NIRUTTI SAPHA 58N C8 900


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 801

ส่วนศีลของตนเองที่บริสุทธิ์ดีแล้ว    ย่อมนำ

ความสุขในภพหน้ามาให้ได้.

จบ  สีลวีมังสชาดกที่ ๒

อรรถกถาสีลวีมังสชาดกที่  ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่   ณ  พระวิหารเชตวัน   ทรงปรารภ

พราหมณ์ผู้ทดลองศีลคนหนึ่ง  จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้   มีคำเริ่มต้น

ว่า  สีล   เสยฺโย  ดังนี้.

ได้ยินว่า      พระราชาทรงเห็นพรามณ์นั้นว่า      พราหมณ์นี้

เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยศีล      จึงทรงตั้งให้ยิ่งกว่าพราหมณ์ทั้งหลายอื่น.

พราหมณ์นั้นคิดว่า   พระราชาทรงกระทำความเคารพนับถือเรา   ทรง

เห็นเราว่าเป็นผู้มีศีล         หรือว่าทรงเห็นว่าเป็นผู้ประกอบด้วยการจำ

ทรงสุตะไว้ได้         เราจักทดลองดูก่อนว่าศีลหรือสุตะสำคัญกว่ากัน.

วันหนึ่งพราหมณ์นั้นจึงหยิบเอากหาปณะจากแผ่นกระดานนับเงินของ

เหรัญญิกไป.   เหรัญญิกก็ไม่พูดอะไร  เพราะความเคารพ.  แม้ในครั้ง

ที่สอง   ก็ไม่พูดอะไร  แต่ในครั้งที่สาม  เหรัญญิกกล่าวหาว่า  เป็นโจร

ปล้นเงิน  แล้วให้จับพราหมณ์นั้นมาถวายพระราชา เมื่อพระราชาตรัส

ว่า   พราหมณ์นี้ทำอะไร  จึงกราบทูลว่า  ปล้นทรัพย์พระเจ้าข้า.  พระ-

ราชาตรัสถามว่า   เขาว่า   จริงหรือพราหมณ์.    พราหมณ์กราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า   ข้าพระบาทมิได้ปล้นทรัพย์   แต่ข้าพระบาทมีความ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 802

รังเกียจสงสัยว่า   ศีลเป็นใหญ่หรือว่าสุตะเป็นใหญ่    ข้าพระบาทนั้น

เมื่อจะทดลองว่า  บรรดาศีลและสุตะนั้น  อย่างไหนหนอเป็นใหญ่  จึง

หยิบเอากหาปณะไป  ๓  ครั้ง  เหรัญญิกนี้ให้จำข้าพระบาทนั้นแล้วนำ

มาถวายพระองค์   บัดนี้    ข้าพระบาททราบแล้วว่า     ศีลใหญ่กว่าสุตะ

ข้าพระบาทไม่มีความต้องการอยู่ครองเรือน  ข้าพระบาทจักบวช.  ดังนี้

แล้ว    ขอให้ทรงอนุญาตการบวช     แล้วไม่เหลียวดูประตูเรือนเลยไป

ยังพระเชตวัน      ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา พระศาสดาทรงสั่งให้

บรรพชาและอุปสมบทแก่พราหมณ์นั้น.      ท่านอุปสมบทแล้วไม่นาน

เจริญวิปัสสนา  ได้ดำรงอยู่ในอรหัตตผล.

ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า   ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย พราหมณ์ชื่อโน้นทดลองศีลของตนแล้ว  ก็บวชเจริญวิปัสส-

นา  ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.  พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า  ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย  บัดนี้   เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า   เรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า  ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย   พราหมณ์นี้เท่านั้นทดลองศีลแล้วบรรพชาบรรลุพระอรหัต

เฉพาะในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้     แม้ในกาลก่อน     บัณฑิตทั้งหลาย

ทดลองศีลแล้วบรรพชา   ได้กระทำที่พึ่งแก่ตนแล้วเหมือนกัน.    แล้ว

ทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธก   ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล    เมื่อพระเจ้าพระพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน

นครพาราณสี     พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์    เจริญวัยแล้ว


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 803

เรียนศิลปะทุกอย่างในเมืองตักกศิลาเสร็จแล้ว  กลับไปเมืองพาราณาสี

แสดงให้พระราชา    ทอดพระเนตร.     พระราชาได้ประทานตำแหน่ง

ปุโรหิตแก่พระโพธิสัตว์นั้น  พระโพธิสัตว์นั้นรักษาศีลห้า.  ฝ่ายพระ-

ราชาก็ทรงเคารพพระโพธิสัตว์นั้นทรงเห็นว่าเป็นผู้มีศีล.    พระโพธิ-

สัตว์นั้นคิดว่า    พระราชาทรงเคารพเห็นว่าเราเป็นผู้มีศีล    หรือทรง

เห็นว่าเป็นผู้ประกอบการทรงจำสุตะไว้ได้.     เรื่องทั้งปวงเหมือนเรื่อง

ปัจจุบันนั่นแล.  แต่ในที่นี้   พราหมณ์นั้นกล่าวว่า    บัดนี้  เรารู้แล้วว่า

ศีลเป็นใหญ่สำคัญว่าสุตะ.  จึงได้กล่าวคาถา  ๕  คาถานี้ว่า :-

ข้าพระองค์ได้มีความสงสัยว่า ศิลประ-

เสริฐหรือสุตะประเสริฐ ศีลนี่แหละประเสริฐ

กว่าสุตะ  ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยแล้ว.

ชาติและวรรณะเป็นของเปล่า ได้สดับ

มาว่า    ศีลเท่านั้นประเสริฐที่สุด  บุคคลผู้ไม่

ประกอบด้วยศีล  ย่อมไม่ได้ประโยชน์เพราะ

สุตะ.

กษัตริย์และแพศย์ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม

ไม่อาศัยธรรม   ชนทั้งสองนั้น   ละโลกนี้ไป

แล้ว   ย่อมเข้าถึงทุคติ.

กษัตริย์   พราหมณ์  แพศย์  ศูทร์  คน


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 804

จัณฑาลและคนเทหยากเหยื่อ   ประพฤติธรรม

ในพระธรรมวินัยนี้แล้ว   ย่อมเป็นผู้เสมอกัน

ในไตรทิพย์

เวท  ชาติ  แม้พวกพ้อง ก็ไม่สามารถจะ

ให้อิสริยยศหรือความสุขในภพหน้าได้  ส่วน

ศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว ย่อมนำมาซึ่งความ

สุขในภพหน้า.

บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า   สีลเมว  สุตา  เสยฺโย  ความว่า

ศีลเท่านั้นยิ่งกว่าปริยัติคือสุตะ   โดยร้อยเท่า    พันเท่า.   ก็แหละครั้น

กล่าวอย่างนี้แล้วจึงตั้งหัวข้อว่า        ชื่อว่าศีลนี้มีอย่างเดียวด้วยอำนาจ

สังวรศีล  มีสองอย่าง    ด้วยอำนาจจารีตศีลและวารีตศีล    มีสามอย่าง

ด้วยอำนาจศีลที่เป็นไปทางกาย    วาจา    และใจ    มีสี่อย่าด้วยอำนาจ

ปาติโมกข์สังวรศีล   อินทรียสังวรศีล   อาชีวปาริสุทฐิศีล  และปัจจย-

สันนิสิตศีล   แล้วได้กล่าวคุณของศีลให้พิสดาร.  บทว่า  โมฆา  ได้แก่

ไร้ผล   คือเป็นของเปล่า.   บทว่า  ชาติ  ได้แก่  การเกิดในขัตติยสกุล

เป็นต้น.   บทว่า   วณฺโณ   ได้แก่   ผิวพรรณแห่งร่างกาย  คือ   ความ

เป็นผู้มีรูปงาม.   ก็เพราะเหตุที่ความถึงพร้อมด้วยชาติก็ดี     ความถึง

พร้อมด้วยวรรณะก็ดี  ย่อมไม่สามารถจะให้ความสุขในสวรรค์  แก่คน

ผู้เว้นจากศีล   ฉะนั้น   พระโพธิสัตว์นั้น   จึงกล่าวความถึงพร้อมด้วย

ชาติและวรรณะทั้งสองนั้นว่าเป็นโมฆะ.  ด้วยบทว่า  สีลเมว  กิร  นี้  ท่าน


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 805

กล่าวตามที่ได้ยินได้ฟังมา   แต่ไม่ได้รู้ด้วยตนเอง.  บทว่า  อนฺเปตสฺส

แปลว่า   ผู้ไม่ประกอบแล้ว.   บทว่า   สุเตนตฺโถ  น   วิชฺชติ  ความว่า

บุคคลผู้เว้นจากศีล    ย่อมไม่มีความเจริญอะไรในโลกนี้หรือโลกหน้า

เพราะเหตุสักว่าปริยัติคือสุตะ.  จากนั้นได้กล่าวคาถา  ๒  คาถาข้างหน้า

ต่อไป   เพื่อจะแสดงถึงความที่ชาติเป็นของเปล่า.    บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า  เต  ปริจฺจชฺชุโภ  โลเก  ความว่า   คนไม่มีศีลเหล่านั้นละโลก

ทั้งสองคือ  เทวโลกและมนุษยโลก  ย่อมเข้าถึงทุคติ.  บทว่า  จณฺฑาล-

ปุกฺกุสา   ได้แก่    คนจัณฑาลผู้ทิ้งซากศพ    และคนชาติปุกกุสะผู้ทิ้ง

ดอกไม้. บทว่า   ภวนฺติ   ติทเว   สมา  ความว่า  ชนเหล่านั้นทั้งหมด

บังเกิดในเทวโลก   ด้วยอานุภาพแห่งศีล   ชื่อว่าเป็นผู้เสมอกัน  คือไม่

พิเศษกว่ากัน    ถึงการนับว่าเทพเหมือนกัน. ท่านกล่าวคาถาที่   ๕ เพื่อ

แสดงว่า  สุตเป็นต้นทั้งหมดเป็นของเปล่า. เนื้อความของคาถาที่ ๕ นั้น

ว่า   ข้าแต่มหาราชเจ้า   เวทเป็นต้นเหล่านี้     เว้นการให้เพียงสักว่ายศ

ในโลกนี้เสีย   ย่อมไม่สามารถจะให้ยศหรือสุขในโลกหน้า   คือในภพ

ที่  ๒  หรือภพที่  ๓   ได้ส่วนศีลของตนเท่านั้นอันบริสุทธิ์   ย่อมอาจให้

ยศหรือสุขนั้นได้.

พระมหาสัตว์กล่าวคุณของศีลอย่างนี้แล้ว    จึงขอให้พระราชา

ทรงอนุญาตการบวช       แล้วเข้าไปยังประเทศหิมพานต์ในวันนั้นเอง

บวชเป็นฤๅษี   ทำอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดแล้ว  ได้มีพรหมโลกเป็น

ที่ไปในเบื้องหน้า.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 806

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรง

ประชุมชาดกว่า     พราหมณ์ผู้ทดลองศีลแล้วบวชเป็นฤๅษีในครั้งนั้น

ได้เป็นเราตถาคต  ฉะนี้แล.

จบ   อรรถกถาสีลวีมังสชาดกที่  ๒


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 807

๓. หิริชาดก

การกระทำที่ส่อให้รู้ว่ามิตรหรือมิใช่มิตร

[๗๖๓]   ผู้ใดหมดความอาย     เกลียดชังความมี

เมตตา  กล่าวอยู่ว่าเราเป็นมิตร. สหายของท่าน

ไม่ได้เอื้อเฟื้อทำการงานที่ดีกว่า     บัณฑิตรู้จัก

ผู้นั้นได้ดีว่า   ผู้นี้มิใช่มิตรสหายของเรา.

[๗๖๔]   เพราะว่าบุคคลทำอย่างไร     ก็พึงกล่าว

อย่างนั้น ไม่ทำอย่างไร ก็ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

บัณฑิตทั้งหลายรู้จักบุคคลนั้นว่า   ผู้ไม่ทำให้

สมกับพูด   เป็นแต่กล่าวอยู่ว่า     เราเป็นมิตร

สหายของท่าน.

[๗๖๕]  ผู้ใดไม่ประมาทอยู่ทุกขณะ     มุ่งความ

แตกร้าว   คอยแต่จับความผิด   ผู้นั้นไม่ชื่อว่า

เป็นมิตร   ส่วนผู้ใดอันคนอื่นยุให้แตกกันไม่

ได้  ไม่มีความรังเกียจในมิตร   นอนอยู่อย่าง

ปลอดภัย     เหมือนบุตรนอนแอบอกมารดา

ฉะนั้น  ผู้นั้นนับว่าเป็นมิตรแท้.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 808

[๗๖๖]    กุลบุตรผู้มองเห็นผลและอานิสงส์  เมื่อ

นำธุระของบุรุษไปอยู่   ย่อมทำฐานะ  คือ การ

ทำความปราโมทย์    และความสุขอันนำมาซึ่ง

ความสรรเสริญให้เกิดมีขึ้น.

[๗๖๗]   บุคคลได้ดื่มรสอันเกิดจากวิเวก     รส

แห่งความสงบ  และรสคือธรรมปีติ   ย่อมเป็น

ผู้ไม่มีความกระวนกระวาย   เป็นผู้หมดบาป.

จบ  หิริชาดกที่ ๓

อรรถกถาหิริชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่   ณ พระวิหารเชตวัน    ทรงปรารภ

เศรษฐีชาวปัจจันตคามผู้เป็นสหายของอนาถบิณฑิกเศรษฐี      จึงตรัส

พระธรรมเทศนานี้    มีคำเริ่มต้นว่า   หิรินฺตรนฺต   ดังนี้.

เรื่องทั้งสอง   คือเรื่องปัจจุบันและเรื่องในอดีต     ได้มีพิสดาร

แล้วในชาดกจบสุดท้ายแห่งนวมวรรค  เอกนิบาต.  แต่ในชาดกนี้    เมื่อ

คนมาบอกแก่พาราณสีเศรษฐีว่า       คนของเศรษฐีชาวปัจจันตคามถูก

ชิงทรัพย์สมบัติ   ไม่เป็นเจ้าของของที่เป็นของตน    พากันหนีไปแล้ว

พาราณสีเศรษฐีจึงกล่าวว่า      ธรรมดาคนผู้ไม่กระทำกิจที่จะพึงทำแก่

คนผู้มายังสำนักของตน      ย่อมไม่ได้คนผู้กระทำตอบแทนเหมือนกัน

แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 809

ผู้ใดหมดความอาย    เกลียดชังความมี

เมตตา    กล่าวอยู่ว่า    เราเป็นมิตรสหายของ

ท่าน      แต่ไม่ได้เอื้อเฟื้อทำการงานที่ดีกว่า

บัณฑิตรู้จักผู้นั้นได้ดีกว่า    ผู้นี้มิใช่มิตรสหาย

ของเรา.

เพราะว่าบุคคลทำอย่างไร     ก็พึงกล่าว

อย่างนั้น   ไม่ทำอย่างไร  ก็ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

บัณฑิตทั้งหลายรู้จักบุคคลนั้นว่า    ผู้ไม่ทำให้

สมกับพูด    เป็นแต่พูดอยู่ว่า     เราเป็นมิตร

สหายของท่าน.

ผู้ใดไม่ประมาทอยู่ทุกขณะ.     มุ่งความ

แตกร้าว   คอยแต่จับความผิด   ผู้นั้นไม่ชื่อว่า

เป็นมิตร  ส่วนผู้ใดอื่นคนอันยุให้แตกกันไม่

ได้  ไม่รังเกียจในมิตร   นอนอยู่อย่างปลอด-

ภัยเหมือนบุตรนอนแนบอกมารดาฉะนั้น   ผู้

นั้นนับว่าเป็นมิตรแท้.

กุลบุตรผู้มองเห็นผลและอานิสงส์ เมื่อ

นำธุระหน้าที่ของลูกผู้ชายไปอยู่   ย่อมทำเหตุ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 810

คือการทำความปราโมทย์     และความสุขอัน

นำมาซึ่งความสรรเสริญให้เกิดมีขึ้น.

บุคคลได้ดื่มรสอันเกิดจากวิเวก   รส

แห่งความสงบ    และรสคือธรรมปีติ    ย่อม

เป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย     เป็นผู้หมด

บรรดาบทเหล่านั้น    บทว่า   หิรินฺตรนฺต   ได้แก่    ก้าวล่วง

ความละอาย.   บทว่า  วิชิคุจฺฉมน  ได้แก่   ผู้เกลียดการเจริญเมตตา.

บทว่า   ตวาหมสฺมิ   ความว่า   พูดแต่คำพูดอย่างเดียวเท่านั้ว่า    เรา

เป็นมิตรของท่าน.   บทว่า   เสยฺยานิ  กมฺมานิ   ความว่า   ผู้ไม่เอื้อ-

เฟื้อ   คือไม่กระทำกรรมอันสูงสุดซึ่งสมควรแก่คำพูดว่า  จักให้  จักทำ.

บทว่า   เนโส   มม   ความว่า   พึงรู้แจ้งบุคคลเห็นปานนั้นว่า   นั่นไม่

ใช่มิตรของเรา.      บทว่า   ปาโมชฺชกรณ   าน   ได้แก่   ทาน   ศีล

ภาวนา   และความเป็นมิตรกับบัณฑิตผู้เป็นกัลยาณมิตร.     แต่ในที่นี้

ท่านกล่าวหมายเอาเฉพาะความเป็นมิตรซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว. จริง

อยู่   ความเป็นมิตรกับบัณฑิตผู้เป็นกัลยาณมิตร  ย่อมนำซึ่งความปรา-

โมทย์   ทั้งนำมาซึ่งสรรเสริญ   ท่านเรียกว่า   ความสุขดังนี้ก็มี  เพราะ

เป็นเหตุแห่งสุขทางกายและทางใจ    ในโลกนี้และโลกหน้า.     เพราะ

ฉะนั้น   กุลบุตรผู้เห็นผลและอานิสงส์นี้   ชื่อว่าผู้มีผลานิสงส์  เมื่อนำ-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 811

พาธุระหน้าที่ของลูกผู้ชายทั้ง ๔ อย่าง   คือ  ทาน   ศีล   ภาวนา   และ

มิตรภาพ     ที่ลูกผู้ชายทั้งหลายจะพึงนำพา    ย่อมยังเหตุเครื่องกระทำ

ความปราโมทย์กล่าวคือมิตรภาพนี้    และสุขอันเป็นเหตุนำมาซึ่งสรร-

เสริญให้เกิด   คือ  ให้เจริญ   ท่านแสดงว่า   ไม่ทำลายมิตรภาพให้แตก

จากบัณฑิตทั้งหลาย.      บทว่า   ปวิเวกรส   ได้แก่   รสแห่งกายวิเวก

จิตตวิเวก     และอุปธิวิเวก     คือ   รสแห่งความโสมนัสอันอาศัยวิเวก

เหล่านั้นเกิดขึ้น.   บทว่า   อุปสมสฺส   จ  ได้แก่   โสมนัสอันได้แล้ว

เพราะความสงบระงับกิเลส.  บทว่า นิทฺทโร  โหติ  นิปฺปาโป ความว่า

ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย   เพราะไม่มีความกระวนกระวาย

ด้วยอำนาจของกิเลิสทั้งปวง    ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีบาป    เพราะไม่มีกิเลส.

บทว่า  ธมฺมปีติรส  ความว่า  ดื่มรสกล่าวคือธรรมปีติ  ได้แก่   ปีติอัน

เกิดแต่วิมุตติ.

พระมหาสัตว์สยดสยองการเกลือกกลั้วกับปาปมิตร    จึงถือเอา

ยอดแห่งเทศนา  โดยให้บรรลุพระอมตมหานิพพาน   ด้วยรสแห่งวิเวก

ด้วยประการฉะนี้.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว      จึง

ทรงประชุมชาดกว่า  เศรษฐีชาวปัจจันตคามในครั้งนั้น ได้เป็นเศรษฐี

ชาวปัจจันตคามนี้แหละ   ส่วนพาราณสีเศรษฐีในครั้งนั้น  ได้เป็นเรา

ตถาคต   ฉะนี้แล.

จบ  อรรถกถาหิริชาดกที่ ๓


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 812

๔. ขัชโชปนกชาดก

ว่าด้วยเห็นหิ่งห้อยว่าเป็นไฟ

[๗๖๘]  ใครหนอ  เมื่อไฟมีอยู่  ยังเที่ยวแสวงหา

ไฟอีก   เห็นหิ่งห้อยในเวลากลางคืน     ก็มา

สำคัญว่าเป็นไฟ.

[๗๖๙]   บุคคลนั้น    เอาจุรณโคมัยและหญ้าขยี้

ให้ละเอียดโปรยลงบนหิ่งห้อย      เพื่อจะให้

เกิดไฟ     ก็ไม่สามารถจะให้ไฟลุกได้    ด้วย

ความสำคัญวิปริต  ฉันใด.

[๗๗๐]   คนพาล     ย่อมไม่ได้สิ่งที่ต้องประสงค์

โดยมิใช่อุบาย    นมโคไม่มีที่เขาโค    คนรีด

นมโคจากเขาโค  ย่อมไม่ได้นม    ก็ฉันนั้น.

[๗๗๑]     ชนทั้งหลาย      ย่อมบรรลุถึงประโยชน์

ด้วยอุบายต่าง ๆ คือด้วยการข่มศัตรู      และ

ด้วยการยกย่องมิตร.

[๗๗๒]   พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย    ย่อมครอบ-

ครองแผ่นดินอยู่ได้    ก็ด้วยการได้อำมาตย์ผู้


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 813

เป็นประมุขของเสนี      และด้วยการแนะนำ

ของอำมาตย์ผู้ที่ทรงโปรดปราน.

จบ    ขัชโชปนกชาดกที่ ๔

อรรถกถาขัชโชปนกชาดกที่  ๔

ปัญหาว่าด้วยหิ่งห้อยนี้      มีคำเริ่มต้นว่า     โกนุ   สนฺตมฺหิ

ปชฺโชเต   ดังนี้.   จักมีแจ้งโดยพิสดาร   ในมหาอุมังคชาดกแล.

จบ  อรรถกถาขัชโชปนกชาดกที่  ๔


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 814

๕. อหิตุณฑิกชาดก

ว่าด้วยลิงกับหมองู

[๗๗๓]   ดูก่อนสหายผู้มีหน้างาม  เราเป็นนักเลง

สะกา     แพ้เขาเพราะลูกบาศก์    ท่านจงทิ้ง

มะม่วงสุกลงมาบ้าง     เราจะได้บริโภคเพราะ

ความเพียรของท่าน.

[๗๗๔]   ดูก่อนสหาย  ท่านมากล่าวสรรเสริญเรา

ผู้ล่อกแล่ก    ด้วยคำไม่เป็นจริง   ขึ้นชื่อว่าลิง

ที่มีหน้างาม     ท่านเคยได้ยินหรือเคยได้เห็น

ที่ไหนมาบ้าง.

[๗๗๕]   ดูก่อนหมองู   ท่านทำกรรมใดไว้กะเรา

กรรมนั้นยังปรากฏอยู่ในหัวใจของเราจนวันนี้

ท่านเข้าไปยังตลาดขายข้าวเปลือก     เมาสุรา

แล้ว    ตีเราผู้กำลังหิวโหยถึงสามครั้ง.

[๗๗๖]   เราระลึกถึงการนอนเป็นทุกข์อยู่ที่ตลาด

นั้นได้   อนึ่ง  ถึงท่านจะยกราชสมบัติให้เรา

ครอบครอง      ท่านขอมะม่วงเราแม่ผลเดียว


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 815

เราก็ไม่ให้       เพราะว่าเราถูกท่านคุกคามให้

กลัวเสียแล้ว.

[๗๗๗]  อนึ่ง   บัณฑิตรู้จักผู้ใดที่เกิดในตระกูล

เอิบอิ่มอยู่ในห้อง  ไม่มีความตระหนี่   ก็ควร

จะผูกความเป็นสหายและมิตรภาพกับผู้นั้น

ไว้ให้สนิท.

จบ  อหิตุณฑิกชาดกที่  ๕

อรรถกถาอหิตุณฑิกชาดกที่  ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่  ณ  พระวิหารเชตวัน    ทรงปรารภ

ภิกษุแก่รูปหนึ่ง   จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้    มีคำเริ่มต้นว่า   ธุตฺโตมฺหิ

ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันได้ให้พิสดารแล้วในสาลกชาดกในหนหลัง.   แม้

ในชาดกนี้      ภิกษุแก่นั้นให้เด็กชาวบ้านคนหนึ่งบวช      แล้วด่าและ

ประหาร.   เด็กจึงหนีไปสึก.   แม้ครั้งที่สอง    ให้เด็กนั้นบวชแล้วก็ได้

กระทำเหมือนอย่างเดิม   แม้ครั้งที่สองเด็กนั้นก็สึก    ผู้อันพระแก่นั้น

อ้อนวอนอีก   ก็ไม่ปรารถนาแม้เพื่อจะแลดู.   ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนา

กันในโรงธรรมสภาว่า     อาวุโสทั้งหลาย   ภิกษุแก่ชื่อโน้นไม่อาจเป็น

ไปเพื่อจะร่วมและจะพรากจากสามเณรของตน  ส่วนสามเณรเห็นโทษ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 816

ของพระแก่นั้น   ไม่ปรารถนาแม้เพื่อจะแลดูอีก   สามเณรนั้นเป็นเด็ก

ใจดี.   พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า   ภิกษุทั้งหลาย   บัดนี้    เธอ

ทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร  ?   เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

เรื่องชื่อนี้    พระเจ้าข้า.    จึงตรัสว่า    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   มิใช่บัดนี้

เท่านั้น    แม้ในปางก่อน    สามเณรนี้ก็เป็นคนใจดีแท้   เห็นโทษคราว

เดียวไม่ปรารถนาแม้เพื่อจะแลดูอีก         แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา

สาธก   ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี   พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพ่อค้าข้าวเปลือก  เจริญวัยแล้ว

จึงเลี้ยงชีวิตด้วยการขายข้าวเปลือก.   ครั้งนั้น    มีหมองูคนหนึ่งจับลิง

มาฝึกให้เล่นกับงู     เมื่อเขาโฆษณาการมหรสพในนครพาราณสี    จึง

พักลิงนั้นมาไว้ในสำนักของพ่อค้าข้าวเปลือกแล้วเที่ยวเล่นอยู่ตลอด  ๗

วัน.     พ่อค้าแม้นั้นได้ให้ของเคี้ยว   ของบริโภคแก่ลิง.    ในวันที่  ๗

หมองูเลิกเล่นมหรสพกลับมา    ได้เอาซี่ไม้ไผ่ตีลิงนั้น  ๓  ครั้ง    แล้ว

พาลิงนั้นไปยังอุทยาน  ผูกไว้แล้วจึงหลับไป.   ลิงแก้เครื่องผูกออกแล้ว

ขึ้นไปยังต้นมะม่วง   นั่งกินมะม่วงอยู่.   หมองูนั้นตื่นขึ้นแล้ว  แลเห็น

ลิงอยู่บนต้นไม้     จึงคิดว่า  เราควรจะหลอกล่อจับลิงนั้น  เมื่อจะเจรจา

กับลิงนั้น   จึงกล่าวคาถาที่ ๑  ว่า :-

ดูก่อนสหายผู้มีหน้างาม  เราเป็นนักเลง

สะกาแพ้เขาเพราะลูกบาศก์ท่านจงทิ้งมะม่วง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 817

สุกลงมาบ้าง     เราจะได้บริโภคก็เพราะความ

เพียรของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า  อกฺขปราชิโต  แปลว่า  แพ้เพราะ

ลูกบาศก์ทั้งหลาย.  บทว่า   หเรหิ   ความว่า   จงให้ตกลงมา.     บาลีว่า

ปาเตหิ   ดังนี้ก็มี.

ลิงได้ฟังดังนั้น   จึงกล่าวคาถาทั้งหลายที่เหลือว่า :-

ดูก่อนสหาย       ท่านมาสรรเสริญเราผู้

ล่อกแล่กด้วยคำไม่เป็นจริง   ขึ้นชื่อว่าลิงที่มี

หน้างาม       ท่านเคยได้ยินหรือเคยได้เห็นที่

ไหนมาบ้าง.

ดูก่อนหมองู   ท่านทำกรรมใดไว้กะเรา

กรรมนั้นยังปรากฏอยู่ในหัวใจของเราจนบัดนี้

ท่านเข้าไปยังร้านตลาดข้าวเปลือก      เมาสุรา

แล้ว   ติเราผู้กำลังหิวโหยถึงสามที.

เราระลึกถึงการนอนเป็นทุกข์     ณ   ที่

ตลาดนั้นได้    อนึ่ง   ถึงท่านจะยกราชสมบัติ

ให้เราครอบครอง      ถึงอย่างนั้น      ท่านขอ

มะม่วงเราแม้ผลเดียว    เราก็ไม่ให้   เพราะว่า

เราถูกท่านคุกคามให้กลัวเสียแล้ว.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 818

อนึ่ง   บัณฑิตรู้จักผู้ใดที่เกิดในตระกูล

เอิบอิ่มอยู่ในห้อง  ไม่มีความตระหนี่   ก็ควร

จะผูกความเป็นสหายและมิตรภาพกับผู้นั้น

ไว้ให้สนิท.

บรรดาบทเหล่านั้น    บทว่า    อลิก  ได้แก่    เหลวไหลหนอ.

บทว่า   อภูเตน   แปลว่า  ไม่มีอยู่.   บทว่า   โก   เต   แก้เป็น  กตฺถ

ตยา.    บทว่า   สุมุโข   แปลว่า  ผู้มีหน้างาม.    ลิงเรียกหมองูนั้นว่า

อหิตุณฑิกะ.   บาลีว่า   อหิคุณฺฑิก   ดังนี้ก็มี.   บทว่า  ฉาต   ได้แก่

ถูกความหิวครอบงำ   คือ   ทุรพล   กำพร้า.    บทว่า  หนาสิ  ได้แก่

ตีด้วยซี่ไม้ไผ่  ๓  ครั้ง.    บทว่า    ตาห    แยกเป็นศัพท์ว่า   ต  อห.

บทว่า   สร   แปลว่า   ระลึกถึงอยู่.   บทว่า  ทุกฺขเสยฺย   ได้แก่  นอน

เป็นทุกข์อยู่ที่ตลาดนั้น.   บทว่า   อปิ   รชฺชมฺปิ   การเย   ความว่า

ถ้าแม้ท่านจะเอาราชสมบัติในเมืองพาราณสีมาให้เรา  แล้วให้เราครอง

ราชสมบัติไซร้    แม้ถึงอย่างนั้น    เราผู้อันท่านอ้อนวอนขอก็จะไม่ให้

มะม่วงนั้น   คือ   เราถูกท่านขอก็จะไม่ให้มะม่วงสุกนั้นแม้แต่ผลเดียว.

เพราะเหตุไร  ?    เพราะเราถูกท่านคุกคามให้กลัวเสียแล้ว    อธิบายว่า

จริงอย่างนั้น  เราถูกท่านคุกดามด้วยความกลัว.   บทว่า  คพฺเภ   ติตฺต

ความว่า     ผู้อิ่มเอิบด้วยสุธาโภชน์อยู่เฉพาะในท้องมารดา      หรือใน

ห้องนอนที่ประดับและตกแต่งแล้ว         ชื่อว่าผู้ไม่จนเพราะหวังได้

โภคทรัพย์.  บทว่า  สขิญฺจ  มิตฺตญฺจ  ความว่า  บัณฑิตควรจะเชื่อม


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 819

คือเชื่อมต่อความเป็นเพื่อนและความเป็นมิตรกับบุคคลเห็นปานนี้

ผู้เกิดในตระกูล  ผู้เอิบอิ่ม  ไม่ยากจน  ไม่มีความตระหนี่  ก็ใครเล่าจะ

เชื่อมต่อความเป็นมิตรกับท่านผู้เป็นหมองูยากจน.

ก็แหละวานรครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว   ก็ผลุนผลันเข้าชัฏป่าไป.

พระศาสดา    ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว    จึงทรง

ประชุมชาดกว่า   หมองูในครั้งนั้น   ได้เป็นพระเถระแก่  ลิงในครั้งนั้น

ได้มาเป็นยามเณร   ส่วนพ่อค้าข้าวเปลือกในครั้งนั้น   ได้เป็นเราตถาคต

ฉะนี้แล.

จบ  อรรถกถาอหิตุณฑิกชาดกที่  ๕


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 820

๖. คุมพิยชาดก

เปรียบวัตถุกามเหมือนยาพิษ

[๗๗๘]  ยักษ์ชื่อคุมพิยะเที่ยวหาเหยื่อของตนอยู่

ได้วางยาพิษอันมีสี    กลิ่น    และรสเหมือน

น้ำผึ้งไว้ในป่า.

[๗๗๙]   สัตว์เหล่าใดมาสำคัญว่าน้ำผึ้ง   กินยาพิษ

นั้นเข้าไป   ยาพิษนั้นเป็นของร้ายแรงแก่สัตว์

เหล่านั้น  สัตว์เหล่านั้นต้องพากันเข้าถึงความ

ตาย  เพราะยาพิษนั้น.

[๗๘๐]   ส่วนสัตว์เหล่าใดพิจารณาดูรู้ว่าเป็นยาพิษ

แล้วละเว้นเสีย  สัตว์เหล่านั้น     เมื่อสัตว์ที่

บริโภคยาพิษเข้ากระสับกระส่ายอยู่   ถูกฤทธิ์

ยาพิษแผดเผาอยู่     ก็เป็นผู้มีความสุข    ดับ

ความทุกข์เสียได้.

[๗๘๑]  วัตถุกามทั้งหลายฝังอยู่ในมนุษย์   บัณฑิต

พึงทราบว่าเป็นยาพิษ     เหมือนกับยาพิษอัน

ยักษ์วางไว้ที่หนทางฉะนั้น     กามคุณนี้ชื่อว่า

เป็นเหยื่อของสัตว์โลก  และชื่อว่าเป็นเครื่อง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 821

ผูกมัดสัตว์โลกไว้   มฤตยูมีถ้ำคือร่างกายเป็น

ที่อยู่อาศัย.

[๗๘๒]   บัณฑิตเหล่าใดผู้มีความเร่าร้อน    ย่อม

ละเว้นกามคุณเหล่านี้      อันเป็นเครื่องบำรุง

ปรุงกิเลสเสียได้ในกาลทุกเมื่อ        บัณฑิต

เหล่านั้นนับว่า     ได้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง

ในโลกแล้ว  เหมือนกับผู้ละเว้นยาพิษที่ยักษ์

วางไว้ในหนทางใหญ่ฉะนั้น.

จบ  คุมพิยชาดกที่  ๖

อรรถกถาคุมพิยชาดกที่  ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่   ณ  พระวิหารเชตวัน   ทรงปรารภ

ภิกษุผู้กระสันจะสึก      จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้        มีคำเริ่มต้นว่า

มธุวณฺณ  มธุรส  ดังนี้.

ได้ยินว่า   พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า   ดูก่อนภิกษุ  ได้ยิน

ว่าเธอกระสันจะสึกจริงหรือ ?  เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า      จริงพระ-

เจ้าข้า. จึงตรัสถามว่า เพราะเห็นอะไร เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า เพราะ

เห็นมาตุคามผู้ประดับแต่งตัว   พระเจ้าข้า.  จึงตรัส ว่า   ดูก่อนภิกษุ  ขึ้น

ชื่อว่าเบญจกามคุณเหล่านั้น    เป็นเสมือนน้ำผึ้งที่ยักษ์ชื่อว่า   คุมพิยะ

ตนหนึ่งใส่น้ำผึ้งวางไว้ที่หนทาง   อันภิกษุนั้นทูลอาราธนาแล้ว  จึงทรง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 822

นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก    ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล        เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร

พาราณสี   พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลสัตถวาหะคือพ่อค้าเกวียน   พอ

เจริญวัย  จึงเอาเกวียน   ๕๐๐  เล่ม  บรรทุกสินค้าจากเมืองพาราณสีไป

เพื่อค้าขาย   บรรลุถึงประตูดงชื่อมหาวัตตนี    จึงให้พวกเกวียนประชุม

กันแล้วให้โอวาทว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย  ในหนทางนี้   มีใบไม้ดอกไม้

และผลไม้เป็นต้นมีพิษ   ท่านทั้งหลายเมื่อจะกินอะไรที่ไม่เคยกิน   ยัง

ไม่ได้ถามข้าพเจ้า   อย่าเพิ่งกิน  แม้พวกอมนุษย์ก็จะใส่ยาพิษวางห่อภัต

ชิ้นน้ำอ้อย     และผลไม้เป็นต้นไว้ในหนทาง     พวกท่านยังไม่ได้ถาม

ข้าพเจ้า   จงอย่ากินห่อภัตเป็นต้นแม้เหล่านั้น   ดังนี้แล้วก็เดินทางไป.

ครั้งนั้น   ยักษ์ตนหนึ่งชื่อว่าคุมพิยะลาดใบไม้วางก้อนน้ำอ้อย    ผสม

ยาพิษอย่างแรงไว้ในหนทาง  ในที่ท่ามกลางดง  ส่วนตนเองเที่ยวเคาะ

ต้นไม้ในที่ใกล้ทางทำที่หาน้ำผึ้งอยู่.    พวกคนที่ไม่รู้คิดว่า    เขาคงจะ

วางไว้เพื่อต้องการบุญ    จึงกินเข้าไปแล้วก็ถึงแก่ความสิ้นชีวิต.     พวก

อมนุษย์จึงพากันมากินคนเหล่านั้น      แม้มนุษย์ชาวเกวียนของพระ-

โพธิสัตว์เห็นสิ่งของเหล่านั้น  บางพวกมีสันดานละโมบ ไม่อาจอดกลั้น

ได้ก็กินเข้าไป    พวกที่มีชาติกำเนิดเป็นคนฉลาดคิดว่า     จักถามก่อน

แล้วจึงจะกิน    จึงได้ถือเอาไปแล้วยืนอยู่.    พระโพธิสัตว์เห็นชนเหล่า

นั้นแล้วจึงให้ทิ้งสิ่งของที่อยู่ในมือเสีย.   คนเหล่าใดกินเข้าไปก่อนแล้ว

คนเหล่านั้นก็ตายไป คนเหล่าใดกินเข้าไปครึ่งหนึ่ง พระโพธิสัตว์จึงให้

ยาสำรอกแก่คนเหล่านั้นแล้วได้ให้รสหวานสี่อย่าง     ในเวลาที่สำรอก


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 823

ออกแล้ว.   ดังนั้น    ชนเหล่านั้นจึงได้รอดชีวิตด้วยอานุภาพของพระ-

โพธิสัตว์นั้น     พระโพธิสัตว์ไปถึงที่ที่ปรารถนาโดยปลอดภัย     แล้ว

จำหน่ายสินค้า  ได้กลับมายังเรือนของตนตามเดิม.

พระศาสดาเมื่อจะตรัสเนื้อความนั้น  จึงได้ตรัสอภิสัมพุทธคาถา

คือคาถาที่ตรัสในเวลาที่ได้ตรัสรู้แล้วเหล่านี้ว่า :-

ยักษ์ชื่อคุมพิยะเที่ยวหาเหยื่อของตนอยู่

ด้วยวางยาพิษอันมีสี  กลิ่นและรสเหมือนน้ำผึ้ง

ไว้ในป่า.

สัตว์เหล่าใด    มาสำคัญว่าน้ำผึ้ง    กิน

ยาพิษนั้นเข้าไป     ยาพิษนั้นเป็นของร้ายแรง

แก่สัตว์เหล่านั้น   สัตว์เหล่านั้น   ต้องพากัน

เข้าถึงความตาย   เพราะยาพิษนั้น.

ส่วนสัตว์เหล่าใด  พิจารณาดูรู้ว่าเป็นยา

พิษแล้วละเว้นเสีย   สัตว์เหล่านั้น  เมื่อสัตว์

ที่บริโภคยาพิษเข้าไปกระสับกระส่ายอยู่  ถูก

ยาพิษแผดเผาอยู่     ตัวเองก็เป็นผู้มีความสุข

ดับความทุกข์ได้เสีย.

วัตถุกามทั้งหลายฝังอยู่ในมนุษย์  บัณฑิต

พึงทราบว่าเป็นยาพิษ   เหมือนยาพิษอันยักษ์


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 824

วางไว้ที่หนทางฉะนั้น     กามคุณนี้นับว่าเป็น

เหยื่อของสัตว์โลก   และนับว่าเป็นเครื่องผูก

มัดสัตว์โลกไว้    มฤตยูมีถ้ำคือร่างกายเป็นที่

อยู่อาศัย.

บัณฑิตเหล่าใดผู้มีความร้อนใจ ย่อมละ

เว้นกามคุณเหล่านี้อันเป็นเครื่องบำรุงปรุง-

กิเลสเสียได้ในกาลทุกเมื่อ  บัณฑิตเหล่านั้น

นับว่า        ได้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องในโลก

แล้ว    เหมือนกับผู้ละเว้นยาพิษที่ยักษ์วางไว้

ในหนทางใหญ่ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  คุมฺพิโย ได้แก่  ยักษ์ผู้ได้ชื่ออย่าง

นั้น   เพราะเที่ยวไปในพุ่มไม้ในป่านั้น.   บทว่า  ฆาสเมสาโน   ได้แก่

ผู้แสวงหาเหยื่อของตนอยู่อย่างนี้ว่า    เราจักกินคนที่กินยาพิษนั้นตาย.

บทว่า   โอทหี ความว่า วางยาพิษนั้นอันมีสี  กลิ่น และรส  เสมอด้วย

น้ำผึ้ง.   บทว่า   กฎุก   อาสิ   ความว่า  ได้เป็นยาพิษร้ายแรง.  บทว่า

มรณ   เตนุปาคมุ    ความว่า    สัตว์เหล่านั้นเข้าถึงความตายเพราะยา

พิษนั้น. บทว่า อาตุเรสุ   ได้แก่  ผู้จวนจะตายเพราะกำลังยาพิษ. บทว่า

ทยฺหมาเนสุ   ได้แก่   ผู้อันเดชของยาพิษนั้นแหละแผดเผาอยู่.  บทว่า

วิสกามา  สโมหิตา ความว่า  แม้ในจำพวกมนุษย์  วัตตุกาม  ๕  มีรูป

เป็นต้นนี้นั้นและฝัง  คือ  วางอยู่ในที่นั้น ๆ วัตถุกาม ๕ นั้นพึง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 825

ทราบว่าเป็นยาพิษ   เหมือนยาพิษที่ยักษ์ฝัง   คือวางใว้ในหนทางใหญ่

ในดงวัตตทีนั้น ฉะนั้น.บทว่า อามิส  พนฺธนญฺเจต  ความว่า  ธรรมดา

ว่ากามคุณห้านี้   ชื่อว่าเป็นเหยื่ออันนายพรานเบ็ดคือมารใส่ล่อชาวโลก

ผู้เป็นสัตว์ที่มีอันจะต้องตายเป็นสภาวะนี้  และชื่อว่าเป็นเครื่องจองจำมี

ประการต่าง ๆ   มีชื่อเป็นต้นเป็นประเภท   เพราะไม่ยอมให้ออกไปจาก

ภพน้อยภพใหญ่   ด้วยประการอย่างนี้.   บทว่า   มจฺจุวโส  คุหาสโย

ความว่า   ความตายชื่อว่า   มัจจุวสะ     เพราะมีถ้ำคือร่างกายเป็นที่อยู่.

บทว่า   เอวเมว   อิเม   กาเม  ได้แก่    กามเหล่านั้นที่ฝั่งอยู่ในร่างกาย

นั้น ๆ       เหมือนยาพิษที่ยักษ์วางไว้ในหนทางใหญ่ในดงชื่อว่าวัตตนี

ฉะนั้น.   บทว่า   อาตุรา   ความว่า     มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตใกล้จะตาย

ชื่อว่าผู้ร้อนใจกระสับกระส่าย      เพราะมีความตายโดยแท้.      บทว่า

ปริจาริเก   ได้แก่   บำเรอกิเลส   คือผูกมัดกิเลสไว้    บทว่า  เย  สทา

ปริวชฺชนฺติ      ความว่า    มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตเหล่าใดผู้มีประการยัง

กล่าวแล้ว   งดเว้นกามทั้งหลายเห็นปานนี้    ได้เป็นนิจ.   บทว่า   สงฺค

โลเก     ได้แก่    กิเลสชาตชนิดราคะเป็นต้น    ซึ่งได้นามว่าเครื่องข้อง

เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องข้องอยู่ในโลก.   บทว่า   อุปจฺจคา   ความว่า

บัณฑิตเหล่านั้นพึงทราบว่า       ชื่อว่าผู้ล่วงไปได้แล้ว     อีกอย่างหนึ่ง

อธิบายว่า   ย่อมก้าวล่วงไป.

พระศาสดา   ครั้นทรงประกาศสัจจะแล้ว     จึงทรงประชุมชาดก.

ในเวลาจบสัจจะ  ภิกษุผู้กระสันจะสึกดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.    พ่อค้า

เกวียนในครั้งนั้น  ได้เป็นเราตถาคต  ฉะนี้แล.

จบ  อรรถกถาคุมพิยชาดกที่  ๖


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 826

๗.  สาลิยชาดก

ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว

[๗๘๓]  ผู้ใดลวงให้เราจับงูเห่าว่า       นี่ลูกนก

สาลิกา  ผู้นั้นตามพร่ำสอนสิ่งที่ลามก    ถูกงู

นั้นกัดตายแล้ว.

[๗๘๔]     คนใดปรารถนาจะฆ่าบุคคลผู้ไม่ฆ่าเอง

และผู้ไม่ใช้คนอันให้ฆ่าตน      คนนั้นถูกฆ่า

แล้วนอนตายอยู่     เหมือนกับบุรุษผู้ถูกงูกัด

ตายแล้วฉะนั้น.

[๗๘๕]   คนใดปรารถนาจะฆ่าบุคคลผู้ไม่เบียด-

เบียนตน   และไม่ฆ่าตน    คนนั้นถูกฆ่าแล้ว

นอนตายอยู่ เหมือนกับบุรุษถูกงูกัดตายแล้ว

ฉะนั้น.

[๗๘๖]  บุรุษผู้กำฝุ่นไว้ในมือ  พึงซัดฝุ่นไปในที่

ทวนลม   ละอองฝุ่นนั้น   ย่อมหวนกลับมา

กระทบบุรุษนั้นเอง    เหมือนบุรุษถูกงูกัดตาย

แล้วฉะนั้น.

[๗๘๗]  ผู้ใดประทุษร้ายผู้ไม่ประทุษร้ายตน  เป็น

คนบริสุทธิ์  ไม่มีความผิดเลย  บาปย่อมกลับ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 827

มาถึงคนพาลผู้นั้นเอง  เหมือนกับละอองละ-

เอียดที่บุคคลซัดไปทวนลมฉะนั้น.

จบ  สาลิยชาดกที่  ๗

อรรถกถาสาลิยชาดกที่  ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่  ณ พระวิหารเชตวัน     ทรงปรารภ

คำว่า   ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย  พระเทวทัตไม่อาจเพื่อแม้จะกระทำความ

สะดุ้งแก่พระพุทธองค์ได้    จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้    มีคำเริ่มต้นว่า

ยฺวาย   สาลิยจฺฉาโป   ดังนี้.

จริงอยู่    ในครั้งนั้น   พระศาสดาตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มิใช่บัดนี้เท่านั้น    แม้ในกาลก่อน    พระเทวทัตนี้ก็ไม่อาจเป็นผู้แม้จะ

กระทำความสะดุ้งแก่เราได้  แล้วทรงนำเอาเรื่องในยินดีมาสาธก  ดังต่อ

ไปนี้ :-

ในอดีตกาล   เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี     พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในตระกูลกุฎุมพีในหมู่บ้าน     ใน

คราวมีอายุยังน้อย   เล่นอยู่ที่โคนตนไทรใกล้ประตูบ้านกับพวกเด็กที่

เล่นฝุ่นกัน.   ครั้งนั้นมีหมอทุรพลคนหนึ่ง  ไม่ได้การงานอะไรในบ้าน

จึงออกไปถึงที่นั้น  เห็นงูตัวหนึ่งนอนหลับโผล่หัวออกมาจากระหว่างค่า

คบไม้   จึงคิดว่า   เราไม่ได้อะไรในบ้าน    เราจักลวงเด็กพวกนี้ให้งูกัด

เเล้วเยียวยารักษา     คงจะได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งทีเดียว    จึงได้กล่าวกะพระ-

โพธิสัตว์ว่า  ถ้าเธอจะพบลูกนกสาลิกา  เธอจะจับเอาไหม.  พระโพธิ-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 828

สัตว์กล่าวว่า  จ้ะ  ฉันจะจับเอา.    หมอกล่าวว่า   จงดู  นั่นลูกนกสาลิกา

มันนอนอยู่ระหว่างค่าคบไม้.   พระโพธิสัตว์นั้นไม่รู้ว่านั้นเป็นงู     จึงขึ้น

ไปยังต้นไม้   จับที่คอมัน    พอรู้ว่าเป็นงูจึงไม่ให้มันหดเข้าไป    จับไว้

มั่นแล้วรีบเหวี่ยงไป.     งูนั้นปลิวไปตกลงที่คอหมอ   รัดคออยู่กัดเสียง

ดังกรุ๊บ ๆ ทำให้หมอนั้นล้มลงตรงที่นั้นแล้วเลื้อยหนีไป.   คนทั้งหลาย

พากันห้อมล้อม.      พระมหาสัตว์เมื่อจะแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ประชุม

พร้อมกันอยู่   จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

ผู้ใดลวงให้เราจับงูเห่าว่า         นี่ลูกนก

สาลิกา   ผู้นั้นตามพร่ำสอนสิ่งที่ลามก    ถูกงู

นั้นกัดตายแล้ว.

คนใดปรารถนาจะฆ่าบุคคลผู้ไม่ฆ่าเอง

และผู้ไม่ใช้ให้คนอื่นฆ่าตน  คนนั้นถูกฆ่าแล้ว

นอนตายอยู่.      เหมือนกับบุรุษผู้ถูกงูกัดตาย

แล้วฉะนั้น.

คนใดปรารถนาจะฆ่าบุคคลผู้ไม่เบียด-

เบียนตน   และไม่ฆ่าตน    คนนั้นถูกฆ่าแล้ว

นอนตายอยู่      เหมือนกับบุรุษผู้ถูกงูกัดตาย

แล้วฉะนั้น.

บุรุษผู้กำฝุ่นไว้ในมือ    พึงซัดฝุ่นไปใน


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 829

ที่ทวนลม     ละอองฝุ่นนั้นย่อมหวนกลับมา

กระทบบุรุษนั้นเอง  เหมือนบุรุษผู้ถูกงูกัดตาย

แล้วฉะนั้น.

ผู้ใดประทุษร้ายคนผู้ไม่ประทุษร้ายเป็น

คนบริสุทธิ์   ไม่มีความผิดเลย  บาปย่อมกลับ

มาถึงคนพาลนั้นเอง    เหมือนกับละอองละ-

เอียดที่บุคคลซัดไปทวนลมฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น    บทว่า   ยฺวาย   ตัดเป็น   โย   อย.  อีก

อย่างหนึ่ง   บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.   บทว่า   สปฺเปนย   ความว่า   ผู้

นี้ใด  ถูกงูนั้นกัดแล้ว.   บทว่า  ปาปานุสาสโก    แปลว่า   ผู้พร่ำสอน

สิ่งที่ลามก.  บทว่า  อหนฺตร   แปลว่า   ผู้ไม่ฆ่าเอง.   บทว่า   อหนฺตาร

แปลว่า  ผู้ไม่ให้คนอื่นฆ่า.   บทว่า  เสติ  ได้แก่  ย่อมนอนตาย.  บทว่า

อฆาเตนฺต   แปลว่า  ไม่ใช้ให้คนอื่นฆ่า.     บทว่า   สุทฺธสฺส   ได้แก่

ผู้ไม่มีความผิด.    บทว่า  โปสสฺส   ได้แก่  สัตว์.   แม้คำนี้ว่า  อนงฺค-

ณสฺส  ท่านกล่าวหมายเอาความเป็นผู้ไม่มีความผิดเหมือนกัน.  บทว่า

ปจฺเจติ   ความว่า   ย่อมกลับถึงเป็นสิ่งที่เห็นสมกับกรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว  จึงทรง

ประชุมชาดกว่า   หมอทุรพลในครั้งนั้น  ได้เป็นพระเทวทัต    ส่วนเด็ก

ที่เป็นบัณฑิต   คือเราตถาคต   ฉะนี้แล.

จบ  อรรถกถาสาลิยชาดกที่  ๗


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 830

๘. ตจสารชาดก

คนฉลาดย่อมไม่แสดงอาการให้ศัตรูเห็น

[๗๘๘]   พวกเจ้าตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู   ถูก

เขาจองจำด้วยท่อนไม้ไผ่แล้ว       ยังเป็นผู้มี

สีหน้าผ่องใส       เพราะเหตุไรพวกเจ้าจึงไม่

เศร้าโศกเล่า.

[๗๘๙]     บุคคลไม่พึงได้ความเจริญแม้แต่เล็ก

น้อย    ด้วยความเศร้าโศกและความร่ำรำพัน

พวกศัตรูรู้ว่าบุคคลนั้นเศร้าโศก  ได้รับความ

ทุกข์   ย่อมดีใจ.

[๗๙๐]   ส่วนบัณฑิตผู้ฉลาดในการวินิจฉัยความ

ย่อมไม่สะทกสะท้าน      เพราะอันตรายที่จะ

เกิดขึ้นไม่ว่าเมื่อไร  พวกศัตรูได้เห็นหน้าของ

บัณฑิตนั้น อันไม่เปลี่ยนแปลง  เป็นเหมือน

แต่ก่อนย่อมเกิดความทุกข์.

[๗๙๑]  บุคคลจะพึงได้ประโยชน์ในที่ใด   ด้วย

ประการใด ๆ เช่นการร่ายมนต์   การปรึกษาผู้รู้

การกล่าววาจาอ่อนหวาน   การให้สินบน  หรือ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 831

การสืบวงศ์ตระกูล   พึงพากเพียรทำประโยชน์

ในที่นั้น   ด้วยประการนั้น  ๆ  เถิด.

[๗๙๒]   ก็ในกาลใด  บัณฑิตพึงรู้ว่า  ประโยชน์

นี้เราหรือคนอื่นไม่พึงได้รับ  ในกาลนั้น   ก็ไม่

ควรเศร้าโศก    ควรอดกลั้นไว้ด้วยคิดเสียว่า

กรรมเป็นของมั่นคง     บัดนี้   เราจะกระทำ

อย่างไรดี.

จบ  ตจสารชาดกที่  ๘

อรรถกถาตจสารชาดกที่  ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่  ณ   พระวิหารเชตวัน     ทรงปรารภ

ปัญญาบารมี    จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้    มีคำเริ่มต้นว่า   อมิตฺตหตฺ-

ถตฺถคตา  ดังนี้.

จริงอยู่   ในกาลนั้น  พระศาสดาตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มิใช่บัดนี้เท่านั้น    แม้ในกาลก่อนตถาคตก็เป็นผู้มีปัญญา    ฉลาดใน

อุบายเหมือนกัน    อันภิกษุเหล่านั้นทูลอาราชนาแล้ว    จึงทรงนำเอา

เรื่องในอดีตมาสาธก   ดังต่อไปนี้ :-

เรื่องอดีตทั้งปวงซึ่งมีคำเริ่มว่า      ในอดีตกาล      เมื่อพระเจ้า

พรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี  พระโพธิสัตว์บังเกิดใน

ตระกูลกุฎุมพีในหมู่บ้าน      ดังนี้ไปพึงกล่าวตามทำนองชาดกแรกนั่น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 832

แหละ.  ก็ในชาดกนี้เมื่อหมอตายแล้ว  ชาวบ้านกล่าวว่า.  เด็กเหล่านั้น

เป็นผู้ฆ่ามนุษย์      จึงจองจำเด็กเหล่านั้นด้วยไม้ตะโหงกแล้วนำไปยัง

นครพาราณสีด้วยหวังใจว่า     จักถวายพระราชาทอดพระเนตร.    ใน

ระหว่างทางนั่นแล      พระโพธิสัตว์ได้ให้โอวาทแก่พวกเด็กที่เหลือว่า

ท่านทั้งหลายอย่ากลัว    ท่านทั้งหลายเฝ้าพระราชาแล้วก็อย่ากลัว    พึง

เป็นผู้มีอินทรีย์ร่าเริง  พระราชาจักตรัสกับพวกเราก่อน  จำเดิมแต่นั้น

เราจักรู้.     เด็กเหล่านั้นรับคำว่าได้     แล้วจึงกระทำเหมือนอย่างนั้น.

พระราชาทรงเห็นเด็กเหล่านั้นไม่กลัว    มีอินทรีย์ร่าเริง    ทรงดำริว่า

เด็กเหล่านั้นถูกหาว่าเป็นผู้ฆ่าคนถูกจำด้วยไม้ตะโหงกนำมา      แม้จะถึง

ความทุกข์เห็นปานนี้ก็ไม่กลัว  มีอินทรีย์ร่าเริงยินดีทีเดียว  อะไรหนอ

เป็นเหตุไม่เศร้าโศกของเด็กพวกนี้       เราจักถามพวกเขาดู       เมื่อจะ

ตรัสถาม   จึงตรัสคาถาที่  ๑  ว่า  :-

พวกเจ้าตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู  ถูก

เขาจองจำด้วยท่อนไม้ไผ่     ยังเป็นผู้มีสีหน้า

ผ่องใส    เพราะเหตุไรพวกเจ้าจึงไม่เศร้าโศก

เล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น     บทว่า   อมิตฺตหตฺถตฺถคตา   ความว่า

อยู่ในเงื้อมมือของพวกอมิตรผู้เอาไม้ตะโหงกจำที่คอแล้วนำมา.   บทว่า

ตจสารสมปฺปิตา  ความว่า  พระราชาตรัสอย่างนี้   เพราะเด็กเหล่านั้น

ถูกจองจำด้วยท้อนไม้ไผ่.    บทว่า    กสฺมา    ความว่า   พระราชาตรัส


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 833

ถามว่า    พวกเจ้าแม้ได้รับความพินาศเห็นปานนี้   เพราะเหตุไรจึงไม่

เศร้าโศก.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น    จึงได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า

บุคคลไม่พึงได้ความเจริญแม้แต่เล็ก

น้อย       ด้วยความเศร้าโศกและความร่ำไห้

พวกศัตรูรู้ว่าบุคคลนั้นเศร้าโศก   ได้รับความ

ทุกข์  ย่อมจะดีใจ.

ส่วนบัณฑิตผู้ฉลาดในการวินิจฉัยความ

ย่อมไม่สะทกสะท้านเพราะอันตรายที่จะเกิด

ขึ้นไม่ว่าเมื่อไร   พวกศัตรูได้เห็นหน้าบัณฑิต

นั้น   อันไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเหมือนแต่ก่อน

ย่อมเกิดความทุกข์.

บุคคลพึงได้ประโยชน์ในที่ใด     ด้วย

ประการใด   เช่น    การร่ายมนต์   การปรึกษา

ท่านผู้รู้     การกล่าววาจาอ่อนหวาน    การให้

สินบน     หรือการสืบวงศ์ตระกูล   บัณฑิต

พึงพากเพียรทำประโยชน์ในที่นั้น       ด้วย

ประการนั้น  ๆ  เถิด.

ก็ในกาลใด    บัณฑิตพึงรู้ว่าประโยชน์

นี้เราหรือคนอื่นไม่พึงได้รับ   ในกาลนั้น   ก็


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 834

ไม่ควรเศร้าโศก    ควรอดกลั้นไว้ด้วยคิดเสีย

ว่ากรรมเป็นของมั่นคง       บัดนี้เราจะกระทำ

อย่างไรดี.

บรรดาบทเหล่านั้น    บทว่า   อตฺโถ   ได้แก่    ความเจริญ.

ด้วยบทว่า   ปจฺจตฺถิกา   อตฺตมนา   นี้    ท่านแสดงว่า  พวกปัจจามิตร

รู้ว่าบุรุษนั้นเศร้าโศก   มีทุกข์   ย่อมจะดีใจ   บัณฑิตไม่ควรต่ำชื่อซึ่ง

เหตุแห่งความยินดีของพวกปัจจามิตรนั้น.   บทว่า   ยโต     แปลว่า

ในกาลใด.   บทว่า   น   เวธติ   ความว่า  ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความ

กลัวอันเกิดจากความสะดุ้งแห่งจิต.   บทว่า   อตฺถวินิจฺฉยญฺญู   ได้แก่

ผู้ฉลาดวินิจฉัยอรรถคดีนั้น ๆ.   บทว่า   ชปฺเปน   แปลว่า    ด้วยการ

ร่ายมนต์.   บทว่า   มนฺเตน  ได้แก่   ด้วยการถือเอาความคิดกับบัณฑิต

ทั้งหลาย.   บทว่า   สุภาสิเตน    ได้แก่   ด้วยคำพูดอันน่ารัก.    บทว่า

อนุปฺปทาเนน  ได้แก่   ด้วยการให้สินบน.   บทว่า  ปเวณิยา  ได้แก่

ด้วยตระกูลวงศ์.   ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า  ข้าแต่มหาราช   ธรรมดา

บัณฑิต    เมื่ออันตรายเกิดขึ้น    ไม่ควรเศร้าโศก    ไม่ควรลำบากใจ

ก็บุคคลพึงชนะพวกปัจจามิตรได้ด้วยอำนาจเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง  ใน

บรรดาเหตุ  ๕  ประการนี้   ก็ถ้าอาจทำได้ไซร้    พึงร่ายมนต์ผูกปากไว้

ไม่ให้พูด    ก็จะพึงชนะพวกปัจจามิตรนั้นได้     บัณฑิตเมื่อไม่อาจทำ

อย่างนั้น   พึงให้สินบนแก่พวกอำมาตย์ผู้ตัดสินความ   ก็จะพึงชนะได้

เมื่อไม่อาจทำอย่างนั้น    พึงพูดถึงวงศ์ตระกูล    แม้จะลำดับญาติที่มีอยู่

อย่างนี้ว่า  พวกข้าพเจ้ามาจากเชื้อสายชื่อโน้น  และบรรพบุรุษของ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 835

ท่านก็เป็นอันเดียวกัน  ก็พึงชนะได้เหมือนกัน.   บทว่า   ยถา  ยถา

ความว่า      บุคคลพึงได้ความเจริญแห่งตนในที่ใด ๆ   ด้วยเหตุอย่างใด

อย่างหนึ่ง   ในบรรดาเหตุ  ๕  ประการนี้.  บทว่า   ตถา  ตถา  ความว่า

พึงพากเพียรในที่นั้น ๆ   ด้วยเหตุนั้น ๆ.   อธิบายว่า   พึงทำความบาก

บั่นจนชนะพวกข้าศึก.   บทว่า   ยโต    จ   ชาเนยฺย  ความว่า   ก็ใน

กาลใด   บัณฑิตพึงรู้ว่า   ประโยชน์นี้อันเราหรือคนอื่นก็ตามไม่ควรได้

แม้จะพยายามโดยประการต่าง ๆ  ก็ไม่อาจได้แม้ในกาลนั้น   บุรุษผู้เป็น

บัณฑิตก็ไม่เสียใจ    ไม่ลำบากใจ   พึงอดกลั้นไว้ด้วยคิดเสียว่า    กรรม

ที่เราทำไว้ในปางก่อน   เหนียวแน่น  มั่นคง  ไม่อาจจะห้ามได้    เดี๋ยวนี้

เราจะสามารถทำอะไรได้.

พระราชาได้สดับธรรมกถาของพระโพธิสัตว์   แล้วทรงสะสาง

การกระทำด้วยพระองค์เอง   ทรงทราบว่าพวกเด็กไม่มีโทษผิด   จึงรับ

สั่งให้นำไม้ตะโหงกออก   แล้วพระราชทานยศยิ่งใหญ่แก่พระมหาสัตว์

แล้วได้ทรงกระทำให้เป็นอำมาตย์แก้วอนุศาสก์อรรถธรรมแก่พระองค์

พระศาสดา   ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  ทรงประ-

ชุมชาดกว่า.   พระเจ้าพาราณสีในครั้นนั้น   ได้เป็นพระอานนท์   พวก

เด็ก ๆ ในครั้งนั้น     ได้เป็นพระเถรานุเถระ     ส่วนเด็กผู้เป็นบัณฑิต

ใดครั้งนั้น   ได้เป็นเราตถาคต   ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาตจสารชาดกที่  ๘


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 836

๙.  มิตตวินทุกชาดก

ว่าด้วยจักรกรดพัดบนหัว

[๗๙๓]     ข้าพเจ้าได้กระทำอะไรไว้แก่เทวดาทั้ง

หลาย      ข้าพเจ้าได้กระทำบาปกรรมอะไรไว้

จักรกรดจึงได้มากระทบศีรษะของข้าพเจ้าพัด

อยู่บนกระหม่อม.

[๗๙๔]   ท่านล่วงเลยปราสาทแก้วผลึก  ปราสาท

แก้วมณี   ปราสาทเงินและปราสาททอง  แล้ว

มาในที่นี้เพราะเหตุอะไร.

[๗๗๕]    เชิญท่านดูข้าพเจ้าผู้ถึงความฉิบหาย

เพราะความสำคัญเช่นนี้ว่า  โภคสมบัติในที่นี้

เห็นจะมีมากกว่าโภคสมบัติในปราสาททั้งสี่

นั้น.

[๗๙๖]   ท่านละทิ้งนางเวมานิกเปรต  ๔   มาได้

นางเวมานิกเปรต  ๘  ละทิ้งนางเวมานิกเปรต

๘  มาได้นางเวมานิกเปรต  ๑๖   ละทิ้งนางเว-

มานกเปรต  ๑๖  มาได้นางเวมานิกเปรต  ๓๒

ปรารถนาไม่รู้จักพอ   มายินดีจักรกรด   จักร-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 837

กรดจึงพัดอยู่บนกระหม่อมของท่าน    ผู้ถูก

ความปรารถนาครอบงำไว้.

[๗๙๗]    อันธรรมดาตัณหาเป็นสิ่งที่กว้างขวางอยู่

ณ  เบื้องบน   ให้เต็มได้ยาก   มักเป็นไปตาม

อำนาจของความปรารถนา   เพราะฉะนั้น  ชน

เหล่าใดมีกำหนัดยินดีตัณหานั้น  ชนเหล่านั้น

จึงต้องเป็นผู้ทูนจักรกรดไว้.

จบ  มิตตวินทุกชาดกที่  ๙

อรรถกถามิตตวินทุกชาดกที่  ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่  ณ พระวิหารเชตวัน    ทรงปรารภ

ภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง   จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้   มีคำเริ่มต้นว่า   กฺยาห

เทวานมกร  ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้งในมหามิตตวินทุกชาดก.   ก็นายมิตตวิน-

ทุกะนี้ถูกเขาโยนทิ้งในทะเล   แล้วได้ไปพบนางเวมานิกเปรตแห่งหนึ่ง

๔  นาง    แห่งหนึ่ง ๘ นาง    แห่งหนึ่ง   ๑๖ นาง    แห่งหนึ่ง ๓๒  นาง

ก็ยังเป็นผู้ปรารถนายิ่งขึ้นไม่รู้จักพอ     จึงเป็นต่อไปข้างหน้า    ได้พบ

อุสสุทนรกอันเป็นสถานที่เสวยวิบากของพวกสัตว์นรก      จึงได้เข้าไป

ด้วยสำคัญว่า     เป็นเมือง ๆ  หนึ่ง   เห็นจักรกรดพัดอยู่บนหัวสัตว์นรก

สำคัญว่าเป็นเครื่องประดับ  จึงยินดีชอบใจจักรกรด  อ้อนวอนขอได้มา.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 838

คราวนั้น  พระโพธิสัตว์เป็นเทวบุตรเที่ยวจาริกไปในอุสสุทนรก.  นาย

มิตตวินทุกะนั้นเห็นพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว   เมื่อจะถาม    จึงกล่าวคาถา

ที่  ๑   ว่า :-

ข้าพเจ้าได้กระทำอะไรไว้แก่เหล่าเทวดา

บาปอะไรที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้    จักรกรดจึง

ได้มากระทบศีรษะของข้าพเจ้าแล้วพัดอยู่บน

กระหม่อม.

บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า   กฺยาห   เทวานมกร   ความว่า

ข้าแต่เทพบุตรผู้เป็นนาย     ข้าพเจ้าได้กระทำกรรมชื่ออะไรไว้ แก่เหล่า

เทพดา   เหล่าเทพดาเบียดเบียนข้าพเจ้าทำไม.      บทว่า   กึ   ปาป

ปกต   มยา   ความว่า  นายมิตตวินทุกะได้รับทุกขเวทนา    กำหนด

บาปที่คนทำไว้ไม่ได้   เพราะมีทุกข์มาก  จึงได้กล่าวอย่างนั้น.    บทว่า

ย   เม   ความว่า   จักรกรดนี้จรดคือกระทบศีรษะข้าพเจ้า    แล้วหมุน

อยู่บนกระหม่อมขอข้าพเจ้า   เพราะบาปใด    บาปนั้นชื่ออะไร ?

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น   จึงกล่าวคาถาที่  ๒   ว่า :-

ท่านล่วงเลยปราสาทแล้วผลึก    ปรา-

สาทแก้วมณี  ปราสาทเงิน  และปราสาททอง

แล้วมาที่นี้เพราะเหตุอะไร ?

บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า  รมณภ  ได้แก่  ปราสาทแก้วผลึก.

บทว่า  ทุพฺพก  ได้แก่  ปราสาทแก้วมณี.  บทว่า  สทามตฺต  ได้แก่


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 839

ปราสาทเงิน.   บทว่า   พฺรหฺมตรญฺจ   ปาสาท  ได้แก่   ปราสาททอง.

บทว่า  เกนฏฺเน  ความว่า   ท่านละนางเทพธิดาเหล่านี้  คือ  เทพธิดา

๔ นาง   ๘ นาง   ๑๖ นาง   และ ๓๒ นาง    ในปราสาทแก้วผลึกเป็น

ต้นเหล่านี้    แล้วก้าวล่วงปราสาทเหล่านั้นมาที่นี้    เพราะเหตุอะไร  ?

ลำดับนั้น   นายมิตตวินทุกะกล่าวคาถาที่  ๓ ว่า :-

เชิญท่านดูข้าพเจ้าผู้ถึงความฉิบหาย

เพราะความสำคัญนี้ว่า       โภคสมบัติในที่นี้

เห็นจะมีมากกว่าโภคสมบัติในปราสาททั้งสี่

นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า   อิโต   พหุตรา   ความว่า     จักมี

เหลือเฟือกว่าโภคสมบัติในปราสาททั้งสี่นี้.

ลำดับนั้น   พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า  :-

ท่านละทิ้งนางเวมานิกเปรต  ๔   มาได้

นางเวมานิกเปรต  ๘   ละทิ้งนางเวมานิกเปรต

๘   มาได้นางเวมานิกเปรต  ๑๖   ละทิ้งนางเว-

มานิกเปรต   ๑๖  มาได้นางเวมานิกเปรต   ๓๒

ยังปรารถนายิ่งขึ้นไม่รู้จักพอ     มายินดีจักร-

กรด     จักรกรดจึงพัดอยู่บนกระหม่อมของ

ท่านผู้ถูกความปรารถนาครอบงำ.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 840

อันธรรมดาตัณหาเป็นสิ่งที่กว้างขวางอยู่

ในเบื้องบน  ให้เต็มได้ยาก    มักเป็นไปตาม

อำนาจของความปรารถนา   เพราะฉะนั้น  ชน

เหล่าใดมากำหนัดยินดีตัณหานั้น     ชนเหล่า

นั้นจึงต้องเป็นผู้ทูนจักรกรดไว้.

ด้วยบทว่า   อุปริ   วิสาลา   นี้    ในคาถานั้น     พระโพธิสัตว์

กล่าวว่า   ดูก่อนมิตตวินทุกะ   ขึ้นชื่อว่าตัณหานี้    เมื่อบุคคลส้องเสพอยู่

ย่อมเป็นของกว้างขวางอยู่เบื้องบน   คือเป็นของแผ่ไป   ธรรมดาตัณหา

ให้เต็มได้โดยยาก   เสมือนมหาสมุทร  มีปกติไปตามอำนาจความอยาก

ได้    คือความปรารถนาซึ่งอยากได้อารมณ์นั้น ๆ    ในบรรดารูปารมณ์

เป็นต้น   เพราะฉะนั้น   คนเหล่าใดมากำหนัดยินดีตัณหานั้นคือเห็น

ปานนั้น  คือเป็นผู้อยากได้แล้ว ๆ เล่า ๆ ยึดถืออยู่.   บทว่า  เต  โหนฺติ

จกฺกธาริโน   ความว่า  ชนเหล่านั้นย่อมทูนจักรกรดนั้นไว้.

ก็นายมิตตวินทุกะกำลังพูดอยู่นั่นแหละ  จักรแม้นั้นก็พัดกดลง

ไป   ด้วยเหตุนั้น    เขาจึงไม่อาจจะกล่าวอีกต่อไป.     เทพบุตรจึงไปยัง

เทวสถานของตนทีเดียว.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว     ทรง

ประชุมชาดกว่า    นายมิตตวินทุกะในครั้งนั้น    ได้มาเป็นภิกษุว่ายาก

ส่วนเทพบุตรในครั้งนั้น   ได้เป็นเราตถาคต   ฉะนี้แล.

จบ  อรรถกถามิตตวินทุกชาดกที่  ๙


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 841

๑๐. ปลาสชาดก

ว่าด้วยเหตุที่จะต้องหนีจากไป

[๗๙๘]   พระยาหงส์ได้กล่าวกะปลาสเทวดาว่า

ดูก่อนสหาย    ต้นไทรเกิดติดอยู่ที่ค่าคบของ

ท่านแล้ว      มันเจริญขึ้นแล้ว     จะตัดสิ่งอัน

เป็นที่รักของท่านเสีย.

[๗๙๙]   ข้าพเจ้าจะเป็นที่พึ่งทำต้นไทรให้เจริญ

ขึ้น     ต้นไทรนี้จักเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า

เหมือนมารดาบิดาเป็นที่พึ่งของบุตรแล้ว

บุตรกลับเป็นที่พึ่งของมารดาบิดาฉะนั้น.

[๘๐๐]    มหาใดท่านจึงให้ต้นไม้ที่น่าหวาดเสีย

ดุจข้าศึก   เจริญขั้นอยู่ที่ด่าคบ      เหตุนั้น

ข้าพเจ้าบอกท่านแล้วจะไป    ความเจริญแห่ง

ต้นไทรนั้นข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย.

[๘๐๑]   บัดนี้   ต้นไทรนี้ทำให้เราหวาดเสียว  ภัย

อันใหญ่หลวงได้มาถึงเรา     เพราะไม่รู้สึกถึง

คำของพระยาหงส์อันใหญ่หลวง        ซึ่งควร

เปรียบด้วยขุนเขาสิเนรุราช.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 842

[๘๐๒]   ผู้ใดเมื่อกำลังเจริญอยู่       กระทำที่พึ่ง

อาศัยให้พินาศไปเสีย    ความเจริญของผู้นั้น

ท่านผู้ฉลาดไม่สรรเสริญ   นักปราชญ์รังเกียจ

ความพินาศ    จึงเพียรพยายามเพื่อจะตัดราก

เหง้าของอันตรายนั้นเสีย.

จบ  ปลาสชาดกที่   ๑๐

อรรถกถาปลาสชาดกที่  ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่   ณ  พระวิหารเชตวัน   ทรงปรารภ

การข่มกิเลส      จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้      มีคำเริ่มต้นว่า     หโส

ปลาสมวจ   ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้งในปัญญาสชาดก.      ส่วนในชาดกนี้

พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ขึ้นชื่อว่ากิเลสควรจะรังเกียจแท้      กิเลสแม้จะมีประมาณน้อยก็ทำให้

ถึงความพินาศได้เหมือนหน่อต้นไทร.      แม้โบราณกบัณทิตทั้งหลาย

ก็รังเกียจสิ่งที่ควรรังเกียจมาแล้วเหมือนกัน  ครั้นตรัสแล้ว  ทรงนำเอา

เรื่องในอดีตมาสาธก   ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี      พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดหงส์ทอง       เจริญวัยแล้ว

อยู่ในถ้ำทอง    ณ  เขาจิตตกูฏ     กินข้าวสาลีที่เกิดเองในสระที่เกิดเอง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 843

ณ   หิมวันตประเทศแล้วกลับมา.    ในหนทางที่พระโพธิสัตว์นั้นไป ๆ

มา  ๆ  มีต้นทองหลางใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง.      พระโพธิสัตว์นั้นแม้เมื่อไป

ก็พักที่ต้นทองหลางนั้นแล้วก็ไป   แม้เมื่อกลับมา   ก็พักที่ต้นทองหลาง

นั้นแล้วจึงมา.   ครั้งนั้น   พระโพธิสัตว์นั้นได้มีความคุ้นเคยกับเทวดา

ผู้บังเกิดอยู่ที่ต้นทองหลางนั้น    เวลาต่อมา   นางนกตัวหนึ่งกินผลไทร

สุกที่ต้นไทรต้นหนึ่ง   แล้วบินมาจับที่ต้นทองหลางนั้น    ถ่ายคูถลงใน

ระหว่างค่าคบ.   แต่นั้นจึงเกิดหน่อไทรขึ้น.   ในเวลามีขนาดได้ ๔  นิ้ว

ต้นทองหลางงดงาม   เพราะเป็นต้นทองหลางที่มีหน่อแดงและใบเขียว

พระยาหงส์เห็นดังนั้น   จึงเรียกรุกขเทวดามาพูดว่า   ท่านปลาสเทวดา

ผู้สหาย    ธรรมดาตันไทรเกิดที่ต้นไม้ใด    เมื่อโตขึ้นย่อมทำต้นไม้นั้น

ให้ฉิบหาย   ท่านจงอย่าให้ต้นไม้นี้เติบโตเลย   มันจักทำวิมานของท่าน

ให้พินาศ     ท่านจงถอนมันทิ้งเสียก่อนทีเดียว     ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่ควรจะ

รังเกียจ   ก็ควรจะรังเกียจ   เมื่อปรึกษากับปลาสเทวดา   จึงกล่าวคาถา

ที่  ๑  ว่า :-

พระยาหงส์ได้กล่าวกะปลาสเทวดาว่า

ดูก่อนสหาย    ต้นไทรเกิดติดอยู่ที่ค่าคบของ

ท่านแล้ว      มันเจริญเติบโตขึ้นจะตัดสิ่งอัน

เป็นที่รักของท่านเสีย.

ก็บาทที่หนึ่งในคาถานี้   พระศาสดาทรงเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ

แล้วจึงตรัสไว้.  บทว่า  ปลาส  ได้แก่  ปลาสเทวดา. บทว่า   สมฺม


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 844

แปลว่า  เพื่อน.  บทว่า   องฺกสฺมึ   ได้แก่   ที่ค่าคบ.     บทว่า  โส  เต

มมฺมานิ   เฉจฺฉติ   ความว่า   ต้นไทรนั้นเจริญเติบโตที่ค่าคบนั้นแล้ว

จักตัดชีวิตประดุจข้าศึกฉะนั้น.    จริงอยู่    สังขารที่มีชีวิตท่านเรียกว่า

มัมมะ  ในที่นี้.

ปลาสเทวดาได้ฟังดังนั้น    มิได้เชื่อถือคำของพระโพธิสัตว์นั้น

จึงกล่าวคาถาที่  ๒  ว่า :-

ต้นไทรจงเจริญเติบโตเถิด   ข้าพเจ้าจะ

เป็นที่พึ่งของมัน    ต้นไทรนี้จักเป็นที่พึ่งของ

ข้าพเจ้า  เหมือนมารดาบดาเป็นที่พึงของบุตร

แล้วบุตรกลับเป็นที่พึ่งของมารดาบิดา  ฉะนั้น.

คำอันเป็นคาถานั้น    มีความว่า    ดูก่อนสหาย    ท่านยังไม่รู้

ต้นไทรนี้จะเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าในตอนมันเติบโต       ข้าพเจ้าจักเป็น

ที่พึ่งของต้นไทรนี้เหมือนมารดาบิดาเป็นที่พึ่งของบุตรในคราวเป็นเด็ก

อ่อนฉะนั้น     อนึ่ง    ต้นไทรนี้จักเป็นที่พึ่งแม้ของข้าพเจ้าในภายหลัง

ตอนแก่   เหมือนบุตรเติบโตขึ้นแล้ว    ย่อมเป็นที่พึ่งของมารดาบิดาใน

ภายหลังตอนแก่   ฉะนั้น.

ลำดับนั้น   พระยาหงส์   จึงกล่าวคาถาที่ ๓  ว่า :-

ท่านให้ต้นไม้ซึ่งอาจนำภัยมาดังข้าศึก

เจริญเติบโตขึ้นที่ค่าคบเพราะเหตุใด  เหตุนั้น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 845

เราขอบอกท่านให้รู้แล้วจะไป      ความเจริญ

เติบโตของต้นไทรนั้น       ข้าพเจ้าไม่ชอบใจ

เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น    บทว่า   ย   ตฺว   ความว่า    เพราะเหตุที่

ท่านให้เกษียรพฤกษ์นี้ชื่อว่าน่ากลัว        เพราะเป็นผู้ให้ความน่ากลัว

ประดุจข้าศึก    เจริญอยู่ที่ค่าคบ.   บทว่า   อามนฺต   โข   ต   ความว่า

เพราะฉะนั้น   ข้าพเจ้าจึงเรียกท่านมาปรึกษาให้รู้แล้วก็จะไป.    บทว่า

วุฑฺฒิมสฺส   ความว่า   ความเจริญของต้นไทรนั้น  ไม่ชอบใจข้าพเจ้า

เลย.

ก็แหละพระยาหงส์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว    จึงกางปีกบินไปยัง

ภูเขาจิตตกูฏทีเดียว. ตั้งแต่นั้นก็ไม่ได้มาอีกเลย. ในเวลาต่อมา   ต้นไทร

ก็เจริญเติบโตขึ้น.  ก็มีรุกขเทวดาตนหนึ่งบังเกิดที่ต้นไทรนั้น.  ต้นไทร

นั้นเจริญขึ้นหักรานต้นทองหลาง        วิมานของเทวดาพร้อมกับกิ่งไม้

ทั้งหลายก็ร่วงลงไป.  ในกาลนั้น  เทวดานั้นจึงกำหนดคำของพระยา-

หงส์ได้   ร่ำไห้ว่า   พระยาหงส์เห็นภัยในอนาคตข้อนี้จึงกล่าวไว้  ส่วน

เราไม่กระทำตามคำพูดของพระยาหงส์   แล้วกล่าวคาถาที่  ๔  ว่า :-

บัดนี้  ต้นไทรนี้ทำให้เราหวาดกลัว  ภัย

อันใหญ่หลวงได้มาถึงเรา    เพราะไม่รู้สึกถึง

คำของพระยาหงส์        อันใหญ่หลวงซึ่งควร

เปรียบด้วยขนเขาสิเนรุราช.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 846

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  อิทานิ  โข  น  ภายติ   ความว่า

ต้นไทรนี้ทำให้เรายินดีในตอนยังอ่อน   บัดนี้   ทำให้กลัวหวาดสะดุ้ง.

บทว่า    มหาเนรุนิทสฺสน    ความว่า   เพราะได้ฟังคำของพระยาหงส์

อันใหญ่หลวงดุจภูเขาสิเนรุ      แล้วไม่รู้สุกจึงได้ถอนต้นไทรนี้เสียใน

คราวยังอ่อนอยู่.   ด้วยบทว่า   มหา   เม    ภยมาคต   นี้  เทวดาคร่ำ

ครวญว่า   บัดนี้   ภัยใหญ่มาถึงเราแล้ว.

ฝ่ายต้นไทรก็เจริญเติบโตขึ้นหักรานต้นทองหลางทั้งต้นได้กระ

ทำให้เป็นสักแต่ตอเท่านั้น.   วิมานของเทวดาก็หายไปหมดสิ้น.

ผู้ใดเมื่อเจริญขึ้นทำที่พึ่งอาศัยให้พินาศ

ไปเสีย    ความเจริญของผู้นั้น     ผู้ฉลาดไม่

สรรเสริญ       นักปราชญ์รังเกียจความพินาศ

จึงเพียรพยายามตัดรากเหง้าของอันตรายนั้น

เสีย.

คาถาที่  ๕  ดังกล่าวมานี้    เป็นอภิสัมพุทธคาถา.

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  กุสลปฺปสตฺถา  ความว่า  อันท่าน

ผู้ฉลาดทั้งหลายสรรเสริญแล้ว.   บทว่า  ฆสเต   แปลว่า     ย่อมกิน

อธิบายว่า   ทำให้พินาศ.   บทว่า   ปตารยิ   แปลว่า    ย่อมกลิ้งเกลือก

คือ   ย่อมพยายาม.   ทรงอธิบายไว้ดังนี้ว่า   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ผู้ใด.

เจริญขึ้นทำที่พึ่งอาศัยของตนให้พินาศ   ความเจริญของผู้นั้น   บัณฑิต

ไม่สรรเสริญ   ส่วนนักปราชญ์   คือท่านผู้สมบูรณ์ความรู้รังเกียจความ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 847

ดับคือความพินาศอย่างนี้ว่า   ความดับสูญจักมีแก่เรา   เพราะอันตราย

นี้ย่อมพากเพียรเพื่อขจัดรากเหง้าของอันตรายทั้งภายในหรือภายนอก

นั้นเสีย.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว   จึงประกาศ

สัจจะแล้วทรงประชุมชาดก.   ในเวลาจบสัจจะ   ภิกษุ  ๕๐๐  รูป   ได้

บรรลุพระอรหัต.   หงส์ทองในครั้งนั้น  ได้เป็นเราตถาคต   ฉะนี้แล.

จบ   อรรถกถาปลาสชาดกที่  ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้   คือ

๑. วรรณาโรหชาดก     ๒.   สีลวีมังสชาดก    ๓.  หิริชาดก

๔. ขัชโชปนกชาดก     ๕. อหิตุณฑิกชาดก     ๖. คุมพิยชาดก

๗.    สาลิยชาดก      ๘.  ตจสารชาดก         ๙.  มิตตวินทุกชาดก

๑๐. ปลาสชาดก.

จบ  วรรณาโรหวรรคที่  ๒


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 848

๓. อัฑฒวรรค

๑. ทีฆีติโกสลชาดก

ว่าด้วยเวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร

[๘๐๓]   ข้าแต่พระราช     เมื่อพระองค์ตกอยู่ใน

อำนาจของข้าพระองค์อย่างนี้แล้ว   เหตุอันใด

อันหนึ่งที่จะทำให้พระองค์พ้นจากทุกข์ได้  มี

อยู่หรือ.

[๘๐๔]   พ่อเอ๋ย เมื่อฉันตกอยู่ในอำนาจของท่าน

ถึงอย่างนี้แล้ว    เหตุอันใดอันหนึ่งที่จะทำให้

ฉันพ้นจากทุกข์ได้  ไม่มีเลย.

[๘๐๕]   ข้าแต่พระราชา        เว้นสุจริตและวาจา

สุภาษิตเสีย      เหตุอย่างอื่นจะป้องกันได้ใน

เวลาใกล้มรณกาล  ไม่มีเลย   ทรัพย์นอกนี้ก็

เหมือนกันแหละ.

[๘๐๖]    ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวรว่า    คนนี้ได้ด่า

เรา    คนนี้ได้ฆ่าเรา   คนนี้ได้ชนะเรา   คนนี้

ได้ลักของ ๆ เรา   เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่

สงบ   ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรว่า  คน


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 849

นี้ได้ด่าเรา    คนนี้ได้ฆ่าเรา    คนนี้ได้ชนะเรา

คนนี้ได้ลักของ ๆ เรา    เวรของชนเหล่านั้น

ย่อมสงบ.

[๘๐๗]   ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับ

ด้วยเวรเลย     แต่ย่อมระงับได้ด้วยความไม่มี

เวร   ธรรมนี้เป็นของเก่า.

จบ  ทีฆีติโกสลชาดกที่  ๑

อรรถกถาอัฑฒวรรคที่  ๓

อรรถกถาทีฆีติโกสลชาดกที่  ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน     ทรงปรารภ

ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีผู้กระทำการทะเลาะทุ่มเถียงกัน       จึงตรัสพระ-

ธรรมเทศนานี้    มีคำเริ่มต้นว่า   เอวภูตสฺส   เต    ราช   ดังนี้.

ได้ยินว่า   ในกาลที่ภิกษุเหล่านั้นมายังพระเชตวันวิหาร   ขอให้

พระศาสดาทรงอดโทษ พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมาแล้วตรัส

ว่า   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   เธอทั้งหลายเป็นโอรสของเรา     ชื่อว่าบุตร

ผู้เกิดจากปาก   อันบุตรทั้งหลายไม่ควรทำลายโอวาทที่บิดาได้ไว้  ก็เธอ

ทั้งหลายไม่กระทำตามโอวาท  โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย    แม้โจรผู้ฆ่า

มารดาบิดาของตนแล้วยึดครองราชสมบัติ    ตกอยู่ในเงื้อมมือในป่า   ก็


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 850

ยังไม่ฆ่าด้วยคิดว่า    จักไม่ทำลายโอวาทที่มารดาบิดาให้ไว้   ดังนี้   แล้ว

ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก   ดังต่อไปนี้  :-

ก็ในชาดกนี้   เรื่องทั้งสอง  คือเรื่องปัจจุบันและเรื่องในอดีต   จัก

มีแจ้งโดยพิสดารในสังฆเภทกะ.  ก็ทีฆาวุกุมารนั้นจับพระจุฬาพระเจ้า-

พาราณสีผู้บรรทมหลับอยู่บนตักของตนในป่า     เงื้อดาบขึ้นด้วยหมาย

ใจว่า   บัดนี้    เราจักตัดโจรผู้ฆ่ามารดาบิดาของเรา   ให้เป็น  ๑๔  ท่อน

ขณะนั้น   ระลึกถึงโอวาทที่มารดาบิดาให้ไว้    จึงคิดว่า   เราแม้จะสละ

ชีวิตก็จักไม่ทำลายโอวาทของท่าน  จักคุกคามพระเจ้าพาราณสีนั้นอย่าง

เดียว   จึงกล่าวคาถาที่ ๑   ว่า  :-

ข้าแต่พระราชา   เมื่อพระองค์ตกอยู่ใน

อำนาจของข้าพระองค์อย่างนี้แล้ว  เหตุอันใด

อันหนึ่งที่จะทำให้พระองค์พ้นจากทุกข์ได้  มี

อยู่หรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า   วเส   มม  ได้แก่   ผู้มาสู่อำนาจ

ของข้าพระองค์.   บทว่า   ปริยาโย  ได้แก่   เหตุ.

ลำดับนั้น    พระราชาตรัสคาถาที่ ๒   ว่า :-

พ่อเอ๋ย     เมื่อฉันตกอยู่ในอำนาจของ

ท่านอย่างนี้แล้ว  เหตุอันใดอันหนึ่งที่จะทำให้

ฉันพ้นทุกข์ได้  ไม่มีเลย.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 851

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  โน  เป็นเพียงนิบาต.  อธิบายว่า

เหตุอะไร ๆ ที่จะทำให้ฉันพ้นจากทุกข์นั้น  ย่อมไม่มี.

ลำดับนั้น   พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-

ข้าแต่พระราชา    เว้นสุจริตและวาจาที่

เป็นสุภาษิตเสีย    เหตุอย่างอื่นจะป้องกันได้

ในเวลาจะตาย     ไม่มีเลย     ทรัพย์นอกนี้ก็

เหมือนกันนั่นแหละ.

ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวรว่า   คนนี้ได้ด่า

เรา   คนนี้ได้ฆ่าเรา    คนนี้ได้ชนะเรา   คนนี้ได้

ลักของ ๆ เรา     เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่

สงบ  ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรว่า  คน

นี้ได้ด่าเรา    คนนั้นได้ฆ่าเรา    คนนั้นได้ชนะเรา

คนนี้ได้ลักของ ๆ เรา     เวรของชนเหล่านั้น

ย่อมเข้าไปสงบ.

ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับ

ด้วยเวรเลย    แต่ย่อมระงับได้ด้วยความไม่มี

เวร    ธรรมนี้เป็นของเก่า.

บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า  นาญฺ   สุจริต  แก้เป็น  นาญฺ

สุจริตา.   อีกอย่างหนึ่ง  บาลีก็อย่างนี้แหละ   อธิบายว่า  เว้นสุจริตเสีย


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 852

เราไม่เห็นอย่างอื่น.     ก็ในคาถานี้    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า   สุจริตบ้าง

สุภาษิตบ้าง    ก็หมายเอาโอวาทที่มารดาบิดาให้ไว้เท่านั้น.   บทว่า เอว-

เมว   ได้แก่   ไม่มีประโยชน์เลย.     ท่านกล่าวอธิบายนี้ไว้ว่า     ข้าแต่

มหาราชเจ้า    เว้นจากสุจริตและวาจาสุภาษิต   กล่าวคือการกล่าวสอน

และการพร่ำสอน  อย่างอื่นชื่อว่าสามารถเพื่อต่อต้านบอกกันในเวลาจะ

ตายย่อมไม่มี  ทรัพย์นอกนี้ก็เหมือนกัน  คือไม่มีประโยชน์เลย  ก็บัดนี้

พระองค์จะให้ทรัพย์แม้ตั้งแสนโกฏิ    แก่ข้าพระองค์     ก็จะไม่ได้ชีวิต

เพราะฉะนั้น   ข้อนี้พึงทราบว่า   สุจริตและคำสุภาษิตเท่านั้น    ยิ่งกว่า

ทรัพย์.

แม้คาถาที่เหลือก็มีเนื้อความสังเขปดังต่อไปนี้ :-   ข้าแต่มหา-

ราชเจ้า     คนเหล่าใดเข้าไปผูกเวร     คือตั้งเวรไว้ในหทัยเหมือนผูกไว้

อย่างนี้ว่า   ผู้นี้ด่าเรา   ผู้นี้ประหารเรา   ผู้นี้ได้ชนะเรา   ผู้นี้ได้ลักของ

เรา    เวรของคนเหล่านั้นย่อมไม่สงบ.      ส่วนคนเหล่าใดไม่เข้าไปผูก

คือไม่ตั้งเวรนั้นไว้ในหทัย    เวรของตนเหล่านั้นย่อมสงบ    เพราะใน

กาลไหน ๆ  เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับด้วยเวร   แต่จะระงับด้วยความไม่

มีเวร   ธรรมนั้นเป็นของเก่า   อธิบายว่า   ธรรมเก่าก่อน   คือสภาวะที่

เป็นไปตลอดกาลนาน.

ก็แหละ   พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว      จึงกราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า   ข้าพระองค์ไม่ประทุษร้ายพระองค์   แต่พระองค์จง

ฆ่าข้าพระองค์เสียเถิด   แล้ววางดาบในพระหัตถ์ของพระราชานั้น.  ฝ่าย

พระราชาก็ทรงกระทำการสบถว่า  เราจักไม่ประทุบร้ายท่าน  แล้วเสด็จ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 853

ไปพระนครพร้อมกับพระโพธิสัตว์นั้น   ทรงแสดงพระโพธิสัตว์นั้นแก่

อำมาตย์ทั้งหลายแล้วตรัสว่า    ดูก่อนพวกท่านทั้งหลาย    ผู้นี้    คือที-

ฆาวุกุมารโอรสของพระเจ้าโกศล   แม้ผู้นี้ก็ได้ให้ชีวิตเรา    เราก็ไม่ได้

ทำอะไรกะผู้นี้     ครั้นตรัสแล้ว    ได้ประทานธิดาของพระองค์แล้วให้

ดำรงอยู่ในราชสมบัติอันเป็นของพระบิดา.    ตั้งแต่นั้นมา   พระราชา

ทั้งสองพระองค์ทรงสมัครสมานบันเทิงพระทัยครองราชสมบัติ.

พระศาสดา   ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว  ทรง

ประชุมชาดกว่า      บิดามารดาในครั้งนั้น    ได้มาเป็นตระกูลมหาราช

ส่วนทีฆาวุกุมาร   ได้มาเป็นเราตถาคต   ฉะนี้แล.

จบ  อรรถกถาทีหีติโกสลชาดกที่  ๑


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 854

๒. มิคโปตกชาดก

คำพูดที่ทำให้หายเศร้าโศก

[๘๐๘]    การที่ท่านเศร้าโศกถึงลูกเนื้อผู้ละไปแล้ว

เป็นการไม่สมควรแก่ท่านผู้หลีกออกจาก

เรือนบวชเป็นบรรพชิต   สงบระงับ.

[๘๐๙]   ดูก่อนท้าวสักกะ    ความรักของมนุษย์

หรือเนื้อย่อมเกิดขึ้นในใจ    เพราะอยู่ร่วมกัน

มา   มนุษย์หรือเนื้อนั้น  อาตมภาพไม่สามารถ

ที่จะไม้เศร้าโศกถึงได้.

[๘๑๐]  ชนเหล่าใดมาร้องไห้รำพัน    บ่นเพ้อถึง

ผู้ตายไปแล้   และผู้จะตายอยู่ ณ  บัดนี้   การ

ร้องไห้ของชนเหล่านั้น       สัตบุรุษทั้งหลาย

กล่าวว่า     เปล่าจากประโยชน์    ดูก่อนฤๅษี

เพราะฉะนั้น  ท่านอย่าร้องไห้เลย.

[๘๑๑]  ดูก่อนพราหมณ์  ผู้ที่ตายไปแล้ว  ละไป

แล้ว       หากจะพึงกลับเป็นขึ้นได้เพราะการ

ร้องไห้    เราก็จะประชุมกันทั้งหมดร้องไห้ถึง

พวกญาติของกันและกัน.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 855

[๘๑๒]   มหาบพิตรมารดาอาตมภาพผู้เดือดร้อน

ยิ่งนักให้หายร้อน    ดับความกระวนกระวาย

ได้ทั้งสิ้น      เหมือนบุคคลเอาน้ำรดไฟติดที่

เปรียงให้ดับไปฉะนั้น   มหาบพิตรมาถอนลูก

ศรคือความโศกที่เสียบแน่นอยู่ในหทัยของ

อาตมภาพออกได้แล้วหนอ  เมื่ออาตมภาพถูก

ความโศกครอบงำมหาบพิตรก็ได้บรรเทาความ

โศกถึงบุตรเสียได้  ดูก่อนท้าววาสวะ  อาตม-

ภาพเป็นผู้ถอนลูกศรออกได้แล้ว   ปราศจาก

ความเศร้าโศก  ไม่มีความมัวหมอง  อาตมภาพ

จะไม่เศร้าโศกร้องไห้        เพราะได้ฟังถ้อยคำ

ของมหาบพิตร.

จบ  มิคโปตกชาดกที่  ๒

อรรถกถามิคโปตกชาดกที่  ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่  ณ พระวิหารเชตวัน    ทรงปรารภ

ภิกษุแก่รูปหนึ่ง     จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้    มีคำเริ่มต้นว่า   อคารา

ปจจุเปตสฺส  ดังนี้.

ได้ยินว่า  ภิกษุแก่นั้นให้เด็กคนหนึ่งบวช.  สามเณรบำรุงภิกษุ

แก่นั้นโดยเคารพ   ครั้นกาลต่อมา  ได้กระทำกาละโดยความไม่ผาสุก.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 856

เพราะการทำกาละของสามเณรนั้น       ภิกษุแก่ถูกความโกรธครอบงำ

เที่ยวร่ำไห้ด้วยเสียงอันดัง.   ภิกษุทั้งหลายไม่อาจให้ยินยอมได้     จึงสั่ง

สนทนากันในโรงธรรมสภาว่า   อาวุโสทั้งหลาย  ภิกษุแก่ชื่อโน้นเที่ยว

ร่ำไห้   เพราะการทำกาละของสามเณร   ภิกษุแก่นั่นคงจักเหินห่างการ

เจริญมรณัสสติ.   พระศาสดาเสด็จมาแล้ว  ตรัสถามว่า   ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย  บัดนี้  พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ?  เมื่อภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลว่า   เรื่องชื่อนี้    พระเจ้าข้า.   จึงตรัสว่า    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มิใช่บัดนี้เท่านั้น   แม้ในกาลก่อน  ภิกษุแก่นี้   เมื่อสามเณรนั้นตายแล้ว

ก็เที่ยวร่ำไห้อยู่   แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก    ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี    พระโพธิสัตว์ครองความเป็นท้าวสักกะ.  ครั้งนั้น   มีบุรุษ

ชาวแคว้นกาสีคนหนึ่ง   เข้าไปยังหิมวันตประเทศ   บวชเป็นฤๅษี    ยัง

อัตภาพให้เป็นไปด้วยผลไม้น้อยใหญ่.    วันหนึ่ง   ฤๅษีนั้นเห็นลูกเนื้อ

แม่ตายตัวหนึ่งในป่า   จึงนำมายังอาศรมบท   ให้เหยื่อเลี้ยงดูไว้.  ลูก

เนื้อเติบโตขึ้นมีรูปร่างงามถึงความงามอันเลิศ.     ดาบสกระทำลูกเนื้อ

นั้นให้เป็นลูกของตนอยู่.  วันหนึ่ง  ลูกเนื้อกินหญ้ามากไป  ได้กระทำ

กาละเพราะไม่ย่อยดาบสเที่ยวร่ำไห้ว่า  ลูกเราตายเสียแล้ว.  ในกาลนั้น

ท้าวสักกเทวราชทรงพิจารณาดูชาวโลก     ทรงเห็นดาบสนั้น    ดำริว่า

จักทำดาบสนั้นให้สลดใจ     จึงเสด็จมาแล้วประทับยืนในอากาศ    ตรัส

คาถาที่   ๑  ว่า :-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 857

การที่ท่านเศร้าโศกถึงลูกเนื้อผู้ละไปแล้ว

เป็นการไม่สมควรแก่ท่านผู้หลีกออกจาก

เรือนบวชเป็นบรรพชิตสงบระงับ.

ดาบสได้ฟังดังนั้น   จึงกล่าวคาถาที่  ๒   ว่า :-

ดูก่อนท้าวสักกะ     ความรักของมนุษย์

หรือเนื้อ   ย่อมเกิดขึ้นในใจ  เพราะอยู่ร่วมกัน

มา  มนุษย์หรือเนื้อนั้น  อาตมภาพไม่สามารถ

ที่จะไม่เศร้าโศกถึงได้.

บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า   น   ต  สกฺกา   ความว่า   อาตม-

ภาพไม่อาจเพื่อจะไม่โศกถึงมนุษย์หรือสัตว์ดิรัจฉานนั้น  คือ  อาตม-

ภาพเศร้าโศกถึงทีเดียว.

ลำดับนั้น   ท้าวสักกะได้ตรัสคาถา  ๒  คาถาว่า :-

ชนเหล่าใดร้องไห้รำพัน  บ่นเพ้อถึงผู้ตาย

ไปแล้ว   และผู้จะตายอยู่ในบัดนี้   การร้องไห้

ของชนเหล่านั้น      สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่า

เปล่าจากประโยชน์   ดูก่อนฤาษี  เพราะฉะนั้น

ท่านอย่าร้องไห้เลย.

ดูก่อนพราหมณ์   ผู้ที่ตายไปแล้ว  ละไป

แล้ว  หากจะกลับเป็นขึ้นได้เพราะการร้องไห้


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 858

เราก็จะประชุมกันทั้งหมด       ร้องไห้ถึงญาติ

ของกันและกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  มริสฺส  ได้แก่  บุคคลผู้จักตายใน

บัดนี้.  บทว่า   ลปนฺติ   จ   ได้แก่   บ่นเพ้อ.    ท่านกล่าวคำอธิบายนี้

ไว้ว่า      ชนเหล่าใดร้องไห้ถึงคนผู้ตายแล้ว      และผู้จักตายอยู่ในโลก

ชนเหล่านั้นก็คงจะร้องไห้และบ่นเพ้ออยู่.  ชื่อว่าวันที่จะขาดน้ำตาของ

ชนเหล่านั้น  ย่อมไม่มี  เพราะเหตุไร ?  เพราะคนผู้ตายไปแล้วและคนผู้

ที่จะตายยังมีอยู่เสมอ.   บทว่า   อิสิ   มา   โรทิ   ความว่า   ดูก่อนฤๅษี

เพราะฉะนั้น   ท่านอย่าร้องไห้เลย.    เพราะเหตุไร  ?    เพราะสัตบุรุษ

ทั้งหลายกล่าวว่าการร้องไห้เปล่าประโยชน์.       อธิบายว่า     สัตบุรุษ

ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น        ย่อมกล่าวการร้องไห้ว่าเป็นหมัน.

บทว่า   มโต   เปโต  ความว่า   ถ้าบุคคลที่เรียกว่า    ผู้ตายแล้ว   ผู้ละ

ไปแล้ว   จะพึงฟื้นขึ้นเพราะการร้องให้ไซร้   เมื่อเป็นเช่นนั้น    พวก

เราจะอยู่เฉยทำไม   พวกเราทั้งหมดทีเดียว   จะพากันประชุมร้องให้ถึง

ญาติทั้งหลายของกันและกัน       ก็เพราะเหตุที่ญาติเหล่านั้นไม่ฟื้นขึ้น

เพราะเหตุร้องไห้  เพราะฉะนั้น  ท้าวสักกะ   จึงทรงประกาศการร้องไห้

ว่าเป็นหมัน.

เมื่อท้าวสุกกะตรัสไป ๆ  อยู่อย่างนี้      ดาบสกำหนดได้ว่า    การ

ร้องไห้ไร้ประโยชน์   เมื่อจะกระทำการชมเชยท้าวสักกะ     จึงได้กล่าว

คาถา ๓ คาถาว่า :-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 859

มหาบพิตรมารดาอาตมภาพผู้เดือดร้อน

ยิ่งนักให้หายร้อน   ดับความกระวนกระวายได้

ทั้งสิ้น   เหมือนบุคคลเอาน้ำรดไฟติดที่เปรียง

ให้ดับไปฉะนั้น   มหาบพิตรมาถอนลูกศรคือ

ความโศกที่เสียบแน่นอยู่ในหทัยของอาตม-

ภาพออกได้แล้วหนอ  เมื่ออาตมภาพถูกความ

โศกครอบงำ      มหาบพิตรก็ได้บรรเทาความ

โศกถึงบุตรเสียได้  ดูก่อนท้าววาสวะ  อาตม-

ภาพเป็นผู้ถอนลูกศรออกได้แล้ว   ปราศจาก

ความเศร้าโศก   ไม่มีความมัวหมอง   อาตม-

ภาพจะไม่เศร้าโศกร้องไห้   เพราะได้ฟังถ้อย-

คำของมหาบพิตร.

บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า  ยมาสิ   ตัดบทเป็น  ย  เม  อาสิ.

บทว่า  หทยนิสฺสิต    ได้แก่   เสียบแน่นอยู่ในหทัย.  บทว่า อปานุทิ

ได้แก่   นำออกแล้ว.

ท้าวสักกะครั้นประทานโอวาทแก่ดาบส    แล้วก็เสด็จไปเฉพาะ

ยังสถานที่ของพระองค์.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว      จึง

ทรงประชุมชาดกว่า     ดาบสในครั้งนั้น    ได้มาเป็นภิกษุแก่ในบัดนี้

๑. บาลีว่า  หทยสฺสิต.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 860

เนื้อในครั้งนั้น  ได้มาเป็นสามเณรในบัดนี้    ส่วนท้าวสักกะในครั้งนั้น

ได้มาเป็นเราตถาคต   ฉะนี้แล.

จบ  อรรถกถามิคโปตกชาดกที่  ๒


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 861

๓. มูสิกชาดก

ควรเรียนทุกอย่างแต่ไม่ควรใช้ทุกอย่าง

[๘๑๓]  คนบ่อพร่ำอยู่ว่า   นางทาสีชื่อมูสิกาไป

ไหน ๆ เราคนเดียวเท่านั้นรู้ว่า  นางทาสีชื่อ

ว่ามูสิกา  ตายอยู่ในบ่อน้ำ.

[๘๑๔]  เหตุใดท่านจึงคิดอย่างนี้  และมองหา

โอกาสจะประหารทางนี้ ๆ  กลับไปแล้ว

เหมือนลา  เพราะฉะนั้นเราจึงรู้ว่า   ท่านฆ่า

นางทาสีชื่อว่ามูสิกาตายทิ้งไว้ในบ่อน้ำ  วันนี้

ปรารถนาจะกินข้าวเหนียวอีกหรือ.

[๘๑๕]   แน่เจ้าผู้โง่เขลา  เจ้ายังเป็นเด็กอ่อน

ตั้งอยู่ในปฐมวัย   มีผมดำสนิท  มายืนถือ

ท่อนไม้ยาวนี้อยู่  เราจะไม่ยอมยกชีวิตให้

แก่เจ้า.

[๘๑๖]  เราเป็นผู้อันบุตรปรารถนาจะฆ่าเสีย  จะ

พ้นจากความตาย    เพราะภพในอากาศหรือ

เพราะบุตรที่รักเปรียบด้วยอวัยวะก็หาไม่  เรา

พ้นจากความตายเพราะคาถาที่อาจารย์ผู้ให้.

 


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 862

[๘๑๗]   บุคคลควรเรียนวิชาที่ควรเรียนทุกอย่าง

ไม่ว่าจะเลว   ดี   หรือปานกลางก็ตาม  บุคคล

ควรรู้ประโยชน์ของวิชาที่เรียนทุกอย่าง   แต่

ไม่ควรประกอบทั้งหมด     ศิลปที่ศึกษาแล้ว

นำประโยชน์ให้ในเวลาใด    แม้เวลาเช่นนั้น

ย่อมมีแท้.

จบ  มูสิกชาดกที่  ๓

อรรถกถามูสิกชาดกที่  ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่   ณ พระเวฬุวันวิหาร  ทรงปรารภ

พระเจ้าอชาตศัตรู   จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้    มีคำเริ่มต้นว่า   กุหึ

คตา  กตฺถ  คตา  ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันได้ให้พิสดารมาแล้วในถุสชาดก  ในหนหลังนั่นแล

ส่วนในชาดกนี้    พระศาสดาทรงเห็นพระราชาทรงหยอกเล่นกับพระ-

โอรสพลาง   ทรงฟังธรรมพลางอย่างนั้น   ทรงทราบว่า  ภัยจักเกิดขึ้น

แก่พระราชา     เพราะอาศัยพระโอรสนั้น    จึงตรัสว่า      มหาบพิตร

พระราชาครั้งเก่าก่อนทั้งหลาย   ทรงรังเกียจสิ่งที่ควรรังเกียจ   ได้ทรง

การทำโอรสของพระองค์ไว้    ณ   ส่วนข้างหนึ่ง       ด้วยทรงดำริว่า

พระโอรสจงครองราชสมบัติในเวลาเราแก่ชราตามัว    แล้วทรงนำเอา

เรื่องในอดีตมาสาธก   ดังต่อไปนี้ :-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 863

ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี   พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์ในเมืองตักกศิลา  ได้

เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์.     โอรสของพระเจ้าพาราณสี    พระนามว่า

ยวกุมาร  ได้เรียนศิลปะทุกอย่างในสำนักของพระโพธิสัตว์นั้น    แล้ว

ให้การซักถามคือทดสอบวิชาแล้ว    ประสงค์จะกลับมาบ้านเมือง    จึง

อำลาอาจารย์นั้น.    อาจารย์รู้ได้ด้วยอำนาจวิชาดูอวัยวะว่า    อันตราย

จักมีแก่กุมารนี้เพราะอาศัยบุตรเป็นเหตุ      คิดว่าเราจักบำบัดอันตราย

ของพระกุมารนั้น         จึงเริ่มไตร่ตรองหาข้อเปรียบเทียบสักข้อหนึ่ง.

ก็ในกาลนั้น    ม้าของอาจารย์ทิศาปาโมกข์นั้นมีอยู่ตัวหนึ่งแผลเกิดขึ้น

ที่เท้าของม้านั้น.          พวกคนเลี้ยงม้าจึงกระทำม้าตัวนั้นไว้เฉพาะใน

เรือน  เพื่อจะตามรักษาแผล.  ในที่ไม่ไกลเรือนนั้นมีบ่อน้ำอยู่บ่อหนึ่ง

ครั้งนั้น  หนูตัวหนึ่งออกจากเรือนกัดแผลที่เท้าของม้า.   ม้าไม่สามารถ

จะห้ามมันได้.    วันหนึ่ง    ม้านั้นไม่อาจอดกลั้นเวทนาได้    จึงเอาเท้า

ดีดหนูซึ่งมากัดกินแผลให้ตายตกลงไปในบ่อน้ำ.     พวกคนเลี้ยงม้าไม่

เห็นหนูมาจึงกล่าวกันว่า   ในวันอื่น  ๆ  หนูมากัดแผล   บัดนี้ไม่ปรากฏ

มันไปเสียที่ไหนหนอ.    พระโพธิสัตว์กระทำเหตุนั้นให้ประจักษ์แล้ว

กล่าวว่าคนอื่น ๆ ไม่รู้  จึงพากันกล่าวว่า     หนูไปเสียที่ไหน    แต่เรา

เท่านั้นย่อมรู้ว่าหนูถูกม้าฆ่าแล้วดีดลงไปในบ่อน้ำ.     พระโพธิสัตว์นั้น

จึงกระทำเหตุนี้นั่นแหละให้เป็นข้อเปรียบเทียบ    แล้วประพันธ์เป็น

คาถาที่หนึ่งมอบให้แก่พระราชกุมาร.  พระโพธิสัตว์นั้นไตร่ตรองหาข้อ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 864

เปรียบเทียบข้ออื่นอีก   ได้เห็นม้าตัวนั้นแหละมีแผลหายแล้ว   ออกไป

ที่ไร่ข้าวเหนียวแห่งหนึ่ง   แล้วสอดปากเข้าไปทางช่องรั้ว   ด้วยหวังว่า

จักกินข้าวเหนียว  จึงกระทำเหตุนั้นแหละให้เป็นข้อเปรียบเทียบ  แล้ว

ประพันธ์เป็นคาถาที่  ๒  มอบให้แก่พระราชกุมารนั้น   ส่วนคาถาที่  ๓

พระโพธิสัตว์ประพันธ์โดยกำลังปัญญาของตน   มอบคาถาที่  ๓ แม้นั้น

ให้แก่พระราชกุมารนั้นแล้วกล่าวว่า  ดูก่อนพ่อ   เธอดำรงอยู่ในราช-

สมบัติแล้ว  เวลาเย็นเมื่อจะไปสระโบกขรณีสำหรับสรงสนาน  พึงเดิน

ท่องบ่นคาถาที่   ๑   ไปจนถึงบันใดอันใกล้     เมื่อจะเข้าไปยังปราสาท

อันเป็นที่อยู่ของเธอ      พึงเดินท่องบ่นคาถาที่  ๒   ไปจนถึงที่ใกล้เชิง

บันได     ต่อจากนั้นไป    พึงเดินท่องบ่นคาถาที่  ๓  ไปจนถึงหัวบันได

ครั้นกล่าวแล้วจึงส่งพระกุมารไป.   พระกุมารนั้นครั้นไปถึงแล้วได้เป็น

อุปราช     เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว      ได้ครองราชสมบัติ.      โอรส

องค์หนึ่งของพระองค์ประสูติแล้ว.  พระโอรสนั้น  ในเวลามีพระวัสสา

๑๖  ปี  คิดว่าจักปลงพระชนม์พระบิดา   เพราะความโลภในราชสมบัติ

จึงตรัสกะอุปัฏฐาก (มหาดเล็ก)  ทั้งหลายว่า  พระบิดาของเรายังหนุ่ม

เราคอยเวลาถวายพระเพลิงพระบิดานี้    จักเป็นคนแก่คร่ำคร่าเพราะ

ชรา  ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติแม้ที่ได้ในกาลเช่นนั้น.   อุปัฏฐาก

เหล่านั้นทูลว่า   ข้าแต่สมมติเทพ     พระองค์ไม่อาจไปยังประเทศชาย

แดนแล้วกระทำความเป็นโจร     พระองค์จงปลงพระชนม์พระบิดาของ

พระองค์ด้วยอุบายบางอย่างแล้วยึดเอาราชสมบัติ.   พระโอรสนั้นรับว่า

ได้   แล้วไปยังที่ใกล้สระโบกขรณีสำหรับสรงสนานตอนเย็นของพระ-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 865

ราชา   ในภายในพระราชนิเวศน์   ได้ถือพระขรรค์ยืนอยู่ด้วยตั้งใจว่า

จักฆ่าพระบิดานั้น  ณ  ที่นี้.    ในเวลาเย็น   พระราชาทรงสั่งนางทาสี

ชื่อหนูไปด้วยพระดำรัสว่า   เจ้าจงไปชำระหลังสระโบกขรณีให้สะอาด

แล้วจงมา    เราจักอาบน้ำ.    นางทาสีนั้นไปชำระหลังสระโบกขรณีอยู่

เห็นพระกุมาร.     พระกุมารจึงฟันนางทาสีนั้นขาด   ๒  ท่อน   แล้วทิ้ง

ให้ตกลงไปในสระโบกขรณี   เพราะกลัวว่ากรรมของตนจะปรากฏขึ้น.

พระราชาได้เสด็จไปเพื่อจะสรงสนาน.  ชนที่เหลือกล่าวว่า แม้จนวันนี้

นางหนูผู้เป็นทาสียังไม่กลับมา   นางหนูไปไหน   ไปที่ไร.   พระราชา

ตรัสคาถาที่  ๑  ว่า :-

คนพร่ำบ่นอยู่ว่า  นางหนูไปไหน  นาง

หนูไปไหน   เราคนเดียวเท่านั้นรู้ว่า   นางหนู

ตายอยู่ในบ่อน้ำดังนี้.

พระองค์ได้เสด็จไปถึงฝั่งสระโบกขรณี.

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  กุหึ  คตา  กตฺถ  คตา  เป็นคำ

ไวพจน์ของกันและกัน.   บทว่า   อิติ  ลาลปฺปตี   ได้แก่   บ่นเพ้ออยู่

อย่างนั้น.     ดังนั้น      คาถานี้แสดงเนื้อความนี้แก่พระราชาผู้ไม่ทรง

ทราบเลยแหละว่า  ชนผู้ไม่รู้ย่อมพร่ำบ่นว่า  นางหนูผู้เป็นทาสีไปไหน

แต่เราผู้เดียวเท่านั้นรู้ว่า      นางหนูถูกพระราชกุมารฟันขาดสองท่อน

แล้วโยนให้ตกลงในสระโบกขรณี.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 866

พระราชาได้เสด็จดำเนินตรัสคาถาที่ไปถึงฝั่งสระโบกขรณี.

พระกุมารคิดว่า        พระบิดาของเราได้ทรงทราบกรรมที่เรากระทำไว้

จึงกลัวหนีไปบอกเรื่องนั้นแก่พวกอุปัฏฐาก.   พอล่วงไป  ๗ - ๘  วัน

อุปัฏฐากเหล่านั้นจึงทูลพระกุมารนั้นอีกว่า      ข้าแต่สมมติเทพ     ถ้า

พระราชาจะทรงทราบไซร้     จะไม่ทรงนิ่งไว้    ก็คำนั้นคงจะเป็นคำที่

พระราชานั้นตรัสโดยทรงคาดคะเนเอา        พระองค์จงปลงพระชนม์

พระบิดานั้นเถิด.  วันรุ่งขึ้น   พระกุมารนั้นถือพระขรรค์ประทับยืนที่

ยกศัพท์ บรรทัดที่ ๘ใกล้เชิงบันใด      ในเวลาพระราชาเสด็จมา      ทรงมองหาโอกาสที่จะ

ประหารไปรอบด้าน. พระราชาได้เสด็จดำเนินสาธยายคาถาที่ ๒ ว่า :-

เหตุใดท่านจึงคิดอย่างนี้    และมองหา

โอกาสจะประหารทางโน้นทางนั้นแล้วกลับไป

เสมือนลา   เพราะฉะนั้น   เราจึงรู้ว่า   ท่านฆ่า

ทาสีชื่อว่านางหนูตายทิ้งไว้ในบ่อน้ำ      วันนี้

ยังปรารถนาจะบริโภคโภชนะข้าวเหนียวอีก

หรือ.

แม้คาถานี้ก็แสดงเนื้อความนี้สำหรับพระราชาผู้ไม่ทรงทราบ

เลยว่า    เพราะเหตุที่นั้นคิดอย่างนี้     และมองหาโอกาสจะประหารอยู่

ทางโน้นทางนี้แล้วกลับไปเสมือนลาฉะนั้น   เพราะฉะนั้น   เราจึงรู้จัก

ท่านว่า   วันก่อนท่านฆ่าทาสีชื่อนางหนูที่สระโบกขรณี  วันนี้   ยัง

ปรารถนาจะบริโภคโภชนะข้าวเหนียวอีก.

๑. ตรงนี้น่าจะเป็นว่า  "วันนี้  ยังปรารถนาจะฆ่าพระเจ้ายวราชอีก."


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 867

พระกุมารสะดุ้งพระทัยหนีไปด้วยคิดว่า   พระบิดาเห็นเราแล้ว.

พระกุมารนั้นให้เวลาล่วงไปประมาณกึ่งเดือนแล้วคิดว่า  จักเอาท่อนไม้

ประหารพระราชาให้ตาย       จึงถือท่อนไม้สำหรับประการท่อนหนึ่งมี

ด้ามยาวแล้วได้ยืนกุมอยู่.   พระราชาตรัสว่า :-

แน่ะเจ้าผู้โง่เขลา    เจ้ายังเป็นเด็กอ่อน

ตั้งอยู่ในปฐมวัย   มีผมดำสนิท     มายืนถือ

ท่อนไม้ยาวนี้อยู่      เราจะไม่ยอมยกชีวิตให้

แก่เจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า   ปมุปฺปตฺติโต   ได้แก่   อุบัติคือ

ประกอบด้วยปฐมวัย    อธิบายว่า   ตั้งอยู่ในปฐมวัย.    บทว่า    สุสู

แปลว่า   ยังเป็นหนุ่ม.   บทว่า   ทีฆ   ได้แก่  ท่อนไม้สำหรับประหาร

มีด้ามยาว.    บทว่า   สมาปชฺช   ความว่า   เจ้ามายืนถือกุมไว้.   คาถา

แม้นี้ก็ข่มขู่พระกุมาร     แสงเนื้อความนี้       สำหรับพระราชาผู้ไม่รู้

นั้นแลว่า      เจ้าคนโง่เจ้าจักไม่ได้บริโภคข้าวเหนียวของตน      บัดนี้

เราจักไม่ให้ชีวิตแก่เจ้าผู้ไม่มีความละอาย      เราจักฆ่าตัดให้เป็นท่อน

น้อยท่อนใหญ่  แล้วให้เสียบไว้บนหลาวนั่นแหละ.

พระราชาทรงสาธยายคาถาที่ ๓  พลางขึ้นถึงหัวบันใด.  วันนั้น

พระกุมารนั้นไม่อาจหลบหนี  กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ  ขอพระองค์

โปรดประทานชีวิตแก่ข้าพระองค์เถิดพระเจ้าข้า     แล้วหมอบลงที่ใกล้

พระบาทของพระราชา.  พระราชาทรงคุกคามพระกุมารนั้นแล้ว    ให้

๑. บาลี  เป็น ปมุปฺปตฺติโก.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 868

จองจำด้วยโซ่ตรวน   แล้วให้ขังไว้ในเรือนจำ    ทรงนั่งเหนือราชอาสน์

ที่ประดับประดา  ณ  ภายใต้เศวตฉัตร   ทรงดำว่า   พราหมณ์ทิศา-

ปาโมกข์ผู้อาจารย์ของเรา    เห็นอันตรายนี้แก่เรา      จึงได้ให้คาถา  ๓

คาถานี้   จึงร่าเริงยินดี  เมื่อจะเปล่งอุทาน  จึงได้ตรัสคาถาที่เหลือว่า :-

เราเป็นผู้อันบุตรปรารถนาจะฆ่าเสีย  จะ

พ้นจากความตายเพราะภพในอากาศ    หรือ

เพราะบุตรที่รับเปรียบด้วยอวัยวะก็หาไม่  เรา

พ้นจากความตายเพระคาถาที่อาจารย์ผูกให้.

บุคคลควรเรียนวิชาที่ควรเรียนทุกอย่าง

ไม่ว่าจะเลว   ดี หรือปานกลาง   บุคคลควรรู้

ประโยชน์ของวิชาที่เรียนทั้งหมด   แต่ไม่ควร

ประกอบใช้ทั้งหมด     ศิลปะที่ศึกษาแล้วนำ

ประโยชน์มาให้ในเวลาใด    แม้เวลาเช่นนั้น

ย่อมจะมีแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น    บทว่า    นานฺตลิกฺขภวเนน    ความว่า

ทิพยวิมานเรียกกว่าภพในอากาศ    วันนี้   เรามิได้ขึ้นแม้สู่ภพในอากาศ

เพราะฉะนั้น    เราจึงมิได้พ้นจากความตายในวันนี้     แม้เพราะภพใน

อากาศ.    บทว่า   นางฺคปุตฺตสิเรน   วา   ความว่า   หรือว่า   เรามิได้

พ้นจากความตาย     แม้เพราะบุตรอันเห็นเสมอด้วยอวัยวะ.      บทว่า


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 869

ปุตฺเตน  หิ   ปฏิยิโต   ความว่า  ก็เราอันบุตรของตนเองปรารถนา.

จะฆ่าในวันนี้.   บทว่า   สิโลเกหิ   ปโมจิโต  ความว่า  เรานั้นเป็นผู้

พ้นจากความตาย  เพราะคาถาทั้งหลายที่อาจารย์ของตนประพันธ์ให้มา

บทว่า    สุต   ได้แก่   ปริยัติการเล่าเรียน.   บทว่า   อธีเยถ  ได้แก่

พึงเรียน  คือ  ศึกษาเอา.   ด้วยบทว่า  หีนมุกฺกฏฺมชฺฌิม  นี้  ท่าน

แสดงว่า     วิชาที่เรียนไม่ว่าจะต่ำ     ปานกลาง     หรือ     ชั้นสูงก็ตาม

บุคคลควรเรียนทั้งหมด.  บทว่า   น   จ   สพฺพ   ปโยชเย  ความว่า

ไม่ควรประกอบใช้มนต์ชั้นต่ำ   หรือศิลปะชั้นกลาง    ควรประกอบใช้

แต่ชั้นสูงเท่านั้น.   บทว่า  ยตฺถ   อตฺถำวห   สุต  ความว่า   ศิลปะ

ที่ได้ศึกษาแล้วชนิดใดชนิดหนึ่ง  เช่นการปั้นหม้อของมโหสถบัณฑิต

ย่อมนำประโยชน์มาให้ในกาลใด    กาลแม้นั้นย่อมจะมีทีเดียว.

ในกาลต่อมา   เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว   พระกุมารก็ได้ดำรง

อยู่ในราชสมบัติ.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว      จึง

ทรงประชุมชา กว่า    ก็อาจารย์ทิศาปาโมกข์ในครั้งนั้น     ได้เป็นเรา

ตถาคต   ฉะนี้แล.

จบ  อรรถกถามูสิกชาดกที่  ๓


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 870

๔. จุลลธนุคคหชาดก

ว่าด้วยจุลลธนุคคหบัณฑิต

[๘๑๘]  ข้าแต่พราหมณ์  ท่านถือเอาห่อเครื่อง

ประดับทั้งหมดข้ามฝั่งไปแล้ว  ขอจงรีบกลับ

มา  รีบเอาฉันข้ามไปบัดนี้ด้วย.

[๘๑๙]  แน่ะนางผู้เจริญ  ท่านนับถือเราผู้อันท่าน

ไม่เคยเชยชิด  ยิ่งเสียกว่าสามีผู้ที่เคยเชยชิด

มานาน   นับถือเราผู้ไม่ใช่ผัวเสียยิ่งกว่าผัว  นาง

ผู้เจริญจะพึงนับถือผู้อื่นยิ่งกว่าเราอีก  เราจัก

ไปให้ไกลยิ่งกว่าที่นี้อีก.

[๘๒๐]  ใครนี่มาทำการหัวเราะอยู่ในพุ่มตะไตร้น้ำ

ในที่นี้ก็ไม่มีการฟ้อนรำขับร้อง  หรือการดีดสี

ตีเป่า  แน่ะนางงามผู้มีตะโพกอันผึ่งผาย  ทำไม

เจ้าจึงมาหัวเราะอยู่ในเวลาที่ควรร้องไห้.

[๘๒๑]  แน่ะสุนัขจิ้งจอกพาลผู้โง่เขลาชาติชัม-

พุกะ  เจ้าเป็นสัตว์มีปัญญาน้อย  เสื่อมจาก

ปลาและชิ้นเนื้อ  ซบเซาอยู่  เหมือนคน

กำพร้า.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 871

[๘๒๒]  โทษของผู้อื่นเห็นได้ง่าย ส่วนโทษของ

ตนเห็นได้ยาก      เจ้านั่นแหละเสื่อมจากผัว

และชายชู้แล้ว   ซบเซาแม่กว่าเราเสียอีก.

[๘๒๓]   แน่ะพระยาเนื้อชาติชัมพุกะ  ท่านกล่าว

อย่างใด  ข้อนี้ก็เป็นอย่างนั้น  ฉันไปจากที่นี้

แล้ว   จักเป็นหญิงอยู่ในอำนาจของผัว.

[๘๒๔]  ผู้ใดนำภาชนะดินไป  ถึงผู้นั้นจะพึงนำ

ภาชนะสำริดไป บาปที่เจ้าทำไว้แล้วนั่นแหละ

เจ้าจะทำอย่างนั้นอีก.

จบ  อรรถกถาจุลลธนุคคหชาดกที่  ๔

อรรถกถาจุลลธนุคคหชาดกที่  ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่  ณ พระวิหารเชตวัน    ทรงปรารภ

ภิกษุผู้ถูกภรรยาเก่าประเล้าประโลม   จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้   มีคำ

เริ่มต้นว่า  สพฺพ  ภณฺฑ  ดังนี้.

เมื่อพระศาสดาตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   เธออันใครทำให้กระสัน

อยากสึก.  ครั้นเมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า   ภรรยาเก่า  พระเจ้าข้า  พระ-

ศาสดาจึงตรัสว่า    ดูก่อนภิกษุ    หญิงนี้กระทำความพินาศให้แก่เธอใน

บัดนี้เท่านั้นหามิได้   แม้ในกาลก่อน  เธออาศัยหญิงนี้ถูกตัดศีรษะด้วย


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 872

ดาบ   อันภิกษุทั้งหลายทูลอาราธนาแล้ว   จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา

สาธก  ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล   เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี  พระโพธิสัตว์ได้เป็นท้าวสักกะ  ในกาลนั้น  พราหมณ์มาณพ

ชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง    เรียนศิลปศาสตร์ทั้งปวงในเมืองตักกศิลา

ได้บรรลุความสำเร็จในธนูกรรมวิชายิงธนู    ได้เป็นผู้มีนามว่า   จุลล-

ธนุคคหบัณฑิต.       ครั้งนั้นอาจารย์ของจุลลธนุคคหบัณฑิตนั้นคิดว่า

มาณพนี้เรียนศิลปศาสตร์ได้เหมือนเรา   จึงได้ให้ธิดาของตน.   จุลล-

ธนุคคหบัณฑิตนั้นพานางเดินทางไปด้วยหวังใจว่า          จักไปเมือง

พาราณสี.    ในระหว่างทาง     ช้างเชือกหนึ่งได้ทำภูมิประเทศแห่งหนึ่ง

ให้ปลอดคน. ใคร ๆ ไม่อาจขึ้นไปยังสถานที่นั้น.  จุลลธนุคคหบัณฑิต

เมื่อคนทั้งหลายพากันห้ามอยู่ก็พาภรรยาขึ้นสู่ปากดง.    ครั้งนั้น   ช้าง

ได้ปรากฏขึ้นแก่จุลลธนุคคหบัณฑิตนั้น   ในท่ามกลางดง    เขาจึงเอา

ลูกศรยิงช้างนั้นที่กระพองลูกศรทะลุออกทางส่วนเบื้องหลัง  ช้างได้ล้ม

ลง   ณ  ที่นั้นเอง.  ธนุคคหบัณฑิตได้กระทำที่นั้นให้ปลอดภัย  แล้วได้

ไปถึงดงอื่นข้างหน้า.    แม้ในดงนั้นก็มีโจร  ๕๐  คน    คอยปล้นคน

เดินทาง.   ธนุคคหบัณฑิตนั้นอันคนทั้งหลายพากันห้ามอยู่  ก็ยังขึ้นไป

สู่ดงแม้นั้น.   เขาได้ไปถึงสถานที่ตั้งของโจรเหล่านั้น    ซึ่งฆ่าเนื้อแล้ว

ปิ้งเนื้อกินอยู่   ณ  ที่ใกล้หนทาง.  ครั้งนั้น  โจรทั้งหลายเห็นธนุคคห

บัณฑิตนั้นมากับภรรยาผู้ประดับตกแต่งร่างกาย  จึงทำความอุตสาหะว่า


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 873

จักจับธนุคคหบัณฑิตนั้น.        หัวหน้าโจรเป็นผู้ฉลาดในลักษณะของ

บุรุษ,    เขาแลดูธนุคคหบัณฑิตนั้นเท่านั้นก็รู้ว่า    ผู้นี้เป็นอุดมบุรุษ  จึง

ไม่ให้แม้โจรคนหนึ่งลุกขึ้น.  ธนุคคหบัณฑิตส่งภรรยาไปยังสำนักของ

พวกโจรเหล่านั้นด้วยสั่งว่า  เธอจงไปพูดว่า  ท่านทั้งหลายจงให้เนื้อย่าง

ไม้หนึ่งแก่เราทั้งสองแล้วนำเนื้อมา.   ภรรยานั้นได้ไปพูดว่า    ได้ยินว่า

ท่านทั้งหลายจะให้เนื้อย่างไม้หนึ่ง.    หัวหน้าโจรคิดว่าบุรุษผู้หาค่ามิได้

จึงให้เนื้อย่าง   พวกโจรพูดกันว่า   พวกเราจะกินเนื้อย่างสุก.   จึงได้ให้

เนื้อย่างดิบไป.      ธนุคคหบัณฑิตยกย่องลำพองตนจึงโกรธพวกโจรว่า

ให้เนื้อดิบแก่เรา พวกโจรก็โกรธว่า เจ้าคนนี้เท่านั้นเป็นผู้ชายคนเดียว

พวกเราเป็นผู้หญิงหรือ    จึงพากันลุกฮือขึ้น.    ธนุคคหบัณฑิตยิงโจร

๔๙   คน   ด้วยลูกศร   ๔๙   ลูกให้ล้มลง.    ลูกศรไม่มียิงหัวหน้าโจร.

ได้ยินว่า    ในกล่องลูกศรของเขา    มีลูกศรอยู่  ๕๐  ลูกพอดี    บรรดา

ลูกศรเหล่านั้น    เขายิงช้างเสียลูกหนึ่ง   จึงยิงพวกโจรด้วยลูกศร    ที่

เหลืออยู่  ๔๙  ลูก     แล้วทำให้หัวหน้าโจรล้มลง     นั่งทับบนอกของ

หัวหน้าโจรนั้น    คิดว่าจักตัดศีรษะของนายโจรนั้น    จึงให้นำดาบมา

จากมือของภรรยา.       ภรรยานั้นกระทำความรักในหัวหน้าโจรขึ้นใน

ทันใดนั้น   จึงวางตัวดาบที่มือโจร   วางฝักดาบที่มือของสามี   นายโจร

จับถูกด้ามของตัวดาบจึงชักมีดออกตัดศีรษะของธนุคคหบัณฑิต.   นาย

โจรนั้นครั้นฆ่าธนุคคหบัณฑิตแล้ว     จึงพาเอาผู้หญิงไปได้ถามถึงชาติ

และโคตร.  นางบอกว่า  ดิฉันเป็นธิดาของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในเมือง

ตักกศิลา.  นายโจรถามว่า  ชายผู้นี้ได้เธอด้วยเหตุอะไร ?  นางกล่าว


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 874

ว่า  บิดาของดิฉันยินดีว่า  นายธนุคคหะนี้ศึกษาศิลปะได้เหมือนกับเรา

จึงได้ให้แม้ดิฉันแก่นายธนุคคะนี้   ดิฉันนั้นมีความเสน่หาในท่าน จึง

ให้ฆ่าสามีที่ตระกูลให้แก่ตนเสีย. นายโจรเดินคิดไปว่าเบื้องต้น  หญิงนี้

ให้ฆ่าสามีที่ตระกูลให้ก่อน    ก็ครั้นเห็นคนอื่นอีกคนหนึ่งเข้า   ก็จัก

กระทำอย่างนั้นนั่นแหละแม้กะเรา    เราควรทิ้งหญิงนี้เสีย     ครั้นใน

ระหว่างทางได้เห็นแม่น้ำน้อยสายหนึ่งมีพื้นตื้น     มีน้ำเต็มมาชั่วคราว

จึงกล่าวว่า      นางผู้เจริญจระเข้ในแม่น้ำนี้ดุร้าย      พวกเราจะกระทำ

อย่างไร ?  นางกล่าวว่า   ข้าแต่สามี   ท่านจงกระทำเครื่องอาภรณ์ภัณฑ์

ให้เป็นห่อของด้วยผ้าห่มของดิฉัน  นำไปฝั่งโน้นแล้วจงกลับมาพาดิฉัน

ไป.  นายโจรนั้นรับคำว่า  ตกลงแล้วถือเอาเครื่องอาภรณ์ภัณฑ์ทั้งหมด

ลงสู่แม่น้ำ   ทำที่เป็นว่ายข้ามไปถึงฝั่งโน้นแล้ว  ได้ทิ้งนางไปเสีย.  นาง

เห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า   ข้าแต่สามี   ทำไมท่านจึงทำทีเหมือนจะทิ้งดิฉัน

ไป   เพราะเหตุไร ?  ท่านจึงกระทำอย่างนี้    มาเถิด    จงพาดิฉันไปด้วย

เมื่อจะเจรจากับนายโจรนั้น   จึงกล่าวคาถา  ๑  คาถาว่า :-

ข้าแต่พราหมณ์    ท่านถือเอาห่อเครื่อง

ประดับทั้งหมดข้ามฝั่งไปแล้ว   ขอท่านจงรีบ

กลับมา   รีบนำดิฉันข้ามไปในบัดนี้ด้วย.

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ลหุ   ขิปฺป   ความว่า   ท่านจงรีบ

กลับมา  ท่านผู้เจริญขอท่านจงรีบนำฉันข้ามไปในบัดนี้ด้วย.

นายโจรได้ฟังดังนี้น  ยืนอยู่ที่ฝั่งโน้นนั่นแหละ.  จึงกล่าวคาถา

ที่  ๒  ว่า :-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 875

แน่ะนางผู้เจริญ   ท่านนับถือเราผู้อันท่าน

ไม่เคยเชยชิด  ยิ่งเสียกว่าสามีผู้ที่เคยเชยชิด

มานาน   นับถือเราผู้ไม่ใช่ผัว   ยิ่งเสียกว่าผัว

นางผู้เจริญจะพึงนับถือผู้อื่นยิ่งกว่าเราอีก   เรา

จักไปจากที่นี้ให้ไกลลิบ.

คาถานั้น   มีเนื้อความดังกล่าวในหนหลังแล.

ส่วนนายโจรกล่าวว่า  เราจักไปจากที่แม้นี้ให้ไกลลิบ  ท่านจง

อยู่เถิด   เมื่อนางร่ำร้องอยู่นั่นแล   พาเอาสิ่งของเครื่องประดับหนีไป.

ลำดับนั้น  หญิงพาลนั้นถึงความพินาศฉิบหายเห็นปานนี้    เพราะความ

อยากได้เกินไป  จึงเป็นคนไร้ที่พึ่งพา  ได้เข้าไปยังกอตะไคร่น้ำกอหนึ่ง

ในที่ไม่ไกล   นั่งร้องไห้อยู่.

