทำทัณฑกรรมแก่เธอตามราคาสิ่งของนั้น. แม้การให้ไม้ไผ่อันเป็นของสงฆ์
ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ถ้าว่า ภิกษุย่อมให้ไม้ไผ่นั้น เพราะความที่ตนเป็นใหญ่
เธอก็จะต้องอาบัติ เพราะการสละครุภัณฑ์.
ไม้ไผ่ประเภทไหนเป็นครุภัณฑ์ ประเภทไหนไม่เป็น พึงทราบ
ความดังต่อไปนี้.
ไม้ไผ่ใด ที่ไม่ได้ปลูกไว้ เกิดขึ้นเองก่อน ไม้ไผ่นั้นเป็นครุภัณฑ์
ตามฐานะที่สงฆ์กำหนดเท่านั้น นอกนั้น ไม่เป็นครุภัณฑ์. ไม้ไผ่ทั้งปวง
เป็นครุภัณฑ์ โดยประการทั้งปวง ในอันที่สงฆ์ปลูกไว้แล้ว. ไม้ไผ่นั้น
ท่านกำหนดแล้วโดยประมาณ. จริงอยู่ มีประมาณหนึ่งทะนานตวงน้ำมัน
จัดเป็นครุภัณฑ์ ต่ำกว่านั้นไม่เป็น. อนึ่ง ภิกษุใด มีความต้องการด้วย
ทะนานตวงน้ำมัน หรือต้องการไม้เท้า สงฆ์พึงถือเอาสิ่งนั้นกระทำให้เป็น
ผาติกรรม เถิด. ผาติกรรมเป็นของมีราคา หรือเป็นของมากกว่าของสงฆ์
ย่อมควร น้อยกว่า ไม่ควร. แม้หัตถกรรม ลักว่าอาทิผิด อักขระวัตถุเป็นเครื่องนำน้ำไป
หรือว่า วัตถุเป็นเครื่องดายหญ้าอันเล็กน้อย ก็เช่นเดียวกัน สงฆ์ควรทำ
ผาติกรรมนั้นให้ถาวร. เพราะฉะนั้น การที่ภิกษุโกยเลนขึ้นจากสระน้ำก็ดี
ใช้ให้บุคคลปูลาดพื้นที่บันไดเพื่อทำพื้นที่ไม่เสมอให้เสมอกันก็ดี ควรอยู่ แต่ไม่
ต้องถือเอาเครื่องผาติกรรม คือ เมื่อเธออาศัยอยู่ที่นั้นนั่นแหละพึงใช้สอย เมื่อ

๑. ผาติกรรม หมายถึงสิ่งของแลกเปลี่ยน ในทางพระวินัย หมายถึง การชดเชยของสงฆ์
ด้วยสิ่งอื่น
พระปิฎกธรรม

