NIRUTTI SAPHA 44N C7 800


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 701

อรรถนี้       กล่าวคือความสำเร็จที่ตนประสงค์โดยเว้นจากการอธิษฐานนั้น

จึงทรงเปล่งอุทานนี้   อันแสดงเนื้อความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า   กึ   กยิรา  อุทปาเนน  อาปา  เจ  ยทิ

สพฺพทา  สิยุ  ความว่า  ก็หากว่าน้ำในที่ทุกแห่งพึงมี   คือพึงเกิดแก่บ่อน้ำ

ใด  ตลอดกาลทั้งปวง  คือถ้าบ่อน้ำพึงเนื่องด้วยเหตุเพียงความหวัง  คือบ่อ

น้ำนั้นก็จะได้น้ำเหล่านั้น   บุคคลพึงทำอะไร  คือควรทำอะไรด้วยบ่อน้ำนั้น

อธิบายว่า  บ่อน้ำจะมีประโยชน์อะไร.     บทว่า  ตณฺหาย  มูลโต เฉตฺวา

กิสฺส  ปริเยสนญฺจเร  ความว่า  สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ได้ทำบุญไว้   ถูกตัณหา

ใดรัดรึง  ย่อมเดือดร้อน  เพราะทุกข์ในการไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา   พระ-

สัพพัญญูพุทธเจ้าผู้เช่นเรา   ตัดรากหรือที่โคนของตัณหานั้นดำรงอยู่   พึง

เที่ยวแสวงหาน้ำ    หรือแสวงหาปัจจัยอื่น    เพื่อเหตุอะไร   คือเพราะเหตุ

อะไร.    อาจารย์บางพวกกล่าวว่า  มูลโต  เฉตฺตา  ดังนี้ก็มี.    อธิบายว่า

ตัดรากหรือที่โคนของตัณหานั่นเอง.  อีกอย่างหนึ่ง  บทว่า มูลโต  เฉตฺตา

ความว่า  ตัดตัณหาตั้งแต่ราก.   ท่านอธิบายไว้ว่า    พระองค์มิได้ทรงพระ-

ดำริถึงบุญสมภารทั้งสิ้นอันหาประมาณมิได้เพื่อพระองค์  จำเดิมแต่ตั้งความ

ปรารถนาใหญ่อันเป็นมูลเหตุแห่งพระโพธิญาณ    ทรงบำเพ็ญโดยน้อมไป

เพื่อประโยชน์แก่สัตวโลกอย่างแท้จริง  จึงทรงตัดตัณหาตั้งแต่ราก   จะทรง

เที่ยวแสวงหาน้ำเพื่ออะไร    คือเพราะเหตุไร   เพราะผู้มีตัณหาเป็นตัวเหตุ

ไม่มีการได้สิ่งที่ตนปรารถนา      แต่ชาวถูณคามเหล่านี้เป็นผู้บอดเขลาไม่รู้

เหตุนี้    จึงได้ทำอย่างนี้แล.

จบอรรถกถาอุทปานสูตรที่  ๙


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 702

๑๐.  อุเทนสูตร

 

ว่าด้วยหญิง  ๕๐๐  ถูกเผา

 

[๑๕๗]   ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ  โฆสิตาราม  ใกล้พระนคร

โกสัมพี   ก็สมัยนั้นแล  เมื่อพระเจ้าอุเทนเสด็จประพาสพระราชอุทยาน  ภาย

ในพระราชวังถูกไฟไหม้  หญิง ๕๐๐ มีพระนางสามาวดีเป็นประมุขทำกาละ

ครั้งนั้นแล   เป็นเวลาเช้า   ภิกษุมากด้วยกันนุ่งแล้ว    ถือบาตรและจีวรเข้า

ไปบิณฑบาตยังพระนครโกสัมพี   ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครโกสัมพี

กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต     เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้วนั่ง  ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง  ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ขอประทานพระวโรกาส   เมื่อพระเจ้า

อุเทนเสด็จประพาสพระราชอุทยาน    ภายในพระราชวังถูกไฟไหม้    หญิง

๕๐๐  มีพระนางสามาวดีเป็นประมุขทำกาละ   คติแห่งอุบาสิกาเหล่านั้นเป็น

อย่างไร    ภพหน้าเป็นอย่างไร    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า    ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย  บรรดาอุบาสิกาเหล่านั้น  อุบาสิกาที่เป็นพระโสดาบันมีอยู่  เป็น

พระสกทาคามินีมีอยู่  เป็นพระอนาคามินีมีอยู่   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  อุบาสิกา

ทั้งหมดนั้นเป็นผู้ไม่ไร้ผลทำกาละ.

ลำดับนั้นแล  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว   จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

สัตวโลกมีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน    ย่อมปรากฏ

เหมือนสมบูรณ์ด้วยเหตุ      คนพาลมีอุปธิเป็นเครื่อง

ผูกพัน  ถูกความมืดหุ้มห่อไว้   ย่อมปรากฏเหมือนว่า


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 703

เที่ยงยั่งยืน   กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณา

เห็นอยู่.

จบอุเทนสูตรที่   ๑๐

 

จบจูฬวรรคที่  ๗

 

อรรถกถาอุเทนสูตร

 

อุเทนสูตรที่  ๑๐  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้  :-

บทว่า  รญฺโ  อุเทนสฺส  ได้แก่ พระราชาพระนามว่า  อุเทน  ซึ่งเขา

เรียกกันว่าเจ้าวัชชีก็มี.  บทว่า อุยฺยานคตสฺส  ได้แก่ เสด็จไปอุทยาน  เพื่อ

สำราญในพระอุทยาน.   จริงอยู่  บทว่า อุเทนสฺส  นี้   เป็นฉัฏฐีวิภัตติ   ใช้

ในอรรถอนาทร.   ก็บทว่า  อุเทนสฺสน  เป็นฉัฏฐีวิภัตติ  ใช้ในสามีสัมพันธะ

ไม่มุ่งถึงบทว่า  อนฺเตปุร.    บทว่า  กาลกตานิ  ได้เเก่  ถูกไฟไหม้ตายแล้ว.

ในบทว่า  สามาวตีปมุขานิ  นี้   มีคำถามสอดเข้ามาว่า  ก็พระนางสามาวดีนี้

คือใครและทำไมจึงถูกไฟไหม้  ?   ข้าพเจ้าจะเฉลย  ธิดาของเศรษฐีในเมือง

ภัททวดี   อันโฆสกเศรษฐีตั้งไว้ในตำแหน่งธิดา  มีหญิง  ๕๐๐  เป็นบริวาร

เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน      เป็นพระอริยสาวิกามากไปด้วยเมตตา-

วิหารธรรม   ทรงพระนามว่าสามาวดี.   ในที่นี้   มีความสังเขปเพียงเท่านี้

เมื่อว่าโดยพิสดาร       พึงทราบอุปปัตติกถาของพระนางสามาวดีตั้งแต่ต้น

แต่โดยนัยดังกล่าวในเรื่องพระธรรมบท.  นางมาตัณฑิยาธิดาของมาคัณฑิย-

พราหมณ์สดับคาถานี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า      ทรงแสคงแก่บิดามารดาของ

ตนว่า


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 704

เพราะได้เห็นนางตัณหา  นางอรดี  และนางราคา

เรามิได้มีความพอใจแม้ในเมถุนเลย    เพราะได้เห็น

สรีระแห่งธิดาของท่านนี้    ซึ่งเต็มไปด้วยมูตและกรีส

(เราจักมีความพอใจในเมถุน)   อย่างไรได้      เราไม่

ปรารถนาจะแตะต้องสรีระแห่งธิดาของท่านนั้น    แม้

ด้วยเท้า  ดังนี้

จึงผูกอาฆาตในพระศาสดา     อยู่มาภายหลัง    พระเจ้าอุเทนทรงสถาปนา

ไว้ในตำแหน่งมเหสี  ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงโกสัมพี  และ

ว่าหญิง  ๕๐๐   มีพระนางสามาวดีเป็นประธาน   เป็นอุบาสิกา  จึงคิดว่าอัน

พระสมณโคดมผู้มายังพระนครนี้   บัดนี้  เราจะรู้กิจที่ควรทำแก่สมณโคดม

นั้น   ทั้งหญิงเหล่านี้ก็เป็นอุปัฏฐายิกาของเขา   เราจักรู้กิจที่ควรทำแก่หญิง

แม้เหล่านี้   ซึ่งมีนางสามาวดีเป็นหัวหน้า   ดังนี้   แม้จะพยายามเพื่อทำความ

พินาศแก่พระตถาคต  และแก่หญิงเหล่านั้น  โดยอเนกปริยาย   เมื่อไม่อาจ

ทำ  วันหนึ่ง พร้อมกับพระราชาเสด็จไปเล่นกรีฑาในอุทยาน   จึงส่งสาส์น

ถึงอาว์ว่า   ขออาว์จงขึ้นสู่ปราสาทของนางสามาวดี   แล้วให้เปิดคลังผ้าและ

คลังน้ำมัน     เอาผ้าจุ่มลงในตุ่มน้ำมันพันเสา   แล้วให้หญิงทิ้งหมดเหล่านั้น

รวมกัน    ปิดประตู   ใส่ประแจด้านนอก      เอาไฟชนวนจุดพระตำหนัก

แล้วจงลงไปเสียเถิด.

อาว์ได้ฟังดังนั้น   จึงขึ้นสู่ปราสาทเปิดคลัง   เอาผ้าให้ชุ่มที่ตุ่มน้ำมัน

เริ่มพันเสา.   ลำดับนั้นแล  หญิงมีนางสามาวดีเป็นประมุข   จึงเข้าไปหานาย

มาคัณฑิยะพลางกล่าวว่า  นี่อะไรกัน  อาว์.  นายมาคัณฑิยะกล่าวว่า    แม่


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 705

ทั้งหลาย  พระราชารับสั่งให้เอาผ้าชุ่มน้ำมันพันเสาเหล่านี้   เพื่อทำให้มั่นคง

ชื่อว่าในพระราชตำหนัก   กรรมที่ประกอบดีประกอบชั่วรู้ได้ยาก   พวกเธอ

อย่าอยู่ในสำนักของเราเลย    ดังนี้แล้วจึงให้หญิงที่มาเหล่านั้นเข้าไปในห้อง

ลั่นกุญแจข้างนอก   จุดไฟตั้งแต่ต้นจึงลงมา.  พระนางสามาวดีได้ให้โอวาท

แก่หญิงเหล่านั้นว่า  แม่ทั้งหลาย  เมื่อเราเที่ยวอยู่ในสงสารซึ่งไปตามรู้เบื้อง

ต้นและที่สุดไม่ได้   อัตภาพถูกไฟไหม้ถึงอย่างนี้  แม้กำหนดด้วยพุทธญาณก็

กระทำไม่ได้ง่าย  พวกเธออย่าประมาทเลย.  หญิงเหล่านั้นบรรลุโสดาปัตติ-

ผลในสำนักของนางขุชชุตตรา     อริยสาวิกาผู้รู้แจ้งคำสอนของพระศาสดา

ผู้ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดาแล้วบรรลุผล     ผู้บรรลุเสกขปฏิสัมภิทา

แสดงธรรมตามทำนองที่พระศาสดาทรงแสดงนั่นแหละ และประกอบขวน-

ขวายมนสิการกรรมฐานในลำดับๆ  เมื่อไฟกำลังไหม้พระตำหนัก  มนสิการ

ถึงเวทนาปริคหกรรมฐาน  บางพวกบรรลุผลที่ ๒   บางพวกบรรลุผลที่  ๓

แล้วถึงแก่กรรม.

ลำดับนั้น    ภิกษุทั้งหลายกำลังเที่ยวบิณฑบาตในกรุงโกสัมพี    ภาย

หลังจากฉันภัตตาหารแล้ว      จึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า     ถามถึง

อภิสัมปรายภพของหญิงเหล่านั้น.    ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสบอกการที่

หญิงเหล่านั้นบรรลุอริยผลแก่ภิกษุทั้งหลาย.   ด้วยเหตุนั้น   ท่านจึงกล่าวว่า

เตน  โข  ปน  สมเยน  รญฺโ  อุเทนสฺส   ฯ เป ฯ   อนิปฺผลา  กาลกตา.

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  อนิปฺผลา  ความว่า หญิงที่ถึงแก่กรรม

ไม่ไร้ผล     คือบรรลุสามัญผลนั่นแล.     ฝ่ายหญิงเหล่านั้นได้รับผล    อัน

พระนางสามาวดีโอวาทด้วยคาถาว่า


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 706

จงเริ่มพยายามขวนขวายในพระพุทธศาสนา  จง

กำจัดเสนาของมัจจุมาร   เหมือนกุญชรช้างประเสริฐ

ย่ำยีเรือนไม้อ้อฉะนั้น         ผู้ใดไม่ประมาทเห็นแจ้ง

ในพระธรรมวินัยนี้   ผู้นั้นจักละชาติสงสาร  จักทำที่สุด

ทุกข์ได้   ดังนี้

จึงมนสิการเวทนาปริคหกรรมฐาน     ได้เห็นแจ้งแล้วบรรลุผลที่  ๒   และ

ที่ ๓.    ฝ่ายนางขุชชุตตรา     เพราะมีอายุเหลืออยู่     และเพราะไม่ได้ทำ

กรรมเช่นนั้นไว้ในปางก่อน   จึงได้อยู่ภายนอกปราสาทนั้น.   ก็อาจารย์บาง

พวกกล่าวว่า   นางหลีกไปในระยะ  ๑  โยชน์.   ลำดับนั้น   ภิกษุทั้งหลาย

นั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า    อาวุโส  พระอริยสาวิกา    ถึงแก่กรรม

เช่นนั้น ไม่สมควรเลยหนอ.  พระศาสดา  เสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้  พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ  เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบ-

ทูลให้ทรงทราบแล้ว    จึงตรัสว่า  ภิกษุทั้งหลาย  แม้ถ้าความตายของหญิง

เหล่านั้นไม่สมควรในอัตภาพนี้ไซร้  แต่กรรมที่เธอเคยทำไว้ก่อนนั่นแหละ

เป็นกรรมที่สมควรแท้   ที่พวกเธอจะได้รับ   ดังนี้แล้ว  อันภิกษุเหล่านั้น

ทูลอาราธนา  จึงน่าอดีตนิทานมาว่า

ในอดีตกาล     เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี

พระปัจเจกพุทธเจ้า  ๘ รูป   ฉันภัตตาหารเนืองนิตย์    ในพระราชนิเวศน์.

หญิง  ๕๐๐  คนพากันบำรุง  พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น.   ในพระปัจเจก-

พุทธเจ้าทั้ง  ๘  รูปนั้น  ๗ รูปไปยังป่าหิมพานต์.  รูปหนึ่งนั่งเข้าสมาบัติที่

พงหญ้าแห่งหนึ่ง ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำ.   ภายหลังวันหนึ่งเมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้า

ไปแล้ว     พระราชาทรงประสงค์จะเล่นน้ำกับพวกหญิงนั้น      จึงเสด็จไป.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 707

หญิงเหล่านั้นเล่นน้ำในที่นั้น  ตลอดทั้งวัน   ถูกความหนาวบีบคั้น  ประสงค์

จะพิงไฟ   ยืนล้อมพงหญ้านั้น   ข้างบนอันดารดาษไปด้วยหญ้าแห้ง   ด้วย

สำคัญว่ากองหญ้า  จึงจุดไฟ  เมื่อหญ้าถูกไฟไหม้แล้วยุบลง  เห็นพระปัจเจก-

พุทธเจ้า  คิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าของพระราชา   ถูกไฟไหม้  พระราชา-

ทรงทราบเรื่องนั้น   จักทำเราให้พินาศ  เราจักเผาท่านให้เรียบร้อยเสียเลย

ดังนี้แล้ว  ทุกคนพากันขนฟืนมาจากที่โน้นที่นี้  ทำให้เป็นกองสุมไว้ข้างบน

พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น      พากันหลีกไปด้วยเข้าใจว่า    บัดนี้  พระปัจเจก-

พุทธเจ้า    จักมอดไหม้ไปแล้ว.    หญิงเหล่านั้น    เมื่อก่อนไม่ได้มีเจตนา

แต่บัดนี้  พากันผูกพันด้วยกรรม.  ก็ภายในสมาบัติ   ถ้าหญิงเหล่านั้นพากัน

ขนฟืนมาตั้งพันเล่มเกวียน   แล้วสุมพระปัจเจกพุทธเจ้า   ก็ไม่สามารถจะให้

ถือเอาแม้เพียงอาการไออุ่นได้.  เพราะฉะนั้น  ในวันที่  ๗  พระปัจเจกพุทธ-

เจ้านั้น    ได้ลุกไปตามความสบาย.   หญิงเหล่านั้น   เพราะกรรมที่เขาทำไว้

จึงหมกไหม้ในนรกหลายพันปี  หลายแสนปี   เพราะเศษแห่งวิบากของกรรม

นั้นนั่นแหละ.   เมื่อตำหนักถูกไฟไหม้   โดยทำนองนี้   เธอก็ถูกไฟไหม้ถึง

ร้อยอัตภาพ.      นี้เป็นบุพกรรมของหญิงเหล่านั้น.      ก็เพราะเหตุที่หญิง

เหล่านั้น   กระทำให้แจ้งซึ่งอริยผลในอัตภาพนี้   จึงเข้าไปนั่งใกล้พระรัตน-

ตรัย   ฉะนั้น  ในหญิงเหล่านั้น   หญิงผู้เป็นพระอนาคามินี   เกิดในชั้น

สุทธาวาส  นอกนั้นบางพวก เกิดในภพดาวดึงส์  บางพวกเกิดในชั้นยามะ

บางพวกเกิดในชั้นดุสิต    บางพวกเกิดในชั้นนิมมานรดี   บางพวกเกิดใน

ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.

ฝ่ายพระเจ้าอุเทนแล   ทรงสดับว่า  ข่าวว่า  พระตำหนักของพระนาง

สามาวดี  ถูกไฟไหม้  จึงรีบเสด็จมาถึงที่นั้น   ในเมื่อหญิงเหล่านั้นถูกไฟไหม้


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 708

แล้วนั้นแล.    ก็แล   ครั้นเสด็จมา     รับสั่งให้คนช่วยดับไฟไหม้ที่ตำหนัก

ทรงเกิดโทมนัสอย่างรุนแรง  ทรงทราบว่า   พระนางมาคัณฑิยา   ก่อเหตุ

เช่นนั้นโดยอุบาย     อันกรรมที่พระนางมาคัณฑิยากระทำความผิดในพระ-

อริยสาวิกาตักเตือนอยู่       จึงให้ลงราชอาชญาแก่นางพร้อมด้วยพวกญาติ.

พระนางมาคัณฑิยา  พร้อมด้วยข้าราชบริพาร  พร้อมทั้งมิตรและพวกพ้อง

ได้ถึงความวอดวาย   ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า  เอตมตฺถ  วิทิตฺวา    ความว่า  พระองค์ทรงทราบโดยอาการ

ทั้งปวง   ถึงเหตุที่หญิงเหล่านั้น   อันมีพระนางสามาวดีเป็นประธาน   ถึง

ความวอดวายในกองเพลิง    และนิมิตที่พระนางมาคัณฑิยา     พร้อมด้วย

มิตรและพวกพ้อง    ถึงความวอดวายด้วยพระราชอาชญานี้    จึงทรงเปล่ง

อุทานนี้  อันแสดงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น     บทว่า  โมหสมฺพนฺธโน  โลโก  ภพฺพรูโปว

ทิสฺสติ    ความว่า  สัตวโลกใดในโลกนี้      ปรากฏเป็นเหมือนผู้สมควรแท้

คือเป็นเหมือนสมบูรณ์ด้วยเหตุ   สัตวโลกแม้นั้น   มีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน

คือ    เกลือกกลั้วไปด้วยโมหะ    เมื่อไม่รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์    และไม่เป็น

ประโยชน์แก่ตน  จึงไม่ดำเนินไปในสิ่งที่เป็นประโยชน์   สิ่งสมแต่สิ่งที่มิใช่

ประโยชน์  อันนำความทุกข์มาให้  และพอกพูนอกุศลเป็นอันมาก.  บาลีว่า

ภวรูโปว   ทิสฺสติ    ดังนี้ก็มี.    บาลีนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้     โลกนี้มีโมหะ

เป็นเครื่องผูกพัน   คือเกลือกกลั้วด้วยโมหะ    เพราะเหตุนั้นแล     ตนของ

สัตวโลกนั้นจึงปรากฏเหมือนมีรูป    คือเหมือนมีสภาวะเที่ยง    คือปรากฏ

เหมือนไม่แก่ไม่ตาย   อันเป็นเหตุให้ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ   มีปาณาติบาตเป็นต้น.

บทว่า อุปธิพนฺธโน   พาโล  ตมสา  ปริวาริโต  สสฺสติ   วิย  ขายติ  ความว่า


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 709

ก็ไม่ใช่แต่สัตวโลกจะมีโมหะเป็นเครื่องผูกพันแต่อย่างเดียวเท่านั้น      โดยที่

แท้   สัตวโลกผู้บอดเขลานี้     ยังมีอุปธิเป็นเครื่องผูกพัน    อันความมืดคือ

อวิชชาหุ้มห่อแล้ว.  ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า  เพราะญาณอันเป็นเหตุให้

บุคคลพิจารณาเห็นกาม      และขันธ์อันไม่ผิดแผกว่า   ไม่เที่ยง   เป็นทุกข์

มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา    ดังนี้ไม่มี   เพราะเหตุที่ปุถุชนคนบอด

เขลา  ถูกความมืดคืออวิชชา  แวดล้อม  ห่อหุ้ม  โดยรอบ  ฉะนั้น   ปุถุชน

คนบอดเขลานั้น  มีอุปธิเป็นเครื่องผูกพัน   โดยอุปธิเหล่านี้คือ  อุปธิคือกาม

อุปธิคือกิเลส    อุปธิคือขันธ์   ก็เพราะเหตุนั้นแล    เมื่อเขาผู้มีอุปธิเห็นอยู่

ย่อมปรากฏดุจเที่ยง   คือย่อมปรากฏว่า   มีสภาวะเที่ยง   ได้แก่มีอยู่ทุกกาล.

บาลีว่า  อสสฺสติริว ขายติ   ดังนี้ก็มี.   บาลีนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า  อุปธิ

นั้นย่อมปรากฏ   อธิบายว่า  เข้าไปตั้งอยู่   เหมือนส่วนหนึ่งของโลก   ด้วย

อำนาจการยึดถือผิดว่า   อัตตาย่อมมี   คือย่อมเกิด   ทุกกาล   และว่าอัตตา

อื่นไม่เที่ยง    คือมีสภาวะไม่แน่นอน.    จริงอยู่    อักษร    ทำการต่อบท.

บทว่า  ปสฺสโต   นตฺถิ  กิญฺจน   ความว่า  ก็ผู้ใด    กำหนดสังขารทั้งหลาย

พิจารณาเห็นด้วย   ลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น    เมื่อบุคคลนั้นนั่นแล

เห็นอยู่   รู้อยู่   แทงตลอดอยู่   ตามความเป็นจริง   ด้วยมรรคปัญญา  อัน

ประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา  กิเลสเครื่องยียวนมีราคะเป็นต้น  อันเป็นเหตุ

ผูกพันสัตว์ไว้ในสงสาร   ย่อมไม่มี   อธิบายว่า  ความจริง  เมื่อบุคคล  ไม่

เห็นอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ     พึงเป็นผู้ถูกเครื่องผูกพัน      มีอวิชชาตัณหา

และทิฏฐิเป็นต้น    ผูกไว้ในสงสาร.

จบอรรถกถาอุเทนสูตรที่  ๑๐

จบจูฬวรรควรรณนาที่  ๗


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 710

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้   คือ

๑.  ปฐมภัททิยสูตร     ๒.  ทุติยภัททิยสูตร      ๓.  ปฐมกามสูตร

๔.  ทุติยกามสูตร   ๕. ลกุณฐกภัททิยสูตร   ๖. ตัณหักขยสูตร   ๗. ปปัญจ-

ขยสูตร     ๘.  มหากัจจานสูตร      ๙.  อุทปานสูตร      ๑๐.  อุเทนสูตร

และอรรถกถา.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 711

ปาฏลิคามิยวรรคที่  ๘

 

๑.  ปฐมนิพพานสูตร

 

ว่าด้วยอายตนะ  คือ  นิพพาน

 

[๑๕๘]   ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ  พระวิหารเชตวัน  อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี  ใกล้พระนครสาวัตถี   ก็สมัยนั้นแล   พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง  ให้สมาทาน ให้อาจหาญ

ให้ร่าเริง   ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยนิพพาน   ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำ

ให้มั่น     มนสิการแล้วน้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว    เงี่ยโสตลงฟัง

ธรรม   ลำดับนั้นแล   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว   จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    อายตนะนั้นมีอยู่   ดิน

น้ำ  ไฟ  ลม  อากาสานัญจายตนะ  วิญญาณัญจาย-

ตนะ  อากิญจัญญายตนะ  โลกนี้  โลกหน้า  พระจันทร์

และพระอาทิตย์ทั้งสอง        ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้น

ว่า  เป็นการมา  เป็นการไป  เป็นการตั้งอยู่  เป็นการ

จุติ  เป็นการอุปบัติ  อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้

มิได้เป็นไป  หาอารมณ์มิได้  นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

จบปฐมนิพพานสูตรที่  ๑


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 712

ปาฏลิคามิยวรรควรรณนาที่ ๘

 

อรรถกถาปฐมนิพพานสูตร

 

ปาฏลิคามิยวรรค ปฐมนิพพานสูตรที่ ๑     มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า  นิพฺพานปฏิสยุตฺตาย  ความว่า  อสังขตธาตุที่อาศัยอมตธาตุ

เป็นไปด้วยอำนาจการประกาศให้รู้.   บทว่า  ธมฺมิยา  กถาย  แปลว่า  ด้วย

ธรรมเทศนา.    บทว่า  สนฺทสฺเสติ    ได้แก่ แสดงถึงพระนิพพาน    โดย

ลักษณะแห่งสภาวะพร้อมด้วยกิจ.     บทว่า  สมาทเปติ    ได้แก่  ให้ภิกษุ

เหล่านั้น   ยึดถือเอาอรรถนั้นนั่นแล.   บทว่า สมุตฺเตเชติ  ได้แก่   เมื่อให้

อุตสาหะเกิดในกาลยึดถือประโยชน์นั้น   ชื่อว่าย่อมให้อบอุ่น  คือให้โชติช่วง.

บทว่า สมฺปหเสติ  ได้แก่ ย่อมให้ยินดี  ด้วยคุณคือพระนิพพาน  โดยชอบ

ทีเดียว     คือโดยประการทั้งปวง.    อีกอย่างหนึ่ง.     บทว่า  สนฺทสฺเสติ

ความว่า  ทรงแสดงโดยชอบ   อันเหมาะสมแก่อัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้น  ๆ

โดยประการทั้งปวง   คือโดยปริยายนั้น   ๆ   โดยนัยมีอาทิว่า   ธรรมเป็นที่

สิ้นตัณหา  เป็นที่คลายราคะ  เป็นที่ดับ     อันเป็นเครื่องสงบสังขารทั้งปวง

อันเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวงนั้น.   บทว่า  สมาทเปติ  ความว่า ทรงกระทำ

ให้ภิกษุทั้งหลาย น้อมไป โอนไป  เงื้อมไปในธรรมนั้น   พร้อมด้วยปฏิปทา

เครื่องบรรลุ   ชื่อว่าทรงชักชวน   คือให้ภิกษุถือเอาโดยชอบว่า    เธอพึง

บรรลุพระนิพพานนั้น    ด้วยอริยมรรคนี้.    บทว่า  สมุตฺเตเชติ   ความว่า

ทรงทำภิกษุเหล่านั้นให้อาจหาญ     ในการบรรลุพระนิพพาน  หรือให้ทำจิต

ให้ผ่องแผ้วในพระนิพพานนั้น  ด้วยพระดำรัสว่า    พวกเธออย่าถึงความ

ประมาท  คือถึงความหยุดเสียในระหว่าง  ในสัมมาปฏิบัติว่า  พระนิพพาน

นี้ทำได้ยาก   มีความยินดีได้ยาก   เพราะพระนิพพานนี้   อันผู้สมบูรณ์ด้วย


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 713

อุปนิสัย   มีความเพียร   มิใช่ทำได้ยาก    เพราะฉะนั้น  พวกเธอพึงลุกขึ้น

พยายามเพื่อปฏิปทาอันหมดจดมีสีลวิสุทธิเป็นต้น.      บทว่า  สมฺปหเสติ

ความว่า  เมื่อทรงทำจิตของภิกษุเหล่านั้น    ให้ยินดี    ให้ร่าเริง    ด้วยการ

ประกาศอานิสงส์แห่งพระนิพพาน  โดยนัยมีอาทิว่า  นี้ธรรมเป็นที่สร้างเมา

เป็นที่กำจัดความกระหาย     เป็นที่ถอนความอาลัย      และโดยนัยมีอาทิว่า

ธรรมนี้เป็นที่สิ้นราคะ   โทสะ  โมหะ   และว่า  นี้เป็นอสังขตธรรม  และว่า

อมตธรรม   สันติธรรม  ดังนี้    ชื่อว่ายังภิกษุ  ให้ร่าเริง ให้เบาใจ.   บทว่า

เต  จ  ภิกฺขู  อฏฺิกตฺวา    ความว่า  ภิกษุทั้งหลาย   กำหนดอย่างนี้ว่า   สิ่ง

อะไร ๆ มีอยู่    ประโยชน์นี้พวกเราควรบรรลุแล้ว    เป็นผู้มีความต้องการ

ด้วยเทศนานั้น.   บทว่า  มนสิกตฺวา  ความว่า  วางไว้ในจิต    ไม่ส่งจิตไป

ในที่อื่น  คือกระทำเทศนานั้น  ให้อยู่ในจิตของตนเท่านั้น.   บทว่า สพฺพ

เจตโส  สมนฺนาหริตฺวา  ความว่า   นึกถึงเทศนาด้วยใจ      อันเป็นตัวนำ

ทั้งปวง   ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด  คือทำความคำนึงให้อยู่ในเทศนานั้นนั่นเอง.

อีกอย่างหนึ่ง.    บทว่า  สพฺพ  เจตโส  สมนฺนาหริตฺวา  ความว่า  นำมา

เนือง ๆ โดยชอบซึ่งเทศนา   จากจิตทั้งหมด.   ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้

ว่า    เมื่อผู้แสดงทำเทศนาด้วยจิตใด    ไม่ให้เทศนาที่เป็นไปจากจิตทั้งปวง

ออกไปภายนอกแล้วนำมาโดยเนือง ๆ โดยชอบ    คือไม่ผิดแผก    แล้วนำ

จิตสันดานของตนมาทรงไว้ด้วยดี    ซึ่งเทศนาตามที่แสดงแล้ว ๆ.    บทว่า

โอหิตโสตา  ได้แก่  เงี่ยโสตลงสดับ  คือตั้งโสตไว้ด้วยดี.  อีกอย่างหนึ่ง.

บทว่า  โอหิตโสตา  ได้แก่  มีโสตประสาทอันอะไร ๆ ไม่รบกวน.  จริงอยู่

บุคคลแม้เมื่อได้โสตประสาทที่ไม่มีอะไรรบกวนนั้นนั่นแล   จึงไม่ฟุ้งซ่านไป

ในการฟังเหมือนสติสังวร ควรจะกล่าวได้ว่า  ในจักขุนทรีย์เป็นต้นบ้าง  ใน


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 714

โสตินทรีย์บ้าง.  ก็ในที่นี้    ด้วยบททั้ง ๔   มีบทว่า อฏฺิกตฺวา   เป็นต้น

ทรงแสดงถึงการที่ภิกษุเหล่านั้น  ฟังโดยเคารพ  โดยแสดงการเอื้อเฟื้อใน

การฟัง  โดยไม่เป็นอื่นไปจากนั้น.

