星期二, 十一月 30, 2021

Rachawasati

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 64/430/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระวิธุรบัณฑิตผู้มีธุรกิจหาผู้อื่นเสมอเหมือนมิได้ ได้แสดงราชวสดี-
ธรรมสอนบุตรภรรยาญาติและมิตรด้วยพุทธลีลา จบลงด้วยประการฉะนี้แล.
จบราชวสดีอาทิผิด อักขระกัณฑ์
เมื่อพระมหาสัตว์พร่ำสอนบุตรภรรยาญาติและมิตรเป็นต้น อย่างนี้นั่น
แลจบลง ก็เป็นวันที่ ๓. พระมหาสัตว์นั้น ครั้นทราบว่าครบกำหนดวันแล้ว
อาบน้ำแต่เช้าตรู่ บริโภคโภชนาหารที่รสเลิศต่าง ๆ คิดว่า เราพร้อมด้วย
มาณพจักทูลลาพระราชาไป ดังนี้แล้วแวดล้อมด้วยหมู่ญาติไปสู่พระราชนิเวศน์
ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลถ้อยคำอันสมควรที่
ตนจะพึงกราบทูล.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสพระคาถาว่า
วิธุรบัณฑิตผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ครั้นพร่ำ
สอนหมู่ญาติอย่างนี้แล้ว หมู่ญาติมิตรพากันห้อมล้อม
เข้าไปเฝ้าพระราชา ถวายบังคมพระยุคลบาทด้วยเศียร
เกล้า และทำประทักษิณท้าวเธอ แล้วประคองอัญชลี
กราบบังคมทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงปราบศัตรู
มาณพนี้ปรารถนาจะทำตามความประสงค์จึงจะนำข้า-
พระองค์ไป ข้าพระองค์จะกราบอาทิผิด อักขระทูลประโยชน์แห่งญาติ
ทั้งหลาย ขอเชิญพระองค์ทรงสดับประโยชน์นั้น ขอ
พระองค์ ได้ทรงพระกรุณาเอาพระทัยใส่ดูแลบุตร
ภรรยาของข้าพระองค์ทั้งทรัพย์อื่น ๆ ที่อยู่ในเรือน
โดยที่หมู่ญาติของข้าพระองค์ จะไม่เสื่อมในภายหลัง
ในเมื่อข้าพระองค์ถวายบังคมลาไปแล้ว ความพลั้ง
พลาดของข้าพระองค์นี้ เหมือนบุคคลพลาดล้มบน
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十一月 28, 2021

Khuen

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 37/371/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทั้ง ๔ ด้าน พวกมนุษย์ที่มาจากทิศทั้ง ๔ พักผ่อนที่สันถาคาร
นั้นก่อน ภายหลังจึงไปยังที่อันผาสุกแก่ตน. บางอาจารย์กล่าวว่า
เรือนที่สร้างไว้เพื่อปฏิบัติราชกิจของราชตระกูล ดังนี้บ้าง. จริงอยู่
เจ้าลิจฉวีประทับนั่งที่สันถาคารนั้น ริเริ่มกระทำจัดราชกิจ. บทว่า
สนฺนิสินฺนา ความว่า นั่งประชุมบนอาสนะที่ตกแต่งไว้ มีเครื่อง
ลาดควรค่ามาก ยกเศวตฉัตรขึ้นอาทิผิด สระไว้ เพื่อสำหรับเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น
ประทับนั่ง.
บทว่า อเนกปริยาเยน พุทฺธสฺส วณฺณํ ภาสนฺติ ความว่า
เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย พิจารณาในราชสกุลและการบำเพ็ญประโยชน์
แก่โลกแล้วกล่าวพูดแสดงอาทิผิด คุณของพระพุทธเจ้าด้วยเหตุมิใช่น้อย.
จริงอยู่ เจ้าเหล่านั้นเป็นบัณฑิตมีศรัทธาเลื่อมใสอาทิผิด อักขระ เป็นพระอริยสาวก
ระดับโสดาบันบ้าง สกทาคามีบ้าง อนาคามีบ้าง เจ้าเหล่านั้นทุก
พระองค์ตัดรกชัฏฝ่ายโลกีย์ได้แล้ว สรรเสริญคุณของรัตนะทั้ง ๓
มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. บรรดารัตนะทั้ง ๓ เหล่านั้น ชื่อว่า คุณของ
พระพุทธเจ้ามี อาทิผิด อย่าง คือ จริยคุณ สรีรคุณ คุณคุณ. บรรดา
คุณทั้ง ๓ นั้น เจ้าเหล่านี้ ปรารภพระจรรยาคุณ :- คือกล่าวคุณ
ของพระพุทธเจ้าด้วยชาดก ๕๕๐ เรื่องว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศคือ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถ-
บารมี ๑๐ สิ้นสี่อสงไขยกำไรแสนกัป ทรงทำญาตัตถจริยา โลกัตถ-
จริยา และพุทธัตถจริยาให้ถึงที่สุด แล้วทำบริจาคซึ่งมหาบริจาค
๕ ประการ ทรงทำกิจกรรมที่ทำยากหนอดังนี้ พรรณนาจนถึง
ภพดุสิตแล้วจึงหยุด.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 十一月 27, 2021

Lueafuea

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 36/539/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คิดว่า จงเป็นของสาธารณะกับหมู่สงฆ์ ย่อมเห็นเสมือนเป็นของสงฆ์ ที่จะต้อง
ตีระฆังให้มาบริโภคร่วมกัน. ถามว่า ก็ใครบำเพ็ญสาราณียธรรมนี้ให้บริบูรณ์ได้
ใครไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ? ตอบว่า ผู้ทุศีล ย่อมบำเพ็ญให้บริบูรณ์ไม่ได้ ก่อน
เพราะภิกษุผู้มีศีลทั้งหลาย จะไม่ยอมรับสิ่งของของผู้ทุศีลนั้น. ส่วนภิกษุผู้มีศีล
บริสุทธิ์ไม่ยอมให้วัตรด่างพร้อย ย่อมบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้. ในการบำเพ็ญ
สาราณียธรรมให้บริบูรณ์ได้นั้น มีธรรมเนียม ดังนี้.
ก็ภิกษุใดตั้งใจให้ของแก่มารดาก็ดี แก่บิดาก็ดี แก่อาจารย์และ
อุปัชฌาย์เป็นต้นก็ดี ภิกษุนั้น (ชื่อว่า) ย่อมให้สิ่งที่ควรให้ (แก่คนที่ควรให้)
แต่ไม่ชื่อว่า มีสาราณียธรรม มีแต่เพียงการปฏิบัติผู้ที่ควรห่วงใย. เพราะว่า
สาราณียธรรม ย่อมเหมาะแก่ผู้ที่พ้นจากปลิโพธอาทิผิด สระ (ความห่วงใย) แล้ว.
ก็ผู้ที่จะบำเพ็ญสาราณียธรรมนั้น เมื่อจะให้โดยเจาะจง ควรให้แก่ภิกษุไข้
ผู้พยาบาลภิกษุไข้ ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุผู้เตรียมตัวจะเดินทาง และภิกษุ
ผู้บวชใหม่ ยังไม่รู้การรับสังฆาฏิ และการรับบาตร ครั้นให้แก่ภิกษุเหล่านี้แล้ว
ยังมีของเหลือ นับจำเดิมแต่อาสนะแห่งพระเถระไป ภิกษุใดจะรับเท่าใด
ควรให้ภิกษุนั้น เท่านั้น โดยไม่ให้องค์ละเล็กละน้อย. เมื่อไม่มีของเหลือ
ออกไปบิณฑบาตอีก ควรให้ส่วนที่ประณีตนั้น ๆ จำเดิมแต่อาสนะแห่งพระ-
เถระไป (ตัวเอง) บริโภคส่วนที่เหลือ.
เพราะมีพระบาลีว่า สีลวนฺเตหิ ดังนี้ ถึงจะไม่ให้แก่ภิกษุผู้ทุศีลก็ควร.
ก็สาราณียธรรมนี้ บำเพ็ญได้ง่าย ในบริษัทที่ศึกษาดีแล้ว เพราะในหมู่บริษัท
ที่ศึกษาดีแล้ว ภิกษุใดได้ (อาหาร) มาจากที่อื่น ภิกษุนั้นจะไม่ยอมรับ
ถึงแม้จะไม่ได้มาจากที่อื่น ก็จะรับแต่พอประมาณเท่านั้น ไม่รับจนเหลือเฟืออาทิผิด .
ก็สาราณียธรรมนี้ เมื่อภิกษุจะให้ของที่ตนไปบิณฑบาตได้มาบ่อย ๆ อย่างนี้
จะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้ ต้องใช้เวลา ๑๒ ปี ต่ำกว่านั้นบริบูรณ์ไม่ได้.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十一月 25, 2021

Ajaniya

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 36/534/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สมาธิยติ ความว่า ย่อมตั้งมั่นโดยชอบ ในอารมณ์. บทว่า วิสมคตาย
ปชาย ความว่า ในสัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความไม่สงบ เพราะราคะ โทสะและ
โมหะ. บทว่า สมปฺปตฺโต ความว่า เป็นผู้ถึงความสงบ สม่ำเสมอ. บทว่า
สพฺยาปชฺฌาย แปลว่า ผู้มีทุกข์ร้อน. บทว่า ธมฺมโสตํ สมาปนฺโน
ความว่า เป็นผู้ถึงกระแสธรรมกล่าวคือ วิปัสสนา.
บทว่า พุทฺธานุสฺสตึ ภาเวติ ความว่า ย่อมเพิ่มพูน คือเจริญ
พุทธานุสติกัมมัฏฐาน. ในบททั้งปวง พึงทราบความโดยนัยนี้. เจ้าศากย-
มหานามะทูลถามถึงวิหารธรรม เป็นที่อาศัยของพระโสดาบัน ด้วยประการดัง
พรรณนามาฉะนี้. แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสวิหารธรรมเป็นที่อาศัย ของพระ
โสดาบันนั้นแหละ แก่ท้าวเธอด้วยประการฉะนี้. ในพระสูตรนี้ จึงเป็นอัน
ตรัสถึงพระโสดาบันอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถามหานามสูตรที่ ๑๐
จบอาหุเนยยวรรควรรณนาที่ ๑
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมอาหุเนยยสูตร ๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร ๓. อินทริยสูตร
๔. พลสูตร ๕. ปฐมอาชานิยอาทิผิด สระสูตร ๖. ทุติยอาชานิยสูตร ๗. ตติยอาชา-
นิยสูตร ๘. อนุตตริยสูตร ๙. อนุสสติสูตร ๑๐. มหานามสูตร และ
อรรถกถา.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 十一月 24, 2021

Niwon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 37/368/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ไม่ควรให้แก่ผู้อื่น ควรให้แก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่
สาวกของพวกอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ให้แก่พวกอื่น
ไม่มีผลมาก ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นมีผลมาก ให้แก่สาวกของ
พวกอื่นไม่มีผลมาก แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ากลับตรัสชักชวนข้า
พระองค์ในการให้ทานแม้ในพวกนิครนถ์ด้วย อนึ่ง ข้าพระองค์
จักรู้กาลอันควร ที่จะให้ทานนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่า
เป็นสรณะ เป็นครั้งที่สาม ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำ
ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุปุพพิกถาโปรดสีห-
เสนาบดี คือ ทรงประกาศทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษแห่งกาม
อันต่ำทรามเศร้าหมอง และอานิสงส์ในเนกขัมมะ เมื่อใด พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงทราบว่า สีหเสนาบดี มีจิตควร อ่อน ปราศจาก
นิวรณ์อาทิผิด สระ บันเทิง เลื่อมใสแล้ว เมื่อนั้น จึงทรงประกาศพระธรรม-
เทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงเอง คือ ทุกข์ สมุทัย
นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้น
แก่สีหเสนาบดี ณ ที่นั่งนั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา เปรียบเหมือน
ผ้าที่สะอาดปราศจากดำ จะพึงย้อมติดดี ฉะนั้น.
ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีผู้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว
รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งซึ้งถึงธรรมแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว
ปราศจากความเคลือบแคลงแล้ว ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้อง
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十一月 22, 2021

Hothu

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 36/518/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร
ว่าด้วยคุณธรรมของภิกษุผู้เป็นนาบุญ
[๒๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ
ย่อมเป็นผู้ควรของต้อนรับ ฯลฯ เป็นหาบุญของโลก ไม่มีนาอาทิผิด อักขระบุญอื่นยิ่งกว่า
ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายประการ คือ คนเดียว
เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไป
ก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ใน
แผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะ
ไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพ
มากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
เธอย่อมได้ยินเสียงสองชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่
ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์.
เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ
ก็รู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ
ก็รู้ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ
ก็รู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่อาทิผิด อาณัติกะ
ก็รู้ว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคตก็รู้ว่า จิต
เป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีอาทิผิด จิตอื่น
ยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า จิตไม่มีจิตอื่น
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十一月 19, 2021

Sela

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 47/513/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เสลอาทิผิด อักขระสูตรที่ ๗
ว่าด้วยความเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๓๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในชนบทชื่ออังคุตตราปะ
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนมากประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เสด็จถึงอาปณนิคมของ
ชาวอังคุตตราปะ.
เกณิยชฎิลได้สดับข่าวมาว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจาก
ศากยสกุลอาทิผิด อักขระ เสด็จจาริกไปในชนบทชื่ออังคุตตราปะอาทิผิด พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เสด็จถึงอาปณนิคมอาทิผิด อักขระตามลำดับ ก็กิตติศัพท์อันงามของ
ท่านพระโคดมพระองค์นั้นแล ขจรไปแท้อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ ทรงเบิกบานแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้วทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามใน
ท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง
พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ปานนั้น ย่อมเป็น
ความดีแล.
ครั้งนั้นแล เกณิยชฎิลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน
ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เกณิยชฎิล
เห็นแจ้ง ให้สมาทานอาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十一月 18, 2021

Duang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 73/502/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แปลว่า เหมือนดวงอาทิผิด อักขระอาทิตย์. บทว่า สิริยา ได้แก่ ด้วยพระพุทธสิริ. บทว่า
โพธิมุตฺตมํ ได้แก่ พระสัมโพธิญาณอันสูงสุด.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมโปรดมนุษย์ที่มาใน สุธรรม-
ราชอุทยาน กรุงสุธรรมวดี ทรงยังชนหกล้านให้บวชด้วยเอหิภิกขุภาวะ
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น นั้น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
ต่อจากนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ภิกษุห้าล้านประชุม
กัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒. พระสุทัสสนเถระพาบุรุษสี่แสนซึ่งฟังข่าวว่า
พระสุทัสสนกุมาร ทรงผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า บรรลุพระอรหัต
จึงมาเข้าเฝ้าพระสุชาตนราสภ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดบุรุษ
เหล่านั้น ทรงให้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใน
สันนิบาตที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึง
ตรัสว่า
พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีสันนิ-
บาตประชุมพระสาวก ผู้เป็นพระขีณาสพไร้มลทินมี
จิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง.
พระอรหันตสาวก ผู้ถึงกำลังแห่งอาทิผิด อักขระอภิญญา ผู้ไม่
ต้องไปในภพน้อยภพใหญ่ หกล้าน เหล่านั้นประชุม
กันเป็นการประชุมครั้งที่ ๑.
ในสันนิบาตต่อมาอีก เมื่อพระชินพุทธเจ้า
เสด็จลงจากเทวโลก พระอรหันตสาวกห้าล้าน
ประชุมกัน เป็นการประชุมครั้งที่ ๒.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十一月 15, 2021

Chochong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 43/483/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๒๓. เรื่องสามเณร [๒๘๖]

ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสามเณร
ทั้งหลาย ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “ อวิรุทฺธํ ” เป็นต้น.
พราหมณีเสียใจเพราะได้สามเณรน้อย
ได้ยินว่า พราหมณีคนหนึ่ง จัดแจงอุทเทสภัตไว้เพื่อภิกษุ ๔ รูป
กล่าวกะพราหมณ์ว่า “ พราหมณ์ ท่านจงไปวิหารแล้ว เจาะจงนำพราหมณ์
แก่ ๔ คนมา.” พราหมณ์นั้นไปสู่วิหารแล้วกล่าวว่า “ ท่านทั้งหลายจง
เจาะจงอาทิผิด สระให้พราหมณ์ ๔ คนแก่ผม.”
สามเณรผู้เป็นขีณาสพ ๔ รูป ซึ่งมีอายุ ๗ ปี คือ “ สังกิจจสามเณร
บัณฑิตสามเณร โสปากสามเณร เรวตสามเณร” ถึงแล้วแก่พราหมณ์นั้น.
พราหมณี แต่งตั้งอาสนะทั้งหลายควรแก่ค่ามากไว้ เห็นสามเณร
แล้ว โกรธ บ่นพึมพำอยู่ เหมือนเกลืออันบุคคลใส่ลงที่เตาไฟ กล่าวว่า
“ ท่านไปวิหารแล้ว พาเด็ก ๔ คนแม้ปูนหลานของตนซึ่งไม่สมควรมา
แล้ว ” จึงอาทิผิด สระไม่ให้สามเณรเหล่านั้นนั่งบนอาสนะเหล่านั้น ลาดตั่งที่ต่ำ ๆ
แล้วกล่าวว่า “ ท่านทั้งหลายจงนั่งบนตั่งเหล่านั้น” กล่าวว่า “ พราหมณ์
ท่านจงไป จงเลือกพราหมณ์แก่แล้วนำมา.”
แม้อัครสาวกทั้งสองก็ไม่เป็นที่พอใจของพราหมณี
พราหมณ์ไปสู่วิหาร พบพระสารีบุตรเถระแล้ว เรียนว่า “ มาเถิด
ท่าน, เราจักไปสู่เรือนของเราทั้งหลาย ” ดังนี้แล้ว นำมา. พระเถระมา
เห็นสามเณรทั้งหลายแล้ว ถามว่า “ พราหมณ์เหล่านี้ได้ภัตแล้วหรือ ?”
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十一月 12, 2021

Ying

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 35/558/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตอาทิผิด สระบุรุษ เป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้มีความ
เห็นผิด ฯลฯ มีวิมุตติผิดด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย
นี้เรียกว่า อสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ.
สัตบุรุษ เป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ
มีวิมุตติชอบ นี้เรียกว่า สัตบุรุษ.
สัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้มีความเห็น
ชอบ มีวิมุตติชอบด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วยนี้เรียกว่า
สัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ.
จบทสมัคคสูตรที่ ๖
๗. ปฐมปาปธัมมสูตร
ว่าด้วยคนชั่วยิ่งกว่าคนชั่ว
[๒๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงคนชั่ว และคนชั่วยิ่งกว่า
คนชั่ว กับคนดี และคนดียิ่งอาทิผิด สระกว่าคนดี ท่านทั้งหลายจงฟังอาทิผิด ทำในใจให้ดี
เราจักกล่าว
ภิกษุทั้งหลายรับพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คนชั่ว
เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุ-
มิจฉาจาร พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีอภิชฌา มีจิต-
พยาบาท มีความเห็นผิด นี้เรียกว่า คนชั่ว.
คนชั่วยิ่งกว่าคนชั่ว เป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้ทำปาณาติบาต
ฯลฯ มีความเห็นผิดด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย นี้เรียก
ว่า คนชั่วยิ่งกว่าคนชั่ว
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 十一月 09, 2021

Khrai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 63/486/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เสีย พระนางสลากเทวีเมื่อไม่ทอดพระเนตรเห็นที่พึ่งอันพึงยึดถือ ก็เสด็จกลับ
มาทอดพระเนตรตำหนักของพระองค์ประทับยืนอยู่ ลำดับนั้น ชนผู้หนึ่งจึง
ทูลพระนางนั้นว่า แกทำอะไรในที่นี้ จงไป ๆ ว่าแล้วลุกขึ้นไสพระศอให้ล้มลง
ยังภูมิภาค พระนางเจ้าทรงดำริว่า พวกนี้พระราชาลูกเราสั่งแล้ว แน่ ใครไม่
สามารถจะทำอย่างนี้ ด้วยประการอื่น เราจักไปหามโหสถ จึงเสด็จไปหา
มโหสถ ตรัสว่า แน่ะพ่อมโหสถ ท่านให้รื้อตำหนักข้าพเจ้าเพราะอะไร มโหสถ
ไม่พูดกับพระนางเจ้า แต่บุรุษผู้ยืนอยู่ในที่ใกล้ทูลว่า พระนางจะตรัสอะไรกะ
มโหสถ พระนางเจ้าจึงรับสั่งว่า มโหสถให้รื้อตำหนักข้าพเจ้าเพื่ออะไร บุรุษ
นั้นทูลว่า เพื่อทำที่ประทับแห่งพระเจ้าวิเทหราช พระราชมารดารับสั่งว่า
เมืองใหญ่ถึงเพียงนี้ ทำไมจะหาที่ทำพระราชนิเวศน์ในที่อื่นไม่ได้ เจ้าจงรับ
สินบนแสนกหาปณะนี้แล้วให้ทำพระราชนิเวศน์ในสถานที่อื่นเถิด บุรุษนั้นทูล
ตอบว่า ดีแล้ว พระแม่เจ้า ข้าพระองค์จักให้ละตำหนักของพระนาง แต่
พระนางอย่ารับสั่งการที่ข้าพระองค์รับสินบนแก่ใคร ๆอาทิผิด อาณัติกะ เพราะว่าชนเหล่าอื่นจะ
พากันให้สินบนแก่ข้าพระองค์แล้วไม่อยากละเรือนของตน พระนางสลากเทวีรับ
สั่งตอบว่า การที่ข้าพูดให้ใครรู้นั้น เป็นที่น่าอายแก่ข้าว่า พระราชมารดาได้
ให้สินบน ดังนี้ เพราะฉะนั้นข้าจักไม่บอกแก่ใคร บุรุษนั้นทูลรับว่า ดีแล้ว
แล้วรับเอากหาปณะ ๑ แสนจากพระนาง ก็ละตำหนักนั้นไปเรือนเกวัฏให้ทำ
เหมือนกับทำแก่ตำหนักพระนางสลากเทวีนั้น เกวัฏโกรธไปสู่ราชทวาร เหล่า
คนรักษาประตูก็ประหารที่หลังเกวัฏด้วยซีกไม้ไผ่ หนังที่หลังเกวัฏก็เป็นแนว
ขึ้น เกวัฏไม่เห็นจะพึ่งอะไรได้ก็กลับบ้านให้กหาปณะ ๑ แสนแก่บุรุษนั้น
มโหสถถือเอาสถานที่ตั้งเรือนในนครทั้งสิ้นด้วยอุบายนี้ รับสินบนได้กหาปณะ
ในที่นั้น ๆ ประมาณ ๙ โกฏิ พระโพธิสัตว์พิจารณาในนครทั้งสิ้นแล้วไปเฝ้า
พระเจ้าจุลนี พระราชาตรัสถามว่า เป็นอย่างไร พ่อบัณฑิต สถานที่ตั้ง
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十一月 08, 2021

Phanya

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 59/610/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ก็ได้เห็นแผ่นดินมีทะเลล้อมรอบ กลม
ดุจกงจักรเหมือนคำของบิดาบอกไว้.
นกแร้งสุปัตก็บินล่วงเลยที่นั้น ไปเบื้อง
หน้าอีก ยอดลมแรงแข็งกล้า ได้ประหารนก
แร้งสุปัต ผู้มีกำลังมากนั้นให้แหลกละเอียด.
นกแร้งสุปัตบินเกินไป ไม่สามารถอาทิผิด อักขระจะ
กลับจากที่นั้นได้อีก ตกอยู่ในอำนาจลมเวรัม-
พวาต ถึงความพินาศแล้ว.
เมื่อนกแร้งสุปัตไม่ทำตามโอวาท ของ
บิดา บุตรภรรยาอาทิผิด อักขระและนกแร้งอัน ๆ ที่อาศัยเลี้ยง
ชีพด้วย ก็พากันถึงความพินาศไปด้วยกันหมด.
แม้ในศาสนานี้ก็เหมือนกัน ผู้ใดไม่
เชื่อถ้อยฟังคำของผู้ใหญ่ ผู้นั้นเป็นผู้ชื่อว่าล่วง
ศาสนา ดังนกแร้งไปล่วงเขตแดน ต้องเดือด-
ร้อนฉะนั้น ผู้ไม่ทำตามคำสอนของผู้ใหญ่
ย่อมถึงความพินาศทั้งหมด.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 十一月 06, 2021

Pari Nipphan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 34/531/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อากาโส) อากาศหาที่สุดมิได้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานอยู่ บุคคลนั้นติดใจ
ยินดีปลื้มใจด้วยฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในฌานนั้น ปักใจในฌานนั้น น้อมใจอยู่
ด้วยฌานนั้น มากด้วยฌานนั้นอยู่ไม่เสื่อม (จากฌานนั้น ) จนกระทำกาลกิริยา
ย่อมไปเกิดอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าอากาสานัญจายตนะ
ภิกษุทั้งหลาย ๒๐,๐๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอากา-
สานัญจายตนะ (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น ) ที่เป็นปุถุชน อยู่จนตลอดกำหนด
อายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว (จุติจากเทวโลกนั้น) ไปนรกก็ได้ ไปกำเนิด
ดิรัจฉานก็ได้ ไปกำเนิดเปรตก็ได้ ส่วน (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น ) ที่เป็น
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่ตลอดกำหนดอายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้วย่อม
ปริอาทิผิด อาณัติกะนิพพานในภพนั้นนั่นเอง นี่เป็นความพิเศษแปลกต่างกันแห่งอริยสาวกผู้ได้
สดับกับปุถุชนผู้มิอาทิผิด สระได้สดับ เฉพาะในเมื่อคติอุปบัติมีอยู่ (คือยังต้องเวียนเกิดอยู่)
อีกข้อหนึ่ง บุคคลลางคนในโลกนี้ล่วงอากาสานัญจายตนะหมด (ถือ
วิญญาณเป็นอารมณ์) บริกรรมว่า (อนนฺตํ วิญฺญาณํ) วิญญาณหาที่สุดมิได้
เข้าวิญญาณัญจายตนฌานอยู่ บุคคลนั้นติดใจยินดีปลื้มใจด้วยฌานนั้น ยับยั้ง
อยู่ในฌานนั้น ปักใจในฌานนั้น น้อมใจอยู่ด้วยฌานนั้น มากด้วยฌานนั้นอยู่
ไม่เสื่อม (จากฌานนั้น) จนกระทำกาลกิริยา ย่อมไปเกิดอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่า
วิญญาณัญจายตนะ.
ภิกษุทั้งหลาย ๔๐,๐๐๐ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าวิญญา-
ณัญจายตนะ. (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นปุถุชน อยู่ตลอดกำหนดอายุ
ในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว (จุติจากเทวโลกนั้น) ไปนรกก็ได้ ไปกำเนิดดิรัจฉาน
ก็ได้ ไปกำเนิดเปรตก็ได้ ส่วน (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นสาวกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ตลอดกำหนดอายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว ย่อมปรินิพพาน
ในภพนั้นนั่นเอง นี่เป็นความพิเศษแปลกต่างกันแห่งอริยสาวกผู้ได้สดับกับ
ปุถุชนผู้มิอาทิผิด ได้สดับ เฉพาะในเมื่อคติอุปบัติมีอยู่
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十一月 05, 2021

Wiwa

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 45/490/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บุคคลผู้ประกอบด้วยการ
ไม่ดูหมิ่น ชื่อว่า อนวญฺญตฺติสํยุตฺโต บุคคลชื่อว่า ลาภสกฺการคารโว
เพราะมีความตระหนักในลาภสักการะ ไม่ใช่ในธรรม. บุคคลชื่อว่า อมัจจะ
เพราะเป็นผู้ใกล้ชิด คือร่วมสุข ร่วมทุกข์กัน ได้แก่ผู้อุปถัมภ์คล้ายกับสหาย
บุคคลผู้มีปกติยินดี กับด้วยอำมาตย์เหล่านั้น ด้วยอำนาจความรักที่เป็นเจ้าเรือน
ชื่อว่าเป็นผู้ยินดีกับด้วยอมาตย์ทั้งหลาย. ด้วยบทว่า สหนนฺที อมจฺเจหิ นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึงวิตกที่ประกอบด้วยความเอ็นดูผู้อื่น. บทว่า
อารา สํโยชนกฺขยา ความว่า บุคคลถูกอาทิผิด สระวิตกทั้ง ๓ เหล่านี้ครอบงำ ย่อม
เป็นผู้ห่างไกลจากความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ คือพระอรหันต์. พระอรหันต์นั้น
เป็นของหาได้ยาก สำหรับเขา. บทว่า ปุตฺตปสุํ ได้แก่ทั้งบุตร ทั้งสัตว์เลี้ยง.
และด้วยปุตฺตศัพท์ ในคำว่า ปุตฺตปสุํ นี้ ทรงสงเคราะห์เอาภรรยาเป็นต้น
ไว้ด้วย. ด้วยปสุศัพท์ ทรงสงเคราะห์เอาม้า กระบือ นา และสวนเป็นต้น
เข้าไว้ด้วย. บทว่า วิวาเห ความว่า ในการให้วิวาหอาทิผิด อักขระมงคล. ด้วยบทว่า
อาวาโห นี้ ทรงสงเคราะห์เอาอาวาหมงคลเข้าไว้ด้วย. บทว่า สงฺคหานิ
ได้แก่การหวงแหน อธิบายว่า ควรแก่การระมัดระวัง. แต่อาจารย์ทั้งหลาย
กล่าวว่า ได้แก่การสนิทสนม อธิบายว่า สนิทสนมกันฉันมิตร. เธอมีความว่า
ละทิ้งทั้งหมด. บทว่า ภพฺโพ โส ตาทิโส ภิกฺขุ ความว่า เธอสละสิ่ง-
ที่ทำให้เนิ่นช้า ทุกอย่าง. ชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะเห็นภัยในสงสารด้วยสัมมา-
ปฏิบัติที่พระศาสดาตรัสไว้แล้ว โดยประการใด ชื่อว่าเป็นผู้เช่นนั้น เพราะ
พึงเห็นโดยประการนั้น ย่อมควรเพื่อบรรลุการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม คือพระอรหัต.
จบอรรถกถาวิตักกสูตรที่ ๑
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 十一月 03, 2021

Theri

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 41/507/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมมุตฺตมํ ได้แก่ โลกุตรธรรม
๙ อย่าง. ก็โลกุตรธรรมนั้น ชื่อว่า ธรรมอันยอดเยี่ยม. ก็ผู้ใดไม่เห็นธรรม
อันยอดเยี่ยมนั้น, ความเป็นอยู่แม้วันเดียว คือแม้ขณะเดียว ของผู้เห็น
คือแทงตลอดธรรมนั้น ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของผู้นั้น.
ในกาลจบคาถา พระพหุปุตติกาเถรีดำรงอยู่ในพระอรหัตพร้อม
ด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ดังนี้แล.
เรื่องพระพหุปุตติกาเถรีอาทิผิด สระ จบ.
สหัสสวรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ ๘ จบ.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 十一月 02, 2021

Du Kon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 56/570/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ดีใจ คิดว่า เมื่อเราแสดงธรรมตลอดคืน จักทำทีท่าอย่างพระ-
พุทธเจ้า ดังนี้แล้ว เมื่อจะแสดงท่าทางอย่างพระสุคต จึงกล่าวว่า
ท่านสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ยังไม่ง่วงเหงาหาวนอน ธรรมีกถาอาทิผิด สระจง
อาศัยท่านแจ่มกระจ่างแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด เราเมื่อยหลังนัก
จักขอเหยียดหลังสักหน่อย แล้วเข้านอน พระอัครสาวกทั้งสอง
แสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ให้ตื่นทั่วกันด้วยมรรคผลทั้งหลาย
แล้วพากันกลับมาสู่พระเวฬุวันวิหารทั้งหมดทีเดียว พระโกกาลิกะ
เห็นวิหารว่าง จึงไปสู่สำนักพระเทวทัต พูดว่า ท่านเทวทัต
อัครสาวกทั้งสองของท่านทำลายบริษัทของท่านเสียแล้ว ไป
กันหมดจนวิหารว่าง ส่วนท่านยังมัวนอนหลับอยู่อีก แล้วกระตุก
ผ้าห่มพระเทวทัตออก เอาส้นกระทืบลงไปที่ตรงหัวใจ เหมือน
ตอกตะปูที่ฝาเรือน ทันใดนั้นเองเลือดก็ทะลักออกจากปากของ
พระเทวทัต ต่อจากนั้น พระเทวทัตก็เป็นไข้ พระศาสดาตรัสถาม
พระเถระว่า สารีบุตร เวลาที่เธอพากันไป เทวทัต ทำอะไร ?
พระเถระเจ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเทวทัต
เห็นข้าพระองค์ทั้งสองแล้ว คิดจักกระทำลีลาอย่างพระองค์
เมื่อแสดงท่าทางอย่างพระสุคต เลยถึงความพินาศใหญ่หลวง
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอาทิผิด สารีบุตร มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่
เทวทัตทำตามอย่างเราแล้วถึงความพินาศ แม้ในครั้งก่อนก็เคย
ถึงความพินาศมาแล้วเหมือนกัน พระเถระเจ้ากราบทูลอาราธนา
จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
 
พระปิฎกธรรม