星期二, 十二月 22, 2020

Sandhika

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 39/171/22 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
บทว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
ประมวลการไม่คบพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาผู้ที่ควรบูชา ๑ ทั้งหมด
จึงตรัสว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตม.ํ ท่านอธิบายว่า คำใดท่านถามว่า โปรด
ตรัสบอกมงคลอันอุดมเถิด ท่านจงถือคำนั้นว่า มงคลอันอุดม ในข้อนั้นก่อน
นี้เป็นการพรรณนาบทแห่งคาถานี้.
ส่วนการพรรณนาความแห่งบทนั้น พึงทราบดังนี้ พระผู้มีพระภาค
เจ้า ทรงสดับคำของเทพบุตรนั้นอย่างนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า อเสวนา
จ พาลานํ เป็นต้น.
ในคาถานั้น คาถามี ๔ คือ ปุจฉิตคาถา อปุจฉิตคาถา สานุ-
สันธิกคาถา อนนุสันธิกคาถา.
บรรดาคาถาทั้ง ๔ นั้น คาถาที่ทรงถูกผู้ถามถามแล้ว จึงตรัสชื่อว่า
ปุจฉิตคาถา ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ปุจฺฉามิ ตํ โคตม ภูริปญฺ
กถํกโร สาวโกสาธุ โหติ ท่านพระโคดม ผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน
ข้าพเจ้าขอถามท่าน สาวกทำอย่างไรจึงเป็นคนดี และประโยคว่า กถํ นุ ตฺวํ
มาริส โอฆมตริ ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านข้ามโอฆะอย่างไรเล่าหนอ.
คาถาที่พระองค์ไม่ได้ถูกถามแต่ตรัสโดยพระอัธยาศัยของพระองค์เอง
ชื่อว่า อปุจฉิตคาถา ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ยํ ปเร สุขโต อาหุ
ตทริยา อาหุ ทุกฺขโต คนอื่น ๆ กล่าวสิ่งใดว่าเป็นสุข พระอริยะทั้งหลาย
กล่าวสิ่งนั้นว่าเป็นทุกข์. คาถาของพระพุทธะทั้งหลายแม้ทั้งหมด ชื่อว่า
สานุสันธิกคาถา เพราะบาลีว่า สนิทานาหํ ภิกฺขเว ธมฺมํ เทเสสฺสามิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมมีนี้ท่านคือเหตุ ดังนี้. ที่ชื่อว่าอนสุ-
สินธิอาทิผิด คาถา คาถาไม่มีเหตุ ไม่มีในศาสนานี้ ก็บรรดาคาถาเหล่านี้ดังกล่าวมา
พระปิฎกธรรม

星期六, 十二月 19, 2020

Satthiwiharik

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 52/396/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
เราจะยังห้องแห่งพระอรหัตให้เจริญ ดังนี้แล้ว ไปสู่สำนักของพระศาสดา
พร้อมกับกุลบุตรนั้น พระศาสดาทรงสดับว่า ภิกษุนั้นยังไม่มีพรรษาแต่มี
สัทธิวิหาริกอาทิผิด อักขระ จึงทรงติเตียนว่า เร็วนักแล โมฆบุรุษ เธอเวียนมาเพื่อการ
เป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือย เธอจึงคิดว่า บัดนี้เราถูกพระศาสดาทรงติเตียน
เพราะอาศัยบุรุษนี้แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เราอาศัยบุรุษนี้แหละ จักให้
พระศาสดาตรัสสรรเสริญบ้าง ดังนี้แล้ว จึงบำเพ็ญวิปัสสนา ไม่นานนัก
ก็บรรลุพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า :-
เราได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
ปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลก เป็นนระผู้ประเสริฐ สูง
สุดกว่านระ ประทับนั่งอยู่ที่เงื้อมภูเขา เวลานั้น เราได้
เห็นดอกกรรณิการ์กำลังบาน จึงเด็ดขั้วมันแล้ว เอามา
ประดับที่ฉัตร โปรย (กั้น) ถวายแด่พระพุทธเจ้า และ
เราได้ถวายบิณฑบาต มีข้าวชั้นพิเศษ ที่จัดว่าเป็นโภชนะ
อย่างดี ได้นิมนต์พระ ๘ รูป เป็น ๙ รูปทั้งพระพุทธเจ้า
ให้ฉันที่บริเวณนั้น พระสยัมภูมหาวีระเจ้า ผู้เป็นบุคคล
ผู้เลิศ ทรงอนุโมทนาว่า ด้วยการถวายฉัตรนี้ (และ)
ด้วยจิตอันเลื่อมใสในการถวายข้าวชั้นพิเศษนั้น ท่านจัก
เป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติ ๓๖ ครั้ง และจักได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๑ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศ-
ราชอันไพบูลย์ โดยคณานับไม่ถ้วน ในแสนกัปแต่กัปนี้

๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๑๙.
พระปิฎกธรรม

星期五, 十二月 18, 2020

Sakkaya

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 3/460/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ไม่รังเกียจ โจทว่ารังเกียจ
ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจท
เธอว่า ข้าพเจ้ารังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ
ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี
ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุก ๆ คำพูด.
โจทก์ไม่เห็น
[๕๕๑] ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้า
โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็นและได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม
ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี
ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ทุก ๆ คำพูด.
ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า
ข้าพเจ้าได้เห็น และรังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็น
สมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี
สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอ
ว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม
ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตรอาทิผิด อักขระ อุโบสถก็ดี
ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ทุก ๆ คำพูด.
พระปิฎกธรรม

星期四, 十二月 17, 2020

Ratana

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 34/490/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้ากาสี แม้ใหม่ก็สีงาม สัมผัสนิ่ม และราคาแพง
แม้กลางใหม่กลางเก่าก็สีงาม สัมผัสนิ่มและราคาแพง แม้เก่าแล้วก็สีงาม
สัมผัสนิ่มและราคาแพง ผ้ากาสี ถึงคร่ำคร่าแล้ว เขายังใช้เป็นผ้าห่อรตนะอาทิผิด อักขระ (คือ
เงินทองเพชรพลอยอาทิผิด ย่อมมีค่า) บ้าง เก็บไว้ในคันธกรณฑ์ (หีบอบของหอม)
บ้าง ฉันใด.
ฉะนั้นนั่นแหละ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนวกะก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี
ภิกษุเถระก็ดี ถ้าเป็นผู้มีศีลมีธรรมอันดี เรากล่าวความมีศีลมีธรรมดีนี้
ในความมีสีงามของภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่าเหมือนผ้ากาสีมีสีงามฉะนั้น
อนึ่ง ชนเหล่าใดคบหาสมาคมทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น ข้อนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของชนเหล่านั้นตลอดกาลนาน เรากล่าวการคบ-
หาสมาคมทำตามอย่างที่เป็นเหตุให้เกิดประโยชน์สุขนี้ ในความมีสัมผัสนิ่มของ
ภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่า ดุจผ้ากาสีมีสัมผัสนิ่มฉะนั้น
อนึ่ง ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย...ของ
ชนเหล่าใด ข้อนั้นย่อมเป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ชนเหล่านั้น เรากล่าว
การรับปัจจัยอันเป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ทายกนี้ ในความมีราคาแพงของ
ภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่า เสมือนผ้ากาสีมีราคาแพงฉะนั้น
อนึ่ง ภิกษุเถระผู้มีคุณธรรมอย่างนี้ กล่าวอะไรขึ้นในท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทั้งหลายก็พากันว่า ท่านทั้งหลาย จงสงบเสียงเถิด ภิกษุผู้ใหญ่จะกล่าว
ธรรมกล่าววินัยนี้ ดังนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า เราทั้งหลาย
จักเป็นอย่างผ้ากาสี ไม่เป็นอย่างผ้าเปลือกไม้ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
พึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบนวสูตรที่ ๘
พระปิฎกธรรม

星期一, 十二月 14, 2020

Jhana

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 26/586/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัด
ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอยู่ด้วยประการฉะนี้ได้อย่างใด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้กัสสปก็หวังอย่างนั้นได้เหมือนกัน คือกัสสปเห็นหมู่สัตว์
ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัด
ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.
[๕๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน
ทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ได้อย่างใด แม้กัสสปก็ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอย่างนั้นได้เหมือนกัน.
จบฌานาภิญญาสูตรที่ ๙

อรรถกถาฌานาภิญญาสูตรที่ ๙

พึงทราบวินิจฉัยในฌานาอาทิผิด อักขระภิญญาสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ยาวเทว อากงฺขามิ ได้แก่ เท่าที่เราปรารถนา. ส่วน
ต่อแต่นี้ เรากล่าวรูปาวจรฌาน ๔ โดยนัยเป็นต้นว่า วิวิจฺเจว
กาเมหิ ดังนี้. อรูปสมาบัติอาทิผิด สระ ๔ โดยนัยเป็นต้นว่า สพฺพโส รูปสญฺญานํ
สมติกฺกมา ดังนี้. นิโรธสมาบัติอย่างนี้ว่า สพฺพโส เนวสญฺญา-
นาสญฺญายตนํ สมติกฺกมฺม สญฺาเวทยิตนิโรธํ ดังนี้. และกล่าว
อภิญญาเป็นโลกีย์ ๕ โดยนัยเป็นต้นว่า อเนกวิหิตํ อิทฺธิวิธํ ดังนี้.
พระปิฎกธรรม

星期日, 十二月 13, 2020

Kharuehabodi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 33/71/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ภิกษุสงฆ์ลำบากด้วยการเที่ยวขออาหารในเมืองเวรัญชา ขอพระองค์โปรด
ประทานปฏิญญาทรงรับให้ข้าพระองค์ทะนุบำรุงภิกษุสงฆ์ตลอด ๔ เดือน
เถิด ข้าพระองค์จะประจุโอชะเข้าไปในสรีระของภิกษุสงฆ์นะพระเจ้าข้า.
พระศาสดาทรงรับโดยดุษณีภาพ พระเจ้ามหานามะทรงทราบว่า ทรงรับ
แล้ว ตั้งแต่วันรุ่งขึ้น ก็บำรุงภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วย
โภชนะอันประณีตและของมีรสอร่อย ๔ ชนิด เป็นต้น รับปฏิญญาบำรุง
อีก ๔ เดือน เป็น ๘ เดือนเต็ม แล้วรับปฏิญญาบำรุงอีก ๔ เดือน ชื่อ
ว่า ทรงบำรุงตลอดทั้งปี. พระศาสดามิได้ประทานปฏิญญารับอาราธนา
เกินไปกว่านั้น. ส่วนพระเจ้ามหานามะทรงทำสักการะแก่ภิกษุสงฆ์ที่มา
ถึงต่อ ๆ มาโดยทำนองนี้นี่แล. พระคุณนั้นของเจ้ามหานามะ ก็ขจรไปทั่ว
ชมพูทวีป. เรื่องเกิดขึ้นอย่างนี้นี่แล. ต่อมา พระศาสดาประทับนั่ง ณ
พระเชตวันวิหาร จึงทรงสถาปนาพระเจ้ามหานามศากยะไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสก ผู้ถวายทานอันมีรสประณีต แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๖
๖. ประวัติอุคคคฤหบดีอาทิผิด อักขระชาวเมืองเวสาลี

ในสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า มนาปทายกานํ ท่านแสดงว่า อุคคคฤหบดี ชาว
กรุงเวสาลี เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ถวายโภชนะที่ชื่นชอบใจ.
พระปิฎกธรรม

星期五, 十二月 11, 2020

Khochon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 69/376/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
สัญญา. บทนี้เป็นชื่อของรูปสัญญาเป็นต้น. เพราะดับ เพราะละ เพราะไม่
ให้เกิดปฏิฆสัญญา ๑๐ โดยประการทั้งปวง คือ กุสลวิบากแห่งสัญญาเหล่านั้น
๕ อกุสลวิบาก ๕ ท่านอธิบายว่าทำไม่ให้เป็นไปได้ อนึ่ง สัญญาเหล่านี้ ย่อม
ไม่มีแม้แก่ผู้เข้าถึงปฐมฌานเป็นต้นโดยแท้ เพราะในสมัยนั้นจิตยังไม่เป็นไป
ด้วยอำนาจแห่งทวาร ๕ แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น เพื่อให้เกิดอุตสาหะในฌานนี้
ดุจในจตุตถฌานแห่งสุขและทุกข์ที่ละได้แล้วในที่อื่นและดุจในตติยมรรคแห่ง
สักกายทิฏฐิเป็นต้น พึงทราบคำแห่งสัญญา เหล่านั้น ในที่นี้ด้วยอำนาจแห่ง
การสรรเสริญฌานนี้.
อีกอย่างหนึ่ง สัญญาเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ผู้เข้าถึงรูปาวจรโดยแท้ถึงดัง
นั้น ย่อมไม่มีเพราะละได้เเล้วก็หามิได้ เพราะการเจริญรูปาวจร ย่อมไม่เป็น
ไปเพื่อคลายกำหนัดในรูป และเพราะยังเนื่องในรูป สัญญาเหล่านั้นจึงยังเป็น
ไปอยู่ ส่วนภาวนานี้ยังเป็นไปเพื่อคลายกำหนัดในรูป เพราะฉะนั้นจึงควรกล่าวว่า
สัญญาเหล่านั้นละได้แล้วในบทนี้ ไม่ใช่กล่าวแต่อย่างเดียว ควรแม้เพื่อทรง
ไว้อย่างนี้โดยส่วนเดียวด้วย เพราะยังละสัญญา เหล่านั้น ไม่ได้ก่อนจากนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เสียงของผู้เข้าถึงปฐมฌานเป็นดุจหนาม. อนึ่ง
เพราะละได้แล้วในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถึงความที่อรูปสมาบัติไม่หวั่น
ไหวและความที่พ้นไปอย่างสงบ.
บทว่า นานตฺตสญฺานํ อมนสิการา เพราะไม่มนสิการถึง
นานัตตสัญญา คือ สัญญาเป็นไปในโคจรอาทิผิด อักขระมีความต่าง ๆ กันหรือสัญญามีความ
ต่าง ๆ กัน เพราะสัญญาเหล่านั้นเป็นไปในโคจรมีสภาพต่าง ๆ กัน อันเป็น
ความต่างกัน มีรูปสัญญาเป็นต้น และเพราะสัญญา ๔๔ อย่างนี้คือ กามาวจร
กุสลสัญญา ๘ อกุสลสัญญา ๑๒ กามาวจรกุสลวิปากสัญญา ๑๑ อกุสลวิปาก
พระปิฎกธรรม

星期四, 十二月 10, 2020

Rao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 64/366/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุลฺลเก หิ วิธุรสฺส ทสฺสเน ความ
ว่า การเห็นวิธุรบัณฑิตผู้มีเสียงอันไพเราะ หาผู้เสมือนมิได้นั้น หาได้ยาก.
ด้วยว่า พระราชาในชมพูทวีปทั้งสิ้น ทรงจัดการพิทักษ์รักษาป้องกันวิธุร-
บัณฑิตอย่างกวดขันประกอบโดยธรรม. แม้ใคร ๆ จะเห็นก็เห็นไม่ได้ ใครเล่า
จะนำวิธุรบัณฑิตนั้นมาในนาคพิภพนี้ได้.
พระนางวิมลาเทวีได้สดับพระสวามีตรัสดังนั้นจึงทูลว่า เมื่อหม่อมฉัน
ไม่ได้ จักตายในที่นี้แล แล้วเบือนพระพักตร์ผันพระปฤษฎางค์ให้แก่พระสวามี
เอาชายพระภูษาปิดพระพักตร์บรรทมนิ่งอยู่. พระยานาคเสด็จไปสู่ห้องที่
ประกอบด้วยสิริของพระองค์ ประทับนั่งลงเหนือพระแท่นบรรทม ทรงเข้า
พระทัยว่า พระนางวิมลาเทวีจะให้เอาเนื้อหทัยของวิธุรบัณฑิตมาให้ จึงทรง
พระดำริว่า เมื่อพระนางวิมลาไม่ได้ดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต ชีวิตของเธอ
จักหาไม่ ทำอย่างไรหนอ เราอาทิผิด สระจึงจักได้เนื้อหทัยของวิธุรบัณฑิตนั้น. ลำดับนั้น
นางนาคกัญญานามว่า อิรันทตี ซึ่งเป็นธิดาของพระยานาคนั้น ประดับด้วย
เครื่องประดับพร้อมสรรพ มาสู่ที่เฝ้าพระบิดาด้วยสิริวิลาสอันใหญ่ ถวายบังคม
พระบิดาแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เห็นพระอินทรีย์ของพระบิดาผิด
ปกติ จึงทูลว่า ข้าแต่สมเด็จพ่อ ดูเหมือนสมเด็จพ่อได้รับความน้อยพระทัย
เป็นอย่างยิ่ง นี่เป็นเพราะเหตุไรหนอ พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้แล้วจึงได้ตรัส
พระคาถาว่า
ข้าแต่สมเด็จพระบิดา เหตุไรหนอสมเด็จพระ-
บิดาจึงทรงซบเซา พระพักตร์ของสมเด็จพระธิดา
เป็นเหมือนดอกปทุมที่ถูกขยำด้วยมือ ข้าแต่สมเด็จ
พระบิดาผู้เป็นใหญ่ เป็นที่เกรงขามของศัตรู เหตุไร
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十二月 07, 2020

Pachitti

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 70/572/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยในวินัย (คืออุภโตวิภังค์)
ขันธกะ (คือมหาวรรคและจุลวรรค) ในติกเฉท (คือติก-
สังฆาทิเสส และติกปาจิตตีย์อาทิผิด สระ) และในคัมภีร์ที่ ๕ (คือปริวาร)
เหล่านี้ ทั้งในอักขระหรือแม้พยัญชนะ.
ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในนิคคหกรรม การลงโทษ ใน
ปฏิกรรม การทำคืนอาบัติ ในฐานะและไม่ใช่ฐานะ ในการ
ชักเข้าหมู่ และในการให้ออกจากอาบัติ ถึงความยอดเยี่ยม
ในวินัยกรรมทั้งปวง.
ข้าพระองค์ตั้งบทไว้ในวินัย ขันธกะ และอุภโตวิภังค์
แล้วพึงชักเข้าหมู่ตามกิจ.
ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในนิรุตติ และเฉียบแหลมใน
ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ สิ่งที่ข้าพระองค์ไม่รู้ ย่อมไม่มี
ข้าพระองค์ผู้เดียวเป็นเลิศแห่งพระวินัยธรในพระพุทธศาสนา.
วันนี้ข้าพระองค์บรรเทาความเคลือบแคลงได้ทั้งสิ้น ตัด
ความสงสัยได้ทั้งหมด ในคราวตัดสินวินัย ในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศากยบุตร.
ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในฐานะทั้งปวง คือบัญญัติ อนุ-
บัญญัติ อักขระ พยัญชนะ นิทาน และปริโยสาน.
เปรียบเหมือนพระราชาผู้ทรงพระกำลัง ทรงกำจัดเสนา
ของพระราชาอื่นแล้วพึงทำให้เดือดร้อน ชนะสงครามแล้วจึง
ให้สร้างนครไว้ในที่นั้น.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 十二月 05, 2020

Vivekattha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 43/431/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ผู้เดียวในป่า ชื่อว่าผู้มีกิจอันกระทำแล้ว เพราะกิจ ๑๖ อย่างอันตนทำ
ด้วยมรรค ๔ แล้ว ชื่อว่าหาอาสวะมิได้ เพราะไม่มีอาสวะทั้งหลาย
บรรลุประโยชน์อันสูงสุด คือพระอรหัตแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.
ในกาลจบเทศนา พราหมณ์นั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, เทศนา
ได้เป็นประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง จบ.

๑. ทุกข์ มีกิจ ๔:- ปีฬนตฺถ ในอรรถว่าเบียดเบียน ๑. สงฺขตตฺถ ในอรรถว่าปัจจัย
ประชุมแต่ง ๑. สนฺตาปนตฺถ ในอรรถว่าเร่าร้อน ๑. วิปริณามตฺถ ในอรรถว่าแปรปรวน ๑.
สมุทัย มีกิจ ๔:- อายฺหนตฺถ ในอรรถว่าทำให้เกิดกองทุกข์ ๑. นิทานตฺถ ในอรรถ
ว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ ๑. สงฺโยคตฺถ ในอรรถว่าประกอบไว้ด้วยสังสารทุกข์ ๑. ปลิโพธนตฺถ
ในอรรถว่าขังอยู่ในเรือนจำคือสังสารทุกข์ ๑.
นิโรธ มีกิจ ๔:- นิสฺสรณตฺถ ในอรรถว่าออกจากอุปธิ ๑. วิเวกตฺถอาทิผิด ในอรรถว่าสงัด
จากหมู่คือกิเลส ๑. อสงฺขตตฺถ ในอรรถว่าปัจจัยประชุมแต่งไม่ได้ ๑. อมตตฺถ ในอรรถว่า
เป็นอมตรส (ไม่รู้จักตาย) ๑.
มรรค มีกิจ ๔:- นิยฺยานตฺถ ในอรรถว่าออกจากสงสาร ๑. เหตฺวตฺถ ในอรรถว่า
เป็นเหตุแห่งพระนิพพาน ๑. ทสฺสนตฺถ ในอรรถว่าเห็นพระนิพพาน ๑. อธิปเตยฺยตฺถ ใน
อรรถว่าเป็นอธิบดีในอันเห็นพระนิพพาน ๑.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十二月 03, 2020

Khit Thueng

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 41/471/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทั้งหลาย จักไม่ปล่อยเรา, เราจักไม่อำลาไปละ” ดังนี้แล้ว ก็ไม่บอก
แก่ภิกษุเหล่านั้นเลยออกไปแล้ว. ทราบว่า ข้อที่เขาไม่บอกพวกภิกษุ
หลีกไปเท่านั้น ได้เป็นความพลั้งพลาดอย่างขนาดใหญ่, ก็ในหนทางไป
ของบุรุษนั้น มีดงอยู่แห่งหนึ่ง. วันที่ ๗ เป็นวันของโจร ๕๐๐ คน
ผู้ทำการบนบานเทวดาว่า “ ผู้ใดจักเข้าสู่ดงนี้, พวกเราจักฆ่าผู้นั้นแล้ว
ทำพลีกรรมแด่ท่าน ด้วยเนื้อและเลือดของผู้นั้นแหละ” แล้วอยู่ในดง
นั้น.
เขาถูกโจรจับในกลางดง
เพราะฉะนั้น ในวันที่ ๗ หัวหน้าโจรขึ้นต้นไม้ตรวจดูพวกมนุษย์
เห็นบุรุษนั้นเดินมา จึงได้ให้สัญญาแก่พวกโจร. โจรเหล่านั้นรู้ความที่
บุรุษนั้นเข้าสู่กลางดง จึงล้อมจับเขา ทำการผูกอย่างมั่นคง สีไฟด้วยไม้
สีไฟ ขนฟืนมาก่อเป็นกองไฟใหญ่ เสี้ยมหลาวไว้. บุรุษนั้นเห็นกิริยา
ของโจรเหล่านั้น ถึงถามว่า “นาย ในที่นี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นหมูและเนื้อ
เป็นต้นเลย, เหตุไร พวกท่านจึงทำหลาวนี้ ?”
พวกโจร. พวกเราจักฆ่าเจ้า ทำพลีกรรมแก่เทวดา ด้วยเนื้อและ
เลือดของเจ้า.
บุรุษนั้นถูกมรณภัยคุกคาม มิได้คิดอาทิผิด อักขระถึงอุปการะนั้นของพวกภิกษุ
เมื่อจะรักษาชีวิตของตนอย่างเดียวเท่านั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “นาย
ข้าพเจ้าเป็นคนกินเดน กินภัตที่เป็นเดนเติบโต, ขึ้นชื่อว่าคนกินเดน
เป็นคนกาลกิณี; ก็พวกพระผู้เป็นเจ้า แม้ออกบวชจากสกุลใดสกุลหนึ่ง
เป็นกษัตริย์ทีเดียว; ภิกษุ ๓๑ รูปอยู่ในที่โน้น พวกท่านจงฆ่าภิกษุ
เหล่านั้นแล้วทำกรรม, เทวดาของพวกท่านจักยินดี เป็นอย่างยิ่ง.”
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 十二月 02, 2020

Vinnanancayatana

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 35/467/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึง
ความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าถึงความเป็นพรหม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรภิกษุจึงชื่อว่าถึงชั้นอาเนญชา ? ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับสิ้นปฏิฆ-
สัญญา เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
ด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้ง
ปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนอาทิผิด ฌาน ด้วยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะ
ล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วย
บริกรรมว่า อะไร ๆ ไม่มี เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึง
ชื่อว่าถึงชั้นอาเนญชา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าถึงความเป็นอริยะ ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้
ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุ
จึงชื่อว่าถึงความเป็นอริยะ.
จบอุโปสถสูตรที่ ๑๐
จบโยธาชีวอาทิผิด อักขระวรรคที่ ๔
 
พระปิฎกธรรม