บทว่า  เอตมตฺถ   วิทิตฺวา  ความว่า   พระองค์ทรงทราบโดยอาการ

ทั้งปวง    ซึ่งภาวะที่ภิกษุเหล่านั้น   มีการกระทำเอื้อเฟื้อในการฟังธรรมกถา

อันเกี่ยวด้วยพระนิพพานนั้น.  บทว่า  อิม  อุทาน ความว่า ทรงเปล่งอุทาน

นี้   อันประกาศภาวะที่พระนิพพานมีอยู่โดยปรมัตถ์   โดยมุขคือพระธรรม

เทศนาที่ผิดตรงกันข้ามจากธรรมนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  อตฺถิ  แปลว่า มีอยู่   อธิบายว่า   เกิด

โดยปรมัตถ์.   บทว่า ภิกฺขเว  เป็นคำเรียกภิกษุเหล่านั้น.   ถามว่า   ก็การ

เปล่งอันยังปีติและโสมนัสให้ตั้งขึ้นก็ดี   อันยังธรรมสังเวชให้ตั้งขึ้นก็ดี  ไม่

มุ่งถึงคนรับธรรม    ชื่อว่าอุทาน    และอุทานนั้นมาในสูตร   มีประมาณ

เท่านี้   เช่นนั้นเหมือนกันมิใช่หรือ   แต่เพราะเหตุไร ในที่นี้  พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเมื่อทรงเปล่งอุทาน  จึงตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น ?   ตอบว่า   เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า   ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น     อันเกี่ยวด้วยพระ-

นิพพาน  เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นเข้าใจ    ก็ทรงเกิดปีติโสมนัสขึ้น   ด้วยหวน

ระลึกถึงคุณของพระนิพพาน    จึงทรงเปล่งอุทาน.    พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของภิกษุเหล่านั้นว่า      สภาวธรรมทั้งหมด

ในพระศาสนานี้   เว้นพระนิพพาน   ที่เป็นไปเนื่องกับปัจจัยเท่านั้นเกิดขึ้น

ได้  ที่ปราศจากปัจจัย   หาเกิดขึ้นไม่  แต่นิพพานธรรมนี้เกิดในปัจจัยไหน

และมีพระประสงค์จะให้พระภิกษุเหล่านั้นเข้าใจ   จึงตรัสคำมีอาทิว่า  ภิกฺขเว

ตทายตน  ดังนี้.  พึงทราบว่า   ไม่ใช่กระทำให้ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้รับโดย


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 715

ส่วนเดียวเท่านั้น.  บทว่า ตทายตน   ได้แก่ เหตุนั้น.     อักษร   ทำการ

เชื่อมบท.     จริงอยู่    พระนิพพานท่านเรียกว่า  อายตนะ  เพราะอรรถว่า

เป็นเหตุ  โดยเป็นอารัมมณปัจจัยแก่มรรคญาณและผลญาณเป็นต้น   เหมือน

รูปารมณ์เป็นต้น  เป็นอารัมมณปัจจัยแก่จักขุวิญญาณเป็นต้น.  ก็ด้วยอันดับ

คำเพียงเท่านี้     พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศถึงสังขตธาตุว่า   มีอยู่โดย

ปรมัตถ์แก่ภิกษุเหล่านั้น.

ในข้อนั้น  มีนัยแห่งธรรมดังต่อไปนี้    เพราะสังขตธรรมมีอยู่   แม้

อสังขตธาตุก็มี    เพราะมีความเป็นคู่ปรับต่อสภาวธรรม    เหมือนอย่างว่า

เมื่อทุกข์มีอยู่   แม้สุขที่เป็นคู่ปรับกับทุกข์นั้น   ก็มีอยู่เหมือนกัน   ฉันใด

เมื่อความร้อนมีอยู่   แม้ความหนาวก็มีอยู่   เมื่อบาปธรรมมีอยู่  แม้กัลยาณ-

ธรรม  ก็มีอยู่เหมือนกัน.   สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เมื่อทุกข์มี    ชื่อว่าสุขก็มีฉันใด  เมื่อภพมี   มีภพ

สภาวะที่ปราศจากภพก็จำต้องปรารถนาฉันนั้น    เมื่อ

ความร้อนมี   ความเย็นก็มีแม้ฉันใด   เมื่อไฟ  ๓  กองมี

พระนิพพานก็จำต้องปรารถนาฉันนั้น   เมื่อบาปธรรม

มี  กัลยาณธรรมก็มีฉันใด   เมื่อความเกิดมี    ความ

ไม่เกิด   ก็จำต้องปรารถนาฉันนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง  การไขความถึงพระนิพพานว่ามีอยู่โดยปรมัตถ์   จักมี

แจ้งข้างหน้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า     ครั้นทรงแสดงถึงอสังขตธาตุ     ว่ามีอยู่โดย

ปรมัตถ์    โดยพร้อมมูลด้วยประการฉะนี้แล้ว    บัดนี้     เพื่อจะทรงแสดง

สภาวะที่พระนิพพานนั้น  มีอยู่โดยมุขคือความผ่องแผ้วแห่งธรรมที่ผิดตรง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 716

กันข้ามจากอสังขตธาตุนั้น  จึงตรัสคำว่า   ยตฺถ  เนว  ปวี   น  อาโป   ดังนี้

เป็นต้น.

ในข้อนั้น    เพราะเหตุที่พระนิพพาน    มีสภาวะผิดตรงกันข้ามจาก

สังขารทั้งปวง     ไม่มีในบรรดาสังขตธรรมไหน ๆ  ฉันใด   แม้ในพระ-

นิพพานนั้น   ก็ไม่มีสังขตธรรมทั้งหมด   ฉันนั้น     เพราะสังขตธรรมและ

อสังขตธรรม  รวมกันไม่ได้.   ในข้อนั้น  มีการทำอธิบายอรรถดังต่อไปนี้

ปฐวีธาตุมีความแข้นแข็งเป็นลักษณะ   อาโปธาตุมีการไหลไปเป็นลักษณะ

เตโชธาตุมีความอบอุ่นเป็นลักษณะ   วาโยธาตุมีการเคลื่อนไหวเป็นลักษณะ

ไม่มีในพระนิพพานใด  คืออสังขตธาตุใด   ดังนั้น     ในธาตุเหล่านั้น    เมื่อ

ว่าโดยความไม่มีแห่งมหาภูตรูป ๘  ก็เป็นอันกล่าวถึงความไม่มีแห่งอุปาทาย

รูปแม้ทั้งหมด   เพราะอาศัยมหาภูตรูปนั้นฉันใด   กามภพและรูปภพก็ฉัน

นั้น  เป็นอันกล่าวว่าไม่มีในพระนิพพานนั้นโดยสิ้นเชิง  เพราะมีความเป็น

ไปไม่เนื่องกับพระนิพพานนั้น   เพราะปัญจโวการภพ  หรือเอกโวการภพ

เว้นจากการอาศัยมหาภูตรูปแล้วก็มีไม่ได้แล.

บัดนี้   เพื่อจะทรงแสดงธรรมที่นับเนื่องในอรูปภพ    ไม่มีในพระ-

นิพพานนั้น   แม้ในเมื่อพระนิพพานมีสภาวะเป็นอรูป  (เป็นนาม)   จึงตรัส

คำมีอาทิว่า  น  อากาสานญฺจายตน  ฯ เป ฯ  น  แนวสญฺานาสญฺายตน

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า  น  อากาสานญฺจายตน  ความว่า  จิต-

ตุปบาท    กล่าวคือ   อากาสานัญจายตนะ    ทั้ง ๓ อย่าง  ต่างโดยกุศลจิต

วิปากจิต  และกิริยาจิต   พร้อมทั้งอารมณ์ย่อมไม่มี.  แม้ในบทที่เหลือ   ก็

นัยนี้เหมือนกัน.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 717

ก็กามโลกไม่มีในพระนิพพานด้วยอารมณ์ใด  แม้อิธโลก และปรโลก

ก็ไม่มีในพระนิพพานนั้น   ด้วยอารมณ์นั้น   เพราะเหตุนั้น  ท่านจึงกล่าวว่า

โลกนี้ไม่มี   โลกหน้าไม่มี   ดังนี้เป็นต้น.

คำนั้น  มีอธิบายดังต่อไปนี้    ขันธโลกนี้ใด  อันได้โวหารว่า  ความ

เป็นอย่างนี้     ปัจจุบันธรรม     และว่าโลกนี้     และขันธโลกอันได้โวหาร

ว่า  โลกอื่นจากโลกนั้น  ปรโลก  และอภิสัมปรายภพใด  ทั้งสองนั้น ไม่มี

ในที่ใด.   บทว่า  น   อุโภ  จนฺทิมสุริยา   ความว่า   เพราะเหตุที่เมื่อรูปมี

ชื่อว่าความมืดก็พึงมี   และเพื่อกำจัดความมืด   พระจันทร์และพระอาทิตย์

ก็หมุนเวียนไป  แต่รูปโดยประการทั้งปวง  ไม่มีในที่ใด   ความมืดในที่นั้น

จักมีในที่ไหน.  อีกอย่างหนึ่ง  การกำจัดความมืดก็คือพระจันทร์และพระ-

อาทิตย์   ฉะนั้น   พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง     ย่อมไม่มีในพระ-

นิพพานใด.    ด้วยคำนี้   ทรงแสดงถึงพระนิพพานมีความสว่างไสว    เป็น

สภาวะนั่นแล.

ก็ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้   พระธรรมราชาเมื่อจะทรงประกาศอมต-

นิพพาน  อันไม่เคยมีไนสงสารซึ่งหาเบื้องต้นรู้ไม่ได้   แม้ที่สุดด้วยความฝัน

อันลึกโดยปรมัตถ์  เห็นได้ยากอย่างยิ่ง  ละเอียดสุขุม  นึกเอาเองไม่ได้  สงบ

ที่สุด  เป็นที่อำนวยผลเฉพาะตน   ประณีตยิ่งนัก   แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ยังไม่

ได้บรรลุ   จึงให้ภิกษุเหล่านั้น   ขจัดความโง่เป็นต้นออกเสีย    เพราะพระ-

นิพพานนั้นมีอยู่ก่อนทีเดียว  ดังบาลีว่า  อตฺถิ  ภิกฺขเว  ตทายตน  ดังนี้เป็นต้น

จึงทรงประกาศพระนิพพานนั้น       โดยมุขคือความไม่งมงายในธรรมอื่น

จากพระนิพพานนั้นว่า ยตฺถ  เนว  ปวี ฯ เป ฯ น  อุโภ  จนฺทิมสุริยา  ดังนี้

เป็นต้น.   ด้วยคำนั้น  เป็นอันแสดงว่า   อสังขตธาตุ   อันมีสภาวะผิดตรง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 718

กันข้ามจากสังขตธรรมทั้งปวงมีปฐวีเป็นต้นว่า   พระนิพพาน.  ด้วยเหตุนั้น

นั่นแล    พระองค์จึงตรัสว่า    ตตฺรปาห  ภิกฺขเว  เนว  อาคตึ   วทามิ  ดังนี้

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ตตฺร   แปลว่า  ในนิพพานนั้น. อปิ   ศัพท์

ใช้ในอรรถสมุจจัย.    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   เราไม่กล่าวการมาของอะไร  ๆ

จากที่ไหนๆ  ที่เป็นไปตามสังขาร  เพราะเหตุสักว่าธรรมเกิดในพระนิพพาน

นั้นตามปัจจัย   อนึ่ง   เราไม่กล่าวอาคติ  คือการมาแต่ที่ไหนๆ  ในอายตนะ

คือพระนิพพานนั้นอย่างนี้  เพราะพระนิพพานไม่มีฐานะที่จะพึงมา.  บทว่า

น  คตึ  ความว่า เราไม่กล่าวการไปในที่ไหนๆ  เพราะฐานะที่พระนิพพาน

จะพึงถึงไม่มี.   เพราะการมาและการไปของสัตว์ทั้งหลาย    เว้นการกระทำ

ให้เป็นอารมณ์ด้วยญาณ   ไม่มีในพระนิพพานนั้น.   อนึ่ง  เราไม่กล่าวถึง

ฐิติ   จุติ  และอุปบัติ.   บาลีว่า  ตทปห   ดังนี้ก็มี.     ความของพระบาลีนั้น

มีดังนี้    อายตนะแม้นั้น   ชื่อว่าไม่มีการมา    เพราะเป็นฐานะที่ไม่ควรมา

เหมือนจากละแวกบ้านมาสู่ละแวกบ้าน.   ชื่อว่าไม่มีการไป   เพราะไม่เป็น

ฐานะที่จะควรไป    ชื่อว่าไม่มีฐิติ    เพราะไม่มีฐานะที่จะตั้งอยู่    เหมือน

แผ่นดินและภูเขาเป็นต้น.    อนึ่ง    ชื่อว่าไม่มีการเกิด    เพราะไม่มีปัจจัย

ชื่อว่าไม่มีจุติ    เพราะไม่มีการตายเป็นสภาวะนั้น.    เราไม่กล่าวฐิติ     จุติ

และอุปบัติ      เพราะไม่มีการเกิดและการดับ    และเพราะไม่มีการตั้งอยู่ที่

กำหนดด้วยการเกิดและการดับทั้ง  ๒  นั้น.     อนึ่ง  พระนิพพานนั้นล้วน

ชื่อว่าไม่ตั้งอยู่ในที่ไหน ๆ  เพราะมีสภาวะเป็นอรูป   และเพราะไม่มีปัจจัย

เพราะเหตุนั้น   จึงชื่อว่า  ไม่มีที่ตั้ง  ชื่อว่า  ไม่เป็นไป   เพราะไม่มีความ

เป็นไปพร้อม    และเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นไปในพระนิพพานนั้น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 719

ชื่อว่า  ไม่มีอารมณ์   เพราะไม่มีอารมณ์อะไร ๆ เป็นที่ยึดเหนี่ยว   และ

เพราะไม่มุ่งถึงอารมณ์ที่อุปถัมภ์        เหมือนสัมปยุตธรรมมีเวทนาเป็นต้น

แม้ที่มีสภาวะเป็นอรูป  (เป็นนาม)   ฉะนั้น   พระนิพพานนั้น  ท่านจึงกล่าวว่า

อายตนะ.   ก็  เอว ศัพท์นี้    พึงประกอบด้วยบททั้งสองคือ  อปฺปติฏฺเมว

อปฺปวตฺตเมว.  บทว่า  เอเสวนฺโต  ทุกฺขสฺส   ความว่า  พระนิพพานซึ่งมี

ลักษณะตามที่กล่าวแล้ว    ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญชมเชย  ด้วย

คำมีอาทิว่า  อปฺปติฏฺ  ดังนี้นั่นแหละ  ชื่อว่าเป็นที่สุด   คือเป็นที่สิ้นสุดแห่ง

วัฏทุกข์ทั้งสิ้น     เพราะเมื่อมีการบรรลุพระนิพพาน    ทุกข์ทั้งหมดก็ไม่มี

เพราะเหตุฉะนั้น   จึงทรงแสดงว่า   พระนิพพานนั้น     มีสภาวะเป็นดังนี้ว่า

เป็นที่สุดแห่งทุกข์นั่นแล.

จบอรรถกถาปฐมนิพพานสูตรที่  ๑

 

๒.  ทุติยนิพพานสูตร

 

ว่าด้วยฐานะที่เห็นได้ยากคือนิพพาน

 

[๑๕๙]    ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ  พระวิหารเชตวัน  อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี  ใกล้พระนครสาวัตถี  ก็สมัยนั้นแล    พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า   ทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง  ให้สมาทาน  ให้อาจหาญ

ให้ร่าเริง   ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยนิพพาน   ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำ

ให้มั่น   มนสิการแล้วน้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว  เงี่ยโสตลงฟัง

ธรรม.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 720

ลำดับนั้นแล    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความแล้ว     จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยาก    ชื่อว่านิพพาน    ไม่มี

ตัณหา  นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้   ไม่เห็นได้โดย

ง่ายเลย  ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว  กิเลสเครื่อง

กังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้  ผู้เห็นอยู่.

จบทุติยนิพพานสูตรที่  ๒

 

อรรถกถาทุติยนิพพานสูตร

 

ทุติยนิพพานสูตรที่  ๒  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า   อิม  อุทาน   ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า   ทรงเปล่งอุทานนี้

อันแสดงถึงภาวะที่พระนิพพานเห็นได้ยาก      เพราะตามปกติเป็นคุณชาต

ลึกซึ้ง.

บรรดาบทเหล่านั้น    บทว่า  ทุทฺทส  ความว่า พระนิพพาน   ชื่อว่า

เห็นได้ยาก   เพราะใคร ๆ ไม่สามารถจะเห็นได้   ด้วยเครื่องปรุงคือญาณที่

ไม่เคยได้สั่งสมอบรมมาเพราะมีสภาวะลึกซึ้ง        และเพราะมีสภาวะสุขุม

ละเอียดอย่างยิ่ง.  สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า  ดูก่อนมาคัณฑิยะ   ก็ท่าน

ไม่มีปัญญาจักษุอันเป็นอริยะ   ที่เป็นเหตุให้ท่านรู้ความไม่มีโรค   ทั้งเป็น

เครื่องเห็นพระนิพพาน.   พระองค์ตรัสไว้อีกว่า  ฐานะแม้เช่นนี้   คือความ

สงบแห่งสรรพสังขารนี้เห็นได้ยาก   ดังนี้เป็นต้น.   บทว่า  อนฺต  ความว่า

ตัณหา  ชื่อว่า นตะ  เพราะน้อมไปในอารมณ์มีรูปเป็นต้น    และในภพมี


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 721

กามภพเป็นต้น       เพราะเป็นไปโดยภาวะที่น้อมไปในอารมณ์และกามนั้น

และเพราะสัตว์ทั้งหลายน้อมไปในอารมณ์และกามภพเป็นต้นนั้น.  พระนิพ-

พานจึงชื่อว่า อนตะ  เพราะไม่เป็นที่ที่สัตว์น้อมไป.   อาจารย์บางพวกกล่าว

ว่า  อนนฺต  ดังนี้ก็มี.  อธิบายว่า  พระนิพพาน  ชื่อว่าเว้นจากที่สุด  คือไม่มี

จุติเป็นธรรม   เป็นความดับสนิท   ได้แก่  เป็นอมตะ   เพราะมีสภาวะแท้.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวความแห่งบทว่า   อนนฺต     ว่าเป็น    อปฺปมาณ.

ก็ในคำเหล่านั้น   ด้วยคำว่า  ทุทฺทส  นี้   พระองค์ทรงแสดงถึงความที่พระ-

นิพพาน   อันสัตว์พึงถึงได้โดยยากว่า    การที่สัตว์ทั้งหลายทำพระนิพพาน

อันหาปัจจัยมิได้    ให้เกิด   มิใช่ทำได้ง่าย    เพราะสัตว์เหล่านั้นถูกกิเลสมี

ราคะเป็นต้น   ซึ่งกระทำปัญญาให้ทุรพล    ให้มีมาเป็นเวลานาน.   ด้วยบทว่า

น   หิ   สจฺจ   สุทสฺสน   แม้นี้      พระองค์ทรงกระทำความนั้นนั่นแหละให้

ปรากฏ.   บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า สจฺจ   ได้แก่ พระนิพพาน.  จริงอยู่

พระนิพพานนั้น   ชื่อว่าสัจจะ  เพราะอรรถว่าไม่ผิดแผก   เหตุเป็นคุณชาต

สงบโดยแท้จริงทีเดียว   เพราะไม่มีสภาวะอันไม่สงบ   โดยปริยายไหน ๆ.

อนึ่ง  พระนิพพานนั้น   ชื่อว่าไม่ใช่เห็นได้ง่าย     คืออันใคร ๆ ไม่พึงเห็น

ได้โดยง่าย   เพราะถึงจะรวบรวมบุญสมภาร    และญาณสมภาร    มาตลอด

กาลนาน   ก็ยังบรรลุได้โดยยากทีเดียว.   สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า  พระนิพพานเราบรรลุได้ยาก.  บทว่า  ปฏิวิทฺธา  ตณฺหา

ชานโต  ปสฺสโต   นตฺถิ  กิญฺจน  ความว่า  หากนิโรธสัจนั้นอันผู้จะตรัสรู้

โดยสัจฉิกิริยาภิสมัย  เมื่อว่าโดยวิสัย  โดยกิจ  และโดยอารมณ์  ก็ตรัสรู้ได้

โดยการรู้ตลอดอารมณ์    และการรู้ตลอดโดยไม่งมงาย    เหมือนทุกขสัจที่

ตรัสรู้ได้โดยปริญญาภิสมัย   และมรรคสัจ  ที่ตรัสรู้ได้โดยภาวนาภิสมัย  คือ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 722

การรู้ตลอดโดยไม่งมงาย    ด้วยอาการอย่างนี้     เป็นอันรู้แจ้งตลอดตัณหา

ด้วยปหานาภิสมัย     และด้วยความไม่งมงาย.    ก็เมื่อบุคคลรู้เห็นสัจจะ  ๔

ด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยอริยมรรคตามที่เป็นจริงอย่างนี้     ชื่อว่าย่อมไม่มี

ตัณหา  อันเป็นเหตุนำสัตว์ไปในภพเป็นต้น   เมื่อตัณหานั้นไม่มี  กิเลสวัฏ

แม้ทั้งหมดก็ไม่มี    ต่อแต่นั้นกัมมวัฏและวิปากวัฏ   ก็ไม่มีเหมือนกันแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า       ทรงประกาศอานุภาพแห่งอมตมหานิพพาน

อันเป็นเหตุสงบระงับวัฏทุกข์ได้เด็ดขาด    แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น   ด้วย

ประการฉะนี้.  คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาทุติยนิพพานสูตรที่  ๒

 

๓.  ตติยนิพพานสูตร

 

ว่าด้วยพระนิพพานธรรมชาติปรุงแต่งไม่ได้

 

[๑๖๐]  ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ  พระวิหารเชตวัน  อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี  ใกล้พระนครสาวัตถี  ก็สมัยนั้นแล   พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง. . .เงี่ยโสตลงสดับธรรม

ลำดับนั้นแล   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว   จึงทรงเปล่ง

อุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว   ไม่

เป็นแล้ว   อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว   ปรุงแต่งไม่ได้

แล้ว   มีอยู่  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ถ้าปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว

เกิดแล้ว  ไม่เป็นแล้ว  อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว

ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว   จักไม่ได้มีแล้วไซร้   การสลัด


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 723

ออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว   เป็นแล้ว  อันปัจจัย

กระทำแล้ว  ปรุงแต่งแล้ว   จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้

เลย  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็เพราะธรรมชาติอันไม่

เกิดแล้ว  ไม่เป็นแล้ว   อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว

ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว   มีอยู่   ฉะนั้น  การสลัดออกซึ่ง

ธรรมชาติที่เกิดแล้ว   เป็นแล้ว  อันปัจจัยกระทำแล้ว

ปรุงแต่แล้วจึงปรากฏ.

จบตติยนิพพานสูตรที่  ๓

 

อรรถกถาตติยนิพพานสูตร

 

ตติยนิพพานสูตรที่  ๓  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า  อถ  โข  ภควา   เอตมตฺถ  วิทิตฺวา  ความว่า  ได้ยินว่า  ในกาล

นั้น    เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า    ทรงประกาศโทษในสงสารโดยเอนกปริยาย

แล้ว    ทรงแสดงพระธรรมเทศนา    อันเกี่ยวด้วยพระนิพพาน    โดยการ

แสดงเทียบเคียงเป็นต้นแล้ว   ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า   พระผู้มี-

พระภาคเจ้า     ทรงประกาศสงสารนี้     พร้อมด้วยเหตุ    มีอวิชชาเป็นต้น

อันชื่อว่า  สเหตุกะ   แต่ไม่ตรัสถึงเหตุอะไร ๆ   แห่งพระนิพพานซึ่งเป็น

เหตุสงบสงสารนั้น     พระนิพพานนี้นั้นจัดเป็นอเหตุกะ    อเหตุกะนั้นจะ

เกิดได้    เพราะอรรถว่า    มีการกระทำให้แจ้ง    และมีอรรถเป็นอย่างไร.

ลำดับนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอรรถนี้  ตามที่กล่าวแล้ว  ของภิกษุ

เหล่านั้น.  บทว่า  อิม  อุทาน  ความว่า  พระองค์ทรงเปล่งอุทานนี้    อัน

เป็นเหตุ  ประกาศอมตมหานิพพาน  อันมีอยู่โดยปรมัตถ์  เพื่อกำจัดความ

สงสัยของภิกษุเหล่านั้น     และเพื่อหักรานมิจฉาวาทะ     ของสมณพราหมณ์

ในโลกนี้ ผู้ปฏิบัติผิด  ผู้มีทิฏฐิคติหนาแน่น   ในภายนอกทีเดียว  เหมือน

บุคคลผู้ยึดโลกเป็นใหญ่ว่า  คำว่า  นิพพาน  นิพพาน  เป็นเพียงแต่เรื่อง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 724

พูดกันเท่านั้น   แต่ความจริง  เมื่อว่าโดยปรมัตถ์  ชื่อว่า พระนิพพาน  ย่อม

ไม่มี  เพราะมีการไม่เกิดเป็นสภาวะ.

บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า   อชาต  อภูต  อกต  อสงฺขต  ทั้งหมด

เป็นไวพจน์ของกันและกัน.    อีกอย่างหนึ่ง.   พระนิพพานชื่อว่า  อชาตะ

เพราะไม่เกิด คือ ไม่บังเกิด      เพราะความพรั่งพร้อมแห่งเหตุ     คือการ

ประชุมแห่งเหตุและปัจจัย   เหมือนเวทนาเป็นเป็นต้น ชื่อว่า อภูตะ  เพราะ

เว้นจากเหตุ    และตนเองเสีย    ย่อมไม่มี    คือไม่ปรากฏ    ได้แก่   ไม่เกิด

ชื่อว่า  อกตะ  เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง   ไม่สร้างขึ้นเพราะไม่เกิด  และ

เพราะไม่มีอย่างนี้.     อนึ่ง เพื่อจะแสดงว่าสังขตธรรมมีนามรูปเป็นต้น   มี

การเกิด  การมี  การสร้างขึ้นเป็นสภาวะ     พระนิพพานซึ่งมีอสังขตธรรม

เป็นสภาวะ หาเป็นเช่นนั้นไม่   จึงตรัสว่า  อสงฺขต  ดังนี้.   อนึ่ง  เมื่อว่าโดย

ปฏิโลมตรัสว่า  สังขตธรรม  เพราะถูกปัจจัยอาศัยกันและกันสร้างให้มีขึ้น.

อนึ่ง  ท่านกล่าวว่า   เป็นอสังขตะ   เพราะไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง   คือเว้นจาก

ลักษณะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง.      เมื่อภาวะที่พระนิพพานบังเกิดด้วยเหตุมาก

มายอย่างนี้   สำเร็จแล้ว    เพื่อจะแสดงว่า   พระนิพพานไม่มีปัจจัยอะไร ๆ

แต่งขึ้น   ด้วยความรังเกียจว่า   พระนิพพานจะพึงมีเหตุอย่างหนึ่ง   ตบแต่ง

หรือหนอ  จึงตรัสว่า  อกต   ไม่ถูกเหตุอะไร ๆ   ตบแต่ง.     แม้เมื่อพระ-

นิพพานไม่มีปัจจัยอย่างนี้    เพื่อจะให้ความรังเกียจว่า   พระนิพพานนี้เป็น

ขึ้น  ปรากฏขึ้นเองหรือหนอ   เป็นไปไม่ได้  จึงตรัสว่า   อภูต.    เพื่อจะ

แสดงว่า   พระนิพพานนี้นั้น   ไม่มีปัจจัยปรุง  ไม่ได้แต่ง  ไม่มีนี้   จะมีได้

เพราะพระนิพพานมีการไม่เกิดเป็นธรรมดา โดยประการทั้งปวง   จึงตรัสว่า

อชาต.  บัณฑิตพึงทราบความที่บททั้ง  ๔  นี้   มีประโยชน์อย่างนี้แล้ว  พึง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 725

ทราบว่า  พระองค์ทรงประกาศว่า  พระนิพพานมีอยู่   โดยปรมัตถ์   โดย

พระบาลีว่า  ภิกษุทั้งหลาย  พระนิพพานนี้นั้นมีอยู่.    ก็ในพระสูตรนี้  พึง

ทราบเหตุในบท  อาลปนะว่า  ภิกฺขเว  โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า  เมื่อทรง

เปล่งจึงตรัสไว้แล้วในหนหลังแล.

ดังนั้น  พระศาสดา  ครั้นตรัสว่า  ภิกษุทั้งหลาย   พระนิพพานไม่

เกิด  ไม่มี   อันปัจจัยอะไร ๆ  ไม่แต่ง  ไม่ปรุง  มีอยู่   เมื่อจะทรงเสดงเหตุใน

ข้อนั้น     จึงตรัสคำว่า  โน  เจ  ต  ภิกฺขเว  ดังนี้เป็นต้น.

พระบาลีนั้น  มีความสังเขปดังต่อไปนี้.   ภิกษุทั้งหลาย  ถ้าอสังขต-

ธาตุ   ซึ่งมีสภาวะไม่เกิดเป็นต้น    จักไม่ได้มี  หรือจักไม่พึงมีไซร้    ความ

สลัดออก  คือความสงบโดยสิ้นเชิง   ซึ่งสังขตะ  กล่าวคือขันธ์  ๕  มีรูปเป็น

ต้น   ซึ่งมีสภาวะเกิดขึ้นเป็นต้น    ไม่พึงปรากฏ  คือไม่พึงเกิด   ไม่พึงมีใน

โลกนี้.   จริงอยู่   ธรรมคืออริยมรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น   อันกระทำพระ-

นิพพานให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น   ย่อมตัดกิเลสได้เด็ดขาด.  ด้วยเหตุนั้น  ใน

ที่นี้    ความไม่เป็นไป    ความปราศจากไป    ความสลัดออกแห่งวัฏทุกข์

ทั้งสิ้น  ย่อมปรากฏ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า   ครั้นทรงแสดงถึงพระนิพพานว่า  มีอยู่   โดยที่

ภาวะตรงกันข้าม  บัดนี้   เพื่อจะแสดงพระนิพพานนั้น   โดยนัยที่คล้อยตาม

จึงตรัสคำมีอาทิว่า  ยสฺมา  จ  โข  ดังนี้.  คำนั้น   มีอรรถดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ก็ในที่นี้      เพราะเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า      เมื่อจะทรงอนุเคราะห์แก่

สัตวโลกทั้งมวล    จึงทรงแสดงความเกิดมีแห่งนิพพานธาตุ    โดยปรมัตถ์

โดยสุตตบทเป็นอเนก   มีอาทิว่า ธรรมที่ไม่มีปัจจัย   ธรรมที่เป็นอสังขตะ

ภิกษุทั้งหลาย   อายตนะนั้นมีอยู่   ในที่ที่ปฐวีธาตุ   ไม่มีเลย  ฐานะแม้นี้แล


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 726

เห็นได้แสนยาก  คือ  ความสงบสังขารทั้งปวง   การสละคืนอุปธิกิเลสทั้ง-

ปวง   ภิกษุทั้งหลาย     ก็เราจักแสดงอสังขตธรรม   และปฏิปทาเครื่องให้

สัตว์ถึงอสังขตธรรมแก่เธอทั้งหลาย   และด้วยสูตรแม้นี้ว่า   ภิกษุทั้งหลาย

พระนิพพาน ไม่เกิด  มีอยู่  ฉะนั้น  แม้ถ้าวิญญูชน  ผู้กระทำไม่ให้ประจักษ์

ในพระนิพพานนั้นไซร้   ก็ย่อมไม่มีความสงสัย   หรือความเคลือบแคลงเลย.

เพื่อจะบรรเทาความเคลือบแคลงของเหล่าบุคคล   ผู้มีความรู้ในการแนะนำ

ผู้อื่น   ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้.    การสลัดออกเป็นปฏิปักษ์ต่อกาม

และอารมณ์มีรูปเป็นต้น   ที่เวียนซ้าย    คือที่มีสภาวะผิดตรงกันข้ามจากนั้น

ย่อมปรากฏโดยมุข  คือการถอนออกจากทุกข์  หรือเพราะกำหนดรู้  อันมี

การพิจารณาที่เหมาะสม  พระนิพพาน   อันเป็นปฏิปักษ์ต่อสังขตธรรมทั้ง-

หมด   ซึ่งมีสภาวะเป็นเช่นนั้น    คือมีสภาวะผิดตรงกันข้ามจากนั้น     พึง

เป็นเครื่องสลัดออก.  ก็พระนิพพาน   อันเป็นเครื่องสลัดออกจากทุกข์นั้น

ก็คืออสังขตธาตุ.     พึงทราบให้ยิ่งขึ้นไปอีกเล็กน้อย.    วิปัสสนาญาณก็ดี

อนุโลมญาณก็ดี    ซึ่งมีสังขตธรรมเป็นอารมณ์   ย่อมไม่อาจจะละกิเลสได้

โดยเด็ดขาด.  อนึ่ง  ญาณในปฐมฌานเป็นต้น   ซึ่งมีสมมติสัจจะเป็นอารมณ์

ย่อมละกิเลสได้   ด้วยวิกขัมภนปหานเท่านั้น   หาละได้ด้วยสมุจจเฉทปหานไม่.

ดังนั้น    อริยมรรคญาณ   อันกระทำการละกิเลสเหล่านั้น   ได้เด็ดขาด  ก็

พึงเป็นอารมณ์     ซึ่งมีสภาวะผิดตรงกันข้ามจากญาณทั้งสองนั้น     เพราะ

ญาณซึ่งมีสังขตธรรมเป็นอารมณ์     และมีสมมติสัจจะเป็นอารมณ์     ไม่

สามารถในการตัดกิเลสได้เด็ดขาดนั้น   ชื่อว่า  อสังขตธาตุ.  อนึ่ง  พระ-

ดำรัสที่ส่องถึงบทแห่งพระนิพพาน   ซึ่งมีอยู่โดยปรมัตถ์   พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่า    เป็นอรรถที่ไม่ผิดแผก    ดังบาลีนี้ว่า   ภิกษุทั้งหลาย    พระ-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 727

นิพพาน  ไม่เกิด  ไม่มี  อันปัจจัยอะไร ๆ  ไม่แต่ง  ไม่ปรุง  มีอยู่.  จริงอยู่

คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า  ซึ่งมีอรรถไม่ผิดแผก   ดังที่ตรัสไว้ว่า

สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง   สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์  ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

ดังนี้.   อนึ่ง  นิพพานศัพท์  มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์   ตามเป็นจริง   แม้ใน

อารมณ์บางอย่าง    เพราะเกิดมีความเป็นไปเพียงอุปจาร    เหมือนศัพท์ว่า

สีหะ.  อีกอย่างหนึ่ง.  พึงทราบอสังขตธาตุว่ามีอยู่โดยปรมัตถ์   แม้โดย

ยุติ  โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า   เพราะพระนิพพาน  มีสภาวะพ้นจากสิ่งที่มี

ภาวะตรงกันข้ามนั้น  นอกนี้   เหมือนปฐวีธาตุ  หรือเวทนา.

จบอรรถกถาตติยนิพพานสูตรที่  ๓

 

๔.  จตุตถนิพพานสูตร

 

ว่าด้วยการตรัสถึงพระนิพพานไม่มีการมาการไป

 

[๑๖๑]  ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง   พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ พระวิหารเชตวัน   อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี   ใกล้พระนครสาวัตถี   ก็สมัยนั้นแล  พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง . . . เงี่ยโสตลงฟังธรรม

ลำดับนั้นแล   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว    จึงทรงเปล่ง

อุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ความหวั่นไหวย่อมมีแก่บุคคลผู้อันตัณหาและ

ทิฏฐิอาศัย  ย่อมไม่มีแก่ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย

เมื่อความหวั่นไหวไม่มี   ก็ย่อมมีปัสสัทธิ  เมื่อ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 728

มีปัสสัทธิ   ก็ย่อมไม่มีความยินดี   เมื่อไม่มีความยินดี

ก็ย่อมไม่มีการมาการไป  เมื่อไม่มีการมาการไป  ก็

ไม่มีการจุติและอุปบัติ    เมื่อไม่มีการจุติและอุปบัติ

โลกนี้โลกหน้าก็ไม่มี  ระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี  นี้แล

เป็นที่สุดแห่งทุกข์.

จบจตุตถนิพพานสูตรที่  ๔

 

อรรถกถาจตุตถนิพพานสูตร

 

จตุตถนิพพานสูตรที่  ๔  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า  อถ  โข  ภควา  เอตมตฺถ  วิทิตฺวา  ความว่า  ได้ยินว่า  ใน

กาลนั้น   พระผู้มีพระภาคเจ้า   เมื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนา   อันเกี่ยว

ด้วยพระนิพพาน   โดยแสดงการเทียบเคียงเป็นต้น    โดยอเนกปริยายแล้ว

ภิกษุเหล่านั้น   ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า   อันดับแรก   พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงแสดงอานิสงส์      ซึ่งมีขันธ์มีอาการเป็นอเนกแห่งอมตมหา-

นิพพานธาตุ   จึงทรงประกาศอานุภาพนี้  อันไม่ทั่วไป  แก่ผู้อื่น.   แต่ไม่

ตรัสอุบายเครื่องบรรลุอมตมหานิพพานธาตุนั้น      พวกเรา   เมื่อปฏิบัติอยู่

จะพึงบรรลุอมตมหานิพพานนี้อย่างไรหนอ.  ลำดับนั้น  พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงทราบโดยอาการทั้งปวง     ซึ่งอรรถกล่าวคือภาวะที่ภิกษุเหล่านั้นมี

ความปริวิตก   ตามที่กล่าวแล้วนี้.  บทว่า  อิม  อุทาน  ความว่า  พระองค์

ทรงเปล่งอุทานนี้  อันประกาศถึงการบรรลุพระนิพพาน  ด้วยการละตัณหา

ได้เด็ดขาดด้วยอริยมรรค       ของบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาอันดำเนินไปตาม

วิถีจิต     ผู้มีกายและจิตสงบระงับ     ผู้ไม่อิงอาศัยในอารมณ์ไหน ๆ    ด้วย

อำนาจตัณหา.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 729

บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า  นิสฺสิตสฺส   จลิต  ความว่า  บุคคลผู้

ถูกตัณหา  และทิฏฐิเข้าอาศัยในสังขารมีรูปเป็นต้น   ย่อมหวั่นไหว  คือ

ย่อมดิ้นรนเพราะตัณหาและทิฏฐิว่า  นั่นเป็นของเรา  นั่นเป็นอัตตาของ

เรา.   จริงอยู่  เมื่อบุคคลผู้ยังละตัณหาและทิฏฐิไม่ได้   เมื่อสุขเวทนาเป็นต้น

เกิดขึ้น  ไม่อาจจะครอบงำเวทนามีสุขเวทนาเป็นต้นเหล่านั้นอยู่  มีจิต

สันดานดิ้นรนกวัดแกว่ง   ดิ้นรนหวั่นไหว   อันนำออกแล้ว   เพราะให้กุศล

เกิดขึ้นด้วยอำนาจการยึดถือตัณหาและทิฏฐิ   โดยนัยมีอาทิว่า   เวทนาของ

เรา  เราเสวย.   บทว่า  อนิสฺสิตสฺส   จลิต   นตฺถิ  ความว่า  ก็บุคคลใด

ดำเนินไปตามวิสุทธิปฏิปทา  ย่อมข่มตัณหา   และทิฏฐิได้ด้วยสมถะและ

วิปัสสนา   ย่อมพิจารณาเห็นสังขาร   ด้วยลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น

อยู่   บุคคลนั้น  คือ ผู้ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิอาศัย    ย่อมไม่มีจิตหวั่นไหว

ฟุ้งซ่าน  ดิ้นรน   ตามที่กล่าวแล้วนั้น  เพราะข่มเหตุไว้ได้ด้วยดีแล้ว.    บทว่า

จลิเต  อสติ   ความว่า  เมื่อจิตไม่มีความหวั่นไหว   ตามที่กล่าวแล้วเขาก็

ทำจิตนั้น   ให้เกิดความขวนขวายในวิปัสสนา   อันดำเนินไปตามวิถีจิต

โดยที่การยึดถือตัณหาและทิฏฐิเกิดขึ้นไม่ได้.  บทว่า  ปสฺสทฺธิ  ความว่า

ปัสสัทธิทั้ง  ๒  อย่าง  อันเข้าไปสงบกิเลส   ซึ่งกระทำความกระวนกระวาย

กายและจิต  ที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาจิต.   บทว่า   ปสฺสทฺธิยา  สติ  นติ  น

โหติ  ความว่า   เมื่อปัสสัทธิ   อันควรแก่คุณวิเศษ    ก่อนและหลัง  มีอยู่

เธอเจริญสมาธิ   อันมีความสุขหามิได้   เป็นที่ตั้งแล้วจึงประกอบสมถะ

และวิปัสสนาให้เนื่องกันเป็นคู้   โดยทำสมาธินั้น   ให้รวมกับวิปัสสนาแล้ว

ทำกิเลสให้สิ้นไปโดยสืบ ๆ  แห่งมรรค   ตัณหาอันได้นามว่า  นติ  เพราะ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 730

น้อมไปในกามภพเป็นต้น   ไม่มีในขณะแห่งอริยมรรค   โดยเด็ดขาด

อธิบายว่า  ไม่เกิดขึ้น  เพราะให้ถึงความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา

บทว่า   นติยา  อสติ  ความว่า  เมื่อไม่มีปริยุฏฐานกิเลส  คือ  ความ

อาลัยและความติด  เพื่อต้องการภพเป็นต้น     เพราะละตัณหาได้เด็ดขาด

ด้วยอริยมรรค.   บทว่า   อาคติคติ  น  โหติ  ความว่า  การมา  คือ  ความมา

ในโลกนี้ด้วยอำนาจปฏิสนธิ   การไป คือ  การไปจากโลกนี้   สู่ปรโลก  ได้

แก่ความละไปด้วยอำนาจจุติ   ย่อมไม่มี  ได้แก่  ย่อมไม่เกิด.  บทว่า  อาคติ-

คติยา  อสติ  ความว่า   เมื่อไม่มีการมาและการไป   โดยนัยดังกล่าวแล้ว.

บทว่า  จุตูปปาโต  น  โหติ  ความว่า  การจุติและอุปบัติไป ๆ มา  ๆ ย่อม

ไม่มี  คือ  ย่อมไม่เกิด.   จริงอยู่  เมื่อไม่มีกิเลสวัฏ    กัมมวัฏก็เป็นอันขาดไป

ทีเดียว   และเมื่อกัมมวัฏนั้นขาดไป  วิปากวัฏจักมีแต่ที่ไหน  ด้วยเหตุนั้น

นั่นแล    ท่านจึงกล่าวว่า    เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ  โลกนี้และโลกหน้า

ก็ไม่มี  ดังนี้เป็นต้น.   คำที่ควรกล่าวในข้อนั้น  ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว

โดยพิสดารในพาหิยสูตร    ในหนหลังนั่นแล.    เพราะฉะนั้น      พึงทราบ

ความ  โดยนัยดังกล่าวแล้วในพาหิยสูตรนั่นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า      ทรงประกาศอานุภาพแห่งอมตมหานิพพาน

อันเป็นเหตุสงบทุกข์ในวัฏฏะได้โดยเด็ดขาด  ด้วยสัมมาปฏิบัติ   แก่ภิกษุ

เหล่านั้น    ในพระศาสนาแม้นี้    ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาจตุตถนิพพานสูตรที่  ๔


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 731

๕.  จุนทสูตร

 

ว่าด้วยเสวยพระกระยาหารมื้อสุดท้าย

 

๑๖๒]   ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในมัลลชนบท    พร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่  ได้เสด็จถึงเมืองปาวา  ได้ยินว่า  ในที่นั้น  พระผู้

มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ   อัมพวันของนายจุนทกัมมารบุตรใกล้เมืองปาวา

นายจุนทกัมมารบุตรได้สดับข่าวว่า      พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปใน

มัลลชนบท    พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จมาถึงเมืองปาวาแล้วประทับ

อยู่  ณ  อัมพวันของเราใกล้เมืองปาวา   ลำดับนั้นแล   นายจุนทกัมมารบุตร

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ         ถวายบังคมแล้วนั่ง  ณ  ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง       พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้นายจุนทกัมมารบุตร

เห็นแจ้ง    ให้สมาทาน    ให้อาจหาญ      ร่าเริง     ด้วยธรรมีกถา  ลำดับ

นั้นแล  นายจุนทกัมมารบุตร   อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน  ให้อาจหาญ   ร่าเริง   ด้วยธรรมีกถาแล้ว    ได้กราบทูลพระผู้-

มีพระภาคเจ้าว่า   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์จงทรงรับภัตของข้าพระองค์เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้    พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ    ลำดับนั้นแล   นายจุนทกัมมารบุตร

ทราบว่า      พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว     ลุกจากอาสนะถวาย

บังคม    กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป    ครั้งนั้น    เมื่อล่วงราตรีนั้นไป

นายจุนทกัมมารบุตรสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอันประณีต   และเนื้อ

สุกรอ่อนเป็นอันมากในนิเวศน์ของตน     แล้วให้กราบทูลภัตกาลแด่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ถึงเวลาแล้ว  ภัตสำเร็จแล้ว


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 732

ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว  ทรงถือบาตรและจีวร

เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของนายจุนทกัมมารบุตร   พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์   แล้ว

ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาปูลาดถวาย   ครั้นแล้วตรัสกะนายจุนทกัมมาร-

บุตรว่า    ดูก่อนจุนทะ    เนื้อสุกรอ่อนอันใดท่านได้ตกแต่งไว้    ท่านจง

อังคาสเราด้วยเนื้อสุกรอ่อนนั้น      ส่วนขาทนียโภชนียาหารอื่นใดท่านได้

ตกแต่งไว้  ท่านจงอังคาสภิกษุสงฆ์ด้วยขาทนียโภชนียาหารนั้นเถิด  นาย-

จุนทกัมมารบุตรทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า   แล้วอังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยเนื้อสุกรอ่อนที่ได้ตกแต่งไว้    และอังคาสภิกษุสงฆ์ด้วยขาทนียโภชนี-

ยาหารอย่างอื่นที่ได้ตกแต่งไว้     ลำดับนั้น     พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะ

นายจุนทกัมมารบุตรว่า   ดูก่อนจุนทะ  ท่านจงฝังเนื้อสุกรอ่อนที่เหลืออยู่นั้น

เสียในบ่อ   เราไม่เห็นบุคคลผู้บริโภคเนื้อสุกรอ่อนนั้นแล้ว    พึงให้ย่อยไป

โดยชอบ   ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก   มารโลก    พรหมโลก   ในหมู่สัตว์

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์  เทวดาและมนุษย์  นอกจากตถาคต   นายจุนท-

กัมมารบุตรตรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว      ฝั่งเนื้อสุกรอ่อนที่ยังเหลือเสีย

ในบ่อ  แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ   ถวายบังคมแล้วนั่ง

ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้นายจุนทกัมมาร-

บุตรเห็นแจ้ง   ให้สมาทาน   ให้อาจหาญ     ร่าเริง    ด้วยธรรมีกถา   เสด็จ

ลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป.

[๑๖๓]  ครั้งนั้นแล  เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสวยภัตของนาย-

จุนทกัมมารบุตรแล้ว   เกิดอาพาธกล้า  เวทนากล้า  มีการลงพระโลหิตใกล้

ต่อนิพพาน   ได้ยินว่าในสมัยนั้น    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระสติสัมป-

ชัญญะ  ทรงอดกลั้นไม่ทุรนทุราย  ครั้นนั้นแล   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 733

กะท่านพระอานนท์ว่า  มาเถิดอานนท์  เราจักไปเมืองกุสินารา ท่านพระ-

อานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า   พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น

นักปราชญ์   เสวยภัตตาหารของนายจุนทกัมมารบุตร

แล้ว  อาพาธกล้า  ใกล้ต่อนิพพาน  เกิดพยาธิกล้าขึ้น

แก่พระศาสดาผู้เสวยเนื้อสุกรอ่อน   พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงพระบังคนหนักเป็นพระโลหิตอยู่  ได้ตรัส

ว่า   เราจะไปนครกุสินารา.

[๑๖๔]     ครั้งนั้นแล  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแวะออกจากทางแล้ว

เสด็จเข้าไปยังโคนต้นไม้ต้นหนึ่ง  ครั้นแล้วตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า   ดู

ก่อนอานนท์  เร็วเถิด  เธอจงปูลาดผ้าสังฆาฏิ  ๔  ชั้นแก่เรา  เราเหน็ดเหนื่อย

นัก    จักนั่ง    ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว     ปูลาดผ้า

สังฆาฏิ  ๔  ชั้นถวาย       พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนืออาสนะที่ท่าน

พระอานนท์ปูถวาย    ครั้นแล้วตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า   ดูก่อนอานนท์

เร็วเถิด  เธอจงไปนำน้ำดื่มมาให้เรา  เรากระทำ   จักดื่มน้ำ   เมื่อพระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้นแล้ว   ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  บัดนี้  เกวียนประมาณ  ๕๐๐  เล่มผ่านไป

แล้ว   น้ำนั้นถูกล้อเกวียนบดแล้ว    ขุ่นมัวหน่อยหนึ่ง    ไหลไปอยู่    แม่น้ำ

กุกุฏานที่นี้มีน้ำใสจืดเย็นสนิท  มีท่าราบเรียบ  ควรรื่นรมย์  อยู่ไม่ไกลนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้า      จักเสวยน้ำและจักสรงชำระพระกายให้เย็นในแม่น้ำ

กุกุฏานที่นี้   แม้ครั้งที่  ๒... แม้ครั้งที่  ๓  พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสกะท่าน

พระอานนท์ว่า     ดูก่อนอานนท์   เร็วเถิด    เธอจงไปนำน้ำดื่มมาให้เรา


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 734

เรากระหาย      จักดื่มน้ำ    ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ถือบาตรเข้าไปยังแม่น้ำนั้น.

[๑๖๕]   ครั้งนั้นแล   แม่น้ำนั้นถูกล้อเกวียนบดแล้ว   ขุ่นมัวหน่อย

หนึ่งไหลไปอยู่   เมื่อท่านพระอานนท์เดินเข้าไปใกล้  ใสแจ๋วไม่ขุ่นมัวไหล

ไปอยู่   ลำดับนั้น    พระอานนท์ดำริว่า  ท่านผู้เจริญ   น่าอัศจรรย์หนอ

ท่านผู้เจริญ   ไม่เคยมีมาแล้วหนอ  ความที่พระตถาคตทรงมีฤทธิ์มีอานุภาพ

มาก  แม่น้ำนี้แล  ถูกล้อเกวียนบดแล้ว  ขุ่มมัวหน่อยหนึ่งไหลไปอยู่  เมื่อ

เราเดินเข้าไปใกล้   ใสแจ๋วไม่ขุ่นมัวไหลไปอยู่   ท่านพระอานนท์เอาบาตร

ตักน้ำแล้ว   เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ     ครั้นแล้วได้กราบ

ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์  ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ   ไม่เคยมีมาแล้ว     ความที่พระตถาคตทรงมีฤทธิ์    มีอานุภาพมาก

แม่น้ำนี้แล     ถูกล้อเกวียนบดแล้ว     ขุ่นมัวหน่อยหนึ่งไหลไปอยู่    เมื่อ

ข้าพระองค์เดินเข้าไปใกล้    ใสแจ๋วไม่ขุ่มมัวไหลไปอยู่    ขอพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสวยน้ำเถิด  ขอพระสุคตเจ้าเสวยน้ำเถิด  ครั้นนั้นแล  พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้เสวยน้ำ.

[๑๖๖]   ครั้งนั้นแล  พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จ

เข้าไปยังแม่น้ำกุกุฏานที   ครั้นแล้วเสด็จลงแม่น้ำกุกฏานที  ทรงสรงและ

เสวยเสร็จแล้วเสด็จขึ้นแล้วเสด็จเข้าไปยังอัมพวัน  ครั้นแล้วตรัสเรียกท่าน

พระจุนทกะว่า  ดูก่อนจุนทกะ   เธอจงปูลาดผ้าสังฆาฏิ  ๔  ชั้นแก่เราเถิด

เราเหน็ดเหนื่อยจักนอน    ท่านพระจุนทกะทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ปูลาดผ้าสังฆาฏิ  ๔  ชั้นถวาย  ลำดับนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำเร็จ

สีหไสยาโดยพระปรัศว์เบื้องขวา   ซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท  ทรงมี


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 735

พระสติสัมปชัญญะ  มนสิการอุฏฐานสัญญา  ส่วนท่านพระจุนทกะนั่งอยู่

เบื้องหน้าพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า  ณ  ที่สำเร็จสีหไสยานั้นเอง.

ครั้นกาลต่อมา   พระธรรมสังคาหกาจารย์ได้รจนาคาถาเหล่านี้ไว้ว่า

[๑๖๗]          พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังแม่น้ำกุกุฏานที   มีน้ำ

ใสแจ๋วจืดสนิท   เสด็จลงไปแล้ว  พระตถาคตผู้

ศาสดาผู้ไม่มีบุคคลเปรียบในโลกนี้   มีพระกายเหน็ด

เหนื่อยนักแล้ว  ทรงสรงและเสวยแล้วเสด็จขึ้น  พระ-

ศาสดาผู้อันโลกพร้อมทั้งเทวโลกห้อมล้อมแล้วในท่าม

กลางแห่งหมู่ภิกษุ   พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสดาผู้-

แสวงหาคุณอันใหญ่ทรงประกาศในพระธรรมนี้  เสด็จ

ถึงอัมพวันแล้ว   ตรัสเรียกภิกษุชื่อจุนทกะว่า   เธอจงปู

ลาดสังฆาฏิ  ๔  ชั้นแก่เราเถิด  เราจักนอน  ท่านพระ-

จุนทกะนั้น      อันพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระองค์ทรง

อบรมแล้ว      ทรงตักเตือนจึงรีบปูลาดสังฆาฏิ  ๔  ชั้น

ทีเดียว  พระศาสดามีพระกายเหน็ดเหนื่อยนัก   ทรง

บรรทมแล้ว.     ฝ่ายพระจุนทกะก็ได้นั่งอยู่เบื้องพระ-

พักตร์  ณ  ที่นั้น.

[๑๖๘]  ลำดับนั้นแล  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์

ว่า  ดูก่อนอานนท์   ข้อนี้จะพึงมีบ้าง  ใคร ๆ  จะพึงทำความเดือดร้อนให้

เกิดแก่นายจุนทกัมมารบุตรว่า    ดูก่อนอาวุโสจุนทะ   ไม่เป็นลาภของท่าน

ท่านได้ไม่ดีแล้ว        ที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาตของท่านเป็นครั้งสุดท้าย


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 736

แล้วปรินิพพาน  ดังนี้    ดูก่อนอานนท์   เธอพึงระงับความเดือดร้อนของ

นายจุนทกัมมารบุตรว่า   ดูก่อนอาวุโสจุนทะ  เป็นลาภของท่าน  ท่านได้

ดีแล้ว     ที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาตของท่านเป็นครั้งสุดท้ายแล้วปรินิพ-

พาน  ดูก่อนอาวุโสจุนทะ   ข้อนี้เราได้ฟังมา   ได้รับมาแล้วเฉพาะพระพักตร์

พระผู้มีพระภาคเจ้า  บิณฑบาตทั้ง ๒ นี้มีผลเสมอ ๆ กัน  มีวิบากเท่า ๆ กัน

มีผลมากและอานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตเหล่าอื่นมากนัก  บิณฑบาต  ๒  เป็น

ไฉน   คือ   บิณฑบาตที่พระตถาคตเสวยแล้วได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัม-

โพธิญาณ  ๑      บิณฑบาตที่พระตถาคตเสวยแล้วเสด็จปรินิพพานด้วยอนุ-

ปาทิเสสนิพพานธาตุ  ๑  บิณฑบาตทั้ง  ๒  นี้มีผลเสมอ ๆ กัน มีวิบากเท่า  ๆ

กัน   มีผลมากและมีอานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตเหล่าอื่นมากนัก   นายจุนท-

กัมมารบุตรก่อสร้างกรรมที่เป็นไป เพื่ออายุ  เพื่อวรรณะ  เพื่อสวรรค์  เพื่อ

ยศ  เพื่อความเป็นอธิบดี   ดูก่อนอานนท์  เธอพึงระงับความเดือดร้อนของ

นายจุนทกัมมารบุตร   ด้วยประการอย่างนี้.

ลำดับนั้นแล    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว     จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

บุญย่อมเจริญแก่บุคคลผู้ให้ทาน  บุคคลผู้สำรวม

ย่อมไม่ก่อเวร  ส่วนท่านผู้ฉลาดย่อมละบาป   ครั้นละ

บาปแล้วย่อมปรินิพพาน  เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ

โทสะ  และโมหะ.

จบจุนทสูตรที่   ๕


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 737

อรรถกถาจุนทสูตร

 

จุนทสูตรที่  ๕  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มลฺเลสุ  ได้แก่   ในชนบท  มีชื่ออย่างนั้น.  บทว่า  มหตา

ภิกฺขุสงฺเฆน  ได้แก่  ชื่อว่า ใหญ่   เพราะใหญ่โดยคุณและใหญ่โดยจำนวน.

จริงอยู่  ภิกษุสงฆ์นั้น    ชื่อว่าใหญ่  แม้โดยประกอบด้วยคุณพิเศษมีศีลเป็น

ต้น    เพราะในบรรดาภิกษุเหล่านั้น     ภิกษุผู้ล้าหลังเขาทั้งหมดก็เป็นพระ-

โสดาบัน    ชื่อว่าใหญ่   ด้วยการใหญ่  โดยจำนวน   เพราะกำหนดจำนวน

ไม่ได้.   จริงอยู่   จำเดิมตั้งแต่เวลาปลงอายุสังขาร    ภิกษุทั้งหลายผู้มาแล้ว

มาแล้ว   ไม่ได้หลีกไปเลย.

บทว่า จุนฺทสฺส  ได้แก่  ผู้มีชื่ออย่างนั้น.  บทว่า  กมฺมารปุตฺตสฺส

ได้แก่   บุตรของนายช่างทอง.

เล่ากันมาว่า   บุตรของนายช่างทองนั้น    เป็นคนมั่งคั่ง   เป็นกุฏุมพี

ใหญ่  เป็นพระโสดาบัน   โดยการเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า    เป็นครั้งแรก

นั่นเอง    จัดแจงพระคันธกุฎี     อันควรแก่ก็ประทับอยู่ของพระศาสดา

และที่พักกลางคืน   และที่พักกลางวันแก่ภิกษุสงฆ์    และจัดโรงฉัน    กุฏิ

มณฑปและที่จงกรม    แก่ภิกษุสงฆ์    ในสวนอัมพวันของตน   แล้วสร้าง

วิหาร    อันประกอบด้วยซุ้มประตู      ล้อมด้วยกำแพง       มอบถวายแก่

ภิกษุสงฆ์  มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข   ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า   ได้ยินว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในอัมพวันของนายจุนทะบุตรของช่างทอง

ใกล้เมืองปาวานั้น  ดังนี้.

บทว่า   ปฏิยาทาเปตฺวา  ความว่า  ให้จัดแจง   คือ    ให้หุงต้ม.

บทว่า  สูกรมทฺทว    นี้ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถาว่า      เนื้อสุกรทั่ว


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 738

ไป   ที่อ่อนนุ่มสนิท.    แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า   บทว่า   สูกรมทฺทว

ความว่า  ไม่ใช่เนื้อสุกร   แต่เป็นหน่อไม้ไผ่  ที่พวกสุกรแทะดุน.  อาจารย์

พวกอื่นกล่าวว่า   เห็ด   ที่เกิดในถิ่นที่พวกสุกรแทะดุน.    ส่วนอาจารย์อีก

พวกหนึ่งกล่าวว่า   บ่อเกิดแห่งรสชนิดหนึ่ง    อันได้นามว่า    สุกรอ่อน.

อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า       ก็นายจุนทะบุตรของนายช่างทอง      สดับ

คำนั้นว่า    วันนี้     พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จปรินิพพานแล้ว      คิดว่า

ไฉนหนอ  พระผู้มีพระภาคเจ้า   จะพึงเสวยเนื้อสุกรอ่อนนี้แล้ว   พึงดำรง

อยู่ตลอดกาลนาน    ดังนี้แล้ว      จึงได้ถวายเพื่อประสงค์จะให้พระศาสดา

ดำรงพระชนมายุได้ตลอดกาลนาน.  บทว่า  เตน  ม  ปริวิส  ได้แก่  จง

ให้เราบริโภคด้วยเนื้อสุกรอ่อนนั้น.

ก็เพราะเหตุไร      พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้น  ?  เพราะ

ทรงมีความเอ็นดูแก่สัตว์อื่น.    ก็เหตุนั้นพระองค์ได้ตรัสไว้แล้ว   ในพระ-

บาลีนั่นแล.    ด้วยเหตุนั้น    เป็นอันพระองค์ทรงแสดงว่า   ควรจะกล่าว

อย่างนั้น       เพราะภิกษาเขานำมาเฉพาะ      และคนอื่นไม่ควรจะบริโภค.

ได้ยินว่า     เทวดาในมหาทวีปทั้ง  ๔  ซึ่งมีทวีปละ  ๒,๐๐๐   เป็นบริวาร

ใส่โอชารสลงในสุกรอ่อนนั้น.     เพราะฉะนั้น    ใคร ๆ  อื่นไม่อาจจะให้

เนื้อสุกรอ่อนนั้น    ย่อยได้โดยง่าย.   พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความนั้น

เพื่อจะปลดเปลื้องความว่าร้ายของคนอื่น   จึงทรงบันลือสีหนาท   โดยนัย

มีอาทิว่า จุนทะ  เราไม่เห็นเนื้อสุกรอ่อนนั้น.   จริงอยู่  เพื่อจะปลดเปลื้อง

การว่าร้ายของชนอื่นผู้ว่าร้ายว่า   ไม่ให้ของที่เหลือจากที่ตนบริโภคแก่ภิกษุ

ไม่ให้แก่คนเหล่าอื่น   ให้ฝั่งไว้ในบ่อ   ทำให้พินาศ  ด้วยคำว่า  โอกาส

แห่งคำนั้น  จงอย่ามี   ดังนี้  พระองค์จึงทรงบันลือสีหนาท.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 739

บรรดาบทเหล่านั้น    ในบทว่า  สเทวเก  เป็นต้น  มีวินิจฉัยดังต่อ

ไปนี้     ชื่อว่า   สเทวกะ     เพราะเป็นไปกับด้วยเทวดาทั้งหลาย.    ชื่อว่า

สมารกะ.   เพราะเป็นไปกับด้วยมาร.  ชื่อว่า    สพรหมกะ  เพราะเป็นไป

กับด้วยพรหม.  ชื่อว่า   สัสสมณพราหมณี   เพราะเป็นไปกับด้วยสมณ-

พราหมณ์.   ชื่อว่า   ปชา   เพราะเป็นสัตว์เกิด.    ชื่อว่า     สเทวมนุสสา

เพราะเป็นไปกับด้วยเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.   ในโลกนั้น      พร้อมด้วย

เทวโลก  ฯ ล ฯ  พร้อมด้วยเทวดาและมนุษย์.   ในคำเหล่านั้น   ด้วยคำว่า

สเทวกะ  หมายเอาเทวดาชั้นปัญจกามาวจร.  ด้วยคำว่า  สมารกะ  หมายเอา

เทวดาชั้นกามาวจรที่  ๖.    ด้วยคำว่า    สพรหมกะ    หมายเอาพรหมชั้น

พรหมกายิกาเป็นต้น.    ด้วยคำว่า   สัสสมณพราหมณี   หมายเอาสมณะ

ผู้เป็นข้าศึก  และพราหมณ์  ผู้เป็นศัตรูต่อพระศาสนา  และหมายเอาสมณะ

ผู้สงบบาป  และพราหมณ์ผู้ลอยบาป.  ด้วยคำว่า  ปชา  หมายเอาสัตวโลก.

ด้วยคำว่า  สเทวมนุสสะ   หมายเอาเทวดาโดยสมมติ   และมนุษย์ที่เหลือ

ในบทเหล่านั้น  ด้วย  ๓ บท  พึงทราบว่า  ท่านถือเอาสัตวโลก  โดยโอกาส-

โลก    ด้วย  ๒ บท    พึงทราบว่า    ท่านถือเอาสัตวโลก     โดยหมู่สัตว์.

พึงทราบอีกนัยหนึ่งดังต่อไปนี้      ด้วยคำว่า     สเทวกะ.     ท่านหมายเอา

เทวโลกชั้นอรูปาวจร.   ด้วยคำว่า    สมารกะ    ท่านหมายเอาเทวโลกชั้น

ฉกามาวจร.  ด้วยคำว่า  สพรหมกะ.    ท่านหมายเอาพรหมโลกชั้นรูปาวจร

ด้วยคำว่า     สัสสมณพราหมณ์เป็นต้น       พึงทราบว่า      ท่านหมายเอา

มนุษยโลกพร้อมด้วยเทพโดยสมมติด้วยอำนาจบริษัท      หรือพึงทราบว่า

ท่านหมายเอาสัตวโลกที่เหลือ.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 740

บทว่า  ภุตฺตาวิสฺส  ได้แก่  ผู้บริโภคอยู่.   บทว่า  ขโร  แปลว่า  หยาบ.

บทว่า  อาพาโธ   ได้แก่  โรคอันไม่ถูกส่วนกัน.  บทว่า  พาฬฺหา  ได้แก่

มีกำลัง.  บทว่า  มรณนฺติกา  ได้แก่  กำลังจะตาย  คือสามารถจะให้ผู้ป่วย

ถึงเวลาใกล้ตาย.  บทว่า  สโต   สมฺปชาโน  อธิวาเสติ  ความว่า  ตั้งสติ

ไว้ด้วยดี  กำหนดด้วยญาณยับยั้งอยู่.  บทว่า  อวิหญฺมาโน  ความว่าไม่

กระทำให้เปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมา   เหมือนธรรมที่ไม่ได้กำหนด   โดย

อนุวัตตามเวทนา  ยับยั้งอยู่   เหมือนไม่ถูกรบกวน  ไม่ได้รับความลำบาก.

จริงอยู่   เวทนาเหล่านั้น   เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า   ในหมู่บ้าน

เวฬุวคามนั่นเอง   แต่ถูกพลังแห่งสมาบัติข่มไว้  จึงไม่เกิดขึ้น   จนกระทั่ง

วันปรินิพพาน   เพราะให้สมาบัติน้อมไปเฉพาะทุก  ๆ วัน.   แต่พระองค์

ประสงค์จะปรินิพพานในวันนั้น    จึงไม่เข้าสมาบัติ    เพื่อให้สัตว์เกิดความ

สังเวชว่า   แม้ทรงพลังช้าง  ๑,๐๐๐  โกฏิเชือกมีกายเสมอกับด้วยเรือนเพชร

มีบุญสมภารที่สั่งสมตลอดกาลประมาณมิได้     เมื่อภพยังมีอยู่   เวทนาเห็น

ปานนี้   ก็ย่อมเป็นไป   จะป่วยกล่าวไปไยถึงสัตว์เหล่าอื่นเล่า    เพราะเหตุ

นั้น    เวทนาจึงเป็นไปอย่างแรงกล้า.

บทว่า  อายาม  แปลว่า  มาไปกันเถอะ.

ภายหลัง พระธรรมสังคาหกาจารย์  ได้ตั้งคาถา  ซึ่งมีอาทิว่า  จุนฺทสฺส

ภตฺต  ภุญฺชิตฺวา  ดังนี้.   บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ภุตฺตสฺส  จ  สูกร-

มทฺทเวน  ความว่า  เกิดพยาธิอย่างแรงกล้า  แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า  ผู้เสวย

เพราะไม่ใช่ทรงเสวยพระกระยาหารเป็นปัจจัย.   เพราะถ้าโรคอย่างแรงกล้า

จักเกิด  คือ จักได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มิได้เสวยพระกระยาหารแล้วไซร้

แต่เพราะพระองค์เสวยพระกระยาหารอันสนิท       เวทนาจึงได้เบาบางลง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 741

ด้วยเหตุนั้นนั่นแล        พระองค์จึงไม่สามารถจะเสด็จไปได้ด้วยพระบาท.

พระองค์จึงทรงแสดงสีหนาท    ที่พระองค์ทรงบันลือว่า  กระยาหารที่ผู้ใด

บริโภคแล้วพึงถึงความย่อยไปโดยชอบ ฯลฯ   เว้นพระตถาคต  ดังนี้  ให้เป็น

ประโยชน์.  จริงอยู่     ขึ้นชื่อว่า   เสียงที่กระหึ่มในฐานะที่ไม่สมควร  ย่อม

ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.   เพราะเหตุที่พระกระยาหารที่พระองค์ทรง

เสวยแล้ว    ไม่ทำวิการอะไร ๆ ให้เกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า    พระกระ-

ยาหารซึ่งเป็นสิ่งแสลง    ที่กรรมอันได้ช่องแล้วเข้าไปยึดถือ    สงบไปโดย

ประมาณน้อย    จึงทำพลังให้เกิดขึ้นในร่างกาย     ซึ่งเป็นเหตุให้ประโยชน์

๓ อย่างตามที่จะกล่าวให้สำเร็จ     ฉะนั้น    พระกระยาหารนั้นจึงถึงความ

ย่อยไปโดยชอบทีเดียว  แต่เพราะเวทนาถึงปางตาย    ที่ใครๆ  ไม่รู้แล้วไม่

ปรากฏแล้ว  จึงได้มี  ฉะนี้แล.

บทว่า  วิริจฺจมาโน  ได้แก่  เป็นผู้ทรงพระบังคนหนักเป็นพระโลหิต

เป็นไปเนือง ๆ.  บทว่า  อโวจ  ความว่า  พระองค์ได้ตรัสอย่างนั้น   เพื่อ

ประโยชน์แก่ปรินิพพานในที่ที่พระองค์ทรงปรารถนา.

ถามว่า   ก็เพราะเหตุที่เมื่อโรคเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงเสด็จไปยังกรุงกุสินารา  เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่สามารถปรินิพพาน

ในที่อื่น ?  ตอบว่า   เพราะพระองค์ไม่สามารถจะปรินิพพานในที่ไหน ๆ

หามิได้   แต่พระองค์ทรงดำริอย่างนี้ว่า   เมื่อเราไปยังกรุงกุสินารา  อัตถุ-

ปัตติเหตุในการแสดงมหาสุทัสสนสูตร   ก็จักมี  สมบัติอันใด   อันเช่นกับ

สมบัติที่เราพึงเสวยในเทวโลก   ด้วยอัตถุปปัตติ  เหตุนั้น   เราก็ได้เสวยแล้ว

ในมนุษยโลก   เราจักประดับสมบัตินั้นด้วยภาณวารทั้ง  ๒  แล้ว  จักแสดง

ธรรม    ชนเป็นอันมากได้ฟังดังนั้นแล้ว    ก็จักสำคัญถึงกุศล   ที่ตนควร


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 742

กระทำ  ในที่นั้น    แม้สุภัททะก็จักมาเฝ้าเรา  ถามปัญหา   ในที่สุด  การแก้

ปัญหาจึงตั้งอยู่ในสรณะ.     ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว     เจริญกัมมัฏฐาน

บรรลุพระอรหัต     ในเมื่อเรายังทรงชีพอยู่นั่นแล   จักเป็นผู้ชื่อว่าปัจฉิม-

สาวก   เมื่อเราปรินิพพานในที่อื่นเสีย    ความทะเลาะก็จักมี  เพราะธาตุ

เป็นเหตุ    โลหิตจักไหลไปเหมือนแม่น้ำ    แต่เมื่อเราปรินิพพานในกรุง

กุสินารา    โทณพราหมณ์    ก็จักสงบวิวาทนั้น     แบ่งธาตุทั้งหลายให้ไป

ดังนี้   พระผู้มีพระภาคเจ้า   เมื่อทรงเห็นเหตุ ๓ ประการดังว่ามานี้   จึงได้

เสด็จไปยังกรุงกุสินารา  ด้วยความอุตสาหะใหญ่.

ศัพท์ว่า  อิงฺฆ    เป็นนิบาตใช้ในโจทนัตถะ.  บทว่า  กิลนฺโตสฺมิ

ความว่า    เราเป็นผู้ซูบซีด.    ด้วยบทนั้น    ทรงแสดงเฉพาะเวทนาตามที่

กล่าวแล้วว่ามีกำลังรุนแรงทีเดียว.   จริงอยู่   พระผู้มีพระภาคเจ้า   ได้เสด็จ

ดำเนินไปในกาลนั้น      ด้วยอานุภาพของพระองค์     ก็เวทนาอันแรงกล้า

เผ็ดร้อน  เป็นไปโดยประการที่คนเหล่าอื่น  ไม่สามารถทำการยกเท้าขึ้นได้

เพราะเหตุนั้นนั่นแล  พระองค์จึงตรัสว่า  เราจักนั่ง  ดังนี้.

บทว่า อิทานิ  แปลว่า  ในกาลนี้.       บทว่า  ลุลิต   ได้แก่  อากูล

เหมือนถูกย่ำยี.   บทว่า  อาวิล  แปลว่า ขุ่นมัว.  บทว่า อจฺโฉทกา   ได้แก่

น้ำที่ใสน้อย.  บทว่า สาโตทกา   ได้แก่   น้ำที่มีรสอร่อย.  บทว่า  สีโตทกา

ได้แก่ น้ำเย็น.  บทว่า  เสโตทกา   ได้แก่  น้ำปราศจากเปือกตม.  จริงอยู่

น้ำ  โดยสภาวะ  มีสีขาว  แต่กลายเป็นอย่างอื่น   ด้วยอำนาจพื้นที่  และ

ขุ่นมัวไปด้วยเปือกตม.  แม่น้ำ  แม้ขาว  มีทรายหยาบสะอาด  เกลื่อนกล่น

มีสีขาวไหลไป.  ด้วยเหตุนั้น  ท่านจึงกล่าวว่า  เสโตทกา  น้ำขาว.  บทว่า

สุปติฏฺา  แปลว่า  ท่าดี.   บทว่า   รมณียา  ความว่า  อันบุคคลพึงยินดี


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 743

โดยเป็นส่วนภูมิภาคอันเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ    และชื่อว่าเป็นที่รื่นรมย์แห่ง

ใจ  เพราะสมบูรณ์ด้วยน้ำตามที่กล่าวแล้ว.

บทว่า  กิลนฺโตสฺมิ  จุนฺท  นิปชฺชิสฺสามิ  ความว่า  ในบรรดาตระกูล

ช้าง  ๑๐  ตระกูลที่พระตถาคตตรัสไว้อย่างนี้ว่า

ช้าง  ๑๐  เชือกเหล่านี้  คือช้างตระกูลกาฬาวกะ  ๑

ช้างตระกูลคังเคยยะ  ๑  ช้างตระกูลปัณฑระ  ๑  ช้าง

ตระกูลตัมพะ  ๑    ช้างตระกูลปิงคละ  ๑  ช้างตระกูล

คันธะ  ๑  ช้างตระกูลมังคละ  ๑  ช้างตระกูลเหมาะ   ๑

ช้างตระกูลอุโบสถ   ๑  ช้างตระกูลฉันทันต์   ๑.

กำลังแห่งช้างตามปกติ  ๑๐  เชือก    กล่าวคือช้างตระกูลกาฬาวกะ    ตามที่

กล่าวแล้วอย่างนี้   เป็นกำลังของช้างตระกูลคังเคยยะ  ๑  เชือก  รวมความว่า

โดยการคำนวณที่คูณด้วย  ๑๐  แห่งช้างตามปกติ  กำลังกายพระตถาคตซึ่งมี

ประมาณกำลัง  ๑,๐๐๐ โกฏิเชือกทั้งหมดนั้นถึงซึ่งความสิ้นไป  เหมือนน้ำที่

เขาใส่ไว้ในกระบอกกรองน้ำ   ตั้งแต่ภายหลังภัตรในวันนั้น.  พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสด็จจากเมืองปาวา  ๓  คาวุต    จากกุสินารา   ประทับนั่งในระหว่าง

นี้   ในที่  ๒๕ (คาวุต)  กระทำความอุตสาหะใหญ่  เสด็จมาถึงกรุงกุสินารา

ในเวลาพระอาทิตย์อัสดงคต.   พระองค์ทรงแสดงเนื้อความนี้ว่า  ขึ้นชื่อว่า

โรคย่อมมาย่ำยีบุคคลผู้ไม่มีโรคทั้งหมดได้    ด้วยประการฉะนี้    เมื่อจะตรัส

พระวาจา  อันกระทำความสังเวชแก่สัตวโลก  พร้อมทั้งเทวโลก  จึงตรัสว่า

จุนทะ  เราเห็นผู้เหน็ดเหนื่อย  จักนอนละ   ดังนี้.

การนอนในคำว่า  สีหเสยฺย  นี้  มี  ๔  อย่าง คือ การนอนของบุคคล

ผู้บริโภคกาม  ๑   การนอนของพวกเปรต  ๑   การนอนของพระตถาคต ๑


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 744

การนอนของพวกสีหะ  ๑.    ในบรรดาการนอน ๔  อย่างนั้น   การนอนที่

ตรัสไว้ว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   บุคคลผู้บริโภคกาม   โดยมากย่อมนอน

ตะแคงซ้าย     นี้ชื่อว่า  การนอนของผู้บริโภคกาม.    การนอนที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  พวกเปรตโดยมากย่อมนอนหงาย  นี้ชื่อว่า  การนอน

ของพวกเปรต.    ฌานที่  ๔   ชื่อว่าการนอนของพระตถาคต.    การนอนที่

ตรัสไว้ว่า   ภิกษุทั้งหลาย  พระยาราชสีห์  ย่อมนอนตะแคงขวา   นี้ชื่อว่า

การนอนของสีหะ.   จริงอยู่  การนอนของสีหะนี้   ชื่อว่าเป็นการนอนอย่าง

สูงสุด  เพราะมีอิริยาบถอันสูงขึ้นเพราะเดช.   ด้วยเหตุนั้น   ท่านจึงกล่าวว่า

ย่อมสำเร็จการนอนอย่างสีหะ   โดยตะแคงขวา   ดังนี้.

บทว่า  ปาเท  ปาท    ได้แก่  ซ้อนพระบาทซ้ายเหลื่อมพระบาทขวา.

บทว่า  อจฺจาธาย   แปลว่า  ซ้อน   คือวางข้อเท้าให้เหลื่อม.   จริงอยู่   เมื่อ

ข้อเท้าต่อข้อเท้า   เมื่อเข่าต่อเข่า   เบียดเบียดเสียดกัน   เวทนาย่อมเกิดขึ้นเนื่อง ๆ

การนอนย่อมไม่ผาสุก.   แต่เมื่อวางข้อเท้า   ให้เหลื่อมกัน    โดยที่ไม่เบียด

เสียดกัน    เวทนาย่อมไม่เกิด   การนอนก็ผาสุก.   เพราะฉะนั้น    พระองค์

จึงบรรทมอย่างนี้.

คาถาเหล่านี้ว่า   คนฺตฺวาน  พุทฺโธ   พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย

รจนาข้นภายหลัง.    บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า นทิก  ได้แก่  ซึ่งแม่น้ำ.

บทว่า อปฺปฏิโมธ   โลเก  ได้แก่ ไม่มีผู้เปรียบปานในโลกนี้     คือในโลก

พร้อมด้วยเทวโลกนี้.  บทว่า   นหาตฺวา  ปิวิตฺวา  อุทตาริ  ได้แก่  ทรงสรง

สนาน   โดยกระทำให้พระวรกายเย็น   และทรงดื่มน้ำแล้วเสด็จขึ้นจากน้ำ.

ได้ยินว่า  ในกาลนั้น  เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า  ทรงสรงสนาน  สิ่งทั้งหมด


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 745

คือ ปลาและเต่า   ภายในแม่น้ำ   น้ำ   ไพรสณฑ์ที่ฝั่งทั้งสอง   และภูมิภาค

ทั้งหมดนั้น    ได้กลายเป็นดังสีทองไปทั้งนั้น.

บทว่า  ปุรกฺขโต   ความว่า  อันโลกพร้อมทั้งเทวโลก  ชื่อว่า กระ-

ทำไว้ในเบื้องหน้า    โดยการบูชาและการนับถือ   เพราะพระองค์เป็นครูผู้

สูงสุดแก่สัตว์  โดยพิเศษด้วยคุณ.   บทว่า  ภิกฺขุคณสฺส  มชฺเฌ  แปลว่า

ในท่ามกลางของภิกษุสงฆ์.  ในกาลนั้น    ภิกษุทั้งหลายทราบว่า  พระผู้มี-

พระภาคเจ้า     ทรงได้รับเวทนาเกินประมาณ     จึงไปแวดล้อมอยู่โดยรอบ

อย่างใกล้ชิด.

บทว่า  สตฺถา  ความว่า ชื่อว่าศาสดา  เพราะทรงโปรยปรายอนุศาสนี

แก่เหล่าสัตว์   ด้วยประโยชน์ในปัจจุบัน    ประโยชน์ในสัมปรายภพ  และ

ปรมัตถประโยชน์.  บทว่า  ปวตฺตา  ภควาธ  ธมฺเม  ความว่า  พระศาสดา

ชื่อว่า ภควา   เพราะเป็นผู้มีภาคยธรรมเป็นต้น    ทรงประกาศศาสนธรรม

มีศีลเป็นต้น   ในพระศาสนานี้   คือทรงขยายพระธรรมหรือพระธรรมขันธ์

๘๔,๐๐๐  พระธรรมขันธ์   ให้แพร่หลาย.    บทว่า อมฺพวน  ได้แก่  สวน

อัมพวัน  ใกล้ฝั่งแม่น้ำนั่นเอง.  บทว่า  อามนฺตยิ  จุนฺทก  ความว่า  ได้ยิน

ว่าในขณะนั้น  ท่านพระอานนท์  มัวบิดผ้าอาบน้ำอยู่จึงล่าช้า   พระจุนทก-

เถระ  ได้อยู่ใกล้  เพราะฉะนั้น   พระผู้มีพระภาคเจ้า  จึงตรัสเรียกท่านมา.

บทว่า  ปมุเข  นิสีทิ  ได้แก่  นั่งอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระศาสดา   โดยยก

วัตรขึ้นเป็นประธาน.   ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า   เพราะเหตุไรหนอ   พระศาสดา

จึงตรัสเรียก  ดังนี้  พระอานนท์ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก   ก็มาถึงตามลำดับ.

ครั้นท่านพระอานนท์มาถึงตามลำดับอย่างนี้   พระผู้มีพระภาคเจ้า  จึงตรัส

เรียกมา.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 746

บทว่า   อุปฺปาทเหยฺย  แปลว่า พึงให้เกิดขึ้น.    อธิบายว่า   ใครๆ

ผู้ทำความเดือดร้อนให้เกิดขึ้น  จะพึงมีบ้าง.      บทว่า อลาภา   ความว่า

ข้อที่บุคคลเหล่าอื่นให้ทาน  จะจัดว่าเป็นลาภ  กล่าวคือ  อานิสงส์แห่งทาน

หาได้ไม่.    บทว่า  ทุลฺลทฺธ   ความว่า  ความได้เป็นอัตภาพ   เป็นมนุษย์

แม้ที่ได้ด้วยบุญพิเศษ  จัดว่าเป็นการได้โดยยาก.  บทว่า  ยสฺส  เต  แก้เป็น

ยสฺส   ตว  แปลว่า  ของท่านใด.  ใครจะรู้  บิณฑบาตนั้นว่า   หุงไว้ไม่สุก

หรือเปียกเกินไป.       พระตถาคตทรงเสวยบิณฑบาตครั้งสุดท้ายแม้เช่นไร

จึงเสด็จปรินิพพาน  จักเป็นอันท่านถวายไม่ดีแน่แท้.  บทว่า ลาภา ได้แก่

ลาภกล่าวคืออานิสงส์แห่งทานที่มีในปัจจุบัน     และสัมปรายภพ.     บทว่า

สุลทฺธ ความว่า  ความเป็นมนุษย์  ท่านได้ดีแล้ว.  บทว่า สมฺมุขา    แปลว่า

โดยพร้อมหน้า  ไม่ใช่โดยได้ยินมา   อธิบายว่า ไม่ใช่โดยเล่าสืบ ๆ กันมา.

บทว่า  เมต   ตัดเป็น  เม  เอต  หรือ  มยา  เอต  แปลว่า  ข้อนั้นเราได้รับ

ทราบแล้ว.  บทว่า  เทวฺเม  ตัดเป็น  เทฺว  อิเม  แปลว่า  บิณฑบาต  สอง

อย่างนี้.  บทว่า สมปฺผลา  ได้แก่  มีผลเสมอกันด้วยอาการทั้งปวง.

พระตถาคต     ทรงเสวยบิณฑบาตที่นางสุชาดาถวายแล้ว    จึงตรัสรู้

ทานนั้น     จัดเป็นทานในกาลที่พระองค์ยังละกิเลสไม่ได้   แต่ทานของนาย

จุนทะนี้   เป็นทานในกาลที่พระองค์หมดอาสวะแล้ว   มิใช่หรือ  แต่เพราะ

เหตุไร    ทานเหล่านี้จึงมีผลเสมอกัน.     เพราะมีการปรินิพพานเสมอกัน

เพราะมีสมาบัติเสมอกัน    และเพราะมีการระลึกเสมอกัน.   จริงอยู่  พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า    ทรงเสวยบิณฑบาตที่นางสุชาดาถวายแล้ว    ปรินิพพาน-

ด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ   ทรงเสวยบิณฑบาตที่นายจุนทะถวาย  แล้ว

ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ  รวมความว่า  ทานเหล่านั้น  มีผล


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 747

เสมอกัน   เพราะมีการปรินิพพานเสมอกัน. ในวันตรัสรู้  พระองค์ทรงเข้า

สมาบัติ  นับได้ ๒,๔๐๐,๐๐๐ โกฏิ  แม้ในวันปรินิพพาน พระองค์ก็ทรง

เข้าสมาบัติเหล่านั้นทั้งหมด   ทานเหล่านั้น   จึงชื่อว่ามีผลเสมอกัน    เพราะ

มีการเสมอกันด้วยการเข้าสมาบัติ   ด้วยประการฉะนี้.  สมจริงดังพระดำรัส

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า     ผู้ที่บริโภคบิณฑบาตของผู้ใด    แล้วเข้า

เจโตสมาธิหาประมาณมิได้อยู่     ความหลั่งไหลแห่งบุญ       ความหลั่งไหล

แห่งกุศล ของผู้นั้นหาประมาณมิได้ ดังนี้เป็นต้น.  ครั้นต่อมา นางสุชาดา

ได้สดับว่า  ข่าวว่าเทวดานั้น ไม่ใช่รุกขเทวดา ข่าวว่า ผู้นั้นเป็นพระโพธิ-

สัตว์   ได้ยินว่า   พระโพธิสัตว์บริโภคบิณฑบาทนั้นแล้ว    ตรัสรู้อนุตร-

สัมมาสัมโพธิญาณ    ได้ยินว่า  พระโพธิสัตว์นั้น  ได้ยังอัตภาพให้เป็นไป

ด้วยบิณฑบาตนั้น   สิ้น ๗ สัปดาห์.   เมื่อนางสุชาดาได้ฟังคำนี้แล้ว   หวน

ระลึกว่า  เป็นลาภของเราหนอ  จึงเกิดปีติโสมนัสอย่างรุนแรง. ครั้นต่อมา

เมื่อนายจุนทะสดับว่า   ข่าวว่า  เราได้ถวายบิณฑบาตครั้งสุดท้าย    ข่าวว่า

เราได้รับยอดธรรม  ข่าวว่า  พระศาสดาทรงเสวยบิณฑบาตของเรา  แล้ว

ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ   ที่พระองค์ทรงปรารถนาอย่างยิ่ง

ตลอดกาลนาน  จึงหวนระลึกว่า  เป็นลาภของเราหนอ  จึงเกิดปีติโสมนัส

อย่างรุนแรงแล.   พึงทราบว่า   บิณฑบาตทาน ๒ อย่างชื่อว่า  มีผลเสมอ

กัน    แม้เพราะมีการระลึกถึงเสมอกัน    อย่างนี้.

บทว่า อายุสวตฺตนิก  แปลว่า เป็นทางให้อายุยืนนาน.       บทว่า

อุปจิต  แปลว่า  สั่งสมแล้ว   คือให้เกิดแล้ว.  บทว่า  ยสสวตฺตนิก  แปลว่า

เป็นทางให้มีบริวาร.    บทว่า  อาธิปเตยฺยสวตฺตนิก  แปลว่า เป็นทางแห่ง

ความเป็นผู้ประเสริฐ.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 748

บทว่า   เอตมตฺถ   วิทิตฺวา   ความว่า  พระองค์ทรงทราบโดยอาการ

ทั้งปวง ถึงอรรถทั้ง ๓ อย่างนี้คือ   ความที่ทานมีผลมาก.  ความที่พระองค์

ทรงเป็นทักขิไณยบุคคลอย่างยอดเยี่ยม  โดยพระคุณมีศีลเป็นต้น  ๑  อนุ-

ปาทาปรินิพพาน  ๑  แล้วจึงทรงเปล่งอุทานนี้   อันแสดงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ททโต  ปุญฺ  ปวฑฺฒติ  ความว่า  บุคคล

ผู้ให้ทาน   ชื่อว่า ย่อมก่อบุญอันสำเร็จด้วยทาน   เพราะเพรียบพร้อมด้วย

จิต   และเพรียบพร้อมด้วยทักขิไณยบุคคล   ย่อมมีผลมากกว่า   มีอานิสงส์

มากกว่า.  อีกอย่างหนึ่ง  พึงทราบอรรถในบทว่า  ททโต  ปุญฺ  ปวฑฺฒติ

นี้   อย่างนี้ว่า  ภิกษุผู้ไม่มากไปด้วยอาบัติ   ในที่ทุกสถานย่อมสามารถเพื่อ

จะรักษาศีลให้หมดจดด้วยดี        แล้วบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาโดยลำดับ

เพราะผู้บริจาคไทยธรรม  ย่อมกระทำให้มาก   ด้วยเจตนาเป็นเครื่องบริจาค

เพราะเหตุนั้น   บุญทั้ง ๓ อย่างนี้   มีทานเป็นต้น   ย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น.

บทว่า  สญฺมโต  ได้แก่  ผู้สำรวมด้วยการสำรวมในศีล  อธิบายว่า  ผู้ตั้ง

อยู่ในสังวร.     บทว่า  เวร  น   จียติ   ความว่า  เวร  ๕  อย่างย่อมไม่เกิด.

อีกอย่างหนึ่ง    บุคคลผู้มีศีลหมดจดด้วยศีล    ผู้สำรวมด้วยกาย  วาจา  และ

จิต     เพราะอธิศีล   มีอโทสะเป็นประธาน  ย่อมไม่ก่อเวรด้วยใคร ๆ  เพราะ

เป็นผู้มากด้วยขันติ   ผู้นั้นจักเป็นผู้ชื่อว่า  ก่อเวรแต่ที่ไหน   เพราะฉะนั้น

ผู้สำรวมคือผู้ระวังนั้น    ย่อมไม่ก่อเวร  เพราะเหตุมีความสำรวม.     บทว่า

กุสโล    จ  ชหาติ  ปาปก   ความว่า  ก็บุคคลผู้ฉลาด  คือผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา

ตั้งอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์ด้วยดี   กำหนดกัมมัฏฐาน    อันเหมาะแก่ตน

ในอารมณ์  ๓๘  ประการ  ย่อมยังฌานต่างด้วยอุปจาระและอัปปนา  ให้สำเร็จ

ชื่อว่า  ละ    คือสละอกุศล   มีกามฉันทะเป็นต้น  อันชั่วช้าลามก   ด้วย


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 749

วิกขัมภนปหาน.   ผู้นั้นทำฌานนั้นนั่นแหละให้เป็นบาท   เริ่มตั้งความสิ้น

ไปและเสื่อมไปในสังขารทั้งหลาย   บำเพ็ญวิปัสสนา   ทำวิปัสสนาให้เกิด

ย่อมละอกุศลอันชั่วช้าลามกได้อย่างเด็ดขาด  ด้วยอริยมรรค.

บทว่า   ราคโทสโมหกฺขยา  ปรินิพฺพุโต  ความว่า  ผู้นั้นละอกุศล

อันลามกอย่างนี้แล้ว   ปรินิพพานด้วยการดับกิเลสไม่มีส่วนเหลือ   เพราะ

สิ้นราคะเป็นต้น   ต่อแต่นั้น  ย่อมปรินิพพานด้วยการดับขันธ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า   ทรงอาศัยทักขิณาสมบัติของนายจุนทะ  และ

ทรงอาศัยทักขิไณยสมบัติของพระองค์  จึงทรงเปล่งอุทานอันซ่านออกด้วย

กำลังแห่งปีติ  ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาจุนทสูตรที่  ๕

 

๖.  ปาฏลิคามิยสูตร

 

ว่าด้วยโทษของศีลวิบัติและอานิสงส์ของศีลสมบัติ

 

[๑๖๙]   ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง   พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ   พร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่   ได้เสด็จถึงปาฏลิคาม อุบาสก (และอุบาสิกา) ชาว

ปาฏลิคามได้สดับข่าวว่า    พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่  เสด็จไปถึงปาฏลิคามแล้ว   ลำดับนั้นแล

อุบาสกชาวปาฏลิคามพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ  ถวาย

บังคมแล้วนั่ง  ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง   ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับเรือน


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 750

สำหรับพักของข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด       พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดย

ดุษณีภาพ   ลำดับนั้นแล   อุบาสกชาวปาฏลิคามทราบว่า   พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงรับแล้วลุกจากอาสนะ  ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า  กระทำ

ประทักษิณแล้วเข้าไปยังเรือนสำหรับพัก    ครั้นแล้วลาดเครื่องลาดทั้งปวง

ปูลาดอาสนะ  ตั้งหม้อน้ำ   ตามประทีปน้ำมันแล้ว  เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า     ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่  ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง    ครั้นแล้วได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    เรือนสำหรับพัก

ข้าพระองค์ทั้งหลายปูลาดแล้ว  ปูลาดอาสนะ  ตั้งหม้อน้ำ  ตามประทีปน้ำมัน

แล้ว   บัดนี้   ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำคัญกาลอันควรเถิด   ครั้งนั้นแล

เป็นเวลาเช้า    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้วถือบาตรและจีวร    เสด็จถึง

เรือนสำหรับพัก   พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์  ครั้นแล้วทรงล้างพระบาท  เสด็จ

เข้าไปยังเรือนสำหรับพัก        ประทับนั่งพิงเสากลางผินพระพักตร์ไปทาง

ทิศบูรพา    แม้ภิกษุสงฆ์ล้างเท้าแล้ว     เข้าไปยังเรือนสำหรับพัก   นั่งพิง

ฝาด้านหลังผินหน้าไปทางทิศบูรพา   แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่    แม้

อุบาสกชาวปาฏลิคามก็ล้างเท้าแล้วเข้าไปยังเรือนสำหรับพัก   นั่งพิงฝาด้าน

หน้าผินหน้าไปทางทิศประจิม  แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่.

[๑๗๐]   ลำดับนั้นแล   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะอุบาสกชาวปาฏ-

ลิคามว่า    ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย    โทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล    ๕

ประการนี้  ๕   ประการเป็นไฉน  คือบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้    ย่อม

เข้าถึงความเสื่อมแห่งโภคะใหญ่  เพราะความประมาทเป็นเหตุ   นี้เป็นโทษ

แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่  ๑.



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 751

อีกประการหนึ่ง  กิตติศัพท์อันลามกของบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ  ขจร

ไปแล้ว  นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่  ๒.

อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหาบริษัทใด  คือขัตติย-

บริษัทก็ดี  พราหมณบริษัทก็ดี  คหบดีบริษัทก็ดี  สมณบริษัทก็ดี   ย่อมไม่

แกล้วกล้า    เก้อเขินเข้าไปหา     นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล

ประการที่  ๓.

อีกประการหนึ่ง  บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ   ย่อมเป็นผู้หลงใหลกระทำ

กาละ   นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่  ๔.

อีกประการหนึ่ง   บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ    เมื่อตายไป   ย่อมเข้าถึง

อบาย  ทุคติ  วินิบาต  นรก นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการ

ที่  ๕.

ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย    โทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๕ ประ-

การนี้แล.

ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย    อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล   ๕

ประการนี้  ๕ ประการเป็นไฉน  คือบุคคลผู้มีศีลผู้ถึงพร้อมด้วยศีลในโลก

นี้      ย่อมได้กองแห่งโภคะใหญ่เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ     นี้เป็น

อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่   ๑.

อีกประการหนึ่ง    กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล    ผู้ถึงพร้อม

ด้วยศีล  ย่อมขจรไป   นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการ

ที่  ๒.

อีกประการหนึ่ง  บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศีล  เข้าไปหาบริษัทใด  คือ

ขัตติยบริษัทก็ดี   พราหมณบริษัทก็ดี   คหบดีบริษัทก็ดี  สมณบริษัทก็ดี


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 752

ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า   ไม่เก้อเขินเข้าไปหาบริษัทนั้น     นี้เป็นอานิสงส์แห่ง

ศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่  ๓.

อีกประการหนึ่ง   บุคคลผู้มีศีล   ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล   ย่อมเป็นผู้ไม่

หลงใหลกระทำกาละ  นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการ

ที่  ๔.

อีกประการหนึ่ง  บุคคลผู้มีศีล  ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล  ย่อมเข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์   นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่  ๕.

ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย    อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล  ๕

ประการนี้แล.

[๑๗๑]   ลำดับนั้นแล   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้อุบาสกชาว

ปาฏลิคาม  ให้เห็นแจ้ง  ให้สมาทาน   ให้อาจหาญ      ร่าเริงด้วยธรรมีกถา

สิ้นราตรีเป็นอันมาก     แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า    ดูก่อนคฤหบดี

ทั้งหลาย    ราตรีล่วงไปแล้ว     ท่านทั้งหลาย   จงสำคัญเวลาอันสมควร  ณ

บัดนี้เถิด   ลำดับนั้น  อุบาสกชาวปาฏลิคามทั้งหลายชื่นชมยินดีภาษิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ  ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำ

ประทักษิณแล้วหลีกไป   ลำดับนั้น   เมื่ออุบาสกชาวปาฏลิคามหลีกไปแล้ว

ไม่นาน  พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จเข้าไปยังสุญญาคาร.

[๑๗๒]   ก็สมัยนั้นแล        มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะใน

แคว้นมคธ   จะสร้างเมืองในปาฏลิคามเพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย   ก็สมัย

นั้นแล    เทวดาเป็นอันมากแบ่งพวกละพัน     ย่อมรักษาพื้นที่ในปาฏลิคาม

เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่รักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด   จิตของราชมหาอำมาตย์

ของพระราชาผู้มีศักดิ์ใหญ่   ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 753

เทวดาผู้มีศักดิ์ปานกลางรักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด        จิตของราชมหา-

อำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ปานกลาง     ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์

ในประเทศนั้น     เทวดาผู้มีศักดิ์ต่ำรักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด  จิตของ

ราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ต่ำ    ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์

ในประเทศนั้น    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นเทวดาเหล่านั้นเป็นจำนวน

พันๆ  รักษาพื้นที่อยู่ในปาฏลิคาม   ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ

มนุษย์       คือเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่. . .  เทวดาผู้มีศักดิ์ต่ำรักษาพื้นที่อยู่ใน

ประเทศใด  จิตของราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ต่ำ  ย่อมน้อมไป

เพื่อจะสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น    ครั้งนั้น  เมื่อปัจจุสสมัยแห่งราตรีนั้น

ตั้งขึ้น    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า    ดูก่อนอานนท์

ใครหนอจะสร้างเมืองในปาฏลิคาม   ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า   ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ         มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่นแคว้นมคธ

จะสร้างเมืองในปาฏลิคาม  เพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย   พระเจ้าข้า.

พ.  ดูก่อนอานนท์  มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่นแคว้น

มคธ   จะสร้างเมืองในปาฏลิคาม   เพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย  ประหนึ่ง

ว่าปรึกษากับเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้วสร้างเมืองฉะนั้น     ดูก่อนอานนท์  เรา

ได้เห็นเทวดาเป็นจำนวนมากแบ่งเป็นพวกละพัน   รักษาพื้นที่อยู่ในปาฏลิ-

คาม  ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์  ณ  ตำบลนี้   คือเทวดา

ผู้มีศักดิ์ใหญ่. . . เทวดาผู้มีศักดิ์ต่ำรักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด     จิตของ

ราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ต่ำ   ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์

ในประเทศนั้น   ดูก่อนอานนท์  เมืองนี้จักเป็นเมืองเลิศแห่งประชุมของ

เหล่ามนุษย์เป็นอริยะ  และเป็นทางค้าขาย    เป็นที่แก้ห่อสินค้า  อันตราย


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 754

๓  อย่างจักมีแก่เมืองปาฏลิคาม    คือจากไฟ  ๑    จากน้ำ  ๑    จากความแตก

แห่งกันและกัน  ๑.

[๑๗๓]  ครั้งนั้นแล   มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่น-

แคว้นมคธ     เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ     ได้ปราศรัยกับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า    ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว    ได้

ยืนอยู่  ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง    ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์   โปรดทรงรับภัตของข้าพระองค์

ทั้งหลาย เพื่อเสวยในวันนี้   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

ลำดับนั้น  มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่นแคว้นมคธ  ทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว  เข้าไปยังที่พักของตน  ครั้นแล้วสั่ง

ให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอันประณีตในที่พักของตน      แล้วกราบทูล

ภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ       ถึงเวลาแล้ว

ภัตเสร็จแล้ว   ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว   ทรง

ถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังที่พัก    ของมหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสส-

การะ  ในแว่นแคว้นมคธ  พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์  ครั้นแล้วประทับนั่งเหนือ

อาสนะที่เขาปูลาดถวาย  ลำดับนั้น  มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะใน

แว่นแคว้นมคธ   อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข   ด้วยขาทนีย-

โภชนียาหารอันประณีต      ให้อิ่มหนำสำราญด้วยมือของตน    ครั้งนั้นแล

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว        ชักพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว

มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่นแคว้นมคธ      ถือเอาอาสนะต่ำ

แห่งหนึ่งนั่งอยู่  ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนา


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 755

กะมหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่นแคว้นมคธ  ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง    ด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่า

บุรุษชาติบัณฑิต     ย่อมสำเร็จการอยู่ในประเทศ

ใด  พึงเชิญท่านผู้มีศีล  สำรวมแล้ว  ประพฤติ

พรหมจรรย์    ให้บริโภคในประเทศ นั้น    ควรอุทิศ

ทักษิณาทานเพื่อเทวดาผู้สถิตอยู่ในที่นั้น ๆ  เทวดา

เหล่านั้นอันบุรุษชาติบัณฑิตนับถือบูชาแล้ว  ย่อม

นับถือบูชาบุรุษชาติบัณฑิตนั้น  แต่นั้นย่อมอนุเคราะห์

บุรุษชาติบัณฑิตนั้น  ประหนึ่งมารดาอนุเคราะห์บุตร

บุคคลผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมเห็นความเจริญ

ทุกเมื่อ.

[๑๗๔]  ลำดับนั้น   พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงอนุโมทนาแก่มหา-

อำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่นแคว้นมคธด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว

เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป  ก็สมัยนั้นแล   มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสส-

การะในแว่นแคว้นมคธ    ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปข้างหลัง ๆ   ด้วยตั้ง

ใจว่า  วันนี้   พระสมณโคดมจักเสด็จออกโดยประตูใด  ประตูนั้นจักชื่อว่า

โคดมประตู   จักเสด็จข้ามแม่น้ำคงคาโดยเท่าใด  ท่านั้นจักชื่อว่าโคตมติฏฐะ

ครั้งนั้นแล  พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกประตูใด   ประตูนั้นชื่อว่าโคดม-

ประตู   พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังแม่น้ำคงคา  ก็สมัยนั้นแล  แม่น้ำคงคา

เป็นแม่น้ำเต็มเปี่ยมพอกาดื่มกินได้    มนุษย์บางจำพวกแสวงหาเรือ   บาง

พวกแสวงหาพ่วง   บางพวกผูกแพ   ต้องการจะข้ามไปฝั่งโน้น    ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายจากฝั่งนี้แห่งแม่น้ำคงคา       ไปปรากฏอยู่ที่ฝั่ง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 756

โน้น   พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์  เหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้หรือพึง

คู้แขนที่เหยียด       ฉะนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นมนุษย์เหล่านั้น

บางพวกแสวงหาเรือ   บางพวกแสวงหาพ่วง   บางพวกผูกแพ    ต้องการจะ

ข้ามไปฝั่งโน้น.

ลำดับนั้นแล  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว   จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ชนเหล่าใดจะข้ามห้วงน้ำคือสงสาร  และสระคือ

ตัณหา   ชนเหล่านั้นกระทำสะพานคืออริยมรรค   ไม่

แตะต้องเปือกตมคือกามทั้งหลาย  จึงข้ามสถานที่ลุ่ม

อันเต็มด้วยน้ำได้  ก็ชนแม้ต้องการจะข้ามน้ำมีประ-

มาณน้อย    ก็ต้องผูกแพ  ส่วนพระพุทธเจ้า  และ

พุทธสาวกทั้งหลายเป็นผู้มีปัญญา   เว้นจากแพก็ข้าม

ได้.

จบปาฏลิคามิยสูตรที่   ๖

 

อรรถกถาปาฏลิคามิยสูตร

 

ปาฏลิคามิยสูตรที่  ๖  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า  มคเธสุ  แปลว่า ในแคว้นมคธ.  บทว่า  มหตา  ความว่า  แม้

ในที่นี้   ได้แก่  ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่  เพราะใหญ่โดยคุณบ้าง  ใหญ่โดยจำนวน

โดยการกำหนดนับไม่ได้บ้าง.   บทว่า ปาฏลิคาโม  ได้แก่  บ้านตำบลหนึ่ง

ในแคว้นมคธ   อันมีชื่ออย่างนี้.  ข่าวว่า ในวันสร้างบ้านนั้น  หน่อแคฝอย


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 757

๒- หน่อ ในที่จับจองสร้างบ้าน ได้แทรกออกมาจากแผ่นดิน. ด้วยเหตุ

นั้น   บ้านนั้นชนทั้งหลายจึงพากันกล่าวว่า   ปาฏลิคาม.   บทว่า  ตทวสริ

ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไป  คือได้เสด็จไปถึงปาฏลิคามนั้น.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า   ได้เสด็จไปถึงปาฏลิคามในกาลไร.  พระองค์

ทรงให้สร้างเจดีย์เพื่อพระธรรมเสนาบดี    ในกรุงสาวัตถี   โดยนัยที่กล่าว

ไว้แล้วในหนหลัง  เสด็จออกจากกรุงสาวัตถีนั้นประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์

จึงให้สร้างเจดีย์เพื่อพระมหาโมคคัลลานะ  ในกรุงราชคฤห์นั้น  เสด็จออก

จากกรุงราชคฤห์นั้นแล้ว   ประทับอยู่ที่อัมพลัฏฐิวัน    แล้วเสด็จจาริกไปใน

ชนบท     โดยการจาริกไม่รีบด่วน     จึงประทับแรมราตรีหนึ่งในที่นั้น ๆ

เพื่อทรงอนุเคราะห์สัตวโลก  จึงได้เสด็จถึงปาฏลิคามโดยลำดับ.

บทว่า ปาฏลิคามิยา    ไค้แก่  อุบาสกชาวปาฏลิคาม.     ได้ยินว่า

อุบาสกเหล่านั้นบางพวกตั้งอยู่ในสรณะ   บางพวกตั้งอยู่ในศีล   บางพวก

ตั้งอยู่ทั้งในสรณะ    ตั้งอยู่ทั้งในศีล   ด้วยการเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น

ครั้งแรก.   ด้วยเหตุนั้น   ท่านจึงกล่าวว่า   อุบาสกทั้งหลาย   เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า   ถึงที่ประทับ   ดังนี้.

ได้ยินว่า  ในปาฏลิคาม   พวกคนของพระเจ้าอชาตศัตรู   และของ

พระเจ้าลิจฉวีทั้งหลายพากันไปตามกาลอันสมควร   ไล่เจ้าของบ้านให้ออก

จากบ้าน   แล้วอยู่เดือนหนึ่งบ้าง   กึ่งเดือนบ้าง.   ด้วยเหตุนั้น   พวกคน

ชาวปาฏลิคามถูกรุกรานเป็นประจำ  จึงคิดว่า ก็ในเวลาที่พวกคนเหล่านี้มา

จักได้มีที่อยู่    ดังนี้แล้ว   จึงได้พากันสร้างศาลาหลังใหญ่กลางเมือง    อัน

เพียงพอแก่การอยู่ของคนทั้งหมด  โดยไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน    คือให้


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 758

มีที่เก็บของของอิสรชนในส่วนหนึ่ง   ให้เป็นที่อยู่ส่วนหนึ่ง   ให้เป็นที่อยู่

ของคนเดินทางผู้เป็นอาคันตุกะไว้ส่วนหนึ่ง      ให้เป็นที่อยู่ของคนกำพร้า

เข็ญใจไว้ส่วนหนึ่ง  เป็นที่อยู่ของคนไข้ไว้ส่วนหนึ่ง   ดังนี้.    ศาลาหลังนั้น

ได้มีชื่อว่า อาวสถาคาร (ที่พักแรม) แล.    ก็ในวันนั้น      การสร้างศาลา

หลังนั้น     ก็ได้สำเร็จลง.    ก็ชาวปาฏลิคามเหล่านั้น     พากันไปในที่นั้น

ตรวจดูศาลานั้นตั้งแต่ซุ้มประตู  ซึ่งสำเร็จเรียบร้อย    จัดแจงไว้ด้วยดี  ด้วย

งานไม้  งานปูน  และงานจิตรกรรม  เป็นต้น    เหมือนเทพวิมาน  แล้วพา

กันคิดว่า  อาวสถาคารนี้   เป็นที่น่ารื่นรมย์   เป็นมิ่งขวัญยิ่งนัก   ใครหนอ

จักได้ใช้สอยก่อน       จักพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเราตลอดกาล

นาน.   ก็ในขณะนั้นนั่นเอง   พวกเขาได้ยินว่า   พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

ถึงบ้านนั้น.    ด้วยเหตุนั้น    พวกเขาจึงเกิดปีติโสมนัส    ทำการตกลงกันว่า

พวกเราควรจะนำพระผู้มีพระภาคเจ้ามาบ้าง    ด้วยว่าพระองค์เสด็จถึงที่อยู่

ของพวกเราด้วยพระองค์เองแล้ว   วันนี้พวกเรา  จักให้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ในที่นี้   แล้วจักให้พระศาสดาทรงเสวยก่อน  ภิกษุสงฆ์ก็เหมือน

กัน  เมื่อภิกษุสงฆ์มาถึง พระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก   ก็จักมาถึงเหมือน

กัน    เราจักให้พระศาสดาตรัสมงคล   แสดงธรรม   ดังนั้น   เมื่อรัตนะ  ๓

ใช้สอยแล้ว   ภายหลังพวกเรา  และคนเหล่าอื่นก็จักใช้สอย   เมื่อเป็นเช่นนี้

ก็จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเรา   ตลอดกาลนาน   ดังนี้แล้ว   จึงเข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า  เพื่อประโยชน์นั้นนั่นแล.  เพราะฉะนั้น พวกเขา

จึงกราบทูลอย่างนี้ว่า   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า   จง

ทรงรับอาวสถาคาร  ของข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 759

บทว่า  เยน  อาวสถาคาร  เตนุปสงฺกมึสุ   ความว่า อาวสถาคารนั้น

เขาจัดแจงปฏิบัติด้วยดี     เหมือนเทพวิมาน    เพราะสำเร็จเรียบร้อยด้วยดี

ในวันนั้นนั่นเองก็จริง   แต่ถึงอย่างนั้น  ก็ยังไม่ได้ตบแต่ง  ให้ควรแก่

พระพุทธเจ้า   พวกชาวปาฏลิคามเหล่านั้น   พากันคิดว่า   ธรรมดาพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย   มีอัธยาศัยอยู่ป่า  มีป่าเป็นที่มายินดี   พึงอยู่ภายในบ้าน

ก็ตาม  ไม่อยู่ก็ตาม  ฉะนั้น   พวกเราพอรู้ว่า   พระผู้มีพระภาคเจ้า   ทรง

พอพระหฤทัย  จึงจักตบแต่ง  ดังนี้แล้ว  จึงพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

บัดนี้   ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพอพระหฤทัย    จึงมีความประสงค์

จะตบแต่งเช่นนั้น  จึงเข้าไปถึงอาวสถาคาร.

บทว่า สพฺพสนฺถรึ   อาวสถาคาร  สนฺถริตฺวา  ความว่า  ชาวปาฏ-

ลิคามเหล่านั้นลาดอาวสถาคารนั้น  อย่างที่ลาดแล้วทั้งหมดนั่นแล   ก่อนอื่น

ทั้งหมด   จึงเอาโคมัยสดฉาบทาพื้น   แม้ที่ฉาบไว้ด้วยปูนขาว   ด้วยคิดว่า

ธรรมดาว่าโคมัย   ย่อมใช้ได้ในงานมงคลทั้งหมด  รู้ว่าแห้งแล้ว   จึงไล้ทา

ด้วยของหอมมีชาติ  ๔  โดยไม่ปรากฏรอยเท้าในที่ที่เหยียบ  ลาดเสื่อลำแพน

ที่มีสีต่างๆ ไว้ข้างบน   แล้วลาดผ้าขนสัตว์ผืนใหญ่เป็นต้น    ไว้ข้างบนเสื่อ

ลำแพนเหล่านั้นแล้ว  ลาดที่ว่างทั้งหมด  อันควรจะพึงลาด    ด้วยเครื่องลาด

มีสีต่างๆ   มีหัตถัตถรณะเป็นต้น.   ด้วยเหตุนั้น  ท่านจึงกล่าวว่า   ลาด

อาวสถาคาร   ลาดทั้งหมดเป็นต้น.

จริงอยู่    ในท่ามกลางอาสนะทั้งหลาย   พวกเขาตบแต่งพุทธอาสน์

มีค่ามาก  พิงเสามงคลเป็นอันดับแรก   แล้วลาดเครื่องลาดที่อ่อนนุ่ม   น่า

รื่นรมย์ใจ    ไว้บนพุทธอาสน์นั้นแล้ว     จัดแจงเขนยที่มีสีแดงทั้งสองข้าง

เห็นเข้าน่าฟูใจแล้ว       ผูกเพดานอันวิจิตรด้วยดาวทองดาวเงินไว้ข้างบน


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 760

ประดับด้วยพวงของหอม   พวงดอกไม้เเละพวงใบไม้เป็นต้น    ให้กั้นข่าย

ดอกไม้   ในที่ ๑๒  ศอก   โดยรอบแล้ว  ให้เอาม่านผ้าล้อมที่ประมาณ   ๓๐

ศอก  ให้ลาดแคร่   พนักอิงเตียงและตั่งเป็นต้น   เพื่อภิกษุสงฆ์อิงฝาด้าน

หลัง  ให้ลาดเครื่องลาดขาวไว้ข้างบน  ให้สร้างข้างศาลาด้านทิศตะวันออก

อันเหมาะกับที่นั่งของตน.      อย่างที่ท่านหมายกล่าวไว้ว่า     ให้ปูอาสนะ

เป็นต้น.

บทว่า  อุทกมณิก  ได้แก่  หม้อน้ำ  อันแล้วด้วยทอง  และมณีมีค่ามาก

คือ  ตุ่มน้ำ.  พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์   จักล้างมือและเท้า  บ้วนปาก

ตามความชอบใจ   ด้วยประการฉะนี้    เพราะฉะนั้น    พวกเขาจึงบรรจุน้ำ

ที่มีสีดังแก้วมณี   ให้เต็มในที่นั้น ๆ แล้ว    ใส่ดอกไม้นานาชนิด   และจุณ

สำหรับอบน้ำ   เพื่อประโยชน์แก่การอบแล้ว    ก็ให้เอาใบกล้วยวางปิดไว้.

ด้วยเหตุนั้น  ท่านจึงกล่าวว่า   ให้ตั้งหม้อน้ำไว้.

บทว่า  เตลปฺปทีป  อาโรเปตฺวา   ความว่า   ให้ตามประทีปน้ำมัน

ที่ตะคันอันสำเร็จด้วยทองและเงินเป็นต้น  วางไว้ในมือของรูปทหาร  และ

รูปที่สลักอันงดงามเป็นต้น      ที่ไฟชนวนอันมีด้ามสำเร็จด้วยทองและเงิน

เป็นต้น.   ก็ในคำว่า  เยน  ภควา   เตนุปสงฺกมึสุ  นี้   มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

อุบาสกชาวปาฏลิคามเหล่านั้น  มิใช่จัดแจงแต่อาวสถาคารอย่างเดียวเท่านั้น

ก็หามิได้   โดยที่แท้   ยังให้จัดแจงถนนในบ้านแม้ทั้งสิ้นแล้ว    ให้ยกธงชัย

ขึ้น      วางหม้อน้ำอันเต็มและต้นกล้วยไว้ที่ประตูบ้าน     ให้บ้านทั้งหมด

เหมือนดารดาษไปด้วยหมู่ดาว   ด้วยระเบียบประทีป   ให้ตีกลองร้องประ-

กาศว่า   ให้เด็กที่ยังไม่ทิ้งนมให้ดื่มน้ำนม   ให้เด็กรุ่น ๆ  รีบกินเสียแล้วไป

นอน  อย่าส่งเสียงเอ็ดอึง  วันนี้  พระศาสดาจักประทับอยู่ภายในบ้านราตรี


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 761

หนึ่ง     ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย     ทรงมีพระประสงค์เสียงที่เบา

ดังนี้แล้ว   ถือไฟชนวนเอง  เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

บทว่า อถโข   ภควา  (ปุพฺพณฺหสมย)  นิวาเสตฺวา  ปตฺตจีวรมาทาย

สทฺธึ  ภิกฺขุสงฺเฆน  เยน   อาวสถาคาร   เตนุปสงฺกมิ  ความว่า      ได้ยินว่า

เมื่อพวกชาวปาฏลิคามเหล่านั้น    กราบทูลกาลอย่างนี้ว่า    ข้าแต่พระองค์

เจริญ     ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า   สำคัญเวลาอันสมควร ณ  บัดนี้เถิด  พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงจัดแจงผ้าที่ย้อมแล้ว ๒ ชั้น มีสีดังดอกทองหลางแดงอัน

ชุ่มด้วยน้ำครั่ง  นุ่งปกปิดมณฑล ๓  เหมือนเอากรรไกรตัดดอกปทุม  ทรง

คาดประคดเอว     อันงดงามดุจสายฟ้า     เหมือนเอาสังวาลทองคำล้อมกำ

ดอกปทุม  ทรงห่มผ้าบังสุกุลจีวรอันบวรที่ย้อมดีแล้ว   มีสีเสมอด้วยต้นไทร

พระองค์ทรงถือเอา  ทำภูเขาจักรวาล  สิเนรุ  ยุคันธร และมหาปฐพีทั้งสิ้น

ให้หวั่นไหว  เหมือนเอาผ้ากัมพลแดงห่อหุ้มตะพองช้าง  เหมือนซัดตาข่าย

แก้วประพาฬที่ลิ่มทองคำ  สูงประมาณ   ๑๐๐  ศอก   เหมือนสวมเสื้อกัมพล

แดงที่สุวรรณเจดีย์ใหญ่   เหมือนเมฆแดงปกปิดพระจันทร์ในวันเพ็ญ   ซึ่ง

กำลังโคจร   เหมือนลาดน้ำครั่งที่สุกดี   บนยอดภูเขาทอง  และเหมือนเอา

ตาข่าย  สายฟ้า   แวดวง   ยอดเขาจิตกูฏ         เสด็จออกจากมณฑปทองคำที่

พระองค์ประทับนั่ง     เหมือนพระจันทร์เพ็ญ     และเหมือนพระสุริโยทัย

ทอแสงอ่อน ๆ จากยอดเขา  โดยรอบ  เหมือนไกรสรราชสีห์ออกจากพงป่า.

ลำดับนั้นแล    รัศมีซ่านออกจากพระวรกายของพระองค์   เหมือน

กลุ่มสายฟ้า    แลบออกจากหน้าเมฆ   แล้วจับรอบต้นไม้      เหมือนสายน้ำ

ทองคำจับที่ใบ  ดอก   ผล  กิ่ง  และค่าคบ   ซึ่งเหลืองไปด้วยการราดรด.

ในขณะนั้นนั่นเอง  ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่  ถือบาตรและจีวรของตนๆ  พากัน


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 762

แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.   ก็ภิกษุเหล่านั้น   ผู้ยืนแวดล้อมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าอยู่   ได้เป็นผู้เช่นนั้นคือ  เป็นผู้มักน้อย   สันโดษ  สงัด  ไม่คลุกคลี

ด้วยหมู่   ผู้ปรารภความเพียร   ผู้กล่าวสอน   ผู้อดทนต่อถ้อยคำ    ผู้กล่าว

ตักเตือน   ผู้มักตำหนิความชั่ว   สมบูรณ์ด้วยศีล   สมาธิ   ปัญญา   วิมุตติ

และสมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ.   พระผู้มีพระภาคเจ้า  อันภิกษุเหล่านั้น

แวดล้อมแล้วไพโรจน์  เหมือนแท่งทองคำ     ที่แวดวงด้วยผ้ากัมพลแดง

เหมือนพระจันทร์เพ็ญ     แวดล้อมไปด้วยหมู่ดาว  เหมือนนาวาทองคำ  อยู่

ในป่าดอกปทุมแดง   และเหมือนปราสาททองคำ   ที่แวดล้อมไปด้วยไพที

แก้วประพาฬ.

ฝ่ายพระมหาเถระ   มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน   ผู้มีราคะอันคาย

แล้ว     ผู้ทำลายกิเลสแล้ว     สางกิเลสดุจรกชัฏ     ตัดกิเลสเครื่องผูกได้แล้ว

ไม่ข้องอยู่ในตระกูลหรือคณะ  ห่มบังสุกุลจีวรมีสีดังสีเมฆ  พากันแวดล้อม

เหมือนพญาช้างหุ้มเกราะแก้วมณีฉะนั้น.     ดังนั้น     พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์เองเป็นผู้ปราศจากราคะ    อันผู้ปราศจากราคะแวดล้อม    เป็นผู้

ปราศจากโทสะ   อันผู้ปราศจากโทสะแวดล้อม   เป็นผู้ปราศจากโมหะ   อัน

ผู้ปราศจากโมหะแวดล้อม   เป็นผู้ปราศจากตัณหา    อันผู้ปราศจากตัณหา

แวดล้อม  เป็นผู้ปราศจากกิเลส   อันผู้ปราศจากกิเลสแวดล้อม    พระองค์

เองเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว    อันผู้ตรัสรู้ตามแวดล้อม   เหมือนเกสรแวดล้อมด้วย

กลับ  เหมือนช่อดอกไม้แวดล้อมด้วยเกสร  เหมือนพญาช้างฉัททันต์   แวด

ล้อมด้วยช้าง  ๘,๐๐๐   ตัว   เชือก  เหมือนพญาหงส์ธตรฐ    แวดล้อมด้วยหงส์

๙๐,๐๐๐  ตัว  เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ   แวดล้อมด้วยองค์แห่งเสนา   เหมือน

ท้าวสักกเทวราช    แวดล้อมด้วยเทวดา    เหมือนหาริตมหาพรหม   แวด


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 763

ล้อมด้วยหมู่พรหม    เหมือนพระจันทร์เพ็ญ    แวดล้อมด้วยหมู่ดาว   ทรง

ดำเนินไปตามทาง    อันเป็นที่ไปยังปาฏลิคาม    ด้วยเพศแห่งพระพุทธเจ้า

อันหาผู้เปรียบมิได้    ด้วยพุทธวิลาส  อันหาประมาณมิได้.

ลำดับนั้น   พระพุทธรัศมีทึบ   มีวรรณะเพียงดังทองคำ   พุ่งออก

จากพระวรกายเบื้องหน้าของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น      ได้จรดที่ประมาณ

๘๐  ศอก   อนึ่ง  พระพุทธมีรัศมีทึบ   มีวรรณะเพียงดังทองคำ   พุ่งออก

จากพระวรกายเบื้องหลัง    จากพระปรัศว์เบื้องขวา    จากพระปรัศว์เบื้อง

ซ้าย    จรดที่ประมาณ  ๘๐  ศอก.   พระพุทธรัศมีทึบสีคราม   เหมือนสีที่

ส่องออกจากคอนกยูง    พุ่งออกจากมวยผมทั้งหมด    ตั้งแต่ที่สุดปลายผม

ข้างบน   จรดที่ประมาณ  ๘๐  ศอก   บนท้องฟ้า.    รัศมีมีวรรณะดังแก้ว

ประพาฬ      พุ่งออกจากพระยุคลบาทเบื้องต่ำ    จรดที่ประมาณ   ๘๐  ศอก

ในแผ่นดินทึบ.   พระพุทธรัศมีทึบสีขาว   พุ่งออกจากพระทนต์    จากที่

ดวงตาขาว    จากที่เล็บที่พ้นจากหนังและเนื้อ   จรดที่ประมาณ   ๘๐  ศอก.

พระรัศมี   มีสีหงสบาท    พุ่งออกจากที่สีแดงและสีเหลืองคละกัน     จรดที่

ประมาณ  ๘๐  ศอก.   พระรัศมีเลื่อมปภัสสร    พุ่งขึ้นมีประโยชน์ดีกว่าเขา

หมดแล.    พระพุทธรัศมีมีวรรณะ  ๖  ประการ    ทำสถานที่ประมาณ   ๘๐

ศอก  โดนรอบอย่างนี้   ให้โชติช่วง  แผ่ฉวัดเฉวียงไป   แล่นไปสู่ทิศน้อย

ใหญ่  เหมือนเปลวประทีปดวงใหญ่  แลบออกจากไฟชนวนทองค่ำ  แล่น

ขึ้นสู่กลางหาว     และเหมือนสายฟ้าที่แลบออกจากมหาเมฆในทวีปทั้ง  ๔.

อันเป็นเหตุให้ส่วนทิศทั้งหมดรุ่งโรจน์โชติช่วง     เหมือนโปรยปรายด้วย

ดอกจำปาทองคำ      เหมือนเอาสายน้ำทองคำ      เทออกจากหม้อทองคำ

เหมือนแวดวงด้วยแผ่นทองคำที่แผ่ออกไป  เหมือนเกลื่อนกล่นฟุ้งด้วยจุณ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 764

แห่งดอกทองกวาว   ดอกกรรณิกา   และดอกทองหลาง    ที่ฟุ้งขึ้นด้วยลม

หัวด้วน  และเหมือนย้อมด้วยผงชาด.  จริงอยู่  พระโฉมของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า   อันรุ่งเรืองแวดล้อมด้วยอนุพยัญชนะ  ๘๐   และพระรัศมีด้านละ

วา   ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ  ๓๒  ประการ   อันปราศจากเครื่อง

หม่นหมอง  มีไฝฝ้า  และขี้แมลงวัน    เป็นต้น   รุ่งโรจน์โชติช่วง   เหมือน

ท้องฟ้าสว่างด้วยหมู่ดาวที่สุกปลั่ง        เหมือนป่าปทุมที่แย้มบานเต็มที่

เหมือนต้นปาริฉัตตกะ  (ต้นแคฝอย)  สูง  ๑๐๐ โยชน์ ผลิบานเต็มที่  เหมือน

ครอบงำสิริกับสิริของพระจันทร์  ๓๒  ดวง       ของพระอาทิตย์ ๓๒  ดวง

ของพระเจ้าจักรพรรดิ  ๓๒    ของพระเทวราช  ๓๒   ของมหาพรหม ๓๒

ตั้งเรียงกันตามลำดับ   ที่ประดับด้วยความเป็นผู้มีพระบารมี  ๓๐  ถ้วน   ที่

ทรงบำเพ็ญมาโดยชอบ คือ พระบารมี  ๑๐  พระอุปบารมี  ๑๐  และพระ-

ปรมัตถบารมี    ๑๐   เกิดขึ้นด้วยการบำเพ็ญทาน   ด้วยการรักษาศีล   ด้วย

การบำเพ็ญกัลยาณธรรมสิ้น  ๔  อสงไขย   กำไรแสนกัลป์       รวมลงใน

อัตภาพหนึ่ง     เมื่อไม่ได้โอกาสที่จะให้ผล    เป็นเหมือนถึงความคับแคบ

เป็นเหมือนเวลายกสิ่งของในเรือ  ๑,๐๐๐  ลำ บรรทุกลงเรือลำเดียว  เหมือน

เวลายกสิ่งของในเกวียน  ๑,๐๐๐  เล่ม บรรทุกลงเกวียนเล่มเดียว   และเป็น

เหมือนเวลาที่แม่น้ำคงคา  ๒๕  สาย    แยกออกจากกันแล้วรวมเป็นสายเดียว

กันที่ปากน้ำ.

ไฟชนวนหลายพันดวงโผล่ขึ้นเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค-

เจ้านี้   ผู้สว่างไสวอยู่ด้วยพุทธรังสีนี้    ทั้งเบื้องพระปฤษฎางค์  พระปรัศว์

ซ้าย  พระปรัศว์เบื้องขวาก็เหมือนกัน.   ดอกมะลิ    ดอกจำปา  ดอกมะลิ-

ซ้อน   อุบลแดง   อุบลเขียว  ดอกพิกุล   และดอกไม้ย่างทราย  เป็นต้น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 765

และจุรณะเครื่องหอมมีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้นเรียงราย     ดุจเมล็ดฝนที่

ปราศจากมหาเมฆทั้ง  ๔  ทิศ.  เสียงกึกก้องแห่งดนตรีมีองค์  ๕   และเสียง

กึกก้องสดุดีที่เกี่ยวด้วยพุทธคุณ   ธรรมคุณ   และสังฆคุณ  ได้เป็นเสมือน

มีปากพูดเต็มไปทั่วทุกทิศ.   ดวงตาของเทพ สุบรรณ นาค ยักษ์ คนธรรพ์

และมนุษย์  ได้เป็นเสมือนได้ดื่มน้ำอมฤต.   ก็ในที่นี้  ควรจะกล่าวสรรเสริญ

การเสด็จไป  โดยเป็นพัน ๆ บท.  แต่ในที่นี้   มีเพียงมุขปาฐะดังต่อไปนี้

พระผู้นำโลกไปให้วิเศษ  ผู้สมบูรณ์ด้วยสรรพางค์

กายอย่างนี้  ผู้ทำแผ่นดินให้หวั่นไหว  ผู้ไม่เบียดเบียน

เหล่าสัตว์     เสด็จดำเนินไปอยู่.     พระผู้องอาจใน

หมู่ชน   ทรงยกพระบาทขวาขึ้นก่อน   ผู้เพียบพร้อม

พื้นพระบาทเบื้องล่างของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ  ผู้

พื้นพระบาทเบื้องล่างของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ    ผู้

เสด็จดำเนินไป  อ่อนนุ่มลูกพื้นดินอันสม่ำเสมอ   นี้

แปดเปื้อนด้วยธุลี.   เมื่อพระโลกนายเสด็จดำเนินไป

สถานที่ลุ่ม  ย่อมนูนขึ้น    สถานที่นูนขึ้นก็สม่ำเสมอ

ทั้งที่แผ่นดินไม่มีจิตใจ.        เมื่อพระผู้นำโลกเสด็จ

ดำเนินไป   มรรคาทั้งหมดปราศจากหิน    ก้อนกรวด

กระเบื้องถ้วย  หลักตอและหนาม.   ไม่ยกพระบาท

ในที่ไกลเกินไป  ไม่ซอยพระบาทในที่ใกล้เกินไป  ไม่

หนีบพระชาณุและข้อพระบาททั้ง  ๒  เบียดเสียดกัน

เสด็จดำเนินไป.   พระมุนีผู้มีการดำเนินเพียบพร้อม

มีพระทัยตั้งมั่น  เมื่อเสด็จไปก็ไม่เสด็จเร็วเกินไป  ทั้ง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 766

ไม่เสด็จช้าเกินไป.       พระองค์เสด็จไปไม่ได้ทอด

พระเนตรดูเบื้องบนเบื้องล่าง    เบื้องขวาง    ทศน้อย

ทิศใหญ่ก็เหมือนกัน  ทรงทอดพระเนตรเพียงชั่วแอก.

พระชินเจ้าพระองค์นั้น   เสด็จเยื้องกรายดุจพญาช้าง

ย่อมงดงามในการเสด็จดำเนินไป  พระองค์เป็นผู้เลิศ

ของโลก    เสด็จดำเนินไปงดงาม    ทำโลกพร้อมทั้ง

เทวโลกให้ร่าเริง.        พระองค์งดงามดุจพญาอุสภะ

ดุจไกรสรราชสีห์    มีการเดินอย่างงดงาม    ทรงยัง

เหล่าสัตว์เป็นอันมากให้ยินดี      เสด็จเข้าถึงบ้านอัน

ประเสริฐ.

นี้ชื่อว่าเป็นเวลาสรรเสริญ    กำลังของพระธรรมกถึกเท่านั้น   เป็น

ประมาณในการสรรเสริญพระโฉม       และสรรเสริญพระคุณของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า     ในกาลทั้งหลายเช่นอย่างนี้.     ด้วยจุรณียบทที่ผูกเป็นคาถา

ควรจะกล่าวเท่าที่สามารถ  ไม่ควรจะกล่าวว่า  กล่าวได้ยาก   หรือว่าแล่น

ไปผิดท่า.   จริงอยู่   ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลาย   ก็ย่อมไม่สามารถกล่าวคุณ

ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีพระคุณหาปริมาณมิได้โดยสิ้นเชิง  เพราะ

เมื่อสรรเสริญพระคุณอยู่ตลอดกัป    ก็ไม่สามารถจะให้พระคุณสิ้นสุดลงได้

จะป่วยกล่าวไปไยถึงหมู่สัตว์นอกนี้เล่า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า   ทรงตบแต่งประดับด้วยพระสิริวิลาสนี้   เสด็จ

เข้าไปยังปาฏลิคาม  อันชนผู้มีจิตเลื่อมใสบูชาด้วยสักการะ  มีดอกไม้  ของ

หอม  ธูป  และจุณสำหรับอบเป็นต้น   เสด็จเข้าไปยังอาวสถาคาร.   ด้วย

เหตุนั้น  ท่านจึงกล่าวว่า  ครั้งนั้นแล  พระผู้มีพระภาคเจ้า   ทรงครองผ้า


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 767

ถือบาตรและจีวร  พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์  เสด็จเข้าไปยังอาวสถาคารดังนี้.

บทว่า   ปาเท   ปกฺขาเลตฺวา  ความว่า  แม้ถ้าเปือกตมคือธุลี     ไม่

เปื้อนพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า   ก็จริง  ถึงกระนั้น   พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงหวังความเจริญยิ่งแห่งกุศล  ของอุบาสกและอุบาสิกาเหล่านั้น  จึงทรง

ให้ล้างพระบาท     เพื่อให้ชนเหล่าอื่นถือเอาเป็นตัวอย่าง.    อีกอย่างหนึ่ง

ขึ้นชื่อว่า  พระสรีระอันมีใจครอง  ก็ต้องทำให้เย็น  เพราะฉะนั้น    พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า  จึงทรงกระทำการสรงสนาน  และทรงล้างพระบาทเป็นต้น

แม้เพื่อประโยชน์นี้ทีเดียว.

บทว่า  ภควนฺตญฺเว  ปุรกฺขตฺวา  ได้แก่  กระทำพระผู้มีพระภาค-

เจ้าไว้เบื้องหน้า.    ในข้อนั้น    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับนั่งในท่าม-

กลางของภิกษุทั้งหลาย      และของอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย    ทรงให้สรง

สนานด้วยน้ำหอมแล้ว   ทำให้น้ำแห้งไปด้วยเสวียนผ้าแล้ว   ทำให้แห้งด้วย

ชาดหิงดุ    ย่อมไพโรจน์ยิ่งนัก    เหมือนรูปเปรียบที่ทำด้วยแท่งทองสีแดง

ซึ่งประดิษฐานไว้บนตั่ง    อันแวดวงด้วยผ้ากัมพลแดง.

ก็ในข้อนี้     เป็นบทประพันธ์ที่ท่านโบราณบัณฑิตประพันธ์ไว้ดัง

ต่อไปนี้

พระโลกนาถเจ้า   ผู้เป็นเลิศของชาวโลก  ผู้เสด็จ

ไปดุจพญาช้างเยื้องกราย   เสด็จไปยังโรงกลมให้

สว่างไสว  ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์.

พระองค์เป็นดุจนายสารถี  ผู้ฝึกนรชน  เป็นเทพ

ยิ่งกว่าเทพ   ผู้มีบุญลักษณะกำหนดด้วยร้อย   ประทับ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 768

นั่งบนบวรพุทธอาสน์นั้น      ไพโรจน์อยู่ในท่ามกลาง

พุทธอาสน์   เหมือนแท่งทองคำงดงามอยู่ในผ้ากัมพล

สีเหลืองฉะนั้น.   พระองค์ผู้ปราศจากมลทินย่อมไพ-

โรจน์   เหมือนแท่งทองชมพูนุท   ที่เขาวางไว้บนผ้า

กัมพลเหลือง     เหมือนแก้วมณีงดงามฉะนั้น     ทรง

ไพโรจน์งามสะพรั่งกว่าสิ่งทั้งปวง    เหมือนต้นสาละ

ใหญ่   มีดอกบานสะพรั่ง   อันประดับด้วยพระยาไม้

คล้ายปราสาททองคำเหมือนดอกปทุมโกกนุท  เหมือน

ต้นไม้ที่ประดับด้วยประทีปโพลงอยู่    เหมือนไฟบน

ยอดเขา   เหมือนต้นปาริฉัตรของเทวดาฉะนั้น.

บทว่า  ปาฏลิคามิเก  อุปาสเก   อามนฺเตสิ  ความว่า  เพราะเหตุที่ใน

อุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้น   คนเป็นอันมากตั้งอยู่ในศีล   ฉะนั้นเพื่อจะประกาศ

โทษแห่งศีลวิบัติ    เป็นอันดับแรกก่อนแล้ว   ภายหลังจึงแสดงอานิสงส์แห่ง

ศีลสมบัติ      จึงตรัสเรียกมาเพื่อแสดงธรรม      โดยนัยมีอาทิว่า  ปญฺจิเม

คหปตโย  ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น     บทว่า ทุสฺสีโล   ได้แก่  ผู้ไร้ศีล.     บทว่า

สีลวิปนฺโน   ได้แก่  ผู้มีศีลวิบัติ     คือผู้ทำลายสังวร.     ก็ในบทเหล่านี้

ด้วยบทว่า  ทุสฺสีโล     ตรัสถึงบุคคลผู้ไม่มีศีล.   ก็บุคคลผู้ไม่มีศีลนั้น

มี  ๒  อย่าง คือ เพราะไม่สมาทาน    หรือทำลายศีลที่สมาทานแล้ว.    ใน

๒  อย่างนั้น      ข้อต้นไม่มีโทษ    เหมือนอย่างข้อที่  ๒     ที่มีโทษแรงกว่า.

เพื่อจะแสดงความไม่มีศีล    ซึ่งมีโทษตามที่ประสงค์เป็นเหตุ    ด้วยเทศนา

เป็นบุคลาธิษฐาน  จึงตรัสคำว่า  สีลวิปนฺโน  ดังนี้.  ด้วยเหตุนั้น  พระองค์


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 769

จึงทรงแสดงอรรถแห่งบทว่า   ทุสฺสีโล    ดังนี้.    บทว่า   ปมาทาธิกรณ

แปลว่า มีความประมาทเป็นเหตุ.

ก็สูตรนี้มาแล้ว   ด้วยอำนาจคฤหัสถ์ทั้งหลาย   แต่ถึงบรรพชิตก็ใช้ได้

เหมือนกัน.     จริงอยู่       คฤหัสถ์เลี้ยงชีพด้วยความหมั่นต่อการศึกษาได้

จะเป็นกสิกรรมก็ดี   พาณิชยกรรมก็ดี   โครักขกรรมก็ดี   เป็นผู้ประมาท

ด้วยปาณาติปาตเป็นต้น   ไม่สามารถจะยังความหมั่นในศิลปะนั้น  ให้สำเร็จ

ได้ตามกาลอันสมควร    เมื่อเป็นเช่นนี้การงานของเขาก็จักพินาศไป    แต่

เมื่อเขาทำปาณาติปาตเป็นต้น      ในเวลาที่เขาอาฆาต    ย่อมถึงความเสื่อม

จากโภคะใหญ่    ด้วยอำนาจอาชญา.  บรรพชิตผู้ทุศีล   ย่อมถึงความเสื่อม

จากศีล   จากพระพุทธพจน์   จากฌาน    และจากอริยธรรม  ๗ ประการ

เพราะความประมาทเป็นเหตุ. บทว่า ปาปโก  กิตฺติสทฺโท  ความว่า  กิตติ-

ศัพท์อันลามกของคฤหัสถ์       ย่อมฟุ้งขจรไปในท่ามกลางบริษัท  ๔  ว่า

คฤหัสถ์ชื่อโน้น   เกิดในสกุลชื่อโน้น    เป็นผู้ทุศีล   เป็นผู้มีธรรมอันลามก

เป็นผู้สละเสียทั้งโลกนี้และโลกหน้า    ย่อมไม่ให้ทาน   แม้วัตถุเพียงสลาก-

ภัต.  กิตติศัพท์อันลามกของบรรพชิต  ย่อมฟุ้งขจรไปอย่างนี้ว่า  บรรพ-

ชิตชื่อโน้น     บวชในพระศาสนาของพระศาสดา   ไม่อาจเพื่อจะรักษาศีล

ไม่อาจเพื่อจะเรียนพระพุทธพจน์  เป็นผู้ประกอบด้วยอคารวะ  ๖ ประการ

เลี้ยงชีพด้วยอเนสนากรรม   มีเวชกรรมเป็นต้น.  บทว่า  อวิสารโท  ความว่า

อันดับแรก  คฤหัสถ์ผู้มีภัตหลีกเลี่ยงไม่ได้  เข้าไปในที่ชุมนุมชนเป็นอันมาก

ด้วยคิดว่า  ใคร ๆ  จักรู้ความชั่วของเรา   จักนินทา   จักข่มเรา   หรือจัก

ชี้แจงแก่ราชสกุล    เป็นผู้เก้อเขิน    คอตก    นั่งก้มหน้า    เป็นผู้ไม่กล้า

พูด.  ฝ่ายบรรพชิต  ผู้มีภัย  หลีกเลี่ยงไม่ได้   เข้าไปในเมื่อภิกษุเป็น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 770

อันมากประชุมกัน   ด้วยคิดว่าบรรพชิตรูปหนึ่ง   จักรู้ความชั่วของเราเป็น

แน่    เมื่อเป็นเช่นนี้    ภิกษุทั้งหลาย    จักเว้นอุโบสถกรรมก็ดี   ปวารณา

กรรมก็ดีของเรา   จักฉุดคร่าเราให้ออกจากความเป็นสมณะเสีย   ย่อมเป็น

ผู้ไม่แกล้วกล้าสามารถจะกล่าวได้.     แต่บางคนถึงเป็นคนทุศีล      ก็ย่อม

ประพฤติเหมือนผู้มีศีล. แม้คนทุศีลนั้น   ก็ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน   ด้วยอัธยาศัย

เหมือนกัน.

บทว่า  สมฺมุฬฺโห  กาล  กโรติ  ความว่า จริงอยู่   เมื่อบุคคลผู้ทุศีล

นอนอยู่บนเตียงเป็นที่ตาย   ฐานะที่ตนสมาทานกรรม  คือความเป็นผู้ทุศีล

ย่อมมาปรากฏ    เขาลืมตาเห็นโลกนี้   หลับตาเห็นโลกหน้า   อบาย   ๔  ย่อม

ปรากฏแก่เขาตามสมควรแก่กรรม      ย่อมเป็นเหมือนถูกทิ่มแทงด้วยหอก

๑๐๐  เล่ม  และเหมือนถูกลวกด้วยเปลวไฟ   เขาพลางร้องครวญครางว่า  ขอ

เถอะ  ขอทีเถอะ  ดังนี้  จนตาย.   ด้วยเหตุนั้น  ท่านจึงกล่าวว่า  หลงทำกาละ

ดังนี้เป็นต้น.  บทว่า  กายสฺส  เภทา   ได้แก่   เพราะสละอุปาทินนกขันธ์.

บทว่า   ปรมฺมรณา   ได้แก่  หมายเอาขันธ์ที่จะพึงเกิดในภพอันเป็นลำดับ

แห่งอุปาทินนกขันธ์นั้น.   อีกอย่างหนึ่ง.   บทว่า   กายสฺส  เภทา  ได้แก่

เพราะชีวิตินทรีย์ขาดไป.    บทว่า  ปรมฺมรณา    ได้เเก่  เบื้องหน้าแต่จุติ.

บทว่า  อปาย  เป็นต้น  เป็นไวพจน์ของนรกทั้งหมด.  จริงอยู่   นรกชื่อว่า

อบาย  เพราะปราศจากความเจริญ  กล่าวคือบุญ     อันเป็นเหตุแห่งสวรรค์

และพระนิพพาน    และเพราะไม่มีความเจริญ   หรือการมาของความสุข.

ชื้อว่า ทุคติ    เพราะเป็นภูมิเป็นที่ไป  คือ  เป็นที่พำนักอาศัยแห่งทุกข์.

อีกอย่างหนึ่ง  ชื่อว่า   ทุคติ    เพราะเป็นภูมิเป็นที่ไป    อันเกิดด้วยกรรมชั่ว

เหตุมากไปด้วยโทสะ  ชื่อว่า   วินิบาต   เพราะเป็นที่ปราศจากอำนาจตกไป


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 771

ของบุคคลผู้กระทำกรรมชั่ว.   อีกอย่างหนึ่ง  ชื่อว่า  วินิบาต   เพราะเป็นที่

พินาศตกไปของบุคคลผู้มีอวัยวะน้อยใหญ่แตกไปอยู่  ชื่อว่า  นิรยะ   เพราะ

เป็นที่ไม่มีความเจริญ     อันเข้าใจกันว่าความยินดี.

อีกอย่างหนึ่ง   ด้วยศัพท์ว่า  อบาย  ทรงแสดงถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน.

จริงอยู่    กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานชื่อว่า  อบาย   เพราะปราศจากภูมิเป็นที่ไปดี

ไม่จัดเป็นทุคติ      เพราะเป็นที่เกิดของพญานาคเป็นต้น      ผู้มีศักดาใหญ่.

ด้วยศัพท์ว่า ทุคติ   ท่านแสดงถึงวิสัยแห่งเปรต.   จริงอยู่    ปิตติวิสัยนั้น

ชื่อว่า  อบาย   เพราะปราศจากสุคติ  และชื่อว่า  ทุคติ   เพราะเป็นภูมิเป็น

ที่ไปแห่งทุกข์   แต่ไม่ใช่จัดเป็นวินิบาต     เพราะไม่ได้ตกไปโดยไร้อำนาจ

เช่นพวกอสูร.    จริงอยู่    แม้วิมานก็ย่อมบังเกิดแก่พวกเปรตผู้มีฤทธิ์มาก.

ด้วยศัพท์ว่า วินิปาตะ  ทรงแสดงถึงอสุรกาย.  ก็อสุรกายนั้น  ว่าโดยอรรถ

ตามที่กล่าวแล้ว      ท่านเรียกว่า  อบาย    และทุคติ       เรียกว่า   วินิบาต

เพราะตกไปโดยไร้อำนาจจากกองสมบัติทั้งหมด.   ด้วยศัพท์ว่า  นิรยะ  ทรง

แสดงเฉพาะนรก  ซึ่งมีประการมากมาย  มีอเวจีเป็นต้น.   บทว่า  อุปปชฺชติ

แปลว่า   ย่อมบังเกิด.

พึงทราบอานิสงสกถา   โดยปริยายตรงกันข้ามดังกล่าวแล้ว.   ส่วน

ความแปลกกันมีดังต่อไปนี้.  บทว่า  สีลวา ได้แก่ ผู้มีศีลโดยการสมาทาน.

บทว่า  สีลสมฺปนฺโน  ได้เเก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล  เพราะยังศีลให้สำเร็จ  โดย

ทำให้บริสุทธิ์บริบูรณ์.  บทว่า โภคกฺขนฺธ  ได้แก่ กองแห่งโภคะ   ด้วย

สุคติศัพท์  ในบทว่า  สุคติ  สคฺค  โลก  นี้   ท่านรวมเอาคติของมนุษย์เข้า

ด้วย.   ด้วยศัพท์ว่า  สัคคะ   ท่านหมายเอาคติของเทวดาเข้าด้วย.   ในคติ

เหล่านั้น  ชื่อ  สุคติ  เพราะมีคติดี.  ชื่อว่า สัคคะ  เพราะมีอารมณ์ด้วยดี


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 772

ด้วยอารมณ์มีรูปเป็นต้น.   ก็สัคคะทั้งหมดนั้น   ชื่อว่า  โลก   เพราะอรรถ

ว่าแตกสลาย.

บทว่า  ปาฏลิคามิเย   อุปาสเก  พหุเทว  รตฺตึ   ธมฺมิยา  กถาย  ความ

ว่า   ด้วยธรรมกถา      และด้วยกถาเป็นเครื่องอนุโมทนาสำหรับที่พักอาศัย

อันพ้นจากบาลีแม้อื่น.

ก็ในคราวนั้น  เพราะเหตุที่พระเจ้าอชาตศัตรู    เมื่อจะทรงสร้างนคร

ปาฏลีบุตรในที่นั้น     จึงทรงนำเอากุฎุมพีที่สมบูรณ์ด้วยศีลและอาจาระใน

คามนิคมชนบทและราชธานีอื่น ๆ   แล้วประทานทรัพย์ธัญญาหารที่บ้านที่

นาเป็นต้น  และการปกครองแล้วให้อยู่อาศัย  ฉะนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงอานิสงส์แห่งศีลก่อน    แก่อุบาสกอุบาสิกา   ชาวปาฏลิคาม

ผู้หนักในศีลโดยพิเศษ  เพราะเป็นผู้เห็นอานิสงส์   และเพราะศีลเป็นที่ตั้ง

แห่งคุณทั้งปวง   ต่อแต่นั้น เมื่อจะแสดงปกิณณกกถา  อันนำมาซึ่งประโยชน์

สุข      แก่อุบาสกและอุบาสิกาชาวปาฏลิคาม       เหมือนยังอากาศคงคาให้

หยั่งลง  เหมือนฉุดมาซึ่งง้วนดิน  เหมือนจับยอดหว้าใหญ่ให้ไหวอยู่   และ

เหมือนเอาเครื่องยนต์  บีบคั้นรวงผึ้งประมาณโยชน์หนึ่ง  ให้สำเร็จเป็นน้ำ

หวานที่ดี  จึงทรงแสดงธรรมกถาเป็นอันมากที่วิจิตรด้วยนัยต่าง ๆ อย่างนี้

ว่า   ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย   ธรรมดาว่า  อาวาสทานนี้   เป็นบุญมาก  เรา

และภิกษุสงฆ์ได้ใช้อาวาสของพวกท่าน  ก็แล  เมื่อเราและภิกษุสงฆ์ใช้แล้ว

ก็เป็นอันชื่อว่า    ธรรมรัตนะก็ได้ใช้เหมือนกัน  เมื่อรัตนะ  ๓  ได้ใช้แล้ว

อย่างนี้     ย่อมมีวิบากหาประมาณมิได้ทีเดียว    อีกอย่างหนึ่ง     เมื่อถวาย

อาวาสทาน    ก็เป็นอันชื่อว่าถวายทานทั้งปวงทีเดียว    ใคร ๆ ไม่อาจจะ

กำหนดอานิสงส์ของบรรณศาลาที่สร้างไว้บนแผ่นดิน    หรือของศาลาราย


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 773

ที่สร้างอุทิศสงฆ์   ก็ด้วยอานุภาพแห่งอาวาสทาน    แม้สัตว์ผู้จะเกิดในภพ

จะชื่อว่าอยู่ในครรภ์ที่ถูกบีบคั้น    หามีไม่    ท้องของมารดาของสัตว์ผู้เกิด

ในครรภ์นั้น  จะไม่คับแคบเลย   เหมือนห้องประมาณ  ๑๒  ศอก  ดังนี้แล้ว

จึงตรัสกถาว่าด้วยอานิสงส์แห่งอาวาสทาน      เกินยามครึ่งในราตรีเป็นอัน

มาก  ว่า

เสนาสนะ    ย่อมป้องกันเย็นและร้อน   และสัตว์

ร้าย  งู   ยุง   ฝน  ที่ตั้งขึ้นในฤดูหนาว   ลมและแดด

อันกล้าเกิดขึ้นแล้ว   ย่อมบรรเทาได้    การถวายวิหาร

แก่สงฆ์  เพื่อเร้นอยู่  เพื่อความสุข   เพื่อเพ่งพิจารณา

และเพื่อเห็นแจ้ง  พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า   เป็น

ทานอันเลิศ   เพราะเหตุนั้นแล    บุรุษบัณฑิตเมื่อเล็ง

เห็นประโยชน์ตน   พึงสร้างวิหารอันน่ารื่นรมย์   ให้

ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูตอยู่เถิด  อนึ่ง  พึงถวาย  ข้าว

น้ำ  ผ้า  และเสนาสนะ  แก่ท่านเหล่านั้น    ด้วยน้ำใจ

อันเลื่อมใสในท่านผู้ซื่อตรง   เขารู้ธรรมอันใดในโลก

นี้แล้ว    จะเป็นผู้ไม่มีอาสวะ  ปรินิพพาน  ท่านย่อม

แสดงธรรมนั้น   อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่

เขา  ดังนี้.

รวมความว่า   ทั้งนี้   เป็นอานิสงส์ของอาวาสทาน  ด้วยประการฉะนี้.

แต่ในอานิสงส์อาวาสทานนี้      ท่านยกคาถานี้แหละขึ้นสู่สังคายนา    ส่วน

ปกิณณธรรมเทศนา  หาได้ยกขึ้นสู่สังคายนาไม่.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 774

บทว่า  สนฺทสฺเสตฺวา    ดังนี้เป็นต้น     มีอรรถดังกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า  อภิกฺกนฺตา  ได้แก่  ผ่านไป  ๒  ยาม.  บทว่า ยสฺสทานิ  กาล  มฺถ

ได้แก่  ท่านจงสำคัญกาลที่ท่านจะไปเถิด  อธิบายว่า นี้เป็นเวลาไปของท่าน

ท่านจงไปเถิด.

ถามว่า   ก็เพราะเหตุไร   พระผู้มีพระภาคเจ้า    จึงส่งภิกษุเหล่านั้น

ไป ?  ตอบว่า  เพื่ออนุเคราะห์.  อธิบายว่า  พระผู้มีพระภาคเจ้า  ทรงส่ง

ไปด้วยความอนุเคราะห์  ๒ อย่างคือ   ก็เมื่อภิกษุเหล่านั้น   นั่งในที่นั้น   ให้

๓ ยาม   แห่งราตรีผ่านไป   อาพาธพึงเกิดขึ้นในร่างกายของพวกเธอ  และ

แม้ภิกษุสงฆ์ควรจะได้โอกาสในการนอนและการนั่ง     อันปราศจากกลาง

แจ้ง.

บทว่า สุญฺาคาร   ได้แก่ ชื่อว่าสุญญาคาร  โดยเฉพาะ   ย่อมไม่มี

ในที่นั้น.  ได้ยินว่า  คฤหบดีเหล่านั้น ได้ให้เอาผ้าม่านแวดวง  ณ  ข้างหนึ่ง

ของอาวสถาคารนั้นนั่นแลแล้ว    ให้จัดแจงเตียงที่สมควร   ลาดเครื่องลาด

ที่สมควรในที่นั้น   ผูกเพดานอันประดับด้วยดาวทองคำ   เงิน   ของหอม

และมาลาเป็นต้นแล้ว   ยกประทีปน้ำมันหอมไว้เบื้องบน    ด้วยคิดว่า  ไฉน

หนอ       พระศาสดาจักพึงเสด็จลุกจากธรรมาสน์     ประสงค์จะพักผ่อน

หน่อยหนึ่ง  พึงบรรทมในที่นี้   เมื่อเป็นเช่นนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงใช้

อาวสถาคารนี้ของพวกเรา   ด้วยอิริยาบถ   ๔    จักพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์

สุขตลอดกาลนาน.  แม้พระศาสดา  ทรงหมายถึงข้อนั้นนั่นแล  จึงทรงให้

จัดแจงลาดผ้าสังฆาฏิในที่นั้นแล้ว    จึงสำเร็จสีหไสยาสน์     ซึ่งท่านหมาย

กล่าวไว้ว่า  พระองค์เสด็จเข้าไปสู่สุญญาคาร.   ในสุญญาคารนั้น    พระองค์

ได้เสด็จไปจำเดิมตั้งแต่ที่เป็นที่ล้างพระบาท   จนถึงธรรมาสน์   การเสด็จ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 775

ไปในที่ประมาณเท่านี้    สำเร็จแล้ว    เสด็จถึงธรรมาสน์แล้ว    ประทับยืน

หน่อยหนึ่ง  นี้เป็นอิริยาบถยืนในที่นั้น    พระองค์ประทับนั่งบนธรรมาสน์

ตลอดสองยาม   อิริยาบถนั่งในที่มีประมาณเท่านี้    สำเร็จแล้ว    พระองค์

ทรงส่งอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายไปแล้ว   เสด็จลงจากธรรมาสน์  ทรงสำเร็จ

สีหไสยาสน์ในที่ดังกล่าวแล้ว.  ที่นั้นได้เป็นสถานที่   อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงใช้สอยแล้วด้วยอิริยาบถ  ๔    ด้วยประการฉะนี้แล.

บทว่า สุนีธวสฺสการา ได้แก่  พราหมณ์  ๒  คนคือ  สุนีธพราหมณ์

และวัสสการพราหมณ์.  บทว่า  มคธมหามตฺตา  ได้แก่   มหาอำมาตย์ของ

พระเจ้ามคธ  หรือมหาอำมาตย์ในแคว้นมคธ.  ชื่อว่า มหาอำมาตย์  เพราะ

ประกอบด้วยเหตุอันสักว่าความเป็นอิสระอย่างใหญ่.     บทว่า  ปาฏิลิคาเม

นคร  มาเปนฺติ   ได้แก่  ให้สร้างพระนคร  ณ  ภูมิประเทศ  คือปาฏลิคาม.

บทว่า วชฺชีน  ปฏิพาหาย  ได้แก่ เพื่อป้องกันทางเจริญของพวกเจ้าลิจฉวี.

บทว่า สหสฺเสว  ได้แก่ แบ่งออกเป็นพวกละพัน ๆ.  บทว่า  วตฺถูนิ

ได้แก่ ที่สร้างเรือน.  บทว่า  จิตฺตานิ  มนนฺติ  นิเวสนานิ   มาเปตุ  ความว่า

จิตของบุคคลผู้รู้พื้นที่   ย่อมน้อมไป   เพื่อจะสร้างพระราชนิเวศน์   และ

ที่อยู่อาศัยของราชอำมาตย์.

เล่ากันมาว่า    พวกเหล่านั้นรู้พื้นที่ประมาณ  ๓๐  ศอก    ในภายใต้

แผ่นดินด้วยอานุภาพแห่งศิลปะของตนว่า    ในที่นี้นาคยึดครอง    ในที่นี้

ยักษ์ยึดครอง     ในที่นี้ภูตยึดครอง    ในที่นี้มีแผ่นหินหรือตอไม้.     ใน

กาลนั้น     พวกเขากล่าวถึงศิลปะแล้ว     เป็นเหมือนปรึกษากับพวกเทวดา

จึงสร้างขึ้น.  อีกอย่างหนึ่ง   พวกเทวดา    สิงในร่างกายของพวกเขาแล้ว

น้อมจิตไปเพื่อสร้างนิเวศน์ในที่นั้น ๆ.  เทวดาเหล่านั้นกลับหายไป  ใน


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 776

ขณะที่พวกเขาตอกหลักที่มุมทั้ง   ๔   แล้วจับจองพื้นที่.       พวกเทวดาผู้มี

ศรัทธาของตระกูลที่มีศรัทธา      ก็ย่อมกระทำอย่างนั้น.       เทวดาผู้ไม่มี

ศรัทธาของตระกูลที่ไม่มีศรัทธา   ก็ย่อมกระทำอย่างนั้น.    เพราะเหตุไร ?

เพราะเทวดาผู้มีศรัทธาย่อมคิดอย่างนี้ว่า        พวกมนุษย์ย่อมสร้างนิเวศน์

ในที่นี้    จักนิมนต์ให้ภิกษุสงฆ์นั่งก่อนแล้ว    จึงให้กล่าวมงคล    เมื่อเป็น

เช่นนี้   พวกเราก็จักได้เห็นท่านผู้มีศีล   ฟังธรรมกถา   ฟังการแก้ปัญหา

และจักได้ฟังอนุโมทนา   อนึ่ง  พวกมนุษย์ถวายทานแล้ว   จักให้ส่วนบุญ

แก่พวกเรา.   ฝ่ายเทวดาผู้ไม่มีศรัทธา    ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า    เราจัก

ได้เห็นการปฏิบัติของภิกษุเหล่านั้น  และได้ฟังกถาตามเหมาะแก่ความต้อง

¹ยกศัพท์ บรรทัดที่ ๑๐การของ่ตน  พวกมนุษย์ก็กระทำอย่างนั้นเหมือนกัน.

บทว่า  ตาวตึเสหิ   ความว่า  เหมือนอย่างว่า    เพราะอาศัยมนุษย์ผู้

เป็นบัณฑิตคนหนึ่ง    ในตระกูลหนึ่ง   และภิกษุผู้เป็นพหูสูตรูปหนึ่ง    ใน

วิหารหนึ่ง     เสียงย่อมขจรไปว่า    พวกมนุษย์ในตระกูลโน้นเป็นบัณฑิต

พวกภิกษุในวิหารโน้นเป็นพหูสูต   ฉันใด    เพราะอาศัยท้าวสักกเทวราช

และวิสสุกรรมเทวบุตร     เสียงจึงขจรไปว่า    พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์เป็น

บัณฑิต    ฉันนั้นเหมือนกัน.  ด้วยเหตุนั้น   ท่านจึงกล่าวว่า  ดาวตึเสหิ  ดังนี้

เป็นต้น.   ด้วยคำว่า  เสยฺยถาปิ  เป็นต้น    พระองค์ทรงแสดงว่า   สุนีธ-

พราหมณ์  และวัสสการพราหมณ์  พากันสร้างพระนคร  เหมือนปรึกษากับ

พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์.

บทว่า  ยาวตา  อริย อายตน  ความว่า ชื่อว่า สถานที่เป็นที่ประชุม

แห่งพวกมนุษย์ผู้เป็นอริยะ  มีประมาณเท่าใด  มีอยู่.  บทว่า  ยาวตา

วณิปฺปโถ   ได้แก่  ชื่อว่า  สถานที่ซื้อและขาย  โดยกองสิ่งของที่พวกพ่อค้า


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 777

นำมา    มีประมาณเท่าใด   มีอยู่    หรือสถานที่ที่อยู่ของพวกพ่อค้า    มี

ประมาณเท่าใด  มีอยู่.    บทว่า  อิท  อคฺคนคร  ได้แก่  นครนี้จักเป็นนคร

อันเลิศ   ประเสริฐ   เป็นประธานแห่งพวกมนุษย์ผู้เป็นอริยะ    และพวก

พ่อค้าเหล่านั้น.  บทว่า  ปูฏเภทน  ได้แก่  เป็นที่แก้ห่อสิ่งของ   อธิบายว่า

เป็นที่เปลื้องห่อสิ่งของทั้งหลาย.     อธิบายว่า     ก็ในที่นี้เอง     พวกเขา

จักได้  แม้สิ่งของที่ยังไม่ได้ในชมพูทวีปทั้งสิ้น   แม้จะไม่ไปขายในที่อื่น

ก็จักไปขายในที่นี้นั่นแหละ    เพราะฉะนั้น      พวกเขาจักแบ่งห่อสิ่งของใน

ที่นี้แล.  ก็สถานที่  ๕๐๐,๐๐๐  ที่   ได้ปรากฏขึ้นเพื่อความเห็นเจริญในที่นั้น

ทุก ๆ วัน  อย่างนี้คือ  ที่ประตูทั้ง  ๔ ด้าน  มี  ๔๐๐,๐๐๐  ที่ สภา  ๑๐๐,๐๐๐  ที่

สภาวะเหล่านั้น  ท่านแสดงว่า  เป็นความเจริญ.

วา   ศัพท์  ในบทว่า  อคฺคิโต  วา  เป็นต้น  เป็นสมุจจยัตถะ.  อธิบาย

ว่า  จักพินาศไปด้วยไฟ    ด้วยน้ำ  และด้วยการแตกมิตรสัมพันธ์.   ก็เมือง

ปาฏลิคามนั้น   ส่วนหนึ่ง   จักพินาศไปด้วยไฟ   แม้พวกคนก็ไม่สามารถ

จะดับไฟได้.  ส่วนหนึ่ง   แม่น้ำคงคาพัดพาไป.  ส่วนหนึ่ง   จักพินาศไป

โดยการแตกแยกแห่งกันและกันของพวกมนุษย์   ผู้พูดถึงเรื่องที่คนนี้ไม่ได้

กล่าวแก่คนโน้น   (และ)   พูดถึงเรื่องที่คนโน้นไม่ได้กล่าวแก่คนนี้    แตก

แยกกันไป   ด้วยปิสุณวาจา  วาจาส่อเสียด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า    ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว    จึงเสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำ

คงคา     ชำระพระพักตร์เสร็จแล้ว     ประทับนั่งรอเวลาภิกขาจาร.    ฝ่าย

สุนีธพราหมณ์  และวัสสการพราหมณ์   พากันคิดว่า   พระราชาของพวก

เรา   เป็นอุปัฏฐากของพระสมณโคดม   พระองค์ตรัสถามพวกเราผู้เข้าไป


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 778

เฝ้าว่า  ได้ยินว่า  พระศาสดา  ได้เสด็จไปยังปาฏลิคาม  พวกท่าน  เข้าไป

เฝ้าพระองค์หรือยัง   หรือว่ายังไม่เข้าไปเฝ้า   เมื่อพวกเราตอบว่า   ได้เข้า

ไปเฝ้าแล้ว   ก็จักตรัสถามว่า   พวกท่านนิมนต์หรือไม่ได้นิมนต์   และเมื่อ

พวกเราตอบว่า  ไม่ได้นิมนต์  ดังนี้  ก็จักยกโทษข่มพวกเรา  ถึงแม้พวก

เราจะสร้างพระนครนี้   ในสถานที่ที่ไม่เคยสร้างก็จริง  ถึงกระนั้นพวกสัตว์

กาลกรณี     ก็จะอพยพไปในที่ที่พระสมณโคดมเสด็จไปถึงแล้ว ๆ  พวก

เราจักให้พระสมณโคดมนั้น   ตรัสความเป็นมงคลแก่พระนคร  ดังนี้   จึง

พากันเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว   ทูลนิมนต์.   ด้วยเหตุนั้น  ท่านจึงกล่าวว่า

อถ  โข  สุนีธวสฺสการา  ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า  ปุพฺพณฺหสมย  แปลว่า  ในเวลาเช้า.  บทว่า  นิวาเสตฺวา

ได้แก่  ทรงครองผ้าโดยทำนองเสด็จเข้าบ้าน  แล้วคาดประคดเอว.  บทว่า

ปตฺตจีวรมาทาย ได้แก่  ทรงห่มจีวรพระหัตถ์ถือบาตร.

บทว่า  สีลวนฺเตตฺถ   ได้แก่    เชิญผู้มีศีลให้บริโภคในประเทศนั้น

คือในที่อยู่ของตน.   บทว่า สญฺเต  ได้แก่   สำรวมด้วยกาย  วาจา  และ

จิต.   บทว่า  ตาส   ทกฺขิณมาทิเส  ความว่า  พึงอุทิศปัจจัย  ๔  ที่ถวายแก่

สงฆ์  คือ  พึงให้ส่วนบุญแก่เทวดาผู้สิงอยู่ในเรือนเหล่านั้น.   บทว่า ปูชิตา

ปูชยนฺติ  ความว่า  กระทำอารักขาให้เป็นอันจัดแจงด้วยดี  คือ  กระทำการ

รักษาด้วยดี    ด้วยคิดว่ามนุษย์เหล่านี้ไม่ได้เป็นญาติของพวกเรา   แม้อย่าง

นั้น  ก็ยังให้ส่วนบุญแก่พวกเรา.     บทว่า  มานิตา  มานยนฺติ   ความว่า

เทวดาผู้อันเขานับถือด้วยการทำพลีกรรมตามกาลอันควร  ย่อมนับถือ  คือ

ย่อมขจัดอันตรายที่เกิดขึ้น    ด้วยคิดว่ามนุษย์เหล่านี้     แม้ไม่เป็นญาติของ

พวกเรา   ถึงอย่างนั้น   ก็ยังทำพลีกรรมแก่พวกเรา     เป็นระยะเวลาถึง  ๔


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 779

เดือน  ๕  เดือน   และ ๖  เดือน.   บทว่า  ตโต  น  ความว่า  แต่นั้น  ย่อม

อนุเคราะห์บุรุษผู้มีชาติเป็นบัณฑิตนั้น.  บทว่า  โอรส  ได้แก่  ให้เติบโต

ไว้ที่อก     เหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้เถิดแต่อก.     อธิบายว่า   ย่อม

อนุเคราะห์     โดยพยายามเพื่อกำจัดอันตรายที่เกิดขึ้นนั่นแหละ.     บทว่า

ภทฺรานิ  ปสฺสติ  ได้แก่  ย่อมเห็นว่าเป็นดี.

บทว่า อนุโมทิตฺวา   ความว่า   ทรงแสดงธรรมกถาแก่มหาอำมาตย์

ชื่อสุนีธะและวัสสการะ    โดยอนุโมทนาส่วนบุญที่พวกเขาพากันขวนขวาย

ในกาลนั้น.     ฝ่ายมหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสะการะได้ฟังพระดำรัสของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า   ควรอุทิศทักษิณาแก่เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในที่นั้น ๆ

จึงได้ให้ส่วนบุญแก่เทวดาเหล่านั้น.

บทว่า  ต  โคตมทฺวาร  นาม  อโหสิ  ความว่า  ประตุของพระนคร

นั้น   อันได้นามว่า    โคตมทวาร    เพราะเป็นเหตุเสด็จออกของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า  อนึ่ง  ไม่ได้ชื่อว่าโคตมติฏฐะ   เพราะไม่ได้หยั่งลงสู่ท่า  เพื่อ

ข้ามแม่น้ำคงคา.

บทว่า ปูรา  แปลว่า  เต็ม.   บทว่า สมติตฺติกา  ได้แก่  เต็ม  คือ

เปี่ยมด้วยน้ำ  เสมอตลิ่ง.  บทว่า  กากเปยฺยา  ได้แก่   มีน้ำที่กาซึ่งจับอยู่

ที่ฝั่ง  สามารถจะดื่มได้.   ด้วยบททั้งสอง   ท่านแสดงเฉพาะที่เต็มเปี่ยม

ทั้งสองฝั่ง.     บทว่า  อุฬุมฺป     ได้แก่   พ่วงที่เขาเอาไม้ขนานแล้วตอกลิ่ม

ทำไว้  เพื่อข้ามฝั่ง.  บทว่า  กุลฺล  ได้แก่  แพที่เขาเอาเถาวัลย์ผูกไม้ไผ่

และไม้อ้อทำไว้.

บทว่า   เอตมตฺถ   วิทิตฺวา  ความว่า  พระองค์ทรงทราบโดยอาการ

ทั้งปวง   ถึงความที่มหาชน   ไม่สามารถจะข้าม   แม้แต่น้ำในแม่น้ำคงคา


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 780

เท่านั้น   แต่พระองค์และภิกษุสงฆ์   ข้ามห้วงน้ำคือสงสาร  ทั้งลึกทั้งกว้าง

ยิ่งนักได้แล้ว   จึงทรงเปล่งอุทานนี้  อันแสดงถึงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น     บทว่า  อณฺณว  นี้  เป็นชื่อของน้ำ   ที่ลึกและ

กว้างประมาณ ๑ โยชน์  โดยกำหนดอย่างต่ำ.    บทว่า  สร  ท่านประสงค์

ถึงน้ำในที่นี้    เพราะไหลไป.    ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า  เหล่าชนผู้ข้าม

ห้วงน้ำคือสงสาร    และแม่น้ำคือตัณหาทั้งลึกทั้งกว้าง    สร้างสะพานคือ

อริยมรรค    ไม่แตะต้อง  คือไม่จับต้อง   เปือกตม   คือที่ลุ่มอันเต็มเปี่ยม

ด้วยน้ำ  ฝ่ายชนนี้ประสงค์จะข้ามน้ำ  มีประมาณน้อยนี้  จึงผูกแพ  คือถึง

ความยากยิ่งเพื่อจะผูกแพ.   บทว่า  ติณฺณา   เมธาวิโน  ชนา  ความว่า

พระพุทธเจ้า    และพุทธสาวก   ชื่อว่าผู้มีเมธา    เพราะประกอบด้วยเมธา

กล่าวคืออริยมรรคญาณ  ถึงจะเว้นแพเสีย   ก็ข้ามได้คือดำรงอยู่ที่ฝั่งโน้นแล.

จบอรรถกถาปาฏลิคามิยสูตรที่  ๖

 

๗.  ทวิธาปถสูตร

 

ว่าด้วยการชี้ไปคนละทาง

 

[๑๗๕]    ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินทางไกลไปในโกศลชนบท

มีท่านพระนาคสมาละเป็นปัจฉาสมณะ   ท่านพระนาคสมาละได้เห็นทาง  ๒

แพร่งในระหว่างทาง   ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า   ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ  นี้ทาง  ไปตามทางนี้เถิดพระเจ้าข้า     เมื่อท่าน

พระนาคสมาละกราบทูลอย่างนี้แล้ว       พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่าน

พระนาคสมาละว่า   ดูก่อนนาคสมาละ  นี้ทาง   ไปตามทางนี้เถิด   แม้ครั้งที่


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 781

๒. . . แม้ครั้งที่  ๓  ท่านพระนาคสมาละก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ     นี้ทาง   ไปตามทางนี้เถิดพระเจ้าข้า    แม้

ครั้งที่  ๓  พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสกะท่านพระนาคสมาละว่า     ดูก่อน

นาคสมาละ   นี้ทาง   ไปตามทางนี้เถิด   ลำดับนั้น   ท่านพระนาคสมาละ

วางบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ที่แผ่นดิน  ณ  หนทางนั้นเอง

กราบทูลว่า  ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ  นี้บาตรและจีวร  ดังนี้  แล้ว

หลีกไป    ครั้นเมื่อท่านพระนาคสมาละเดินไปโดยทางนั้น     พวกโจรใน

ระหว่างทางออกมาแล้ว    ทุบด้วยมือบ้าง   เตะด้วยเท้าบ้าง  ได้ทุกบาตร

และฉีกผ้าสังฆาฏิเสีย   ครั้งนั้น  ท่านพระนาคสมาละมีบาตรแตก  มีผ้าสังฆาฏิ

ขาด   เข้าไปฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณ  ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง  ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    ขอประทาน

พระวโรกาส  เมื่อข้าพระองค์เดินไปโดยทางนั้น     พวกโจรในระหว่างทาง

ออกมาแล้ว   ทุบด้วยมือและเตะด้วยเท้า   ได้ทุบบาตรและฉีกผ้าสังฆาฏิเสีย

แล้ว    พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้นแล    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว     จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

บุคคลผู้ถึงเวท   ผู้รู้  เที่ยวไปด้วยกัน   อยู่ด้วยกัน

ปะปนกันชนผู้ไม่รู้   ย่อมละเว้นบุคคลผู้ลามกเสียได้

เหมือนนกกระเรียน    เมื่อบุคคลเอาน้ำนมปนน้ำเข้าไป

ให้  ดื่มแต่น้ำนมเท่านั้น  ละเว้นน้ำ  ฉะนั้น.

จบทวิธาปถสูตรที่  ๗


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 782

อรรถกถาทวิธาปถสูตร

 

ทวิธาปถสูตรที่  ๗  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า  อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน  ได้แก่   เป็นผู้เดินทางระยะยาว  คือ

ทางไกล.  บทว่า  นาคสมาเลน   ได้แก่  พระเถระผู้มีชื่ออย่างนั้น.   บทว่า

ปจฺฉาสมเณน  ได้แก่   ในกาลนั้น   พระเถระนี้ได้เป็นอุปัฏฐากพระผู้มี-

พระภาคเจ้า    ด้วยเหตุนั้น     พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จดำเนินทาง   โดย

มีพระนาคสมาละเป็นปัจฉาสมณะ.  จริงอยู่  ในประถมโพธิกาล  พระผู้มี-

พระภาคเจ้า   มิได้มีอุปัฏฐากประจำนานถึง   ๒๐ ปี.    หลังจากนั้น    จนถึง

ปรินิพพาน  ท่านพระอานนท์ได้อุปัฏฐาก   ดุจเงาถึง  ๒๕  ปี.    แต่กาลนี้

ไม่ใช่มีอุปัฏฐากเป็นประจำ.    ด้วยเหตุนั้น    ท่านจึงกล่าวว่า  อายสฺมตา

นาคสมาเลน  ปจฺฉาสนเณน    ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า   เทฺวธาปถ   ได้แก่   หนทาง  ๒ แพร่ง.     อาจารย์บางพวก

กล่าวว่า  ทฺวิธาปถ  ดังนี้ก็มี.

ท่านนาคสมาละ    เพราะเหตุที่ตนคุ้นกับทางนั้นมาก่อน   และเพราะ

หมายถึงทางนั้นเป็นทางตรง    จึงกราบทูลว่า     ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้เจริญ  นี้ทาง.   ก็ในกาลนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า  ทางนั้นมี

อันตราย     จึงมีพระประสงค์จะเสด็จไปทางอื่นจากทางนั้น     จึงตรัสว่า

นาคสมาละ   นี้ทาง.   และเมื่อพระองค์ตรัสว่า  ทางนี้มีอันตราย  จึงไม่เชื่อ

แล้วพึงทูลว่า   ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า   ทางนั้นไม่มีอันตราย   การที่ท่าน

พระนาคสมาละไม่เชื่อแล้วทูลอย่างนั้น      จะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์

เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน  เพราะเหตุนั้น  พระองค์จึงไม่ตรัสว่า  มีอันตราย.

ท่านนาคสมาละกราบทูลถึง  ๓  ครั้งว่า  นี้ทาง   เสด็จไปทางนี้เถิด  ในครั้ง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 783

ที่ ๔  จึงคิดว่า   พระผู้มีพระภาคเจ้า   ไม่ปรารถนาจะเสด็จไปทางนี้   และ

ทางนี้แหละเป็นทางตรง  เอาเถอะเราจักถวายคืนบาตรและจีวรแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าแล้ว  เดินไปทางนี้   เมื่อไม่อาจจะมอบบาตรและจีวร  ในพระ-

หัตถ์ของพระศาสดาจึงวางไว้ที่พื้น    อันกรรมของตนซึ่งเป็นทางแห่งทุกข์

ปรากฏขึ้น  ตักเตือนอยู่   มิได้เอื้อเฟื้อพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย

จึงหลีกไป.    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล  ท่านพระนาคสมาละ

วางบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่พื้นดิน     ในทางนั้นนั่นเอง

แล้วหลีกไป.

บรรดาเหล่านั้น  บทว่า  ภควโต  ปตฺตจีวร  ได้แก่  ซึ่งบาตรและ

จีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ซึ่งอยู่ในมือของตน.   บทว่า  ตตฺเถว  ความว่า

วางไว้ที่พื้นดิน คือ บนแผ่นดินในทางนั้นนั่นเองแล้วหลีกไป.   อธิบายว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า   นี้   บาตรและจีวรของพระองค์      ถ้าพระองค์

ปรารถนา  ก็จงรับไปเถอะ  ถ้าพระองค์ประสงค์จะไปเฉพาะทางที่พระองค์

ปรารถนา.    ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาบาตรและจีวรของพระองค์

ด้วยพระองค์เองเสด็จดำเนินไปสู่ทาง   ตามที่ทรงพระประสงค์.

บทว่า  อนฺตรามคฺเค  โจรา  นิกฺขมิตฺวา  ความว่า  ได้ยินว่า  ใน

กาลนั้น   บุรุษ  ๕๐๐  คน   เป็นนักเลงมีฝ่ามือเปื้อนเลือด  ผิดต่อพระราชา

เข้าไปสู่ป่า   เลี้ยงชีพด้วยโจรกรรม  คิดว่า  พวกเราจักตัดทางเจริญ     ของ

พระราชาโดยความเป็นข้าศึกต่อกัน   ดังนี้แล้ว  จึงซุ่มอยู่ในป่าใกล้หนทาง.

บุรุษเหล่านั้น  เห็นพระเถระกำลังเดินทางไป  จึงคิดว่า   สมณะนี้มาทางนี้

ใช้หนทางที่ไม่สมควรจะใช้   ไม่รู้ว่าเป็นของเรา    เอาเถอะเราจักให้ท่านรู้

ดังนี้แล้วโกรธ  รีบออกจากพงป่าตบเตะพระเถระให้ล้มลงที่พื้นดินโดยเร็ว


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 784

แล้วทุบบาตรดินของท่าน   ฉีกจีวรให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่  เพราะเห็น

ว่าเป็นบรรพชิต  จึงปล่อยไปด้วยสั่งว่า  พวกเราจะยังไม่ฆ่าท่าน     ตั้งแต่นี้

ต่อไป  ท่านจงรู้ว่า  หนทางนี้มีอันตราย.   ด้วยเหตุนั้น   ท่านจึงกล่าวว่า

อถ  โข อายสฺมโต  ฯ เป ฯ  วิปฺผาเลสุ   ดังนี้เป็นต้น

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า   ทรงทราบว่า  พระนาคสมาละนี้ไปทางนั้น

ถูกโจรเบียดเบียนแสวงหาเรา   จักมาในบัดเดี๋ยวนี้แล   ดังนี้แล้ว   เสด็จไป

หน่อยหนึ่ง  แวะลงจากทางประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง.    ฝ่ายท่านนาค-

สมาละแล  ย้อนกลับมา  ยึดเอาหนทางที่พระศาสดาเสด็จไปนั่นแล  กำลัง

เดินไปพบพระผู้มีพระภาคเจ้าที่โคนไม้นั้น      จึงเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคม

กราบทูลเรื่องนั้นแต่พระศาสดา.   เพราะเหตุนั้น   ท่านจึงกล่าวว่า   อถ  โข

อายสฺมา  นาคสมาโล  ฯ เป ฯ  สงฺฆฏิญฺจ  วิปฺผาเลสุ  ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า   เอตมตฺถ   วิทิตฺวา    ความว่า   พระองค์ทรงทราบว่าท่าน

พระนาคสมาละไม่เอื้อเฟื้อต่อคำของพระองค์แล้ว     เดินไปยังทางที่ไม่

ปลอดภัย    และทรงทราบว่า    พระองค์ดำเนินไปยังทางที่ปลอดภัยนี้แล้ว

จึงทรงเปล่งอุทานนี้   อันแสดงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  สทฺธึ    จร  แปลว่า   เที่ยวไปร่วมกัน.

บทว่า  เอกโต   วส  นี้    เป็นไวพจน์ของบทว่า  สทฺธึ   จร  นั้นนั่นแล.

อธิบายว่า อยู่ร่วมกัน.  บทว่า  มิสฺโส  อญฺชเนน  เวทคู  ความว่า  ชื่อว่า

ถึงเวท  เพราะถึงคือบรรลุ   ด้วยอริยมรรคญาณคือสัจจะ  ๔  กล่าวคือ เวท

เพราะอรรถว่า   อันบุคคลพึงรู้   หรือเพราะถึงฝั่งแห่งเวท  คือ  ไญยธรรม

ทั้งสิ้น.  ชื่อว่าผู้ไม่รู้   เพราะไม่รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์  และไม่เป็นประโยชน์

ของตน.   อธิบายว่า  ผู้ไม่รู้  คือ คนเขลา.    เป็นผู้ปะปนด้วยคนไม่รู้นั้น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 785

คือ  ปะปนโดยเหตุเพียงเที่ยวไปร่วมกัน.  บทว่า  วิทิตฺวา  ปชหาติ  ปาปก

ความว่า   ผู้รู้คือทราบโดยภาวะที่ถึงเวทนั้น    ย่อมละสิ่งชั่ว คือ  สิ่งไม่เจริญ

ได้แก่สิ่งที่นำทุกข์มาให้ตน หรือละคนชั่ว   คือคนไม่ดีงาม.  เปรียบเหมือน

อะไร ?   เปรียบเหมือนนกกระเรียน  ดื่มแต่น้ำนมเว้นน้ำ  อธิบายว่า  นก

กระเรียน  เมื่อเขานำน้ำนมที่เจือด้วยน้ำเข้าไป  ชื่อว่า  ดื่มแต่น้ำนม  เพราะ

เว้นน้ำ     ดื่มแต่น้ำนมเท่านั้น    ย่อมละคือเว้นน้ำ    กล่าวคือแม่น้ำอันไหล

ไปสู่ที่ลุ่มฉันใด  ได้ยินว่า บัณฑิตก็ฉันนั้น     แม้อยู่ร่วมกับคนทรามปัญญา

ในอิริยาบถมีการยืนและการนั่งเป็นต้น    ก็ละบุคคลผู้ทรามปัญญานั้น  โดย

เอื้อเฟื้อ   คือแม้ในกาลบางคราวก็ไม่ยอมปะปนกับพวกเขา.

จบอรรถกถาทวิธาปถสูตรที่  ๗

 

๘.  วิสาขาสูตร

 

ว่าด้วยรักมีเท่าไรทุกข์ก็มีเท่านั้น

 

[๑๗๖]    ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ  บุพพารามปราสาทของ

นางวิสาขามิคารมารดา   ใกล้พระนครสาวัตถี   ก็สมัยนั้นแล  หลานของนาง

วิสาขามิคารมารดาเป็นที่รักที่พอใจ    ทำกาละลง    ครั้งนั้น     นางวิสาขา

มารดามีผ้าเปียก ผมเปียก  เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับในเวลา

เที่ยง   ถวายบังคมแล้วนั่ง  ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง   พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสกะนางวิสาขามิคารมารดาว่า  เชิญเถิดนางวิสาขา  ท่านมาแต่ไหนหนอ

มีผ้าเปียก   มีผมเปียก   เข้ามา  ณ  ที่นี้ในเวลาเที่ยง   หางวิสาขากราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   หลานของหม่อมฉัน     เป็นที่รักที่พอใจ   ทำกาละ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 786

เสียแล้ว   เพราะฉะนั้น    หม่อมฉันจึงมีผ้าเปียก  มีผมเปียก  เข้ามา  ณ  ที่นี้ใน

เวลาเที่ยง   เจ้าค่ะ.

พ.   ดูก่อนนางวิสาขา    ท่านพึงปรารถนาบุตรและหลานเท่ามนุษย์

ในพระนครสาวัตถีหรือ.

วิ.   ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ       หม่อมฉันพึงปรารถนาบุตร

และหลานเท่ามนุษย์ในพระนครสาวัตถี   เจ้าค่ะ.

พ.  ดูก่อนนางวิสาขา   มนุษย์ในพระนครสาวัตถีมากเพียงไร   ทำ

กาละอยู่ทุกวัน  ๆ.

วิ.   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ       มนุษย์ในพระนครสาวัสถี  ๑๐  คนบ้าง

๙  คนบ้าง  ๘  คนบ้าง  ๗  คนบ้าง  ๖  คนบ้าง  ๕  คนบ้าง  ๔  คนบ้าง  ๓  คน

บ้าง  ๒ คนบ้าง  ๑  คนบ้าง   ทำกาละอยู่ทุกวัน  ๆ   พระนครสาวัตถีไม่ว่าง

เว้นคนทำกาละ  เจ้าค่ะ.

พ.  ดูก่อนนางวิสาขา  ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน  ท่านพึง

เป็นผู้มีผ้าเปียกหรือมีผมเปียกเป็นบางครั้งบ้างคราวหรือหนอ.

วิ.   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ไม่ใช่อย่างนั้น   เจ้าค่ะ  พอเพียงแล้วด้วย

บุตรและหลานมากเพียงนั้นแก่หม่อมฉัน.

พ.  ดูก่อนนางวิสาขา   ผู้ใดมีสิ่งที่รัก  ๑๐๐  ผู้นั้นก็มีทุกข์    ๑๐๐  ผู้ใด

มีสิ่งที่รัก  ๙๐  ผู้นั้นก็มีทุกข์   ๙๐   ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘๐  ผู้นั้นก็มีทุกข์  ๘๐  ผู้ใด

มีสิ่งที่รัก  ๗๐  ผู้นั้นก็มีทุกข์   ๗๐  ผู้ใดมีสิ่งที่รัก  ๖๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์  ๖๐  ผู้ใด

มีสิ่งที่รัก  ๕๐   ผู้นั้นก็มีทุกข์  ๕๐  ผู้ใดมีสิ่งที่รัก  ๔๐  ผู้นั้นก็มีทุกข์  ๔๐ ผู้ใด

มีสิ่งที่รัก  ๓๐  ผู้นั้นก็มีทุกข์  ๓๐  ผู้ใดมีสิ่งที่รัก   ๒๐  ผู้นั้นก็มีทุกข์  ๒๐ ผู้ใด

มีสิ่งที่รัก  ๑๐  ผู้นั้นก็มีทุกข์   ๑๐  ผู้ใดมีสิ่งที่รัก  ๙  ผู้นั้นก็มีทุกข์  ๙  ผู้ใดมีสิ่งที่


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 787

รัก ๘  ผู้นั้นก็มีทุกข์  ๘  ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗  ผู้นั้นก็มีทุกข์  ๗  ผู้ใดมีสิ่งที่รัก  ๖

ผู้นั้นก็มีทุกข์  ๖  ผู้ใดมีสิ่งที่รัก  ๕  ผู้นั้นก็มีทุกข์  ๕  ผู้ใดมีสิ่งที่รัก  ๔  ผู้นั้นก็

มีทุกข์ ๔  ผู้ใดมีสิ่งที่รัก   ๓  ผู้นั้นก็มีทุกข์  ๓  ผู้ใดมีสิ่งที่รัก   ๒  ผู้นั้นก็มี

ทุกข์  ๒  ผู้ใดมีสิ่งที่รัก  ๑  ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑  ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก  ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์

เรากล่าวว่า  ผู้นั้นไม่มีความโศก  ปราศจากกิเลสดุจธุลี  ไม่มีอุปายาส.

ลำดับนั้นแล    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว    จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ความโศกก็ดี      ความร่ำไรก็ดี      ความทุกข์ก็ดี

มากมายหลายอย่างนี้มีอยู่ในโลก    เพราะอาศัยสัตว์

หรือสังขารอันเป็นที่รัก    เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอัน

เป็นที่รัก   ความโศก    ความร่ำไร    และความทุกข์

เหล่านี้ย่อมไม่มี     เพราะเหตุนั้นแล    ผู้ใดไม่มีสัตว์

หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหน ๆ  ผู้นั้นเป็นผู้มี

ความสุข   ปราศจากความโศก    เพราะเหตุนั้น     ผู้

ปรารถนาความไม่โศก  อันปราศจากกิเลสดุจธุลี  ไม่

พึงทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก  ในโลกไหน  ๆ.

จบวิสาขาสูตรที่   ๘

 

อรรถกถาวิสาขาสูตร

 

วิสาขาสูตรที่  ๘  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า  วิสาขาย   มิคารมาตุยา  นตฺตา  กาลกตา  โหติ  ได้แก่

เด็กหญิงผู้เป็นธิดาของบุตรแห่งมหาอุบาสิกา   ชื่อว่า วิสาขา ถึงแก่กรรม.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 788

ได้ยินว่า   เด็กหญิงนั้นสมบูรณ์ด้วยวัตร   เลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา

เป็นผู้ไม่ประมาท     ได้กระทำการขวนขวายที่ตนจะพึงทำ     แก่ภิกษุและ

ภิกษุณีทั้งหลาย   ผู้เข้าไปยังบ้านของมหาอุบาสิกา  ทั้งเวลาก่อนอาหารและ

หลังอาหาร.   ปฏิบัติคล้อยตามใจของยายตน.   ด้วยเหตุนั้น    มหาอุบาสิกา

ชื่อว่าวิสาขา  เมื่อออกจากเรือนไปข้างนอก   ได้มอบหน้าที่ทั้งหมดแก่เด็ก

หญิงนั้นนั่นแล   แล้วจึงไป   และเธอก็มีรูปร่างน่าชมน่าเลื่อมใส   ดังนั้น

เธอจึงเป็นที่รักที่ชอบใจโดยพิเศษ   ของวิสาขามหาอุบาสิกา.   เธอถูกโรค

ครอบงำจึงถึงแก่กรรม.   ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า  ก็สมัยนั้นแล  หลาน

ของนางวิสาขามิคารมารดาผู้เป็นที่รักที่ชอบใจ  ได้ถึงแก่กรรม.

ลำดับนั้น    มหาอุบาสิกาเมื่อไม่อาจจะอดกลั้นความโศก   เพราะการ

ตายของหลานได้   จึงเป็นทุกข์เสียใจ   ให้คนเอาศพไปเก็บไว้  แล้วเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า   ด้วยคิดว่า  ไฉนหนอในเวลาเราไปเฝ้าพระศาสดา

จะพึงได้ความยินดีแห่งจิต.  ด้วยเหตุนั้น  ท่านจึงกล่าวว่า  อถโข   วิสาขา

มิคารมาตา   ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น     บทว่า   ทิวาทิวสฺส    แปลว่า  ในกลางวัน

อธิบายว่า   ในเวลาเที่ยง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า   เมื่อทรงทราบว่า   นางวิสาขายินดียิ่งในวัฏฏะ

เพื่อจะทรงทำความเศร้าโศกของเธอให้เบาบางลงด้วยอุบาย     จึงตรัสคำมี

อาทิว่า  ดูก่อนวิสาขา  เธอปรารถนาหรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ยาวติกา   แปลว่า  มีประมาณเท่าใด.

ได้ยินว่า  ในกาลนั้น   คน ๗ โกฏิอาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี   ซึ่งพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงหมายตรัสถามว่า    ดูก่อนวิสาขา  คนในกรุงสาวัตถีที่ตายไป


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 789

ทุกวัน  ๆ  วันละเท่าไร.     นางวิสาขาจึงทูลตอบว่า     วันละ  ๑๐  คนบ้าง

พระเจ้าข้า  ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า  ตีณิ  แก้เป็น ตโย  แปลว่า  ๓  คน.

อีกอย่างหนึ่ง    บาลีก็อย่างนี้แหละ.   บทว่า   อวิวิตฺตา  แปลว่า  ไม่ว่าง.

ลำดับนั้น       พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะประกาศความประสงค์ของ

พระองค์     จึงตรัสว่า  เธอเป็นผู้ไม่มีผ้าเปียก  ไม่มีผมเปียก   เป็นบางครั้ง

บางคราวบ้างหรือ.  พระองค์ทรงแสดงว่า  เมื่อเป็นเช่นนั้น  เมื่อนางวิสขา

ถูกความเศร้าโศกครอบงำตลอดกาล  เธอพึงมีผ้าเปียก  มีผมเปียก  โดยการ

ลงน้ำ  โดยเฉียดกับสิ่งที่ไม่เป็นมงคล ของบุตรเป็นต้นที่ตายไปมิใช่หรือ ?

อุบาสิกาได้ฟังดังนั้นแล้ว     จึงเกิดความสังเวช    ปฏิเสธว่าไม่เป็น

อย่างนั้นพระเจ้าข้า  ดังนี้แล้ว  จึงกราบทูลว่า   จิตของตนกลับจากความ

เดือดร้อนถึงสิ่งที่เป็นที่รักแด่พระศาสดา  จึงกราบทูลว่า  พอละพระเจ้าข้า

ด้วยพวกบุตรและหลานซึ่งมีมากถึงเพียงนั้น  สำหรับหม่อมฉัน.   ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า   เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่นางว่า  ขึ้นชื่อว่าทุกข์นี้   มี

สิ่งที่น่ารักเป็นเหตุ  สิ่งที่น่ารักมีประมาณเพียงใด ทุกข์ก็มีประมาณเพียงนั้น

เพราะฉะนั้น      เธอผู้รักสุขเกลียดทุกข์   พึงให้จิตเกิดความสลดจากวัตถุที่

เป็นที่รัก   โดยประการทั้งปวง  จึงตรัสคำมีอาทิว่า  ดูก่อนวิสาขา  คน

เหล่าใดมีสิ่งอันเป็นที่รัก  ๑๐๐  คนเหล่านั้นก็มีทุกข์นับได้  ๑๐๐  ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น    บทว่า   สต  ปิยานิ  ได้แก่   สิ่งอันเป็นที่รัก

๑๐๐.   อาจารย์บางพวกกล่าว  สต  ปิย  ดังนี้ก็มี.  ก็ในคำนี้   นับตั้งแต่

๑   จนถึง   ๑๐    ชื่อว่ามีการนับเป็นประธาน    ฉะนั้น   บาลีจึงมาโดยนัยมี

๑.  ปาลิย  อลฺลวตฺถา  อลฺลเกสาติ  ทิสฺสติ.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 790

อาทิว่า   ผู้ใดมีสิ่งที่เป็นที่รักนับ  ๑๐   ผู้นั้นก็มีทุกข์นับ  ๑๐.   แต่อาจารย์

บางพวกกล่าวโดยนัยมีอาทิว่า   ผู้ใดมีสิ่งอันเป็นที่รักนับ   ๑๐  ผู้นั้นก็เป็น

ทุกข์นับ   ๑๐.    คำนั้นไม่ดี.    เพราะเหตุที่การนับตั้งแต่  ๒๐  จนถึง  ๑๐๐

ชื่อว่ามีการนับเป็นประธานเหมือนกัน    ฉะนั้น   เพราะถือเอาเฉพาะสิ่งอัน

เป็นที่รักซึ่งมีการนับเป็นประธานแม้ในข้อนั้น     บาลีจึงมาโดยนัยมีอาทิว่า

เยส  โข  วิสาเข  สต  ปิยานิ  สต  เตส   ทุกฺขานิ  ดังนี้.  บาลีของ

อาจารย์ทั้งปวงว่า   ชนเหล่าใดมีสิ่งอันเป็นที่รักอันหนึ่ง   ชนเหล่านั้นก็มี

ทุกข์อันหนึ่ง   ดังนี้   แต่บาลีว่า  ทุกฺขสฺส  ดังนี้   ไม่มี.  ก็ในฝ่ายนี้   เทศนา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า  มีรสเป็นอันเดียวกันเทียว  เพราะฉะนั้น  พึงทราบ

บาลีซึ่งมีนัยตามที่กล่าวแล้วนั้นแล.

บทว่า   เอตมตฺถ  วิทิตฺวา  ความว่า  พระองค์ทรงทราบโดยอาการ

ทั้งปวง   ซึ่งอรรถนี้ว่า  ทุกข์ทางใจและทุกข์ทางกาย  มีโสกะและปริเทวะ

เป็นต้น     มีสิ่งที่น่ารักเป็นเหตุ    ย่อมปรากฏในเมื่อมีสิ่งที่น่ารัก   ย่อมไม่

ปรากฏในเมื่อสิ่งที่น่ารักไม่มี   จึงทรงเปล่งอุทานนี้  อันแสดงความนั้น.

คำแห่งอุทานนั้น   มีอธิบายดังต่อไปนี้  ธรรมเหล่าใดคนหนึ่ง  มี

ลักษณะทำจิตของคนพาล     ผู้ถูกความวอดวายแห่งญาติ  โภคะ  โรค  ศีล

และทิฏฐิถูกต้องแล้ว  หม่นไหม้อยู่ในภายใน  ให้เดือดร้อนก็ดี   ความ

เศร้าโศกชนิดใดชนิดหนึ่ง      ต่างโดยอย่างอ่อนและปานกลางเป็นต้นก็ดี

ความรำพันมีลักษณะบ่นเพ้อด้วยวาจา    อันแสดงถึงความเศร้าโศกที่ให้ตั้ง

ขึ้น   ของชนผู้ถูกความเศร้าโศกเหล่านั้นนั่นแล   ถูกต้องแล้ว   ให้ตั้งขึ้นก็ดี

ทุกข์มีการบีบคั้นกาย ของบุคคลผู้มีกายอันโผฏฐัพพารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา

กระทบแล้วก็ดี  โทมนัสและอุปายาสเป็นต้น  ที่ถือเอาด้วย  วา  ศัพท์  ซึ่ง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 791

เป็นวิกัปปัตถะ  อันมิได้อธิบายไว้เช่นนั้น  ซึ่งมีรูปเป็นอเนก  คือมีอย่าง

ต่าง ๆ กัน    โดยความต่างแห่งนิสัยก็ดี    ย่อมปรากฏ   คือย่อมเกิดขึ้นใน

สัตวโลกนี้.  สัตว์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด  ย่อมอาศัยคืออิงพึ่งพิงสัตว์และสังขาร

อันเป็นที่รัก  คือมีชาติเป็นที่รัก  ได้แก่ทำให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น  คือบังเกิด

ขึ้น    เมื่อวัตถุอันเป็นที่รักตามที่กล่าวแล้วนั้น   คือเมื่อสัตว์และสังขารอัน

เป็นที่รักไม่มี  ได้แก่ละฉันทราคะ   อันกระทำความเป็นที่รัก  ความเศร้า-

โศกเป็นต้นเหล่านั้น    ก็ย่อมไม่เกิดในกาลบางคราว.   สมจริงดังคำที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า     ความเศร้าโศกย่อมเกิดแต่สัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก  ฯ ล ฯ

ความเศร้าโศกย่อมเกิดแต่อารมณ์อันเป็นที่อันเป็นที่รักเป็นต้น  และว่า

การทะเลาะ   การวิวาท   ความร่ำไร   และความ

เศร้าโศก     อันเกิดแต่สัตว์  และสังขารอันเป็นที่รัก

ย่อมมาด้วยความตระหนี่  ดังนี้เป็นต้น.

ก็ในที่นี้    ท่านกล่าวด้วยลิงควิปลาสว่า     ปริเทวิตา     วา  ทุกฺขา   วา.

อนึ่ง  เมื่อควรจะกล่าวว่า  ปริเทวิตานิ  วา  ทุกฺขานิ  วา  ดังนี้  พึงทราบ

ว่า  ท่านทำการลบวิภัตติเสีย.  บทว่า  ตสฺมา  หิ  เต  สุขิโน  วีตโสกา

ความว่า    เพราะเหตุที่ความเศร้าโศกเป็นต้น     อันเกิดแต่สัตว์และสังขาร

อันเป็นที่รัก    ย่อมไม่มีแก่ชนเหล่าใด   ฉะนั้น  ชนเล่านั้นนั่นแล   ชื่อว่า

มีความสุข    และปราศจากความเศร้าโศก.    ก็คนเหล่านั้นคือใคร ?   คือ

ชนผู้ไม่มีสัตว์และสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหน ๆ     อธิบายว่า    ก็ชน

เหล่าใด   คือพระอริยะย่อมไม่มีสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก   คือภาวะเป็น

ที่รัก  ว่าบุตรก็ดี  ว่าพี่น้องชายก็ดี  ว่าพี่น้องหญิงก็ดี   ว่าภริยาก็ดี  ไม่มี

ในโลกไหน ๆ    คือในสัตวโลก    และในสังขารโลก    เพราะปราศจาก


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 792

ราคะโดยประการทั้งปวง   คือสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก   ได้แก่ความรัก

ไม่มีในสังขารโลกว่า  นี้เป็นของเรา  เราได้อยู่   เราก็ได้ซึ่งความสุขชื่อนี้

ด้วยสิ่งนี้.  บทว่า  ตสฺมา  อโสก  วิรช  ปฏฺยาโน  ปิย  น  กยิราถ

กุหิญฺจิ  โลเก        ความว่า  ก็เพราะเหตุที่สัตว์ผู้ปราศจากความเศร้าโศก

ชื่อว่ามีความสุข    เพราะปราศจากความเศร้าโศกนั่นแล    จึงชื่อว่า  ไม่มี

ความรักในอารมณ์ไหนๆ  เพราะฉะนั้น  บุคคลเมื่อปรารถนาความไม่เศร้า

โศก   คือภาวะไม่มีความเศร้าโศก   เพราะไม่มีความเศร้าโศกดังกล่าวแล้ว

แก่ตน   ชื่อว่าผู้ปราศจากธุลี   คือภาวะที่ไม่มีธุลี    เพราะปราศจากธุลีคือ

ราคะ  ได้แก่ความเป็นพระอรหัต   คือพระนิพพาน  อันได้นามว่าอโสกะ

และว่าวิรชะ   เพราะไม่มีความเศร้าโศก   และเพราะเหตุแห่งความไม่มีธุลี

คือราคะเป็นต้น          จึงเกิดฉันทะด้วยอำนาจความพอใจในกุศลคือความ

ปรารถนาเพื่อจะทำ   ไม่พึงทำ   คือไม่พึงให้สัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก

คือความรัก   ให้เกิดในธรรมมีรูปเป็นต้น    โดยที่สุดแม้ในธรรมคือสมถะ

และวิปัสสนาในโลกไหน ๆ.  สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า  ภิกษุทั้งหลาย

แม้ธรรม  พวกเธอก็ควรละเสีย   จะป่วยกล่าวไปถึงอธรรมเล่า.

จบอรรถกถาวิสาขาสูตรที่  ๘

 

๙.  ปฐมทัพพสูตร

 

ว่าด้วยพระทัพพมัลลบุตรทูลลาปรินิพพาน

 

[๑๗๗]   ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง   พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ พระวิหารเวฬุวันกลัน-

ทกนิวาปสถาน  ใกล้พระนครราชคฤห์  ครั้งนั้นแล  ท่านพระทัพพมัลล-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 793

บุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ      ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง  ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า  ข้าแต่พระ-

สุคต  บัดนี้เป็นกาลปรินิพพานแห่งข้าพระองค์   พระเจ้าข้า  พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนทัพพะ  เธอจงสำคัญเวลาอันควร ณ บัดนี้เถิด  ลำดับ

นั้น    ท่านพระทัพพมัลลบุตรลุกจากอาสนะ  ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

กระทำประทักษิณแล้ว  เหาะขึ้นไปสู่เวหาส  นั่งขัดสมาธิเข้าสมาบัติมีเตโช-

ธาตุเป็นอารมณ์อยู่ในอากาศกลางหาว      ออกจากสมาบัติแล้วปรินิพพาน

เมื่อท่านพระทัพพมัลลบุตรเหาะขึ้นสู่เวหาส  นั่งขัดสมาธิเข้าสมาบัติมีเตโช-

ธาตุเป็นอารมณ์อยู่ในอากาศกลางหาว      ออกจากสมาบัติแล้วปรินิพพาน

สรีระถูกไฟเผาไหม้อยู่   เถ้าไม่ปรากฏเลย  เขม่าก็ไม่ปรากฏ  เหมือนเนยใส

หรือน้ำมันที่ถูกไฟเผาไหม้อยู่  เถ้าไม่ปรากฏเลย  เขม่าก็ไม่ปรากฏฉะนั้น.

ลำดับนั้นแล  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว  จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

รูปกายได้สลายแล้ว   สัญญาดับแล้ว   เวทนา

ทั้งปวงเป็นธรรมชาติเย็นแล้ว     สังขารทั้งหลายสงบ

แล้ว  วิญญาณถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.

จบปฐมทัพพสูตรที่  ๙

 

อรรถกถาปฐมทัพพสูตร

 

ปฐมทัพพสูตรที่  ๙  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า  อายสฺมา   ได้แก่  คำอันเป็นที่รัก.   บทว่า  ทพฺโพ  ได้แก่


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 794

เป็นชื่อของพระเถระนั้น.  บทว่า  มลฺลปุตฺโต  ได้แก่  โอรสของพระเจ้า

มัลละ.

จริงอยู่    ท่านผู้มีอายุนั้น     ได้บำเพ็ญอภินิหารไว้แทบบาทมูลของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า   ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ   ได้ก่อสร้างบุญไว้ตลอด

แสนกัป.    แล้วบังเกิดในพระครรภ์ของพระราชเทวีแห่งเจ้ามัลละ  ในกาล

แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา        ในเวลาตนมีอายุได้ ๗ ขวบโดย

กำเนิด  จึงเข้าไปหาบิดามารดาขออนุญาตบรรพชา  เพราะค่าที่ตนได้สร้าง

บุญญาธิการไว้.    ฝ่ายบิดามารดาทั้งสองนั้นก็ได้อนุญาตว่า  ลูกเอ๋ย !    เจ้า

บวชแล้ว   จงศึกษาในอาจาระ  ถ้าลูกไม่ยินดีการศึกษาอาจาระนั้น  ลูกก็จง

กลับมาในที่นี้อีก.   เธอจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลขอบรรพชา.    ฝ่ายพระ-

ศาสดาทรงตรวจดูความสมบูรณ์แห่งอุปนิสัยของเธอแล้ว     จึงทรงอนุญาต

การบรรพชา.     ในเวลาเธอบรรพชา     ภพสามปรากฏแก่เธอเหมือนไฟ

ติดทั่วลุกโพลงตามโอวาทที่พระศาสดาทรงประทานแล้ว.      เธอจึงเริ่มตั้ง

วิปัสสนาแล้ว      บรรลุพระอรหัตในขณะจรดปลายมีดโกนทีเดียว.      เธอ

บรรลุธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระสาวกพึงบรรลุทั้งหมด  มีอาทิอย่างนี้ว่า

วิชชา ๓   ปฏิสัมภิทา  ๔  อภิญญา  ๖   และโลกุตรธรรม  ๙   เธอจึงได้ถูก

จัดเข้าในภายในบรรดาพระมหาสาวก  ๘๐.   สมจริงดังคำที่ท่านผู้มีอายุนั้น

กล่าวไว้ว่า      เราได้ทำให้แจ้งแล้วซึ่งพระอรหัตโดยอายุ ๗ ขวบแต่กำเนิด

เราได้บรรลุธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระสาวกพึงบรรลุได้ทั้งหมด    ดังนี้

เป็นต้น.

บทว่า  เยน  ภควา   เตนุปสงฺกมิ   ความว่า  ได้ยินว่า  วันหนึ่ง

ท่านผู้มีอายุนั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์       กลับจากบิณฑบาต

ภายหลังภัต  แสดงวัตรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว  จึงไปสู่ที่พักกลางวัน


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 795

ถือเอาน้ำจากหม้อน้ำล้างเท้าทั้งสองข้าง  ทำตัวให้เย็น  ปูลาดท่อนหนังแล้ว

นั่ง  กำหนดเวลาแล้วเข้าสมาบัติ.  ลำดับนั้น    ท่านผู้มีอายุออกจากสมาบัติ

ตามเวลาที่กำหนดไว้แล้ว    ตรวจดูอายุสังขารของตน.  อายุสังขารเหล่านั้น

ของเธอสิ้นไปแล้ว    ปรากฏเพียงชั่วครู่เล็กน้อย.   เธอคิดว่า   ข้อที่เราไม่

กราบทูลพระศาสดา   เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายก็จะไม่ทราบ   จักนั่งปริ-

นิพพานในที่นี้แหละ   ไม่สมควรแก่เราเลย     ไฉนหนอ   เราพึงเข้าไปเฝ้า

พระศาสดา   ให้พระองค์อนุญาตการปรินิพพานเสียก่อน   แล้วแสดงวัตร

แก่พระศาสดา   เมื่อจะประกาศอิทธานุภาพของเรา  เพื่อจะแสดงว่า  พระ-

ศาสนาเป็นเหตุนำสัตว์ออกจากทุกข์  จึงนั่งในอากาศเข้าเตโชธาตุแล้ว   พึง

ปรินิพพาน    เมื่อเป็นเช่นนี้    แม้เหล่าชนผู้ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใสในเรา

ก็จักเกิดความเลื่อมใส    ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์   เพื่อความสุข

แก่เขาเหล่านั้นตลอดกาลนาน.   ก็แลท่านผู้มีอายุนั้น   ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว

จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า    ได้ทำข้อนั้นทั้งหมดโดยประการนั้นนั่น

แล. ด้วยเหตุนั้น  ท่านจึงกล่าวว่า ครั้นนั้นแล   ท่านทัพพมัลลบุตรเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ  ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น   ด้วยบทว่า   ปรินิพฺพานกาโล  เม    ความว่า

พระทัพพมัลลบุตรแสดงว่า     ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า     กาลเป็นที่ปริ-

นิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ   ได้ปรากฏแก่ข้าพระองค์แล้ว   ข้า-

พระองค์ประสงค์จะกราบทูลการปรินิพพานนั้น   แล้วจะปรินิพพาน   แต่

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า    พระเถระยังไม่แก่และยังไม่ป่วยไข้ก่อน  ท่าน

ทูลลาพระศาสดาเพื่อปรินิพพาน ในข้อนั้นมีเหตุดังนี้  คือภิกษุพวกเมตติยะ

และภุมมชกะ     เมื่อก่อนได้พากันโจทเราด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล  แม้


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 796

เมื่ออธิกรณ์นั้น   สงบไป   ก็ยังด่าอยู่นั่นแหละ   ฝ่ายปุถุชนพวกอื่นเชื่อภิกษุ

เหล่านั้น   จึงกระทำความไม่เคารพและความดูหมิ่นในเรา    และเพราะนำ

ภาระคือทุกข์นี้อันไร้ประโยชน์ไป  จะมีประโยชน์อะไร  เพราะฉะนั้น   เรา

จักปรินิพพาน ณ บัดนี้แล   พระเถระกระทำการตกลงดังว่ามานี้    จึงทูลลา

พระศาสดา.   ข้อนั้นไม่ใช่เหตุ.   จริงอยู่   พระขีณาสพทั้งหลาย  เมื่ออายุ

สังขารยังไม่สิ้นไป  ย่อมไม่จงใจพยายามเพื่อปรินิพพาน  เพราะกลัวคนอื่น

จะว่าร้ายเป็นต้น.  และไม่ดำรงอยู่ได้นาน   เพราะเหตุคนเหล่าอื่นสรรเสริญ

เป็นต้น.   โดยที่แท้  พระขีณาสพเหล่านั้น   รอการสิ้นอายุสังขารของตน

พร้อมด้วยกิจของตนนั่นแล.  อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เราไม่หวังความตาย    ไม่หวังความเป็นอยู่  แต่

หวังเวลา  เหมือนคนรับจ้าง  หวังค่าจ้างฉะนั้น  ดังนี้.

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า    ทรงตรวจดูอายุสังขารของเธอ  รู้ว่าสิ้นไป

แล้ว   จึงตรัสว่า   ดูก่อนทัพพะ  เธอจงสำคัญกาลอันสมควร ณ บัดนี้เถิด.

บทว่า   เวหาส  อพฺภุคฺคนฺตวา  ได้แก่  เหาะขึ้นเวหาส.  อธิบายว่า  ไปใน

เวหาส.   จริงอยู่    บทว่า   เวหาส  อพฺภุคฺคนฺตวา  นี้   เป็นทุติยาวิภัตติ

เพราะประกอบด้วยอภิศัพท์.     แต่พึงทราบอรรถด้วยอำนาจสัตตมีวิภัตติ.

เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า   เหาะไปในอากาศทำไม.   จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

นั่งขัดสมาธิในอากาศ     คือ   ในกลางหาวดังนี้.     บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า  เตโชธาตุ  สมาปชฺชิตฺวา    ความว่า  เข้าจตุตถฌานสมาบัติอันมี

เตโชกสิณเป็นอารมณ์.

จริงอยู่     ในกาลนั้น     พระเถระถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

กระทำประทักษิณ  ๓  รอบแล้ว      ยืนอยู่  ณ  ที่สุดข้างหนึ่ง     กราบทูลว่า


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 797

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า    ข้าพระองค์อยู่ในที่นั้น ๆ กับพระองค์ บำเพ็ญมา

ตลอดแสนกัป  หมายเอาพระโยชน์นี้เท่านั้น   จึงได้บำเพ็ญประโยชน์นี้นั้น

ถึงที่สุดแล้วในวันนี้     นี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย.    ในบรรดาภิกษุปุถุชน

ผู้เป็นพระโสดาบันและพระสกทาคามีในที่นั้น      บางพวกได้มีความกรุณา

อย่างใหญ่.    บางพวกถึงความร้องไห้.    ลำดับนั้น      พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทราบวารจิตของเธอแล้วตรัสว่า   ดูก่อนทัพพะ  ถ้าเช่นนั้น   เธอจง

แสดงอิทธิปาฏิหาริย์แก่เรา   และแก่ภิกษุสงฆ์.   ในขณะนั้นนั่นเอง   ภิกษุ

สงฆ์ทั้งหมดประชุมกัน.    ลำดับนั้น    ท่านทัพพะแสดงปาฏิหาริย์ทั้งหมด

อันทั่วไปแก่พระสาวก   อันมาโดยนัยมีอาทิว่า   แม้คนคนเดียวก็กลายเป็น

หลายคนได้  ดังนี้  ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า   เหาะไปในอากาศอีก

นิรมิตแผ่นดินขึ้นในอากาศ   นั่งขัดสมาธิในอากาศนั้น   ทำบริกรรมด้วย

เตโชกสิณสมาบัติ   เข้าสมาบัติ    ออกแล้วรำพึงถึงร่างกาย   เข้าสมาบัติอีก

อธิษฐานเตโชธาตุในอันยังร่างกายให้ไหม้แล้วปรินิพพาน.      พร้อมด้วย

การอธิษฐาน   ร่างกายทั้งหมดจึงได้ถูกเพลิงติดทั่ว.   ก็ในขณะนั้นนั่นเอง

เพลิงนั้นได้เป็นเหมือนเพลิงประจำกัป   ไหม้สังขารเพียงอณูหนึ่งก็ดี  เพียง

เป็นเขม่าก็ดี  ไม่เหลืออะไร ๆ ในสังขารนั้นไว้เลย  ด้วยพลังแห่งอธิษฐาน

แล้วปรินิพพาน.  ด้วยเหตุนั้น  ท่านจึงกล่าวว่า  ครั้งนั้นแล  ท่านทัพพ-

มัลลบุตร  ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น     บทว่า   วุฏฺหิตฺวา  ปรินิพฺพายิ  ความว่า

ออกจากจิตที่สำเร็จด้วยฤทธิ์แล้ว     ปรินิพพานด้วยภวังคจิต.      บทว่า

ฌายมานสฺส  ได้แก่  อันไฟโพลงอยู่.    บทว่า   ฑยฺหมานสฺส   นี้  เป็น

ไวพจน์แห่งบทว่า.  ฌายมานสฺส   นั้นนั่นเอง.  อีกอย่างหนึ่ง.  บทว่า

ฌายมานสฺส  ท่านกล่าวหมายเอาขณะที่ไฟโพลงขึ้น.   บทว่า  ฑยฺห-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 798

มานสฺส   ท่านกล่าวหมายเอาขณะที่ปราศจากถ่านเพลิง.   บทว่า  ฉาริกา

ได้แก่  ขี้เถ้า.   บทว่า  มสิ   ได้แก่  เขม่า.     บทว่า   น  ปญฺายิตฺถ

ได้แก่  ไม่เห็น.  อธิบายว่า  สิ่งทั้งหมดอันตรธานไป  โดยขณะนั้นนั่นแล

ด้วยแห่งการอธิษฐาน.

ถามว่า   ก็เพราะเหตุไร  พระเถระจึงแสดงปาฏิหาริย์  อันเป็นอุตริ-

มนุสธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสห้ามการทำอิทธิปาฏิหาริย์ไว้  มิใช่

หรือ ?

ตอบว่า   ข้อนี้ไม่พึงทักท้วง   เพราะพระองค์ตรัสห้ามการทำปาฏิ-

หาริย์ต่อหน้าพวกคฤหัสถ์ทั้งหลาย   และข้อนั้นตรัสห้าม   โดยอำนาจการ

แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ   ไม่ตรัสห้ามด้วยอำนาจการอธิษฐาน    ก็ท่านผู้มีอายุนี้

อันพระธรรมสวามีตรัสสั่งแล้ว  จึงแสดงปาฏิหาริย์.

บทว่า   เอตมตฺถ  วิทิตฺวา  ความว่า   พระองค์ทรงทราบโดยอาการ

ทั้งปวง        ถึงการที่ท่านพระทัพพมัลลบุตรปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-

นิพพานนี้    จึงทรงเปล่งอุทานนี้   อันแสดงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น     บทว่า  อเภทิ   กาโย  ความว่า  รูปกายอันมี

สันตติ  ๔      โดยความต่างแห่งภูตรูป      และอุปาทายรูปทั้งหมดแตกไป

พินาศ  อันตรธานไป  โดยไม่มีส่วนเหลือ  คือถึงความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรม.

บทว่า  นิโรธิ  สญฺา  ได้แก่  สัญญาทั้งหมด   ต่างด้วยรูปสัญญาเป็นต้น.

เพราะมีรูปายตนะเป็นต้นเป็นอารมณ์    ดับไปแล้วโดยการดับสนิท  หา

ปฏิสนธิมิได้.    บทว่า   เวทนา   สีติภวึสุ  สพฺพา  ได้แก่  เวทนา  แม้

ทั้งหมด  คือ วิปากเวทนาและกิริยาเวทนา   ได้เป็นธรรมชาติเย็น  เพราะ

ไม่มีความกระวนกระวายแห่งเวทนา   แม้มีประมาณเท่าอณูหนึ่ง    เพราะ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 799

ดับสนิทด้วยการดับหาปฏิสนธิมิได้.  แต่กุศลเวทนาและอกุศลเวทนา   ถึง

ความดับสนิทในขณะแห่งอรหัตผลทีเดียว.         อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

สีติรหึสุ  เว้นจากความเย็น  ดังนี้ก็มี,  อธิบายว่า   ได้เป็นธรรมชาติสงบ

ดับไป.    บทว่า  วูปสมึสุ  สงฺขารา  ความว่า  ธรรมคือสังขารขันธ์   มี

ผัสสะเป็นต้นแม้ทั้งหมด     ต่างโดยวิบากและกิริยา    สงบแล้วโดยพิเศษ

ทีเดียว  เพราะดับสนิทด้วยการดับสนิทโดยหาปฏิสนธิมิได้นั่นเอง.   บทว่า

วิญฺาณ  อตฺถมาคมา  ความว่า  แม้วิญญาณทั้งหมดต่างโดยวิบากและ

กิริยา    ได้ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้   คือ  ความพินาศ    ได้แก่   ความขาดสูญ

เพราะดับสนิทโดยหาปฏิสนธิมิได้นั่นแล.

ดังนั้น     พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทาน     อันเปล่งออกด้วย

กำลังแห่งปีติ    เพราะอาศัยความที่ขันธ์ทั้ง  ๕  ของท่านพระทัพพมัลลบุตร

ดับสนิท  ด้วยการดับหาปฏิสนธิมิได้  เหมือนไฟที่หมดเชื้อฉะนั้น  เพราะ

ดับอุปาทานคือกิเลสและอภิสังขารในกาลก่อน   ได้โดยสิ้นเชิงแล.

จบอรรถกถาปฐมทัพพสูตรที่  ๙

 

๑๐.  ทุติยทัพพสูตร

 

ว่าด้วยปรินิพพานบนอากาศเถ้าถ่านไม่ปรากฏ

 

[๑๗๘]   ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง   พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ พระวิหารเชตวัน  อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี  ใกล้พระนครสาวัตถี  ณ  ที่นั้นแล  พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า    ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุเหล่านั้น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 800

ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว   พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย     เมื่อพระทัพพมัลลบุตรเหาะขึ้นไปสู่เวหาส      นั่งขัดสมาธิเข้า

สมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์อยู่ในอากาศกลางหาว  ออกจากสมาบัติแล้ว

ปรินิพพาน   เมื่อสรีระถูกไฟเผาไหม้อยู่   เถ้าไม่ปรากฏ   เขม่าก็ไม่ปรากฏ

เหมือนเนยใสหรือน้ำมันถูกไฟเผาไหม้อยู่   เถ้าไม่ปรากฏเลย   เขม่าก็ไม่มี

ปรากฏฉะนั้น.

ลำดับนั้นแล    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว    จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

คติของพระขีณาสพทั้งหลาย      ผู้หลุดพ้นแล้ว

โดยชอบ   ข้ามเครื่องผูกคือกามโอฆะได้แล้ว   ถึงแล้ว

ซึ่งความสุขอันหาความหวั่นไหวมิได้      ไม่มีเพื่อจะ

บัญญัติ      เหมือนคติแห่งไฟลุกโพลงอยู่ที่ภาชนะ

สำริดเป็นต้น  อันนายช่างเหล็กตีด้วยค้อนเหล็ก  ดับ

สนิท   ย่อมรู้ไม่ได้ฉะนั้น.

จบทุติยทัพพสูตรที่  ๑๐

 

จบปาฏลิคามิยวรรคที่  ๘

 

อรรถกถาทุติยทัพพสูตร

 

ทุติยทัพพสูตรที่  ๑๐  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า  ตตฺร  โข  ภควา   ภิกฺขู  อามนฺเตสิ  ความว่า  พระผู้มี-

พระภาคเจ้า   ครั้นประทับอยู่ตามพอพระทัยในกรุงราชคฤห์  เมื่อจะเสด็จ


没有评论: