星期四, 九月 07, 2023

Songkhram

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 72/546/9  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
จักษุของหม่อมฉันทั้งหลาย ไม่เคยอิ่ม
ด้วยการเห็นพระองค์ โสตของหม่อมฉันทั้งหลาย
ไม่เคยอิ่มด้วยพระภาษิตของพระองค์ จิตของ
หม่อมฉันทั้งหลายดวงเดียวแท้ ๆ ก็ไม่อิ่มด้วยรส
แห่งธรรมของพระองค์.
ผู้บันลืออยู่ในบริษัท กำจัดเสียซึ่งทิฏฐิ
และมานะชนเหล่าใดเห็นพระพักตร์ของพระองค์
ชนเหล่าใดประณตน้อมพระยุคลบาทของพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ถึงที่สุดสงครามอาทิผิด อักขระ ชน
เหล่าใดประณตน้อมพระยุคลบาทของพระองค์
ซึ่งมีพระองคุลียาว มีพระนขาแดงงดงาม มีส้น
พระบาทยาว ถึงชนเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี
ข้าแต่พระนโรดม ชนเหล่าใดได้สดับ
พระดำรัสของพระองค์อันไพเราะน่าปลื้มใจ เผา
เสียซึ่งโทษ เป็นประโยคเกื้อกูล ชนเหล่านี้
ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี
ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันทั้งหลาย
อิ่มไปด้วยการบูชาพระบาทของพระองค์ ข้ามพ้น
ทางกันดารคือสงสารได้ ด้วยพระสุนทรกถาของ
พระองค์ผู้ทรงสิริ ฉะนั้นหม่อมฉันทั้งหลายจึง
ชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี.
ลำดับนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีผู้
มีวัตรอันงาม ประกาศในหมู่พระภิกษุสงฆ์แล้ว
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 九月 06, 2023

Chamna

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 33/138/1  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คนไม่ดีด้วยความดี พึงชำนะอาทิผิด อักขระคนตระหนี่ด้วยการให้
พึงชำนะคนพูดเท็จด้วยคำจริง.
เมื่อจบพระคาถา ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล นิมนต์พระทศพลถวายมหา-
ทาน ในวันรุ่งขึ้น. เรื่องนี้เกิดขึ้นอย่างนี้. ภายหลัง พระศาสดาประทับ
อยู่ ณ พระเชตวันวิหารเมื่อทรงสถาปนาพวกอุบาสิกาไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ
จึงทรงสถาปนานางอุตตรานันทมารดา ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็น
เลิศกว่าพวกอุบาสิกา ผู้เข้าฌานแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๖
๖. ประวัติพระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา

ในสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ปณีตทายิกานํ ท่านแสดงว่า พระนางสุปปวาสา
โกลิยธิดา เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ถวายของมีรสประณีต.
ดังได้สดับมา พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดานั้น ครั้งพระพุทธเจ้า
พระนามว่า ปทุมมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี กำลังฟัง
พระ ธรรมเทศนาอาทิผิด สระของพระศาสดาเห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่ง
ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ถวายของมีรสประณีตอาทิผิด อักขระ
ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายอยู่ใน
เทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในสกุลกษัตริย์
พระนครโกลิยะ. พระประยูรญาติจึงขนานพระนามพระนางว่า สุปปวาสา
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 九月 04, 2023

Banphachit

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 16/1/18  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๗. ลักขณสูตร

เรื่อง มหาปุริสพยากรณ์

[๑๓๐] ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระเจ้า) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญดังนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษผู้ประกอบด้วย
มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ เหล่านี้ ย่อมมีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็น
อย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็น
ธรรมราชามีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีอาณาจักรมั่นคง
ประกอบด้วย รัตนะ ๗ ประการ. คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี
นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗. พระราชบุตรของพระองค์มี
กว่าหนึ่งพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนา
ของข้าศึกได้. พระองค์ทรงชนะโดยธรรม โดยเสมอ มิต้องใช้อาชญา
มิต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดิน มีสาครเป็นขอบเขต มิได้มีเสา.
เขื่อน ไม่มีนิมิต ไม่มีเสี้ยนหนาม มั่งคั่งแพร่หลาย มีความเกษมสำราญ
ไม่มีเสนียด ถ้าเสด็จออกบวชเป็นบรรพชิตอาทิผิด อักขระจะได้เป็นพระอรหันตสัมมา-
พุทธเจ้า มีหลังคา คือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนั้นเป็นไฉน ซึ่งพระมหาบุรุษประกอบแล้ว
ย่อมมีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือถ้าครองเรือนจะได้เป็น
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 九月 03, 2023

Ton

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 76/143/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ภูมิ ๓ นั้น จึงไม่ยังวิบากของตนให้ได้ซึ่งอธิบดี. ส่วนโลกุตระทั้งหลาย เมื่อ
ศรัทธานั้น เมื่อวิริยะนั้น เมื่อสตินั้น เมื่อสมาธินั้น เมื่อปัญญานั้น ยังไม่
เข้าไปสงบ (คือยังเป็นไป) ก็ย่อมได้วิบากในลำดับแห่งมรรคนั้นนั่นแหละ
ไม่ผิดพลาด ด้วยเหตุนั้น โลกุตรกุศลนั้นจึงอาจยังวิบากของตนให้ได้อธิบดี.
เหมือนอย่างว่า ในที่ที่เขาก่อไฟไว้กองน้อย เมื่อไฟดับแล้วเท่านั้น
อาการร้อนก็ดับไม่มีอะไร ๆ แต่เมื่อเอาโคมัยโปรยไปรอบ ๆ ดับกองไฟใหญ่ที่
โพลงขึ้นแล้ว อาการคือความร้อน ย่อมไม่สงบลงทันที ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน คือ ขณะแห่งกรรม (การทำ) ในกุศลเป็นไปในภูมิ ๓ เป็น
อย่างหนึ่ง ขณะแห่งวิบากเป็นอย่างหนึ่ง เหมือนเวลาที่อาการคือความร้อน
ดับไปแห่งไฟกองน้อย เพราะฉะนั้น กุศลอันเป็นไปในภูมิ ๓ นั้นจึงไม่อาจ
เพื่อยังวิบากของตนอาทิผิด อักขระให้ได้อธิบดี ส่วนโลกุตรกุศล เมื่อศรัทธานั้น ฯลฯ เมื่อ
ปัญญานั้นยังไม่เข้าไปสงบ ผลก็เกิดขึ้นในลำดับแห่งมรรคทันที เพราะฉะนั้น
โลกุตรกุศลนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมยังวิบากของตนให้ได้ซึ่งอธิบดี ดังนี้
ด้วยเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า อธิบดีไม่มีในวิบากจิต
เว้นแต่โลกุตระ ดังนี้.

ว่าด้วยอัญญาตาวินทรีย์ในโลกุตรวิบากดวงที่ ๔
พึงทราบวินิจฉัยนิทเทสแห่งผลซึ่งเกิดแต่มรรคที่ ๔ ต่อไป
คำว่า อัญญาตาวินทรีย์ ได้แก่ อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึง คือ
ผู้มีญาณกิจสำเร็จในสัจจะ ๔ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะให้สำเร็จ
อรรถแห่งความเป็นใหญ่ในภายในธรรมทั้งหลายที่รู้ทั่วถึง คือมีกิจอันสำเร็จใน
สัจจะ ๔ อันรู้แล้ว แทงตลอดสัจจะ ๔ แล้วดำรงอยู่.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 九月 02, 2023

Kap

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 73/433/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สมัยต่อมา พระมหาปทุมพุทธเจ้า มุนีผู้เลิศผู้มีคติเสมอด้วยโคอุสภะ
ทรงอาศัยกรุงอสุภวดีเข้าจำพรรษา พวกมนุษย์ชาวนครประสงค์จะเห็นพระผู้-
มีพระภาคเจ้า จึงพากันเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรด
ชนเหล่านั้น. มนุษย์เป็นอันมากในที่นั้น มีจิตเลื่อมใส ก็พากันบวช แต่นั้น
พระทศพลทรงปวารณาเป็นวิสุทธิปวารณากับอาทิผิด อักขระภิกษุเหล่านั้น และภิกษุสามแสน
อื่น ๆ นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒. ส่วนชนเหล่าใดยังไม่บวชในครั้งนั้น ชน
เหล่านั้น ฟังอานิสงส์กฐินแล้ว ก็พากันถวายกฐินจีวรที่ให้อานิสงส์ ๕ ในวัน
ปาฏิบท ๕ เดือน. แต่นั้น ภิกษุทั้งหลายอ้อนวอนพระสาลเถระ พระธรรม
เสนาบดีอัครสาวก ผู้มีปัญญาไพศาลนั้น เพื่อกรานกฐิน ได้ถวายกฐินจีวร
แก่พระสาลเถระนั้น. เมื่อกฐินจีวรของพระเถระอันภิกษุทั้งหลายทำกันอยู่ ภิกษุ
ทั้งหลายก็เป็นสหายช่วยกันเย็บ. ฝ่ายพระปทุมสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงร้อยด้าย
เข้ารูเข็มประทาน เมื่อจีวรสำเร็จแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จจาริกหลีกไป
พร้อมด้วยภิกษุสามแสน.
สมัยต่อมา พระพุทธสีหะ ประดุจบุรุษสีหะผู้ดำเนินไปด้วยความ
องอาจดังราชสีห์ เสด็จเข้าจำพรรษา ณ ป่าใหญ่ ที่มีดอกไม้หอมอย่างยิ่งมี
ผลไม้เป็นพวงมีกิ่งก้านอันอ่อนโน้ม มีค่าคบไม้ เสมือนป่าโคสิงคสาลวัน บริ-
บูรณ์ด้วยห้วงน้ำที่เย็นอร่อย ประดับด้วยบัวก้านบัวสายไร้มลทิน เป็นที่สัญจร
ของหมู่เนื้อเช่นกวาง จามรี ราชสีห์ เสือ ช้าง ม้า โค กระบือเป็นต้น อันฝูง
แมลงภู่และผึ้งสาว ที่มีใจติดกลิ่นดอกไม้อันหอมกรุ่น บินตอมว่อนเป็นฝูง ๆ
โดยรอบ อันเหล่านางนกดุเหว่า มีใจเบิกบานด้วยรสผลไม้ ส่งเสียงร้องไพเราะ
แผ่วเบาคล้ายขับกล่อมอยู่ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง สงัดปราศจากผู้คน เหมาะ
แก่การประกอบความเพียร. พระตถาคตทศพล พระธรรมราชาพร้อมทั้งบริวาร
ประทับอยู่ ณ ป่าใหญ่นั้น รุ่งโรจน์ด้วยพระพุทธสิริ มนุษย์ทั้งหลายเห็นแล้ว
 
พระปิฎกธรรม