ขณะนั้น    ท้าวสักกะทรงตรวจดูโลกอยู่     ทรงเห็นนางผู้ถูก

ความอยากได้เกินไปครอบงำผู้เสื่อมจากสามีและโจร   กำลังร้องไห้อยู่

ทรงดำริว่า  จักข่มหญิงนี้ให้ได้อายแล้วจักกลับมา  จึงทรงพาสารถีมาตลี

และปัญจสิขเทพบุตร   เสด็จมา   ณ  ที่นั้น   ประทับยืนที่ฝั่งแม่น้ำแล้ว

ทรงรับสั่งว่า ดูก่อนมาตลี  เธอจงเป็นปลา  ดูก่อนปัญจสิขะ เธอจงเป็น

นก    ส่วนเราจักเป็นสุนัขจิ้งจอกดาบชิ้นเนื้อไปยังที่ตรงหน้าของนาง

เมื่อเราไปที่นั้น   เธอจงโดดขึ้นจากน้ำตกลงตรงหน้าเรา   เมื่อเป็นเช่น

นั้น  เราจักทิ้งชิ้นเนื้อที่คาบเสีย แล้ววิ่งไปจะงับปลา  ขณะนั้น ตัวท่าน

ปัญจสิขะ     ที่แปลงเป็นนก     จงโฉบเอาชิ้นเนื้อนั้นบินไปในอากาศ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 876

ตัวท่านมาตลี   ที่แปลงเป็นปลา   จงโดดลงไปในน้ำ   เทพบุตรทั้งสอง

รับเทวบัญชาว่า    ดีละ     ข้าแต่เทวะ.     มาตลีสารถีได้แปลงเป็นปลา

ปัญจสิขเทพบุตรได้แปลงเป็นนก.      ท้าวสักกะแปลงเป็นสุนัขจิ้งจอก

คาบชิ้นเนื้อไปยังที่ตรงหน้าของนาง.  ปลาโดดขึ้นจากน้ำตกลงตรงหน้า

สุนัขจิ้งจอก.       สุนัขจิ้งจอกทั้งชิ้นเนื้อที่คาบแล้ววิ่งไปเพื่อจะเอาปลา.

ปลากระโดดไปตกลงในน้ำ  นกโฉบเอาชิ้นเนื้อบินไปในอากาศ.  สุนัข-

จิ้งจอกไม่ได้ทั้งสองอย่าง   มีน้ำนองด้วยน้ำตา   หมอบดูกอตะไคร้น้ำ

อยู่.    นางเห็นดังนั้นคิดว่า สุนัขจิ้งจอกนี้ถูกความหยากเกินไปครอบงำ

ไม่ได้ทั้งเนื้อและปลา       จึงหัวเราะลั่นประดุจทุบหม้อให้แตกฉะนั้น.

สุนับจิ้งจอกได้ฟังเสียงหัวเราะนั้น   จึงกล่าวคาถาที่   ๓  ว่า :-

ใครนี่มาทำการหัวเราะอยู่ที่กอตะไคร่น้ำ

ในที่นี้ก็ไม่มีการฟ้อนรำ  ขับร้องหรือการดีดสี

ตีเป่า   แน่ะนางผู้มีตะโพกอันผึ่งผาย    ทำไม

เจ้าจึงมาหัวเราะในเวลาที่ควรจะร้องไห้.

บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า    กาย   แยกออกเป็น   กา   อย

แปลว่า  ใครนี้   บทว่า   เอฬคณิคุมฺเพ   ได้แก่   ที่สุมทุมพุ่มไม้   การ

หัวเราะดังจนเห็นฟัน   ท่านเรียกว่า   อหุหาสิยะ.   สุนัขจิ้งจอกถามว่า

ใครนี่มาทำการหัวเราะลั่นอยู่ในพุ่มไม้นั้น. ด้วยบทว่า  นยิธ   นจฺจ  วา

นี้  ท่านแสดงว่า  ในที่นี้    การฟ้อนรำของใคร ๆ  ผู้ฟ้อนรำอยู่   การ

ขับร้องของใคร ๆ   ผู้ขับร้องอยู่    หรือเครื่องดุริยางค์ที่บรรเลงด้วยมือ

ซึ่งจัดไว้ดีแล้วของใคร ๆ ผู้กระทำมือให้ตั้งได้ที่ดีแล้วบรรเลงอยู่  ก็ไม่มี


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 877

ท่านเห็นสิ่งใดจึงหัวเราะ.  บทว่า  อนมฺหิกาเล  แปลว่า  ในกาลเป็น

ที่ร้องไห้.  บทว่า   สุสฺโสณิ   แปลว่า  ผู้มีตะโพกงาม.  บทว่า  กินฺนุ

ชคฺฆสิ ความว่า เพราะเหตุไรหนอ  ท่านจึงไม่ร้องไห้ในกาลที่ควรจะ

ร้องไห้    กลับหัวเราะเสียงลั่น.    สุนัขจิ้งจอกเมื่อจะสรรเสริญนางร้อง

เรียกว่า   โสภเน   แปลว่า   แน่ะนางงาม.

นางได้ฟังดังนั้น   จึงกล่าวคาถาที่  ๔  ว่า :-

แน่ะสุนัขจิ้งจอกพาลผู้โง่เขลาชาติชัม-

พุกะ   เจ้าเป็นสัตว์มีปัญญาน้อย   เสื่อมจาก

ปลาและชิ้นเนื้อ  ซบเซาอยู่เหมือนคนกำพร้า.

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า ชินฺโน ได้แก่  เป็นผู้ถึงความเสื่อม

บทว่า  เปสิญฺจ  ได้แก่  ชิ้นเนื้อ.  บทว่า   กปโณ  วิย  ฌายสิ  ความว่า

ท่านซบเซา   คือ   เศร้าโศก   เสียใจ    เหมือนคนกำพร้าแพ้ห่อทรัพย์

ตั้งพันฉะนั้น.

ลำดับนั้น   สุนัขจิ้งจอกจึงกล่าวคาถาที่  ๕  ว่า :-

โทษของผู้อื่นเห็นได้ง่าย      ส่วนโทษ

ของตนเห็นได้ยาก    เจ้านั่นแหละเสื่อมจาก

ผัวและชายชู้   ซบเซาแม้กว่าเราเสียอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น    ด้วยบทว่า   มมฺปิ     ตฺวญฺเว   ฌายสิ

นี้   พระมหาสัตว์เมื่อจะให้นางละอายแล้วถึงประการอันผิดแผกจึงกล่าว

อย่างนี้ว่า  ดูก่อนนางผู้ทุศีล  มีธรรมอันลามก  เราจักไม่ให้เหยื่อของ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 878

เราก่อน   แต่เจ้าถูกความหยากเกินไปครอบงำ    มีจิตปฏิพันธ์ในโจรที่

เห็นชั่วครู่     เสื่อมจากชายชู้นั้นและจากผัวที่ตระกูลแต่งให้     ว่าโดย

เปรียบเทียบกะเราแล้ว    เจ้าเป็นผู้กำพร้ากว่าร้อยเท่าพันเท่า    ซบเซา

ร้องไห้   ร่ำไรอยู่.

นางได้ฟังคำของสุนัขจิ้งจอกนั้นแล้ว   จึงกล่าวคาถาว่า :-

แน่ะพระยาเนื้อชาติชัมพุกะ  ท่านกล่าว

อย่างใด  ข้อนี้ก็เป็นอย่างนั้น  ฉันไปจากที่นี้

แล้ว       จักเป็นหญิงอยู่ในอำนาจของผัวแน่

นอน.

บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า   นูน    เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่า

แน่นอน.  นางกล่าวว่า  ฉันไปจากนี้แล้วได้ผัวใหม่   จักอยู่ในอำนาจ

คือเป็นไปในอำนาจของผัวนั้น  โดยแน่นอนทีเดียว.

ลำดับนั้น  ท้าวสักกเทวราชครั้นทรงสดับถ้อยคำของนางผู้ทุศีล

ไร้อาจาระจึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า :-

ผู้ใดนำภาชนะดินไป  แม้ภาชนะสำริด

ผู้นั้นก็จะต้องนำไป  บาปที่เจ้าทำไว้นั่นแหละ

เจ้าจะทำอย่างนั้นอีก.

คำที่เป็นคาถานั้น   มีความหมายว่า   ดูก่อนนางผู้อาจาระ   เจ้า

พูดอะไร    ผู้ใดนำภาชนะดินไปได้  แม้ภาชนะสำริดชนิดภาชนะทอง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 879

และภาชนะเงินเป็นต้น   ผู้นั้นก็จะนำเอาไปเหมือนกัน    ก็บาปนี้เจ้าทำ

ไว้นั่นแหละ   ใคร ๆ  ไม่อาจชำระสะสางให้แก่เจ้า     เจ้านั้นจักกระทำ

อย่างนี้อีกแน่นอน.

ท้าวสักกะนั้น    ครั้นทรงทำนางให้ได้อายถึงประการอันแปลก

อย่างนี้แล้ว   ได้เสด็จไปยังสถานที่ของพระองค์ทีเดียว.

พระศาสดา   ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว     จึงทรง

ประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก.   ในเวลาจบสัจจะ  ภิกษุผู้กระสัน

จะสึกดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.  ธนุคคหบัณฑิตในครั้งนั้น  ได้มาเป็น

ภิกษุผู้กระสันจะสึก   หญิงนั้นในครั้งนั้น  ได้มาเป็นภรรยาเก่า   ส่วน

ท้าวสักกเทวราชในครั้งนั้น   ได้เป็นเราตถาคต   ฉะนี้แล.

จบ  อรรถกถาจุลลธนุคคหชาดกที่  ๔


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 880

๕.  กโปตกชาดก

ว่าด้วยโภคะของมนุษย์

[๘๒๕]   บัดนี้   เราเป็นสุข  ไม่มีโรค   นกพิราบ

ผู้เหมือนหนามในหทัยบินไปแล้ว   บัดนี้   เรา

จักกระทำความยินดีแห่งหทัย    เพราะเหตุว่า

ชิ้นเนื้อและแกงจะทำให้เราเกิดกำลัง.

[๘๒๖]   นกยางอะไรนี่มีหงอน     ขี้ขโมย  เป็น

ปู่นก  โลดเต้นอยู่   แน่ะนกยาง        ท่านจง

ออกมีข้างนอกเสีย     กาผู้เป็นสหายของเรา

ดุร้าย.

[๘๒๗]   ท่านได้เห็นเรามีขนปีก   อันพ่อครัวถอน

แล้วทาด้วยน้ำข้าวเช่นนี้  ไม่ควรจะมาหัวเราะ

เยาะเลย.

[๘๒๘]   ท่านอาบดีแล้ว   ลูบไล้ดีแล้ว   เอิบอิ่ม

ไปด้วยข้าวแลน้ำ  และมีแก้วไพฑูรย์อยู่ที่คอ

ได้ไปกชังคละประเทศมาหรือ.

[๘๒๙]    เราจะเป็นมิตรหรือมิใช่มิตรของท่านก็

ตาม  ท่านอย่าได้กล่าวว่า  ท่านได้ไปยังกชัง-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 881

คละประเทศมีหรือ     เพราะว่าในกชังคละ-

ประเทศนั้น  ชนทั้งหลายถอนขนของเราออก

แล้ว   ผูกชิ้นกระเบื้องไว้ที่คอ.

[๘๓๐]   แน่ะสหาย    ท่านจะประสบสภาพเห็น

ปานนี้อีก     เพราะปกติของท่านเป็นเช่นนั้น

อันโภคของพวกมนุษย์ไม่ใช่เป็นของที่นก

จะกินได้ง่ายเลย.

จบ  กโปตกชาดกที่  ๕

อรรถกถากโปตกชาดกที่  ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่   ณ  พระวิหารเชตวัน   ทรงปรารภ

ภิกษุโลภรูปหนึ่ง   จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้    มีคำเริ่มต้นว่า   อิทานิ

โขมฺหิ  ดังนี้.

เรื่องภิกษุโลภ      ได้ให้พิสดารแล้วโดยเรื่องราวมิใช่น้อยเลย.

ส่วนในชาดกนี้     พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า      ก่อนภิกษุ  ได้

ยินว่าเธอเป็นผู้โลภจริงหรือ เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า  พระเจ้าข้า  ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ.   จึงตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น  แม้

ในกาลก่อน   เธอก็เป็นคนโลภมาแล้ว   ก็เพราะความเป็นคนโลภ   จึง

ได้ถึงความสิ้นชีวิต  แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก  ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล    เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 882

พาราณสี    พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนกพิราบอยู่ในกระเช้าที่เขา

ทำเป็นรังนก   ในโรงครัวของท่านพาราณสีเศรษฐี.   ครั้งนั้น   มีกา

ตัวหนึ่งอยากได้เนื้อปลา    จึงกระทำไมตรีกับนกพิราบนั้น    ได้อยู่ใน

กระเช้ารังนั้นเหมือนกัน.  วันหนึ่ง  กานั้นเห็นเนื้อปลามากมาย  คิดว่า

จักกินเนื้อปลานี้   จึงนอนถอนใจอยู่ในกระเช้าที่เป็นรังนั่นแหละ   แม้

นกพิราบจะกล่าวว่า   มาเถอะสหาย   พวกเราจักไปหากินกัน   ก็กล่าว

ว่า   ฉันมึนเมาเพราะอาหารไม่ย่อย   ท่านจงไปเถอะ.  เมื่อนกพิราบนั้น

ไปแล้ว   คิดอยู่ว่า    เสี้ยนหนามคือศัตรูของเราไปแล้ว   บัดนี้    เราจัก

กินเนื้อปลาได้ตามชอบใจ   จึงกล่าวคาถาที่  ๑  ว่า :-

บัดนี้   เราเป็นสุข  ไม่มีโรค  นกพิราบ

เป็นเสี้ยนหนามในหทัย  บินไปแล้ว  บัดนี้

เราจักกระทำความยินดีแห่งหทัย   เพราะเหตุ

ว่าชิ้นเนื้อและแกงจะทำให้เราเกิดกำลัง.

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า   นิปฺปติโต    แปลว่า  ออกไปแล้ว.

บทว่า   กโปโต ได้แก่  นกพิราบ.  บทว่า   กาหามิทานิ   แปลว่า  บัดนี้

เราจักกระทำ.  บทว่า  ตถา  หิ  ม  มสสาก   พเลติ  ความว่า  เพราะ

เนื้อและแกงที่เหลือ   ย่อมทำกำลังให้แก่เราโดยแท้    อธิบายว่า    เนื้อ

และแกงย่อมทำความอุตสาหะแก่เรา  เสมือนจะพูดว่า  จงลุกขึ้นกินเถิด.

กานั้น   เมื่อพ่อครัวทอดเนื้อปลาแล้วออกไปเช็ดเหงื่อออกจาก

ตัว   จึงออกจากกระเช้าแล้ว แอบอยู่ในภาชนะใส่เครื่องปรุงอาหารให้


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 883

มีรส     ภาชนะใส่เครื่องเทศ    ทำให้เกิดสียงดังกริ้ก ๆ.  พ่อครัว

จึงมาจับกาถอนขนออกหมด       แล้วบดขิงสดกับแป้งและเมล็ดผักกาด

ขยำกระเทียมเข้ากับเปรียงบูด   ทาจนทั่วตัว  แล้วเราะกระเบื้องอันหนึ่ง

เจาะให้ทะลุร้อยด้ายผูกไว้ที่คอกานั้น      ใส่มันเข้าไว้ในรังกระเช้าตาม

เดิม   ได้ไปแล้ว.   นกพิราบกลับมาเห็นดังนั้น   เมื้อจะทำการเยาะเย้ย

ว่า    นี่นกยางอะไรมานอนอยู่ในกระเช้าของสหายเรา   ก็สหายของเรา

นั้นดุร้าย   กลับมาแล้วจะพึงฆ่าเจ้าเสีย   จึงกล่าวคาถาที่  ๒  ว่า :-

นี่นกยางอะไรมีหงอน  ขี้ขโมยเป็นปู่นก

โลดเต้นอยู่   แน่ะนกยาง   ท่านจงออกมาข้าง

นอกเสีย   กาผู้เป็นสหายของเราดุร้าย.

คาถานั้น   มีเนื้อความได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล.   กาได้ฟัง

ดังนั้น   จึงกล่าวคาถาที่  ๓  ว่า :-

ท่านได้เห็นเรามีขนอันพ่อครัวถอนหมด

แล้วทาด้วยแป้งเช่นนี้    ไม่ควรจะหัวเราะเยาะ

เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า  อล   เป็นนิบาต   ใช้ในอรรถว่า

ปฏิเสธ.   บทว่า   ชคฺฆิตาเส  แปลว่า   หัวเราะ.  ท่านกล่าวอธิบายนี้

ไว้ว่า บัดนี้  ท่านเห็นเราได้รับทุกข์เช่นนี้   คืออย่างนี้   ไม่ควรจะหัวเราะ

คือ  ท่านอย่ากระทำการหัวเราะเยาะในกาลเช่นนี้.

นกพิราบนั้น   กระทำการหัวเราะอยู่นั่นแล    จึงกล่าวคาถาที่

๑.  บาลีว่า  ชคฺฆิตาเย.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 884

๔  อีกว่า :-

ท่านอาบดีแล้ว    ลูบไล้ดีแล้ว   เอิบอิ่มไป

ด้วยข้าวและน้ำ     และมีแก้วไพฑูรย์อยู่ที่คอ

ได้ไปกชังคละประเทศมาหรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น  ด้วยบทว่า   กณฺเฐ   จ  เต  เวฬุริโย  นี้

นกพิราบหมายเอา    กระเบื้องนั่นแหละ     กล่าวว่า    แม้แก้วไพฑูรย์

ขอท่านนี้  ก็ประดับอยู่ที่คอ. ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้   ท่านไม่แสดง

แก้วไพฑูรย์นี้แก่เราเลย. ด้วยบทว่า  กชงฺคลํ  นี้   เมืองพาราณสีเท่านั้น

ท่านประสงค์เอาว่า  กชังคละประเทศ  ในที่นี้.  นกพิราบถามว่า  ท่าน

ออกจากที่นี้ไป  ได้ไปยังภายในเมืองมาหรือ ?

ลำดับนั้น   กาจึงกล่าวคาถาที่  ๕  ว่า  :-

คนผู้เป็นมิตรหรือเป็นศัตรูของท่านก็ตาม

¹³ยกศัพท์ บรรทัดที่ ๑๓อยู่ได้ไปกชังคละประเทศเลย     เพราะใน

กชังคละประเทศนั้น     คนทั้งหลายถอนขน

ของเราออกแล้วผูกกระเบื้องกลมไว้ที่คอ.

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ปิญฺชานิ   ได้แก่  ขนหางทั้งหลาย

บทว่า   ตตฺถ   ลายิตฺวา  ความว่า  ในนครพาราณสีนั้น  ชนทั้งหลาย

ถอน.   บทว่า   วฏฺฎนํ  ได้แก่   กระเบื้อง.

นกพิราบได้ฟังดังนั้น   จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 885

แน่ะสหาย   ท่านจะประสบสภาพเห็น

ปานนี้อีก        เพราะปกติของท่านเป็นเช่นนี้

ธรรมดาของบริโภคของมนุษย์  ไม่เป็นของที่

พวกนกจะกินได้ง่ายเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า   ปุนปาปชฺชสี    ความว่า   ท่าน

จักถึงสภาพเห็นปานนี้แม้อีก   เพราะปกติของท่านเห็นปานนี้.

นกพิราบนั้นโอวาทกานั้น    ด้วยประการยังนี้แล้วก็ไม่อยู่ในที่

นั้น  ได้กางปีกบินไปที่อื่นแล้ว.    ฝ่ายกาก็ถึงความสิ้นชีวิตอยู่ในที่นั้น

นั่นเอง.

พระศาสดา  ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว  ทรง

ประกาศสัจจะทั้งสี่   แล้วทรงประชุมชาดก.   ในเวลาจบสัจจะ   ภิกษุผู้

โลภได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล.   กาในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุผู้โลภใน

บัดนี้   ส่วนนกพิราบในครั้งนั้น   ได้เป็นเราตถาคต   ฉะนี้แล.

จบ  อรรถกถากโปตกชาดกที่  ๕

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้  คือ

๑.  ทีฆีติโกสลชาดก    ๒.  มิคโปตกชาดก    ๓.  มูสิกชาดก

๔.  จุลลธนุคคหชาดก   ๕.  กโปตกชาดก.

จบ   อัฑฒวรรคที่   ๓

รวมวรรคที่มีในปัญจกนิบาตคือ

๑. มณิกุณฑลวรรค   ๒.วรรณาโรหวรรค  ๓. อัฑฒวรรค.

จบ อรรถกถาปัญจกนิบาต


没有评论: