星期日, 四月 30, 2023

Athibai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 74/203/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เมื่อเราสละพ่อชาลี แม่กัณหาชินาผู้เป็น
ธิดาและพระนางมัทรีผู้จงรักสามี ไม่คิดถึง
เลย เพราะเหตุแห่งโพธิญาณนั่นเอง. บุตร
ทั้งสองเราก็ไม่เกลียด พระนางมัทรีเราก็ไม่
เกลียด แต่สัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา.
เพราะฉะนั้น เราจึงได้ให้บุตรและภริยาอัน
เป็นที่รักของเราอีกครั้งหนึ่ง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า จชมาโน น จินฺเตสิ คือเมื่อเราสละ
ก็มิได้คิดถึงด้วยความเดือดร้อน. อธิบายอาทิผิด อักขระว่า เราสละแล้วก็เป็นอันสละไปเลย.
ในบทนี้สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ก็เพราะเหตุไรเล่าพระมหาบุรุษจึงทรงสละ
บุตรภริยาของพระองค์ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเป็นกษัตริย์ โดยให้เป็นทาสของ
ผู้อื่น. เพราะการทำผู้เป็นไทบางพวก ไม่ให้เป็นไท มิใช่สิ่งที่ดี. ตอบว่า
เพราะเป็นธรรมสมควร. จริงอยู่การเข้าถึงพุทธการกอาทิผิด อักขระธรรม เป็นธรรมดานี้
คือ การบริจาควัตถุที่เขาหวงว่า นี้ของเราเนื่องในตนทั้งปวงได้โดยไม่
เหลือ. จริงอยู่การสละวัตถุที่เขาหวงว่า ของเราแก่ยาจกผู้ขอจะไม่สมควร
แก่พระโพธิสัตว์ ผู้ถึงความขวนขวายเพื่อบำเพ็ญทานอาทิผิด สระบารมีปราศจากการ
กำหนดไทยธรรมและปฏิคาหกก็หามิได้. แม้นี้ก็เป็นธรรมอันสมควรมีมา
แต่เก่าก่อน. ธรรมที่ประพฤติสะสมมาสม่ำเสมอนี้ เป็นวงศ์ของตระกูล
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 四月 29, 2023

Wongkot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 74/192/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พราหมณ์ชูชกนั้นเทวดาดลใจออกจากกรุงเชตุดร แล้วเดินตรงไปยัง
ทางที่จะไปเขาวงกต ถึงประตูป่าโดยลำดับ หยั่งลงสู่ป่าใหญ่ หลงทางเที่ยว
ไป เตลิดไปพบกับเจตบุตรซึ่งพระราชาเหล่านั้นทรงตั้งไว้เพื่ออารักขาอาทิผิด สระพระ-
โพธิสัตว์. เจตบุตรถามว่า จะไปไหนพราหมณ์. ชูชกบอกว่า จะไปหา
พระเวสสันดรมหาราช. เจตบุตรคิดว่าอีตาพราหมณ์นี้น่าจะไปทูลขอพระ
โอรสธิดาหรือพระเทวีของพระเวสสันดรเป็นแน่ จึงขู่ตะคอกว่า พราหมณ์
ท่านอย่าไปที่นั้นนะ. หากไปเราจะตัดหัวท่านเสียที่นี่แหละ แล้วให้สุนัข
ของเรากิน ชูชกถูกขู่ก็กลัวตายจึงกล่าวเท็จว่า พระชนกของพระเวสสันดร
ส่งเราเป็นทูตมาด้วยหมายใจว่าจักนำพระเวสสันดรกลับพระนคร
เจตบุตรได้ฟังดังนั้นก็ร่าเริงยินดี แสดงความเคารพนับถือพราหมณ์
จึงบอกทางไปเขาวงกตอาทิผิด อักขระให้แก่พราหมณ์. พราหมณ์เดินทางออกจากนั้นใน
ระหว่างทาง ได้พบกับอัจจุตดาบสจึงถามถึงหนทาง เมื่ออัจจุตอาทิผิด สระดาบสบอก
หนทางให้ จึงเดินไปตามทางตามเครื่องหมายที่อัจจุตดาบสบอก ถึงที่ตั้ง
อาศรมบทของพระโพธิสัตว์โดยลำดับ จึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ในเวลาที่
พระนางมัทรีเทวีไปหาผลไม้ แล้วทูลขอพระกุมารกุมารีทั้งสอง ดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
เมื่อเราอยู่ในป่าใหญ่ ชูชกพราหมณ์
เดินเข้ามาหาเรา ได้ขอบุตรทั้งสองของเรา
คือ พ่อชาลีและแม่กัณหาชินา.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 四月 27, 2023

Tham

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/143/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ส่งไปแล้วก็ดี มีจิตน้อมไป โอนไป เอียงไป เพื่อให้วิริยะเกิดขึ้นในอิริยาบถ
ทั้งหลายมีการยืนการนั่งเป็นต้นก็ดี วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น. ภิกษุนั้น ย่อม
ทราบชัดว่า ก็ภาวนาของเธอย่อมเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรหัต-
มรรค ดังนี้.

ปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้ง
หลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ
ในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือว่าย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นของปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิด
ขึ้นแล้ว” ดังนี้.
ในข้อนั้น ปีตินั่นแหละ ชื่อว่า ธรรมอาทิผิด อักขระเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์
การทำไว้ในใจเพื่อให้ปีตินั้นเกิดขึ้น ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้น
แห่งปีติสัมโพชฌงค์ คือ
๑. พุทธานุสสติ
๒. ธัมมานุสสติ
๓. สังฆานุสสติ
๔. สีลาอาทิผิด อักขระนุสสติ
๕. จาคานุสสติ
๖. เทวตานุสสติ
๗. อุปสมานุสสติ
๘. การเว้นบุคคลผู้ (มีจิต) เศร้าหมอง
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 四月 26, 2023

Dueat Ron

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/141/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ข้าแต่บุรุษผู้อาชาไนย ข้าพเจ้าขอ
นอบน้อมท่าน ข้าแต่บุรุษผู้สูงสุด ข้าพเจ้า
ขอนอบน้อมท่าน ข้าอาทิผิด อาณัติกะแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้ใด
หมดอาสวะแล้ว ผู้นั้นเป็นทักขิเณยยบุคคล
ดังนี้.
แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หญิงแก่ถวายภิกษาแก่พระอรหันต์ผู้เช่นกับท่าน
ผู้เข้าไปเพื่อบิณฑบาตจักพ้นจากทุกข์ ดังนี้. พระเถระลุกขึ้นแล้วเปิดประตู
ออกไปตรวจดูเวลา ทราบว่า ยังเช้าอยู่ จึงถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่บ้าน. แม้
ทาริกาเตรียมอาหารเสร็จแล้ว ก็เปิดประตูนั่งแลดูอยู่ด้วยคิดว่า "บัดนี้ พี่ชาย
ของเราจักมา". เมื่อพระเถระมาถึงประตูบ้าน ทาริกานั้น จึงรับบาตรแล้วทำ
ให้เต็มด้วยข้าวเจือด้วยน้ำนมปรุงด้วยเนยใสและน้ำอ้อย แล้วจึงวางไว้บนมือ
ของพระเถระ พระเถระกระทำอนุโมทนาว่า “จงเป็นสุขเถิด” แล้วหลีกไป
แม้ทาริกานั้น ก็ยืนแลดูพระเถระอยู่ ในเวลานั้น ผิวพรรณของพระเถระบริสุทธิ์
งามยิ่งนัก อินทรีย์ทั้งหลายผุดผ่องไพโรจน์ยิ่ง เป็นราวกะว่าผลตาลสุกที่หลุด
จากขั้ว ฉะนั้น. มหาอุบาสิกากลับมาจากป่า จึงถามธิดาว่า “ลูกแม่ พี่ชายของ
เจ้ามาแล้วหรือ” ธิดานั้นได้บอกความเป็นไปทั้งปวงนั้น มหาอุบาสิกาทราบว่า
วันนี้กิจแห่งบรรพชิตแห่งบุตรของเราถึงที่สุดแล้ว จึงกล่าวว่า “ลูกแม่ พี่ชาย
ของเจ้าจะไม่เดือดร้อนอาทิผิด อักขระในพระพุทธศาสนา” ดังนี้.
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ผู้พิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งความ
เป็นทายาท (คือผู้รับมรดก) ว่า ชื่อว่า มรดกของพระศาสดา คืออริย-
ทรัพย์นั้นยิ่งใหญ่แล มรดกนั้นอันผู้เกียจคร้านไม่อาจเพื่อได้ เหมือนอย่าง
ว่า บิดามารดา ทำบุตรผู้ปฏิบัติผิดให้มีในภายนอกว่า "ผู้นี้มิใช่บุตรของ
เรา" บุตรนั้นย่อมไม่ได้มรดกโดยกาลอันล่วงไปแห่งบิดามารดา ฉันใด
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 四月 25, 2023

Ton Mai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 54/129/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ความเป็นสาว ดูหมิ่นหญิงอื่น ข้าพเจ้าประดับกายนี้
ให้วิจิตรงดงาม สำหรับลวงผู้ชายโง่ ๆ ได้ยืนอยู่ที่
ประตูเรือนหญิงแพศยา ดุจนายพรานที่คอยดักเนื้อ
ฉะนั้น ข้าพเจ้าแสดงเครื่องประดับต่าง ๆ และอวัยวะ
ที่ควรปกปิดเป็นอันมากให้ปรากฏ กระทำมายาหลาย
อย่างให้ชายอาทิผิด อักขระเป็นอันมากยินดี วันนี้ข้าพเจ้านั้นมีศีรษะ
โล้น ห่มผ้าสังฆาฏิเที่ยวบิณฑบาตแล้วมานั่งอยู่ที่โคน
ต้นไม้อาทิผิด อาณัติกะ ได้ฌานอันไม่มีวิตก ข้าพเจ้าตัดเครื่องเกาะ
เกี่ยวทั้งที่เป็นของทิพย์ทั้งที่เป็น ของมนุษย์ ได้ทั้งหมด
ทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป มีความเย็นดับสนิทแล้ว.
จบ วิมลาปุราณคณิกาเถรีคาถา
๒. อรรถกถาวิมลาเถรีคาถา
คาถาว่า มตฺตา วณฺเณน รูเปน เป็นต้น เป็นคาถาของพระ-
เถรีชื่อวิมลา.
แม้พระเถรีชื่อวิมลาองค์นี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อนๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ใน
พุทธุปปาทกาลนี้ เกิดเป็นธิดาของหญิงผู้อาศัยรูปเลี้ยงชีพคนหนึ่งในกรุงเวสาลี
มีชื่อว่า วิมาลา นางวิมลาครั้นเจริญวัยแล้วก็เลี้ยงชีพอย่างนั้นเหมือนกัน
วันหนึ่งนางเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะเที่ยวบิณฑบาตในกรุงเวสาลี มีจิต
ปฏิพัทธ์จึงไปถึงที่อยู่ของพระเถระเริ่มทำการเล้าโลมมุ่งพระเถระ อาจารย์บาง
ท่านกล่าวว่า ถูกพวกเดียรถีย์ส่งไปจึงได้ทำอย่างนั้น พระเถระคุกคามแล้วได้
๑. บาลี เป็น วิมลาปุราณคณิกาเถรีคาถา.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 四月 24, 2023

Sikhi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 13/2/16  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้า
พระองค์ ในเวลาหลังอาหารกลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้นั่งประชุมกันในโรงกลม
ใกล้ไม้กุ่มน้ำ แล้วเกิดสนทนาธรรมกันขึ้นเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาสว่า. บุพเพนิวาส
แม้เพราะเหตุนี้ บุพเพนิวาสแม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เรื่องนี้แลที่พวกข้าพระองค์พูดค้างไว้ พอดีพระองค์เสด็จมาถึง.
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอปรารถนา
หรือไม่ที่จะฟังธรรมีกถา ซึ่งเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาส ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นการสมควรแล้วที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงกระทำ
ธรรมีกถาซึ่งเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาส ข้าแต่พระสุคต เป็นการสมควรแล้วที่พระ
ผู้มีพระภาคจะพึงทรงกระทำธรรมีกถาซึ่งเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาส ภิกษุทั้งหลายได้
ฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว จักได้ทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นพวกเธอจงฟังจงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว-
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลายนับแต่นี้ไป ๙๑ กัป ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ
เจ้า พระนามว่าวิปัสสีได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก นับแต่นี้ไป ๓๑ กัป ที่พระผู้มี
พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขีอาทิผิด สระ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลกใน
กัปที่ ๓๑ นั่นเอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า เวสสภู
ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระ
ภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า
โกนาคมนะ ได้เสด็จอุบัติอาทิผิด อักขระขึ้นในโลก ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในภัทท
กัปนี้แหละ เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้อุบัติขึ้นแล้วในโลก.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 四月 23, 2023

Si Kho

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/161/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พืชของสงฆ์และของบุคคล
[ ๙๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พืชของสงฆ์เขาเพาะปลูกในที่ของบุคคล
พืชของบุคคลเขาเพาะปลูกในที่ของสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พืช
ของสงฆ์ที่เพาะปลูกในที่ของบุคคล พึงให้ส่วนแบ่ง แล้วบริโภค พืชของ
บุคคลที่เพาะปลูกในที่ของสงฆ์ พึงให้ส่วนแบ่ง แล้วบริโภค.

พระพุทธานุญาตมหาประเทศ ๔
[๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเกิดความรังเกียจในพระบัญญัติ
บางสิ่งบางอย่างว่า สิ่งใดหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ สิ่งใดไม่
ได้ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

วัตถุเป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประทานสำหรับอ้าง ข้อ ดังต่อไปนี้.
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หาก
สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้น ไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.
๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร
หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.
๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร
หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.
๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร
หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 四月 22, 2023

Mi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 21/353/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
กา. ท่านพระโคดม การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการ
ตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ ท่านพระโคดม ก็การบรรลุสัจจะย่อมมีได้
ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ.
[๖๕๘] พระ. ดูก่อนภารทวารชะ การเสพจนคุ้น การเจริญ การ
ทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแล ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะ ดูก่อนภารทวารชะ
การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อ
ปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมปฏิบัติการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้.
กา. ท่านพระโคดม การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการ
บรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่
การบรรลุสัจจะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะ
มากแก่การบรรลุสัจจะ
[๖๕๙] พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุ
สัจจะ ถ้าไม่พึงตั้งความเพียร ก็ไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะตั้งความเพียร
จึงบรรลุสัจจะได้ ฉะนั้น ความเพียรจึงมีอาทิผิด สระอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียรเป็นไฉน
ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียร.
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความ
เพียร ถ้าไม่พึงพิจารณา ก็พึงตั้งความเพียรนี้ไม่ได้ แต่เพราะพิจารณาจึงตั้ง
ความเพียรได้ ฉะนั้น ปัญญาเครื่องพิจารณาจึงมีอุปการะมากแก่ความเพียร.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 四月 16, 2023

Dai kae

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 71/6/5   ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า จตุนฺนวุเต อิโต กปฺเป ความว่า เราได้กระทำ คือได้
บำเพ็ญกรรมมาในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้. ความว่า ตั้งแต่นั้นมา ด้วย
พลังแห่งบุญ เราจึงได้ไม่รู้จักทุคติอะไรเลย คือทุคติอะไร ๆ ไม่เคย
ได้มีเลย.
บทว่า เตสตฺตติมฺหิโต กปฺเป ได้แก่อาทิผิด อักขระ ในกัปที่ ๗๓ แต่กัปนี้.
บทว่า อินฺทนามา ตโย ชนา ความว่า พระเจ้าจักรพรรดิ ๓ พระองค์
พระนามว่าอินทะ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่าอินทะ ในกัปหนึ่ง
๓ ชาติ. บทว่า เทฺว สตฺตติมหิโต กปฺเป ได้แก่ ในกัปที่ ๗๒ แต่
กัปนี้. คน ๓ คนที่มีชื่อว่าสุมนะ คือได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิถึง ๓ ครั้ง.
บทว่า สมสตฺตติโต กปฺเป ความว่า เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง
ผู้มีพระนามอย่างนี้คือ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่าวรุณ ในกัป
ที่ ๗๐ ไม่หย่อนไม่ยิ่งแต่กัปนี้ คือได้เป็นผู้ยิ่งใหญ่สมบูรณ์ด้วยจักรรัตนะ
ทุกอย่างในทวีปทั้ง ๔. คำที่เหลือพอรู้ได้อยู่แล้ว.
จบอรรถกถาสีหาสนทายกเถราปทาน
เอกถัมภิกเถราปทานที่ ๒ (๑๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเสาต้นเดียว
[๑๔ ] ได้มีการประชุมมหาอุบาสกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-
พระนามว่าสิทธัตถะ และอุบาสกเหล่านั้นถึงพระพุทธเจ้าเป็น
สรณะ เชื่อพระตถาคต. อุบาสกทั้งหมดมาประชุมปรึกษากัน
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 四月 15, 2023

Mai Thueng

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 24/50/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาอัจเจนติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๔ ต่อไป :-
บทว่า อจฺเจนฺติ แปลว่า ย่อมล่วงไป. บทว่า กาลา ได้แก่ กาลมี
ปุเรภัตกาลเป็นต้น. บทว่า ตรยนฺติ รตฺติโย ได้แก่ เมื่อราตรีทั้งหลาย
ก้าวล่วงไป ย่อมผ่านคือ ย่อมให้บุคคลที่จะตายไปใกล้ต่อความตายโดยรวดเร็ว.
บทว่า วโยคุณา ได้แก่ คุณ คือ กอง (ชั้น) แห่งปฐมวัย มัชฌิมวัย และ
ปัจฉิมวัย.
จริงอยู่ อรรถแห่งคุณศัพท์ใช้ในอรรถหลายอย่าง เช่นในความหมาย
ถึงชั้นแผ่นผ้า ดังพระบาลีว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อหตานํ วตฺถานํ
ทิคุณํ สํฆาฏึ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมอนุญาตผ้าสังฆาฏิทำให้
เป็น ๒ ชั้น ที่ทำด้วยผ้าใหม่ ดังนี้. มีอรรถว่า อานิสงส์ในบทนี้ว่า สตคุณา
ทิกฺขิณา ปาฏิกงฺขิตพฺพา แปลว่า พึงหวังทักษิณาร้อยเท่า. อรรถแห่ง
คุณศัพท์ ที่มีความหมายถึงโกฏฐาสเช่นในคำว่า อนฺตํ อนฺตคุณํ แปลว่า
ไส้ใหญ่ไส้น้อย. ที่มีความหมายถึงอาทิผิด อักขระเครื่องผูก เช่นในคำว่า ปญฺจ กามคุณา
แปลว่า เครื่องผูกคือกาม ๕ อย่าง ดังนี้.
แต่ในที่นี้ อรรถแห่งคุณศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ราสิ ซึ่งแปลว่า กอง
หรือคณะ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบ บทว่า วโยคุณา นี้ว่า เป็นกอง
แห่งวัย ดังนี้. บทว่า อนุปุพฺพํ ชหนฺติ อธิบายว่า วัยทั้งหลายย่อมละทิ้ง
บุคคลไปโดยลำดับ. จริงอยู่ ปฐมวัยย่อมละทิ้งบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมัชฌิมวัย
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 四月 11, 2023

Bang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 3/181/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องไหว้ ดังนี้:- หญิงผู้ประสงค์จะนวดเท้า
ทั้งสอง? ภิกษุพึงห้าม พึงปกปิดเท้าไว้ หรือพึงนิ่งเฉยเสีย. ด้วย
ว่า ภิกษุผู้นิ่งเฉย แม้จะยินดี ก็ไม่เป็นอาบัติ.
เรื่องสุดท้าย ปรากฏชัดแล้วแล.
กายสังสัคควรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ ด้วยประการฉะนี้

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระอุทายี
[๓๙๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระ-
อุทายีอยู่ในวิหารชายป่า สตรีเป็นอันมากได้พากันไปสู่อาราม มีความ
ประสงค์จะชมวิหาร จึงเข้าไปหาท่านพระอุทายีกราบเรียนว่า พวกดิฉัน
ประสงค์จะชมวิหารของพระคุณเจ้า เจ้าค่ะ
จึงท่านพระอุทายีเชิญสตรีเหล่านั้นให้ชมวิหารแล้ว กล่าวมุ่งวัจจ-
มรรค ปัสสาวมรรค ของสตรีเหล่านั้น ชมบ้าง ติบ้าง ขอบ้าง อ้อนวอน
บ้าง ถามบ้าง ย้อนถามบ้าง บอกบ้าง สอนบ้าง ด่าบ้าง สตรี เหล่านั้น
จำพวกที่หน้าด้าน ฐานนักเลง ไม่มียางอาย บ้างยิ้มแย้ม บ้างพูดยั่ว
บ้างก็ซิกซี้ บ้างก็เย้ยกับท่านพระอุทายี ส่วนจำพวกที่มีความละอายใจ
ก็เลี่ยงออกไป แล้วโพนทะนาภิกษุทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า คำนี้ไม่สมควร
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 四月 09, 2023

Ko

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 38/392/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๒. อริยธรรมสูตร
ว่าด้วยอริยธรรมและอนริยธรรม
[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง อริยธรรม และ อนริย-
ธรรม แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อนริยธรรมเป็นไฉน มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มิจฉา-
วิมุตติ นี้เรียกว่าอนริยธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยธรรมเป็นไฉน
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุตติ นี้เรียกว่าอริยธรรม.
จบอริยธรรมสูตรที่ ๒

อรรถกถาอริยธรรมสูตรที่ ๒ เป็นต้น
สูตรที่ ๒ เป็นต้น มีเนื้อความง่ายเหมือนกันแล.
จบอรรถกถาสาธุวรรคที่ ๔

๓. กุสลสูตร
ว่าด้วยกุศลอาทิผิด อักขระธรรมและอกุศลธรรม
[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกุศลธรรมและอกุศล-
ธรรม แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังอาทิผิด  จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาทิผิด อาณัติกะอกุศลธรรมเป็นไฉน มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มิจฉา-
วิมุตติ นี้เรียกว่าอกุศลธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กุศลธรรมเป็นไฉน
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุตติ นี้เรียกว่ากุศลธรรม.
จบกุสลสูตรที่ ๓
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 四月 08, 2023

Ma

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 38/102/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๘. ทุติยมหาปัญหาสูตร
ว่าด้วยอุบาสกชาวเมืองกชังคละถามปัญหากชังคลาภิกษุณี
[๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ ใกล้กชัง-
คลนคร ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวเมืองกชังคละมากด้วยกัน เข้าไปหา
กชังคลาภิกษุณีถึงที่อยู่ อภิวาทกชังคลาภิกษุณีแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามกชังคลาภิกษุณีว่า ข้าแต่แม่เจ้า พระดำรัสที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ในมหาปัญหาทั้งหลายว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑
ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุเทศ ๓
ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุเทศ ๕
ไวยากรณ์ ๕ ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุเทศ ๗
ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุเทศ ๙
ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ ข้าแต่แม่เจ้า
เนื้อความแห่งพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้ จะพึงเห็นโดย
พิสดารได้อย่างไรหนอ.
กชังคลภิกษุณีตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสนี้
เราได้สดับรับฟังมาอาทิผิด อักขระแล้ว ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็หามิได้ เราได้สดับรับฟังมาแล้ว ในที่เฉพาะหน้าของภิกษุทั้งหลาย
ผู้สำเร็จทางใจก็หามิได้ ก็แต่ว่าเนื้อความในพระพุทธภาษิตนี้ย่อมปรากฏ
แก่เราอย่างไร ท่านทั้งหลายจงฟังเนื้อความอาทิผิด แห่งพระพุทธภาษิตนั้นอย่าง
นั้น จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว พวกอุบาสกชาวเมืองกชังคละ
รับคำของกชังคลาภิกษุณีแล้ว กชังคลาภิกษุณีได้กล่าวว่า ก็พระดำรัสที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้วว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 四月 06, 2023

Trakun

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 22/233/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม คนทั้ง
หลาย ก็จะบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้น ๆ. สัตบุรุษนั้น กระทำข้อปฏิบัติให้เป็น
ไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มี
สกุลสูงนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.
อสัปปุริสธรรม
[๑๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก (คือ) อสัตบุรุษ
เป็นผู้ออกบวชจากตระกูลใหญ่ ออกบวชจากตระกูลที่มีโภคะมาก ออกบวช
จากตระกูลที่มีโภคะโอฬาร. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ออกบวช
จาก (ตระกูลใหญ่ ตระกูลมีโภคะมาก) ตระกูลอาทิผิด สระมีโภคะโอฬารแล แต่ภิกษุ
อื่น ๆ เหล่านี้ ไม่ได้ออกบวชจาก (ตระกูลใหญ่ ตระกูลมีโภคะมาก) ตระกูล
มีโภคะโอฬาร. เธอยกตนข่มขู่ผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีโภคะโอฬารนั้น ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.
สัปปุริสธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษ พิจารณาเห็นอย่างนี้แลว่า ธรรม
คือโลภะ ธรรมคือโทสะ หรือธรรมคือโมหะ ย่อมไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไป
เพราะความเป็นผู้มีโภคะโอฬาร ถึงแม้ภิกษุผู้ไม่ได้ออกบวชจาก (ตระกูลใหญ่
ตระกูลมีโภคะมาก) ตระกูลมีโภคะโอฬาร เธอก็ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม คนทั้งหลายก็จะบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้น ๆ
สัตบุรุษนั้น กระทำข้อปฏิบัติให้เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้น
ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีโภคะโอฬารนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 四月 05, 2023

Thang Si

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 38/56/5  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มหาวรรคที่ ๓
๑. สีหสูตร
ว่าด้วยกำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ
[๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเวลาเย็น สีหมฤคราชย่อมออก
จากที่อาศัย ครั้นแล้วย่อมเหยียดดัดตัว ครั้นแล้วย่อมเหลียวดูทิศทั้ง
โดยรอบ ครั้นแล้วย่อมบันลือสีหนาทสามครั้ง ครั้นแล้วย่อมหลีกไปเพื่อ
หากิน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมันคิดว่า เราอย่าได้ยังสัตว์ตัวเล็ก ๆ
ผู้ไปในที่หากินอันไม่สม่ำเสมอให้ถึงการถูกฆ่าเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คำว่าสีหะนี้แล เป็นชื่อแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตแสดงธรรมแก่บริษัท เป็นสีหนาทของตถาคต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยกำลังเหล่าใด ย่อม
ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท
กำลังของตถาคตมี ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน ตถาคตย่อมรู้ชัด
ซึ่งฐานะ โดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะในโลกนี้ ตามเป็นจริง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะ
โดยเป็นอฐานะตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัย
ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท.
อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งวิบากแห่งการยึดถือการกระทำ
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามเป็นจริง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งวิบากแห่งการยึดถือการกระทำ
ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามที่เป็นจริงนี้
 
พระปิฎกธรรม