星期一, 一月 23, 2023

Chueng

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 19/116/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ท่านได้รู้ แจ้ง เข้าถึงที่เองแล้วแลบอกให้รู้ได้แต่ธรรมนี้ เพียงเท่า
นี้ดอกหรือ อัคคิเวสสนะ ครั้นเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อุททกดาบส ราม
บุตร จึงได้บอกถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ อัคคิเวสสนะ ครั้นเรารู้ดัง
นั้น จึงอาทิผิด สระเกิดปริวิตกอีกว่า “ศรัทธา จะได้มีแต่ของท่านรามะผู้เดียวก็หา
ไม่ ถึงศรัทธาของเราก็มี วิริยะ...สติ...สมาธิ... ปัญญาจะได้มีแต่ของท่าน
รามะผู้เดียว ก็หาไม่ ถึงวิริยะ...ถึงสติ...ถึงสมาธิ...ถึงปัญญาของเราก็มี
อยู่ ถ้ากระไรเราต้องตั้งความเพียร เพื่อการจะทำให้แจ้ง เรื่องธรรมที่
ท่านรามะปฏิญญาว่า เรารู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงที่เองแล้วแลอยู่” ดังนี้นั้น
เสียให้ได้ อัคคิเวสสนะ เรานั้นก็ได้รู้จริงแจ้ง เข้าถึงที่ธรรมนั้นเองแล้ว
แล อยู่ฉับไวแท้ ไม่นานเลย. ครั้นแล้ว เราได้เข้าไปหาอุททกดาบส ราม
บุตร ได้กล่าวคำนี้กะอุททกดาบส รามบุตรว่า “ท่านรามะ ท่านได้รู้จริงแจ้ง
กะจิต เข้าถึงที่ธรรมนี้เองแล้วแลประกาศให้รู้ทั่วไปได้ เพียงเท่านี้ดอกหรือ”.
อุ. เพียงเท่านี้นั้นแล เราได้รู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงที่ธรรมนี้เองแล้ว
แลประกาศให้รู้ทั่วไป แม้เราก็ได้รู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงที่ธรรมนี้เองแล้วแล
อยู่ ได้เพียงนี้เท่านั้นเหมือนกัน.
พ. เป็นลาภของเราแล้ว เราได้ดีแล้ว มิเสียแรงเราได้เห็นท่านผู้เป็น
เพื่อนประพฤติพรหมจรรย์เช่นท่าน รามะได้รู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงที่ธรรม
ใดเองแล้วแลประกาศให้รู้ทั่วไป, ท่านก็มารู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงธรรมใด
เองแล้วแลอยู่ รามะก็ได้รู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงธรรมนั้นเองแล้วแลประกาศ
ให้รู้ทั่วไป อย่างนี้. รามะได้รู้ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น อย่างนี้, ท่านได้รู้
ธรรมใด รามะก็ได้รู้ธรรมนั้น รามะได้เป็นเช่นใด ท่านก็ได้เป็นเช่นนั้น
ท่านเป็นเช่นใด รามะก็ได้เป็นเช่นนั้นดังนี้. มาเถิดท่าน เราทั้งสองอยู่ปก
ครองคณะนี้กันเถิด อัคคิเวสสนะ อุททกดาบส รามบุตร เมื่อเป็นพรหมจารี
ของเรา ได้ตั้งเราในฐานะเป็นอาจารย์ ยังให้บูชาเรา ด้วยการบูชาที่ยิ่ง
พระปิฎกธรรม

星期日, 一月 22, 2023

Khao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 45/612/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยการก้าวไป ด้วยการถอยกลับ
ด้วยการเหลียวซ้าย ด้วยการแลขวา ด้วยการเหยียดเข้าอาทิผิด อักขระ ด้วยการเหยียดออก
ที่น่าเลื่อมใส รู้ประมาณในการบริโภค ตามประกอบความเพียร ประกอบ
ด้วยสติและสัมปชัญญะ มีความปรารถนาน้อย สันโดษ สงัดแล้ว ไม่คลุก-
คลี (ด้วยหมู่) กระทำโดยเคารพในอภิสมาจาริกวัตร มากไปด้วยความเคารพ
ยำเกรงอยู่ ภิกษุนี้ ท่านกล่าวว่าสมบูรณ์ด้วยอาจาระ.
ก็โคจรมี ๓ อย่างคือ อุปนิสัยโคจร อารักขโคจร อุปนิพันธโคจร.
ในโคจร ๓ อย่างนั้น กัลยาณมิตร ผู้ประกอบไปด้วยคุณสมบัติ คือ
กถาวัตถุ ๑๐ มีลักษณะดังกล่าวแล้วอาศัยภิกษุใด ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง
ทำข้อที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง บรรเทาความสงสัยเสียได้ กระทำความเห็นให้ตรง
ยังจิตให้เลื่อมใส และเมื่อติดตามศึกษา ภิกษุใดอยู่ ย่อมเจริญด้วยศรัทธา
เจริญด้วยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ภิกษุนี้นั้น ชื่อว่า อุปนิสัยโคจร.
ภิกษุใด เข้าไปในละแวกบ้าน เดินไปสู่ถนนทอดตาลงต่ำ มองดูชั่วแอก
สำรวมแล้วเดินไป ไม่มองดูช้าง ไม่มองดูม้า ไม่มองดูรถ ไม่มองดูคนเดินเท้า
ไม่มองดูสตรี ไม่มองดูบุรุษ ไม่เพ่งดูทิศน้อย ทิศใหญ่ ภิกษุนี้นั้น ชื่อว่า
อารักขโคจร. ส่วน อุปนิพันธโคจร ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ อันเป็นที่
ซึ่งภิกษุเข้าไปผูกพันจิตของตนไว้. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ก็ อารมณ์อันเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ คืออะไร ? คือ สติ-
ปัฏฐาน ๔ ดังนี้. ดังนั้น ภิกษุผู้ชื่อว่า สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร
เพราะประกอบด้วยอาจารสมบัติ ตามที่กล่าวมาแล้ว และโคจรสมบัตินี้.
บทว่า อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี ความว่า มีปกติเห็น
ภัยในโทษทั้งหลาย ต่างด้วยอกุศลจิตตุปบาทในเสขิยวัตร ที่ต้องแล้วโดยไม่
ได้ตั้งใจ เป็นต้น มีประมาณน้อย คือ มีประมาณเท่าอณู. อธิบายว่า ภิกษุ
ใด เห็นโทษมีประมาณเท่าปรมาณู ทำให้ใหญ่ เหมือนขุนเขาสิเนรุราชที่สูง
พระปิฎกธรรม

星期六, 一月 21, 2023

Samichikam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 3/1011/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ว่า ดูก่อนภิกษุ นี้บาตรของเธอ พึงใช้ไปกว่าจะแตก ดังนี้ ภิกษุนั้น
อย่าเก็บบาตรใบนั้นไว้ในที่อันไม่ควร อย่าใช้โดยอาการอันไม่ควร อย่า
ทอดธุระว่าบาตรใบนี้จะเป็นอย่างไรก็ตาม คือ จะหายอาทิผิด อักขระก็ช่าง จะฉิบหาย
ก็ช่าง จะแตกก็ช่าง ถ้าเก็บไว้ในที่ ๆ ไม่ควรก็ดี ใช้อย่างที่เขาไม่ใช้กัน
ก็ดี ปล่อยทิ้งเสียก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ
บทว่า นี้เป็นสามีจิกรรมอาทิผิด ในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกยิ่งใน
เรื่องนั้น .
บทภาชนีย์
บาตรไม่มีแผล
[๑๓๓] ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่ไม่มีแผล เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง เป็นนิสสัคดีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
พระปิฎกธรรม

星期五, 一月 20, 2023

Phra Phak

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/171/9  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุจึงได้บวชในพระธรรมวินัย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วอย่างนี้
เพราะเหตุแห่งท้องเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า จริงหรือ ภิกษุ ข่าวว่า
เธอบวชเพราะเหตุแห่งท้อง.
ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคอาทิผิด อักขระพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง
ได้บวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุแห่งท้องเล่า ดูก่อน
โมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสแล้ว . . . ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่ง
กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ให้อุปสมบท
บอกนิสัย ๔ ว่าดังนี้:-

นิสสัย ๔
๑. บรรพชาอาศัยโภชนะคือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เธอพึง
ทำอุตสาหะอาทิผิด อักขระในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ ภัคถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะสงฆ์
การนิมนต์ ภัตถวายตามสลาก ภัตถวายในปักษ์ ภัตถวายในวันอุโบสถ์ ภัต-
ถวายในวันปาฏิบท.
๒. บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือ
กัน เช่นผ้าด้ายแกมไหม.
พระปิฎกธรรม

星期四, 一月 19, 2023

Noi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 26/461/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก ย่อมคบค้ากัน
ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก สัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร สัตว์
จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา.
[๓๘๘] สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อยอาทิผิด ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน
ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวก
ที่มีสุตะมาก ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก
สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่
มีสติมั่นคง สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์
จำพวกที่มีปัญญา.
จบอัปปสุตสูตรที่ ๑๑
๑๒. กุสิตสูตร

ว่าด้วยการคบค้าของสัตว์โดยธาตุว่าด้วยสติและปัญญา

[๓๘๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือ สัตว์
จำพวกที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้ากันอาทิผิด อาณัติกะ ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 一月 16, 2023

Hok

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 1/192/7  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
เป็นสมุทัยสัจ ความไม่เป็นไปแห่งจักษุและเหตุเกิดแห่งจักษุทั้งสอง เป็นนิโรธ
สัจ ข้อปฏิบัติเป็นเหตุให้รู้นิโรธ เป็นมรรคสัจ. ใน โสตะ ฆานะ ชิวหา
กาย และมนะ ก็มีนัยเช่นนี้.
บัณฑิตพึงประกอบอายตนะ ๖ มีรูปเป็นต้น วิญญาณกาย ๕ มีจักษุ
วิญญาณเป็นต้น ผัสสะ ๖ มีจักษุสัมผัสเป็นต้น เวทนา ๖ มีจักษุสัมผัสสชา-
เวทนาเป็นต้น สัญญา ๖ มีรูปสัญญาเป็นต้น เจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนาเป็นต้น
ตัณหากาย ๖ มีรูปตัณหาเป็นต้น วิตก อาทิผิด  มีรูปวิตกเป็นต้น วิจาร ๖ มีรูปวิจาร
เป็นต้น ขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ สัญญา
๑๐ ด้วยอำนาจอุทธุมาตกสัญญาเป็นต้น อาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น อายตนะ
๑๒ ธาตุ ๑๘ ภพ ๙ มีกามภพเป็นต้น ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น อัปป-
มัญญา ๔ มีเมตตาภาวนาเป็นต้น อรูปสมาบัติ ๔ มีอากาสานัญจายตนะเป็นต้น
และองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท โดยปฏิโลมมีชรามรณะเป็นต้น โดยอนุโลมมี
อวิชชาเป็นต้น โดยนัยนี้นั่นแล. ในชรามรณะเป็นต้นนั้น มีการประกอบ
บทเดียวดังต่อไปนี้ : -
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตรัสรู้ คือตรัสรู้ตามสมควร ได้แก่แทงตลอด
ซึ่งธรรมทั้งปวง โดยชอบและด้วยพระองค์เอง ด้วยการยกขึ้นทีละบทอย่างนี้ว่า
ชรามรณะ เป็นทุกขสัจ ชาติ เป็นสมุทัยสัจ การสลัดออกเสีย ซึ่งชรามรณะ
และเหตุเกิดแห่งชรามรณะนั้น แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ ข้อปฏิบัติเป็นเหตุให้รู้
นิโรธ เป็นมรรคสัจ. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวว่า อนึ่ง พระผู้มี-
พระภาคเจ้านั้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง โดยชอบ
และด้วยพระองค์เอง.
พระปิฎกธรรม

星期日, 一月 15, 2023

Kraduk

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 39/49/2  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ข้อกรรมฐานคือทวัตติงสาการนั้นใด เป็นปริยายแห่งภาวนาส่วนหนึ่งของกายคตา-
สติ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสงเคราะห์มันสมองไว้ด้วยเยื่อในกระดูกอาทิผิด อักขระ
ในบาลีประเทศนั้น ๆ อย่างนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้นี่แล
ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบเต็มไปด้วยของ
ไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า ในการนี้มี ผม ขน ฯลฯ มูตร ดังนี้
ข้าพเจ้าเริ่มไว้แล้ว กรรมฐานคือทวัตติงสาการนั้น จะพรรณนาความดังต่อไปนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ แปลว่า มีอยู่. บทว่า อิมสฺมึ
ความว่า ที่กล่าวว่าตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มโดยรอบ
เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่าง ๆ. บทว่า กาเย ได้แก่ ในสรีระ.
จริงอยู่ สรีระ เรียกกันว่า กาย เพราะสะสมของไม่สะอาด หรือเพราะเป็นที่
เจริญเติบโตของผมเป็นต้นที่น่าเกลียด และของโรคตั้งร้อยมี โรคตา เป็นต้น
บทว่า เกสา ฯ เป ฯ มุตฺตํ คืออาการ ๓๒ มีผมเป็นต้นเหล่านั้น ใน
ทวัตติงสาการนี้ พึงทราบความสัมพันธ์เชื่อมความอย่างนี้ว่า ผมอยู่ในกายนี้
ขนมีอยู่ในกายนี้ เป็นต้น. เป็นอันตรัสอะไรไว้ ด้วยทวัตติงสาการกรรมฐาน
นั้น เป็นอันตรัสไว้ว่าใครๆ เมื่อพิจารณานั้น แม้โดยอาการทุกอย่างในกเฬวระ
เรือนร่างขนาดวาหนึ่งนี้ คือประมาณเท่านี้คือ เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป
เบื้องล่างตั้งแต่ปลายผมลงมา หุ้มด้วยหนังโดยรอบ ย่อมจะไม่เห็นอะไร ไม่ว่า
แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ กฤษณา จันทน์ หญ้าฝรั่น การบูร หรือผงอบ
เป็นต้นแม้ขนาดเล็กว่าสะอาด โดยที่แท้ย่อมจะเห็นกายต่างโดยผมขนเป็นต้น
ที่มีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดอย่างยิ่ง ไม่มีสิริที่น่าดูเลยมีประการต่างๆ ว่าไม่สะอาด
อย่างเดียว.

๑. ม.อุปริ. ๑๔/ข้อ ๒๙๗ที่ ๕
พระปิฎกธรรม

星期六, 一月 14, 2023

Phon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   6/48/3  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
เยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง
สมณะ พราหมณ์อาทิผิด เทวดา และมนุษย์.
อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นอาทิผิด อาณัติกะวิเศษของเรา
ไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป.
ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม
ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่ง
หนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับอาทิผิด อักขระเป็นธรรมดา.
[๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว
เหล่าภุมมเทวดาได้บันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนคร-
พาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก
จะปฏิวัติไม่ได้.
เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือ
เสียงต่อไป.
เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็
บันลือเสียงต่อไป.
เทวดาชั้นยามา . . .
เทวดาชั้นดุสิต. . .
เทวดาชั้นนิมมานรดี . . .
เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี . . .
พระปิฎกธรรม

星期五, 一月 13, 2023

Utthayan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 70/347/22 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ห้ามพระโอรสนั้น. พระโอรสนั้นแม้จะถูกห้ามก็ยังทรงรบเร้าอยู่นั่นแหละว่า
จักบวช. แต่นั้น พระชนกชนนีได้ตรัสคำทั้งปวงแล้วทรงอนุญาต เหมือน
บุตรเศรษฐีที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น. และทรงให้พระโอรสปฏิญาณว่า บวช
แล้วต้องอยู่ในพระอุทยานเท่านั้น. พระโอรสได้ทรงการทำอย่างนั้นแล้ว.
พระมารดาของพระองค์ทรงห้อมล้อมด้วยหญิงฟ้อนสองหมื่นนาง เสด็จไป
พระอุทยานแต่เช้าตรู่ ให้พระโอรสดื่มยาคู และในระหว่างก็ทรงให้เคี้ยว
ของควรเคี้ยวเป็นต้น ทรงสนทนาอยู่กับพระโอรสนั้นจนกระทั่งเที่ยง จึง
เสด็จเข้าพระนคร. ฝ่ายพระบิดาก็เสด็จมาในเวลาเที่ยง ให้พระโอรสนั้น
เสวย แม้พระองค์ก็เสวยด้วย ทรงสนทนากับพระโอรสนั้นตลอดวัน ใน
เวลาเย็น ทรงวางคนผู้ปรนนิบัติไว้ แล้วเสด็จเข้าพระนคร. พระโอรส
นั้นไม่เงียบสงัดอยู่ตลอดทั้งวันและคืนด้วยประการอย่างนี้.
ก็สมัยนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอาทิจจพันธุ์ อยู่ใน
เงื้อมเขานันทมูลกะ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงรำพึงอยู่ได้เห็น
พระกุมารนั้นว่า กุมารนี้อาจบวชได้ แต่ไม่อาจตัดชัฏได้. เบื้องหน้าแต่นั้น
ทรงรำพึงต่อไปว่า พระกุมารจักเบื่อหน่ายโดยธรรมดาของตนได้หรือ
ไม่หนอ. ลำดับนั้น ทราบว่า พระกุมารเมื่อทรงเบื่อหน่ายเองโดยธรรมดา
จักเป็นเวลานานมาก จึงดำริว่า เราจักให้อารมณ์แก่พระกุมารนั้นดังนี้
แล้วมาจากพื้นมโนศิลาโดยนัยก่อน แล้วได้ยืนอยู่ในอุทยาน. บริษัท
ของพระราชาเห็นเข้าจึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
เสด็จมา. พระราชาทรงมีพระทัยปราโมทย์ว่า บัดนี้โอรสของเราจะไม่
รำคาญ จักอยู่กับพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงทรงอุปัฏฐากพระปัจเจกสัม-
พุทธเจ้าโดยเคารพ แล้วขอให้อยู่ในอุทยานอาทิผิด อักขระนั้น รับสั่งให้กระทำทุกสิ่ง
พระปิฎกธรรม

星期四, 一月 12, 2023

Ru

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 32/302/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสกะพระมหากัสสปเถระว่า ดูก่อนกัสสป ถ้าเธอจะพึงทำการ
นบนอบนี้ไว้ในมหาปฐพีไซร้ แม้มหาปฐพีนั้นก็ไม่อาจรองรับเอาไว้ได้
การนบนอบที่เธอกระทำ ย่อมไม่อาจทำแม้ขนของเราให้สั่น เพราะ
ตถาคตมีคุณใหญ่หลวงอย่างนี้ นั่งลงเถอะกัสสป เราจะให้ทรัพย์
อันเป็นมรดกแก่เธอ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ประทาน
อุปสมบทแก่พระมหากัสสปเถระด้วยโอวาท ๓ ประการ ครั้น
ประทานแล้วก็เสด็จออกจากโคนต้นพหุปุตตกนิโครธเสด็จเดินทาง
มีพระเถระเป็นปัจฉาสมณะ. พระสรีระของพระศาสดาตระการ
ตาด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สรีระของพระมหา-
กัสสปประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๗ ประการ. พระมหากัสสป
นั้นเดินตามเสด็จพระศาสดา เหมือนเรือพ่วงไปตามเรือใหญ่สีทอง
ฉะนั้น พระศาสดาเสด็จเดินทางไปหน่อยหนึ่งแล้วแวะลง (ข้างทาง)
แสดงอาการจะประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง พระเถระรู้อาทิผิด สระว่า พระ-
ศาสดามีพระประสงค์จะประทับนั่ง จึงกระทำสังฆาฏิอันเป็นผ้า
เก่าที่ตนห่มให้เป็น ๔ ชั้น ปูลาดถวาย.

พระศาสดาประทับนั่งบนผ้าสังฆาฏินั้นแล้ว เอาพระหัตถ์
ลูบคลำเนื้อผ้าตรัสว่า กัสสป สังฆาฏิอันทำด้วยผ้าเก่าผืนนี้ของเธอ
นุ่มดี. พระเถระรู้อาทิผิด สระว่า พระศาสดาตรัสถึงสังฆาฏิของเรานุ่ม คงจัก
ประสงค์จะห่ม จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงห่มสังฆาฏิเถิด. พระศาสดาตรัสว่า กัสสป เธอจะ
ห่มอะไร ? พระเถระกราบทูลว่า ข้าพระองค์ได้ผ้านุ่งของพระองค์
พระปิฎกธรรม

星期三, 一月 11, 2023

Phram

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 5/205/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้เทอุจจาระทิ้งออกภายนอกฝาที่พำนักเล่า . . .

ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีเทอุจจาระทิ้งออกภายนอกฝาที่พำนัก จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงได้เทอุจจาระทิ้งออกภายนอกฝาที่พำนักเล่า การกระทำของพวกนาง
นั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงอาทิผิด อักขระยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ
๖๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด เทหรือให้เท ซึ่งอุจจาระก็ดี
ปัสสาวะก็ดี หยากเยื่อก็ดี ของเป็นเดนก็ดี ณ ภายนอกฝาที่พำนักก็ดี
ณ ภายนอกกำแพงก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพราหมณ์อาทิผิด อักขระคนหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๗๖] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
พระปิฎกธรรม

星期二, 一月 10, 2023

Khatha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   24/3/2  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย
อรรถกถาสังยุตตนิกายสคาถวรรคอาทิผิด
อารัมภกถา
ข้าพเจ้าพระพุทธโฆษาจารย์ ขอ
น้อมนมัสการด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระ-
สุคตเจ้าผู้หลุดพ้นแล้วจากคติ ผู้มีพระทัย
เยือกเย็นสนิทด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ผู้
มีความมืดคือโมหะอันแสงสว่างแห่งปัญญา
ขจัดแล้ว ผู้เป็นครูของชาวโลกทั้งหลาย
พร้อมทั้งมนุษย์และเทวดา.
พระพุทธเจ้าทรงทำให้แจ้งพระ-
สัพพัญญุตญาณ ทรงเข้าถึงพระธรรมใด
อันมีมลทินไปปราศแล้ว ข้าพเจ้าขอ
น้อมนมัสการพระธรรมอันเยี่ยมนั้นด้วย
เศียรเกล้า.
ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการด้วยเศียร-
เกล้า ซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้าอยู่เป็นหมู่แห่ง
พระอริยบุคคลแม้ทั้งแปดพวก ผู้เป็นบุตร
อันเกิดแต่พระอุระของพระสุคตเจ้า ผู้ย่ำยี
เสียได้ซึ่งมารและเสนามาร.
พระปิฎกธรรม

星期一, 一月 09, 2023

Fao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 73/493/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพไร้มลทิน มีจิตสงบ
ผู้คงที่ ๓ ครั้ง.
พระอรหันต์สาวกผู้ถึงกำลังแห่งอภิญญา ผู้ไม่ถึง
พร้อมในภพน้อยภพใหญ่หกล้าน พระสาวกเหล่านั้น
ประชุมกัน ครั้งที่ ๑.
ในสันนิบาต ต่อมาอีก เมื่อพระชินพุทธเจ้าเสด็จ
ลงจากเทวโลกชั้นไตรทศ พระสาวกสี่แสนประชุม
กัน ครั้งที่ ๒.
พระสุทัสสนะอัครสาวก เมื่อเข้าเฝ้าพระนราสภ
ก็เข้าเฝ้าอาทิผิด อักขระพระสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วย พระสาวกสี่แสน.
สมัยนั้น เราเป็นจักรพรรดิ์เป็นใหญ่แห่งทวีปทั้ง ๔
มีกำลังมาก ท่องเที่ยวไปในอากาศได้.
เรามอบถวายสมบัติใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ และ
รัตนะ ๗ แด่พระพุทธเจ้าผู้สูงสุด แล้วก็บวชในสำนัก
ของพระองค์.
พวกคนวัดรวบรวมผลรายได้ในชนบท น้อมถวาย
เป็นปัจจัย ที่นอนและที่นั่งแด่พระภิกษุสงฆ์.
ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่แห่งหมื่นโลกธาตุ
ก็ได้ทรงพยากรณ์เราว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าในที่สุด
สามหมื่นกัป.
พระปิฎกธรรม

星期二, 一月 03, 2023

Kham

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 16/145/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
บ้าง. บทว่า เพื่อความอยู่สำราญ ความว่า เพื่ออยู่เป็นสุข ในอิริยาบถ
ทั้ง ๔ มีเดิน ยืน เป็นต้น.
บทว่า มีจักษุ ความว่า ไม่ใช่พระวิปัสสีพุทธเจ้าเท่านั้น มีจักษุ
แม้พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ ก็มีจักษุ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ๆ
ย่อมมีชื่อ เจ็ดอย่างเหล่านี้. แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็มีจักษุ ผู้ทรง
อนุเคราะห์สัตว์ทั่วหน้า ผู้ทรงชำระกิเลส เพราะมีกิเลสอันทรงชำระแล้ว
ทรงย่ำยีมารและเสนามาร ทรงอยู่จบพรหมจรรย์ ทรงพ้นวิเศษแล้ว มี
พระนามว่า อังคีรส เพราะรัศมีออกจากพระวรกาย. อนึ่ง ชื่อทั้งเจ็ด
เหล่านี้ มิใช่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย โดยสิ้นเชิง. ท่านกล่าวว่า ท่านผู้
แสวงหาคุณใหญ่ ด้วยมีคุณย่อมมีชื่อนับไม่ถ้วน. ก็ท้าวเวสวัณกล่าวอย่างนี้
ด้วยสามารถพระนามอันปรากฏแก่ตน.
ในบทว่า ชนเหล่านั้นนี้ ท่านประสงค์ถึง ชนผู้เป็นขีณาสพ.
บทว่า ไม่ส่อเสียด นี้เพียงเป็นยอดของเทศนา. อธิบายว่า ไม่พูดเท็จ
ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบ พูดพอประมาณ. บทว่า มหตฺตา ความว่า
ถึงความเป็นผู้ยิ่งใหญ่. บาลีว่า มหนฺตา ดังนี้บ้าง. ความว่า ใหญ่
บทว่า ปราศจากความครั่นคร้าม คือ ไม่มีความครั่นคร้าม ปราศจาก
ขนพองสยองเกล้า. บทว่า ประโยชน์เกื้อกูล คือเป็นประโยชน์ด้วยการ
แผ่เมตตา. คำอาทิผิด อาณัติกะว่า ยํ ในบทนี้ว่า ยํ นมสฺสนฺติ เป็นเพียงนิบาต.
บทว่า มหตฺตํ ได้แก่ ใหญ่. อีกประการหนึ่ง บาลีก็เป็นอย่างนี้ เป็นอัน
ท่านกล่าวบทนี้ไว้ว่า บทว่า พระพุทธเจ้าเหล่าใด ผู้ดับแล้วในโลก
ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดับแล้วด้วยการดับกิเลสทรงเห็นแจ้งตาม
พระปิฎกธรรม

星期一, 一月 02, 2023

Phiksuni

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   5/1/7   ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
พระวินัยปิฎก
เล่ม ๓
ภิกขุนีวิภังค์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
เรื่องอาทิผิด ภิกษุณีสุนทรีนันทา
[๑]โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น นายสาฬหะ
หลานของมิคารมาตา มีความประสงค์จะสร้างวิหารถวายภิกษุณีสงฆ์ จึงเข้าไป
หานางภิกษุณีทั้งหลาย แจ้งความประสงค์ว่า แม่เจ้า กระผมอยากจะสร้างวิหาร
ถวายภิกษุณีสงฆ์ ขอแม่เจ้าจงโปรดให้ภิกษุณีผู้อำนวยการก่อสร้างรูปหนึ่งแก่
กระผม ครั้งนั้นมีสาวสี่พี่น้อง ชื่อนันทา ๑ ชื่อนันทาวดี ๑ ชื่อสุนทรีนันทา ๑
ชื่อถุลลนันทา ๑ บวชอยู่ในสำนักภิกษุณี บรรดาภิกษุณีทั้งสี่นั้น ภิกษุณีสุนทรี
นันทา เป็นบรรพชิตสาวทรงโฉมวิไล น่าพิศพึงชม เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม
มีปรีชา ขยัน ไม่เกียจคร้าน กอปรด้วยปัญญาเลือกฟั้นอันเป็นทางดำเนินใน
การงานนั้น ๆ สามารถพอที่จะทำกิจการงานนั้น ๆ ให้ลุล่วงไป จึงภิกษุณีสงฆ์
ได้สมมติภิกษุณีสุนทรีนันทาให้เป็นผู้อำนวยการก่อสร้างแก่นายสาฬหะ หลาน
พระปิฎกธรรม