NIRUTTI SAPHA 37N C4 500


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 401

อีกประการหนึ่ง    มหาสมุทรมีรสเดียว  คือ  รสเค็ม  ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ  ข้อที่มหาสมุทรมีรสเดียว   คือ   รสเค็ม  นี้เป็นธรรม.

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่   ๖  ในมหาสมุทร   ที่พวกอสูร

เห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่.

อีกประการหนึ่ง    มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด

ในมหาสมุทรมีรัตนะเหล่านี้  คือ  แก้วมุกดา  แก้วมณี  แก้วไพฑูรย์

สังข์  ติลา  แก้วประพาฬ  เงิน  ทอง  ทับทิม  มรกต   ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ   ข้อที่มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด  ในมหาสมุทรนั้น

มีรัตนะ  คือ   แก้วมุกดา   แก้วมณี  แก้วไพฑูรย์  สังข์  ศิลา  แก้ว.

ประพาฬ    เงิน   ทอง   ทับทิม   มรกต   นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์

อันไม่เคยมีมาประการที่  ๗  ในมหาสมุทร   ที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ

จึงอภิรมย์อยู่.

อีกประการหนึ่ง     มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของพวกสิ่งมี

ชีวิตใหญ่ ๆ และสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้    คือ   ปลาติมิ

ปลาติมิงคลา    ปลาติมิรมิงคลา   พวกอสูร   นาค   คนธรรพ์  แม้ที่มี

ร่ากายประมาณ ๑๐๐  โยชน์ ๒๐๐  โยชน์ ๓๐๐  โยชน์ ๔๐๐  โยชน์

๕๐๐  โยชน์   ก็มีอยู่  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่

พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่  ๆ   และสิ่งที่มีชีวิตในมหาสมุทรนั้น

มีดังนี้  คือ  ป่าติมิ  ปลาติมิงคลา  ปลาติมิรมิงคลา  พวกอสูร  นาค

คนธรรพ์   แม้ที่มีร่างกายประมาณ    ๑๐๐    โยชน์    ๒๐๐    โยชน์

๓๐๐   โยชน์   ๔๐๐   โยชน์   ๕๐๐  โยชน์   ก็มีอยู่   นี้เป็นธรรมที่

น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่   ๘    ในมหาสมุทรที่พวกอสูร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 402

เห็นแล้ว   จึงอภิรมย์อยู่   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   นี้แสดงธรรมที่

น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา  ๘   ประการ  ในมหาสมุทร ที่พวกอสูร

เห็นแล้ว ๆ   จึงอภิรมย์อยู่   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ก็ภิกษุทั้งหลาย

ย่อมอภิรมย์ในธรรมวินัยนี้บ้างหรือ.

พ.  ดูก่อนปหาราทะ ภิกษุทั้งหลายย่อมอภิรมย์ในธรรนวินัยนี้.

ป.    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ        ในธรรมวินัยนี้   มีธรรมที่น่า

อัศจรรย์อันไม่เคยมีมาสักเท่าไร     ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว     จึง

อภิรมย์อยู่.

พ.  มี  ๘  ประการ  ปหาราทะ  ๘  ประการเป็นไฉน  ดูก่อน

ปหาราทะ   มหาสมุทรลาด    ลุ่ม    ลึกลงไปโดยลำดับ  ไม่โกรธชัน

เหมือนเหว   ฉันใด  ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน   มีการศึกษา

ไปตามลำดับ   มีการกระทำไปตามลำดับ   มีการปฏิบัติไปตามลำดับ

มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง   ดูก่อนปหาราทะ  ข้อที่

ในธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ   มีการกระทำไปตามลำดับ

มีการปฏิบัติไปตามลำดับ  มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง

นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่  ๑  ในธรรมวินัย

ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว  ๆ  จึงอภิรมย์อยู่.

ดูก่อนปหาราทะ     มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ    ไม่ล้นฝั่ง

ฉันใด     สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน  ไม่ล่วงสิกขาบท

ที่เราบัญญัติไว้แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต    ดูก่อนปหาราทะ  ข้อที่สาวก

ทั้งหลายของเราไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แม้เพราะเหตุแห่ง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 403

ชีวิต   นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่   ๒   ใน

ธรรมวินัยนี้   ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่.

ดูก่อนปหาราทะ    มหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ  เพราะ

ในมหาสมุทรคลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่งให้ขึ้นบก   ฉันใด

ดูก่อนปหาราทะ    ฉันนั้นเหมือนกัน   บุคคลผู้มีทุศีล   มีบาป  ธรรม

มีสมาจารไม่สะอาดน่ารังเกียจ  ปกปิดกรรมชั่ว    มิใช่สมณะ   แต่

ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ  มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์    แต่ปฏิญญาว่า

ประพฤติพรหมจรรย์   เสียใน   ชุ่มด้วยราคะ   เป็นเพียงดังหยากเยื่อ

สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น     ประชุมกันยกวัตรเธอเสียทันที

แม้เขาจะนั่งอยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง     ถึงกระนั้น    เขาก็ชื่อว่า

ห่างไกลจากสงฆ์    และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา    ดูก่อนปหาราทะ

ข้อที่บุคคลผู้ทุศีล    มีบาปกรรม    มีสมาจารไม่สะอาดน่ารังเกียจ

ปกปิดกรรมชั่ว    ไม่ใช่สมณะ    แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ  มิใช่ผู้

ประพฤติพรหมจรรย์   แต่ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์   เน่าใน

ชุ่มด้วยราคะ   เป็นเพียงดังหยากเยื่อ   สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคล

นั้น   ประชุมกันยกวัตรเธอเสียทันที   แม้เขาจะนั่งอยู่ในท่านกลาง

ภิกษุสงฆ์ก็จริง   ถึงกระนั้น   เขาก็ชื่อว่าห่างไกลจากสงฆ์  และสงฆ์

ก็ห่างไกลจากเขา     นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการ

ที่  ๓  ในธรรมวินัยนี้   ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว  ๆ  จึงอภิรมย์อยู่.

ดูก่อนปหาราทะ   แม่น้ำสายใหญ่ ๆ บางสาย  คือ  แม่น้ำคงคา

ยมุนา   อจิรวดี   สรภู   มหี   แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว

ย่อมละนามและโคตรเดิมหมด     ถึงความนับว่ามหาสมุทรนั่นเอง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 404

ฉันใด   ดูก่อนปหาราทะ  ฉันนั้นเหมือนกัน  วรรณะ  ๔  เหล่านี้  คือ

กษัตริย์  พราหมณ์  แพศย์  ศูทร  ออกบวชเป็นบรรพชิต  ในธรรมวินัย

ที่ตถาคตประกาศแล้ว   ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย   ถึงความนับว่า

ศากยบุตรทั้งนั้น   ดูก่อนปหาราทะ   ข้อที่วรรณะ  ๔   เหล่านี้   คือ

กษัตริย์  พราหมณ์   แพศย์  ศูทร  ออกบวชเป็นบรรพชิต  ในธรรม

วินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว    ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย   ถึงความ.

นับว่าเป็นสมณศากยบุตรทั้งนั้น       นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อัน

ไม่เคยมีมาประการที่  ๔ ในธรรมวินัยนี้  ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ

จึงอภิรมย์อยู่.

ดูก่อนปหาราทะ    แม่น้ำทุกสายในโลก     ย่อมไหลไปรวมยัง

มหาสมุทร    และสายฝนจากอากาศตกลงสู่มหาสมุทร     มหาสมุทร

ก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเด่นเพราะน้ำนั้น ๆ    ฉันใด      ก่อน

ปหาราทะ    ฉันนั้นเหมือนกัน    ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพาน

ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ     นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่อง

หรือเต็มด้วยภิกษุนั้น    ดูก่อนปหาราทะ   ข้อที่ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมาก

จะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ          นิพพานธาตุก็มิได้

ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น    นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์

อันไม่เคยมีมาประการที่  ๕  ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ

จึงอภิรมย์อยู่.

ดูก่อนปหาราทะ   มหาสมุทรมีรสเดียว   คือ   รสเค็ม   ฉันใด

ดูก่อนปหาราทะ    ฉันนั้นเหมือนกัน     ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว    คือ

วิมุตติรส   ก่อนปหาราทะ  ข้อที่ธรรมวินัยมีรสเดียว  คือ  วิมุตติรส


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 405

นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่  ๖  ในธรรม

วินัยนี้   ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่.

ดูก่อนปหาราทะ    มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด

รัตนะในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้  คือ   แก้วมุกดา   แก้วมณี   แก้วไพฑูรย์

สังข์  ศิลา   แก้วประพาฬ    เงิน  ทอง  ทับทิม  มรกต  ฉันใด  ดูก่อน

ปหาราทะ   ฉันนั้นเหมือนกัน  ธรรมวินัยนี้ก็มีรัตนะมากมายหลายชนิด

รัตนะในธรรมวินัยนั้นมีดังนี้   คือ   สติปัฏฐาน  ๔  สัมมัปปธาน  ๔

อิทธิบาท  ๔  อินทรีย์  ๕  พละ  ๕  โพชฌงค์   ๗  อริยมรรคมีองค์  ๘

ดูก่อนปหาราทะ          ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิด

รัตนะในธรรมวินัยนั้นมีดังนี้  คือ   สติปัฏฐาน   ๔   สัมมัปปธาน  ๔

อิทธิบาท  ๔  อินทรีย์  ๕    พละ  ๕  โพชฌงค์   ๗  อริยมรรคมีองค์  ๘

นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่   ๗  ในธรรมวินัยนี้

ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ  จึงอภิรมย์อยู่.

ดูก่อนปหาราทะ     มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มี

ชีวิตใหญ่ ๆ   สิ่งที่มีชีวิตในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้   คือ  ปลาติมิ  ปลา-

ติมิงคลา   ปลาติมิรมิงคลา   พวกอสูร   นาค   คนธรรพ์   แม้ที่มีร่างกาย

ประมาณ    ๑๐๐   โยชน์   ๒๐๐   โยชน์   ๓๐๐   โยชน์   ๔๐๐ โยชน์

๕๐๐  โยชน์  มีอยู่  ฉันใด  ดูก่อนปหาราทะ  ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม

วินัยนี้    ก็เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสงมีชีวิตใหญ่ ๆ    สิ่งมีชีวิตในธรรม

วินัยนี้   มีดังนี้   คือ    พระโสดาบัน   ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้ง

ซึ่งโสดาปัตติผล      พระสกทาคามี    ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้ง

ซึ่งสกทาคามิผล      พระอนาคามี      ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อพระทำให้แจ้ง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 406

ซึ่งอนาคามิผล  พระอรหันต์  ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์

ดูก่อนปหาราทะ    ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งมีชีวิต

ใหญ่ ๆ   สิ่งมีชีวิตในธรรมวินัยนี้มีดังนี้   คือ  พระโสดาบัน   ท่านผู้

ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล    พระสกทาคามี    ท่าน

ผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสาทาคามิผล     พระอนาคามี    ท่าน

ผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอานาคามิผล  พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติ

เพื่อความเป็นพระอรหันต์    นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา

ประการที่   ๘   ในธรรนวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ  จึงอภิรมย์

อยู่   ดูก่อนปหาราทะ   ในธรรมวินัยนี้  มีธรรมที่น่าอัศจรรย์  อันไม่

เคยมีมา ๘ ประการนี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ  จึงอภิรมย์อยู่.

จบ  ปหาราทสูตรที่  ๙

 

อรรถกถาปหาราทะสูตรที่  ๙

ปทาราทสูตรที่  ๙  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า   ปหาราโท   ได้แก่   มีชื่ออย่างนี้.   บทว่า   อสุรินฺโท

แปลว่า    หัวหน้าอสูร.    จริงอยู่    บรรดาอสูรทั้งหลาย    อสุรผู้เป็น

หัวหน้ามี     ท่านคือ  เวปจิตติ   ๑  ราหู  ๑   ปหาราทะ  ๑   บทว่า

เยน  ภควา  เตนุปสงฺกมิ  ความว่า   นับตั้งแต่วันที่พระทศพลตรัสรู้แล้ว

ท้าวปหาราทะจอมอสูรคิดว่า     วันนี้เราจักไปเฝ้า    พรุ่งนี้เราจัก

ไปเฝ้า   จนล่วงไป   ๑๑      ครั้นถึงปีที่   ๑๒   ในเวลาที่พระศาสดา


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 407

ประทับอยู่ที่เมืองเวรัญชา     เกิดความคิดขึ้นว่า     เราจักไปเฝ้า

พระสัมมาสัมพุททธเจ้า  จึงติดต่อไปว่า   เรามัวแต่ผลัดว่าจะไปวันนี้

จะไปพรุ่งนี้    ล่วงไปถึง     ๑๒    ปี    เอาเถอะเราจะไปเดี๋ยวนี้แหละ

ในขณะนั้นนั่นเองอันหมู่อสูรแวดล้อมแล้ว     ออกจากภพอสูร   ตอน

กลางวัน    จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.     บทว่า

เมกมนฺต   อฏฺาสิ    ความว่า   ได้ยินว่า   ท้าวปหาราทะ   จอมอสูร

นั้นมาด้วยคิดว่า   จักถามปัญหากะพระตถาคต    แล้วจักฟังธรรมกถา

ตั้งแต่เวลาที่ได้เฝ้าพระตถาคตแล้ว      แม้เมื่อไม่อาจถาม     เพราะ

ความเคารพในพระพุทธเจ้า     ก็ได้ถวายบังคมพระศาสดาแล้วยืนอยู่

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น  พระศาสดาทรงพระดำริว่า  เมื่อเราไม่พูด   ปหาราทะ

นี้ก็ไม่อาจพูดก่อนได้    จำเราจักถามปัญหากะเธอสักข้อหนึ่ง    เพื่อ

ให้การสนทนาเกิดขึ้นในฐานะที่เธอมีวสีชำนาญอันสั่งสมไว้แล้ว

นั่นแหละ.   เมื่อพระองค์จะตรัสถามปัญหาเขา   จึงตรัสคำมีอาทิว่า

อปิ    ปน   ปหาราท    ดังนี้.   บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า   อภิรมนฺติ

ความว่า  ย่อมประสบความยินดี   อธิบายว่า  ไม่เอือมระอาอยู่.  ท่าน

มีจิตยินดีว่าในฐานะที่เราคุ้นเคยทีเดียว     พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

ถามเรา   จึงกราบทูลว่า   อภิรมนฺติ   ภนฺเต   พวกอสูรยังอภิรมย์อยู่

พระเจ้าข้า.

บทว่า  อนุปุพฺพนินฺโน  เป็นต้นทั้งหมด  เป็นไวพจน์แห่งความ

ลุ่มไปตามลำดับ.   ด้วยบทว่า  น  อายตเกเนว   ปปาโต  พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงว่า   มหาสมุทรไม่เป็นเหวชันมาแต่เบื้องต้นเหมือน


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 408

บึงใหญ่ที่มีตลิ่งชัน.    ก็เริ่มตั้งแต่พื้นที่ที่เป็นตลิ่งไป  มหาสมุทรนั้น

จะลึกลงไป   ด้วยสามารถแห่งการลึกลงที่ละ   ๑  นิ้ว   ๒  นิ้ว  ๑  คืบ

๑   ศอก   ๑   อสุภะ   กึ่งคาวุต   ๑   คาวุต     กึ่งโยชน์    และ  ๑ โยชน์

ลึกไป ๆ จนลึกถึง  ๘๔,๐๐๐  โยชน์  ณ  ที่ใกล้เชิงเขาพระสุเมรุ.

บทว่า  ิตธมฺโม  ความว่า   ตั้งอยู่แล้วเป็นสภาวะ   คือตั้งแต่

เฉพาะเป็นสภาวะ.  บทว่า  กุณเปน  ความว่า    ด้วยซากศพอย่างใด

อย่างหนึ่ง   มีซากช้างและซากม้าเป็นต้น.    บทว่า   ถล   อุสฺสาเทติ

ความว่า    ย่อมซัดขึ้นบกด้วยคลื่นซัดนั่นแหละ    เหมือนคนเอามือ

จับซัดไปฉะนั้น.

ในบทว่า  คงฺคา    ยมุนา   ควรกล่าวถึงเหตุเกิดแห่งแม่น้ำเหล่านี้

เพราะตั้งอยู่ในที่นี้.         ก่อนอื่นชมพูทวีปนี้        ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ

๑๐,๐๐๐   โยชน์    ในจำนวนเนื้อที่นั้น  ๔,๐๐๐  โยชน์   เป็นภูมิประเทศ

ที่ถูกน้ำท่วม  นับได้ว่าเป็นมหาสมุทร  ๓,๐๐๐  โยชน์  พวกมนุษย์

อาศัยอยู่  ๓,๐๐๐   โยชน์   ภูเขาหิมวันต์ตั้งอยู่  สูง  ๕๐๐  โยชน์

ประดับด้วยยอด   ๘๔,๐๐๐   ยอด  วิจิตรด้วยแม่น้ำใหญ่   ๕  สาย  ไหล

มาโดยรอบ   เป็นที่สระใหญ่    ๗   สระตั้งอยู่    คือ   สระอโนดาด

สระกัณฑมุณฑะ   สระรถกาฬะ    สระฉัททันตะ     สระกุนาละ

สระมันทากินิ     สระสีหัปปปาตะ   ซึ่งยาว    กว้าง   และลึก  อย่างละ

๕๐   โยชน์   มีปริมณฑล   ๑๕๐  โยชน์   บรรดาสระเหล่านั้น    สระ-

อโนดาด    ล้อมด้วยภูเขา   ๕  ลูก   เหล่านี้คือ    สุทัสสนกูฏ     จิตตกูฏ

เทฬกูฏ    คันทมาทนกูฏ   เกลาสกูฏ.    ในภูเขาทั้ง    ๕   ลูกนั้น    ภูเขา-

สุทัสสนกูฏ  สำเร็จไปด้วยทอง   สูง   ๒๐๐   โยชน์    ภายในคดเคี้ยว


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 409

มีสัณฐานดังปากของกา   ตั้งปิดสระอโนดาดนั่นแหละ    ภูเขาจิตตกู

สำเร็จด้วยรัตนะทั้งปวง   ภูเขากาฬกูฏ   สำเร็จด้วยแร่พลวง   ภูเขา-

คันทมาทนกูฏ   สำเร็จด้วยที่ราบเรียบ   ภายในมีสีเหมือนเมล็ดถั่วเขียว

หนาแน่นไปด้วยคันธชาติ    ๑๐   ชนิด   เหล่านี้  คือ  ไม้มีกลิ่นที่ราก

ไม้มีกลิ่นที่แก่น.   ไม้มีกลิ่นที่กะพี้   ได้แก่กลิ่นที่ใบ   ไม้มีกลิ่นที่เปลือก

ไม้มีกลิ่นที่สะเก็ด     ไม้มีกลิ่นที่รส     ไม้มีกลิ่นที่ดอก   ไม้มีกลิ่นที่ผล

ไม้มีกลิ่นที่ลำต้น    ปกคลุมไปด้วยเครื่องสมุนไพรมีประการต่าง   ๆ

มีแสงเรืองตั้งอยู่   ประหนึ่งถ่านคุไฟ   ในวันอุโบสถข้างแรม.    ภูเขา-

เกลาสกูฏ      สำเร็จด้วยแร่เงิน.      ภูเขาทั้งหมดมีสัณฐานสูงเท่ากับ

ภูเขาสุทัสสนะ    ตั้งปิดสระอโนดาดนั้นไว้.    ภูเขาทั้งหมดนั้นฝนตกราด

ด้วยอานุภาพของเทวดา   และของนาค.    และแม่น้ำทั้งหลายย่อมไหล

ไปที่ภูเขาเหล่านั้น    น้ำทั้งหมดนั้น     ก็ไหลเข้าไปสู่สระอโนดาด

แห่งเดียว.  พระจันทร์   และพระอาทิตย์   เมื่อโคจรผ่านทางทิศทักษิณ

หรือทิศอุดร    ก็โคจรผ่านไปตามระหว่างภูเขา   ส่องแสงไปในที่นั้น

แต่เมื่อโคจรไปตรง ๆ ก็ไม่ส่องแสง   เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ  สระนั้น

จึงเกิดบัญญัติชื่อว่า   สระอโนดาด    แปลว่า  พระอาทิตย์ส่องไปไม่ถึง.

ที่สระอโนดาดนั้น    มีท่าสำหรับอาบน้ำ     มีแผ่นศิลาเรียบน่ารื่นรมย์ใจ

ไม่มีปลาหรือเต่า    มีน้ำใสดังแก้วผลึก    เป็นของอันธรรมชาติตกแต่ง

ไว้ดีแล้ว    เป็นที่  ๆ  พระพุทธเจ้าทั้งหลาย   พระขีณาสพ    พระปัจเจก-

พุทธ   และฤๅษีผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายสรงสนาน    เทวดาและยักษ์เป็นต้น

ก็พากันเล่นน้ำ   ทั้ง   ๔  ด้านในสระนั้น   มีมุขอยู่   ๔  มุข  คือ  สีหมุข

หัสดีมุข    อัศวมุข   พฤษภมุข    อันเป็นทางที่แม่น้ำทั้ง    ๔  สายไหลไป.


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 410

ที่ฝั่งแม่น้ำด้านที่ไหลออกทางสีหมุข   มีราชสีห์อยู่มาก.    ที่ฝั่งแห่ง

แม่น้ำด้านที่ไหลออกทางหัสดีมุข   เป็นต้น   มีช้าง   ม้า  และโคอุสภะ

อยู่มาก.    แม่น้ำไหลออกจากทิศตะวันออก      ไหลเวียนขวาสระ-

อโนดาด   ๓  เลี้ยว    แล้วเลี่ยงแม่น้ำอีก    ๓  สาย   ไหลไปยังถิ่นที่

ไม่มีมนุษย์   ทางป่าหิมวันต์ด้านตะวันออก    และทางป่าหิมวันต์

ด้านเหนือ   แล้วไหลลงสู่มหาสมุทร.    แต่แม่น้ำที่ไหลออกทางทิศ-

ตะวันตก    และทิศเหนือ   ก็เวียนขวาเช่นนั้นเหมือนกัน   ไปยังถิ่น

ที่ไม่มีมนุษย์    ทางป่าหิมวันต์ด้านทิศตะวันตกและป่าหิมวันต์ด้านเหนือ

แล้วไหลลงสู่มหาสมุทร.

แต่แม่น้ำที่ไหลออกทางมุขด้านใต้    เวียนขวาสระอโนดาดนั้น

๓  เลี้ยวแล้วก็ไหลตรงไปทางทิศเหนือ   เป็นระยะทาง   ๖๐   โยชน์

ไปตามหลังแผ่นหินนั่นแหละ   ปะทะภูเขาโลดขึ้นเป็นสายน้ำ  โดย

รอบประมาณ  ๓  คาวุต   ไหลไปทางอากาศ   เป็นระยะ   ๖๐  โยชน์

แล้วตกลงที่แผ่นหินชื่อว่า   ติยัคคฬะ    แผ่นหินก็แตกไป   เพราะความ

แรงแห่งสายน้ำ.   ในที่นั้นเกิดเป็นสระใหญ่     ชื่อว่า     ติยัคคฬะ

ขนาด  ๕๐  โยชน์  กระแสน้ำพังทำลายฝั่งสระ   แล้วไหลเข้าแผ่นหิน

ไประยะ  ๖๐  โยชน์.   ต่อแต่นั้นก็เซาะแผ่นดินทึบเป็นอุโมงค์ไป

๖๐  โยชน์  แล้วปะทะติรัฐฉานบรรพต ชื่อว่า  วิชฌะ แล้วกลายเป็น

๕  สาย   ประดุจนิ้วมือ   ๕  นิ้ว   ที่ฝ่ามือฉะนั้น.    ในที่  ๆ  สายน้ำนั้น

เลี้ยวขวาสระอโนดาด    ๓    เลี้ยวแล้วไหลไป    เรียกว่า    อาวัตตคงคา.

ในที่ ๆ  ไหลตรงไป   ๖๐   โยชน์   ทางหลังแผ่นหิน  เรียกว่า   กัณหคงคา.

ในที่ไหลไปทางอากาศ    ๖๐   โยชน์    เรียกว่า     อากาสคงคา.     ในที่


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 411

ที่หยุดอยู่ในโอกาส  ๖๐  โยชน์  บนแผ่นหิน   ชื่อว่า   ติยัคคฬะ   เรียกว่า

ติยัคคฬโปกรณี.  ในที่ที่เซาะฝั่งเข้าไปสู่แผ่นหิน   ๖๐  โยชน์   เรียกว่า

พหลคงคา.  ในที่ที่ไหลไป  ๖๐ โยชน์  ทางอุโมงค์เรียกว่า  อุมมังคคงคา.

ก็ในที่ที่สายน้ำกระทบติรัจฉานบรรพต         ชื่อวิชฌะแล้วไหลไปเป็น

สายน้ำ  ๕  สาย   ก็ถือว่าเป็นแม่น้ำทั้ง   ๕   คือ   คงคา   ยมุนา    อจีรวดี

สรภู   สหี.   พึงทราบว่า   แม่น้ำใหญ่   ๕   สาย   เหล่านี้   ย่อมไหลมาแต่

ป่าหิมวันต์   ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า   สวนฺติโย    ได้แก่   แม่น้ำชนิดใดชนิดหนึ่ง     ไม่ว่าจะเป็น

แม่น้ำใหญ่หรือแม่น้ำน้อย     ซึ่งกำลังไหลไปอยู่.    บทว่า      อปฺเปนฺติ

แปลว่า  ไหลไปรวม  คือไหลลง.   บทว่า  ธารา   ได้แก่   สายน้ำฝน.

บทว่า   ปูรตฺต    แปลว่า    ภาวะที่น้ำเต็ม.     ความจริง  มหาสมุทรมี

ธรรมดานี้ :-   ใคร  ๆ  ไม่อาจกล่าวว่า    เวลานี้ฝนตกน้อย   พวกเรา

จะพากันเอาแหและลอบเป็นต้น  ไปจับปลาและเต่า  หรือว่า  เวลานี้

ฝนตกมาก    เราจักได้ (อาศัย) สถานที่หลังหิน.  ตั้งแต่ปฐมกัปมา

น้ำเพียงนิ้วมือหนึ่งจากน้ำที่ขังจรดคอดของขุนเขาสิเนรุ      จะไม่

ยุบลงข้างล่างไม่ดันขึ้นข้างบน.

บทว่า  เอกรโส   แปลว่า    มีรสไม่เจือปน.   บทว่า   มุตฺตา

ความว่า   แก้วมุกดามีหลายชนิดต่างโดยชนิดเล็ก  ใหญ่    กลม

และยาวเป็นต้น.  บทว่า  มณี  ความว่า  มณีหลายชนิดต่างโดยสี

มีสีแดงและสีเขียวเป็นต้น.  บทว่า เวฬุริโย  ความว่า แก้วไพฑูรย์

มีหลายชนิดต่างโดยสีมีสีดังสีไม้ไผ่และสีดอกซึกเป็นต้น.   บทว่า

สงฺโข   ความว่า   สังข์มีหลายชนิดต่างโดยสังข์ทักษิณวรรต  สังข์-


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 412

ท้องแดง   และสังข์สำหรับเป่าเป็นต้น.   บทว่า   สิลา   ความว่า  สิลา

มีหลายอย่างต่างโดยสีมีสีขาว   สีดำ   และสีดังเมล็ดถั่วเขียวเป็นต้น.

บทว่า   ปวาฬ    ความว่า    แก้วประพาฬมีหลายอย่างต่างโดยชนิดเล็ก

ใหญ่   แดง  และแดงทึบเป็นต้น.    บทว่า   มสารคลฺล  ได้แก่  แก้วลาย.

บทว่า  นาคา  ได้แก่   นาคที่อยู่บนหลังคลื่นก็มี    นาคที่อยู่วิมานก็มี.

บทว่า  อฏฺ    ปหาราท   ความว่า   พระศาสดาทรงสามารถตรัสธรรม

๘  ประการบ้าง  ๑๖  ประการบ้าง  ๓๒ ประการบ้าง ๖๔ ประการ

บ้าง  ๑๐๐  บ้าง   ๑,๐๐๐  บ้าง   แต่ทรงพระดำริว่า    ปหาราทะกล่าว

๘  ประการ  แม้เราก็จักกล่าวให้เห็นสมกับธรรม   ๘  ปหาราทะ

กล่าวนั้นนั่นแหละ   จึงได้ตรัสอย่างนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า     อนุปุพฺพสิกฺขา     เป็นต้นต่อไปนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า   ทรงถือเอาสิกขา   ๓   ด้วยอนฟุปุพพสิกขา

ทรงถือเอาธุดงค์  ๑๓  ด้วยอนุปุพพกิริยา.  ทรงถือเอาอนุปัสสนา  ๗

มหาวิปัสสนา   ๑๘   การจำแนกอารมณ์  ๓๘  โพธปักขิยธรรม  ๓๗

ด้วยปทา.    บทว่า    อายตเกเนว     อญฺปฏิเวโธ     ความว่า   ชื่อว่า

ภิกษุผู้ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในศีลเป็นต้น    ตั้งแต่ต้นแล้วบรรลุ

พระอรหัต  เหมือนอย่างกบกระโดดไปไม่มี  เพราะเหตุนั้น  จึงอธิบายว่า

ก็ภิกษุบำเพ็ญศีล  สมาธิ  และปัญญา  ตามลำดับเท่านั้น    จึงอาจบรรลุ

พระอรหัตได้.

บทว่า   อารกาว  แปลว่า    ในที่ไกลนั่นแล.  บทว่า   น  เตน

นิพฺพานธาตุยา  อูนตฺต   วา    ปูรตฺต   วา   ความว่า   เพื่อพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายไม่เสด็จอุบัติขึ้น   แม้ตลอดอสงไขยกัป   แม้สัตว์ตนหนึ่ง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 413

ก็ไม่อาจปรินิพพานได้  แม้ในกาลนั้นก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า   นิพพานธาตุ

ว่างเปล่า     แต่ในพุทธกาล     ในสมาคมหนึ่ง   ๆ     สัตว์ทั้งหลายยินดี

อมตธรรมนับไม่ถ้วน   แม้ในกาลนั้นก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า   นิพพานธาตุ

เต็ม

จบ  อรรถกถาปหาราทสูตรที่  ๙


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 414

๑๐.  อุโปสถสูตร

[๑๑๐]  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บุพพาราม

ปราสาทของมิคารมารดา   ใกล้กรุงสาวัตถี  ก็โดยสมัยนั้นพระผู้มี-

พระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์แวดล้อม  ประทับนั่งในวันอโบสถ   ครั้งนั้น

เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว  ปฐมยามผ่านไปแล้ว   ท่านพระอานนท์ลุกจาก

ที่นั่ง    กระทำผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง    ประณมอัญชลีไปทาง

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่     ได้กราบ     พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ        ราตรีล่วงไปแล้ว      ปฐมยามผ่านไปแล้ว

ภิกษุสงฆ์นั่งมานานแล้ว       ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระกรุณา

โปรดแสดงปาติโมกข์เถิด  เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิ่งอยู่.

แม้วาระที่   ๒   เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว   มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว

ท่านพระอานนท์ลุกจากที่นั่ง     กระทำผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง

ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า         ได้กราบทูลพระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     ราตรีล่วงไปแล้ว   มัชฌิมยาม

ผ่านไปแล้ว    ภิกษุสงฆ์นั่งมานานแล้ว    ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พระกรุณาโปรดแสดงปาติโมกข์เถิด     แม้วาระที่   ๒   พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ทรงนิ่งอยู่.

แม้วาระที่   ๓   เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว    ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว

แสงเงินแสงทองขึ้นแล้ว    ราตรีว่างแล้ว    ท่านพระอานนท์ลุกจาก

ที่นั่ง    กระทำผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง   ประณมอัญชลีไปทาง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 415

พระผู้มีพระภาคเจ้า   ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า   ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ  ราตรีล่วงไปแล้ว  ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว  แสงเงิน

แสงทองขึ้นแล้ว   ราตรีสว่างแล้ว   ภิกษุสงฆ์นั่งมานานแล้ว   ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระกรุณาโปรดแสดงปาติโมกข์เถิด

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนอานนท์   บริษัทไม่บริสุทธิ์.

ลำดับนั้น   ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความดำริดังนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่านี้ทรงหมายเอาบุคคลไหนหนอ   ลำดับ

นั้น  ท่านพระมหาโมคคัลลานะกำหนดใจด้วยใจ   กระทำจิตภิกษุสงฆ์

ทั้งหมดไว้ในใจแล้ว   ได้เห็นบุคคลทุศีล  มีบาปธรรม   มีสมาจาร

ไม่สะอาดน่ารังเกียจ   ปกปิดกรรมชั่ว   มิใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่า

เป็นสมณะ   มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์แต่ปฏิญญาว่าประพฤติ

พรหมจรรย์   เน่าในชุ่มด้วยราคะ   เป็นเพียงดังหยากเยื่อ   นั่งอยู่

ในท่านกลางภิกษุสงฆ์  ครั้นแล้วลุกจากอาสนะเข้าไปหาบุคคลนั้น

กล่าวกะบุคคลนั้นว่า  อาวุโส  จงลุกไป  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็น

เธอแล้ว     เธอไปมีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย     เมื่อท่านพระมหา-

โมคคัลลานะกล่าวอย่างนี้แล้ว   บุคคลนั้นนิ่งเฉยเสีย   แม้วาระที่  ๒

ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะบุคคลนั้นว่า  อาวุโส จงลุกไป

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นเธอแล้ว  เธอไม่มีสังวาสกับภิกษุ

ทั้งหลาย  แม้วาระที่  ๒   บุคคลนั้นก็นิ่งเสีย  แม้วาระที่  ๓   ท่านพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นเธอแล้ว      เธอไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย

แม้วาระที่  ๓  บุคคลนั้นก็นิ่งเสีย  ลำดับนั้น  ท่านพระมหาโมคคัลลานะ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 416

จับแขนบุคคลนั้นฉุดออกมาให้พ้นซุ้มประตูด้านนอกแล้ว  ใส่ดาน

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

บุคคลนั้นข้าพระองค์ฉุดออกไปแล้ว  บริษัทบริสุทธิ์แล้ว   ขอพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระกรุณาโปรดแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย

เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   น่าอัศจรรย์   โมคคัลลานะ

ไม่เคยมีมา   โมคคัลลานะ   โมฆบุรุษนั้นจักมาร่วม   จนต้องฉุดแขน

ออกไป   ลำดับนั้น    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   บัดนี้  เธอทั้งหลายพึงทำอุโบสถเถิด   พึง

แสดงปาติโมกข์เถิด   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ตั้งแต่กาลบัดนี้เป็นต้นไป

เราจักไม่แสดงปาติโมกข์   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   การที่พระตถาคต

จะพึงแสดงปาติโมกข์ในบริษัทที่ไม่บริสุทธิ์  นี้มิใช่ฐานะ  มิใช่โอกาส.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ในมหาสมุทรมีธรรมที่น่าอัศจรรย์อัน

ไม่เคยมีมา  ๘  ประการ   ที่พวกอสูรเห็นแล้ว   ๆ    ย่อมอภิรมย์

ธรรม  ๘   ประการเป็นไฉน   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   มหาสมุทรลาด

ลุ่ม  ลึกลงไปโดยลำดับ   หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่    ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย  ข้อที่มหาสมุทรลาด  ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชัน

เหมือนเหวไม่   นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่   ๑

ในมหาสมุทร  ที่พวกอสูรเห็นแล้ว  ๆ   จึงอภิรมย์อยู่   ฯลฯ   อีกประการ

หนึ่ง   มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่    ๆ    สิ่งมีชีวิต

ในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้   คือ    ปลาติมิ   ปลาติมิงคลา     ปลาติมิรมิงคลา

พวกอสูร   นาค   คนธรรพ์   แม้ที่มีร่างกายประมาณ   ๑๐๐    โยชน์


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 417

๒๐๐  โยชน์  ๓๐๐  โยชน์  ๔๐๐  โยชน์  ๕๐๐ โยชน์  ก็มีอยู่  ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย    ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่ ๆ

สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้   คือ   ปลาติมิ    ปลาติมิงคลา   ปลา-

ติมิรมิงคลา   พวกอสูร   นาค   คนธรรพ์   แม้ที่มีร่างกายประมาณ

๑๐๐  โยชน์   ๒๐๐  โยชน์   ๓๐๐  โยชน์   ๔๐๐  โยชน์   ๕๐๐  โยชน์

ก็มีอยู่    นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่    ๘    ใน

มหาสมุทรที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ   จึงอภิรมย์อยู่   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ในมหาสมุทรมีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา    ๘    ประการนี้แล

ที่พวกอสูรเห็นแล้ว  ๆ  จึงอภิรมย์อยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ในธรรมวินัยนี้    มีธรรมที่น่าอัศจรรย์

อันไม่เคยมีมา  ๘  ประการ  ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว  ๆ  ย่อมอภิรมย์

ธรรม   ๘   ประการเป็นไฉน    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   มหาสมุทรลาด

ลุ่ม   ลึกลงไปโดยลำดับ   หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่   ฉันใด   ใน

ธรรมวินัยนี้   ก็ฉันนั้นเหมือนกัน   มีการศึกษาไปตามลำดับ   มีการ

กระทำไปตามลำดับ     มีการปฏิบัติไปตามล่าดับ    มิใช่ว่าจะมีการ

บรรลุอรหัตผลโดยตรง     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ข้อที่ในธรรมวินัยนี้

มีการศึกษาไปตามลำดับ   มีการกระทำไปตามลำดับ   มีการปฏิบัติ

ไปตามลำดับ    มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง    นี้เป็นธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่    ๑    ในธรรมวินัยนี้   ที่ภิกษุ

ทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ     จึงอภิรมย์อยู่      ฯลฯ   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่ ๆ     สิ่งมีชีวิตใน

มหาสมุทรนั้นมีดังนี้   คือ   ปลาติมิ   ปลาติมิงคลา   ปลาติมิรมิงคลา


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 418

พวกอสูร   นาค   คนธรรพ์    แม้ที่มีร่างกายประมาณ   ๑๐๐  โยชน์

๒๐๐ โยชน์  ๓๐๐  โยชน์  ๔๐๐ โยชน์  ๕๐๐ โยชน์  ก็มีอยู่  ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ฉันนั้นเหมือนกัน  ธรรมวินัยนี้   ก็เป็นที่พำนัก

อาศัยแห่งสิ่งที่มีชีวิตใหญ่      สิ่งมีชีวิตในธรรมวินัยนี้มีดังนี้    คือ

พระโสดาบัน    ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

พระสกทาคามี    ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล

พระอนาคามี    ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล  พระ

อรหันต์  ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย.

ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งที่มีชีวิตใหญ่  ๆ  สิ่งมีชีวิต

ในธรรมวินัยนี้  มีดังนี้  คือ  พระโสดาบัน  ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำ

ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล     พระสกทาคามี   ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำ

ให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล    พระอนาคามี      ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำ

ให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล     พระอรหันต์     ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็น

พระอรหันต์    นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่  ๑

ในธรรมวินัยนี้    ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ    จึงอภิรมย์อยู่    ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย    ในธรรมวินัยนี้มีสิ่งที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา

๘ ประการนี้แล   ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ  จึงอภิรมย์อยู่.

จบ  อุโปสถสูตรที่  ๑๐


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 419

อรรถกถาอุโปสถสูตรที่  ๑๐

อุโปสถสูตรที่  ๑๐   มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า   นิสินฺโน  โหติ   ความว่า    พระศาสดาประทับนั่งบน

รัตนปราสาทของอุบาสิกา    เพื่อกระทำอุโบสถ.   ก็พระศาสดา

ครั้นประทับนั่งแล้วทรงตรวจดูจิตของภิกษุทั้งหลาย   ทรงเห็นบุคคล

ทุศีลคนหนึ่ง   ทรงพระดำริว่า    ถ้าเราจัดแสดงปาติโมกข์ทั้งที่บุคคลนี้

นั่งอยู่นั่นแหละ  ศีรษะของเขาจักแตก   ๗  เสียง   ดังนี้แล้ว   จึงได้

ดุษณีภาพ    เพื่ออนุเคราะห์เขา.    บทว่า   อภิกฺกนฺตา   แปลว่า   ล่วงไป

แล้ว  สิ้นไปแล้ว.   บทว่า  อุทฺธเสฺต   อรุเณ   ได้แก่   เมื่อเริ่มอรุณขึ้น.

บทว่า   นนฺทิมุขิยา    ได้แก่   ราตีจวนสว่างแล้ว.   บทว่า   อปริสุทฺธา

อานนฺท   ปริสา   ความว่า   พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า   บุคคลโน้น

ไม่บริสุทธิ์   แต่ตรัสว่า   บริษัทไม่บริสุทธิ์.   คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง

ง่ายทั้งสิ้นแล.

จบ  อรรถกถาอุโปสถสูตรที่  ๑๐

 

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้  คือ

๑.  เวรัญชสูตร  ๒.  สีหสูตร  ๓.  อาชัญญสูตร  ๔.  ขฬุงคสูตร

๕.  มลสูตร   ๖.  ทูตสูตร   ๗.  พันธนสูตรที่  ๑   ๘.  พันธนสูตรที่   ๒

๙.  ปหาราทสูตร   ๑๐.  อุโปสถสูตร.  และอรรถกถา

จบ  มหาวรรคที่  ๒


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 420

คหปติวรรคที่  ๓

๑.  ปฐมอุคคสูตร

[๑๑๑]  สมัยหนึ่ง   พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ  กูฏาคาร-

ศาลา   ป่ามหาวัน  ใกล้กรุงเวสาลี   ณ   ที่นั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุทั้งหลาย

ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย   เธอทั้งหลายจงทรงจำอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีว่า

เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา     ๘     ประการ

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต     ครั้นได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว     เสด็จ

ลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร.

ครั้งนั้น   เวลาเช้า   ภิกษุรูปหนึ่ง   นุ่งแล้ว   ถือบาตรและจีวร

เข้าไปสู่นิเวศน์ของอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี     ครั้นแล้วจึงนั่ง

บนอาสนะที่เขาปูไว้     ลำดับนั้น     อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีได้

เข้าไปหาภิกษุนั้น   ไหว้แล้วนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง   ครั้นแล้ว

ภิกษุนั้นได้กล่าวกะอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีว่า     ดูก่อนคฤหบดี

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่านว่า     เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม

ที่น่าอัศจรรย์   อันไม่เคยมีมา   ๘  ประการ   ดูก่อนคฤหบดี  ธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา   ๘  ประการเป็นไฉน.

อุคคคฤหบดีกล่าวว่า   ข้าแต่ท่านผู้เจริญ     กระผมก็ไม่ทราบ

เลยว่า   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์กระผม   ว่าเป็นผู้ประกอบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 421

ด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา   ๘  ประการเป็นไฉน   แต่ขอ

ท่านได้โปรดฟังธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา    ๘    ประการ

ของกระผมที่มีอยู่    จงใส่ใจให้ดี      กระผมจักเรียนถวาย    ภิกษุนั้น

รับคำอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีแล้ว   อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี

ได้กล่าวว่า    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ    ในคราวที่กระผมได้เห็นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าแต่ไกลเป็นครั้งแรก    พร้อมกับการเห็นนั้นเอง    จิตของ

กระผมเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า     นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์

อันไม่เคยมีมาประการที่  ๑ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ     กระผมมีจิตเลื่อมใสแล้ว   ได้เข้าไปนั่งใกล้

พระผู้มีพระภาคเจ้า     พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา

โปรดกระผม    คือ    ทรงประกาศทานกถา    สีลกถา      สัคคกถา

โทษของกามอันต่ำทรามเศร้าหมอง     และอานิสงส์ในเนกขัมมะ

ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบกระผมว่า  มีจิตควร  อ่อน

ปราศจากนิวรณ์   บันเทิง   ผ่องใสแล้ว   จึงทรงประกาศสามุกังสิกา-

ธรรมเทศนาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย    คือ   ทุกข์    สมุทัย.  นิโรธ

มรรค   เปรียบเหมือนผ้าที่บริสุทธิ์  ไม่หมองดำ  จะพึงรับน้ำย้อมได้ดี

แม้ฉันใด   ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี   ปราศจากมลทิน   เกิดขึ้นแล้ว

แก่กระผม  ณ  ที่นั่งนั้นแลว่า   สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา   ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ   กระผมได้เห็นธรรมแล้ว   บรรลุธรรมแล้ว   รู้แจ้ง

ธรรมแล้ว     หยั่งซึ้งถึงธรรมแล้ว     ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว

ปราศจากความเคลือบแคลงแล้ว    ถึงความแกล้วกล้าแล้ว   ไม่ต้อง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 422

เชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา    ได้ถึงพระพุทธเจ้า    พระธรรม

และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะแล้ว   และสมาทานสิกขาบทอันมีพรหมจรรย์

เป็นที่   ๕   แล้ว  ณ  ที่นั่งนั้น    นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคย

มีมาข้อที่  ๒ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าสู่ท่านผู้เจริญ  กระผมมีปชาบดีรุ่นสาวอยู่   ๔  คน  กระผม

ได้เข้าไปหาปชาบดีเหล่านั้นแล้ว    ได้กล่าวกะเธอเหล่านั้นว่า   ดูก่อน

น้องหญิงทั้งหลาย    ฉันสมาทานสิกขาบทอันพรหมจรรย์เป็นที่    ๕

ผู้ใดปรารถนา   นั้นจงใช้โภคะเหล่านี้และทำบุญได้  หรือจะกลับไป

สู่ตระกูลญาติของตัวก็ได้    หรือประสงค์ชายอื่น  ฉันก็จะมอบให้แก่เขา

เมื่อกระผมกล่าวอย่างนี้แล้ว     ปชาบดีคนแรกได้พูดกะกระผมว่า

ขอท่านได้กรุณามอบดิฉันให้แก่ชายชื่อนี้เจ้าค่ะ     กระผมก็ให้เชิญ

ชายผู้นั้นมา    เอามือซ้ายจับปชาบดี     มือขวาจับเต้าน้ำ    หลั่งน้ำ

มอบให้ชายคนนั้น  ก็เมื่อบริจาคปชาบดีสาวเป็นทาน  กระผมไม่รูสึก

ว่าจิตแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเลย     นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์

อันไม่เคยมีมาข้อที่   ๓  ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ    ในตระกูลของกระผมมีโภคทรัพย์อยู่มาก

และ  ทรัพย์เหล่านั้นกระผมแจกจ่ายทั่วไปถึงผู้มีศีล   มีกัลยาณธรรม

นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่  ๔ ของกระผมที่มีอยู่

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ    กระผมเข้าไปหาภิกษุรูปใด    กระผมก็

เข้าไปหาด้วยความเคารพทีเดียว    ไม่ใช่เข้าไปหาด้วยความไม่เคารพ

นี้แลเป็นที่น่าอัศจรรย์ฉันไม่เคยมีมาข้อที่  ๕  ของกระผมที่มีอยู่.


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 423

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ    หากท่านผู้มีอายุนั้นแสดงธรรมแก่กระผม

กระผมก็ฟังโดยความเคารพแท้  ๆ   ไม่ใช่ฟังโดยความไม่เคารพ

หากท่านผู้มีอายุนั้นไม่แสดงธรรมแก่กระผม   กระผมก็แสดงธรรม

แก่ท่านนั้น   นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๖ ของ

กระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ    ไม่น่าอัศจรรย์ที่เทวดาฟังหลายเข้าไป

หากระผม   แล้วบอกว่า   ดูก่อนคฤหบดี    ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสดีแล้ว     เมื่อเทวดาทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว     กระผมจึงพูดกะ

เทวดาเหล่านั้นอย่างนี้ว่า    ท่านทั้งหลายพึงบอกอย่างนี้หรือไม่พึงบอก

อย่างนี้ก็ตาม      แท้ที่จริง    ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว

แต่กระผมก็ไม่รู้สึกเลยว่า    ความฟูใจจะมีมาแต่เหตุนั้น    ข้อที่เทวดา

ทั้งหลายมาหากระผม     หรือกระผมได้ปราศรัยกับเทวดาทั้งหลาย

นี้  เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๗ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ     กระผมไม่พิจารณาเห็นสังโยชน์ไร ๆ

ในโอรัมภาคิยพังโยชน์  ๕ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วนั้นว่า

ยังละไม่ได้ในตน   นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่   ๘

ของกระผมที่มีอยู่    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ      ธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคย

มีมา  ๘  ประการ  ของกระผมที่ที่มีอยู่นี้แล    กระผมก็ไม่รู้ว่า   พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงพยากรณ์กระผมว่า    เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า

อัศจรรย์อันไม่เคยมีมา   ๘  ประการเป็นไฉน.

ลำดับนั้น   ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของอุคคคฤหบดี

ชาวเมืองเวสาลีแล้ว    ลุกจากที่นั่งหลีกไป    ภายหลังภัต      กลับจาก


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 424

บิณฑบาตแล้ว    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ    ถวาย

บังคมแล้ว    นั่ง    ณ    ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง    ครั้นแล้วได้กราบทูล

คำสนทนาปราศรัยกับอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีทั้งหมดแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า  ดูก่อนภิกษุ  ถูกแล้ว ๆ อุคคคฤหบดี

ชาวเมืองเวสาลี    เมื่อจะพยากรณ์    พึงพยากรณ์ตามนั้นโดยชอบ

ดูก่อนภิกษุ    เราพยากรณ์อุคคคฤหบดีว่า   เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา    ๘    ประการนี้      และเธอทั้งหลายจง

ทรงจำอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีว่า     เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา   ๘   ประการนี้.

จบ   ปฐมอุคคสูตรที่  ๑

 

คหหดีวรรคที่ ๓

อรรถกถาปฐมอุคคสูตรที่ ๑

วรรคที่  ๓  ปฐมอุคคสูตรที่  ๑  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า   ปญฺตฺเต   เอสเน   นีสีทิ   ความว่า  ได้ยินว่า  ในเรือน

ของอุคคะคฤหบดีนั้น  เขาตกแต่งอาสนะ   ๕๐๐  ที่  ไว้สำหรับภิกษุ

๕๐๐ รูป  เป็นประจำทีเดียว  ภิกษุนั่งเหนืออาสนะเหล่านั้น  อาสนะหนึ่ง

บทว่า    เต   สุณาหิ    ความว่า   ท่านจงฟังธรรมเหล่านั้น   หรือว่า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 425

จงฟังธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา    ๘    ประการนั้น.    บทว่า

จิตฺต   ปสีทติ    ความว่า    แม้เพียงความตรึกว่าท่านเป็นพระพุทธเจ้า

หรือไม่หนอ  ดังนี้   ก็ไม่เกิดขึ้น   จิตตุปบาทว่าผู้นี้แหละเป็นพระพุทธเจ้า

เป็นอาการผ่องใส  ไม่ขุ่นมัว.  บทว่า   สกานิ  วา  ญาติกุลานิ   ความว่า

จงถือเอาทรัพย์พอยังอัตภาพ    ให้เป็นไปสำหรับตนแล้วไปเรือน

ของพวกญาติ.    บทว่า   กสฺส   โว  ทมฺมิ    ความว่า  เราจะยกท่าน

ทั้งหลายให้แก่บุรุษคนไหน  พวกท่านจงบอกความประสงค์ของตน  ๆ

แก่เรา.

บทว่า    อปฺปฏิวิภตฺตา   ความว่า    ก็ขึ้นชื่อว่าคนผู้เกิดจิตคิดว่า

เราจักให้เท่านี้    จักไม่ให้เท่านี้   จักให้สิ่งนี้    จักไม่ให้สิ่งนี้    ดังนี้

แล้วแจกจ่ายไป  ย่อมมี  แต่สำหรับข้าพเจ้าย่อมไม่เป็นอย่างนั้น.

โดยที่แม้แล   โภคทรัพย์เหล่านั้น    เป็นของสาธารณะกับผู้มีศีลทั้งหลาย

ดุจของสงฆ์และดุจของหมู่คณะ.   บทว่า  สกฺกจฺจเยว     ปยิรุปาสามิ

ความว่า       ข้าพเจ้าอุปฐากด้วยมือของตนคือเข้าไปหาด้วยอาการ

ยำเกรง.  ด้วยคำว่า   อนจฺฉริย   โข  ปน  ม    ภนฺเต    นี้  คฤหบดีกล่าว่า

ท่านผู้เจริญ    ข้อที่เทวดาเข้าไปหาข้าพเจ้าแล้วบอกอย่างนั้น   นั่น

ไม่น่าอัศจรรย์     แต่ข้อที่ข้าพเจ้าไม่รู้สึกภูมิใจ   อันมีการที่เทวดา

เข้าไปบอกเรื่องนั้นเป็นเหตุ  นั้นน่าอัศจรรย์. ในคำว่า   สาธุ   สาธุ  ภิกฺขุ

นี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุก็จริง  แต่ถึงกระนั้น  พึงทราบว่า

นี้เป็นการประทานสาธุการในความร่าเริงอันเกิดจากความขวนขวาย

ของอุบาสกเท่านั้น

จบ  อรรถกถาปฐมอุคคสูตรที่  ๑


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 426

๒.  ทุติยอุคคสูตร

[๑๑๒]  สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ บ้าน-

หัตถีคาม  ในแคว้นวัชชี  ณ  ที่นั้นแล   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

ภิกษุทั้งหลายว่า     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   เธอทั้งหลายจงทรงจำ

อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคาม     ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า

อัศจรรย์อันไม่เคยมีมา   ๘  ประกรร   พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต

ครั้นได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว   เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร.

ครั้งนั้น   เวลาเช้า   ภิกษุรูปหนึ่ง   นุ่งแล้ว   ถือบาตรและจีวร

เข้าไปยังนิเวศน์ของอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคาม    ครั้นแล้วจึงนั่ง

บนอาสนะที่เขาปูไว้    ลำดับนั้น   อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคาม

เข้าไปหาภิกษุนั้น   ไหว้แล้วนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง   ครั้นแล้ว

ภิกษุนั้นได้กล่าวกะอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามว่า    ดูก่อนคฤหบดี

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่านว่า     เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา    ๘   ประการ   ดูก่อนคฤหบดี    ธรรมที่

น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา  ๘  ประการเป็นไฉน.

อุคคคฤหบดีกล่าวว่า    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ       กระผมไม่ทราบ

เลยว่า   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์กระผมว่า   เป็นผู้ประกอบ

ด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา   ๘   ประการเป็นไฉน

แต่ขอท่านได้โปรดฟังธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา   ๘  ประการ

นี้ที่มีอยู่    จงใส่ใจให้ดี    กระผมจักเรียนถวาย    ภิกษุนั้นรับคำ

อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามแล้ว.


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 427

อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถคามได้กล่าวว่า    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ในคราวที่กระผมเที่ยวอยู่ในสวนนาควัน    ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

แต่ไกลเป็นครั้งแรก    พร้อมกับการเห็นนั้นเอง    จิตของกระผมก็

เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า   เมาสุราอยู่ก็หายเมา   นี้แลเป็นธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่  ๑  ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ    กระผมมีจิตเลื่อมใสแล้ว   ได้เข้าไปนั่งใกล้

พระผู้มีพระภาคเจ้า     พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถา

โปรดกระผม  คือ  ทรงประกาศทานกถา   สีลกถา  สัคคกถา  โทษ

ของกามอันต่ำทรามเศร้าหมอง   และอานิสงส์ในเนกขัมมะ   ในคราว

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบว่า     กระผมมีจิตควร     อ่อน

ปราศจากนิวรณ์   บันเทิง   ผ่องใสแล้ว   จึงทรงประกาศสามุกังสิกา

ธรรมเทศนาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย    คือ   ทุกข์   สมุทัย    นิโรธ

มรรค    เปรียบเหมือนผ้าที่บริสุทธิ์      ไม่หมองดำ  จะพึงรับน้ำย้อม

ได้ดี    แม้ฉันใด   ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี   ปราศจากมลทิน  เกิดขึ้น

แล้วแก่กระผม  ณ  ที่นั่งนั้นแลว่า  สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น

ธรรมดา    สิ่งนั้นมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา     ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ   กระผมได้เห็นธรรมแล้ว  บรรลุธรรม

แล้ว    รู้ธรรมแจ้งแล้ว     หยั่งซึ้งถึงธรรมแล้ว    ข้ามพ้นความสงสัย

ได้แล้ว     ปราศจากความเคลือบแคลงแล้ว     ถึงความแกลั้วกล้าแล้ว

ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น  ในสัตถุศาสน์   ได้ถึงพระพุทธเจ้า   พระธรรม  และ

พระสงฆ์ว่า  เป็นสรณะ  สมาทานสิกขาบท  อันมีพรหมจรรย์เป็นที่  ๕


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 428

แล้ว  ณ  ที่นั่งนั้นนั่นแล   นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา

ข้อที่  ๒ ของกระผมมีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ    กระผมได้มีปชาบดีรุ่นสาวอยู่     ๔    คน

ได้เข้าไปหาปชาบดีเหล่านั้น     แล้วได้กล่าวกะเธอเหล่านั้นว่า    ดูก่อน

น้องหญิงทั้งหลาย    ฉันสมาทานสิกขาบทอันมีพรหมจรรย์เป็นที่   ๕

ผู้ใดปรารถนา    ผู้นั้นจงใช้โภคะเหล่านี้และทำบุญได้    หรือจะไปสู่

ตระกูลญาติของตัวก็ได้  หรือประสงค์ชายอื่น   ฉันก็จะมอบให้แก่เขา

เมื่อกระผมกล่าวอย่างนี้แล้ว     ปชาบดีคนแรกได้พูดกะกระผมว่า

ขอท่านได้กรุณามอบดิฉันให้แก่ชายชื่อนี้เจ้าค่ะ    กระผมได้เชิญชาย

ผู้นั้นมาเอามือซ้ายจับปชาบดี   มือขวาจับเต้าน้ำ   หลั่งน้ำมอบให้ชาย

คนนั้น    ก็เมื่อบริจาคปชาบดีสาวเป็นทาน    กระผมไม่รู้สึกว่าจิต

แปรปรวนเป็นอย่างอื่นเลย      นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เฉย

มีมาข้อที่  ๔ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ     ในตระกูลของกระผมมีโภคทรัพย์อยู่มาก

และโภคทรัพย์เหล่านั้นกระผมได้แจกจ่ายทั่วไปกับผู้มีศีล    มี

กัลยาณธรรม   นี้แล    เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่  ๔

ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ    กระผู้เข้าไปหาภิกษุรูปใด    กระผมก็

เข้าไปด้วยความเคารพทีเดียว     ไม่ใช่เข้าไปหาด้วยความไม่เคารพ

หากท่านผู้มีอายุนั้นแสดงธรรมแก่กระผม     กระผมก็ฟังโดยเคารพ

แท้  ๆ   ไม่ใช่ฟังโดยไม่เคารพ     หากท่านผู้มีอายุนั้นไม่แสดงธรรม


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 429

แก่กระผม     กระผมก็แสดงธรรมแก่ท่านผู้มีอายุนั้น     นี้แลเป็นธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่  ๕ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ     ไม่น่าอัศจรรย์ที่เมื่อกระผมนิมนต์สงฆ์

แล้วเทวดาทั้งหลายเข้ามาบอกว่า     ดูก่อนคฤหบดี     ภิกษุรูปโน้น

เป็นอุภโตภาควิมุติ     รูปโน้นเป็นปัญญาวิมุติ     รูปโน้นเป็นกายสักขี

รูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ  รูปโน้นเป็นสัทธาวิมุติ   รูปโน้นเป็นสัมมานุสารี

รูปโน้นเป็นสัทธานุสารี  รูปโน้นเป็นผู้มีศีล  มีกัลยาณธรรม  รูปโน้น

เป็นผู้ทุศีล    มีบาปธรรม    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ    กระผมอังคาสสงฆ์

อยู่ก็ไม่รู้สึกว่า    ยังจิตให้เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า    จะถวายแก่ท่านรูปนี้น้อย

หรือจะถวายแก่ท่านรูปนี้มาก    แท้ที่จริง   กระผมมีจิตเสมอกัน   นี้แล

เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่   ๖  ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ    ไม่น่าอัศจรรย์ที่เทวดาทั้งหลายเข้ามาหา

กระผมแล้วบอกว่า     ดูก่อนคฤหบดี     ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสดีแล้ว     เมื่อเทวดาทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว     กระผมจึงพูดกะ

เทวดาเหล่านั้นอย่างนี้ว่า     ท่านจะพึงบอกอย่างนี้หรือไม่พึงบอก

อย่างนี้ก็ตาม     แท้ที่จริง     ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว

แก่กระผมก็ไม่รู้สึกเลยว่า     ความฟูใจจะมีมาแต่เหตุนั้น     เทวดา

ทั้งหลายเข้ามาหากระผมหรือกระผมได้ปราศรัยกับเทวดาทั้งหลาย

นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่   ๗    ของกระผม

ที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ      ก็หากว่ากระผมจะพึงทำกาละก่อน

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่น่าอัศจรรย์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 430

ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า      สังโยชน์อันเป็นเครื่องประกอบให้อุคค-

คฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามพึงกลับมาสู่โลกนี้อีกไม่มี     นี้แลเป็นธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่  ๘  ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ      ธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา     ๘

ประการนี้แล     ของกระผมที่มีอยู่    แต่กระผมก็ไม่รู้ว่า     พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงพยากรณ์กระผมว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า

อัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการเป็นไฉน.

ลำดับนั้น    ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของอุคคคฤหบดี

ชาวบ้านหัตถีคามแล้ว     ลุกจากที่นั่งแล้วหลีกไป     ภายหลังภัต

กลับจากบิณฑบาตแล้ว    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้วนั่ง  ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง   ครั้นแล้ว   ได้กราบทูล

คำสนทนาปราศรัยกับอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามนั้นทั้งหมด

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า    ดูก่อนภิกษุ    ถูกแล้ว      อุคค-

คฤหบดีชาวบ้านหัตถีคาม    เมื่อจะพยากรณ์    พึงพยากรณ์ตามนั้น

โดยชอบ   ดูก่อนภิกษุ    เราพยากรณ์อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามว่า

เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา      ๘      ประการ

นี้แล    และเธอทั้งหลายจงทรงจำอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามว่า

เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้.

จบ  ทุติยอุคคสูตรที่  ๒


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 431

อรรถกถาทุติยอุคคสูตรที่  ๒

ทุติยุคคสูตร  ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า  นาควเน  ความว่า  ได้ยินว่า  เศรษฐีนั้นได้มีสวนชื่อว่า

นาควัน.    เศรษฐีนั้นให้คนถือเอาของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น

ในเวลาก่อนอาหาร    ประสงค์จะเล่นกีฬาในวันนั้น    อันบริวาร

แวดล้อมไป    ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า    เขาเกิดจิตเลื่อมใสโดยนัย

ก่อนนั่นแหละ     พร้อมกับการเห็นความเมาที่เกิดขึ้นเพราะการดื่ม

สุรา    ก็สร่างหายไปในขณะนั้นนั่นเอง.    อุคคเศรษฐีกล่าวอย่างนั้น

หมายเอาข้อนั้น  บทว่า  โอโฏเชสึ   ความว่า  หลั่งน้ำที่พระหัตถ์ถวาย.

บทว่า   อสุโก    แก้เป็น   อมุโก.   บทว่า   สมจิตฺโตว  เทมิ   ความว่า

ไม่กระทำความคิดต่าง ๆ  อย่างนี้ว่า    ให้แก่คนนี้น้อย   ให้แก่คนนี้มาก.

ด้วยคำนี้  อุคคเศรษฐีแสดงว่า    เราจะไม่ทำคุณของภิกษุเหล่านั้น

ให้เป็นเช่นเดียวกัน    แต่เราจะกระทำไทยธรรม   ให้เป็นเช่นเดียวกัน.

บทว่า      อาโรเจนฺติ    ความว่า    เทวดาทั้งหลายยืนบอกอยู่ในอากาศ.

อุบาสกได้พยากรณ์อานาคามิผลของตนด้วยคำนี้ว่า   นตฺถิ  ต  สโยชน

สังโยชน์นั้นไม่มี   ดังนี้แล.

จบ  อรรถกถาทุติอุคคสูตรที่  ๒


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 432

๓.  ปฐมหัตถกสูตร

[๑๑๓]  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ  อัคคาฬว-

เจดีย์   ใกล้เมืองอาฬวี  ณ  ที่นั้นแล  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

ภิกษุทั้งหลายว่า     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุทั้งหลายทูลรับพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี  ว่าเป็นผู้ประกอบ

ด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา   ๗   ประการ   ๗   ประการ

เป็นไฉน    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี   เป็น

ผู้มีศรัทธา    ๑    มีศีล    ๑    มีหิริ   ๑    มีโอตตัปปะ  ๑  เป็นพหูสูต  ๑

มีจาคะ   ๑  มีปัญญา   ๑   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   เธอทั้งหลายจงทรงจำ

หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี     ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า

อัศจรรย์อันไม่เคยมีมา  ๗  ประการนี้แล  พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต

ครั้นได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว    เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร

ครั้งนั้น   เวลาเช้า   ภิกษุรูปหนึ่ง   นุ่งแล้ว    ถือบาตรและจีวร

เข้าไปยังนิเวศน์ของหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี     ชั้นแล้ว   จึงนั่ง

บนอาสนะที่ปูไว้   ลำดับนั้น   หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี   เข้าไป

หาภิกษุนั้น  ไหว้แล้วนั่ง   ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง   ครั้นแล้ว   ภิกษุ

นั้นได้กล่าวกะหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่า      ดูก่อนอาวุโส

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่าน     ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๗  ประการ  ๗ ประการเป็นไฉน  ก่อน

ภิกษุทั้งหลาย    หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี    เป็นผู้มีศรัทธา   ๑


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 433

มีศีล ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ เป็นพหูสูต ๑ มีจาคะ ๑ มีปัญญา ๑

ดูก่อนอาวุโส    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่าน    ว่าเป็นผู้

ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา    ๗    ประการนี้แล

หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีถามว่า  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  คฤหัสถ์ไร ๆ

ผู้นุ่งผ้าขาว    ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์

นี้หรือ.

ภิ.  ดูก่อนอาวุโส ไม่มี.

ห.  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ   ดีแล้ว   ที่คฤหัสถ์ไร  ๆ   ผู้นุ่งผ้าขาว

ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์นี้.

ลำดับนั้น    ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของหัตถกอุบาสก

ชาวเมืองอาฬวีแล้ว  ลุกจากที่นั่งแล้ว  หลีกไป  ภายหลงภัต   กลับจาก

บิณฑบาตแล้ว    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ    ถวาย

บังคมแล้วนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง   ครั้นแล้ว   ได้กราบทูลพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า  ข้าแต่พระองค์เจริญ     ขอประทานพระวโรกาส

ในเวลาเช้า   ข้าพระองค์นุ่งแล้ว   ถือบาตรและจีวร   เข้าไปยังนิเวศน์

ของหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี  นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้   ลำดับนั้น

หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี     เข้ามาหาข้าพระองค์ไหว้แล้วนั่ง   ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง   ครั้นแล้ว    ข้าพระองค์ได้กล่าวกะหัตถกอุบาสก

ชาวเมืองอาฬวีว่า     ดูก่อนอาวุโส    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์

ท่าน    ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา    ๗

ประการ  ๗  ประการเป็นไฉน   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  หัตถกอุบาสก

ชาวเมืองอาฬวีเป็นผู้มีศรัทธา  ๑   มีศีล  ๑   มีหิริ  ๑   มีโอตตัปปะ ๑


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 434

เป็นพหูสูต ๑ มีจาคะ ๑ มีปัญญา ๑ ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพยากรณ์ท่าน     ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อัน

ไม่เคยมีมา   ๗   ประการนี้   เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว

หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี  ได้ถามข้าพระองค์ว่า  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

คฤหัสถ์ไร  ๆ   ผู้นุ่งผ้าขาวไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพยากรณ์นั้นหรือ    ข้าพระองค์ตอบว่า  ดูก่อนอาวุโส   ไม่มี

เขาตอบว่า  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ดีแล้วที่คฤหัสถ์ไร ๆ  ผู้นุ่งผ้าขาว

ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์นี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า  ดูก่อนภิกษุ  ถูกแล้ว ๆ กุลบุตร

นั้นมีความปรารถนาน้อย   ไม่ปรารถนาให้คนอื่นรู้กุศลธรรมที่

มีอยู่ในตน   ดูก่อนภิกษุ   ถ้าอย่างนั้น   เธอจงทรงจำหัตถกอุบาสก

ชาวเมืองอาฬวีไว้   ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อัน

ไม่เคยมีมานี้   คือ   ความเป็นไม่ปรารถนาให้คนอื่นรู้กุศลธรรม

ที่มีอยู่ในตน.

จบ  ปฐมหัตถกสูตรที่  ๓


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 435

อรรถกถาปฐมหัตถกสูตรที่  ๓

ปฐมหัตถกสูตรที่  ๓   มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า   หตฺถโก  อาฬวโก  ความว่า   พระราชกุมารผู้ได้

พระนามว่า   หัตถกะ   เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับจากมือ

ของอาฬวกยักษ์ด้วยพระหัตถ์.   บทว่า   สีลวา   ได้แก่   ผู้มีศีล

ด้วยศีล ๕ และศีล  ๑๐. บทว่า  จาควา  แปลว่า  ถึงพร้อมด้วยการ

บริจาค. บทว่า กจฺจิตฺถ ภนฺเต ความว่า ในที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพยากรณ์นี้แล   หรือขอรับ.   บทว่า   อปฺปิจฺโฉ ได้แก่  ผู้ชื่อว่า

มักน้อย  เพราะเป็นผู้มักน้อยในอธิคม.

จบ  อรรถกถาหัตถกสูตรที่  ๓


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 436

๔.  ทุติยหัตถกสูตร

[๑๑๔]   สมัยหนึ่ง   พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่   ณ   อัค-

คาฬวเจดีย์  ใกล้เมืองอาฬวี  ครั้งนั้นแล หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี

มีอุบาสกประมาณ  ๕๐๐  คนแวดล้อม   เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ   ถวายบังคมแล้วนั่ง   ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง   ครั้นแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่า

ดูก่อนหัตถกะ    บริษัทของท่านนี้ใหญ่    ก็ท่านสงเคราะห์บริษัทใหญ่

นี้อย่างไร

หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีกราบทูลว่า    ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ   พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงสังคหวัตถุ  ๔ ประการไว้

ข้าพระองค์สงเคราะห์บริษัทใหญ่นี้ด้วยสังคหวัตถุ    ๔    ประการ

เหล่านั้น   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ      ข้าพระองค์รู้ว่าผู้นี้ควรสงเคราะห์

ด้วยทาน     ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยทาน     ผู้นี้ควรสงเคราะห์

ด้วยวาจาอ่อนหวาน     ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยวาจาอ่อนหวาน

ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยการประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์     ข้าพระองค์

ก็สงเคราะห์ด้วยการประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์    ผู้นี้ควรสงเคราะห์

ด้วยการวางตัวเสมอ      ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยการวางตัวเสมอ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ        ก็โภคทรัพย์ในตระกูลของข้าพระองค์มีอยู่

ชนทั้งหลายจึงสำคัญถ้อยคำของข้าพระองค์ว่าควรฟัง     ไม่เหมือน

ของคนจน.


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 437

พ. ถูกแล้ว ๆ  หัตถกะ  นี้แลเป็นอุบายที่ท่านสงเคราะห์บริษัท

ใหญ่  ดูก่อนหัตถกะ  จริงอยู่ ใคร ๆ  ก็ตามที่สงเคราะห์บริษัทใหญ่

ในอดีตกาล  ก็ล้วนแต่สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ   ๔  ประการนี้  และ

ใคร ๆ    ก็ตามที่จักสงเคราะห์บริษัทในอนาคตกาล    ก็ล้วนแต่จัก

สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ   ๔   ประการนี้แล   ใคร  ๆ  ก็ตามย่อม

สงเคราะห์บริษัทใหญ่ในปัจจุบัน    ก็ล้วนแต่สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ

๔   ประการนี้แล   ลำดับนั้น   หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี   อันพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า    ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง    ให้สมาทาน    ให้อาจหาญ

ให้ร่าเริง    ด้วยธรรมีกถาแล้ว    ลุกจากที่นั่ง    ถวายบังคมพระผู้มี-

พระภาคเจ้า  กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป.

ลำดับนั้น     เมื่อหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี     หลีกไปแล้ว

ไม่นาน    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า      ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย     เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี

ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา   ๘   ประการ

๘     ประการเป็นไฉน    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   หัตถกอุบาสกชาวเมือง

อาฬวี  เป็นผู้มีศรัทธา ๑  มีศีล ๑  มีหิริ ๑  มีโอตตัปปะ ๑  เป็นพหูสูต ๑

มีจาคะ  ๑  มีปัญญา  ๑  มีความปรารถนาน้อย  ๑  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี   ว่าเป็นผู้ประกอบ

ด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์  อันไม่เคยมีมา  ๘  ประการนี้แล.

จบ  ทุติยหัตถกสูตรที่  ๔


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 438

อรรถกถาทุติยหัตถกสูตรที่  ๔

ทุติยหัตถกสูตรที่  ๔   มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า  ปญฺจมตฺเตหิ   อุปาสกหเตหิ   ความว่า  หัตถกอุบาสก

อันอริยสาวกอุบาสกผู้เป็นโสดาบัน   สกทาคามิ   และอนาคามีเท่านั้น

แวดล้อมแล้ว   บริโภคอาหารเช้าแล้วถือเอาของหอม   ดอกไม้    และ

จุณเครื่องลูบไล้เป็นต้น     เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

บทว่า  สงฺคหวตฺถูนิ   ได้แก่   เหตุแห่งการสงเคราะห์.  บทว่า  เตหาห

ตัดบทเป็น  เตหิ  อห.

บทว่า   ต   ทาเนน  สงฺคณฺหามิ  ความว่า   ข้าพเจ้าจะให้ไถ

โคงาน  อาหาร   และพืช  เป็นต้น  และของหอม   ดอกไม้  และจุณ

สำหรับไล้ทา  เป็นต้น   ให้สงเคราะห์.  บทว่า   เปยฺยวาเจน   ความว่า

ข้าพเจ้าสงเคราะห์ด้วยปิยวาจาอันนุ่มนวล   เสนาะหู   มีอาทิว่า   พ่อ

แม่  พี่ชาย   น้องชาย  พี่สาว  น้องสาว.  บทว่า  อตฺถจริยาย  ความว่า

เราจะสงเคราะห์ด้วยการประพฤติประโยชน์กล่าวคือ       รู้ว่าผู้นี้

ไม่มีกิจด้วยการให้หรือด้วยปิยวาจา        ผู้นี้ควรจะพึงสงเคราะห์

ด้วยการประพฤติประโยชน์   ดังนี้แล้ว  จึงช่วยกิจที่เกิดขึ้น.  บทว่า

สมานตฺตตาย   ความว่า  เราสงเคราะห์โดยทำให้เสมอกับคนด้วย

การกิน   การดื่ม   และการนั่งเป็นต้นร่วมกัน  เพราะรู้ว่าผู้นี้ไม่มีกิจ

ด้วยการให้เป็นต้น   ผู้มีเราควรสงเคราะห์   ด้วยความเป็นผู้มีตน

เสมอกัน.   บทว่า ทลิทฺทสฺส  โข  โน  ตถา  โสตพฺพ   มญฺนฺติ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 439

ความว่า    เมื่อคนผู้ขัดสน   ไม่สามารถให้หรือทำอะไร ๆ  ได้   ชน

ทั้งหลายย่อมไม่สำคัญว่าจะต้องฟังเหมือนคำของคนขัดสน   แต่คำ

ของข้าพระองค์   ชนทั้งหลายย่อมสำคัญว่าควรฟัง   คือ  ย่อมตั้งอยู่

ในโอวาทที่ให้ไว้  อธิบายว่า  ย่อมไม่สำคัญที่จะล่วงละเมิดอนุศาสนี

ของข้าพระองค์.  บทว่า  โยนิ  โข  ตฺยาย  แก้เป็น  อุปาโย โข เต อย

แปลว่า  นี้เป็นอุบายของท่านแล. ก็ในสูตรแม้ทั้งสองนี้ พึงทราบว่า

ตรัส   ศรัทธา  ศีล  จาคะและปัญญาคละกัน.

จบ  อรรถกถาทุติยหัตถกสูตรที่  ๔

 


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 440

๕.  มหานามสูตร

[๑๑๕]  สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ  นิโคร-

ธารามใกล้พระนครกบิลพัสดุ์  ในแคว้นสักกะ   ครั้งนั้น   เจ้าศากยะ

พระนามว่ามหานาม   เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทบ

ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับ    ณ    ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง   ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า   ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ    ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ    บุคคลชื่อว่าเป็นอุบาสก

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนมหานาม   เมื่อใดแล   บุคคลถึง

พระพุทธเจ้า   ถึงพระธรรม   ถึงพระสงฆ์   ว่าเป็นสรณะ   ด้วยเหตุมี

ประมาณเท่านี้  ชื่อว่าเป็นอุบาสก.

ม.   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ         ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร

อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้มีศีล.

พ.   ดูก่อนมหานาม  เมื่อใดแล   อุบาสกงดเว้นจากปาณาติบาต

งดเว้นจากอทินนาทาน     งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร     งดเว้นจาก

มุสาวาท    งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา    คือ    สุราและเมรัยอันเป็นทั้ง

แห่งความประมาท    ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้    อุบาสกชื่อว่า  เป็น

ผู้มีศีล.

ม.   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ         ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร

อุบาสกชื่อว่า   เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์นั้น  ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์

ผู้อื่น.


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 441

พ.  ดูก่อนมหานาม   เมื่อใดแล  อุบาสกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย

ศรัทธาด้วยตนเอง     แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา  ๑

ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล    แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย

ศีล    ๑     ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ    แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึง

พร้อมด้วยจาคะ  ๑   ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังสัทธรรม   แต่ไม่ชักชวน

ผู้อื่นในการฟังสัทธรรม   ๑  ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตนฟังแล้วได้

แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อการทรงจำธรรม   ๑   ตนเองเป็นผู้พิจารณา

อรรถแห่งธรรมที่ตนฟังแล้ว     แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นในการพิจารณา

อรรถแห่งธรรม    ๑    ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรม    แล้วปฏิบัติ

ธรรมควรแก่ธรรม    แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรม

อันสมควรแก่ธรรม   ๑   ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้       อุบาสกชื่อว่า

เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

ม.  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร  อุบาสก

ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

พ.   ดูก่อนมหานาม    เมื่อใดแล   อุบาสกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย

ศรัทธาด้วยตนเอง      ละชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา    ๑

ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล    และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล   ๑

ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ      และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย

จาคะ  ๑   ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อเห็นภิกษุ   และชักชวนผู้อื่นในการเห็น

ภิกษุ   ๑   ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังสัทธรรม   และชักชวนผู้อื่นในการ

ฟังสัทธรรม   ๑  ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตนฟังแล้ว   และชักชวน

ผู้อื่นเพื่อการทรงจำธรรม   ๑    ตนเองเป็นผู้พิจารณาอรรถแห่งธรรม


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 442

ที่ตนฟังแล้ว   และชักชวนผู้อื่นในการพิจารณาอรรถแห่งธรรม   ๑

ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

และชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม   ๑    ด้วยเหตุมี

ประมาณเท่านี้แล    อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน   และ

เพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

จบ  มหานามสูตรที่  ๕

 

อรรถกถามหานามสูตรที่  ๕

มหานามสูตรที่  ๕   มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า   อตฺถูปปริกฺขึ   โหติ   ความว่า   ย่อมเป็นผู้ใคร่ครวญ

ถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์  คือ  เหตุและมิใช่เหตุ.

จบ   มหานามสูตรที่  ๕


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 443

๖.  ชีวกสูตร

[๑๑๖]  สมัยหนึ่ง   พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ  สวน-

มะม่วงของหมอชีวก  ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น หมอชีวกโกมารภัจจ์

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ    ถวายบังคมพระผู้มี-

พระภาคเจ้าแล้ว    นั่ง  ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง    ครั้นแล้วได้ทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     ด้วยเหตุมีประมาณ

เท่าไรหนอ    บุคคลชื่อว่าเป็นอุบาสก    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนชีวก เมื่อใดแลบุคคลถึงพระพุทธเจ้า  ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์

ว่าเป็นสรณะ  ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล   ชื่อว่าเป็นอุบาสก.

ช.  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร   อุบาสก

ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล.

พ.  ดูก่อนชีวก   เมื่อใดแล   อุบาสกงดเว้นจากปาณาติบาต  ฯลฯ

งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา  คือ  สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ประมาท  ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล  อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้มีศีล.

ช.  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร

อุบาสกชื่อว่า    ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน  ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

พ.  ดูก่อนชีวก   เมื่อใดแล  อุบาสกถึงพร้อมด้วยศรัทธาด้วย

ตนเอง  แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา  ฯลฯ     ตนเอง

เป็นผู้รู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม   ด้วยเหตุมี


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 444

ประมาณเท่านี้แล   อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน

ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

ช.  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร

อุบาสกชื่อว่า  เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์

ผู้อื่น.

พ.  ดูก่อนชีวก   เมื่อใดแล   อุบาสกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา

ด้วยตนเอง    และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา   ๑  ตนเอง

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล    และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล  ๑

ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ    และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย

จาคะ  ๑   ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อเห็นภิกษุ   และชักชวนผู้อื่นในการ

เห็นภิกษุ   ๑  ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังสัทธรรม     และชักชวนผู้อื่น

ในการฟังสัทธรรม  ๑   ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตนเองฟังแล้ว

และชักชวนผู้อื่นเพื่อการทรงจำธรรม   ๑   ตนเองเป็นผู้พิจารณา

อรรถแห่งธรรมที่ตนฟังแล้ว     และชักชวนผู้อื่นในการพิจารณา

อรรถแห่งธรรม  ๑   ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแล้วปฏิบัติ

ธรรมสมควรแก่ธรรม   และชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรมสมควร

แก่ธรรม  ๑  ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล   อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

จบ  ชีวกสูตรที่  ๖


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 445

อรรถกถาชีวกสูตรที่  ๖

ในสูตรที่   ๖  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศรัทธา  ศีล  และจาคะ

คละกัน.

จบ  อรรถกถาชีวกสูตรที่  ๖


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 446

๗.  ปฐมพลสูตร

[๑๑๗]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   กำลัง   ๘  ประการนี้  ๘  ประการ

เป็นไฉน   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ทารกทั้งหลายมีการร้องไห้เป็นกำลัง ๑

มาตุคามทั้งหลายมีความโกรธเป็นกำลัง  ๑  โจรทั้งหลายมีอาวุธเป็น

กำลัง  ๑  พระราชาทั้งหลายมีอิสริยยศเป็นกำลัง  ๑   คนพาลทั้งหลาย

มีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง   ๑   บัณฑิตทั้งหลายมีการไม่เพ่งโทษ

เป็นกำลัง   ๑   พหูสูตบุคคลทั้งหลายมีการพิจารณาเป็นกำลัง    ๑

สมณพราหมณ์ทั้งหลายมีขันติเป็นกำลัง   ๑   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กำลัง  ๘  ประการนี้แล.

จบ   ปฐมพลสูตรที่  ๗

อรรถกถาปฐมพลสูตรที่  ๗

ปฐมพลสูตรที่  ๗   มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า  อุชฺฌตฺติพลา   แปลว่า   มีการเพ่งโทษเป็นกำลัง

จริงอยู่    พวกคนพาลมีกำลังเฉพาะแต่การเพ่งโทษอย่างนี้ว่า   คนโน้น

บอกเรื่องนี้  ๆ  กะผู้ใด   ผู้นั้นได้บอกกะเรา   ไม่บอกกะคนอื่น.   บทว่า

นิชฺฌตฺติพลา   ความว่า    มีการไม่เพ่งประโยชน์    และมิใช่ประโยชน์

เท่านั้นว่า  นี้ไม่ใช่   นี้ชื่อว่าอย่างนี้เป็นกำลัง.     บทว่า    ปฏิสงฺขานพลา

แปลว่า   มีการพิจารณาเป็นกำลัง.    บทว่า   ขนฺติพลา   ได้แก่   มีความ

อดทนด้วยความยับยั้งเป็นกำลัง.

จบ  อรรถกถาปฐมพลสูตรที่  ๗


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 447

๘.  ทุติยพลสูตร

[๑๑๘]  ครั้งนั้นแล  ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ    ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว  นั่ง    ณ   ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง    พระผู้มีพระภาคเจ้า  ได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรว่า

ดูก่อนสารีบุตร   กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพมีเท่าไร    ที่เป็นเหตุให้

เธอผู้ประกอบแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า

อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว.

ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   กำลัง

ของภิกษุผู้ขีณาสพ  ๘  ประการ   ที่เป็นเหตุให้ท่านผู้ประกอบแล้ว

ปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า       อาสวะทั้งหลาย

ของเราสิ้นแล้ว.

ท่านพระสารีบุตรกราบทูบว่า   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   กำลัง

ของภิกษุผู้ขีณาสพ   ๘  ประการ  ที่เป็นเหตุให้ท่านผู้ประกอบแล้ว

ปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า    อาสวะทั้งหลาย

ของเราสิ้นแล้ว   ๘  ประการเป็นไฉน    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ภิกษุ

ผู้ขีณาสพในธรรมวินัยนี้   เห็นสังขารทั้งปวงแจ่มแจ้ง     โดยความเป็น

ของไม่เที่ยง    ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง    ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพ

เห็นสังขารทั้งปวงแจ่มแจ้ง  โดยความเป็นของไม่เที่ยง     ด้วยปัญญา

อันชอบตามเป็นจริงนี้เป็นกำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ    ที่ท่านอาศัย

แล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า    อาสวะทั้งหลาย

ของเราสิ้นแล้ว   ๑.


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 448

อีกประการหนึ่ง   ภิกษุผู้ขีณาสพเห็นกามทั้งหลายว่าเปรียบ

ด้วยหลุมถ่านเพลิง   แจ่มแจ้งด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง   ข้อที่

ภิกษุขีณาสพเห็นกามทั้งหลายว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง  แจ่มแจ้ง

ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง         นี้เป็นกำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ

ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า

อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว   ๑.

อีกประการหนึ่ง   ภิกษุผู้ขีณาสพมีจิตน้อมไป  โน้มไป  โอน

ไปในวิเวก      ตั้งอยู่ในวิเวก       ยินดีแล้วในเนกขัมมะ      ปราศจาก

อาสวัฏฐานิยธรรมโดยประการทั้งปวง      ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพมีจิต

น้อมไป  ฯลฯ   ปราศจากอาสวัฏนิยธรรมโดยประการทั้งปวง   นี้เป็น

กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ       ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า    อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว   ๑.

อีกประการหนึ่ง    ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญสติปัฏฐาน   ๔   อบรม

ดีแล้ว    ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญสติปัฏฐาน   ๔  อบรมดีแล้ว    นี้เป็น

กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ           ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า    อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว   ๑.

อีกประการหนึ่ง   ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอิทธิบาท   ๔   อบรม

ดีแล้ว   ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอิทธิบาท   ๔    อบรมดีแล้ว    นี้เป็น

กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ          ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า    อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว   ๑.

อีกประการหนึ่ง   ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอินทรีย์    ๕   อบรม

ดีแล้ว    ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอินทรีย์    ๕    อบรมดีแล้ว    นี้เป็น


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 449

กำลงของภิกษุผู้ขีณาสพ     ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า   อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว  ๑.

อีกประการหนึ่ง   ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญโพชฌงค์   ๗   อบรม

ดีแล้ว   ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญโพชฌงค์   ๗   อบรมดีแล้ว   นี้เป็น

กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ    ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า  อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว  ๑.

อีกประการหนึ่ง    ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอริยมรรคประกอบ

ด้วยองค์   ๘    อบรมดีแล้ว    ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอริยมรรค

ประกอบด้วยองค์    ๘   อบรมดีแล้วนี้เป็นกำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ

ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า  อาสวะ

ทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว  ๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ  ๘  ประการ

นี้แล   ที่เป็นเหตุให้ท่านผู้ประกอบแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่ง

อาสวะทั้งหลายได้ว่า  อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว.

จบ   ทุติยพลสูตรที่  ๘

 

อรรถกถาทุติยพลสูตรที่   ๘

ทุติยพบสูตรที่  ๘   มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า  พลานิ  ได้แก่   กำลังคือพระญาณ.    บทว่า   อาสวานํ

ขยํ  ปฏิชานาติ   ความว่า  ย่อมปฏิญาณพระอรหัต.  บทว่า  อนิจฺจโต

แปลว่า   โดยอาการมีแล้วหามีไม่.   บทว่า    ยถาภูตํ   แปลว่า   ตามที่


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 450

เป็นจริง.   บทว่า  สมฺมปฺปญฺญาย  ได้แก่    ด้วยสัมมาวิปัสสนาและ

มรรคปัญญา.   บทว่า   องฺคารกาสูปมา    ความว่า   กามเหล่านี้ท่าน

เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง    เพราะอรรถว่าทำให้เร่าร้อน.    บทว่า

วิเวกนินฺนํ   ได้แก่   น้อมไปในพระนิพพาน   ด้วยอำนาจผลสมาบัติ.

บทว่า   วิเวกฏฺฐํ  ได้แก่   เว้นหรือห่างไกลจากกิเลสทั้งหลาย.    บทว่า

เนกฺขมฺมาภิรตํ  ได้แก่  ยินดียิ่งในบรรพชา.  บทว่า  พยนฺตีภูตํ  แปลว่า

มีที่สุด   (คือตัณหา)   ไปปราศแล้ว   คือ   แม้โดยเอกเทศก็ไม่ติดอยู่

ไม่ประกอบไว้  ไม่เกี่ยวข้อง. บทว่า อาสวฏฺฐานิเยหิ  ได้แก่  จากธรรม

อันเป็นเหตุแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยอำนาจการประกอบไว้     อธิบาย

¹ยกศัพท์ บรรทัดที่ ๑๐ว่า  จากกิเลลธรรมทั้งหลาย.  อีกอย่างหนึ่ง  บทว่า  พยนฺตีภูตํ  แปลว่า

²ยกศัพท์ บรรทัดที่ ๑๑ปราศจากตัณหาอันชื่ออันชื่อตันตี   อธิบายว่า  ปราศจากตัณหา. บทว่า

สพฺพโส    อาสวฏฺฐานิเยหิ  ธมฺเมหิ     ความว่า   จากธรรมอันเป็นไป

ในภูมิ    ๓    ทั้งหมด.    ในสูตรนี้   ท่านกล่าวถึงอริยมรรคทั้งที่เป็น

โลกิยะและโลกุตตระ.

จบ  อรรถกถาทุติพลสูตรที่  ๘

³ยกศัพท์ บรรทัดที่ ๑๖๑.   ตันตี  เป็นชื่อของตัณหา   เพราะเป็นสายดุจเส้นเชือกผูกโยงสัตว์ใช้ในวัฏฏสงสาร  ฯ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 451

๙.  อักขณสูตร

[๑๑๙]   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ  ย่อมกล่าวว่า

โลกได้ขณะจึงทำกิจ ๆ    แต่เขาไม่รู้ขณะหรือมิใช่ขณะ    ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย     กาลมิใช่ขณะมิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

๘   ประการนี้   ๘   ประการเป็นไฉน   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ตถาคต

อุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้  เป็นพระอรหันต์  ตรัสรู้เองโดยชอบ   ถึงพร้อม

ด้วยวิชชาและจรณะ    เสด็จไปดีแล้ว    ทรงรู้แจ้งโลก    เป็นสารถีฝึก

บุรุษที่ควรฝึก     ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า     เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย     เป็นผู้เบิกบานแล้ว     เป็นจำแนกธรรม     และธรรมอัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดง    นำความสงบมาให้    เป็นไป

เพื่อปรินิพพาน    ให้ถึงการตรัสรู้    อันพระสุคตเจ้าประกาศแล้ว

แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึงนรกเสีย    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   นี้มิใช่ขณะ  มิใช่

สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง    ตถาคตอุบัติขึ้นในโลก   ฯลฯ  เป็นผู้จำแนก

ธรรม    และธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดง...  แต่บุคคล

ผู้นี้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    นี้มิใช่ขณะ

มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง  ฯลฯ   แต่บุคคลนี้เข้าถึงปิตติวิสัยแล้ว   ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย   นี้มิใช่ขณะ   มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ข้อที่  ๓.


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 452

อีกประการหนึ่ง    ฯลฯ    แต่บุคคลนี้เข้าถึงเทพนิกายผู้มีอายุยืน

ชั้นใดชั้นหนึ่งเสีย   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  นี้มิใช่ขณะ   มิใช่สมัยในการ

อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่  ๔.

อีกประการหนึ่ง  ฯลฯ  แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท

และอยู่ในพวกมิลักขะ  ไม่รู้ดีรู้ชอบ  อันเป็นสถานที่ไม่มีภิกษุ  ภิกษุณี

อุบาสก  อุบาสิกาไปมา   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  นี้มิใช่ขณะ  มิใช่สมัย

ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่  ๕.

อีกประการหนึ่ง   ฯลฯ   แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท

แต่เขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ    มีความเห็นวิปริตว่า    ทานที่ให้แล้วไม่มีผล

ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล     การบวงสรวงไม่มีผล    ผลวิบากแห่งกรรมดี

กรรมชั่วไม่มี    โลกนี้ไม่มี    โลกหน้าไม่มี    มารดาไม่มี    บิดาไม่มี

สัตว์ทั้งหลายที่ผุดเกิดขึ้นไม่มี   สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง    แล้วสั่งสอน

ประชุมชนให้รู้ตาม   ไม่มีในโลก    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   นี้มิใช่ขณะ

มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่   ๖

อีกประการหนึ่ง   ฯลฯ    แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท

แต่เขามีปัญญาทราม     บ้าใบ้    ไม่สามารถรู้อรรถแห่งสุภาษิตและ

ทุพภาษิต    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    นี้มิใช่ขณะ    มิใช่สมัยในการอยู่

ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๗.

อีกประการหนึ่ง     ตถาคตอุบัติแล้วในโลก    เป็นพระอรหันต์

ตรัสรู้เองโดยชอบ     ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ     เสด็จไปดีแล้ว

ทรงรู้แจ้งโลก   เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก   ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า    เป็น


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 453

ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย     เป็นผู้เบิกบานแล้ว     เป็น

ผู้จำแนกธรรม     ธรรมอันนำความสงบมาให้   เป็นไปเพื่อปรินิพพาน

ให้ถึงการตรัสรู้   อันพระสุคตเจ้าทรงประกาศแล้ว     พระตถาคต

มิได้แสดง    ถึงบุคคลผู้นี้จะเกิดในมัชฌิมชนบทและมีปัญหา  ไม่บ้าใบ้

ทั้งสามารถจะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิต    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้มิใช่ขณะ   มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่  ๘  ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย    กาลอันมิใช่ขณะ    มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติ

พรหมจรรย์   ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     ส่วนขณะและสมัยในการอยู่ประพฤติ

พรหมจรรย์   มีประการเดียว   ประการเดียวเป็นไฉน    ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย  ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์  ตรัสรู้เอง

โดยชอบ  ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ   เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก

เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก   ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า    เป็นศาสดาของ

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย     เป็นผู้เบิกบานแล้ว    เป็นผู้จำแนกธรรม

และธรรมอันตถาคตทรงแสดง     เป็นธรรมนำความสงบมาให้    เป็น

ไปเพื่อปรินิพพานให้ถึงการตรัสรู้     พระสุคตเจ้าทรงประกาศแล้ว

และบุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท   ตั้งมีปัญญา   ไม่บ้าใบ้   สามารถ

เพื่อจะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นขณะและสมัย ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ประการเดียว.

ชนเหล่าใด    เกิดในมนุษยโลกแล้ว   เมื่อ

พระตถาคตทรงประกาศสัทธรรม   ไม่เข้าถึงขณะ

ชนเหล่านั้นเชื่อว่าล่วงขณะ  ชนเป็นอันมาก  กล่าว


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 454

เวลาที่เสียไปว่า  กระทำอันตรายแก่ตน  พระ-

ตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก  ในกาลบางครั้ง

บางคราว    การที่พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นใน

โลก  ๑  การได้กำเนิดเป็นมนุษย์   ๑  การแสดง

สัทธรรม   ๑   ที่จะพร้อมกันเข้าได้   หาได้ยากใน

โลก  ชนผู้ใคร่ประโยชน์   จึงควรพยายามในกาล

ดังกล่าวมานั้น   ที่ตนพอจะรู้จะเข้าใจสัทธรรมได้

ขณะอย่าล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย      เพราะ

บุคคลที่ปล่อยเวลาให้ล่วงไปพากันยัดเยียดใน

นรก   ก็ย่อมเศร้าโศก  หากเขาจะไม่สำเร็จอริย-

มรรค    อันเป็นธรรมตรงต่อสัทธรรมในโลกนี้ได้

เขาผู้มีประโยชน์อันล่วงเสียแล้ว   จักเดือดร้อน

สิ้นกาลนาน    เหมือนพ่อค้าผู้ปล่อยให้ประโยชน์

ล่วงไป   เดือดร้อนอยู่  ฉะนั้น   คนผู้ถูกอวิชชา

หุ้มห่อไว้  พรากจากสัทธรรม   จักเสวยแต่สงสาร

คือ  ชาติและมรณะสิ้นกาลนาน  ส่วนชนเหล่าใด

ได้อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว    เมื่อพระตถาคตประ-

กาศสัทธรรม   ได้กระทำแล้ว   จักกระทำ   หรือ

กระทำอยู่   ตามพระดำรัสของพระศาสดา    ชน

เหล่านั้นชื่อว่าได้ประสบขณะ   คือ   การประพฤติ

พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก       ชนเหล่าใด

ดำเนินไปตามมรรคา   ที่พระตถาคตเจ้าทรงประ-


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 455

กาศแล้ว      สำรวมในศีลสังวรที่พระตถาคตเจ้า

ผู้มีจักษุเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์    ทรงแสดง

แล้ว   คุ้มครองอินทรีย์  มีสติทุกเมื่อ   ไม่ชุ่มด้วย

กิเลส     ตัดอนุสัยทั้งปวงอันแล่นไปตามกระแส

บ่วงมาร   ชนเหล่านั้นแล   บรรลุความสิ้นอาสวะ

ถึงฝั่ง คือ นิพพานในโลกแล้ว.

จบ อักขณสูตรที่  ๙

 

อรรถกถาอักขณสูตรที่  ๙

อักขณสูตรที่   ๙  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ชาวโลกย่อมทำกิจทั้งหลายในขณะ   เพราะเหตุนั้นชาวโลก

นั้นชื่อว่า  ขณกิจจะ   ผู้ทำกิจในขณะ  อธิบาย  พอได้โอกาศทำกิจ

ทั้งหลาย  บทว่า  ธมฺโม ได้แก่ ธรรมคือสัจจะทั้ง  ๔. บทว่า  อุปสมิโก

ได้แก่  นำความสงบกิเลสมาให้.  บทว่า  ปรินิพฺพานิโก  ได้แก่  กระทำ

การดับกิเลสได้สิ้นเชิง.     ชื่อว่า     สมฺโพธคามี    เพราะถึงคือบรรลุ

สัมโพธิญาณ  กล่าวคือ  มรรคญาณ  ๔.  คำว่า   ทีฆายุก   เทวนิกาย  นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงเหล่าอสัญญีเทพ.   บทว่า   อวิญฺา-

ตาเรสุ   ความว่า ในพวกมิลักขะ  ผู้ไม่รู้อย่างยิ่ง.

บทว่า  สุปฺปเวทิเต  ความว่า  อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว

บทว่า  อนฺตรายิกา  แปลว่า  อันกระทำอันตราย.  บทว่า   ขโณ  โว  มา

อุปจฺจคา    ความว่า    ขณะที่ท่านได้แล้วนี้    อย่าล่วงเลยท่านทั้งหลาย

ไปเสีย.   บทว่า   อิธ  เจ  น  วิราเธติ   ความว่า  ถ้าใคร ๆ มีปกติพฤติ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 456

ประมาท   ถึงได้ขณะนี้ในโลกนี้แล้วก็ไม่สำเร็จ   คือ   ไม่บรรลุความ

ที่พระสัทธรรมเป็นของแน่นอน   คือ   อริยมรรค.   บทว่า   อดีตตฺโถ

ได้แก่   เป็นผู้เสื่อมประโยชน์แล้ว.   บทว่า  จิรตฺตนุตปิสฺสติ   ความว่า

จักเศร้าโศกสิ้นกาลนาน.    เหมือนอย่างว่าพ่อค้าผู้หนึ่ง    ได้ฟังข่าวว่า

ในที่ชื่อโน้น   สินค้ามีราคาเท่ากัน   ก็ไม่พึงไป  พ่อค้าเหล่าอื่นพึงไป

ซื้อเขามา     สินค้าเหล่านั้น      ก็จะมีราคาเพิ่มขึ้นเป็น    ๘    เท่าบ้าง.

๑๐   เท่าบ้าง     เมื่อเป็นเช่นนั้น    พ่อค้าอีกฝ่ายหนึ่งพึงเดือดร้อนด้วย

คิดว่า     ประโยชน์ของเราล่วงเลยไปแล้วดังนี้ฉันใด      บุคคลใดได้

ขณะในโลกนี้แล้ว    ไม่ปฏิบัติ     ไม่ยินดีการกำหนดแน่นอนแห่งพระ-

สัทธรรม     บุคคลนั้นชื่อว่ามีประโยชน์อันล่วงแล้วเหมือนพ่อค้านี้

จักเดือดร้อนจักเศร้าโศกสิ้นกาลนานยิ่งกว่าใคร ๆ    ฉันนั้น.    บทว่า

อวิชฺชานิวุโต     พึงทราบความเหมือนอย่างนั้น.    บทว่า    ปจฺจวิทุ

แปลว่า  ได้ตรัสรู้แล้ว.   บทว่า   สวรา     ได้แก่ผู้สำรวมในศีล.  บทว่า

มารเธยฺยสรานุเค     ความว่า     อันแล่นตามสังสารวัฏแก่งมาร

บทว่า     ปารคตา     ได้แก่ถึงซึ่งพระนิพพาน.     บทว่า เย  ปตฺตา

อาสวกฺขย/B>    ความว่า     ชนเหล่าใดบรรลุพระอรหัตเเล้ว.    พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะไว้ในพระคาถาทั้งหลายใน

พระสูตรนี้  ด้วยประการฉะนี้

จบ  อรรถกถาอักขณสูตรที่  ๙


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 457

๑๐.  อนุรุทธสูตร

[๑๒๐]  สมัยหนึ่ง   พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่   ณ  ป่า-

เภสกลามิคทายวัน    แขวงเมืองสุงสุมารคิยะ    แคว้นภัคคชนบท

ก็โดยสมัยนั้น    ท่านพระอนุรุทธะอยู่ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน

แคว้นเจดีย์    ครั้งนั้น    ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ

เกิดความปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า      ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคล

ผู้มีความปรารถนาน้อย    มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก

ของบุคคลสันโดษ   มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ   ของบุคคลผู้สงัด

มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ  ของบุคคลผู้ปรารภ

ความเพียร    มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน     ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น

มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม   ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง   มิใช่ของบุคคล

ผู้มีจิตไม่มั่นคง   ของบุคคลผู้มีปัญญา  มิใช่บุคคลผู้มีปัญญาทราม.

ครั้งนั้น   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกทางใจ

ของท่านพระอนุรุทธะแล้ว   เสด็จจากเภสกลามิคทายวัน  แขวง

สุงสุมารคิระ   แคว้นภัคคชนบท   ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะ

ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน     เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขน

ที่คู้    หรือคู้แขนที่เหยียด     ฉะนั้น    พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง

บนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว    แม้ท่านพระอนุรุทธะถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว  นั่ง  ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง  พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะว่า   ดีแล้ว ๆ   อนุรุทธะถูกละ

ที่เธอตรึกมหาปุริสวิตกว่าธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 458

ปรารถนาน้อย   มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก...  ของบุคคล

ผู้มีปัญญา    มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม     ก่อนอนุรุทธะ    ถ้า

อย่างนั้น   เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่   ๘   นี้ว่า   ธรรมนี้เป็นของ

บุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า    ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำ

ให้เนิ่นช้า   มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า   ผู้ยินดี

ในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า   ดูก่อนอนุรุทธะ   ในกาลใดแล    เธอจักตรึก

มหาปุริสวิตก  ๘   ประการนี้   ในกาลนั้น   เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า

จักสงัดจากกาม   สงัดจากอกุศลธรรม  บรรลุปฐมฌาน  มีวิตกวิจาร

มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่    ในกาลใดแล    เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก

๘  ประการนี้  ในกาลนั้น  เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า  จักบรรลุทุติยฌาน

มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน   เป็นธรรมเอกผุดขึ้น   ไม่มีวิตกวิจาร

เพราะวิตกวิจารสงบไป    มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่    ในกาลใดแล

เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก   ๘   ประการนี้  ในการนั้น   เธอจักหวังได้

ทีเดียวว่า   จักมีอุเบกขา     มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย

เพราะปีติสิ้นไป     บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า

ผู้ได้ฌานนี้   เป็นผู้มีอุเบกขา   มีสติอยู่เป็นสุข   ในกาลใดแล   เธอจัก

ตรึกมหาปุริสวิตก  ๘   ประการนี้  ในกาลนั้น   เธอจักหวังได้ทีเดียว

จักบรรลุจตุตถฌาน  ไม่มีทุกข์  ไม่มีสุข  เพราะละสุขละทุกข์และดับ

โสมนัสโทมนัสก่อน  ๆ     ได้    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

ในกาลใดแล   เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก   ๘   ประการนี้   และจักเป็น

ผู้มีปกติได้ตามปรารถนา    ได้โดยไม่ยาก   ไม่ลำบาก   ซึ่งฌาน   ๔

นี้อันมีในจิตยิ่ง     เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน     ในกาลนั้น    ผ้า-


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 459

บังสุกุลจีวรจักปรากฏแก่เธอ  ผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี  ด้วยความ

ไม่หวาดเสียว     ด้วยความอยู่เป็นสุข    ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน

เปรียบเหมือนหีบใส่ผ้าของคฤหบดีหรือบุตรแห่งคฤหบดี  อันเต็ม

ไปด้วยผ้าสีต่าง ๆ ฉะนั้น  ดูก่อนอนุรุทธะ ในกาลใดแล  เธอจักตรึก

มหาปุริสวิตก    ๘   ประการนี้   และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา

ได้โดยไม่ยาก   ไม่ลำบาก   ซึ่งฌาน   ๘   ประการนี้    และจักเป็นผู้

ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก  ไม่ลำบาก   ซึ่งฌาน  ๔  นี้อันมี

ในจิตยิ่ง   เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน   ในกาลนั้น   โภชนะ  คือ

คำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง    จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ...     ด้วยการ

ก้าวลงสู่นิพพาน  เปรียบเหมือนข้าวสุก   (หุงจาก)  ข้าวสาลี   คัดเอา

คำออกแล้ว  มีแกงและกับหลายอย่าง ของคฤหบดีและบุตรแห่งคฤหบดี

ฉะนั้น      ดูก่อนอนุรุทธะ   ในกาลในแล    เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก

๘   ประการนี้     และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา   ได้โดยไม่ยาก

ไม่ลำบาก    ซึ่งฌาน    ๔    นี้อันมีในจิตยิ่ง    เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน

ปัจจุบัน   ในกาลนั้น   เสนาสนะ   คือ   โคนไม้   จักปรากฏแก่เธอผู้

สันโดษ...    ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน    เปรียบเหมือนเรือนยอดของ

คฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี   ฉาบทาไว้ดีแล้ว   ปราศจากลม   เธอ

จักตรึกมหาปุริสวิตก    ๘    ประการนี้    และจักเป็นได้ตามความ

ปรารถนา  ได้โดยไม่ยาก.  ไม่ลำบาก  ซึ่งฌาน  ๔  นี้อันมีในจิตยิ่ง

เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน    ในกาลนั้น   ที่นอน  ที่นั่งอันลาด

ด้วยหญ้า    จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ...   ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน

เปรียบเหมือนบัลลังก์ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี     อันลาด


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 460

ด้วยผ้าโกเชาว์ขนยาว     ลาดด้วยขนแกะสีขาว     ลาดด้วยผ้าสัณฐาน

เป็นช่อดอกไม้    มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด    มีเครื่องลาด

เพดานแดง   มีหมอนข้างแดงสองข้าง   ฉะนั้น    ดูก่อนอนุรุทธะ  ใน

กาลใดแล   เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก   ๘  ประการนี้  และจักเป็นผู้ได้

ตามความปรารถนา   ได้โดยไม่ยาก  ไม่ลำบาก  ซึ่งฌาน  ๔  นี้อันมี

ในจิตยิ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน    ในกาลนั้น     ยาดองด้วย

น้ำมูตรเน่า   จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ...   ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน

เปรียบเหมือนเภสัชต่าง ๆ    คือ    เนยใส    เนยข้น    น้ำมัน    น้ำผึ้ง

น้ำอ้อย  ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี  ฉะนั้น.

ดูก่อนอนุรุทธะ    ถ้าอย่างนั้น    เธอพึงอยู่จำพรรษาที่วิหาร

ปาจีนวังสทายวัน  แคว้นเจดีย์นี้แหละ  ต่อไปอีกเถิด ท่านพระอนุรุทธะ

ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว    ลำดับนั้น    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสสอนท่านพระอนุรุทธะด้วยพระโอวาทนี้แล้ว    เสด็จจากวิหาร

ปาจีนวังสทายวัน   แคว้นเจดีย์นคร  ไปปรากฏที่ป่าเภสกลามิคทายวัน

แขวงเมืองสุงสุมารคิระ      แคว้นภัคคะ    เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง

เหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียด    ฉะนั้น    พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว     ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายว่า     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    เราจักแสดงมหาปุริสวิตก   ๘

ประการ    แก่เธอทั้งหลาย    เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง   ฯลฯ  ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย   ก็มหาปุริสวิตก   ๘   ประการเป็นไฉน     ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย   ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย   มิใช่ของบุคคล

ผู้มีความปรารถนามาก    ๑   ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้สันโดษ    มิใช่


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 461

ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ   ๑   ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด   มิใช่ของบุคคล

ผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ  ๑  ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร

มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน    ๑   ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น   มิใช่

ของผู้มีสติหลงลืม   ๑  ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น   มิใจของบุคคล

มีจิตไม่ตั้งมั่น   ๑   ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา     มิใช่ของบุคคล

ผู้มีปัญญาทราม   ๑  ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุ

ให้เนิ่นช้า     ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า    มิใช่ของบุคคล

ผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า    ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุ

ให้เนิ่นช้า  ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็ข้อที่เรากล่าวว่า    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย    มิใช่ของบุคคลผู้มีความ

ปรารถนามาก  เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้    เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยย่อมไม่ปรารถนาว่า

ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า    มีความปรารถนาน้อย    เป็นผู้สันโดษ

ย่อมไม่ปรารถนาว่า    ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า    เป็นผู้สันโดษ

เป็นผู้สงัดย่อมไม่ปรารถนาว่า   ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า   เป็นผู้สงัด

เป็นปรารภความเพียรย่อมไม่ปรารถนาว่า     ขอชนทั้งหลายพึงรู้

เราว่า     ปรารภความเพียร     เป็นผู้มีสติตั้งมั่นย่อมไม่ปรารถนาว่า

ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า     มีสติตั้งมั่น    เป็นผู้มีจิตมั่นคงย่อมไม่

ปรารถนาว่า    ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า    เป็นผู้มีจิตมั่นคง    เป็น

ผู้มีปัญญาย่อมไม่ปรารถนาว่า  ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า  มีปัญญา

เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าย่อมไม่ปรารถนาว่า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 462

ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า      เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้

เนิ่นช้า   ข้อที่เรากล่าวว่า    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ธรรมนี้ของบุคคล

ผู้มีความปรารถนาน้อย   มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก  ดังนี้

เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     ธรรมนี้ของบุคคล

ผู้สันโดษ     มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ     เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     ภิกษุในธรรมวินัยนี้    เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร

บิณฑบาต     เสนาสนะ   และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร    ตามมีตามได้

ข้อที่เรากล่าวว่า     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ธรรมนี้ของบุคคลผู้สันโดษ

มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ  ดังนี้  เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ธรรมนี้ของบุคคล

ผู้สงัด     มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ   เราอาศัย

อะไรกล่าวแล้ว    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   พวกภิกษุ  ภิกษุณี   อุบาสก

อุบาสิกา  พระราชา   มหาอำมาตย์ของพระราชา    เดียรถีย์  และสาวก

แห่งเดียรถีย์  เข้าไปหาภิกษุนั้น  ภิกษุมีจิตน้อมไป  โอนไป  เงื้อมไป

ในวิเวก    ตั้งอยู่ในวิเวก    ยินดีในเนกขัมมะ    ย่อมกล่าวกถาอันปฏิ-

สังยุตด้วยถ้อยคำตามสมควร    ในสมาคมนั้นโดยแท้    ข้อที่กล่าวว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด    มิใช่ของบุคคล

ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ  ดังนี้  เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     ธรรมนี้ของบุคคล

ผู้ปรารภความเพียร     มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน    เราอาศัยอะไร

กล่าวแล้ว   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุไม่ธรรมวินัยนี้  เป็นผู้ปรารภ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 463

ความเพียร     เพื่อละอกุศลธรรม    เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม

มีกำลัง    มีความบากบั่นมั่นคง    ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม   ข้อที่เรา

กล่าวว่า     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภคราม

เพียร  มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน  ดังนี้   เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ธรรมนี้ของบุคคล

ผู้มีสิตตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  เป็นผู้มีสติ  ประกอบด้วย

สติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง    ระลึกนึกถึงกิจที่ทำคำที่พูดแม้นานได้

ข้อที่เรากล่าวว่า     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติ

ตั้งมั่น  มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม  ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย      ธรรมนี้ของบุคคล

มีจิตมั่นคง   มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง   เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุในธรรมวินัยนี้      สงัดจากกาม    ฯลฯ

บรรลุจตุตถฌาน   ข้อที่เรากล่าวว่า    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ธรรมนี้

ของบุคคลมีจิตมั่นคง  มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง  ดังนี้  เราอาศัย

ข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     ธรรมนี้ของบุคคล

ผู้มีปัญญา   มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม   เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุในธรรมวินัยนี้   เป็นผู้มีปัญญา  ประกอบ

ด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและความดับ   เป็นอริยะ  ชำแรก

กิเลส   ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ   ข้อที่เรากล่าวว่า    ดูก่อนภิกษุ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 464

ทั้งหลาย  ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา   มีใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม

ดังนี้  เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ธรรมนี้ของบุคคล

ผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า     ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็น

เหตุให้เนิ่นช้า   มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า

ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า   เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว   ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย    จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้   ย่อมแล่นไป     เลื่อมใส

ตั้งมั่นอยู่ในความดับกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า    ย่อมหลุดพ้น   ข้อที่เรา

กล่าวว่า   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม

ที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า   ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า   มิใช่

ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า     ผู้ยินดีในธรรม

ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า  ดังนี้  เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ครั้งนั้นแล    ท่านพระอนุรุทธะอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวัง-

สทายวัน   แคว้นเจดีย์นครนนั้นนั่นแล   ต่อไปอีก   ครั้งนั้น   ท่านพระ-

อนุรุทธะหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว    ไม่ประมาท     มีความเพียร

มีใจเด็ดเดี่ยว     ไม่นานนัก     ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์

อันยอดเยี่ยม    ที่กุลบุตรทั้งหลายยออกบวชเป็นบรรพชิต     โดยชอบ

ตามต้องการนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง  ในปัจจุบัน  เข้าถึงอยู่   รู้ได้ว่า

ชาติสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำ  ทำเสร็จแล้ว  กิจอื่น

เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี    ก็ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์

รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย    ลำดับนั้น   ท่านพระอนุรุทธะ

บรรลุอรหัตแล้ว   ได้กล่าวคาถานี้ไว้ในเวลานั้นว่า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 465

พระศาสดาผู้เป็นเยี่ยมในโลก   ทรงทราบ

ความดำริของเราแล้ว      ได้เข้ามาหาเราด้วยฤทธิ์

ทางพระกายอันสำเร็จแต่พระหฤทัย   พระองค์ได้

ทรงแสดงธรรมอันยิ่งกว่าความดำริของเราเท่าที่

ดำริไว้  พระพุทธเจ้าผู้ยินดีแล้วในธรรมอันไม่เป็น

เหตุให้เนิ่นช้า     ได้ทรงแสดงซึ่งธรรนอันเป็นเหตุ

ให้เนิ่นช้า     เราได้รู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว

ยินดีในศาสนาอยู่  เราได้บรรลุวิชชา  ๓  แล้วโดย

ลำดับ  คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำแล้ว

จบ  อนุรทธะสูตรที่  ๑๐

จบ  คหปติวรรคที่  ๓

อรรถกถาอนุรุทธสูตรที่  ๑๐

อนุรุทธสูตรที่  ๑๐  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า  เจตีสุ  ความว่า  ในรัฐอันได้ชื่ออย่างนั้น  เพราะรัฐนั้น

เป็นที่ประทับอยู่ของเจ้าทั้งหลาย  พระนามว่าเจตี.  บทว่า ปาจีนวสทาเย

ความว่า  ที่ป่าวังสทายะ   อันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก    แต่ที่ประทับ

อยู่ของพระทศพล  อันเป็นราวป่าดารดาดไปด้วยไม้ไผ่มีสีเขียว.


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 466

บทว่า   เอว  เจตโส  ปริวิตกฺโก   อุทปาทิ   ความว่า  ได้ยินว่า

พระเถระบวชแล้ว     เป็นผู้ได้สมาบัติในภายในพรรษาก่อนเพื่อน

ให้เกิดทิพยจักษุที่สามารถให้เห็นพ้นโลกธาตุได้.   ท่านได้ไปยังสำนัก

ของพระสารีบุตรเถระ    แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า    ท่านพระสารีบุตร

ในที่นี้  ข้าพเจ้าเห็นพ้นโลก  ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์.

ก็ความเพียรอันข้าพเจ้าปรารภแล    ไม่ย่อหย่อน   สติอันข้าพเจ้าตั้งมั่น

แล้ว    ไม่หลงลืม    กายสงบไม่กระสับกระส่าย    จิตตั้งมั่นมีอารมณ์

เดียว    ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น    จิตของข้าพเจ้า    ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ

ทั้งหลาย   เพราะไม่ถือมั่นดังนี้.   ลำดับนั้น   พระสารีบุตรเถระกล่าว

กะท่านว่า   ดูก่อนท่านอนุรุทธะความคิดอันใดแล    ที่มีอยู่แก่ท่าน

อย่างนี้ว่า   ข้าพเจ้ามองเห็น   ฯลฯ   ด้วยทิพยจักษุดังนี้   ความคิดของ

ท่านนี้เป็นมานะ.    ดูก่อนท่านอนุรุทธะ    ความคิดแม้ใดของท่านที่มี

อยู่อย่างนี้ว่า   ก็ความเพียร   อันข้าพเจ้าปรารภแล้ว   ฯลฯ   มีอารมณ์

เดียว   ความคิดอันนี้ของท่านก็เป็นอุทธัจจะ  ความคิดแม้ใด  ของท่าน

ที่มีอยู่อย่างนี้ว่า     ก็แลเมื่อเป็นเช่นนั้น    จิตของข้าพเจ้ายังไม่หลุดพ้น

จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น    ความคิดของท่านก็เป็นกุกกุจจะ

ดีละ   ท่านอนุรุทธะ   จงละธรรม       ประการเหล่านี้เสีย   ไม่ใส่ใจ

ธรรม   ๓   ประการเหล่านี้    จงน้อมจิตเข้าไปเพื่อสมณธรรม     ดังนี้

พระเถระบอกกรรมฐานแก่ท่านด้วยประการฉะนี้.  ท่านรับกรรมฐาน

แล้ว     ทูลลาพระศาสดาไปยังเจดีย์รัฐกระทำสมณธรรม     ยับยั้งอยู่

ด้วยการจงกรมเป็นเวลาครึ่งเดือน.  ท่านลำบากกาย  เพราะกรากกรำ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 467

ด้วยกำลังความเพียร  นั่งอยู่ภายใต้พุ่มไผ่พุ่มหนึ่ง. บทว่า  อถสฺสาย

เอว  เจตโส  ปริวิตกฺโก  อุทปาทิ  ความว่า   มหาปุริสวิตกนี้เกิดขึ้น.

ในบทว่า   อปฺปิจฺฉสฺส   นี้   มีวินิจฉัยดังต่อไปนื้ :-   บุคคลผู้

มักน้อย  ๔  จำพวก  คือ  มักน้อยในปัจจัย  มักน้อยในอธิคม  มักน้อย

ในปริยัติ    มักน้อยในธุดงค์    ในบรรดาผู้มักน้อย   ๔    จำพวกนั้น

ภิกษุผู้มักน้อยในปัจจัย    เมื่อเขาให้มากย่อมรับแต่น้อย    หรือเมื่อเขา

ให้น้อยย่อมรับให้น้อยลง     ย่อมไม่รีดเอาจนไม่เหลือ.    ผู้มักน้อย

ในอธิคม    ย่อมไม่ให้ผู้อื่นรู้มรรคผลที่บรรลุของตน    เหมือนพระ-

มัชฌันติกเถระฉะนั้น.   ผู้มักน้อยในปริยัติ  แม้เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก

ก็ไม่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นรู้ความเป็นพหูสูต    เหมือนพระสาเกตก-

เถระ.    ผู้มักน้อยในธุดงค์  ย่อมไม่ให้ผู้อื่นรู้ว่าตนรักษาธุดงค์  เหมือน

พระเถระผู้เป็นพี่ชายในพระเถระสองพี่น้อง.      เรื่องกล่าวไว้แล้ว

ในวิสุทธิมรรค.

บทว่า    อย     ธมฺโม   ความว่า    ธรรมนี้คือโลกุตตรธรรม   ๙

ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ชื่อว่ามีความมักน้อย     เพราะปกปิดคุณที่ตนได้

อย่างนี้     และเพราะรู้จักประมาณในการรับ    ไม่เกิดแก่บุคคลผู้

มักมาก.  ในบททุกบท  พึงประกอบความอย่างนี้.  บทว่า  สนฺตุฏฺสฺส

ได้แก่ ผู้สันโดษด้วยสันโดษ ๓ ในปัจจัย ๔.

บทว่า   ปวิวิตฺตสฺส    ได้แก่    ผู้สงัดด้วยกายวิเวก     จิตวิเวก

และอุปธิวิเวก.    ในวิเวก   ๓   อย่างนั้น  ความบันเทาความคลุกคลีด้วย

หมู่คณะแล้วเป็นผู้มีกายโดดเดี่ยว     ด้วยอำนาจอารัมภวัตถุ     เรื่อง

ปรารภความเพียร     ชื่อว่ากายวิเวก.      แต่กรรมฐานย่อมไม่สำเร็จ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 468

ด้วยอาการเพียงอยู่ผู้เดียว    เพราะฉะนั้น   พระโยคีกระทำบริกรรม-

กสิณแล้วยังสมาบัติ    ๘    ให้บังเกิด     นี้ชื่อว่าจิตวิเวก.    กรรมฐาน

ย่อมไม่สำเร็จด้วยเหตุเพียงสมาบัติเท่านั้น    เพราะเหตุนั้น    พระโยคี

กระทำฌานให้เป็นบาท      พิจารณาสังขารทั้งหลาย      แล้วบรรลุ

พระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา     นี้ชื่อว่า    อุปธิวิเวก    สงัดกิเลส

โดยอาการทั้งปวง.    ด้วยเหตุนั้น     พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

กายวิเวกสำหรับบุคคลผู้มีกายสงัด    ผู้ยินดียิ่งในเนกขัมมะ    จิตวิเวก

สำหรับบุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์  ผู้ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง   ละอุปธิวิเวก

สำหรับบุคคลผู้ปราศจากอุปธิกิเลส     ถึงพระนิพพานอันปราศจาก

สังขาร  ดังนี้.

บทว่า   สงฺคณิการามสฺส   ได้แก่   ผู้ยินดีด้วยการคลุกคลีในหมู่

และคลุกคลีด้วยกิเลส.    บทว่า    อารทฺธวีริยสฺส    ได้แก่    ผู้ปรารภ

ความเพียรด้วยอำนาจความเพียรทางกายและทางจิต.         บทว่า

อุปฏฺิตสฺสติสฺส    ได้แก่    ผู้มีสติตั้งมั่นด้วยอำนาจสติปัฏฐาน   ๔.

บทว่า  สมาหิตสฺส ได้แก่ ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่าปญฺวโต

ได้แก่  ผู้มีปัญญาด้วยปัญญาเป็นเหตุรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของของตน.

บทว่า  สาธุ  สาธุ   ความว่า  พระผู้มีพระภาคเจ้า  เมื่อจะทรง

ยังจิตของพระเถระให้ร่าเริง    จึงตรัสอย่างนี้.    บทว่า    อิม    อฏฺม

ความว่า    เมื่อจะตรัสบอกมหาปุริสวิตกข้อที่    ๘    แก่พระอนุรุทธะ

ผู้ตรึกมหาปุริสวิตก   ๗   ประการอยู่   จึงตรัสอย่างนั้น   เหมือนให้

ขุมทรัพย์ที่  ๘   แก่บุรุษผู้ได้ขุมทรัพย์  ๗ ขุม  และเหมือนให้ขุมทรัพย์

ที่  ๘   แก่บุรุษผู้ได้แก้วมณี  ๗  ช้างแก้ว  ๗   ม้าแก้ว   ๗.  บทว่า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 469

นิปฺปปญฺจารามสฺส    ความว่า  ผู้ยินดียิ่งในบท   คือนิพพาน  กล่าว

คือธรรมที่ปราศจากความเนิ่นช้า   เพราะเว้นจากธรรมเครื่องเนิ่นช้า

คือ   ตัณหา   มานะ   และทิฏฐิ.   คำนอกนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า

นิปฺปปญฺจารามสฺส    นั้นนั่นแหละ.  บทว่า   ปญฺจารามสฺส   ได้แก่

ผู้ยินดียิ่งในธรรมเครื่องเนิ่นช้าตามที่กล่าวแล้ว.    คำนอกนี้เป็น

ไวพจน์ของบทว่า   ปปญฺจารามสฺส   นั้นนั่นแหละ.

บทว่า   ยโต   แปลว่า   ในกาลใด.  บทว่า  ตโต   แปลว่า

ในกาลนั้น.   บทว่า    นานารตฺตาน  ความว่า   ย้อมแล้วด้วยเครื่องย้อม

ต่าง ๆ  อันมีสีเขียง  สีเหลือง  สีแดง   และสีขาว.   บทว่า   ปสุกูลจีวร

ได้แก่   ผ้าบังสุกุลที่  (ตั้ง) อยู่ใน   ๒๓  เขต.   บทว่า   ยายิสฺสติ  ความว่า

เมื่อคฤหบดีนั้นห่มผ้าที่ตนเปรารถนาในสมัยมีเวลาเช้าเป็นต้น    หีบ

ใส่ผ้านั้นย่อมปรากฏเป็นของน่าพอใจ    ฉันใด   แม้เมื่อเธอยินดีอยู่

ด้วยมหาอริยวงศ์   คือสันโดษด้วยจีวร    ผ้าบังสุกุลจีวรจักปรากฏ

คือ  จักเข้าไปปรากฏ  ฉันนั้น.  บทว่า  รติยา   แปลว่า  เพื่อประโยชน์

แก่ความยินดี.  บทว่า   อปริตสฺสาย  ได้แก่   เพื่อประโยชน์แก่ความ

ได้สะดุ้งเพราะตัณหาและทิฏฐิ.   บทว่า  ผาสุวิหาราย   ได้แก่   เพื่อ

ความอยู่เป็นสุข. บทว่า โอกฺกมนาย  นิพฺพานสฺส ได้แก่ เพื่อต้องการ

หยั่งลงสู่อมตนิพพาน.

บทว่า  ปิณฺฑิยาโลปโภชน   ได้แก่   โภชนะ   คือคำข้าวที่ตน

อาศัยกำลังแข้งเที่ยวไปตามลำดับ   เรือน  ในคาม  นิคม   และราชธานี

ได้มา.   บทว่า   ขายิสฺสติ   ความว่า   จักปรากฏเหมือนโภชนะมีรสเลิศ

ต่าง   ๆ   ของคฤหบดีนั้น.    บทว่า    สนฺตุฏฺสฺส     วิหรโต    ความว่า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 470

ผู้สันโดษอยู่ด้วยมหาอริยวงศ์   คือความสันโดษด้วยบิณฑบาต.  บทว่า

รุกฺขมูลเสนาสน   ขายิสฺสติ    ความว่า   เสนาสนะ   คือโคนไม้  ย่อม

ปรากฏเหมือนเรือนยอดที่หอมตลบไปด้วยธูปหอมและเครื่องอบ

กลิ่นดอกไม้บนปราสาท  ๓  ชั้น ของคฤหบดีนั้น. บทว่า  สนฺตุฏฺสฺส

ได้แก่   สันโดษด้วยมหาอริยวงค์   คือ   ความสันโดษด้วยเสนาสนะ.

บทว่า     ติณสนฺถรโก   ได้แก่   เครื่องลาดที่ลาดด้วยหญ้าหรือไม้

ที่พื้นดินหรือที่แผ่นกระดานและแผ่นหินอย่างหนึ่ง.

บทว่า  ปูติมุตฺต  ความว่า  มูตรอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ที่ถือเอา

ในขณะนั้น   ท่านก็เรียกว่า    มูตรเน่าเหมือนกัน   เพราะมีกลิ่นเหม็น.

บทว่า  สนฺตุฏฺสฺส    วิหรโต  ได้แก่   ผู้สันโดษด้วยความสันโดษด้วย

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร.   ดังนั้น    พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง

ตรัสพระกรรมฐานใส่ไว้ในพระอรหัตในฐานะ  ๔   เมื่อทรงรำพึงว่า

กรรมฐานจักเป็นสัปปายะแก่อนุรุทธะผู้อยู่ในเสนาสนะไหนหนอ

ทรงทราบว่า   อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ   จึงตรัสคำมีอาทิว่า  เตนหิ  ตฺว

อนุรุทฺธ   ดังนี้.

บทว่า   ปวิวิตฺตสฺส   วิหรโต   ความว่า   ผู้สงัดด้วยวิเวก  ๓  อยู่

บทว่า   อุยฺโยชนิกปฏิสยุตฺต      ความว่า    อันเกี่ยวด้วยถ้อยคำอันควรแก่

การส่งกลับไป.   อธิบายว่า   กิริยาที่ลุกขึ้นและกิริยาที่เดินไปของคน

เหล่านั้นนั่นแหละ. บทว่า  ปปญฺจนิโรเธ  ได้แก่   ในบทคือพระนิพพาน.

บทว่า  ปกฺขนฺทติ   ความว่า   ย่อมแล่นไปด้วยสามารถแห่งการทำ

ให้เป็นอารมณ์.   แม้ในบทว่า  ปสีทติ  เป็นต้น  พึงทราบความเลื่อมใส

ความตั้งมั่น    และความหลุดพ้น   ด้วยสามารถแห่งอารมณ์นั่นแหละ.


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 471

ดังนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้า   เมื่อตรัสมหาปุริสวิตก  ๘  ข้อ  แก่ท่าน

พระอนุรุทธะ  ณ  ปาจีนวังสทายวันในเจติรัฐ  ประทับนั่งที่เภสกฬาวัน-

มหาวิหาร  จึงตรัสโดยพิสดารอีกแก่ภิกษุสงฆ์.

บทว่า    มโนมเยน    ความว่า    กายที่บังเกิดด้วยใจก็ดี   ที่ไป

ด้วยใจก็ดี    เรียกว่า    มโนมยะ    สำเร็จแล้วด้วยใจ.    แต่ในที่นี้ทรง

หมายเอากายที่ไปด้วยใจ    จึงตรัสอย่างนี้.    บทว่า    ยถา    เม    อหุ

สงฺกปฺโป     ความว่า     เราได้มีความตรึกโดยประการใด.    บทว่า

ตโต     อุตฺตริ     ความว่า    พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงมหาปุริสวิตก

๘    ประการ    จึงแสดงให้ยิ่งกว่านั้น.    คำที่เหลือทั้งหมดมีอรรถง่าย

ดังนั้นแล.

จบ   อรรถกถาอนุรุทธสูตรที่  ๑๐

 

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้  คือ

๑.  อุคคสูตรที่  ๑      ๒.  อุคคสูตรที่  ๒     ๓.  หัตถสูตรที่  ๑

๔.  หัตถสูตรที่  ๒   ๕.  มหานามสูตร  ๖.  ชีวกสูตร  ๗.  พลสูตรที่  ๑

๘.  พลสูตรที่  ๒   ๙.  อักขณสูตร   ๑๐.  อนุรุทธาสูตร.  และอรรถกถา

จบ  คหปติวรรคที่  ๓


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 472

ทานวรรคที่  ๔

๑.  ปฐมทานสูตร

[๑๒๑]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ทาน  ๘  ประการนี้  ๘  ประการ

เป็นไฉน คือ บางคนหวังได้จึงให้ทาน ๑ บางคนให้ทานเพราะกลัว ๑

บางคนให้ทานเพราะนึกว่า    เขาให้แก่เราแล้ว   ๑  บางคนให้ทาน

เพราะนึกว่า    เขาจักให้ตอบแทน   ๑  บางคนให้ทานเพราะนึกว่า

ทานเป็นการดี    ๑   บางคนให้ทานเพราะนึกว่า   เราหุงหากิน   ชน

เหล่านี้หุงหากินไม่ได้  ๑  เราหุงหากินได้    จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้

ผู้ไม่หุงหากินไม่สมควร ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่า  เมื่อเราให้ทาน

กิตติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป   ๑    บางคนให้ทานเพื่อประดับปรุงแต่

จิต  ๑  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ทาน ๘ ประการนี้แล.

จบ  ปฐมทานสูตรที่  ๑

 

อรรถกถาปฐมทานสูตรที่  ๑

วรรคที่  ๔ ปฐมทานสูตรที่  ๑  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า  อาสชฺช  ทาน  เทติ  ความว่า  บุคคลบางคน  ให้ทาน

เพราะประจวบเข้า  คือพอเห็นปฏิคาหกมาถึง  นิมนต์ให้ท่านนั่งครู่หนึ่ง

กระทำสักการะแล้วจึงให้ทาน   ย่อมไม่ลำบากใจว่า   จักให้.   บทว่า

 


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 473

ภยา    ได้แก่    เพราะกลัวครหาว่าเป็นผู้ไม่ให้เป็นผู้ไม่ทำ  หรือ

เพราะกลัวอบายภูมิ.    บทว่า   อทาสิ  เม  ความว่า   ให้ด้วยคิดว่า

ผู้นี้ได้ให้สิ่งชื่อนี้แก่เราในกาลก่อน.  บทว่า   ทสฺสติ   เม  ความว่า

ให้ด้วยคิดว่า  ผู้นี้จักให้สิ่งชื่อนี้แก่เราในอนาคต. บทว่า สาหุ ทาน

ความว่า   ให้ด้วยคิดว่า   ขึ้นชื่อว่าทานยังประโยชน์ให้สำเร็จ  คือดี

ได้แก่อันบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว.    บทว่า

จิตฺตาลงฺการจิตฺตปริกฺขารตฺถ  ทาน  เทต  ความว่า ให้เพื่อประดับ

และตกแต่งจิตในสมถะและวิปัสสนา.    เพราะว่าทานย่อมทำจิตให้

อ่อนโยน    บุคคลผู้ได้รับทาน  ย่อมมีจิตอ่อนโยนดีว่าเราได้แล้ว

แม้บุคคลให้ทานนั้น    ก็ย่อมมีจิตอ่อนโยนว่า    เราให้ทานแล้ว.

เพราะฉะนั้น   ทานนั้นชื่อว่า   ย่อมทำจิตของบุคคลทั้ง  ๒ ฝ่ายให้

อ่อนโยน  เพราะเหตุนั้นนั่นแล.  ท่านจึงตรัสว่า  อทนฺตทมน  การฝึกจิต

ที่ยังไม่ได้ฝึก   ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า.

อทนฺตทมน  ทาน      อทาน   ทนฺตทูสก

อเนน  ปิยวาเจน              โอณมนฺติ   มนมฺติ  จ.

การให้ทานเป็นเครื่องฝึกจิตที่ยังไม่ได้ฝึก

การไม่ให้ทานเป็นเครื่องประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว

ชนทั้งหลายมีจิตโอนอ่อน   และน้อมลงด้วยปิย-

วาจานี้.

ก็บรรดาการให้ทาน  ๘  ประการนี้   การให้เพื่อประดับจิต

เท่านั้น เป็นสูงสุดแล.

จบ  อรรถกถาปฐมทานสูตรที่  ๑


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 474

๒.  ทุติยทานสูตร

[๑๒๒]     ธรรม   ๓   ประการนี้    คือ    การให้ทานด้วย

ศรัทธา  ๑  การให้ทานด้วยหิริ  ๑  การให้ทานอันหา

โทษมิได้  ๑   เป็นไปตามสัปบุรุษ    บัณฑิตกล่าว

ธรรม  ๓  ประการนี้ว่า  เป็นทางไปสู่ไตรทิพย์  ชน

ทั้งหลายย่อมไปสู่เทวโลกด้วยทางนี้แล.

จบ  ทานสูตรที่  ๒

 

อรรถกถาทุติยทานสูตรที่   ๒

ทุติยทานสูตรที่  ๒  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บุคคลย่อมให้ทานด้วยศรัทธาใด  ศรัทธานั้นท่านประสงค์

เอาว่าศรัทธา.    บุคคลย่อมให้ทานด้วยหิริใด   หิรินั้นท่านประสงค์

เอาว่า  หิริ.  บทว่า  กุสลญฺจ ทาน ได้แก่ ทานที่หาโทษมิได้.  บทว่า

ทิวิย  ได้แก่  เป็นทางไปสู่สวรรค์.

จบ  อรรถกถาทุติยทานสูตรที่  ๒


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 475

๓.  ทานวัตถุสูตร

[๑๒๓]   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ทานวัตถุ  ๘   ประการนี้  ๘

ประการเป็นไฉน  คือ  บางคนให้ทานเพราะชอบพอกัน  ๑ บางคน

ให้ทานเพราะโกรธ   ๑   บางคนให้ทานเพราะหลง   ๑  บางคนให้ทาน

เพราะกลัว    ๑   บางคนให้ทานเพราะนึกว่าบิดา   มารดา   ปู่     ย่า

ตา     ยาย     เคยให้มา     เคยทำมา     เราไม่ควรให้เสียวงค์ตระกูล

ดั้งเดิม   ๑  บางคนให้ทานเพราะนึกว่า  เราให้ทานแล้ว  เมื่อตายไป

จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์   ๑    บางคนให้ทานเพราะนึกว่า    เมื่อเรา

ให้ทานนี้   จิตใจย่อมเลื่อมใส   ความเบิกบานใจ  ความดีใจ  ย่อมเกิด

ตามลำดับ  ๑  บางคนให้ทานเพื่อประดับปรุงแต่งจิต  ๑  ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย  ทานวัตถุ  ๘ ประการนี้แล.

จบ  ทานสูตรที่  ๓

 

อรรถกถาทานวัตถุสูตรที่  ๓

ทานวัตถุสูตรที่  ๓  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า    ทานวตฺถูนิ   ได้แก่   เหตุแห่งการให้ทาน.  บทว่า

ฉนฺทา   ทาน   เทติ    ความว่า   บุคคลไห้ทานเพราะความรัก.  บทว่า

โทสา   ความว่า   เป็นผู้โกรธแล้ว  สิ่งใดมีอยู่รีบหยิบเอาสิ่งนั้นให้ไป

เพราะโทสะ.  บทว่า  โมเหน   ความว่า  เป็นผู้หลงให้ไปเพราะโมหะ.

บทว่า   ภยา  ความว่า   เพราะกลัวครหา    หรือเพราะกลัวอบายภูมิ

ก็หรือว่าเพราะกลัวครหาและอบายภูมินั้นนั่นแหละจึงให้ไป. บทว่า

กุลวส  แก่เป็นประเพณีของตระกูล.

จบ  อรรถกถาทานวัตถุสูตรที่  ๓


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 476

๔.  เขตตสูตร

[๑๒๔]   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   พืชที่หว่านลงในนาอันประกอบ

ด้วยองค์    ๘   ประการ  ไม่มีผลมาก  ไม่มีความดีใจมาก  ไม่มีความ

เจริญมาก   นาประกอบด้วยองค์   ๘   ประการอย่างไร   ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย  นาในโลกนี้  เป็นที่ลุ่ม ๆ ดอน  ๆ  ๑  เป็นที่ปนหินปนกรวด ๑

เป็นที่ดินเค็ม   ๑   เป็นที่ไถลงลึกไม่ได้  ๑   เป็นที่ไม่มีทางน้ำเข้า   ๑

เป็นที่ไม่มีทางน้ำออก   ๑   เป็นที่ไม่มีเหมือง   ๑   เป็นที่ไม่มีคันนา   ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    พืชที่หว่านลงในนาอันประกอบด้วยองค์     ๘

ประการอย่างนี้   ไม่มีผลมาก   ไม่มีความดีใจมาก   ไม่มีความเจริญ

มาก    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ฉันนั้นเหมือนกันแล   ทานที่บุคคลให้ใน

สมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์  ๘  ประการ  ไม่มีผลมาก  ไม่มี

อานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรื่องมาก ไม่เจริญแพร่หลายมาก สมณพราหมณ์

ประกอบด้วยองค์   ๘   ประการอย่างไร   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  สมณ-

พราหมณ์ในโลกนี้  เป็นมิจฉาทิฏฐิ  ๑  เป็นมิจฉาสังกัปปะ  ๑   เป็น

มิจฉาวาจา  ๑  เป็นมิจฉากัมมัมตะ ๑   เป็นมิจฉาอาชีวะ  ๑  เป็นมิจฉา

วายามะ  ๑  เป็นมิจฉาสติ  ๑  เป็นมิจฉาสมาธิ  ๑  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ประกอบด้วยองค์    ๘    ประการ

อย่างนี้   ไม่มีผลมาก   ไม่มีอานิสงส์มาก    ไม่รุ่งเรืองมาก   ไม่เจริญ

แพร่หลายมาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ส่วนพืชที่บุคคลหว่านลงในนาอันประกอบ

ด้วยองค์  ๘  ประการ  มีผลมาก  มีความดีใจมาก  มีความเจริญมาก


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 477

นาประกอบด้วยองค์   ๘  ประการอย่างไร   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นาในโลกนี้ไม่เป็นที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ  ๑  ไม่เป็นที่ปนหินปนกรวด  ๑

ไม่เป็นที่ดินเค็ม  ๑  เป็นที่ไถลงลึกได้  ๑  เป็นที่มีทางน้ำเข้าได้  ๑

เป็นที่มีทางน้ำออกได้  ๑  เป็นที่มีเหมือง  ๑  เป็นที่มีคันนา  ๑  ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย  พืชที่หว่านลงในนาอันประกอบด้วยองค์  ๘  ประการ

อย่างนี้  ย่อมมีผลมาก  มีความดีใจมาก  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ฉันนั้น

เหมือนกัน  ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์  ๘

ประการ  ย่อมมีผลมาก   มีอานิสงส์มาก   มีความรุ่งเรืองมาก  มีความ

เจริญแพร่หลายมาก  สมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์  ๘  ประการ

อย่างไร   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    สมณพราหมณ์ในโลกนี้    เป็นสัมมา-

ทิฏฐิ ๑ เป็นสัมมาสังกัปปะ ๑ เป็นสัมมาวาจา ๑ เป็นสัมมากัมมันตะ ๑

เป็นสัมมาอาชีวะ   ๑   เป็นสัมมาวายามะ   ๑   เป็นสัมมาสติ   ๑   เป็น

สัมมาสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์

ผู้ประกอบด้วยองค์  ๘  ประการอย่างนี้   ย่อมมีผลมาก    มีอานิสงส์

มาก  มีความรุ่งเรืองมาก  มีความเจริญแพร่หลายมาก  ฉะนี้.

พืชอันหว่านลงในนาที่สมบูรณ์  เมื่อฝนตก

ต้องตามฤดูกาล   ธัญชาติย่อมงอกงาม     ไม่มีศัตรู

พืช   ย่อมแตกงอกงาม   ถึงความไพบูลย์ให้ผลเต็ม

ที่   ฉันใด  โภชนะที่บุคคลถวายในสมณพราหมณ์

ผู้มีศีลสมบูรณ์   ก็ฉันนั้น   ย่อมนำมาซึ่งบุคคลอัน

สมบูรณ์        เพราะกรรมที่เขาทำนั้นสมบูรณ์แล้ว

เพราะฉะนั้นบุคคลในโลกนี้ผู้หวังกุศลสัมปทา


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 478

จงเป็นผู้มีประโยชน์ถึงพร้อม  พึงคบหาท่านผู้มี

ปัญญาสมบูรณ์     บุญสัมปทา      ย่อมสำเร็จได้

อย่างนี้   ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ได้

จิตสัมปทาแล้ว กระทำกรรมให้สมบูรณ์ ย่อมได้

ผลบริบูรณ์  รู้โลกนี้ตามเป็นจริงแล้ว พึงถึงทิฏฐิ

สัมปทา  อาศัยมรรคสัมปทา  มีใจบริบูรณ์  ย่อม

บรรลุอรหัต    เพราะกำจัดมลทินทั้งปวงได้แล้ว

บรรลุนิพพานสัมปทาได้แล้ว    ย่อมหลุดพ้นจาก

ทุกข์ทั้งปวง      การหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น

จัดเป็นสรรพสัมปทา.

จบ   เขตตสูตรที่  ๔

 

อรรถกถาเขตตสูตรที่  ๔

เขตตสูตรที่  ๔  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า   น  มหปฺผล  โหติ  ความว่า   ไม่มีผลมากด้วยผลแห่ง

ธัญพืช.   บทว่า   น  มหาสฺสาท   ความว่า    ความยินดีต่อผลธัญพืชนั้น

มีไม่มาก   คือมีความยินดีน้อยไม่อร่อย.  บทว่า   น  ผาติเสยฺย   ความว่า

ธัญพืชนั้นย่อมไม่เจริญงอกงาม   อธิบายว่า     ธัญพืชนั้นจะเจริญคือ

มีลำต้นคอยค้ำรองเข้าที่ใหญ่ก็หามิได้.    บทว่า   อนฺนามินินฺนามิ

ได้แก่  พื้นที่ไม่สม่ำเสมอ   เพราะดอนและลุ่ม.   ในที่เหล่านั้น ที่ดอน

ไม่มีน้ำขังอยู่ที่ลุ่มมีน้ำขังมากเกินไป.  บทว่า   ปาสาณสกฺขริลฺล

ความว่า   ประกอบด้วยหลังแผ่นหินลาดตั้งอยู่   และกรวดก้อนเล็ก


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 479

ก้อนใหญ่.  บทว่า   อูสร   ได้แก่   น้ำเค็ม.   บทว่า  น  จ   คมฺภีรสิต

ความว่า   ไม่สามารถจะไถให้คลองไถลงไปลึกได้เพราะพื้นที่แข็ง

คือเป็นคลองไถตื้น ๆ   เท่านั้น.   บทว่า   น  อายสมฺปนฺน   ได้แก่

ไม่สมบูรณ์ด้วยทางน้ำไหลออกในด้านหลัง.   บทว่า   น  มาติกา-

สมฺปนฺน   ความว่า   ไม่สมบูรณ์ด้วยเหมืองน้ำขาดเล็กและขนาดใหญ่.

บทว่า   น  มริยาทสมฺปนฺน    ความว่า     ไม่สมบูรณ์ด้วยคันนา.  บท

ทั้งหมดมีอาทิว่า   น    มหปฺผล    พึงทราบด้วยสามารถเผล็ดผลนั่นเอง.

บทว่า   สมฺปนฺเน   ได้แก่    บริบูรณ์  คือประกอบด้วยคุณสมบัติ

บทว่า   ปวุตฺตา    พีชสมฺปทา     ได้แก่  พืชที่ปลูกสมบูรณ์.    บทว่า

เทเว    สมฺปาทยนฺตมฺหิ  ความว่า    เมื่อฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล

บทว่า    อนีติสมฺปทา    โหติ    ความว่า    ความไม่มีภัยจากสัตว์เล็ก  ๆ

มีตั๊กแตนและหนอนเป็นต้น    เป็นความสมบูรณ์เป็นเอก.     บทว่า

วิรุฬฺหิ    ความว่า   ความงอกงามเป็นความสมบูรณ์อันดับ    ๒  บทว่า

เวปุลฺล    ความว่า    ความไพบูลย์เป็นความสมบูรณ์อันดับ   ๓  บทว่า

ผล   ความว่า  ผลแห่งธัญพืชที่บริบูรณ์   เป็นความสมบูรณ์อันดับ  ๔.

บทว่า   สมฺปนฺนสีเลสุ   ได้แก่    สมณพราหมณ์ผู้มีศีลบริบูรณ์

บทว่า   โภชนสมฺปทา   ได้แก่   โภชนะ   ๕   อย่างที่สมบูรณ์.   บทว่า

สมฺปทาน   ได้แก่    กุศลสัมปทา  ๓   อย่าง.    บทว่า   อุปเนติ   ได้แก่

โภชนสัมปทานั้นนำเข้าไป.    เพราะเหตุไร ?   เพราะกิจกรรมที่ผู้นั้น

ทำแล้วสมบูรณ์   อธิบายว่า  เพราะกิจกรรมที่เขาทำแล้วนั้นสมบูรณ์

คือบริบูรณ์.   บทว่า  สมฺปนฺนตฺถูธ   ตัดบทเป็น  สมฺปนฺโน  อตฺถุ  อิธ,

แปลว่า   จงเป็นผู้สมบูรณ์ในกุศลสัมปทานี้.   บทว่า   วิชฺชาจรณ-

 

 


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 480

สมฺปนฺโน   ความว่า  ประกอบด้วยวิชชา   ๓   และจรณะธรรม  ๑๕.

บทว่า  ลทฺธา    ความว่า  บุคคลเห็นปานนี้  ได้ความสมบูรณ์  คือความ

ไม่บกพร่อง  ได้แก่ความบริบูรณ์แห่งจิต.  บทว่า  กโรติ  กมฺมสมฺปท

ได้แก่   ทำกรรมให้บริบูรณ์.    บทว่า    ลภติ   จตฺถสมฺปท   ได้แก่

ได้ประโยชน์บริบูรณ์.  บทว่า  ทิฏฺิสมปท  ได้แก่  ทิฏฐิในวิปัสสนา.

บทว่า   มคฺคสมฺปท   ได้แก่    โสดาปัตติมรรค.    บทว่า   ยาติ  สมฺปนฺน-

มานโส    ความว่า   เป็นผู้มีจิตบริบูรณ์ถึงพระอรหัต.   บทว่า   สา  โหติ

สพฺพสมฺปทา   ความว่า    ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น    ชื่อว่า

เป็นความถึงพร้อมทุกอย่าง.

จบ  อรรถกถาเขตตสูตรที่  ๔


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 481

๕.   ทานูปปัตติสูตร

[๑๒๕]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน  ๘  ประการ

นี้   ๘   ประการเป็นไฉน   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บุคคลบางคนในโลกนี้

ให้ทาน  คือ  ข้าว  น้ำ  ผ้า  ยาน  ดอกไม้  ของหอม  เครื่องลูบไล้  ที่นอน

ที่พัก      และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์      เขาให้สิ่งใด

ย่อมหวั่งสิ่งนั้น   เขาเห็นกษัตริย์มหาศาล   พราหมณ์มหาศาล    หรือ

คฤหบดีมหาศาล    ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณ     ๕

เขามีความปรารถนาอย่างนี้ว่า  โอหนอ  เมื่อตายไป  ขอเราพึงเข้าถึง

ความเป็นสหายของกษัตริย์มหาศาล    พราหมณ์มหาศาล   หรือ-

คฤหบดีมหาศาล   เขาตั้งจิตอธิษฐาน   นึกภาวนาอยู่  จิตของเขานึก

น้อมไปในทางเลว   ไม่เจริญยิ่งขึ้น   เมื่อตายไป   เข้าย่อมเข้าถึงความ

เป็นสหายของกษัตริย์มหาศาล     พราหมณ์มหาศาล     หรือคฤหบดี-

มหาศาล    แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็นของมีศีล    ไม่ใช่ของผู้ทุศีล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ความปรารถนาแห่งใจของบุคคลผู้มีศีล  ย่อม

สำเร็จได้เพราะจิตบริสุทธิ์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้   ย่อมให้ทาน

คือ   ข้าว  น้ำ...  เครื่องประทีป    แก่สมณะหรือพราหมณ์   เขาให้ส่งใด

ย่อมหวังสิ่งนั้น    เขาได้สดับมาว่า    เทวดาชั้นจาตุมมหาราชมีอายุยืน

มีผิวพรรณงาม    มีความสุขมาก    เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า

โอหนอ     เมื่อตายไป    ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น

จาตุมมหาราช    เขาตั้งจิตอธิษฐาน   นึกภาวนาอยู่   จิตของเขานึก


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 482

น้อมไปในทางที่เลว    ไม่เจริญยิ่งขึ้น    เมื่อตายไป    เขาเข้าถึงความ

เป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช   แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็น

ของมีศีล  ไม่ใช่ของทุศีล   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ความปรารถนา

แห่งใจของบุคคลผู้มีศีล  ย่อมสำเร็จได้เพราะจิตบริสุทธิ์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้   ย่อมให้ทาน

คือ  ข้าว  น้ำ...  เครื่องประทีป  แก่สมณะหรือพราหมณ์  เขาให้สิ่งใด

ย่อมหวังสิ่งนั้น   เขาได้สดับมาว่า   เทวดาชั้นดาวดึงส์...   ชั้นยามา...

ชั้นดุสิต...    ชั้นนิมนานรดี...   ชั้นปรนิมมิตววัตตี    มีอายุยืน    มี

ผิวพรรณงาม    มีความสุขมาก    เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า

โอหนอ    เมื่อตายไป    ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น

ปรนิมมิตวสวัตตี    เขาตั้งจิตอธิษฐาน    นึกภาวนาอยู่    จิตของเขา

นึกน้อมไปในทางเลว   ไม่เจริญยิ่งขึ้น   เมื่อตายไป   เขาเข้าถึงความ

เป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี      แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็น

ของผู้มีศีล   ไม่ใช่ของผู้ทุศีล    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ความปรารถนา

แห่งใจของคนผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะจิตบริสุทธิ์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้  ให้ทาน  คือ

ข้าว   น้ำ...   เครื่องประทีป    แก่สมณะหรือพราหมณ์   เขาให้สิ่งใด

ย่อมหวังสิ่งนั้น   เขาได้สดับมาว่า    เทวดาชั้นพรหม    มีอายุยืน   มี

ผิวพรรณงาม   มีสุขมาก  เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า  โอหนอ

เมื่อตายไป    ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม    เขาตั้งจิต

อธิษฐาน  นึกภาวนาอยู่  จิตของเขานึกน้อมไปในทางที่เลว  ไม่เจริญ

ยิ่งขึ้น   เมื่อตายไป   เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม   แต่ข้อนั้น


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 483

เรากล่าวว่า    เป็นของผู้มีศีล    มิใช่ของผู้ทุศีล    ของผู้ปราศจากราคะ

ไม่ใช่ของผู้มีราคะ    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     ความปรารถนาแห่งใจ

ของบุคคลผู้ศีล     ย่อมสำเร็จได้เพราะจิตปราศจากราคะ     ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน   ๘  ประการนี้แล.

จบ  ทานูปปัตติสูตรที่  ๕

 

อรรถกถาทานูปปัตติสูตรที่ ๕

ทานูปปัตติสูตรที่   ๕  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า  ทานูปปฺติโย  ได้แก่   อุปบัติมีทานเป็นปัจจัย.  บทว่า

ปทหติ    แปลว่า  ตั้งไว้.   บทว่า   อธิฏฺาติ  เป็นไวพจน์ของคำว่า

ปทหติ  นั่นเอง.  บทว่า  ภาเวติ  แปลว่า  ให้เจริญ.  บทว่า  หีเนธิมุตฺต

ได้แก่  น้อมไปในฝ่ายต่ำคือกามคุณ  ๕.  บทว่า  อุตฺตรึ   อภาวิต ได้แก่

มิได้อบรมเพื่อประโยชน์แก่มรรคและผลชั้นสูงกว่านั้น.    บทว่า

ตตฺถูปปตฺติยา    สวตฺตติ  ความว่า   ย่อมเป็นไปเพื่อต้องการบังเกิด

ในฐานะที่ตนปรารถนาแล้วทำกุศล.

บทว่า  วีตราคสฺส  ได้แก่   ผู้ถอนราคะด้วยมรรค    หรือผู้ข่ม

ราคะด้วยสมาบัติ.     จริงอยู่     เพียงทานเท่านั้นไม่สามารถจะบังเกิด

ในพรหมโลกได้    แต่ทานย่อมเป็นเครื่องประดับแวดล้อมของจิต

ประกอบด้วยสมาธิและวิปัสสนา     แต่นั้นบุคคลผู้มีจิตอ่อนด้วย

การให้ทาน    เจริญพรหมวิหารบังเกิดในพรหมโลก    ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า   วีตราคสฺส  โน  สราคสฺส    ดังนี้.

จบ    อรรถกถาทานูปปัตติสูตรที่  ๕


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 484

๖. บุญกิริยาวัตถุสูตร

[๑๒๖]   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   บุญกิริยาวัตถุ  ๓  ประการนี้

๓  ประการเป็นไฉน  คือ  บุญกิริยาวัตถุสำเร็จแล้วทาน  ๑   บุญกิริยา

วัตถุสำเร็จด้วยศีล   ๑   บุญกิริยาวัตถุสำาเร็จด้วยภาวนา        ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย   บุคคลบางคนในโลกนี้   ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย

ทานนิดหน่อย    ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลนิดหน่อย    ไม่เจริญ

บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย    เมื่อตายไป    เขาเข้าถึงความ

เป็นผู้มีส่วนชั่วในมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   บุคคลบางคนในโลกนี้  ทำบุญกิริยาวัตถุ

ที่สำเร็จด้วยทานพอประมาณ       ทำบุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีลพอ

ประมาณ  ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย   เมื่อตายไป

เขาเข้าถึงความเป็นผู้มีส่วนดีในมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    บุคคลบางคนในโลกนี้    ทำบุญกิริยา

วัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง    ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย

ศีลมีประมาณยิ่ง    ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย

เมื่อตายไป     เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   มหาราชทั้ง  ๔  ในชั้นนั้น   ทำบุญกิริยาวัตถุที่

สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก     ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็น

อดิเรก  ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นจาตุมมหาราชโดยฐานะ  ๑๐ ประการ

คือ  อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์  ยศทิพย์  อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์

เสียงทิพย์  กลิ่นทิพย์  รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์.


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 485

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยา

วัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง     ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จ

ด้วยศีลมีประมาณยิ่ง     ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนา

เลย  เมื่อตายไป  เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ท้าวสักกะจอมเทพในชั้นดาวดึงส์นั้น กระทำ

บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก     ทำบุญกิริยาวัตถุที่

สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก      ย่อมก้าวล่วงพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์โดย

ฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯ  โผฏฐัพพทิพย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    บุคคลบางคนในโลกนี้    ทำบุญกิริยา

วัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง   ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล

มีประมาณยิ่ง    ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย    เมื่อ

ตายไป    เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา    ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย    ท้าวสุยามเทพบุตรในชั้นยามานั้น    ทำบุญกิริยาวัตถุที่

สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก      ทำบุญกิริยาที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก

ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นยามาโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ  อายุทิพย์ ฯลฯ

โผฏฐัพพทิพย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    บุคคลบางคนในโลกนี้    ทำบุญกิริยา

วัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง    ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย

ศีลมีประมาณยิ่ง   ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย

เมื่อตายไป    เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต    ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย    ท้าวสันดุสิตเทพบุตรในชั้นดุสิตนั้น   ทำบุญกิริยา

วัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก    ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 486

เป็นอดิเรก  ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นดุสิตโดยฐานะ  ๑๐ ประการ คือ

อายุทิพย์   ฯลฯ   โผฏฐัพพทิพย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บุคคลบางคนในโลกนี้  ทำบุญกิริยาวัตถุ

ที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก     ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็น

อดิเรก    ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย    เมื่อตายไป

เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี       ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย    ท้าวสุนิมมิตเทพบุตรไม่ชั้นนิมมานรดีนั้น    ทำบุญกิริยา

วัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก     ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล

เป็นอดิเรก  ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นนิมมานรดีโดยฐานะ  ๑๐ ประการ

คือ อายุทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพทิพย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    บุคคลบางคนในโลกนี้    ทำบุญกิริยา

วัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง     ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จ

ด้วยศีลมีประมาณยิ่ง    ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย

เมื่อตายไป    เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตสวัตตี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ท้าวปรมิมมิตวสวัตตีเทพบุตรในชั้นปรนิม-

มิตวสวัตตีนั้น  ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก  ทำบุญ

กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก  ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นปรนิม-

มิตวสวัตตีนั้นโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์

ยศทิพย์   อธิปไตยทิพย์    รูปทิพย์   เตียงทิพย์   กลิ่นทิพย์   รสทิพย์

โผฏฐัพพทิพย์  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้แล.

จบ  บุญกิริยาวัตถุสูตรที่  ๖


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 487

อรรถกถาบุญกิริยาวัตถุสูตรที่  ๖

บุญกิริยาวัตถุสูตรที่  ๖  มิวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

การทำบุญนั้นด้วย   เป็นที่ตั้งแห่งอานิสงส์นั้น ๆ ด้วย  เพราะ

ฉะนั้น   จึงชื่อว่า  บุญกิริยาวัตถุ.   จริงอยู่   สัตว์ทั้งหลายตั้งจิตไว้

ในลักษณะแห่งทานเป็นต้น  แล้วคิดว่า  ชื่อว่า  ทานเห็นปานนี้พวกเรา

ควรให้  ควรรักษาศีล   ควรเจริญภาวนา   ดังนี้แล้วจึงทำบุญ.   ทาน

นั้นแหละ  ชื่อว่า  ทานมัย   อีกอย่างหนึ่ง  บรรดาทานเจตนา  สันนิฏ-

ฐาปกเจตนา    อันสำเร็จมาแต่เจตนาที่ตกลงใจ    เจตนาดวงแรกชื่อว่า

ทานมัย     เหมือนวัตถุที่สำเร็จมาแต่แป้งเป็นต้นก็สำเร็จด้วยแป้ง

เป็นต้นฉะนั้น.  แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า    ปริตฺต   กต   โหติ    ความว่า   เป็นอันเขากระทำน้อย

คือนิดหน่อย.  บทว่า  นาภิสมฺโภติ   แปลว่า  ย่อมไม่สำเร็จผล.  บทว่า

อกต   โหติ   ความว่า    ไม่ได้เริ่มความเพียรในภาวนาเลย.    บทว่า

มนุสฺสโทภคฺย   ได้แก่   ตระกูลต่ำ   ๕  ตระกูลอันเว้นจากสมบัติใน

มนุษย์ทั้งหลาย.   บทว่า   อุปฺปชฺชติ   ได้แก่  ย่อมเข้าถึงด้วยอำนาจ

ปฏิสนธิ  อธิบายว่า  เกิดในตระกูลต่ำนั้น.  บทว่า  มตฺตโส  กต ได้แก่

กระทำ   คือไม่น้อยไม่มาก.   บทว่า   มนุสฺสโสภคฺย  ได้แก่   สมบัติ

แห่งตระกูล  ๓   ตระกูล   อันงามเลิศในมนุษย์.  บทว่า  อธิมตฺต  ได้แก่

ให้มีประมาณยิ่งหรือให้เข็มแข็ง.   บทว่า   อธิคณฺหนฺติ    ได้แก่   ยึดถือ

อธิบายว่า  เป็นผู้ประเสริฐกว่า   คือเจริญกว่า.

จบ  อรรถกถากิริยาวัตถุสูตรที่  ๖


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 488

๗.  ปฐมสัปปุริสสูตร

[๑๒๗]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   สัปปุริสทาน   ๘   ประการนี้

๘  ประการเป็นไฉน  คือ  ให้ของสะอาด   ๑  ให้ของประณีต  ๑ ให้

ตามกาล  ๑ ให้ของสมควร  ๑  เลือกให้  ๑ ให้เนืองนิตย์  ๑  เมื่อให้

จิตผ่องใส  ๑  ให้แล้วดีใจ  ๑  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   สัปปุริสทาน  ๘

ประการนี้แล.

สัปบุรุษย่อมให้ทาน   คือ  ข้าวและน้ำที่

สะอาด  ประณีตตามกาล  สมควร  เนืองนิตย์  ใน

ผู้ประพฤติพรหมจรรย์  ผู้เป็นเขตดี   บริจาคของ

มากแล้วก็ไม่รู้สึกเสียดาย   ทานผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง

ย่อมสรรเสริญทานที่สัปบุรุษให้แล้วอย่างนี้

เมธาวีบัณฑิตผู้มีศรัทธา  มีใจอันสละแล้ว บริจาค

ทานอย่างนี้แล้ว     ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความ

เบียดเบียนเป็นสุข.

จบ  สัปปุริสสูตรที่  ๗

 

อรรถกถาสัปปุริสทานสูตรที่ ๗

สัปปุริสทานสูตรนี้   ๗  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า   สุจึ  ได้แก่   ให้ของที่สะอาดคือที่บริสุทธิ์สดใส  บทว่า

ปณีต  ได้แก่  สมบูรณ์ดี.  บทว่า  กาเลน ได้แก่  สมควรแก่การประกอบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 489

ขวนขวาย.  บทว่า  กปฺปิย  ได้แก่   ให้แต่ของที่เป็นกัปปิยะ. บทว่า

วิเจยฺย  เทติ  ความว่า  เลือกปฏิคคาหก  หรือทานโดยตั้งใจให้อย่างนี้ว่า

ทานที่ให้แล้วแก่ผู้นี้  จักมีผลมาก   ที่ให้แก่ผู้นี้ไม่มีผลมาก   ดังนี้แล้วให้.

จบ  อรรถกถาปฐมสัปปุริสทานสูตรที่  ๗


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 490

๘.  ทุติยสัปปุริสสูตร

[๑๒๘]   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   สัปบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล

ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์   เพื่อเกื้อกูล   เพื่อความสุข   แก่ชนเป็นอันมาก

คือ ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล    เพื่อความสุขแก่มารดาบิดา  ๑

แก่บุตรภรรยา  ๑  แก่หมู่คนผู้เป็นทาสกรรมกร  ๑  แก่มิตรอำมาตย์   ๑

แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว    ๑  แก่พระราชา   ๑   แก่เทวดาทั้งหลาย    ๑

แก่สมณพราหมณ์  ๑  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  มหาเมฆเมื่อตกให้ข้าวกล้า

เจริญงอกงาม  ย่อมตกเพื่อประโยชน์  เพื่อเกื้อกูล   เพื่อความสุขแก่ชน

เป็นอันมาก   ฉันใด    สัปบุรุษก็ฉันนั้นเหมือนกัน   เมื่อเกิดในตระกูล

ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์   เพื่อเกื้อกูล     เพื่อความสุข    แก่ชนเป็นอันมา

คือ    ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์   เพื่อเกื้อกูล   เพื่อความสุข    แก่มารดา

บิดา...  แก่สมณพราหมณ์.

สัปบุรุษผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน    เป็นผู้

ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน    บำเพ็ญตน

เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก ในชั้นต้นระลึก

ถึงอุปการะที่ท่านทำไว้ก่อน     ย่อมบูชามารดา

บิดาโดยชอบธรรม      สัปบุรุษผู้มีศรัทธาตั้งมั่น

แล้ว     มีศีลเป็นที่รัก ทราบธรรมเล้ว ย่อมบูชา

บรรพชิตไม่ครองเรือน       ไม่มีบาปประพฤติ

พรหมจรรย์    สัปบุรุษนั้นเป็นผู้เกื้อกูลต่อพระ-

ราชา     ต่อเทวดา    ต่อญาติและสหายทั้งหลาย


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 491

ตั้งมั่นแล้วในสัทธรรม  เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง

สัปบุรุษนั้น  กำจัดมลทินคือความตระหนี่ได้แล้ว

ย่อมประสบโลกอันเกษม.

จบ  สัปปุริสสูตรที่  ๘

อรรถกถาสัปปุริสสูตรที่  ๘

สัปปุริสสูตรที่  ๘  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า   อตฺถาย   ได้แก่ เพื่อต้องการประโยชน์. บทว่า หิตา

สุขาย  ได้แก่  เพื่อต้องการเกื้อกูล  เพื่อต้องการสุข.  บทว่า  ปุพฺพเปตาน

ได้แก่   พวกญาติผู้ไปสู่ปรโลก.   ในพระสูตรนี้   เมื่อพระพุทธเจ้ายัง

ไม่อุบัติ   ย่อมได้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ์   พระโพธิสัตว์   พระปัจเจก-

พุทธเจ้า   ในครั้งพุทธกาล   ย่อมได้แก่พระพุทธเจ้า     และสาวกของ

พระพุทธเจ้า.    ก็ท่านเหล่านั้น   ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล

เพื่อสุขแก่ญาติเหล่านั้นตามที่กล่าวแล้ว.  บทว่า พหนุน  วต  อตฺถาย

สปฺปฺ  ฆรมาวส    ได้แก่    บุคคลผู้มีปัญญา     เมื่ออยู่ครองเรือน

ย่อมอยู่เพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มากเท่านั้น.   บทว่า   ปุพฺเพ   แปลว่า

ก่อนทีเดียว.    บทว่า    ปุพฺเพกตมนุสฺสร   ได้แก่    เมื่อหวลระลึกถึง

อุปการคุณที่กระทำไว้ก่อนของบิดามารดา.    บทว่า    สหธมฺเมน

ความว่า     บูชาด้วยการบูชาด้วยปัจจัยพร้อมทั้งเหตุ.   บทว่า  อปาเป

พฺรหฺมจาริโน    ความว่า    นอบน้อม    คือถึงความประพฤติอ่อนน้อม

แก่ท่านเหล่านั้น. บทว่า  เปสโล  แปลว่า  ผู้มีศีลเป็นที่รัก.

จบ  อรรถกถาปัปปุริสสูตรที่  ๘


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 492

๙.  ปุญญาภิสันทสูตร

[๑๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ห้วงบุญห้วงกุศล  ๘ ประการนี้ นำ

ความสุขมาให้    ให้อารมณ์เลิศ.     มีสุขเป็นผล    เป็นไปเพื่อสวรรค์

เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา     น่าใคร่     น่าพอใจ     เพื่อประโยชน์

เกื้อกูล  เพื่อความสุข  ห้วงบุญห้วงกุศล  ๘ ประการเป็นไฉน  ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย   อริยสาวกในธรรมวินัยนี้  ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่   ๑   นำความสุขมาให้  ให้อารมณ์

เลิศ   มีสุขเป็นผล   เป็นไปเพื่อสวรรค์   เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา

น่าใคร่ นำพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข.

อีกประการหนึ่ง   อริยสาวกในธรรมวินัยนี้   ถึงพระธรรมเป็น

สรณะ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๒ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง     อริยสาวกในธรรมวินัยนี้    ถึงพระสงฆ์

เป็นสรณะ.  นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๓  ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ทาน  ๕  ประการนี้.  เป็นมหาทาน  อัน

บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ    มีมานาน   เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ   เป็น

ของเก่า   ไม่กระจัดกระจาย   ไม่เคยกระจัดกระจาย    อันบัณฑิตไม่

รังเกียจอยู่   จักไม่รังเกียจ   อันสมณพราหมณ์   ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด

ทาน  ๕  ประการเป็นไฉน  ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย  อริยสาวกในธรรม.

วินัยนี้    เป็นผู้ละปาณาติบาต   งดเว้นจากปาณาติบาต   ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย    อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต    ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย

ความไม่มีเวร    ความไม่เบียดเบียน    แก่สัตว์หาประมาณมิได้   ครั้น


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 493

ให้ความไม่มีภัย     ความไม่มีเวร      ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หา

ประมาณมิได้แล้ว   ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย   ความไม่มีเวร

ความไม่เบียดเบียน     ประมาณมิได้    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   นี้เป็น

ทานประการที่  ๑  ที่เป็นมหาทาน  บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ   มีมานาน

เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ   เป็นของเก่า   ไม่กระจัดกระจาย   ไม่เคย

กระจัดกระจาย   อันบัณฑิตไม่รังเกียจ    อันสมณพราหมณ์ผู้เป็น

วิญญูไม่เกลียด    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการ

ที่  ๔ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง     อริยสาวกละอทินนาทาน    งดเว้นจาก

อทินนาทาน   ฯลฯ   นี้เป็นทานประการที่   ๒   ฯลฯ   นี้เป็นห้วงบุญ

ห้วงกุศลประการที่  ๕ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง    อริยสาวกละกาเมสุมิจฉาจาร    งดเว้นจาก

กาเมสุมิจฉาจาร  ฯลฯ  นี้เป็นทานประการที่   ๓  ฯลฯ  นี้เป็นห้วงบุญ

ห้วงกุศลประการที่ ๖ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง    อริยสาวกละมุสาวาท    งดเว้นจากมุสาวาท

ฯลฯ  นี้เป็นทานประการที่  ๔ ฯลฯ  นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการ

ที่  ๗ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง  อริยสาวกละการดื่มน้ำเมา  คือ  สุราและเมรัย

อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท   งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา   คือ   สุรา

และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา    คือสุราและเมรัย    อันเป็นที่ตั้ง

แห่งความประมาทแล้ว   ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย   ความไม่มีเวร  ความ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 494

ไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้  ครั้นให้ความไม่มีภัย  ความ

ไม่มีเวร     ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว     ย่อม

เป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย    ความไม่มีเวร    ความไม่เบียดเบียน

หาประมาณมีได้    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    นี้เป็นทานประการที่    ๕

ที่เป็นมหาทาน   บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ    มีมานาน   เป็นเชื้อสายแห่ง

พระอริยะ   เป็นของเก่า   ไม่กระจัดกระจาย   ไม่เคยกระจัดกระจาย

อันบัณฑิตไม่รังเกียจ   จักไม่รังเกียจ   อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญู

ไม่เกลียด   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่  ๘

นำสุขมาให้  ให้อารมณ์อันเลิศ    มีสุขเป็นผล    เป็นไปเพื่อสวรรค์

ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา   น่าใคร่   น่าพอใจ   เพื่อประโยชน์

เกื้อกูล    เพื่อความสุข     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ห้วงบุญห้วงกุศล    ๘

ประการนี้แล   นำสุขมาให้  ให้อารมณ์อันเลิศ   มีสุขเป็นผล   เป็นไป

เพื่อสวรรค์    ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา    น่าใคร่    น่าพอใจ

เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข.

จบ  ปุญญาภิสันทสูตรที่  ๙

 

อรรถกถาปุญญาภิสันทสูตรที่  ๙

ปุญญาภิสันทสูตรที่ ๙  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า   ทานานิ   ได้แก่   เจตนาทาน.   ความของบทมีอาทิว่า

อคฺคญฺานิ   ดังนี้  กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

จบ  อรรถกถาปุญญาภิสันทสูตรที่  ๙


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 495

๑๐.   สัพพลหุสสูตร

[๑๓๐]    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ปาณาติบาตอันบุคคลเสพแล้ว

เจริญแล้ว    กระทำให้มากแล้ว    ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก  ใน

กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน   ในเปรตวิสัย   วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบา

ที่สุด   ย่อมยังความเป็นผู้มีอายุน้อยให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  อทินนาทานอันบุคคลเสพแล้ว  เจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว    ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก    ในกำเนิดสัตว์

ดิรัจฉาน   ในเปรตวิสัย    วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด  ย่อม

ยังความพินาศแห่งโภคะให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     กาเมสุมิจฉาจารอันบุคคลเสพแล้ว

เจริญแล้ว    กระทำให้มากแล้ว    ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก  ใน

กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน     ในเปรตวิสัย     วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจาร

อย่างเบาที่สุด  ย่อมยังศัตรูและเวรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   มุสาวาทอันบุคคลเสพแล้ว   เจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว    ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก      กำเนิดสัตว์

ดิรัจฉาน    ในเปรตวิสัย     วิบากแห่งมุสาวาทอย่างเบาที่สุด   ย่อม

ยังการกล่าวด้วยคำไม่เป็นจริงให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ปิสุณาวาจาอันบุคคลเสพแล้ว  เจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว    ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก     ในกำเนิดสัตว์

ดิรัจฉาน   ในเปรตวิสัย    วิบากแห่งปิสุณาวาจาอย่างเบาที่สุด   ย่อม

ยังการแตกจากมิตรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 496

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ผรุสวาจาอันบุคคลแล้ว   เจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว  ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก  ในกำเนิดสัตว์

ดิรัจฉาน  ในเปรตวิสัย   วิบากแห่งผรุสวาจาอย่างเบาที่สุด   ย่อม

ยังเสียงที่ไม่น่าพอใจให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  สัมผัปปลาปะอันบุคคลเสพแล้ว  เจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว    ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก    ในกำเนิดสัตว์

ดิรัจฉาน    ในเปรตวิสัย    วิบากแห่งสัมผัปปลาปะอย่างเบาที่สุด

ย่อมยังคำไม่ควรเชื่อถือให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน

บุคคลเสพแล้ว  เจริญแล้ว  กระทำไห้มากแล้ว  ย่อมยังสัตว์ให้เป็น

ไปในนรก  ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน  ในเปรตวิสัย  วิบากแห่งการดื่ม

สุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด      ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่

ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

จบ  สัพพลหุสสูตรที่  ๑๐

 

อรรถกถาสัพพลหุสสูตรที่  ๑๐

สัพพลุหุสสูตรที่  ๑๐  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า    ปาณาติปาโต     ได้แก่    เจตนาเป็นเหตุทำสัตว์มีปราณ

ให้ล่วงไป.    บทว่า    สพฺพลหุโส    แปลว่า    เพลากว่าวิบากทั้งหมด.


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 497

บทว่า  อปฺจายุกสวตฺตนิโก   ความว่า   เป็นผู้มีอายุน้อยเพราะกรรม-

วิบากนิดหน่อยนั้น   หรือเมื่อพอให้ปฏิสนธิ   สัตว์ที่อยู่ในท้องมารดา

หรือสัตว์ผู้พอออกจากท้องมารดาแล้วย่อมย่อยยับ,        ความจริง

วิบากเห็นปานนี้  ไม่ใช่เป็นวิบากเครื่องใหลออกจากกรรมอะไร ๆ

อื่น   นี้เป็นทางไปเฉพาะปาณาติบาตเท่านั้น.   บทว่า   โภคพฺยสนส-

วตฺตนิโก  ความว่า  ทรัพย์เพียงกากนิกหนึ่ง ไม่ตั้งอยู่ในมือโดยประการใด

อทินนาทานย่อมยังความวอดวายแห่งโภคสมบัติให้เป็นไปโดยประการนั้น.

บทว่า   สปตฺตเวรสวตฺตนิโก  โหติ   ความว่า   ย่อมสร้างเวรพร้อมกับ

ศัตรู.    จริงอยู่     ผู้นั้นมีศัตรูมาก    อนึ่ง     ผู้ใดเห็นเขาเข้าย่อมยังเวร

ให้เกิดในผู้นั้น    ไม่ดับไปด้วยว่าวิบากเห็นปานนี้    เป็นวิบากเครื่อง

ให้ออกแห่งความผิดในภัณฑะของคนอื่นที่เขารักษาคุ้มครองไว้.

บทว่า   อภตพฺภกฺขานสวตฺตนิโก  โหติ   ความว่า  ทำการกล่าวตู่

ด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริงให้เป็นไป.     กรรมที่ผู้หนึ่งผู้ใดทำแล้ว   ย่อม

ไปตกบนกระหม่อมของผู้นั้นนั่นแล.  บทว่า  มิตฺเตหิ  เภทนสวตฺตนิโก

ความว่า    ย่อมยังความแตกจากมิตรให้เป็นไป    เขาทำบุคคลใด  ๆ

ให้เป็นมิตร  บุคคลนั้น  ๆ  ย่อมแตกไป.  บทว่า  อมนาปสทฺทสวตฺตนิโก

ความว่า  ย่อมยังเสียงที่ไม่พอใจให้เป็นไป  วาจาใด  ๆ  เป็นคำเสียดแทง

หยาบคาย   เผ็ดร้อน  ขัดข้อง   ตัดเสียซึ่งความรัก    เขาได้ฟังแต่วาจานั้น

เท่านั้นในที่  ๆ ไปแล้วไปเล่า.    หาได้ฟังเสียงที่น่าชอบใจไม่    เพราะ

วิบากเห็นปานนี้  ชื่อว่าเป็นทางไปแห่งผรุสวาจา.  บทว่า  อนาเทยฺย-

วาจาสวตฺตนิโก    ความว่า    ย่อมยังคำที่ไม่ควรยึดถือให้เป็นไป   ถึง

ความเป็นผู้ที่จะถูกค้านว่า     เพราะเหตุไรท่านจึง       ใครจะเชื่อ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 498

คำท่าน   นี้ชื่อว่าเป็นทางไปแห่งสัมผัปปลาปะ.  บทว่า   อมฺมตฺตกส-

วตฺตนิโก   โหติ   ความว่า   ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไป    จริงอยู่

มนุษย์เป็นบ้ามีจิตฟุ้งซ่านหรือเป็นใบ้    เพราะการดื่มสุรานั้น    นี้

เป็นวิบากเครื่องใหลออกแห่งสุราปานะ.   สูตรนี้  ตรัสเฉพาะวัฏฏะ

เท่านั้นแล.

จบ  อรรถกถาสัพพลหุสสูตรที่  ๑๐

 

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้  คือ

๑. ทานสูตรที่ ๑  ๒. ทานสูตรที่  ๒  ๓. ทานวัตถุสูตร ๔. เขตต-

สูตร  ๕.  ทานูปปัตติสูตร  ๖.  บุญกิริยาวัตถุสูตร    ๗.  สัปปุริสสูตรที่ ๑

๘. สัปปุริสสูตรที่   ๒  ๙.  ปญญาภิสันทสูตร   ๑๐.  สัพพลหุสสูตร.

จบ  ทานวรรคที่  ๔


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 499

อุโปสถวรรคที่  ๕

๑.  สังขิตตสูตร

[๑๓๑]  ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี    ใกล้กรุงสาวัตถี   ครั้งนั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว     พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  อุโบสถประกอบด้วยองค์  ๘ ประการ

อันบุคคลเข้าอยู่แล้ว  ย่อมมีผลมาก  มีอานิสงส์มาก  มีความรุ่งเรือง

มาก มีความแพร่หลายมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็อุโบสถประกอบ

ด้วยองค์   ๘   ประการ   อันบุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างไร    จึงมีผลมาก

มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรื่องมาก มีความแพร่หลายมาก อริยสาวก

ในธรรมวินัยนี้      ตระหนักชัดดังนี้ว่า      พระอรหันต์ทั้งหลายละ

ปาณาติบาต     งดเว้นจากปาณาติบาต     วางท่อนไม้    วางศาตรา

มีความละอาย  เอื้อเอ็นดู  อนุเคราะห์เกื้อกูลสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต

ในวันนี้ แม้เราก็ละปาณาติบาต  งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้

วางศาตรา  มีความละอาย  เอื้อเอ็นดู  อนุเคราะห์เกื้อกูลสรรพสัตว์

อยู่  ตลอดคืนและวันนี้  เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์แม้ด้วยองค์นี้

และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว        อุโบสถประกอบด้วย

องค์ที่   ๑  นี้.


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 500

ฯลฯ พระอรหันต์ทั้งหลายละทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน

ถือเอาแต่สิ่งของที่เขาให้    หวังแต่สิ่งของที่เขาให้    มีตนไม่เป็นขโมย

สะอาดอยู่ตลอดชีวิต   ในวันนี้    แม้เราก็ละอทินนาทาน   งดเว้นจาก

อทินนาทาน   ถือเอาแต่สิ่งของที่เขาให้   หวังแต่สิ่งของที่เขาให้  มีตน

ไม่เป็นขโมย    สะอาดอยู่ตลอดคืนและวันนี้    เราชื่อว่ากระทำตาม

พระอรหันต์แม้ด้วยองค์นี้   และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว

อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่  ๒  นี้.

ฯลฯ   พระอรหันต์ทั้งหลายละอพรหมจรรย์   ประพฤติพรหม-

จรรย์    ประพฤติห่างไกล    เว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน

ตลอดชีวิต   ในวันนี้   แม้เราก็ละอพรหมจรรย์  ประพฤติพรหมจรรย์

ประพฤติห่างไกล     เว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้านอยู่

ตลอดคืนและวันนี้    เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายแม้ด้วย

องค์นี้     และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว   อุโบสถประกอบ

ด้วยองค์ที่  ๓ นี้.

ฯลฯ  พระอรหันต์ทั้งหลายละมุสาวาท     งดเว้นจากมุสาวาท

พูดแต่คำสัตย์   ส่งเสริมคำจริง   มั่นคง   ควรเชื่อถือได้     ไม่กล่าวให้

คลาดจากความจริงแก่โลกตลอดชีวิต     ในวันนี้   แม้เราก็ละมุสาวาท

งดเว้นจากมุสาวาท    พูดแต่คำสัตย์   ส่งเสริมคำจริง    มั่นคง    ควร

เชื่อถือได้    ไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริงแก่โลก     ตลอดคืน

และวันนี้     เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายแม้ด้วยองค์นี้

และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว    อุโบสถประกอบด้วย

องค์ที่  ๔  นี้.


没有评论: