NIRUTTI SAPHA 74N C1 100


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 1

จริยาปิฎก

๑. การบำเพ็ญทานบารมี

๑. อกิตติจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของอกิตติดาบส

[๑]  ในสี่อสงไขยแสนกัป  ความประพฤติอัน

ใดในระหว่างนี้   ความประพฤติทั้งหมดนั้น เป็น

เครื่องบ่มพระโพธิญาณ   เราจักเว้นความประ-

พฤติในภพน้อยใหญ่ในกัปล่วงแล้วเสีย    จัก

บอกความประพฤติในกัปนี้  จงฟังเรา  ในกาล

ใด  เราเป็นดาบส  ชื่ออกิตติ  เข้าไปอาศัยอยู่

ในป่าใหญ่อันว่างเปล่า    สงัดเงียบ   ปราศจาก

เสียงอื้ออึง   ในกาลนั้น   ด้วยเดชแห่งการประ-

พฤติตบะของเรา   สมเด็จอัมรินทร์ผู้ครองไตร-

ทิพย์ทรงร้อนพระทัย        ทรงแปลงเพศเป็น

พราหมณ์เข้ามาหาเราเพื่อภิกษา  เราได้เห็นอินท-

พราหมณ์มาขึ้นอยู่ใกล้ประตูบรรณศาลาของเรา

จึงเอาใบหมากเม่าที่เรานำมาแต่ป่า   อันไม่มีน้ำ-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 2

มัน    ทั้งไม่เค็มให้หมด      พร้อมกับภาชนะ.

ครั้นได้ให้หมากเม่าแก่อินทพราหมณ์นั้นแล้ว

เราจึงคว่ำภาชนะ    ละการแสวงหารบทมากเม่า

ใหม่    เข้าไปยังบรรณศาลา     แม้ในวันที่  ๒

แม้ในวันที่  ๓  อินทพราหมณ์ก็เข้ามายังสำนัก

ของเรา   เราไม่หวั่นไหว  ไม่อาลัยในชีวิต  ได้

ให้หมดสิ้นเช่นวันก่อนเหมือนกัน    ในสรีระ

ของเราไม่มีความหมองศรีเพราะการอดอาหาร

นั้นเป็นปัจจัย  เรายังวันนั้น ๆ      ให้น้อมล่วง

ไปด้วย     ปีติ    สุข   และความยินดี   ถ้าเรา

พึงได้ทักขิไณยบุคคลผู้ประเสริฐ      แม้เดือน

หนึ่งสองเดือนเราก็ไม่หวั่นไหว     ไม่ท้อแท้ใจ

พึงทานอันอุดม  เมื่อให้ทานแก่  อินทพราหมณ์

นั้น      เราจะได้ปรารถนายศและลาภก็หามิได้

เราปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณเท่านั้น     จึง

ได้ประพฤติกรรมเหล่านั้น ฉะนี้.

จบอกิตติจริยาที่  ๑


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 3

อรรถกถาจริยาปิฎก

ในขุททนิกายชื่อว่าปรมัตถทีปนี

ขอความนอบน้อมจงมีแด่

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระองค์นั้น

 

คันถารัมภกถา

(กถาเริ่มแต่งคัมภีร์)

พระจริยาเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพ

โลกของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณ

ใหญ่พระองค์ใด      ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ผู้มีอานุภาพเป็นอจิน-

ไตย  ผู้เป็นนายกเลิศของโลก.

พระจริยาสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ

นำสัตว์ออกจากโลกด้วยพระธรรมใด  ข้าพเจ้า

ขอนมัสการพระธรรมอันอุดมนั้น  อันพระสัม-

มาสัมพุทธเจ้าทรงบูชาแล้ว.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 4

พระอริยสงฆ์ใด      เป็นผู้ตั้งอยู่ในมรรค

และผลสมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น   ข้าพเจ้า

ขอนอบน้อมพระอริยสงฆ์นั้น ผู้เป็นเนื้อนาบุญ

อันยอดเยี่ยม.

บุญใด     เกิดแต่การนอบน้อมนมัสการ

พระรัตนตรัย    ขอข้าพเจ้า  ปราศจากอันตราย

ในที่ทั้งปวงด้วยเดชแห่งบุญนั้น.

บารมีใด    มีทานบารมีเป็นต้น   อันเป็น

บารมีชั้นอุกฤษฏ์ซึ่งบุคคลทำได้ยาก   อันพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณใหญ่ประทับ

อยู่  ณ  นิโครธารามในแคว้นสักกะ    ทรงประ-

กาศอานุภาพแห่งสัมโพธิจริยา  แห่งพระบารมี

เหล่านั้น  ทรงสะสมไว้ในภัตรกัปนี้.

ปิฎกใด  ชื่อว่าจริยาปิฎกอันพระโลกนาถ

ทรงแสดงแล้วแก่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้

เป็นยอดแห่งพระสาวกทั้งปวง.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 5

พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายผู้แสวง

หาคุณใหญ่    ได้ร้อยกรองปิฎกใดอันแสดงถึง

เหตุสมบัติของพระศาสดา.

การพรรณนาอรรถที่ทำได้ยาก     ข้าพเจ้า

สามารถจะทำได้เพราะอาศัยนัยอันจำแนกสัม-

โพธิสมภารแห่งปิฎกนั้น.

เพราะการพรรณนาอันเป็นคำสอนของ

พระศาสดา   จะทรงอยู่    การวินิจฉัยของบุรพ-

จารย์ผู้เป็นดังสีหะ  จะดำรงอยู่  ฉะนั้น  ข้าพเจ้า

จะรักษาและยึดปิฎกนั้นอันเป็นนัยแห่งอรรถ-

กถาเก่า    อาศัยชาดกโดยประการทั้งปวงเป็นที่

อาศัยได้  มิใช่เป็นทางแห่งคำพูด  บริสุทธิ์ด้วย

ดี  ไม่วุ่นวาย  เป็นข้อวินิจฉัยอรรถอันละเอียด

ของพระเถระทั้งหลายผู้อาศัยอยู่  ณ  มหาวิหาร

แล้วจักทำการพรรณนาอรรถแห่งจริยาปิฎกนั้น

แสดงพระบารมีอันมีเนื้อความที่ได้แนะนำแล้ว

และควรแนะนำต่อไป.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 6

ด้วยประการฉะนี้ขอท่านสาธุชนทั้งหลาย

เมื่อหวังให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ตลอดกาลนาน

จงพิจารณาอรรถแห่งปิฎกนั้น      ซึ่งจำแนกไว้

ฉะนี้แล.

ในบทเหล่านั้นบทว่า   จริยาปิฎก   ชื่อว่าจริยาปิฎกด้วยอรรถว่าอย่าง

ไร  ?  ด้วยอรรถว่าเป็นตำราประกาศถึงพระจริยานุภาพของพระศาสดาในชาติ

ที่เป็นอดีต.    จริงอยู่  ปิฎก   ศัพท์นี้   มีอรรถว่า ตำรา  ดุจในบทมีอาทิว่า  มา

ปิฏกสมฺปาทเนน   อย่าเชื่อโดยอ้าง   ตำรา.   อีกอย่างหนึ่ง   เพราะปริยัตินั้น

เป็นดังภาชนะประกาศอานุภาพของพระจริยาทั้งหลาย   ในชาติก่อนของพระ-

ศาสดานั้นเอง   ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า  จริยาปิฎกจริงอยู่   แม้อรรถว่าภาชนะ

ท่านก็แสดงถึง   ปิฎก   ศัพท์ ดุจในประโยคมีอาทิว่า  อถ  ปุริโส อาคจฺเฉยฺย

กุทาลปิฏก     อาทาย     ครั้นบุรุษเดินมาก็ถือเอาจอบและ  ตะกร้า มาด้วย.

อนึ่ง   จริยาปิฎกที่นั้นนับเนื่องอยู่ในสุตตันตปิฎก   ในปิฎก ๓ คือ  วินัยปิฎก

สุตตันตปิฎก  อภิธรรมปิฎก.    นับเนื่องอยู่ในขุททกนิกายในนิกาย  ๕  คือ

ทีฆนิกาย    มัชฌิมนิกาย    สังยุตตนิกาย    อังคุตตรนิกาย   ขุททกนิกาย.

สงเคราะห์เข้าใน    คาถา     ในองค์แห่งคำสอน  ๙  องค์   คือ สุตตะ  เคยยะ

เวยยากรณะ คาถา อุทาน  อิติวุตตกะ  ชาตกะ  อัพภูตะ  เวทัลละ.   สงเคราะห์

เข้าในธรรมขันธ์เบ็ดเตล็ดในธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐  พระธรรมขันธ์   อันท่าน

ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก    ได้ประกาศไว้อย่างนี้ว่า :-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 7

เราได้ถือธรรมที่ปรากฏแก่เราจากพระ-

พุทธเจ้า   ๘๒,๐๐๐  พระธรรมขันธ์     จากภิกษุ

,๐๐๐   พระธรรมขันธ์.

โดยวรรคสงเคราะห์เข้าใน  ๓  วรรค   คือ   อกิตติวรรค   หัตถินาค-

วรรค   ยุธัญชนวรรค.    โดยจริยาสังเคราะห์เข้าในจริยา ๓  คือใน  อกิตต-

วรรค ๑๐  ในหัตถินาควรรค  ๑๐  ในยุธัญชนวรรค ๑๕  ใน ๓ วรรค อกิตติ-

วรรค   เป็นวรรคต้น.   ในจริยา   อกิตติจริยา   เป็นจริยาต้น.   คาถาต้นของ

อกิตติจริยานั้น   มีอาทิว่า :-

ความประพฤติทั้งหมด      ในระหว่างสี่

อสงไขยแสนกัป   เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

ต่อจากนี้ไปจะเป็นการพรรณนาอรรถของจริยาปิฎกนั้นตามลำดับ.

จบ   คันถวรัมภกถา


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 8

นิทานกถา

เพราะการพรรณนาอรรถนี้    ท่านกล่าวแสดงนิทาน ๓ เหล่านี้     คือ

ทูเรนิทาน   นิทานมีในที่ไกล   อวิทูเรนิทาน  นิทานมีในที่ไม่ไกล   สันติเก

นิทาน นิทานมีในที่ใกล้  เป็นอันผู้ฟังทั้งหลายย่อมรู้แจ้งด้วยดีตั้งแต่เริ่มเรื่อง

ฉะนั้น   พึงทราบการจำแนกนิทานเหล่านั้น   ดังต่อไปนี้.

กถามรรคตั้งแต่พระมหาโพธิสัตว์ทรงสะสมบารมี       ในศาสนาของ

พระทุศพลพระนามว่าทีปังกรจนกระทั่งทรงอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต      ชื่อว่า

ทูเรนิทาน.  กถามรรคที่เป็นไปแล้วตั้งแต่สวรรค์ชั้นดุสิตจนถึงบรรลุพระ-

สัพพัญญุตญาณ   ณ  โพธิมณฑล ชื่อว่า อวิทูเรนิทาน. กถามรรคที่เป็นไปแล้ว

ตั้งแต่มหาโพธิมณฑลจนถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน  ชื่อว่า  สันติเกนิทาน.

ในนิทาน ๓ อย่างนี้  เพราะทูเรนิทานและอวิทูเรนิทาน เป็นสรรพสาธารณะ

ฉะนั้น   นิทานเหล่านั้น  พึงทราบโดยพิสดารตามนัยกล่าวไว้พิสดารแล้วใน

อรรถกถาชาดก   นั่นแล.      แต่ในสันติเกนิทานมีความต่างออกไป    ดังนั้น

พึงทราบกถาโดยสังเขปแห่งนิทานแม้  ๓   อย่าง  ตั้งแต่ต้น   ดังต่อไปนี้.

ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าทีปังกร   พระพุทธเจ้าผู้

เป็นที่พึ่งของโลก    เป็นพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐  ทัศ   สมควรแก่

อภินิหารของพระองค์   ทรงยังบารมีที่สะสมมาเพื่อพระสัพพัญญุตญาณให้ถึง

ที่สุด   เสด็จอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต   รอเวลาเพื่อให้เกิดความเป็นพระพุทธะ

ทรงดำรงอยู่ ณ  สวรรค์ชั้นดุสิตนั้นตราบเท่าถึงอายุขัย     จุติจากนั้นแล้วทรง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 9

ถือปฏิสนธิในตระกูลศากยราช    ทรงได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี ทรงเจริญ

ด้วยสิริโสภาคอันยิ่งใหญ่   ถึงความเป็นหนุ่มโดยลำดับ    เมื่อพระชนม์  ๒๙

พรรษา       เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์   ทรงเริ่มทำความเพียรใหญ่อยู่ถึง ๖ ปี

ประทับนั่ง  ณ  โคนต้นโพธิในวันวิสาขบูรณมี    เมื่อดวงอาทิตย์ตกทรงกำจัด

มารและพลมาร    ในปฐมยามทรงได้บุพเพนิวาสญาณ ( ระลึกชาติได้)  ใน

มัชฌิมยาม   ทรงได้ทิพยจักษุ  ในปัจฉิมยาม   ทรงยังกิเลสพันห้าร้อยให้สิ้น

ไป  ทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ.

แต่นั้นทรงประทับอยู่ ณ แถว ๆ นั้นล่วงไป ๗ สัปดาห์ แล้วเสด็จไป

ยังป่าอิสิปตนมฤคทายวันกรุงพาราณสี    ในวันอาสาฬหบูรณมี  ( ขึ้น ๑๕ ค่ำ

เดือน ๘ )  ยังพรหม ๑๘ โกฏิ    มีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นประมุขให้ดื่ม

อมตธรรม   ทรงยังพระธรรมจักรให้เป็นไป  ยังเวไนยสัตว์มีพระยสะเป็นต้น

ให้ตั้งอยู่ในอรหัตผล   แล้วทรงมอบให้พระอรหันต์  ๖๐  รูป  ทั้งหมดเหล่านั้น

ไปเพื่ออนุเคราะห์สัตวโลก   พระองค์เองเมื่อจะเสด็จไปยังอุรุเวลา    ยังพระ-

ภัททวัคคีย์ ๓๐  รูป     ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลเป็นต้น   ณ  ไร่ฝ้าย    ครั้น

เสด็จถึงอุรุเวลาแล้วได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์  ๓,๕๐๐  ครั้ง        ทรงแนะนำชฏิล

สามพี่น้องมีอุรุเวลกัสสปเป็นต้นกับชฏิลบริวารอีกหนึ่งพัน  อันชฎิลเหล่านั้น

แวดล้อมแล้วประทับนั่ง  ณ  สวนลัฏฐิวัน  ใกล้กรุงราชคฤห์  ทรงยังพราหมณ์

และคฤหบดีแสนสองหมื่น     มีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประมุข     ให้หยั่งลงใน

พระศาสนาประทับอยู่  ณ  เวฬุวันมหาวิหารอันพระราชามคธทรงสร้างถวาย.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 10

ครั้นต่อมาเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร

เมื่อทรงตั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะไว้ในตำแหน่งพระอัครสาวก

เมื่อเกิดสาวกสันนิบาต  พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงสดับว่า  มีข่าวว่าพระ-

โอรสของเราบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ถึง  ๖  ปี แล้วได้บรรลุพระปรมาภิเษกพสัมโพธิ-

ญาณ   ทรงยังธรรมจักรอันบวรให้เป็นไป   ทรงอาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่

ดังนี้     จึงทรงส่งอำมาตย์  ๑๐  คนมีบุรุษหนึ่งหมื่นเป็นบริวารรับสั่งว่า พวกเจ้า

จงนำโอรสของเรามา  ณ ที่นี้.   เมื่ออำมาตย์เหล่านั้นไปกรุงราชคฤห์แล้ว  ได้

ตั้งอยู่ในพระอรหัต   เพราะพระธรรมเทศนาของพระศาสดา   พระกาฬุทายี-

เถระกราบทูลความประสงค์ของพระราชบิดาให้ทรงทราบ        พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแวดล้อมด้วยพระขีณาสพสองหมื่นเสด็จออกจากกรุงราชคฤห์       ถึง

กรุงกบิลพัสดุประมาณ  ๖๐  โยชน์ เวลาสองเดือน.  บรรดาเจ้าศากยะทั้งหลาย

ทรงประชุมกันด้วยหวังพระทัยว่า     จักเห็นพระญาติผู้ประเสริฐของพวกเรา

จึงรับสั่งให้สร้างนิโครธารามเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า   และเป็น

ที่อยู่ของภิกษุสงฆ์      ต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น     ทรงกระทำการ

ต้อนรับทูลอาราธนาพระศาสดาให้เสด็จเข้าไปยังนิโครธาราม.

ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า       แวดล้อมด้วยพระขีณาสพสองหมื่น

ประทับเหนือพุทธาสนะอันประเสริฐที่เจ้าศากยะปูถวาย.  เจ้าศากยะทั้งหลาย

ทรงมานะจัดมิได้ทรงทำความเคารพ.    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยา-

ศัยของเจ้าศากยะเหล่านั้น   แล้วทรงเข้าจตุตถฌานมีภิญญาเป็นบาทเพื่อทำ-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 11

ลายมานะ   แล้วทำเจ้าศากยะเหล่านั้นให้เป็นภาชนะรองรับ พระธรรมเทศนา

ทรงออกจากสมาบัติเหาะไปสู่อากาศ    ดุจเรี่ยรายฝุ่นพระบาทลงบนพระเศียร

ของเจ้าศากยะเหล่านั้น  ได้ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์เช่นกับปาฏิหาริย์ที่พระ

องค์การทำ ณ โคนต้นคัณฑมัพพฤกษ์.    พระราชาทอดพระเนตรเห็นความ

อัศจรรย์นั้น   ทรงดำริว่าโอรสนี้เป็นบุคคลเลิศในโลก.    เมื่อพระราชาถวาย

บังคมแล้ว     เจ้าศากยะทั้งหลายเหล่านั้นไม่อาจเฉยอยู่ได้     ทั้งหมดก็พากัน

ถวายบังคม.

นัยว่าในครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า    เมื่อทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์

ได้ทรงกระทำปาฏิหาริย์เปิดโลก     เมื่อปาฏิหาริย์เป็นไปอยู่พวกมนุษย์ยืนอยู่

ก็ตาม  นั่งอยู่ก็ตามในมนุษยโลก  ย่อมเห็นแต่เทวดาสนทนาธรรมซึ่งกันและ

กัน      ตั้งแต่สวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกาถึงชั้นอกนิฏฐภพด้วยตาของตนด้วย

พุทธานุภาพ   ในผืนแผ่นดินเบื้องล่าง  ย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลายเสวยมหาทุกข์

ในนรกนั้น ๆ  คือ  ในมหานรก ๘ ขุม   ในอุสสทนรก ๑๖ ขุม   และในโล-

กันตริยนรก.   พวกเทวดาในหมื่นโลกธาตุ    เข้าไปเฝ้าพระตดถาคตด้วยเทวา-

นุภาพอันยิ่งใหญ่   บังเกิดจิตอัศจรรย์อย่างไม่เคยมี   ประคองอัญชลีนมัสการ

พากันเข้าไปเฝ้า        ต่างเปล่งคาถาปฏิสังยุตด้วยพระพุทธคุณ   สรรเสริญ

ปรบมือรื่นเริง   ประกาศถึงปีติและโสมนัส.   ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

ภุมมเทวดา  จาตุมมหาราชิกาเทวดา  พวก

เทพชั้นดาวดึงส์    ยามา    ดุสิต    นิมมิตเทพ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 12

ปรนิมมิตเทพ  และหมู่พรหมกายิกา  ต่างยินดี

พากันบอกกล่าวป่าวร้องแพร่หลาย.

ก็ในครั้งนั้นพระทศพล  ทรงดำริว่า  เราจักแสดงกำลังของพระพุทธ-

เจ้าของพระองค์มิให้มีใครเปรียบได้   จึงเพิ่มพระมหากรุณาให้สูงขึ้น   ทรง

เนรมิตจงกรมในที่ประชุมหมื่นจักรวาฬบนอากาศ      เสด็จยืน  ณ  ที่จงกรม

สำเร็จด้วยแก้วทุกอย่างในเนื้อที่กว้าง ๑๒ โยชน์    ทรงแสดงปาฏิหาริย์แสดง

ถึงอานุภาพแห่งสมาธิและญาณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น

น่าอัศจรรย์       ตกไปในที่แห่งเดียวกันของเทวดามนุษย์และผู้ไปในเวหาได้

เห็นกันตามที่กล่าวแล้ว   เสด็จจงกรม  ณ  ที่จงกรมนั้น  ทรงแสดงธรรม  สมควร

แก่อัธยาศัยของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย  ด้วยพระพุทธลีลาอันไม่มีที่เปรียบ  อันมี

อานุภาพที่เป็นอจินไตย.   ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านี้   ย่อม

ไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้านี้     เป็นผู้สูงสุดว่าคนเป็น

เช่นไร   กำลังฤทธิ์  และกำลังปัญญาเป็นเช่นไร

กำลังของพระพุทธเจ้าพึงเป็นประโยชน์แก่

สัตวโลก   เป็นเช่นไร

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านี้ย่อมไม่

รู้ว่า   พระพุทธเจ้านี้     เป็นผู้สูงสุดกว่าคนเป็น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 13

เช่นนี้  กำลังฤทธิ์   และกำลังปัญญาเป็นเช่นนี้

กำลังพระพุทธเจ้าพึงเป็นประโยชน์แก่โลก

เป็นเช่นนี้.

เอาเถิดเราจักแสดงกำลังของพระพุทธ-

เจ้าอันยอดเยี่ยม    เราจักเนรมิตจงกรมประดับ

ด้วยแก้วบนท้องฟ้า.

เมื่อพระตถาคตทรงแสดงปาฏิหาริย์   แสดงถึงพุทธานุภาพของพระองค์

อย่างนี้แล้วทรงแสดงธรรม  ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร  ยืนอยู่บนภูเขา

คิชฌกูฎในกรุงราชคฤห์    เห็นด้วยทิพยจักษุ    เกิดจิตอัศจรรย์ไม่เคยมีด้วย

การเห็นพุทธานุภาพนั้น   จึงเกิดความคิดขึ้นว่า  เอาละเราจักทำพุทธานุภาพ

ให้ปรากฏแก่โลกให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป     จึงแจ้งความนั้นแก่ภิกษุ   ๕๐๐  ซึ่งเป็น

บริวารของตน  ทันใดนั้นเองจึงมาทางอากาศด้วยฤทธิ์พร้อมกับบริวาร  เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า   ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์   ประคองอัญชลี

ขึ้นเหนือศีรษะ    กราบทูลถามถึงมหาภินิหารและการบำเพ็ญบารมีของพระ-

ตถาคต   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำท่านพระสารีบุตรนั้นให้เป็นกายสักขี

คือ พยานทางกาย เมื่อจะทรงแสดงพุทธานุภาพของพระองค์  แก่พวกมนุษย์

ที่ประชุมกัน   และเทวดาพรหมในหมื่นจักรวาฬจึงทรงแสดงพุทธวงศ์. สมดัง

ที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 14

พระสารีบุตรผู้มีปัญญามาก      ฉลาดใน

สมาธิฌาน   บรรลุบารมีด้วยปัญญา   ย่อมทูล

ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นนายกแห่งโลกว่า

ข้าแต่พระมหาวีระผู้สูงสุดกว่าคน      อภินิหาร

ของพระองค์เป็นเช่นไร  ข้าแต่ท่านผู้ทรงปัญญา

ในกาลไร    ที่พระองค์ทรงปรารถนาความตรัสรู้

อันอุดม.

ทาน  ศีล  เนกขัมมะ  ปัญญา  วิริยะ  ขันติ

สัจจะ   อธิษฐาน  เมตตาและอุเบกขาเป็นเช่น

ไร.

ข้าแต่ท่านผู้ทรงปัญญา  ผู้เป็นนายกแห่ง

สัตวโลก   บารมี  ๑๐  ที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ

แล้วเป็นเช่นไร.

อุปบารมีเป็นอย่างไร   ปรมัตถบารมีเป็น

อย่างไร.

พระองค์ผู้มีพระสุรเสียงไพเราะ    ดุจนก

การะเวก ข้าพระองค์เมื่อจะยังหทัยให้เยือกเย็น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 15

ยังมนุษย์พร้อมด้วยเทวดาให้รื่นเริง   จึงทูลถาม

ขอพระองค์ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิด.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพุทธวงศ์อย่างนี้แล้ว      ท่านพระ-

ธรรมเสนาบดีสารีบุตรส่งญาณมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ว่า โอ การถึงพร้อม

ด้วยเหตุ  การถึงพร้อมด้วยผล  การสำเร็จแห่งมหาภินิหาร   ของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีอย่างนี้ตลอดกาลเพียงนี้   ทรง

กระทำสิ่งที่คนทำได้ยาก       นี่เป็นผลอันสมควรแก่การสะสมโพธิสมภารอัน

เป็นวิธีอย่างนี้   คือ   ความเป็นพระสัพพัญญู   ความเป็นผู้ชำนาญในกำลังทั้ง

หลาย   ความเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้     ความเป็นผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้.

ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรนั้น  ตามไปตามระลึกถึง  โดยติดตาม

ธรรม     ถึงพระพุทธคุณอันมีอานุภาพเป็นอจินไตยมีอาทิอย่างนี้   คือ   ศีล

สมาธิ  ปัญญา   วิมุติ  วิมุติญาณทัศนะ  หิริโอตตัปปะ  ศรัทธา  วิริยะ  สติ-

สัมปชัญญะ  ศีลวิสุทธิ  ทิฏฐิวิสุทธิ  สมถะ  วิปัสสนา  กุสลมูล  ๓  สุจริต ๓

สัมมาวิตก  ๓  สัญญาที่ไม่มีโทษ  ๓  ธาตุ  ๓  สติปัฏฐาน  ๔  สัมมัปปธาน  ๔

อิทธิบาท ๔  อริยมรรค  ๔   อริยสัจ ๔  ปฎิสัมภิทา ๔ ญาณกำหนดกำเนิด    ๔

อริยวงศ์ ๔ เวสารัชชญาณ  ๔ ปธานิยังคะ  ( องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร) ๕

สัมมาสมาธิมีองค์  ๕  อินทรีย์ ๕ พละ ๕ นิสสรณิยธาตุ (ธาตุนำออกไป ) ๕

วิมุตตายตนญาณ (ญาณมีอายตนะพ้นไปแล้ว)๕  วิมุตติปริปาจนียธรรม(ธรรม


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 16

อันเป็นความงอกงามแห่งวิมุติ )  ๕  สาราณิยธรรม ๖  อนุสสติ ๖   คารวะ ๖

นิสสรณียธาตุ ๖ สัตตวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนื่องๆ) ๖ อนุตตริยะ ๖

นิพเพธภาคิสัญญา (สัญญาอันเป็นส่วนแทงตลอด) ๖  อภิญญา ๖ อสาธารณ-

ญาณ ๖  อปริหานิยธรรม ๗  อริยทรัพย์ ๗ โพชฌงค์ ๗  สัปปุริสธรรม ๗

นิททสวัตถุ   ( เรื่องชี้แจง ) ๗   สัญญา ๗    ทักขิไณยบุคคลเทศนา    ( การ

แสดงถึงทักขิไณยบุคคล)  ๗    ขีณสวพลเทศนา     ( การแสดงถึงกำลังของ

พระขีณาสพ ) ๗  ปัญญาปฏิลาภเหตุเทศนา  ( การชี้แจงถึงเหตุได้ปัญญา ) ๘

สัมมัตตะ ๘  การก้าวล่วงโลกธรรม  ๘ อารัมภวัตถุ (เรื่องปรารภ) ๘ อักขณ-

เทศนา (การแสดงแบบสายฟ้าแลบ)  ๘  มหาปุริสวิตก  ๘   อภิภายตนเทศนา

(การแสดงอายตนะของท่านผู้เป็นอภิภู) ๘  วิโมกข์  ๘  ธรรมเป็นมลแห่งโยนิ-

โสมนสิการ  ๙  องค์แห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเพียรอันบริสุทธิ์  ๙  สัตตาวาส

๙  อาฆาตปฏิวินัย   (การกำจัดความอาฆาต)  ๙   ปัญญา  ๙    นานัตตเทศนา

(การแสดงความต่างกัน)  ๙   อนุบุพพวิหารธรรม  ๙   นาถกรณธรรม  ๑๐

กสิณายตนะ  ๑๐  กุสลกรรมบถ  ๑๐  สัมมัตตะ ๑๐   อริยวาสะ  ๑๐ อเสกข-

ธรรม ๑๐  รตนะ  ๑๐  กำลังของพระตถาคต  ๑๐  อานิสงส์เมตตา ๑๑  อาการ

¹ยกศัพท์ บรรทัดที่ ๑๖ของธรรมจัnร ๑๒  ธุดงคคุณ  ๓ พุทธญาณ  ๑๔  วิมุตติปริปาจนียธรรม ๑๕

อานาปานสติ ๑๖ อปรัมปริยธรรม (ธรรมที่ไม่เป็นปรัมปรา) ๑๖ พุทธธรรม

๑๘  ปัจจเวกขณญาณ  ๑๙  ญาณวัตถุ  ๔๔  อุทยัพพยญาณ  ๕๐  กุสลธรรมเกิน  ๕๐

ญาณวัตถุ  ๗๗   มหาวชิรญาณอันเป็นจารีตร่วมกับสมาบัติ    สองล้านสี่แสน


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 17

โกฏิ   และเทศนาญาณเป็นเครื่องค้นคว้าและพิจารณา   สมันตปัฏฐาน  (การ

เริ่มตั้งโดยรอบคอบ)   อันมีนัยไม่มีที่สุด   และญาณประกาศอัธยาศัยเป็นต้น

ของสัตว์ทั้งหลายไม่มีที่สุดในโลกธาตุอันหาที่สุดมิได้   ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อันไม่สาธารณ์แก่ผู้อื่นไม่เห็นที่สุด  ไม่เห็นประมาณ.  จริงอยู่พระเถระ.  เมื่อ

นึกถึงที่สุดก็ดี   ประมาณก็ดี   แห่งคุณทั้งหลายแม้ของตนเองก็ไม่เห็น.  พระ-

เถระนั้นจักเห็นประมาณ  หรือ   ข้อกำหนดแห่งพระคุณทั้งหลายของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้อย่างไร.   จริงอยู่ผู้ที่มีปัญญามาก   มีญาณเฉียบแหลมย่อมเชื่อ

พระพุทธคุณทั้งหลายโดยความเป็นพระพุทธคุณใหญ่.      ด้วยประการฉะนี้

พระเถระเมื่อไม่เห็นประมาณ    หรือ   ข้อกำหนดแห่งพระคุณทั้งหลายของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า     จึงตัดสินใจลงไปว่า    เมื่อคนเช่นเราผู้ตั้งอยู่ในสาวก

บารมีญาณยังไม่สามารถกำหนดพระพุทธคุณทั้งหลายโดยญาณได้  จะกล่าว

ไปไยถึงคนพวกนี้     น่าอัศจรรย์พระสัพพัญญูคุณเป็นอจินไตย     ไม่มีข้อ

กำหนด  มีอานุภาพมาก  อนึ่ง  พระสัพพัญญูคุณเหล่านี้เป็นโคจรแห่งพุทธ-

ญาณอย่างเดียวเท่านั้นโดยประการทั้งปวง   มิได้เป็นโคจรแก่ผู้อื่น.  แม้พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่สามารถกล่าวโดยพิสดารได้เลย.    สมจริงดังที่

ท่านกล่าวไว้ว่า :-

แม้พระพุทธเจ้าก็กล่าวคุณของพระพุทธ-

เจ้า    หากว่ากล่าวถึงคุณอื่นแม้ตลอดกัป   กัป


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 18

ย่อมสิ้นไปในระหว่างเวลายาวนาน     คุณของ

พระตถาคต   หาได้สิ้นไปไม่.

พระสารีบุตรเถระมีปีติโสมนัสเป็นกำลังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความที่

พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระคุณใหญ่อย่างนี้จึงคิดต่อไปว่า  น่าอัศจรรย์  ธรรม

ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า  คือบารมี  มีอานุภาพมาก   เป็นเหตุแห่งพุทธคุณทั้ง

หลายเห็นปานนี้ .   ความเป็นบารมี  เป็นความเจริญงอกงามในชาติไหนหนอ

หรือว่าถึงความแก่กล้าอย่างไร.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า   ประทับนั่งขัดสมาธิ ๓ ชั้น  ณ  รตนะ

จงกรมนั้น ประทับนั่งรุ่งโรจน์ดุจดวงอาทิตย์อ่อนรุ่งเรืองอยู่  ณ  ภูเขายุคนธร

ฉะนั้น   ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรว่า   ดูก่อนสารีบุตร  พุทธการกธรรมของ

เราได้เจริญงอกงามจากภพสู่ภพ   จากชาติสู่ชาติ  ในกัปทั้งปวง เพราะทำด้วย

ความเคารพติดต่อกัน      และด้วยการอุปถัมภ์ของวิริยะตั้งแต่สมาทาน    แต่

ในภัทรกัปนี้    พุทธการกธรรมเหล่านั้นเกิดแก่กล้าในชาติเท่านี้แล้วได้ตรัส

ธรรมปริยาย    อันมีชื่อเป็นที่สองว่า    จริยาปีฏก  พุทฺธาปทานิย  จริยา-

ปิฎก   เป็นที่ตั้งแห่งตำนานของพระพุทธเจ้า    ด้วยบทมีอาทิว่า   กปฺเป จ

สตสหสฺเส  ตลอดแสนกัป.    ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า    พระผู้มี-

พระภาคเจ้า   ผู้เป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดาทรงจงกรมอยู่  ณ  ที่จงกรมแก้ว  อัน

เทวดาและพรหมเป็นต้นบูชาทรงหยั่งลง  ณ  นิโครธารามแวดล้อมด้วยพระ-

ขีณาสพสองล้านรูป   ประทับนั่งเหนือวรพุทธาสนะที่เขาปูไว้   อันท่านพระ-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 19

สารีบุตรทูลถามโดยนัยดังกล่าวแล้ว   จึงทรงแสดงจริยาปิฎก.   ด้วยเหตุเพียง

เท่านี้    ท่านแสดงทูเรนิทานและอวิทูเรนิทานโดยสังเขปแล้วชี้แจง    สันติเก-

นิทานแห่งจริยาปิฎก    โดยพิสดาร.    ส่วนทูเรนิทานจักมีแจ้งในการอธิบาย

เรื่องอสงไขย.

บัดนี้จะพรรณนาเนื้อความแห่งบาลี  จริยาปิฎกที่มีมาโดยนัยมีอาทิว่า

กปฺเป  จ สตสหสฺเส  ดังนี้. กัปปศัพท์ในบทนั้นทั้งที่มีอุปสรรค  และไม่มี

อุปสรรค  ย่อมปรากฏในความมีอาทิว่า   วิตก  วิธาน ปฏิภาค    บัญญัติ กาล

ปรมายุ  สมณโวหาร สมันตภาวะ อภิสัททหนะ เฉทนะ วินิโยคะ วินยะกิริยา

เลสะ   อันตรกัป   ตัณหาทิฏฐิ  อสงไขยกัป    มหากัป.

กัปปศัพท์มาใน   วิตก  ในบทมีอาทิว่า  เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป  อพฺยา-

ปาทสงฺกปฺโป ดำริในการออกจากกาม  ดำริในความไม่พยาบาท. มาใน วิธาน

ในบทมีอาทิว่า จีวเร  วิกปฺป  อาปชฺเชยฺย   ภิกษุพึงทำวิกัปในจีวร. อธิบายว่า

ควรปฏิบัติตามธรรมเนียมเป็นอย่างยิ่ง. มาใน  ปฏิภาค ในบทมีอาทิว่า สตฺถุ-

กปฺเปน   วต  ฯลฯ   น  ชานิมฺหา ท่านผู้เจริญทั้งหลายได้ยินว่า พวกเราปรึกษา

กับพระสาวกซึ่งคล้ายกับพระศาสดาก็ยังไม่รู้. ในบทนั้นมีอธิบายว่า คล้ายกับ

เช่นกับ   พระศาสดา.   มาใน   บัญญัติ  ในบทมีอาทิว่า   อิธายสฺมา    กปฺโป

ท่านผู้มีอายุเป็นบัญญัติในศาสนานี้.   มาใน  กาล ในบทมีอาทิว่า   เยน   สุท

นจฺจกปฺป   วิหรามิ  ได้ยินว่าข้าพเจ้าจะอยู่ตลอดกาลเป็นนิจ.  มาใน  ปรมายุ

ในบทมีอาทิว่า    อากงฺขมาโน  ฯลฯ   กปฺปาวเสส   วา   ดูก่อนอานนท์


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 20

ตถาคต   หวังจะดำรงอยู่ตลอดกัป.  หรือตลอดส่วนที่เหลือของกัป.   กัปในที่นี้

ท่านประสงค์เอาอายุกัป.   มาใน  สมณโวหาร ในบทมีอาทิว่า   อนุชานามิ

ฯลฯ  ปริภุญฺชิตุ   ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ฉันผลไม้ด้วยสมณกัป  ๕

อย่างมาใน   สมันตภาวะ  ในบทมีอาทิ  เกวลกปฺป   เชตวน  โอภาเสตฺวา

ยังพระเชตวันโดยรอบทั้งสิ้นให้สว่างไสว.  มาในอภิสัททหนะในบทมีอาทิว่า

สทฺธา  สทฺทหนา   โอกปฺปนา   อภิปฺปสาโท  ศรัทธาความเชื่อ ความเชื่อ

อย่างยิ่ง   ความเลื่อมใสอย่างยิ่ง.   มาเน  เฉทนะ  ในบทมีอาทิว่า   อลงฺกโต

กปฺปิตเกสมสฺสุ   โกนผมแลหนวดตกแต่งแล้ว.   มาใน   วินิโยคะ  ในบท

มีอาทิว่า  เอวเมว  อิโต  ทินฺน  เปตาน  อุปกปฺปติ ทานที่ให้แล้วจากโลกนี้

ย่อมสำเร็จแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว   ฉันนั้น.    มาใน  วินยกิริยา  ในประโยคมี

อาทิว่า   กปฺปกเตน  อกปฺปกต   สิพฺพิต  โหติ  จีวรอันภิกษุผู้ทำกัปปะมิ

ได้ทำตามวินัยก็เป็นอันเย็บดีแล้ว.  มาใน  เลสะ  ในประโยคมีอาทิว่า   อตฺถิ

กปฺโป  นิปชฺชิตุ    หนฺทาห   นิปชฺชามิ   มีเลสเพื่อจะนอน   เอาเถิดเราจะ

นอนละ.   มาใน  อันตรกัป  ในประโยคมีอาทิว่า  อาปายิโก   เนรยิโก ฯลฯ

นิรยมุหิ  ปจฺจติ  ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน   ต้องตกอบาย   ตกนรก ตั้งอยู่กัปหนึ่ง

และไหม้อยู่ในนรกตลอดกัป.   มาในตัณหาและทิฏฐิในคาถามีอาทิว่า :-

แม่ธรรมทั้งหลายก็ไม่ดำริถึง     ไม่ทำไว้

ข้างหน้า  ไม่ยอมรับ  เขามิใช่พราหมณ์ที่ผู้มีศีล


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 21

จะพึงแนะนำ   เขาเป็นผู้ถึงฝั่ง เป็นผู้คงที่  ย่อม

ไม่หมกไหม้.

เป็นความจริงอย่างนั้นท่านกล่าวไว้ในนิทเทสว่า  จากบทว่า    กปฺป

นี้   กัปมีสองอย่าง   คือ   ตัณหากัป   ๑   ทิฏฐิกัป  ๑.  มาในอสงไขยกัปในบท

มีอาทิว่า   อเนเกปิ    สวฏฺฏกปฺเป   อเนเกปิ    วิวฏฺฏกปฺเป  ในสังวัฏฏกัป

ไม่น้อยในวิวัฏฏกัปไม่น้อย.     มาในมหากัปในบทมีอาทิว่า     จตฺตาริมานิ

ภิกฺขเว   กปฺปสฺส  อสงฺเขยฺยานิ  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  มหากัปมีสี่อสงไขย.

กัปในที่นี้ได้แก่มหากัป.

บทสำเร็จในคำว่า    กปฺป   นั้นมีดังนี้   ชื่อว่า    กปฺโป  เพราะย่อม

กำหนด.    อธิบายว่า    พึงกำหนดมีปริมาณที่ควรกำหนดด้วยการเปรียบกับ

กองเมล็ดผักกาดเป็นต้นอย่างเดียวเพราะไม่สามารถคำนวณด้วยปีได้ว่า  เท่า

นั้นปี  เท่านั้นร้อยปี  เท่านั้นพันปี  เท่านั้นแสนปี.  สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  กัปยาวเพียงไรหนอ.  ดูก่อนภิกษุ  กัปยาวมาก

กำหนดไม่ได้ว่า   เท่านั้นปี   เท่านั้นร้อยปี   เท่านั้นพันปี   เท่านั้นแสนปี.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  สามารถจะเปรียบเทียบได้หรือไม่พระเจ้าข้า.  พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า  สามารถเปรียบเทียบได้  ภิกษุ.  เหมือนอย่างว่ากองเมล็ด

ผักกาด   โดยความยาวโยชน์หนึ่ง   โดยความกว้างโยชน์หนึ่ง   โดยความสูง

โยชน์หนึ่ง   เมื่อล่วงไปร้อยปี  พันปี  ผู้วิเศษเก็บเมล็ดผักกาดไปเมล็ดหนึ่ง ๆ

เมล็ดผักกาดหมด.   ก็ยังไม่สิ้นกัป.   ดูก่อนภิกษุกัปยาวอย่างนี้แล.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 22

มหากัปนี้นั้นสงเคราะห์เข้าด้วยสี่อสงไขยกัป     ด้วยสามารถแห่งสัง-

วัฏฏกัปเป็นต้น.   สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   สี่อสงไขยกัปเหล่า

นี้   สี่อสงไขยกัปเป็นไฉน.   คือ  สังวัฏฏกัป

สังวัฎฏัฏฐายีกัป  วิวัฏฏกัป  วิวัฎฏัฏฐายีกัป.

ในกัปเหล่านั้น   สังวัฏฏกัปมี   ๓   คือ   เตโชสังวัฏฏกัป  ๑   อาโป-

สังวัฏฏกัป  ๑   วาโยสังวัฏฏกัป   ๑.   แดนสังวัฏฏกัปมี  ๓  คือ   อาภัสสรา  ๑

สุภกิณหา  ๑   เวหัปผลา  ๑.   ก็ในกาลใดกัปย่อมเป็นไปด้วยไฟ  ในกาลนั้น

กัปเบื้องล่างจากอาภัสสราย่อมถูกไฟไหม้.     ในกาลใดกัปย่อมเป็นไปด้วยน้ำ

ในกาลนั้นกัปเบื้องล่างจากสุภกิณหาย่อมถูกน้ำละลาย.       ในกาลใดกัปย่อม

เป็นไปด้วยลม  ในกาลนั้นกัปเบื้องล่างจากเวหัปผลาย่อมถูกลมกำจัด. แต่โดย

กว้างออกไปจักรวาฬแสนโกฏิ   ย่อมพินาศ.   ท่านกล่าวว่าเป็นอาณาเขตของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ในสังวัฏฏกัป  ๓  เหล่านั้น   การทำลายเปลวไฟ   น้ำ

หรือลม   ตั้งแต่มหาเมฆยังกัปให้พินาศตามลำดับ   นี้เป็นอสงไขยหนึ่ง  .ชื่อว่า

สังวัฏฏกัป.  มหาเมฆตั้งขึ้นเต็มจักรวาฬแสนโกฏิตั้งแต่การทำลายเปลวไฟอัน

ยังกัปให้พินาศ  นี้เป็นอสงไขยที่สองชื่อว่า สังวัฏฏฐายีกัป.

ความปรากฏแห่งดวงจันทร์   ดวงอาทิตย์ตั้งแต่มหาเมฆตั้งขึ้น  นี้เป็น

อสงไขยกัปที่สาม    ชื่อว่าวิวัฏฏกัป.   มหาเมฆยังกัปให้พินาศอีก  ตั้งแต่ความ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 23

ปรากฏแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์   นี้เป็นอสงไขยกัปที่สี่    ชื่อว่าวิวัฏฏัฏ-

ฐายีกัป.     ในกัปเหล่านี้      การสงเคราะห์กัปในระหว่าง   ๖๔   กัป   ชื่อว่า

วิวัฏฏัฏฐายีกัป.    ด้วยบทนั้นพึงทราบว่าวิวัฏฏกัปเป็นต้นกำหนดด้วยกาลอัน

เสมอกัน.    อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า  การสงเคราะห์กัปในระหว่าง  ๒๐  กัป.

ด้วยประการฉะนี้   สี่สงไขยกัปเหล่านี้เป็นหนึ่งมหากัป.    ด้วยเหตุนั้นท่าน

จึงกล่าวว่า     มหากัปนี้นั้น       สงเคราะห์ด้วยสี่อสงไขยกัปด้วยอำนาจแห่ง

สังวัฏฏกัปเป็นต้น.

อนึ่ง บทว่า   กปฺเป เป็นทุติยาวิภัตติ์พหุวจนะ  ด้วยเป็นอัจจันตสังโยคะ

แปลว่า   ตลอดกัป  สิ้นกัป.   บทว่า สตสหสฺเส แสดงถึงปุลลิงค์โดยเชื่อม

กับศัพท์ว่า  กปฺป. แม้ในที่นี้ก็เป็นพหุวจนะด้วยเป็นอัจจันตสังโยคะ  ทั้งสอง

บทนี้เป็นอธิกรณะเสมอกัน. แม้ในบทว่า จตุโร จ อสงฺขิเย  นี้  ก็มีนัยนี้แล.

อนึ่ง บทว่า อสงฺขิเย ย่อมให้รู้ความนี้ว่า  กปฺปาน  โดยคัมภีร์ เพราะไม่กล่าว

บทอื่นและเพราะกล่าวถึงกัปเท่านั้น.  การเว้นบทที่กล่าวแล้วคือเอาบทอะไร ๆ

ที่ไม่ได้กล่าวไว้ไม่สมควร. จ  ศัพท์เป็นสัมบิณฑนัตถะ  ( บวกความท่อนหลัง

เข้ากับความท่อนต้น ).   มีเนื้อความว่า   สี่อสงไขยแห่งมหากัปและแสนมหา-

กัป   พึงทราบความในบทว่า    อสงฺขิเย   นี้   ชื่อว่า   อสงฺขิยา    เพราะไม่

สามารถจะนับได้.   อธิบาย    เกินการคำนวณ.    อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า

บทว่า   อสงฺเขยฺย  เป็นการนับที่แปลกอย่างหนึ่ง.   อาจารย์พวกนั้นกล่าวว่า

คะแนนมหากำลังสิบเว้นฐานะ    ๕๙   อันมีคะแนนมหากำลังเป็นที่สุดตั้งแต่


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 24

รวมเป็นอันเดียวกัน   ชื่อว่าอสงไขย   ในลำดับอัฏฐานะ  ๖๐.   ข้อนั้นไม่ถูก

การคำนวณที่แปลกชื่อว่าในระหว่างฐานะที่นับได้.       ในระหว่างฐานะหนึ่ง

ชื่อว่าอสงไขย        เพราะไม่มีความที่การคำนวณที่แปลกนั้นจะพึงนับไม่ได้

เพราะเหตุนั้น   ข้อนั้นจึงผิด.   ข้อที่กัปนั้นมี   ๔  อย่าง  ในความเป็นอสงไขย

กัป  เพราะความที่เป็นกัปนับไม่ได้ไม่ถูกมิใช่หรือ.   ไม่ถูกก็ไม่ใช่    เพราะ

ความที่อสงไขยกัปท่านปรารถนาแล้วในฐานะ   ๔.   ในบทนั้นพึงทราบการ

ชี้แจงตั้งแต่ต้นดังต่อไปนี้.

มีเรื่องเล่ามาว่า  ในกัปนี้ครั้งอดีต  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ๔  พระองค์

คือ  พระตัณหังกร  ๑   พระเมธังกร  ๑   พระสรณังกร  ๑   พระทีปังกร  ๑

ทรงอุบัติขึ้นในโลกตามลำดับ .    ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นในศาสนา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า  ทีปังกรได้มีเมืองว่า  อมรวดี.   สุเมธ-

พราหมณ์อาศัยอยู่ในเมืองนั้นเป็นอุภโตสุชาตสังสุทธเคราหณี   (มีครรภ์เป็น

ที่ปฏิสนธิอันบริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย) ทางฝ่ายมารดาและบิดาตลอด  ๗  ชั่วตระกูล

ไม่ถูกรังเกียจโดยชาติ.   มีรูปงาม  น่าชม  น่าเลื่อมใสถึงพร้อมด้วยผิวพรรณ

งดงามอย่างยิ่ง     สุเมธพราหมณ์มิได้ทำการงานอย่างอื่น     เรียนศิลปะของ

พราหมณ์อย่างเดียว.  มารดาบิดาได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่เขายังเป็นหนุ่ม. ครั้งนั้น

สิริวัฑฒกะ   อำมาตย์ของเขา  นำบัญชีทรัพย์สินมาให้แล้วเปิดห้องทรัพย์สิน

เต็มไปด้วย    ทอง    เงิน   แก้วมณี   แก้วมุกดาเป็นต้น   แล้วแจ้งทรัพย์สิน

ตั้งแต่   ๗   ชั่วตระกูลว่า      ข้าแต่กุมารทรัพย์ประมาณเท่านี้เป็นของมารดา


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 25

ของท่าน      ประมาณเท่านี้เป็นของบิดาของท่าน      ประมาณเท่านี้เป็นของ

ปู่  ย่า  ตา  ยาย  และทวดของท่าน   แล้วกล่าวว่า   ขอท่านจงปกครองทรัพย์

สินนี้เถิด.     สุเมธบัณฑิตคิดว่า     ญาติทั้งหลายมีมารดาบิดาเป็นต้นของเรา

รวบรวมทรัพย์สินนี้ไว้เป็นอันมาก    ถึงอย่างนี้ก็ยังไปสู่ปรโลก    มิได้ถือเอา

ไปได้แม้แต่กหาปณะเดียว    แต่เราควรจะทำเหตุแห่งการถือเอาไปได้   ดังนี้

เขาจึงทูลแด่พระราชาแล้วให้ตีกลองประกาศทั่วไปในเมือง      ได้ให้ทานแก่

มหาชนแล้วไปยังหิมวันตประเทศบวชเป็นดาบสล่วงไปได้   ๗   วัน    จึงยัง

สมาบัติ  ๘  และอภิญญา  ๕  ให้เกิดขึ้นอยู่ด้วยสมาบัติวิหารธรรม.

ก็ในกาลนั้น   พระทศพลพระนามว่า   ทีปังกรบรรลุพระปรมาภิเษก

สัมโพธิญาณ    ยังบวรธรรมจักรให้เป็นไปแวดล้อมด้วยพระขีณาสพ    หนึ่ง

แสนรูป   เสด็จจาริกไปโดยลำดับ   ถึงรัมมวดีนครประทับอาศัยอยู่ที่สุทัศน-

มหาวิหารไม่ไกลเมืองนั้น.         ชาวเมืองรัมมวดีนครได้ฟังว่า       ได้ยินว่า-

พระศาสดาเสด็จถึงนครของพวกเราแล้วประทับอยู่  ณ สุทัศนมหาวิหาร  จึง

พากันถือของหอมมีดอกไม้เป็นต้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดาถวายบังคมแล้ว  บูชา

ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น      นั่งอยู่ส่วนข้างหนึ่งฟังพระธรรมเทศนา

แล้วนิมนต์เพื่อเสวยภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น   พากันลุกจากที่นั่งกลับไป.   วัน

รุ่งขึ้นชาวเมืองเหล่านั้นเตรียมมหาทานตกแต่งนคร   ต่างรื่นเริงยินดีทำความ

สะอาดทางที่พระทศพลเสด็จมา.

อนึ่ง  ในกาลนั้น   สุเมธดาบสมาทางอากาศเห็นพวกมนุษย์เหล่านั้น

รื่นเริงยินดีจึงถามว่า    ท่านผู้เจริญทั้งหลาย    พวกท่านทำความสะอาดทางนี้


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 26

เพื่อใคร.  เมื่อพวกมนุษย์บอกว่า พวกเราทำความสะอาดทางเพื่อพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าเสด็จมา   เพราะค่าที่ตนได้สะสมบารมีมาในพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ในอดีตพอได้ยินคำว่า    พุทฺโธ ก็เกิดปีติโสมนัส    ลงจากอากาศในทันใด

นั่นเอง    แล้วกล่าวว่า    ท่านทั้งหลายจงให้โอกาสแก่เราบ้าง   แม้เราก็จักทำ

ความสะอาดด้วย    ครั้นพวกมนุษย์ให้โอกาสแล้ว    จึงคิดว่า    ความจริงเรา

พอจะทำทางนี้ให้วิจิตรด้วยรัตนะ  ๗   ด้วยฤทธิ์แล้วตกแต่งได้    แต่วันนี้เรา

ควรทำความขวนขวายทางกาย    เราจักถือเอาบุญสมควรแก่กาย   แล้วจึงนำ

หญ้าและหยากเยื่อเป็นต้นออกไปเอาฝุ่นมาเกลี่ยให้เสมอทำให้สะอาด.  ก็เมื่อ

ทำความสะอาดที่นั้นยังไม่สำเร็จ      พระผู้มีพระภาคเจ้าพระทีปังกรแวดล้อม

ด้วยพระขีณาสพผู้ได้อภิญญา  ๖  ผู้มีมหานุภาพสี่แสนรูปเสด็จมาถึงทางนั้น.

สุเมธบัณฑิตคิดว่า       พระสัมมาสัมพุทธเจ้า      และพระสาวกของ

พระพุทธเจ้าจงอย่าเหยียบโคลนจึงคลี่ผ้าป่าน    แผ่นหนัง    และห่อชฎาออก

ตนเองนอนคว่ำหันศีรษะไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า.     และเขาคิดอย่างนี้ว่า

หากเราจักปรารถนา   เราจักเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้     จักทำลาย

กิเลสในวันนี้ทีเดียว.   ประโยชน์อะไรด้วยการนอนจากโอฆะใหญ่คือสงสาร

ของเราเพียงผู้เดียวเท่านั้น     ถ้ากระไรแม้เราก็พึงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เห็นปานนี้ ยังโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามจากห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร.  สุเมธ-

บัณฑิตตั้งใจด้วยอภินิหารประกอบด้วยองค์  ๘  ด้วยประการฉะนี้.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 27

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาประทับยืน ณ เบื้องศีรษะของ

สุเมธบัณฑิตนั้น        ทรงทราบความสำเร็จวารจิตของสุเมธบัณฑิตนั้นทรง

พยากรณ์ความเป็นไปนี้ทั้งหมดของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า   จากนี้ไปในที่สุด

สี่แสนอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป    สุเมธบัณฑิตนี้จักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าโคดมดังนี้    แล้วหลีกไป.

จากนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้อื่นทรงอุบัติขึ้นตามลำดับ  มีพระผู้มี-

พระภาคเจ้า  พระนามว่า  โกณฑัญญะเป็นต้นจนถึงพระทศพล   พระนามว่า

กัสสปเป็นที่สุด   ทรงพยากรณ์พระมหาสัตว์ว่า   จักเป็นพระพุทธเจ้า.   เมื่อ

พระโพธิสัตว์ของพวกเราทรงบำเพ็ญบารมีอยู่นั้น       พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงอุบัติขึ้น  ๒๔  พระองค์.  ในกัปที่พระทศพลพระนามว่าทีปังกรทรงอุบัติ

ได้มีพระพุทธเจ้าอื่นอีก  ๓  พระองค์.    ในสำนักของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น

มิได้มีการพยากรณ์พระโพธิสัตว์.   เพราะฉะนั้น    พระพุทธเจ้าเหล่านั้นจึง

ไม่ถือเอาในที่นี้.   แต่ในอรรถกถาเก่า  เพื่อแสดงถึงพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย

ตั้งแต่กัป   ท่านจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

พระตัณหังกร พระเมธังกร พระสรณังกร

พระทีปังกร   ผู้เป็นพระสัมพุทธเจ้า   และพระ

โกณฑัญญะ    ผู้สูงสุดกว่าสัตว์สองเท้า   พระ

มังคละ  พระสุมนะ   พระเรวตะ  พระโสภิตะ

ผู้เป็นมุนี   พระอโนมทัสสี   พระปทุม   พระ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 28

นารทะ   พระปทุมุตตระ  พระสุเมธะ   ผู้เกิดดี

แล้ว พระปิยทัสสี  ผู้มียศใหญ่  พระอัตถทัสสี

พระธรรมทัสสี    พระสิทธัตถะ    ผู้เป็นนายก

ของโลก    พระติสสะ    พระผุสสะ    ผู้เป็น

พระสัมพุทธเจ้า  พระวิปัสสี   พระสิขี   พระ

เวสสภู     พระกกุสันธะ      พระโกนาคมนะ

พระกัสสปะ    ผู้เป็นนายก.    ท่านเหล่านี้ได้

เป็นพระสัมพุทธเจ้า    ปราศจากราคะ   ตั้งมั่น

แล้ว    มีรัศมี    ๑๐๐    บรรเทาความมืดใหญ่

รุ่งเรืองดุจกองไฟ   พระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น

พร้อมด้วยสาวกทั้งหลาย  ได้นิพพานแล้ว.

ในระหว่างพระทศพลพระนามว่าทีปังกร  และพระทศพลพระนามว่า

โกณฑัญญะ    โลกได้ว่างพระพุทธเจ้าไปตลอดอสงไขยหนึ่งแห่งมหากัป.   ใน

ระหว่างพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า   โกณฑัญญะ    และพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า  มังคละ  ก็เหมือนกัน  ในระหว่างพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

โสภิตะ    พระนามว่า  อโนมทัสสี   พระนามว่า  นารทะ   พระนามว่า  ปทุ-

มุตตระ  ก็เหมือนกัน.   สมดังที่ท่านกล่าวไว้ในพุทธวงศ์ว่า :-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 29

กัปทั้งหลายในระหว่างแห่งพระพุทธเจ้า

เหล่านั้น    คือแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

ทีปังกร  และแห่งพระศาสดาพระนามว่า   โภณ-

ฑัญญะเป็นกัปที่นับไม่ได้โดยการคำนวณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า  ผู้เป็นนายกพระนาม

ว่า  มังคละ   โดยพระนามอื่นจากพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าพระนามว่า  โกณฑัญญะ   กัปทั้งหลาย

ในระหว่างพระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น  ก็เป็นกัป

ที่นับไม่ได้โดยการคำนวณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า    อโนม-

ทัสสี     ผู้มียศใหญ่อื่นจากพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า  โสภิตะ     กัปทั้งหลายในระหว่าง

พระพุทธเจ้า   แม้เหล่านั้นก็เป็นกัปที่นับไม่ได้

โดยการคำนวณ.

กัปทั้งหลายในระหว่างพระพุทธเจ้า   แม้

เหล่านั้น  คือ  แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่า   นารทะ   แห่งพระศาสดาพระนามว่า   ปทุ-

มุตตระ    ก็เป็นกัปที่นับไม่ได้โดยคำนวณ.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 30

ด้วยประการฉะนี้ท่านจึงกล่าวว่า  จตุโร  จ  อสงฺขิเย   สื่อสงไขยโดย

การล่วงการคำนวณมหากัปในฐานะ ๔   แม้ในความเป็นอสงไขยกัป  เพราะ

ความเป็นกัปที่ล่วงเลยการคำนวณ.      พึงทราบว่าท่านมิได้กล่าวด้วยสังขยา-

วิเสสนะ  ( การนับที่แปลกออกไป ).      อนึ่ง   เพราะ ๓ หมื่นกัปในระหว่าง

พระทศพลพระนามว่า   ปทุมุตตระ     และพระทศพลพระนามว่า    สุเมธะ

๖๙,๘๘๒  กัป         แห่งพระทศพลพระนามว่า    สุชาตะ   และ พระทศพล

พระนามว่า    ปิยทัสสี.   ๒๐  กัป         ในระหว่างพระทศพลพระนามว่า

ธรรมทัสสี  และพระทศพลพระนามว่า  สิทธัตถะ  ๑ กัป  ในระหว่างพระทศ-

พลพระนามว่า   สิทธัตถะ    และพระทศพลพระนามว่า  ติสสะ  ๖    กัป   ใน

ระหว่างพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า     วิปัสสี      และพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า  สิขี. ๓๐  กัป  ในระหว่างพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า   เวสสภู

และพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า  กกุสันธะ. และ  ๑๐๐,๐๐๐  มหากัป  พร้อม

ด้วยกัปที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ๆ     ทรงอุบัติภายหลังตั้งแต่กัปที่พระ

ทศพลพระนามว่า  ปทุมุตตระ  ทรงอุบัติและด้วยภัตรกัปนี้   ด้วยประการฉะนี้

ท่านจึงกล่าวว่า    กปฺเป   จ   สตสหสฺเส     ตลอดแสนกัปหมายถึงมหากัป

เหล่านั้น.        เมื่อเนื้อความนี้กล่าวพิสดารควรจะนำบาลีพุทธวงศ์ทั้งหมดมา

พรรณนา     ฉะนั้นเราจะรักษาใจของมหาชนผู้กลัวความพิสดารเกินจึงจะไม่

กล่าวให้พิสดาร.   ผู้มีความต้องการความพิสดารพึงเรียนจากพุทธวงศ์.   อนึ่ง

ในที่นี้กถามรรคใดที่ควรกล่าว       กถามรรคแม้นั้นก็พึงทราบโดยนัยดังที่ได้

กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาธรรมสังคหะชื่อว่า  อัฏฐสะลินี   และอรรถกถาชาดก

นั่นและ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 31

อนฺตร  ศัพท์ในบทว่า    เอตฺถนฺตเร  นี้   มาแล้วใน  เหตุ    ในบทมี

อาทิว่า :-

ชนทั้งหลาย   ประชุมกันที่ฝั่งแม่น้ำ    ที่

เรือน    ที่สภา     และที่ถนนปรึกษาเหตุอะไร

กะเราและกะท่าน.

มาแล้วใน   ขณะ  ในประโยคมีอาทิว่า  ข้าแต่ท่านผู้เจริญหญิงคนหนึ่ง

ล้างภาชนะในขณะฟ้าแลบ   ได้เห็นข้าพระองค์.   มาแล้วใน  จิต  ในประโยค

มีอาทิว่า   ความโกรธไม่มีแต่จิตของผู้ใด.   มาแล้วใน   ระหว่าง   ในบทมีอาทิ

ว่า   เมืองคยาในระหว่าง  และต้นโพธิ์ในระหว่าง.   มาแล้วใน     ท่ามกลาง

ในบทมีอาทิว่า       เมื่อพระอุปัชฌาย์ยังพูดอยู่ไม่ควรสอดคำพูดในท่ามกลาง

แม้ในที่นี้พึงเห็นว่า    ในท่ามกลางนั่นแล       เพราะฉะนั้น     ในระหว่างนี้

ความว่าในท่ามกลาง.    บทนี้เป็นอันท่านกล่าวไว้ว่า  ในมหากัปพระผู้มีพระ-

ภาคของเรา     เป็นสุเมธบัณฑิตในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

ทีปังกรได้ทรงกระทำมหาภินิหารประกอบด้วยองค์   ๘  ซึ่งท่านกล่าวไว้อย่างนี้

คือ   ความเป็นมนุษย์  ๑   ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๑   เหตุ ๑   การเห็นพระ-

ศาสดา ๑   บรรพชา ๑   คุณสมบัติ  ๑   อธิการ ๑    ความพอใจ ๑.   ทรง

สะสม  สมาทานบารมี  ๓๐  ทัศ  ทรงปรารภเพื่อยังพุทธการกธรรมแม้ทั้งหมด

ให้สมบูรณ์     อนึ่ง   มีพระบารมีเต็มเปี่ยมด้วยประการทั้งปวง   ในภัตรกัปนี้

ได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ.    กาลวิเศษมีกำหนดตามที่กล่าวแล้ว


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 32

ในระหว่างมหากัปสองเหล่านี้.  ก็ข้อนั้นรู้ได้อย่างไร.   จริงอยู่บทนี้ว่า  กปฺเป

จ   สตสหสสฺเส   จตุโร   จ   อสงฺขิเย   สี่อสงไขยแสนกัป     เป็นบทแสดง

ถึงการนับมหากัปโดยกำหนดและมิได้กำหนด.  ก็การนับนี้นั้นเป็นการถือเอา

เบื้องต้นและที่สุดของการคำนวณ  เว้นจากนั้นไม่มี    เพราะเหตุนั้นการเริ่ม

โพธิสมภารและการแสวงหาย่อมรู้ได้ว่า     แม้ทั้งสองอย่างนั้นท่านแสดงโดย

เนื้อความในบทนี้ว่า  เอตฺถนฺตเร   ในระหว่างนี้ด้วยความมีเขตจำกัด     อนึ่ง

เขตจำกัดนี้พึงทราบด้วยวิธีอันยิ่ง.   ไม่พึงทราบด้วยอำนาจขอบเขต     เพราะ

กัปเริ่มและกัปสุดท้ายหยั่งลงภายในโดยเอกเทศ       อนึ่ง   วิธีอันยิ่งย่อมไม่มี

ในที่นี้   เพราะมิได้กำหนดกัปเหล่านั้นไว้  โดยไม่มีขอบเขตมิใช่หรือ     ไม่

ใช่อย่างนั้น    เพราะนั่นเป็นแม้ในเอกเทศของกัปนั้น.     จริงอยู่   กัปที่เป็น

เอกเทศของกัปนั้น   กำหนดไว้โดยไม่มีขอบเขต.

บทว่า   จริต  ในบทนี้ว่า      จริต,  สพฺพ    โพธิปาจน   ความ

ประพฤติทั้งหมดนั้นเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ  ได้แก่  จริยา  อันเป็นข้อปฏิบัติ

มีทานและศีลเป็นต้น   สงเคราะห์เข้าในบารมี ๓๐ ทัศ     เพราะญาตัตถจริยา

โลกัตถจริยา   และพุทธัตถจริยา   หยั่งลงภายในจริยานั้น.   อนึ่ง   จริยา   นี้

มี  ๑  คือ   อิริยาปถจริยา   จริยาในอิริยาบถ ๔  ของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยความ

ตั้งใจ  ๑   อายตนจริยา    จริยาในอายตนะภายในของท่านผู้มีทวารคุ้มครอง

แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย  ๑    สติจริยา   จริยาในสติปัฏฐาน  ๔   ของท่านผู้มี

ความไม่ประมาทเป็นธรรมเครื่องอยู่  ๑   สมาธิจริยา   จริยาในฌานทั้งหลาย


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 33

๔   ของท่านผู้ขวนขวายในอธิจิต  ๑  าณจริยา   จริยาในอริยสัจ ๔   ของ

ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ๑    มคฺคจริยา   จริยาในอริยมรรค  ๔  ของท่าน

ผู้ปฏิบัติชอบ ๑    ปตฺติจริยา   จริยาในสามัญผล ๔    ของท่านผู้บรรลุผล ๑

โลกตฺถจริยา   จริยาในสรรพสัตว์    ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  ๓   พระองค์.

ในจริยาเหล่านั้น    โลกัตถจริยา   ของพระโพธิสัตว์สององค์     และพระปัจ-

เจกพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้า  โดยมีขอบเขต   แต่ของพระโพธิสัตว์

และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายโดยไม่มีขอบเขต.    มีดังที่ท่านกล่าวไว้ใน

นิทเทสว่า บทว่า   จริยา   ได้แก่จริยา ๘   คือ   อิริยาปถจริยา    และอายตน-

จริยา   เป็นต้น     ความพิสดารมีอยู่ว่า     พระโยคาวจรประพฤติน้อมไปด้วย

ศรัทธา      ประพฤติประคองไว้ด้วยความเพียร        ประพฤติรู้ทั่วด้วยปัญญา

ประพฤติรู้แจ้งด้วยวิญญาณ   เมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนี้  กุศลธรรมทั้งหลายย่อมแผ่

ไป   ด้วยเหตุนั้นชื่อว่าประพฤติด้วยอายตนจริยา.    แม้ปฏิบัติอย่างนี้    ก็ย่อม

บรรลุคุณวิเศษด้วยเหตุนั้นชื่อว่าประพฤติด้วยวิเสสจริยา    ดังนั้นท่านจึงกล่าว

ถึงจริยา ๘   แม้อื่น.   พึงทราบการปิดบังในบารมีทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นไว้.

ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า     บทว่า   จริต   คือ   จริยา   อันเป็นข้อปฏิบัติมี

ทานและศีลเป็นต้น    สงเคราะห์เข้าในบารมี  ๓๐ ทัศ.      แต่ในที่นี้พึงทราบ

ความไม่ปิดกั้นมรรคจริยาและปัตติจริยา    เพราะประสงค์เอาเหตุจริยานั้นแล

ในที่นี้.  ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า  สพฺพ    โพธิปาจน   ความประพฤติ

ทั้งหมดนั้นเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ  ดังนี้.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 34

สพฺพ ศัพท์ในบทนั้นย่อมปรากฏในอรรถ ๔ อย่าง คือ  สพฺพสพฺพ

๑  อายตนสพฺพ  ๑ สกฺกายสพฺพ  ๑  ปเทสสพฺพ  ๑.    ในอรรถว่า

สพฺพสพฺพ   ในบทมีอาทิว่า  ธรรมทั้งหลายทั้งปวง  ย่อมมาสู่ครองในหัวข้อ

ว่า ญาณ     ของพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาค   ด้วยอาการทั้งปวง.     ในอรรถว่า

อายตนสพฺพ  ในบทนี้ว่า    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราจักแสดงอายตนะทั้งปวง

พวกเธอจงฟัง.    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   จักษุ   รูป   ฯลฯ     มนะและธรรม

ทั้งหลาย  เป็นอย่างไร.  ในอรรถว่า  สกฺกายสพฺพ    ในบทมีอาทิว่า   ภิกษุ

ย่อมรู้สิ่งทั้งปวงโดยประการทั้งปวง.     ในอรรถว่า   ปเทสสพฺพ      ในบทมี

อาทิว่า  ดูก่อนสารีบุตรถ้อยคำอันพวกเธอทั้งหมดกล่าวดีแล้วโดยปริยาย.  แม้

ในที่นี้พึงทราบว่า  สพฺพ ศัพท์ในอรรถว่า   ปเทสสพฺพ    เพราะท่านประ-

สงค์เอาความประพฤติอันเป็นการสะสมโพธิญาณ.

บทว่า โพธิ   ได้แก่ต้นไม้บ้าง   อริยมรรคบ้าง  นิพพานบ้าง   สัพพัญ-

ญุตญาณบ้าง.  ต้นไม้ชื่อว่า  โพธิ   เพราะต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้  ในอาคตสถานว่า

ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งแรก  ณ  ควงต้นโพธิและว่า  คยาประเทศ

ในระหว่าง   และต้นโพธิในระหว่าง.    อริยมรรคชื่อว่า   โพธิ  เพราะอริย-

มรรคเป็นเหตุตรัสรู้อริยสัจ  ๔   ในอาคตสถานว่า   ญาณในมรรค ๔    ท่าน

เรียกว่า   โพธิ.   นิพพานชื่อว่า   โพธิ  เพราะนิพพานเป็นนิมิต   ในอาคต-

สถานว่า ทรงบรรลุโพธิญาณอันเป็นอมตะและอสังขตะ. พระสัพพัญญุตฌาณ

ชื่อว่า  โพธิ  เพราะพระสัพพัญญุตญาณเป็นเหตุตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยอาการ

 


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 35

ทั้งปวง   ในอาคตสถานว่าท่านผู้มีปัญญาว่าประเสริฐดุจแผ่นดิน    ย่อมบรรลุ

โพธิญาณ.  ในที่นี้ประสงค์เอาพระสัพพัญญุตญาณ. หรือว่า สัพพัญญุตญาณ

อันเป็นอรหัตมรรคพึงทราบว่า  โพธิ   ในที่นี้.     พระสัพพัญญุตญาณของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า   ชื่อว่า   โพธิ   เพราะประสงค์เอา  มหาโพธิ.   จริงอยู่

พระสัพพัญญุตญาณ   อันมีอาสวักขยญาณเป็นปทัฏฐาน  และอาสวักขยญาณ

อันมีพระสัพพัญญุตญาณเป็นปทัฏฐาน   ท่านกล่าวว่า มหาโพธิ.    ความย่อ

ในบทนี้  มีดังนี้   ความประพฤติกล่าวคือการปฏิบัติมีทานและศีลเป็นต้น  ของ

เราอันใด    ในการกำหนดกาลตามที่กล่าวแล้ว     ความประพฤตินั้นทั้งหมด

เป็นเครื่องบ่ม  เป็นความสำเร็จ  ทำให้เกิดมหาโพธิญาณ   อันไม่มีส่วนเหลือ

อกิตติดาบสแสดงการบำเพ็ญโพธิสมภารติดต่อกันไปด้วยบทนี้.     อีกออย่างหนึ่ง

บทว่า   สพฺพ    ได้แก่ความประพฤติอันใดในระหว่างนี้  คือ   ในการกำหนด

กาลตามที่กล่าวแล้ว   ความประพฤตินั้นทั้งหมด   เป็นโพธิสมภารทั้งสิ้น   ไม่

มีส่วนเหลือ.   อกิตติดาบสแสดงการบำเพ็ญบุญบารมีทั้งหมดด้วยบทนี้.

ภาวนาในโพธิสมภารมี  ๔   อย่าง    คือ   สพฺพสมฺภารภาวนา  ๑

นิรนฺตรถาวนา   ๑   จิรกาลภาวนา   ๑  สกฺกจฺจภาวนา ๑.   ในภาวนา

อย่างนั้น     ท่านกล่าว  จิรกาลภาวนา ( การบำเพ็ญตลอดกาลนาน )   ด้วยบท

นี้ว่า   กปฺเป  จ   สตสหสฺเส,  จตุโร  จ   อสงฺขิเย  ในสี่อสงไขยแสนกัป.

ท่านกล่าว  นิรนฺตรถาวนา (การบำเพ็ญติดต่อกันไป)  ด้วยการถือเอาทั้งหมด

ในอรรถวิกัปที่หนึ่ง    ด้วยการประกอบล่วงส่วนในระหว่างนี้.      ท่านกล่าว


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 36

สพฺพสมฺภารกาวนา   (การบำเพ็ญบุญกุศลทั้งหมด)  ด้วยบทนี้ว่า    สพฺพ

จริต   ความประพฤติทั้งหมด  ในอรรถวิกัปที่สอง.    ท่านกล่าว   สกฺกจฺจ-

ภาวนา   ( การบำเพ็ญโดยความเคารพ )  ด้วยบทนี้ว่า    โพธิปาจน     เป็น

เครื่องบ่มโพธิญาณ.   ความประพฤตินั้นย่อมบ่มสัมมาสัมโพธิญาณ    เพราะ

แสดงความเป็นอย่างนั้น     ฉันใด    ความประพฤตินั้นย่อมควรที่จะกล่าวว่า

โพธิปาจน   เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ    ฉันนั้นไม่ควรที่จะกล่าวโดยอาการ

อื่น.   ก็ในบทนี้พึงทราบความที่โพธิจริยาติดต่อกันไปอย่างไร.   ผิว่า  จิตนั้น

ไม่ควร เพราะจิตติดต่อกันไป เป็นความจริงที่ไม่อาจจะกล่าวได้ว่า จิตอื่นจาก

จิตสะสมโพธิสมภาร  จะเกิดขึ้นสูงกว่ามหาภินิหารของพระมหาสัตว์ทั้งหลาย.

เมื่อเป็นเช่นนั้น   พึงกล่าวหมายถึงความเป็นไปแห่งจิตสำเร็จด้วยกิริยา.   แม้

อย่างนี้ก็ไม่ควร.  ความจริงไม่ควรเห็นว่า จิตสำเร็จด้วยกิริยาทั้งหมดของพระ

มหาโพธิสัตว์เหล่านั้น    ย่อมเป็นไปได้ด้วยอำนาจแห่งการสะสมโพธิสมภาร

เท่านั้น    แม้การทำความเพียรติดต่อกันไป   ท่านก็ห้ามด้วยบทนี้เหมือนกัน.

อนึ่ง   พึงทราบนิรันดรภาวนา   เพราะความติดต่อกันแห่งชาติ.     พระมหา-

โพธิสัตว์ยังมหาปณิธานให้เกิดในชาติใด    ชาตินั้นย่อมไม่เข้าไปได้ตั้งแต่นั้น

จนถึงอัตภาพหลัง.     ชาติใดที่พระมหาโพธิสัตว์สะสมโพธิสมภารไว้หมดสิ้น

ทุกประการ     โดยที่สุดหมายเอาเพียงทานบารมีก็พึงมีไม่ได้.     เพราะชาตินี้

เป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนากิจของพระศาสนา.   พระ-

โพธิสัตว์เหล่านั้น     ยังไม่ถึงความเป็นผู้ชำนาญในกรรมเป็นต้น      เพียงใด

พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย   ย่อมถึงความขวนขวายอันมีขอบเขตในการสะสมบุญ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 37

เพียงนั้น.   อนึ่ง   เมื่อใดพระโพธิสัตว์ทั้งหลายถึงความเป็นผู้ชำนาญในกรรม

เป็นต้นโดยประการทั้งปวง        เมื่อนั้นความเคลื่อนไหวและกระทำติดต่อใน

โพธิสมภารทั้งหลาย   ย่อมสมบูรณ์โดยไม่มีขอบเขตตั้งแต่นั้น.    ก็การทำโดย

ความเคารพย่อมเป็นกาลทั้งหมด.     ความสำเร็จตามความประสงค์     ย่อม

สมบูรณ์ในทางของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย.     พึงทราบว่าท่านประกาศภาวนา

๔  อย่าง คือ สพฺพสมฺภารภาวนา  ๑ จิรกาลภาวนา  ๑  นิรนฺตรภาวนา  ๑

สกฺกจฺจภาวนา   ๑   ในโพธิสมภารทั้งหลาย    ด้วยคาถานี้.

ในบทนั้นเพราะความประพฤติของพระโพธิสัตว์  โพธิสมภาร  โพธิ-

จริยา  อัครยาน  บารมี  เป็นอันเดียวกันโดยอรรถ พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน.

อนึ่ง  เพราะบทว่า จริต    นี้  เป็นคำไม่วิเศษไปจากบารมี  มีทานบารมี  เป็นต้น

ซึ่งจะกล่าวโดยวิภาคข้างหน้า    ฉะนั้นในที่นี้ควรพรรณนาบารมีทั้งหลายเพื่อ

ให้เกิดความเป็นผู้ฉลาดในโพธิสมภารทั้งหมด.   เราจักพรรณนาในปกิณณก-

กถา   ข้างหน้าจนครบ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า   ครั้นทรงแสดงพระจริยาในภูมิของพระโพธิสัตว์

ของพระองค์.      โดยไม่วิเศษว่า     เป็นเครื่องบ่มมหาโพธิญาณตั้งแต่เริ่มจน

สุดท้าย    บัดนี้   เพื่อทรงแสดงถึงความที่พระจริยานั้นเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ

โดยสมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วยการถึงความยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง        เมื่อจะทรงประกาศ

บุรพจริยาเล็ก ๆ น้อย ๆ  ในภัตรกัปนี้โดยวิภาค    จึงตรัสคำมีอาทิว่า   อตีต-

กปฺเป  ในกัปล่วงแล้วดังนั้น.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 38

ในบทเหล่านั้น   บทว่า    อตีตกปฺเป   คือในมหากับมีกำหนดตามที่

กล่าวแล้วล่วงไปแล้วทั้งหมดก่อนหรือกว่าจากกัปนี้  อริบายว่า  ในสี่อสงไขย

แสนกัป.  บทว่า   จริต   คือการปฏิบัติบารมีมีทานบารมีเป็นต้น    ที่สะสมไว้

แล้ว.   บทว่า  ปยิตฺวา  คือเว้นไม่ถือเอา   อธิบายว่า   ไม่กล่าวถึง.    บทว่า

ภวาภเว   คือในภพน้อยใหญ่.   พึงทราบความในบทว่า   อิติภวาภวกถ  ดัง

ต่อไปนี้  ท่านกล่าวถึงความเจริญและความเสื่อมว่า  ภวาภว.   ในบทที่ว่าล่วง

ความเป็นผู้เจริญและเป็นผู้เสื่อม   ท่านประสงค์เอา   สมบัติวิบัติ   ความเจริญ

ความเสื่อม   สสัสตทิฏฐิ   อุจเฉททิฏฐิ   บุญและบาป   ว่า   ภวาภว.      อนึ่ง

ในบทนี้ว่า   ดูก่อนภิกษุทั้งหลายตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดขึ้น  เพราะ

เหตุของประณีต   ท่านประสงค์เอาเภสัชมีเนยใสและเนยขึ้นเป็นต้นอันประ-

ณีต   ประณีตยิ่ง  ว่า  ภวาภว.   อาจารย์บางพวกกล่าวว่า  ในสมบัติภพ  ภพ

น้อยภพใหญ่ประณีตยิ่ง   ประณีตที่สุด  ดังนี้บ้าง.   เพราะฉะนั้น   แม้ในที่นี้

ก็พึงทราบความนั้นนั่นแล   ท่านอธิบายว่า   ในภพน้อยและภพใหญ่.   บทว่า

อิมมฺหิ   กปฺเป  คือในภัทรกัปนี้.   บทว่า  ปวกฺขิสฺส  คือเราจักบอก.   บทว่า

สุโณหิ   ท่านจงฟัง   คือทรงชักชวนพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร  ในการฟัง.

บทว่า   เมห   คือในสำนักของเรา.   อธิบายว่า   จากคำพูดของเรา.

จบ   นิทานกถา


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 39

อรรถกถาอกิตติวรรคที่  ๑

๑.  การบำเพ็ญทานบารมี

อรรถกถาอกิตติจริยาที่  ๑

ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า   ครั้นทรงยังอุตสาหะในการฟัง   บุรพ-

จริยาของพระองค์ให้เกิดแก่ท่านพระสารีบุตรเถระ         และแก่บริษัทกับทั้ง

เทวดาและมนุษย์แล้ว   บัดนี้   เมื่อจะทรงกระทำบุรพจริยานั้นซึ่งปกปิดไว้ใน

ระหว่างภพให้ประจักษ์   ดุจมะขามป้อมในฝ่ามือ   ฉะนั้นจึงตรัสพระดำรัสมี

อาทิว่า :-

ในกาลใดเราเป็นดาบสชื่ออกิตติเข้าไป

อาศัยอยู่ในป่าใหญ่อันว่างเปล่า        สงัดเงียบ

ปราศจากเสียงอื้ออึง.

ในบทเหล่านั้น   บทว่า   ยทา   คือ  ในกาลใด.  บทว่า  พฺรหารญฺเ

คือ  ในป่าใหญ่   อธิบายว่า   ในป่าใหญ่ชื่อว่า   อรัญญานี.   บทว่า   สุญฺเ

ว่างเปล่า  คือ    สงัดจากชน.   บทว่า  วิปินภานเน   คือ   ป่าเล็ก ๆ   อันสงัด

เงียบ.   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเงียบของป่านั้นด้วยสองบท    บท

ทั้งหมดนั้นท่านกล่าวหมายถึงการทวีป.   บทว่า   อชฺโฌคาเหตฺวา  คือเข้าไป

อาศัย.  บทว่า  วิหรามิ  คือเรากำจัดทุกข์ของร่างกายอยู่ยังอัตภาพให้เป็นด้วย


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 40

อิริยาบถวิหารอันวิเศษกว่าสุขที่เกิดจากอาเนญชวิหาร       คือการอยู่ไม่หวั่น

ไหว    ที่เป็นของทิพย์  เป็นของพรหม  เป็นของอริยะ. บทว่า  อกิตฺติ  นาม

ตาปโส    คือในกาลใดเราเป็นดาบสมีชื่ออย่างนี้อยู่ในป่านั้น.     ในกาลนั้น

พระศาสดาตรัสถึงความที่พระองค์เป็นดาบสชื่ออกิตติ  แก่พระธรรมเสนาบดี.

มีกถาเป็นลำดับดังต่อไปนี้ :-

ได้ยินว่า    ในอดีตกาล    ภัทรกัปนี้แล    ครั้นเมื่อพระเจ้าพรหมทัต

เสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี      พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์

มหาสาล  มีสมบัติ  ๘๐  โกฏิ  มีชื่อว่า  อกิตติ.  เมื่ออกิตติเดินได้น้องสาวก็เกิด

มีชื่อว่า  ยสวดี.   เมื่ออกิตติมีอายุได้  ๑๕   ปีก็ไปเรียนศิลปะทุกอย่างในเมือง

ตักกสิลา     เรียนสำเร็จแล้วก็กลับ.    ครั้งนั้นมารดาบิดาของอกิตติได้ถึงแก่

กรรม.     อกิตติทำฌาปนกิจมารดาบิดาแล้วล่วงไปสองสามวัน     ให้ผู้จัดการ

มรดกตรวจตราทรัพย์สิน   ครั้นสดับว่า  ทรัพย์สินส่วนของมารดา  ประมาณ

เท่านี้   ส่วนของบิดาประมาณเท่านี้    ส่วนของปู่ตาประมาณนี้    จึงเกิดสังเวช

ว่า   ทรัพย์นี้เท่านั้นยังปรากฏอยู่   แต่ผู้จัดหาทรัพย์มาไม่ปรากฏ   ทั้งหมดละ

ทรัพย์นี้ไป     แต่เราจักเอาทรัพย์นี้ไป    จึงกราบทูลพระราชาให้ตีกลองป่าว

ประกาศว่า   ผู้มีความต้องการทรัพย์จงมายังเรือนของอกิตติบัณฑิต.

อกิตติบัณฑิตบริจาคมหาทานตลอด  ๗  วัน   เมื่อทรัพย์ยังไม่หมดจึง

คิดว่า     ประโยชน์อะไรด้วยธนกรีฑานี้แก่เรา     ผู้มีความต้องการจักรับตาม

ชอบใจ     จึงเปิดประตูเรือนแล้วให้เปิดห้องเก็บสมบัติอันเต็มไปด้วยเงินและ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 41

ทองเป็นต้น  ประกาศว่า   ชนทั้งหลายจงนำเอาทรัพย์ที่เราให้แล้วไปเถิดแล้ว

ละเรือนไปเมื่อวงศ์ญาติร่ำไห้อยู่       ได้พาน้องสาวออกจากกรุงพาราณสีข้าม

แม่น้ำไป  ๒-๓ โยชน์  ออกบวชสร้างบรรณศาลาอยู่  ณ  ภูมิภาคน่ารื่นรมย์

ท่าที่อกิตติดาบสข้ามแม่น้ำไปชื่อ ท่าอกิตติ.    พวกมนุษย์ชาวบ้านชาวนิคม

และชาวเมืองหลวงได้ฟังว่า   อกิตติบัณฑิตบวชแล้ว   ต่างมีใจจดจ่อด้วยคุณ-

ธรรมของอกิตติดาบสจึงพากันบวชตาม.   อกิตติดาบสได้มีบริวารมาก.   ลาภ

และสักการะเป็นอันมากเกิดขึ้นดุจพุทธุปาทกาล.    ลำดับนั้น    พระมหาสัตว์

ดำริว่า   ลาภและสักการะอันมากนี้แม้บริวารก็มาก   แม้เพียงกายวิเวกก็ไม่ได้

ในที่นี้  เราควรอยู่แต่ผู้เดียว  เพราะเป็นผู้มีความมักน้อยอย่างยิ่ง   และเพราะ

เป็นผู้น้อมไปในวิเวกจึงไม่ให้ใคร ๆ รู้ออกไปผู้เดียว  ถึงแคว้นทมิฬตามลำดับ

อยู่ในสวนใกล้ท่ากาวีระยังฌานและอภิญญาให้เกิด.   แม้   ณ  ที่นั้นลาภและ

สักการะใหญ่ก็เกิดขึ้นแก่อกิตติดาบสนั้น.          อกิตติดาบสรังเกียจลาภและ

สักการะใหญ่นั้นจึงทิ้งเหาะไปทางอากาศหยั่งลง  ณ  การทวีป,   ในครั้งนั้น

การทวีปมีชื่อว่า   อหิทวีป.    อกิตติดาบสอาศัยต้นหมากเม่าใหญ่   ณ  ที่นั้น

สร้างบรรณศาลาพักอาศัยอยู่.        แต่เพราะความเป็นผู้มักน้อยจึงไม่ไปในที่

ไหน ๆ    บริโภคผลไม้ในกาลที่ต้นไม้นั้นมีผล    เมื่อยังไม่มีผลก็บริโภคใบไม้

ชงน้ำ   ยังกาลเวลาให้น้อมไปด้วยฌานและสมาบัติ.

ด้วยเดชแห่งศีลของอกิตติดาบสนั้น    ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าว

สักกะนั้นแสดงอาการเร่าร้อน.   ท้าวสักกะรำพึงอยู่ว่า    ใครหนอประสงค์ให้


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 42

เราเคลื่อนจากที่นี้    ทอดพระเนตรเห็นอกิตติบัณฑิตทรงดำริว่า     ดาบสนี้

ประพฤติตบะที่ทำได้ยากอย่างนี้เพื่ออะไรหนอ      หรือจะปรารถนาความเป็น

ท้าวสักกะ  หรือว่าอย่างอื่น  เราจักทดลองดาบสนั้นดู.  จริงอยู่ดาบสนี้มีความ

ประพฤติทางกายวาจาและใจบริสุทธิ์สะอาด     ไม่อาลัยในชีวิต     บริโภคใบ

หมากเม่าชงน้ำ   หากปรารถนาความเป็นท้าวสักกะ   จักให้ใบหมากเม่าชงน้ำ

ของตนแก่เรา   หากไม่ปรารถนาก็จักไม่ให้   จึงแปลงเพศเป็นพราหมณ์ไปหา

อกิตติดาบสนั้น.      แม้พระโพธิสัตว์ก็รินใบหมากเม่าออกคิดว่าจักบริโภคน้ำ

ใบหมากเม่าเย็น    นั่งอยู่ที่ประตูบรรณศาลา.    ลำดับนั้นท้าวสักกะมีรูปเป็น

พราหมณ์มีความต้องการภิกษา    ได้ยืนข้างหน้าพระดาบส.     พระมหาสัตว์

เห็นพราหมณ์นั้นก็ดีใจด้วยคิดว่า    เป็นลาภของเราแล้วหนอ     เราได้ดีแล้ว

หนอ   เราไม่ได้เห็นยาจกมานานะแล้วหนอ    คิดต่อไปว่าวันนี้เราจักยังความ

ปรารถนาของเราให้ถึงที่สุดแล้วจักให้ทาน      จึงถือเอาด้วยภาชนะที่มีอาหาร

สุกไป   แล้วนึกถึงทานบารมี   ใส่ลงในภิกษาภาชนะของพราหมณ์นั้นจนหมด.

ท้าวสักกะรับภิกษานั้นไปได้หน่อยหนึ่งก็อันตรธานไป.       แม้พระมหาสัตว์

ครั้นให้ภิกษาแก่พราหมณ์นั้นแล้วก็ไม่นึกที่จะแสวงหาอีก      ยังกาลเวลาให้

น้อมล่วงไปด้วยปีติสุขนั้นนั่นเอง.

ในวันที่สองท่านอกิตติดาบสนั่งอยู่ที่ประตูบรรณศาลา   ก็ต้มใบหมาก

เม่าอีกคิดว่า   เมื่อวานนี้เราไม่ได้ทักขิไณยบุคคลวันนี้เราจะได้อย่างไรหนอ

ท้าวสักกะก็เสด็จมาเหมือนเดิม.        พระมหาสัตว์ได้ให้ภิกษายังกาลเวลาให้


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 43

น้อมล่วงไปเหมือนอย่างนั้นอัก. ในวันที่สามก็ให้อย่างนั้นอีกแล้วคิดว่าน่าปลื้ม

ใจหนอ   เป็นลาภของเรา  เราประสบบุญมากหนอ  หากเราได้ทักขิไณยบุคคล

เราจะให้ทานอย่างนี้    ตลอดเดือนหนึ่งบ้าง    สองเดือนบ้าง.   แม้ในสามวัน

พระดาบสก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า    ด้วยทานนั้นเรามิได้ปรารถนา    ลาภสักการะ

และความสรรเสริญ   ไม่ปรารถนาสมบัติจักรพรรดิ  ไม่ปรารถนาสักกสมบัติ

ไม่ปรารถนาพรหมสมบัติ    ไม่ปรารถนาสาวกโพธิญาณ   ไม่ปรารถนาปัจเจก-

โพธิญาณ  ที่แท้ขอทานของเรานี้   จงเป็นปัจจัยแห่งพระสัพพัญญุตญาณเถิด.

ด้วยเหตุนั้นท่านอกิตติดาบสจึงกล่าวว่า :-

ในกาลนั้นด้วยเดชแห่งการประพฤติตบะ

ของเรา    ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ในไตรทิพย์ทรง

ร้อนพระทัย   ทรงแปลงเพศเป็นพราหมณ์  เข้า

มาหาเราเพื่อภิกษา.

เราได้เห็นพราหมณ์มายืนอยู่ใกล้ประตู

บรรณศาลาของเรา    จึงเอาใบหมากเม่าที่เรานำ

มาแต่ป่า        อันไม่มีน้ำมันทั้งไม่เค็มให้หมด

พร้อมกับภาชนะ.

ครั้นได้ให้ใบหมากเม่าแก่พราหมณ์นั้น

แล้ว    เราจึงคว่ำภาชนะ      ละการแสวงหาใบ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 44

หมากเม่าใหม่   เข้าไปยังบรรณศาลา.

แม้ในวันที่สอง  แม้ในวันที่สาม พราหมณ์

ก็เข้ามายังสำนักเรา   เราไม่หวั่นไหว   ไม่อาลัย

ในชีวิต  ได้ให้หมดสิ้นเช่นก่อนเหมือนกัน.

ในสรีระของเราไม่มีความหม่นหมอง  เพราะ

การอดอาหารนั้นเป็นปัจจัย  เรายังวันนั้น  ๆ ให้

น้อมไปด้วยความยินดีด้วยปีติสุข.

ผิว่าเราพึงได้ทักขิไณยบุคคลผู้ประเสริฐ

แม้เดือนหนึ่งสองเดือน   เราก็ไม่หวั่นไหว  ไม่

ท้อแท้     ฟังให้ทานอันอุดม    เมื่อให้ทานแก่

พราหมณ์นั้น     เราจะได้ปรารถนายศและลาภ

ก็หามิได้  เราปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณ จึง

ได้ประพฤติธรรมเหล่านั้น   ฉะนี้.

ในบทเหล่านั้น   บทว่า   ตทา   คือในกาลที่เราเป็นดาบสชื่อว่าอกิตติ

อยู่ในป่าใบหมากเม่านั้น (การทวีป). บทว่า    คือของเรา. บทว่า  ตปเตเชน

ด้วยเดชแห่งการบำเพ็ญตบะ   คือด้วยอานุภาพแห่งศีลบารมี.   จริงอยู่ศีลท่าน

เรียกว่า  ตบะ  เพราะเผาความเศร้าหมองอันเกิดแต่ทุจริต.   หรือเพราะอานุ-

ภาพแห่งเนกขัมมบารมีและวีริยบารมี.  เพราะแม้บารมีเหล่านั้นท่านก็เรียกว่า


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 45

ตบะ     เพราะเผาความเศร้าหมองคือตัณหา     และความเกียจคร้าน.    อนึ่ง

บารมีเหล่านั้นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญอย่างยอดเยี่ยมในอัตภาพนี้.      อันที่จริง

ควรจะกล่าวว่า  ขนฺติปารมิตานุภาเวน  ด้วยอานุภาพแห่งขันติบารมี  เพราะ

ขันติสังวรเข้าถึงความยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง.    สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

ว่า  ขนฺตี  ปรม   ตโป   ขันติเป็นตบะอย่างยิ่ง.  บทว่า  สนฺตตฺโต   ท้าวสักกะ

ทรงร้อนพระทัย   ความว่า   ท้าวสักกะทรงร้อนพระทัยด้วยอาการแสดงความ

เร่าร้อนของปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์อันศักดิ์สิทธิ์   ตามธรรมดาที่เกิดด้วยอานุ-

ภาพของคุณธรรมที่กล่าวแล้ว.    บทว่า   ติทิวาภิภู    ผู้เป็นใหญ่ในไตรทิพย์

คือผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกได้แก่ท้าวสักกะ.        ใบหมากเม่าแม้ถือเอาในที่ใกล้

บรรณศาลา   ท่านกล่าวว่า   ปวนา   อาภต   นำมาจากป่า   เพราะบรรณศาลา

อยู่ท่ามกลางป่า.

บทว่า  อเตลญฺจ   อโลณิก  ไม่มีน้ำมัน  ทั้งไม่มีความเค็ม ท่านกล่าว

เพื่อแสดงความรุ่งเรืองอย่างใหญ่หลวงแห่งทานบารมี        ด้วยความสมบูรณ์

แห่งอัธยาศัย   แม้ไทยธรรมจะไม่ใหญ่โตนัก.   บทว่า   มม  ทฺวาเร  คือใกล้

ประตูบรรณศาลาของเรา.   ด้วยบทนี้ว่า   สกฏาเหน   อากิรึ    ให้หมดพร้อม

ทั้งภาชนะ   ท่านอกิตติดาบสแสดงถึงความที่ตนให้ไม่มีอะไร ๆ เหลือ.

บทว่า ปุเนสก  ชหิตฺวาน    ละการแสวงหาใบหมากเม่าใหม่คือท่าน

อกิตติดาบสคิดว่า    การแสวงหาของบริโภควันหนึ่งสองครั้ง    ไม่เป็นการขัด

เกลากิเลส   จึงไม่แสวงหาอาหารใหม่ในวันนั้น     เป็นดุจว่าอิ่มด้วยความอิ่ม

ในทาน.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 46

บทว่า   อกมฺปิโต  ไม่หวั่นไหว   คือ  ไม่หวั่นไหวด้วยความตระหนี่

เพราะข่มเสียได้นานมาแล้ว     ไม่กระทำแม้เพียงความหวั่นไหวโดยอัธยาศัย

ในการให้.   บทว่า  อโนลคฺโค  ไม่อาลัยในชีวิต  คือ  ไม่อาลัยแม้แต่น้อยด้วย

ความโลภ.  บทว่า  ตติยมฺปิ   ย่อมประมวลบทนี้ว่า ทุติยมฺปิ  ด้วย ปิ ศัพท์.

บทว่า   เอวเมวมทาสห  เราได้ให้หมดสิ้นเช่นวันก่อน คือ แม้ในวันที่สอง

แม้ในวันที่สาม   เราก็ได้ให้อย่างนั้นเหมือนในวันแรก.

บทว่า  น  เม  ตปฺปจฺจยตา    เพราะการอดอาหารนั้นเป็นปัจจัย คือ

ท่านอกิตติดาบสกระทำความที่กล่าวไว้ในคาถาให้ปรากฏ.      ในบทเหล่านั้น

บทว่า   ตปฺปจฺจยตา  ความว่า   เพราะการอดอาหารใน  ๓  วัน    เพราะการ

ให้เป็นปัจจัย   จะพึงมีความหม่นหมองอันใดในสรีระ  ความหม่นหมองอันนั้น

ในสรีระของเราย่อมไม่มีเพราะการให้เป็นปัจจัยเลย.   เพราะเหตุไร    เพราะ

เรายังกาลเวลาให้น้อมล่วงไปด้วยปีติสุขตลอด ๓ วัน. มิใช่เพียง ๓ วันเท่านั้น

อันที่จริงเพื่อแสดงว่า      เราพอใจที่จะให้อย่างนั้นได้ตลอดเวลาแม้เดือนหนึ่ง

และสองเดือน   ท่านอกิตติดาบสจึงกล่าวว่า   ยทิ  มาสมฺปิ.    บทว่า   อโน-

ลีโน   คือไม่ท้อแท้ใจ   อธิบายว่า   มีใจไม่ท้อถอยในการให้.

บทว่า   ตสฺส   คือ   ท้าวสักกะผู้มาในรูปของพราหมณ์.  บทว่า   ยส

คือ เกียรติ  หรือ บริวารสมบัติ.   บทว่า   ลาภญฺจ  คือ เราไม่ปรารถนาลาภ

ที่ควรได้ด้วยความเป็นจักรพรรดิเป็นต้นในเทวโลกและมนุษยโลก   ที่แท้เรา

ปรารถนา  คือหวังพระสัพพัญญุตญาณ  จึงได้ประพฤติคือได้กระทำบุญกรรม


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 47

อันสำเร็จด้วยทานอันเกิดขึ้นหลายครั้งใน  ๓  วันเท่านั้น     หรือบุญกรรมมี

กายสุจริตเป็นต้น   อันเป็นบริวารของทาน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า    ทรงประกาศเพียงบุญจริยา     ที่ทำได้ยากของ

พระองค์ในอัตภาพนี้แก่พระมหาเถระในวรรคนี้    ด้วยประการฉะนี้.   แต่ใน

เทศนาชาดก    ท่านประกาศถึงท้าวสักกะเข้าไปหาในวันที่สี่    แล้วทรงทราบ

อัธยาศัยของพระโพธิสัตว์   การประทานพร   การแสดงธรรมของพระโพธิ-

สัตว์ด้วยหัวข้อการรับพร  และความหวังไทยธรรมและทักขิไณยบุคคล  และ

การไม่มาของท้าวสักกะ.   สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

ท้าวสักกะผู้เป็นภูตบดี    ทอดพระเนตร

เห็นท่านอกิตติดาบส  พักสำราญอยู่   จึงถามว่า

ข้าแต่มหาพรหม   พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรจึง

อยู่ผู้เดียวในฤดูร้อน.

ท่านท้าวสักกรินทรเทพ    ความเกิดใหม่

เป็นทุกข์   การแตกทำลายแห่งสรีระ  เป็นทุกข์

การตายด้วยความหลง  เป็นทุกข์  เพราะฉะนั้น

อาตมาจึงอยู่ผู้เดียว.

ข้าแต่ท่านกัสสปะ   เมื่อพระคุณเจ้ากล่าว

คำสุภาษิตอันสมควรนี้แล้ว        พระคุณเจ้า

ปรารถนาอะไร   ข้าพเจ้าจะให้พรนั้นแก่ท่าน.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 48

ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพทั้งหลาย

หากท่านจะให้พรแก่อาตมา     ขอจงให้พรดังนี้

คนทั้งหลายได้บุตร  ภรรยา  ทรัพย์สมบัติ  และ

ของเป็นที่รักด้วยความโลภใดแล้วไม่เดือดร้อน

ขอความโลภนั้นไม่พึงอยู่ในอาตมาเลย.

ข้าแต่ท่านกัสสปะ  เมื่อพระคุณเจ้ากล่าว

ดีแล้ว  ฯลฯ  พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก.

ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพทั้งหลาย

หากท่านจะให้พรแก่อาตมา     ขอจงให้พรดังนี้

นา  ไร่   ทอง   โค   ม้า   ทาสและบุรุษ    ย่อม

เสื่อมไปด้วยโทษใด    โทษนั้น   ไม่ฟังอยู่ใน

อาตมาเลย.

ข้าแต่ท่านกัสสปะ   ฯลฯ    พระคุณเจ้า

ปรารถนาอะไรอีก.

ท่านท้าวสักกะหากท่านจะให้พรแก่อาตมา

ขอจงให้พรดังนี้    บุคคลไม่พึงเห็น  ไม่พึงได้ยิน

คนพาล     ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยคนพาล     ไม่พึง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 49

กระทำ   และไม่พึงชอบใจการสนทนาปราศรัย

ด้วยคนพาล.

ข้าแต่ท่านกัสสปะ     เพราะอะไรท่านจึง

ไม่ชอบคนพาล  ขอจงบอกเหตุ   เพราะเหตุไร

พระคุณเจ้าจึงไม่ปรารถนาที่จะเห็นคนพาล.

คนพาลย่อมแนะนำสิ่งไม่ควรแนะนำ

ย่อมขวนขวายในกิจอันไม่ใช่ธุระ        คนพาล

แนะนำให้ดีได้ยาก   พูดดีหวังจะให้เขาเป็นคน

ประเสริฐกลับโกรธ   คนพาลนั้นไม่รู้วินัย  การ

ไม่เห็นคนพาลได้เป็นความดี.

ข้าแต่ท่านกัสสปะ  พระคุณเจ้าปรารถนา

อะไรอีก.

ท่านท้าวสักกะจอมเทพ   หากท่านจะให้

พรแก่อาตมา   ขอจงให้พรดังนี้   บุคคลพึงเห็น

นักปราชญ์   พึงฟังนักปราชญ์   พึงอยู่ร่วมกับ

นักปราชญ์       พึงกระทำและพึงชอบใจการ

สนทนาปราศรัยกับนักปราชญ์.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 50

ข้าแต่ท่านกัสสปะ   เพราะเหตุไร   พระ-

คุณเจ้าจึงชอบใจนักปราชญ์    ขอจงบอกเหตุนั้น

เพราะเหตุไร      พระคุณเจ้าจึงปรารถนาจะเห็น

นักปราชญ์.

นักปราชญ์แนะนำสิ่งที่ควรแนะนำไม่

ขวนขวายในกิจที่มิใช่ธุระ   นักปราชญ์แนะนำ

ได้ง่าย   พูดหวังจะให้ดีก็ไม่โกรธ   นักปราชญ์

ย่อมรู้จักวินัย     การสมโคมกับนักปราชญ์เป็น

ความดี.

พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก.

ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ  หากท่าน

จะให้พรแก่อาตมา  ขอจงให้พรดังนี้   เมื่อราตรี

หมดไป     ดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นเจ้าโลก    ของ

บริโภคอันเป็นทิพย์ฟังปรากฏ  ผู้ขอฟังเป็นผู้มี

ศีล.

เมื่ออาตมาให้ของบริโภคไม่หมดสิ้นไป

ครั้นให้แล้วอาตมาไม่พึงเดือดร้อน    เมื่อให้จิต

พึงผ่องใส  ท่านท้าวสักกะขอจงให้พรนี้เถิด.



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 51

พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก.

ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ  หากท่าน

จะให้พรแก่อาตมา   ขอจงให้พรดังนี้     ท่านไม่

พึงกลับมาหาอาตมาอีก  ท่านท้าวสักกะ  ขอจง

ให้พรนี้เถิด.

เทพบุตร หรือ เทพธิดา ปรารถนาจะเห็น

ด้วยการประพฤติพรตเป็นอันมาก  อะไรจะเป็น

ภัยในการเห็นของอาตมา.

ตบะพึงแตกไป      เพราะเห็นสีสรรของ

พวกเทพเช่นนั้น    ผู้ล้วนแล้วไปด้วยความสุข

สมบูรณ์ในกามนี้เป็นภัยในการเห็นของพระ-

คุณเจ้า.

ลำดับนั้นท้าวสักกะตรัสว่า   ดีแล้วพระคุณเจ้า   ตั้งแต่บัดนี้ไปข้าพเจ้า

จักไม่มาหาพระคุณเจ้าอีกแล้ว   ทรงกราบพระดาบสนั้นเสด็จกลับไป.   พระ-

มหาสัตว์อยู่  ณ  การทวีปนั้นตลอดชีวิต   เมื่อสิ้นอายุก็ไปบังเกิดในพรหมโลก.

ในครั้งนั้นพระอนุรุทธเถระเป็นท้าวสักกะ.      พระโลกนาถเจ้าเป็น

อกิตติบัณฑิต.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 52

ย่อมได้รับบารมี  ๑๐  เหล่านี้  คือ  ชื่อว่า  เนกขัมมบารมี    เพราะการ

ออกไปของท่านอกิตติบัณฑิตนั้นเช่นกับมหาภิเนษกรมณ์. ชื่อว่า   ศีลบารมี

เพราะมีศีลาจารอันบริสุทธิ์ด้วยดี.     ชื่อว่า   วีริยบารมี    เพราะข่มกามวิตก

เป็นต้นด้วยดี.  ชื่อว่า  ขันติบารมี    เพราะขันติสังวรถึงความยอดเยี่ยมอย่าง

ยิ่ง.   ชื่อว่า  สัจจบารมี   เพราะปฏิบัติตามสมควรแก่ปฏิญญา    ชื่อว่า  อธิฏ-

ฐานบารมี   เพราะตั้งใจสมาทานไม่หวั่นไหวในที่ทั้งปวง.  ชื่อว่า  เมตตาบารมี

ด้วยอัธยาศัยเกื้อกูลในสรรพสัตว์ทั้งหลาย.    ชื่อว่า   อุเบกขาบารมี   เพราะ

ถึงความเป็นกลางในความผิดปกติที่สัตว์และสังขารกระทำแล้ว       ชื่อว่า

ปัญญาบารมี    ได้แก่ปัญญาอันเป็นอุบายโกศลซึ่งเป็นสหชาตปัญญา  และ

ปัญญาให้สำเร็จความประพฤติในการขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง.      เพราะรู้ธรรม

เป็นอุปการะ    และธรรมไม่เป็นอุปการะแก่บารมีเหล่านั้น     ละธรรมอันไม่

เป็นอุปการะเสีย   มุ่งประพฤติอยู่ในธรรมอันเป็นอุปการะ.

เทศนาอันเป็นไปแล้วด้วยทานเป็นประธานอันเป็นความกว้างขวางยิ่ง

นักแห่งผู้มีอัธยาศัยในการให้.    เพราะฉะนั้นธรรมเหล่าใดมีประเภทไม่น้อย

เป็นร้อยเป็นพัน   เป็นโพธิสมภาร  เป็นคุณของพระโพธิสัตว์   มีอาทิอย่างนี้

คือ  ธรรมเป็นปฏิญญา  ๗  มีอาทิ   คือ   มหากรุณาอันให้สำเร็จในที่ทั้งปวง

บุญสมภาร     และญาณสมภาร   แม้ทั้งสอง    สุจริตของพระโพธิสัตว์ ๓  มี

กายสุจริตเป็นต้น  อธิฏฐาน ๔ มีสัจจาธิษฐานเป็นต้น  พุทธภูมิ ๔   มีอุตสาหะ

เป็นต้น  ธรรมเป็นเครื่องบ่มมหาโพธิญาณ ๕   มีศรัทธาเป็นต้น   อัธยาศัย


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 53

ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย  ๖   มีอัธยาศัยไม่โลภเป็นต้น   เราข้ามได้แล้วจัก

ข้ามต่อไป   มหาปุริสวิตก ๘ มีอาทิว่า  ธรรมนี้ของผู้มีความมักน้อย   ธรรมนี้

มิใช่ของผู้มีความมักใหญ่    ธรรมมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล  ๙  อัธยาศัยของ

มหาบุรุษ  ๑๐  มีอัธยาศัยในการให้เป็นต้น    บุญกิริยาวัตถุ  ๑๐  มีทานและ

ศีลเป็นต้น.   ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดควรกล่าวเจ้าจงไปในที่นี้ตามสมควร.

อีกอย่างหนึ่ง    พึงทราบคุณานุภาพของพระมหาสัตว์  มีอาทิอย่างนี้

คือ  การละกองสมบัติใหญ่   และวงศ์ญาติใหญ่     แล้วออกจากเรือนเช่นกับ

มหาภิเนษกรมณ์   ครั้นออกไปแล้ว   เมื่อบวชซึ่งชนเป็นอันมากรับรู้แล้ว   ก็

ไม่เกี่ยวข้องในตระกูล    ในคณะเพราะเป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง     รังเกียจลาภ

สักการะและความสรรเสริญสิ้นเชิง   ยินดีในความสงัด     วางเฉยในร่างกาย

และชีวิตเสียสละ  อดอาหาร  ยินดีด้วยความอิ่มในทาน   แม้ ๓ วัน   ร่างกาย

ยังเป็นไปได้ไม่ผิดปกติ    เมื่อมีผู้ขอก็ให้อาหารอยู่อย่างนั้น    เดือนหนึ่งสอง

เดือน   ประพฤติไม่ท้อถอยในการบริจาคมีอัธยาศัยในการให้อย่างกว้างขวาง

ด้วยคิดว่า    เราจักยิ่งร่างกายให้เป็นไปอยู่ได้ด้วยปีติสุขอันเกิดจากการให้เท่า

นั้น       ครั้นให้ทานแล้วก็ประพฤติขัดเกลากิเลสยิ่งขึ้นไม่เป็นเหตุให้ทำการ

แสวงหาอาหารใหม่.   ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า :-

น่าอัศจรรย์  ไม่เคยมีมาแล้วพระมหาสัตว์

ทั้งหลายเป็นผู้แสวงหาคุณธรรมใหญ่หลวง    มี

มหากรุณาเป็นนักปราชญ์      เป็นเผ่าพันธุ์เอก

ของสรรพโลก.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 54

พระมหาสัตว์ผู้เป็นพระโพธิสัตว์  มีอานุ-

ภาพเป็นอจินไตย  มีพระสัทธรรมเป็นโคจรใน

กาลทุกเมื่อ      มีความประพฤติขัดเกลากิเลส

อย่างหมดจด.

พายุใหญ่    มหาสมุทรมีคลื่นซัดเป็นวง-

กลม  พระโพธิสัตว์กระโดดข้ามแดนนั้นไปได้

ไม่ใช่เรื่องธรรมดา.

พระมหาสัตว์เหล่านั้น     แม้เป็นผู้เจริญ

โดยสัญชาตในโลก   เป็นผู้อบรมดีแล้วก็ไม่ติด

ด้วยโลภธรรมทั้งหลาย    เหมือนประทุมไม่ติด

ด้วยน้ำฉันนั้น.

ความเสน่หาเพราะกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย

ย่อมเจริญโดยประการที่ละความเสน่หาในตน

ออกไปของพระมหาสัตว์ทั้งหลาย.

กรรมย่อมอยู่ในอำนาจ     ทั้งไม่เป็นตาม

อำนาจของธรรม    เหมือนจิตย่อมอยู่ในอำนาจ

ทั้งไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต  ฉะนั้น.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 55

พระมหาสัตว์เหล่านั้น      เที่ยวแสวงหา

โพธิญาณอันโทสะไม่ครอบงำ   หรือไม่เกิดขึ้น

ดังบุรุษทั้งหลายรู้ถึงความเสื่อม.

แม้จิตเลื่อมใสในท่านเหล่านั้น  ก็พึงพ้น

จากทุกข์ได้   จะพูดไปทำไมถึงการทำตามท่าน

เหล่านั้นโดยธรรมสมควรแก่ธรรมเล่า.

จบ   อรรถกถาอกิตติจริยาที่ ๑


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 56

๒. สังขพราหมณจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของสังพราหมณ์

[๒]        อีกเรื่องหนึ่ง  เมื่อเราเป็นพราหมณ์มีนามว่า

สังขะ   ต้องการจะข้ามมหาสมุทรไปอาศัยปัฏ-

ฏนคามอยู่   ในกาลนั้น  เราได้เห็นพระปัจเจก-

พุทธเจ้าผู้รู้เอง  ใคร ๆ  ชนะไม่ได้   ซึ่งเดินสวน

ทางมาตามทางกันดาร  บนภาคพื้นอันแข็ง  ร้อน

จัด    ครั้นเราเห็นท่านเดินสวนทางมา    จึงคิด

เนื้อความนี้ว่า  บุญเขตนี้มาถึงแก่เราผู้เป็นสัตว์

ที่ต้องการบุญ  เปรียบเหมือนบุรุษชาวนา  เห็น

นาอันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ      ( เป็นที่น่ายินดีมาก)

ไม่ปลูกพืชลงในนานั้น  เขาชื่อว่าเป็นผู้ไม่ต้อง

การด้วยข้าวเปลือกฉันใด    เราก็ฉันนั้นเหมือน

กัน   เป็นผู้ต้องการบุญ   เห็นเขตบุญอันประ-

เสริฐสุดแล้ว  ถ้าไม่ทำบุญ คือสักการะ   เราก็ชื่อ

ว่าเป็นผู้ไม่ต้องการบุญ  เปรียบเหมือนอำมาตย์

ต้องการจะให้ชนชาวเมืองของพระราชายินดี

แต่ไม่ให้ทรัพย์และข้าวเปลือกแก่เขา   ก็ย่อม


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 57

เสื่อมจากความยินดี  ฉันใด  เราก็ฉันนั้นเหมือน

กัน  เป็นผู้ต้องการบุญ    เห็นทักขิไณยบุคคล

อันไพบูลย์แล้ว     ถ้าไม่ให้ทานในทักขิไณย-

บุคคลนั้นก็จักเสื่อมจากบุญ  ครั้นเราคิดอย่างนี้

แล้วจึงถอดรองเท้า   ไหว้เท้าของท่านแล้ว  ได้

ถวายร่มและรองเท้า   เพราะฉะนั้น   เราจึงเป็น

ผู้ละเอียดอ่อนเจริญสุขได้ร้อยเท่าพันทวี  อนึ่ง

เมื่อเราบำเพ็ญทานให้บริบูรณ์   ได้ถวายแก่ท่าน

นั้น   อย่างนี้แล.

จบ  สังขพราหมณจริยาที่ ๒

 

อรรถกถาสังขพราหมณจริยาที่  ๒

พึงทราบวินิจฉัยในสังขพราหมณจริยาที่สองดังต่อไปนี้     บทว่า

ปุนาปร  ตัดบทเป็น  ปุน  อปร   อีกเรื่องหนึ่งอธิบายว่า    บทนี้มิใช่อกิตติ-

จริยาอย่างเดียวเท่านั้น    ที่แท้เราจักกล่าว  แม้สังขจริยาอื่นอีก  ท่านจงฟัง. แม้

ในบทอื่นจากนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน .  บทว่า   สงฺขสวฺหโย  เป็นชื่อของสังข-

พราหมณ์.   บทว่า   มหาสมุทฺท   ตริตุกาโม   คือประสงค์จะข้ามมหาสมุทร

ด้วยเรือเพื่อไปยังสุวรรณภูมิ.   บทว่า   อุปคจฺฉามิ  ปฏฺฏน   คือจะไปอาศัย


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 58

เมืองท่าชื่อว่าตามลิตติอยู่.   พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่า   สยัมภู   เพราะเป็นผู้

เห็นเอง   เพราะบรรลุปัจเจกโพธิญาณด้วยพระสยัมภูญาณ. ชื่อว่า อปราชิตะ

เพราะบรรดามารทั้งหลายมีกิเลสมารเป็นต้น     อย่างใดอย่างหนึ่งชนะไม่ได้.

อธิบายว่า    ย่ำยีที่สุดแห่งมารทั้งหลาย  ๓.   บทว่า   ตตฺตาย   กินภูมิยา  บน

ภาคพื้นอันแข็ง  ร้อนจัด  คือบนภาคพื้นอันแข็งหยาบ   เต็มไปด้วยกรวดและ

ทรายอันร้อนระอุในฤดูร้อน.

บทว่า    ต  คือพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้น.   อิมมตฺถ   เนื้อความนี้

คือเนื้อความมีอาทิว่า   บุญเขตนี้อันจะกล่าวถึงเดี๋ยวนี้.  บทว่า   วิจินฺตยึ  คิด

แล้ว   คือพระศาสดาตรัสว่า  ครั้งนั้นเราเป็นสังขพราหมณ์คิดแล้ว  พึงทราบ

กถาตามลำดับในบทนั้นดังต่อไปนี้.

ในอดีต    กรุงพาราณสีนี้ชือว่าโมฬินีนคร.       เมื่อพระเจ้าพรหมทัต

เสวยราชสมบัติอยู่  ณ โมฬินีนคร   พระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์ชื่อว่า   สังขะ

เป็นผู้มั่งคั่ง  มีทรัพย์มากให้ตั้งโรงทาน  ๖  แห่ง  ในที่ทั้ง  ๖  คือที่ประตูนคร

๔  ที่กลางนคร ๑ ที่ประตูบ้านของตน  ๑  สละทรัพย์ทุกวัน  วันละ  ๖๐๐,๐๐๐

ยังมหาทาน  ให้เป็นไปในบรรดาคนยากจนและเดินทางเป็นต้น      วันหนึ่ง

สังขพราหมณ์คิดว่า   เมื่อทรัพย์ในเรือนหมดเราก็จักไม่สามารถจะให้ทานได้

เมื่อทรัพย์ยังไม่หมดทีเดียว     เราจักไปยังสุวรรณภูมิด้วยเรือแล้วนำทรัพย์มา.

สังขพราหมณ์บรรทุกสินค้าเต็มเรือเรียกบุตรภรรยามากล่าวว่า       พวกท่าน

อย่าเลิกละทานของเราพึงทำอย่าให้ขาดจนกว่าเราจะกลับมาแล้ว      แวดล้อม

ด้วยทาสและกรรมกร   สวมรองเท้ากางร่มบ่ายหน้าไปยังปัฏฏนคาม.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 59

ในขณะนั้น    ณ   ภูเขาคันธมาทน์มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งเข้า

นิโรฐสมาบัติอยู่ตลอด  ๗  วัน   ครั้นออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว    จึงตรวจดู

สัตวโลกเห็นสังขพราหมณ์กำลังนำทรัพย์มา        รำพึงอยู่ว่า  มหาบุรุษจะไป

นำทรัพย์มา   อันตรายในมหาสมุทร    จักมีแก่เขาหรือไม่มีหนอ   รู้ว่า   จักมี

อันตราย     คิดว่ามหาบุรุษผู้นี้เห็นเราจักถวายร่มและรองเท้าแก่เราด้วยอานิ-

สงส์ถวายรองเท้า   เมื่อเรือแตกในมหาสมุทรจักได้ที่พึ่ง      เราจักอนุเคราะห์

เขา   จึงเหาะไปทางอากาศ   แล้วลงไม่ไกลสังขพราหมณ์นั้น   ครั้นเวลาเที่ยง

ด้วยลมและแดดอันร้อนแรง      เหยียบทรายร้อนคล้ายกับลาดไว้ด้วยถ่านไฟ

เดินมาถึงข้างหน้าสังขพราหมณ์นั้น.    สังขพราหมณ์เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

นั้น  มีความยินดีร่าเริงคิดว่า  บุญเขตมาหาเราแล้ววันนี้   เราควรจะหว่านพืช

ในเขตนี้.     ด้วยเหตุพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า     เราเห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเดินสวนทางมา   จึงคิดเนื้อความนี้   ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น  บทว่า  อิท  เขตฺต   เป็นต้น  แสดงอาการคิด.  บทว่า

เขตฺต   ชื่อว่า  เขต เพราะป้องกันพืชที่หว่านไปโดยทำให้มีผลมาก  คือพื้นที่

ปลูกปุพพัณณชาติ   ( เช่นข้าว  ข้าวฟ่าง   ลูกเดือย   เป็นต้น )   และอปรัณ-

ณ ชาติ ( เช่นถั่ว  งา  เป็นต้น นอกจากข้าว )  ให้งอกงาม.   ในที่นี้พระปัจเจก

พุทธเจ้าเป็นทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ   ชื่อว่าเป็นบุญเขตเพราะเป็นดุจเขต.  ด้วย

เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า   ปุญฺกามสฺส   ชนฺตุโน   ผู้เป็นสัตว์ต้องการบุญ.

บทว่า   มหาคม  คือเป็นที่มาแห่งผลอันไพบูลย์  อธิบายว่า  ให้ความสมบูรณ์

แห่งข้าวกล้า.   บทว่า   พีช   น  โรเปติ   คือไม่ปลูกพืช.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 60

บทว่า   เขตฺตวรุตฺตม  คืออุดมแม้ในเขตบุญอันประเสริฐ.   จริงอยู่

พระอริยสาวกทั้งหลาย    ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณมีศีลเป็นต้นเป็นบุญเขตอันประ-

เสริฐกว่ากิเลส.   พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศกว่านั้นจึงชื่อว่า   เป็นบุญเขต

อันประเสริฐสูงสุด.   บทว่า  การ  คือ  สักการะ.   พึงเชื่อมความว่า  ยทิ   น

กโรมิ   ผิว่าไม่ทำบุญ.  บทนี้ท่านอธิบายไว้ว่า  ผิว่าเราได้บุญเขตอันยอดเยี่ยม

แล้วไม่ทำการบูชาสักการะในบุญเขตนั้น  เราก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ต้องการบุญ.

พึงทราบความสังเขปแห่งคาถาสองคาถามีอาทิว่า   ยถา  อมจิโจ  ดัง

ต่อไปนี้   เหมือนบุรุษอำมาตย์  หรือเสนาบดี  พระราชาทรงตั้งไว้ในตำแหน่ง

เสริมสร้างความยินดีได้รับตราตั้งแล้ว  เขาไม่ปฏิบัติตาม  พระราชโองการใน

ชนภายในเมืองและในหมู่พลเป็นต้นภายนอก  ไม่ให้ทรัพย์สมบัติแก่พวกเขา

ทำให้การปฏิบัติที่ควรทำเสื่อมเขาย่อมเสื่อมจากความยินดี       ย่อมเสื่อมจาก

สมบัติที่ได้จากตำแหน่งเสริมสร้างความยินดี  ฉันใดแม้เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ยินดีในการทำบุญเป็นผู้ใคร่บุญ  กล่าวคือผลบุญที่ควรได้เห็นทักขิไณยบุคคล

อันไพบูลย์นั้น  คือได้ทักขิไณยบุคคลผู้เลอเลิศ     ด้วยการทำทักษิณให้มีผล

ไพบูลย์  ผิว่าไม่ให้ทานแก่ทักขิไณยบุคคลนั้น  จักเสื่อมจากบุญและจากผลบุญ

ต่อไป.   เพราะฉะนั้นเราจึงควรทำบุญ  ณ  ที่นี้แล.

มหาบุรุษครั้นคิดอย่างนี้แล้ว  ถอดรองเท้าแต่ไกลรีบเข้าไปไหว้พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า     กล่าวว่าพระคุณเจ้าขอรับนิมนต์เข้าไปยังโคนไม้นี้     เพื่อ

อนุเคราะห์กระผมด้วยเถิด.    เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปยังโคนไม้นั้น  จึง

ขนทรายมาแล้วปูผ้าห่ม เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้านั่ง   ณ  ที่นั้นไหว้แล้วเอาน้ำ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 61

ที่กรองไว้ล้างเท้าของพระปัจเจกพุทธเจ้า     เอาน้ำมันหอมทา     เช็ดรองเท้า

ของตน   ขัดด้วยน้ำมันหอมแล้ว   สวมเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวว่า พระ-

คุณเจ้าขอรับ นิมนต์สวมรองเท้านี้  แล้วกางร่มนี้ไปเถิดขอรับ    แล้วได้ถวาย

ร่มและรองเท้า . แม้พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น  เมื่อมหาบุรุษแลดูเพื่อเจริญความ

เลื่อมใส   ก็รับร่มและรองเท้าเหาะไปยังเวหาไปถึงภูเขาคันมาทน์.    ด้วยเหตุ

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้วจึงถอดรองเท้าไหว้

เท้าของท่านแล้วได้ถวายร่มและรองเท้า.

พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นมีใจเลื่อมใสยิ่งนัก  จึงขึ้นเรือไปยังปัฏฏนคาม.

ครั้นเมื่อพระโพธิสัตว์   ข้ามมหาสมุทรไปในวันที่  ๗  เรือก็ทะลุ.   พวกทาส

และกรรมกรไม่สามารถจะวิดน้ำออกได้. ผู้คนต่างกลัวมรณภัย  จึงไหว้เทวดา

ของตน ๆ  ร้องเสียงระงม.   พระโพธิสัตว์พาคนรับใช้คนหนึ่งไป  แล้วเอาน้ำ

มันทาทั่วตัว   บริโภคน้ำตาลกรวดกับเนยใส  ตามความต้องการ  ให้คนรับใช้

บริโภคบ้าง   แล้วขึ้นยอดเสากระโดงเรือกับคนรับใช้กำหนดทิศทางว่า  เมือง

ของเราอยู่ทางทิศนี้  ตั้งสัจจาธิษฐาน    เพื่อให้พ้นจากอันตรายคือปลาและเต่า

จึงก้าวลงยังที่ประมาณอุสภะหนึ่งกับคนรับใช้  พยายามจะว่ายข้ามมหาสมุทร.

ส่วนมหาชนได้ถึงความพินาศในมหาสมุทรนั่นเอง.     เมื่อพระโพธิสัตว์ข้าม

อยู่นั้นล่วงไป ๗ วัน.   ในเวลานั้นพระโพธิสัตว์เอาน้ำเค็มบ้วนปากแล้วรักษา

อุโบสถ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 62

ในครั้งนั้น  นางเทพธิดามณีเมขลาซึ่งท้าวโลกบาลทั้ง  ๔  ตั้งไว้คอยดู

แลบุรุษผู้วิเศษเช่นนี้   เผลอไป  ๗  วัน     ด้วยความเป็นใหญ่ของตนในวันที่

๗  ได้เห็นพระโพธิสัตว์แล้วสังเวชใจว่า   หากบุรุษนี้ตายในมหาสมุทรนี้   เรา

ต้องได้รับคำติเตียนมากมาย    จึงเอาอาหารทิพย์บรรจุลงในภาชนะทองคำรีบ

มาแล้วกล่าวว่า    ท่านพราหมณ์    บริโภคอาหารทิพย์นี้เถิด.    พระโพธิสัตว์

มองดูเทพธิดานั้นจึงปฏิเสธว่า   เราไม่บริโภค   เรารักษาอุโบสถ   เมื่อจะถาม

เทพธิดานั้นจึงกล่าวว่า :-

ท่านเชื้อเชิญเราเป็นอย่างดี     ท่านกล่าว

กะเราว่า    เชิญบริโภคอาหาร    ดูก่อนนารีผู้มี

อานุภาพมาก  เราขอถามท่าน  ท่านเป็นเทพธิดา

หรือเป็นมนุษย์.

เทพธิดามณีเมขลา     เมื่อจะให้คำตอบแก่พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถา

เหล่านี้ว่า :-

ท่านสังขพราหมณ์   ข้าพเจ้าเป็นเทพธิดา

มีอานุภาพมาก   มาในท่ามกลางมหาสมุทรนี้   มี

ความสงสาร  มิได้มีจิตประทุษร้าย    มาในที่นี้

เพื่ออประโยชน์แก่ท่าน       ข้าพเจ้าขอมอบข้าว

น้ำ  ที่นอน  ที่นั่ง   และยานหลายชนิดแก่ท่าน

ทั้งหมด     ขอท่านนำไปใช้ตามความปรารถนา

เถิด.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 63

พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า    เทพธิดานี้กล่าวว่า    ข้าพเจ้าให้

สิ่งนี้ ๆ   แก่ท่านบนหลังมหาสมุทร.  ก็เทพธิดานี้กล่าวคำใดแก่เรา  แม้คำนั้น

ก็สำเร็จด้วยบุญของเรา อนึ่ง  เทพธิดานี้จะรู้จักบุญของเราหรือ   หรือไม่รู้จัก

เราจักถามนางดูก่อน   เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ท่านผู้มีร่างงาม  มีตะโพกงาม   มีคิ้วและ

ขาอ่อนงาม   มีสะเอวงาม   เป็นอิสระแห่งบุญ

กรรมทั้งหมดของเรา    ท่านทำการบูชา    เส้น

สรวงเรา   นี้เป็นผลของกรรมอะไรของเรา.

ในบทเหล่านั้น   บทว่า   ยิฏฺ   คือบูชาแล้วด้วยการให้.  บทว่า  หุต.

คือให้แล้วด้วยการบูชาและต้อนรับ.  บทว่า  สพฺพสฺส  โน  อิสฺสรา ตฺว  คือ

ท่านเป็นอิสระแห่งบุญกรรมทั้งหลายของเราคือ   สามารถพยากรณ์ได้ว่า   นี้

เป็นผลของกรรมนี้    นี่เป็นผลของกรรมนี้  ดังนี้.   บทว่า   สุสฺโสณิ   คือมี

ตะโพกงาม.   บทว่า   สุพฺภูรุ  คือมีคิ้วและขาอ่อนงาม.  บทว่า  วิลคฺคมชฺเฌ

ท่ามกลางตัวคือสะเอว.   บทว่า   กิสฺส   เม    คือนี่เป็นผลแห่งกรรมอะไรใน

กรรมที่เราทำแล้ว    เราได้ที่พึ่งในวันนี้      ในมหาสมุทรซึ่งหาที่พึ่งมิได้ด้วย

กรรมใด.

เทพธิดาได้ฟังดังนั้นคิดว่า    พราหมณ์นี้    ไม่รู้กุศลกรรมที่คนทำไว้

เพราะเหตุนั้นคงจะถามเพื่อรู้   เราจักบอกกะเขา   เมื่อจะบอกถึงเหตุอันเป็น

บุญที่พราหมณ์ได้ถวายร่มและรองเท้าแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าในวันขึ้นเรือ  จึง

กล่าวคาถาว่า :-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 64

ท่านสังขพราหมณ์   ท่านได้ถวายรองเท้า

กะภิกษุรูปหนึ่งซึ่งเหยียบลงไปบนทรายร้อน

เดือดร้อนลำบากในทางอันร้อนระอุ    ทักษิณา

นั้น  เป็นผลให้ความปรารถนาแก่ท่านในวันนั้น.

ในบทเหล่านั้น    บทว่า   เอกภิกฺขุ    ท่านกล่าวหมายถึงพระปัจเจก

พุทธเจ้าองค์หนึ่ง.    บทว่า    อุคฺฆฏฏปาท    คือเหยียบลงไปบนทรายร้อน

อธิบายว่า  มีเท้าถูกเบียดเบียน. บทว่า  ตสิต  คือหวาดสะดุ้ง. บทว่า ปฏิปาทยิ

คือมอบให้.   บทว่า  กามทุหา   คือให้ความใคร่ทั้งปวง.

พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้น    มีความยินดีว่า    เราถวายร่มและรองเท้า

เป็นผลให้สำเร็จความปรารถนาทั้งปวง      ในมหาสมุทรอันหาที่พึ่งมิได้เห็น

ปานนี้.   น่าปลื้มใจเราได้ถวายดีแล้ว   จึงกล่าวคาถาว่า :-

เรือลำนั้น     มีแผ่นกระดานมากไม่ต้อง

ขวนขวายหา  ประกอบด้วยลมพัดเฉื่อย ๆ  ใน

มหาสมุทรนี้    ไม่มีพื้นที่ของยานอื่น    เราต้อง

ไปถึงโมฬินีนครได้ในวันนั้นแหละ.

ในบทเหล่านั้น  บทว่า  ผลกูปปนฺนา  คือประกอบด้วยแผ่นกระดาน

เพราะมีแผ่นกระดานมากเพราะเป็นเรือใหญ่.    ชื่อว่าไม่ต้องขวนขวายเพราะ

น้ำไม่ไหลเข้า.   ชื่อว่าประกอบด้วยลมพัดเฉื่อย ๆ เพราะลมพาไปเรียบร้อย.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 65

เทพธิดาได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์มีความยินดีร่าเริง    จึงเนรมิตเรือ

สำเร็จด้วยแก้วทุกชนิด  ยาว  ๘  อุสภะ  กว้าง ๔  อุสภะ  ลึก  ๑   อุสภะแล้ว

เนรมิตเรือสำเร็จด้วยแก้วอินทนิล       เงินและทองเป็นต้นประกอบด้วยเสา-

กระโดง   พายและหางเสือ   เต็มไปด้วยแก้ว  ๗  ประการ   แล้วจูงพราหมณ์

ให้ขึ้นเรือ    แต่เทพธิดาไม่เห็นคนรับใช้ของพราหมณ์.     พราหมณ์ได้แผ่

ส่วนบุญจากความดีที่ตนทำไว้ให้แก่คนรับใช้นั้น.   เขาอนุโมทนา.   เทพธิดา

จึงจูงคนรับใช้นั้นให้ขึ้นเรือ   นำเรือไปถึงโมฬินีนคร   เอาทรัพย์ไปตั้งไว้ใน

เรือนของพราหมณ์แล้วจึงกลับที่อยู่ของตน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า :-

เทพธิดานั้น  ปลื้มใจ   ดีใจ   อิ่มเอิบใจ

เนรมิตเรือสวยงาม      พาสังขพราหมณ์พร้อม

ด้วยคนรับใช้   ส่งถึงนครเรียบร้อย.

จริงอยู่    ในเจตนา   ๗   อย่าง   เจตนาต้นด้วยความสมบูรณ์แห่งจิต

ของพระโพธิสัตว์  และด้วยความที่พระปัจเจกพุทธเจ้าออกจากนิโรธ  จึงเป็น

เจตนาที่ให้ได้เสวยผลในปัจจุบันและมีผลมากมายยิ่ง.  แม้ผลนี้พึงเห็นว่าเป็น

ผลของความไม่ประมาทต่อทานนั้น.    จริงอยู่    ทานนั้นมีผลประมาณไม่ได้

เป็นโพธิสมภาร.   ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

เพราะเหตุนั้นเราจึงเป็นผู้ละเอียดอ่อน

เจริญสุขได้ร้อยเท่า   อนึ่ง   เมื่อเราบำเพ็ญทาน


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 66

ให้บริบูรณ์    ได้ถวายทานแก่ท่านนั้นอย่างนี้

แล.

ในบทเหล่านั้น   บทว่า  เตน  คือจากพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น.  บทว่า

สคคุณโต  คือ   ร้อยเท่า.  ในครั้งนั้นเราเป็นสังขพราหมณ์    เป็นผู้ละเอียด

อ่อน.  เพราะฉะนั้นเราจึงได้รับความสุข  คือเจริญสุข.  อนึ่ง  เมื่อเป็นอย่างนี้

เราจึงบำเพ็ญทานให้บริบูรณ์.      พระศาสดาทรงประกาศความที่อัธยาศัยใน

ทานของพระองค์กว้างขวางมากว่า         ขอทานบารมีของเราจงบริบูรณ์ด้วย

ประการฉะนี้     เพราะเหตุนั้น     เราจึงได้ถวายร่มและรองเท้าแก่พระปัจเจก

พุทธเจ้าองค์นั้น  ไม่คำนึงถึงทุกข์ในร่างกายของตนเลย.

แม้พระโพธิสัตว์  อยู่ครองเรือนซึ่งมีทรัพย์นับไม่ถ้วนตลอดชีวิต  ได้

ให้ทานมากมาย  รักษาศีล  เมื่อสิ้นอายุก็ยังเทพนครให้เต็มพร้อมด้วยบริษัท.

เทพธิดาในครั้งนั้น  ได้เป็นอุบลวรรณาเถรี   ในครั้งนี้    บุรุษรับใช้

ในครั้งนั้น   ได้เป็นพระอานนทเถระในครั้งนี้  สังขพราหมณ์คือพระโลกนาถ.

สังขพราหมณ์นั้นย่อมได้รับบารมีแม้เหล่านี้    คือ   ศีลบารมี   ด้วย

อำนาจแห่งนิจศีลและอุโบสถศีลอันบริสุทธิ์ด้วยดี.  เนกขัมมบารมีด้วยอำนาจ

แห่งกุศลธรรม   เพราะออกจากธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อทานและศีลเป็นต้น.

วิริยบารมี   ด้วยอำนาจแห่งความอุตสาหะยิ่งเพื่อให้สำเร็จ  ทานบารมีเป็นต้น

และด้วยอำนาจแห่งความพยายามข้ามมหาสมุทร.    ขันติบารมี   ด้วยอำนาจ

แห่งความอดกลั้นเพื่อประโยชน์อันนั้น.   สัจจบารมี   ด้วยการปฏิบัติสมควร


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 67

แก่ปฏิญญา.   อธิฏฐานบารมี   ด้วยอำนาจแห่งการสมาทานและความตั้งใจไม่

หวั่นไหวในที่ทั้งปวง.    เมตตาบารมี    ด้วยอำนาจแห่งอัธยาศัย     เกื้อกูลใน

สรรพสัตว์ทั้งหลาย.     อุเบกขาบารมี    ด้วยการถึงความเป็นกลางในความผิด

ปกติอันสัตว์และสังขารทำไว้.   ปัญญาบารมี    คือปัญญาอันเกิดขึ้นเอง   และ

ปัญญาอันเป็นอุบายโกศล เพราะรู้ธรรมเป็นอุปการะและไม่เป็นอุปการะแห่ง

บารมีทั้งปวงแล้ว  ละธรรมไม่เป็นอุปการะเสียมุ่งปฏิบัติในธรรมเป็นอุปการะ.

เทศนาเป็นไปแล้วด้วยอำนาจแห่งทานบารมี   อันเป็นความกว้างขวาง

ยิ่งแห่งผู้มีอัธยาศัยในการให้.  อนึ่ง  เพราะในที่นี้ได้บารมีครบ  ๑๐  ประการ

ฉะนั้น   ในที่นี้ควรเจาะจงกล่าวถึงคุณของพระโพธิสัตว์  มีมหากรุณาเป็นต้น

ในภายหลังตามสมควร.  อนึ่ง   พึงทราบคุณของพระมหาสัตว์มีอาทิอย่างนี้ว่า

การไม่คำนึงถึงโภคสุขของตนด้วยมหากรุณาคิดว่า    เราจักบำเพ็ญทานบารมี

ดังนี้    แล้วเตรียมการเดินทาง   ทางมหาสมุทร  เพื่อนำสัมภาระในการให้ไป

แม้เมื่อตกลงไปในมหาสมุทรก็อธิษฐานอุโบสถ    ในมหาสมุทรนั้น   และการ

ไม่ให้เทพธิดานำอาหารมาเข้าไปใกล้เพราะกลัวจะทำลายศีล.   บัดนี้   เมื่อจะ

กล่าวถึงความประพฤติที่เหลือ  พึงทราบถึงการเจาะจงคุณสมบัติโดยนัยนี้แล.

เราจักกล่าวเพียงความที่แปลกกันไปในที่นั้น ๆ.ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า :-

น่าอัศจรรย์  ไม่เคยมีมาแล้ว พระมหาสัตว์

ทั้งหลายเป็นผู้แสวงหาคุณใหญ่หลวง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 68

ฯลฯ

จะพูดไปทำไมถึงการทำตามท่านเหล่านั้น

โดยธรรมสมควรแก่ธรรม.

จบ  อรรถกถาสังขพราหมณจริยาที่  ๒


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 69

๓. กุรุธรรมจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าธนญชัย

[๓]     อีกเรื่องหนึ่ง  เมื่อเราเป็นพระราชามีนามว่า

ธนญชัย  อยู่ในอินทปัตถบุรีอันอุดม ประกอบ

ด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐  ประการในกาลนั้น พวก

พราหมณ์ชาวกาลิงครัฐ      ได้มาหาเรา   ขอ

พระยาคชสารทรง  อันประกอบด้วยมงคลหัตถี

กะเราว่าชนบทฝนไม่ตกเลย   เกิดทุพภิกขภัย

อดอยากอาหารมาก     ขอพระองค์จงทรงพระ-

ราชทานพระยาคชสารตัวประเสริฐ     มีสีกาย

เขียวชื่ออัญชนะเถิด   เราคิดว่า   การห้ามยาจก

ทั้งหลายที่มาถึงแล้ว         ไม่สมควรแก่เราเลย

กุศลสมาทานของเราอย่าทำลายเสียเลย     เรา

จักให้คชสารตัวประเสริฐ   เราได้จับงวงพระยา

คชสาร  วางลงบนมือพราหมณ์  แล้วจึงหลั่งน้ำ

ในเต้าทองลงบนมือได้ให้พระยาคชสารแล้ว

พราหมณ์        เมื่อเราได้ให้พระยาคชสารแล้ว

พวกอำมาตย์ได้กล่าวดังนี้ว่า         เหตุไรหนอ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 70

พระองค์จึงพระราชทานพระยาคชสารตัวประ-

เสริฐ  อันประกอบด้วยธัญญลักษณ์  สมบูรณ์

ด้วยมงคล     ชนะในสงครามอันสูงสุด     แก่

ยาจก       เมื่อพระองค์ทรงพระราชทานคชสาร

แล้ว      พระองค์จักเสวยราชสมบัติได้อย่างไร

เราได้ตอบว่า )      แม้ราชสมบัติทั้งหมดเราก็

พึงให้     ถึงสรีระของตนเราก็พึงให้      เพราะ

สัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา   ฉะนั้น   เรา

จึงได้ให้พระยาคชสาร   ดังนี้แล.

จบ กุรุธรรมจริยาที่  ๓

 

อรรถกถากุรุธรรมจริยาที่  ๓

พึงทราบวินิจฉัยในกุรุธรรมจริยาที่สามดังต่อไปนี้.   บทว่า   อินฺท-

ปตฺเถ   ปุรุตฺตเม     คือเมืองอุดม     เมืองประเสริฐ    แห่งแคว้นกุรุ   ชื่อว่า

อินทปัตถะ.   บทว่า   ราชา   ชื่อว่า   ราชา   คือยังบริษัทให้ยินดีด้วยสังคห-

วัตถุ   ๔   โดยธรรม   โดยเสมอ.    บทว่า   กุสเล    ทสหุปาคโม   คือ

ประกอบด้วยกุสลกรรมบท  ๑๐  ประการ  หรือด้วยบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ มีทาน-

มัยเป็นต้น.    บทว่า    กาลิงฺครฏฺวิสยา   คือพวกพราหมณ์ชาวกาลิงครัฐ.

บทว่า   พฺราหฺมณา  อุปคญฺฉุ  ม  คือพราหมณ์  ๘  คน   อันพระเจ้ากาลิงคะ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 71

ส่งมาได้มาหาเรา.  ก็และครั้นเข้าไปหาแล้วได้ขอพระยาคชสารกะเรา.  บทว่า

ธญฺ    คือพระยาคชสารสมบูรณ์ด้วยลักษณะอันสิริโสภาคย์สมควรเป็น

คชสารทรง.  บทว่า  มงฺคลสมฺมต  คืออันชนทั้งหลายเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

ว่าเป็นมงคลหัตถี   เป็นเหตุแห่งความเจริญยิ่งด้วยลักษณะสมบัตินั้นนั่นแล.

บทว่า  อวุฏฺิโก   คือปราศจากฝน.  บทว่า  ทุพฺภิกฺโข  คือหาอาหารได้ยาก.

บทว่า   ฉาตโก    มหา   อดอยากมาก    คือเกิดความเจ็บป่วยเพราะความหิว

มาก.   บทว่า   ททาหิ   คือขอทรงพระราชทาน.   บทว่า   นีล   คือมีสีเขียว.

บทว่า  อญฺชนสวฺหย   คือมีชื่อว่าอัญชนะ.   ท่านอธิบายบทนี้ไว้ว่า  แคว้น

กาลิงคะของข้าพระพุทธเจ้า  ฝนไม่ตก.   ด้วยเหตุนั้น  บัดนี้  เกิดทุพภิกขภัย

ใหญ่     ฉาตกภัยใหญ่ในแคว้นนั้น.     เพื่อสงบภัยนั้น    ขอพระองค์จงทรง

พระราชทานมงคลหัตถี   ชื่อว่า   อัญชนะของพระองค์คล้ายอัญชนคิรีนี้เถิด.

เพราะว่าเมื่อนำพระยาคชสารนี้ไป  ณ แคว้นนั้นแล้วฝนก็จะตก.   สรรพภัย

นั้นจักสงบไปด้วยพระยาคชสารนั้นเป็นแน่.         พึงทราบกถาเป็นลำดับใน

เรื่องนั้นดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล     ในนครอินทปัตถะแคว้นกุรุ     พระโพธิสัตว์ทรงถือ

ปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้ากุรุราช ถึงความเจริญวัย

โดยลำดับไปยังเมืองตักกสิลา       เรียนศิลปศาสตร์อันเป็นประโยชน์ในการ

ปกครอง      และวิชาหลัก      ครั้นเรียนจบกลับพระนครพระชนกให้ดำรง

ตำแหน่งอุปราช. ครั้นต่อมาเมื่อพระชนกสวรรคต ได้รับราชสมบัติยังทศพิธ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 72

ราชธรรมไม่ให้กำเริบ    ครองราชสมบัติโดยธรรมมีพระนามว่า    ธนญชัย

พระเจ้าธนญชัยทรงให้สร้างโรงทาน  ๖  แห่ง   คือที่ประตูพระนคร ๔  แห่ง

กลางพระนคร  ๑  แห่ง    ประตูราชนิเวศน์  ๑  แห่ง   ทรงสละทรัพย์วันละ

๖๐๐,๐๐๐ ทุกวัน    ทรงกระทำชมพูทวีปทั้งสิ้นเจริญรุ่งเรืองแล้วทรงบริจาค

ทาน.   เพราะพระองค์มีพระอัธยาศัยในการทรงบริจาค   ความยินดีในทาน

แผ่ไปทั่วชมพูทวีป.

ในกาลนั้น     แคว้นกาลิงคะเกิดภัย  ๓   อย่าง    คือ    ทุพภิกขภัย

ฉาตกภัย   โรคภัย.    ชาวแคว้นทั้งสิ้นพากันไปทันตบุรี   กราบทูลร้องเรียน

ส่งเสียงอึงคะนึงที่ประตูพระราชวังว่า.     ข้าแต่เทวะ     ขอพระองค์จงทรงให้

ฝนตกเถิดพระเจ้าข้า.   พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้วตรัสถามพวกอำมาตย์ว่า

พวกประชาชนร้องเรียนเรื่องอะไรกัน.         พวกอำมาตย์กราบทูลความนั้น

แด่พระราชา.   พระราชามีพระดำรัสถามว่า  พระราชาแต่ก่อน  เมื่อฝนไม่ตก

ทรงทำอย่างไร. กราบทูลว่า ทรงให้ทาน ทรงอธิษฐานอุโบสถ  ทรงสมาทาน

ศีลเสด็จเข้าห้องสิริบรรทมตลอด ๗  วัน   ณ  พระที่ทรงธรรม   ขอให้ฝนตก

พระราชาสดับดังนั้นก็ได้ทรงกระทำอย่างนั้น.      ฝนก็ไม่ตก.      พระราชา

ตรัสว่า   เราได้กระทำกิจที่ควรทำแล้ว   ฝนก็ไม่ตก    เราจะทำอย่างไรต่อไป.

กราบทูลว่า       ขอเดชะเมื่อนำพระยาคชสารมงคลหัตถีของพระเจ้าธนญชัย

กุรุราชในอินทปัตถนครมา      ฝนจึงจักตกพระเจ้าข้า.      พระราชารับสั่งว่า

พระราชาพระองค์นั้นมีพลพาหนะเข้มแข็ง     ปราบปรามได้ยาก    เราจักนำ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 73

พระยาคชสารของพระองค์มาได้อย่างไรเล่า.   กราบทูลว่า   ขอเดชะ   ข้าแต่

มหาราชเจ้ามิได้มีการรบพุ่งกับพระราชานั้นเลย     พระเจ้าข้า.     พระราชา

พระองค์นั้นมีพระอัธยาศัยในการบริจาค   ทรงยินดีในทาน    เมื่อมีผู้ทูลขอ

แล้ว แม้พระเศียรที่ตกแต่งแล้วก็ตัดให้ได้   แม้พระเนตรที่มีประสาทบริบูรณ์

ก็ทรงควักให้ได้   แม้ราชสมบัติทั้งสิ้นก็ทรงมอบให้ได้  ไม่ต้องพูดถึงพระยา

คชสารเลย  เมื่อทูลขอแล้วจักพระราชทานเป็นแน่แท้  พระเจ้าข้า   ตรัสถาม

ว่า  ก็ใครจะเป็นผู้สามารถทูลขอได้เล่า.   กราบทูลว่า  ขอเดชะข้าแต่มหาราช

พราหมณ์     พระเจ้าข้า.     พระราชารับสั่งให้เรียกพราหมณ์ ๘  คนเข้าเฝ้า

ทำสักการะสัมมานะแล้ว         ทรงให้สะเบียงส่งไปเพื่อขอพระยาคชสาร.

พราหมณ์เหล่านั้นรีบไปคืนเดียว บริโภคอาหารที่โรงทานใกล้ประตูพระนคร

อยู่ชั่วเวลาเล็กน้อยครั้นอิ่มหนำสำราญแล้วก็ยืนอยู่ที่ประตูด้านตะวันออกรอ

เวลาพระราชาเสด็จมายังโรงทาน.

แม้พระโพธิสัตว์ก็ทรงสรงสนานแต่เช้าตรู่      ทรงประดับด้วยเครื่อง

สรรพาลังการเสร็จขึ้นคอพระยาคชสารตัวประเสริฐที่ตกแต่งแล้ว    เสด็จไป

ยังโรงทานด้วยราชานุภาพอันใหญ่หลวง           เสด็จลงพระราชทานแก่ชน

๗ - ๘  คน   ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์แล้วตรัสว่า      พวกท่านจงให้ทำนอง

นี้แหละ    เสด็จขึ้นสู่พระยาคชสารแล้วเสด็จไปทางประตูด้านทิศใต้.    พวก

พราหมณ์ไม่ได้โอกาสเพราะทางทิศตะวันออกจัดอารักขาเข้มแข็งมาก  จึงไป

ประตูด้านทิศใต้     คอยดูพระราชาเสด็จมายืนอยู่ในที่เนินไม่ไกลจากประตู


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 74

เมื่อพระราชาเสด็จมาถึงต่างก็ยกมือถวายชัยมงคล.พระราชาทรงบังคับช้างให้

กลับด้วยพระขอเพชรเสด็จไปหาพราหมณ์เหล่านั้น   ตรัสถามพวกพราหมณ์

ว่า  พวกท่านต้องการอะไร. พวกพราหมณ์กราบทูลว่า ขอเดชะแคว้นกาลิงคะ

ถูกทุพภิกขภัย    ฉาตกภัยและโรคภัยรบกวน.   ความรบกวนนั้นจักสงบลงได้

เมื่อนำพระยามงคลหัตถีของพระองค์เชือกนี้ไป.   เพราะฉะนั้น    ขอพระองค์

จงทรงโปรดพระราชทานพระยาคชสารสีดอกอัญชันเชือกนี้เถิด  พระเจ้าข้า.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น  จึงตรัสว่า   กาลิงฺครฏฺวิสยา  ฯลฯ

อญฺชนสวฺหย   พวกพราหมณ์ชาวกาลิงครัฐได้มาหาเรา   ขอพระยาคชสาร

ทรง ฯลฯ   ขอพระองค์จงทรงพระราชทานพระยาคชสารตัวประเสริฐมีสีกาย

เขียวชื่ออัญชนะเถิด.

บทนั้นท่านอธิบายไว้ดังต่อไปนี้ :-

ลำดับนั้น  พระโพธิสัตว์ทรงตรัสว่า  การที่เราจะทำลายความต้องการ

ของยาจกทั้งหลายไม่เป็นการสมควรแก่เรา   และจะพึงเป็นการทำลายกุสล-

สมาทานของเราอีกด้วย   จึงเสด็จลงจากคอคชสารมีพระดำรัสว่า  หากที่มิได้

ตกแต่งไว้มีอยู่เราจักตกแต่งแล้วจักให้    จึงทรงตรวจดูรอบ ๆ  มิได้ทรงเห็นที่

มิได้ตกแต่ง      จึงทรงจับพระยาคชสารที่งวงแล้ววางไว้บนมือของพราหมณ์

ทรงหลั่งน้ำที่อบด้วยดอกไม้และของหอมด้วยพระเต้าทอง  แล้วพระราชทาน

แก่พราหมณ์.   ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 75

การห้ามยาจกทั้งหลายที่มาถึงแล้ว     ไม่

สมควรแก่เราเลย     กุสลสมาทานของเราอย่า

ทำลายเสียเลย     เราจักให้คชสารตัวประเสริฐ

เราได้จับงวงคชสารวางบนมือพราหมณ์แล้วจึง

หลั่งน้ำในเต้าทองลงบนมือ        ได้ให้พระยา

คชสารแก่พราหมณ์.

ในบทเหล่านั้น   บทว่า ยาจกมนุปฺปตฺเต   คือยาจกทั้งหลายที่มาถึง

แล้ว.   บทว่า   อนุจฺฉโว   คือเหมาะสม   สมควร.   บทว่า   มา   เม   ภิชฺชิ

สมาทาน    กุสลสมาทานของเราอย่าทำลายเสียเลย   คือกุสลสมาทานอันใด

ของเราที่ตั้งไว้ว่า          เราจะให้สิ่งทั้งปวงที่ไม่มีโทษซึ่งยาจกทั้งปวงต้องการ

จักบำเพ็ญทานบารมี   เพื่อต้องการพระสัพพัญญุตญาณ  กุสลสมาทานอันนั้น

อย่าทำลายเสียเลย.       เพราะฉะนั้นเราจักให้พระยาคชสารตัวประเสริฐอัน

เป็นมงคลหัตถีนี้.   บทว่า   อท   คือได้ให้แล้ว.

เมื่อพระราชทานพระยาคชสารแล้ว       พวกอำมาตย์พากันกราบทูล

พระโพธิสัตว์ว่า    ข้าแต่มหาราชเจ้า    เพราะเหตุไรพระองค์จึงพระราชทาน

มงคลหัตถี    ควรพระราชทานช้างเชือกอื่นมิใช่หรือ.       มงคลหัตถีฝึกไว้

สำหรับเป็นช้างทรงเห็นปานนี้    อันพระราชาผู้ทรงหวังความเป็นใหญ่และ

ชัยชนะไม่ควรพระราชทานเลยพระเจ้าข้า.   พระมหาสัตว์ตรัสว่า   เราจะให้


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 76

สิ่งที่ยาจกทั้งหลายขอกะเรา.   หากขอราชสมบัติกะเรา  เราก็จะให้ราชสมบัติ

แก่พวกเขา.   พระสัพพัญญุตญาณเท่านั้นเป็นที่รักยิ่ง  แม้กว่าราชสมบัติ แม้

กว่าชีวิตของเรา.     เพราะฉะนั้น     เราจึงได้ให้คชสารนั้น.     ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า     ตสฺส   นาเค   ปทินฺนมฺหิ

เมื่อพระองค์พระราชทานพระยาคชสารแล้ว.

บทว่า    มงฺคลสมฺปนฺน   สมบูรณ์ด้วยมงคล  คือประกอบด้วยคุณ

อันเป็นมงคล.  บทว่า สงฺคามวิชยุตฺตม  ชนะในสงครามอันสูงสุด คือสูงสุด

เพราะชนะในสงคราม  หรือพระยาคชสารสูงสุด   เป็นประธานอันประเสริฐ

ในการชนะสงคราม.    บทว่า   กิํ  เต   รชฺชํ   กริสฺสติ   พระองค์จักเสวย

ราชสมบัติได้อย่างไร.      เมื่อพระะยาคชสารไปเสียแล้ว     พระองค์จักครอง

ราชสมบัติได้อย่างไร.      ท่านแสดงว่า     จักไม่ทำราชกิจ     แม้ราชสมบัติก็

หมดไป.

บทว่า   รชฺชมฺปิ   เม   ทเท  สพฺพ   แม้ราชสมบัติทั้งหมดเราก็พึง

ให้  คือ  พระยาคชสารเป็นสัตว์เดียรัจฉานยกไว้เถิด   แม้แคว้นกุรุทั้งหมดนี้

เราก็พึงให้แก่ผู้ขอทั้งหลาย.   บทว่า   สรีรํ   ทชฺชมตฺตโน   ถึงสรีระของตน

เราก็พึงให้   คือ    จะพูดไปทำไมถึงราชสมบัติ    แม้สรีระของตนเราก็พึงให้

แก่ผู้ขอทั้งหลาย.   แม้สิ่งครอบครองทั้งภายในภายนอกทั้งหมดของเรา   เรา

ก็สละให้ได้เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก. ท่านแสดงว่าเพราะพระสัพพัญญุตญาณ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 77

และความเป็นพระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเราอันผู้ไม่บำเพ็ญบารมี

ทั้งปวงมีทานบารมีเป็นต้นไม่สามารถจะให้ได้ ฉะนั้นเราจึงได้ให้พระยาคช-

สาร.

แม้เมื่อนำพระยาคชสารมาในแคว้นกาลิงคะ   ฝนก็ยังไม่ตกอยู่นั่นเอง.

พระเจ้ากาลิงคะตรัสถามว่า     แม้บัดนี้ฝนก็ยังไม่ตก     อะไรหนอเป็นเหตุ

ทรงทราบว่า     พระเจ้ากุรุทรงรักษาครุธรรม      ด้วยเหตุนั้นในแคว้นของ

พระองค์ฝนจึงตกทุกกึ่งเดือน   ทุก  ๑๐ วัน   ตามลำดับ   นั้นเป็นคุณานุภาพ

ของพระราชามิใช่อานุภาพของสัตว์เดียรัจฉานนี้    จึงทรงส่งอำมาตย์ไปด้วย

มีพระดำรัสว่า เราจักรักษาครุธรรมด้วยตนเอง พวกท่านจงไปเขียนครุธรรม

เหล่านั้นในราชสำนักของพระเจ้าธนญชัยโกรพยะ     ลงในสุพรรณบัฏแล้ว

นำมา.   ท่านเรียกศีล  ๕  ว่า   ครุธรรม.    พระโพธิสัตว์ทรงรักษาศีล   ๕

เหล่านั้นนกระทำให้บริสุทธิ์เป็นอย่างดี.   อนึ่ง    พระมารดา   พระอัครมเหสี

พระกนิษฐา    อุปราช    ปุโรหิต    พราหมณ์    พนักงานรังวัด     อำมาตย์

สารถี     เศรษฐี     พนักงานเก็บภาษีอากร      คนเฝ้าประตู     นครโสเภณี

วรรณทาสีก็รักษาครุธรรมเช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์.    ด้วยเหตุนั้นท่านจึง

กล่าวว่า :-

คน  ๑๑   คน คือ พระราชา ๑ พระชนนี  ๑

พระมเหสี  ๑     อุปราช    ๑      ปุโรหิต     ๑

พนักงานรังวัด   ๑     สารถี  ๑     เศรษฐี   ๑


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 78

พนักงานเก็บภาษีอากร   ๑   คนเฝ้าประตู  ๑

หญิงงามเมือง  ๑  ตั้งอยู่ในครุธรรม.

พวกอำมาตย์เหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระโพธิสัตว์    ถวายบังคมแล้วกราบ

ทูลความนั้น. พระมหาสัตว์ตรัสว่า  เรายังมีความเคลือบแคลงในครุธรรมอยู่,

แต่พระชนนีของเรารักษาไว้เป็นอย่างดีแล้ว      พวกท่านจงรับในสำนักของ

พระชนนีนั้นเถิด.   พวกอำมาตย์ทูลวิงวอนว่า   ข้าแต่มหาราชเจ้าชื่อว่าความ

เคลือบแคลงย่อมมีแก่ผู้ยังต้องการอาหาร         มีความประพฤติขัดเกลากิเลส

ขอพระองค์ทรงโปรดพระราชทานแก่พวกข้าพระองค์เถิดพระเจ้าข้า.     แล้ว

รับสั่งให้เขียนลงในสุพรรณบัฏว่า   ไม่ควรฆ่าสัตว์  ๑  ไม่ควรลักทรัพย์    ๑

ไม่ควรประพฤติผิดในกาม  ๑  ไม่ควรพูดปด  ๑  ไม่ควรดื่มน้ำเมา  ๑    แล้ว

ตรัสว่า   พวกท่านจงไปรับในสำนักของพระชนนีเถิด.

พวกทูตถวายบังคมพระราชาแล้วไปยังสำนักของพระชนนีนั้น กราบ

ทูลว่า     ข้าแต่พระเทวี   ได้ยินว่า      พระนางเจ้าทรงรักษาครุธรรม    ขอ

พระนางเจ้าทรงโปรดพระราชทานครุธรรมนั้นแก่พวกข้าพระพุทธเจ้าเถิด.

แม้พระชนนีของพระโพธิสัตว์  ก็ทรงทราบว่าพระองค์ยังมีความเคลือบแคลง

อยู่เหมือนกัน    แต่เมื่อพวกพราหมณ์วิงวอนขอก็ได้พระราชทานให้.    แม้

พระมเหสีเป็นต้นก็เหมือนกัน.          พวกพราหมณ์ได้เขียนครุธรรมลงใน

สุพรรณบัฏในสำนักของชนทั้งหมด     แล้วกลับทันตบุรี     ถวายแด่พระเจ้า

กาลิงคะ   แล้วกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ.  พระราชาทรงปฏิบัติในธรรม


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 79

นั้นทรงบำเพ็ญศีล  ๕ ให้บริบูรณ์.    แต่นั้นฝนก็ตกทั่วแคว้นกาลิงคะ.   ภัย

๓  ประการก็สงบ. แคว้นก็ได้เป็นแดนเกษม  หาภิกษาได้ง่าย. พระโพธิสัตว์

ทรงบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น     ตลอดพระชนมายุ     พร้อมด้วยบริษัทก็ไป

อุบัติในเมืองสวรรค์.

หญิงงามเมืองเป็นต้นในครั้งนั้น    ได้เป็นอุบลวรรณาเป็นต้นในครั้ง

นี้.   สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า  :-

หญิงงามเมืองคืออุบลวรรณา       คนเฝ้า

ประตู   คือ    ปุณณะ   พนักงานรังวัด  ค้อ

กัจจานะ   พนักงานภาษีอากร   คือ    โกลิตะ

เศรษฐี   คือ  สารีบุตร  สารถี  คือ   อนุรุทธะ

พราหมณ์   คือ   กัสสปเถระ    อุปราช    คือ

นันทบัณฑิต  พระมเหสี   คือ  มารดาพระราหุล

พระชนนี  คือ  พระมหามายาเทวี   พระโพธิ-

สัตว์ผู้เป็นราชาในแคว้นกุรุ        คือเราตถาคต

พวกท่านจงทรงจำชาดกไว้ด้วยประการฉะนี้.

แม้ในที่นี้  ธรรมที่เหลือมีเนกขัมมบารมีเป็นต้น     พึงเจาะจงลงไป

โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

จบ อรรถกถากุรุธรรมจริยาที่  ๓


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 80

๔. มหาสุทัศนจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระมหาสุทัศนจักรพรรดิ์

[๔]      ในเมื่อเราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ   ทรงพระ-

นามว่ามหาสุทัศนะมีพลานุภาพมาก     ได้เป็น

ใหญ่ในแผ่นดิน  เสวยราชสมบัติในนครกุสาวดี

ในกาลนั้นเราได้สั่งให้ประกาศทุก ๆ  วัน  วันละ

๓ ครั้งว่า   ใครอยากปรารถนาอะไร    เราจะให้

ทรัพย์อะไรแก่ใคร   ใครหิว   ใครกระหาย  ใคร

ต้องการดอกไม้  ใครต้องการเครื่องลูบไล้  ใคร

ขาดแคลนผ้าสีต่าง  ๆ    ก็จงมาถือเอาไปนุ่งห่ม

ใครต้องการร่มไปในหนทาง     ก็จงมารับเอาไป

ใครต้องการรองเท้าอันอ่อนงาม    ก็จงมารับเอา

ไป  เราให้ประกาศดังนี้ทั้งเวลาเย็น  ทั้งเวลาเช้า

และเวลาเที่ยง  ทุกวัน  ทานนั้นมิใช่เราตกแต่ง

ไว้ในที่  ๑๐  แห่ง   หรือมิใช่  ๑๐๐   แห่ง  เราตก-

แต่งทรัพย์ไว้สำหรับยาจกในที่หลายร้อยแห่ง

วณิพกจะมาในเวลากลางวันก็ตาม หรือในเวลา

กลางคืนก็ตาม    ก็ได้โภคะตามความปรารถนา


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 81

พอเต็มมือกลับไป   เราได้ให้มหาทานเห็นปาน

นี้   จนตราบเท่าสิ้นชีวิต     เราได้ให้ทรัพย์ที่น่า

เกลียดก็หามิได้    และเราไม่มีการสั่งสมก็หามิ

ได้  เปรียบเหมือนไข้กระสับกระส่าย   เพื่อจะ

พ้นจากโรค    ต้องการให้หมอพอใจด้วยทรัพย์

จึงหายจากโรคได้   ฉันใด   เราก็ฉันนั้น    รู้อยู่

ว่า   ทานบริจาคเป็นอุบายเครื่องเปลื้องตนและ

สัตว์โลกทั้งสิ้น  ให้พ้นจากโลกทั้งสิ้น  ให้พ้น

จากโลกคือสังขารทุกข์ทั้งสิ้นได้       จงบำเพ็ญ

ทานให้บริบูรณ์โดยไม่มีเศษเหลือ   เพื่อยังใจที่

บกพร่องให้เต็มเราจึงให้ทานแก่วณิพก     เรามิ

ได้อาลัย    มิได้หวังอะไร  ได้ให้ทานเพื่อบรรลุ

สัมโพธิญาณ  ฉะนี้แล.

จบ  มหาสุทัศนจริยาที่ ๔

อรรถกถามหาสุทัศนจริยาที่  ๔

พึงทราบวินิจฉัยในมหาสุทัศนจริยาที่  ๔  ดังต่อไปนี้ .   บทว่า กุสาว-

ติมฺหิ  นคเร คือ  ในนครชื่อว่ากุสาวดี.  ณ ที่นั้น  บัดนี้เป็นที่ตั้งเมืองกุสิ-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 82

นารา.  บทว่า  มหีปติ  ได้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน   คือเป็นกษัตริย์มีพระนาม

ว่า   มหาสุทัศนะ.   บทว่า   จกฺกวตฺติ    พระเจ้าจักรพรรดิ   คือยังจักรรัตนะ

ให้หมุนไป หรือหมุนไปด้วยจักรสมบัติ ๔. ยังจักรอื่นจากจักรสมบัติเหล่านั้น

ให้เป็นไป  ยังมีความหมุนไปแห่งจักรคืออิริยาบถ   เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นอีก

เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า   จกฺกวตฺติ.      หรืออีกอย่างหนึ่ง   ชื่อว่า   จกฺกวตฺติ

เพราะมีความหมุนไปแห่งจักร  คือ  อาณาเขตอันผู้อื่นครอบงำไม่ได้   ล่วงล้ำ

ไม่ได้    ประกอบด้วยสังคหวัตถุอันเป็นอัจฉริยธรรม ๔ ประการ.      ชื่อว่า

มหพพโล มีพลานุภาพมาก็เพราะประกอบด้วยหมู่กำลังมาก อันมีปริณายก

แก้วเป็นผู้นำ  มีช้างแก้วเป็นต้นเป็นประมุข  และกำลังพระวรกายอันเกิดด้วย

บุญญานุภาพ.   พึงทราบการเชื่อม   บทว่า  ยทา  อาสึ   เราได้เป็นแล้ว.   ใน

บทนั้นพึงทราบเรื่องราวเป็นลำดับต่อไปนี้ :-

ได้ยินว่าในอดีตกาล     พระมหาบุรุษบังเกิดในตระกูลคฤหบดีในอัต-

ภาพที่ ๓ จากอัตภาพที่เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมหาสุทัศนะเข้าไปยังป่า     ด้วย

การงานของตนเห็นพระเถระรูปหนึ่ง        ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ดำรง

พระชนม์อยู่     อาศัยอยู่ในป่า   นั่งอยู่ ณ  โคนต้นไม้   คิดว่าเราควรจะสร้าง

บรรณศาลาให้แก่พระคุณเจ้าในป่านี้แล้ว      ละการงานของตนตัดเครื่องก่อ-

สร้างปลูกบรรณศาลาให้เป็นที่สมควรจะอยู่ประกอบประตู        กระทำเครื่อง

ปูลาดด้วยไม้  คิดว่าพระเถระจักใช้หรือไม่ใช้หนอ  แล้วนั่ง  ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

พระเถระมาจากภายในบ้านเข้าไปยังบรรณศาลา  นั่ง  ณ ที่ปูลาดด้วยไม้.   แม้


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 83

พระมหาสัตว์ก็เข้าไปหาพระเถระนั้นแล้วถามว่า    ข้าแต่พระคุณเจ้า   บรรณ-

ศาลาเป็นที่ผาสุขอยู่หรือ.   พระเถระตอบว่า   ท่านผู้มีหน้างาม   เป็นที่ผาสุขดี

สมควรแก่สมณะ.  ข้าแต่พระคุณเจ้า  พระคุณเจ้าจักอยู่ ณ ที่นี้หรือ.   ถูกแล้ว

อุบาสก.   มหาบุรุษทราบว่าพระเถระจักอยู่  โดยอาการแห่งการรับนิมนต์  จึง

ขอให้พระเถระรับปฏิญญาว่า   จะมายังประตูเรือนของเราตลอดไป  แล้วสละ

ภัตตาหารในเรือนของตนเป็นนิจ.       มหาบุรุษปูเสื่อลำแพนในบรรณศาลา

แล้วตั้งเตียงและตั้งไว้.   วางแท่นพิงไว้.     ตั้งไม้เช็ดเท้าไว้.    ขุดสระโบกขรณี

ทำที่จงกรมเกลี่ยทราย.     ล้อมบรรณศาลาด้วยรั้วหนามเพื่อป้องกันอันตราย.

โบกขรณีและที่จงกรมก็ล้อมเหมือนกัน.  ที่สุดภายในรั้วแห่งสถานที่เหล่านั้น

ปลูกต้นตาลไว้เป็นแถว.  ครั้นให้ที่อยู่สำเร็จลงด้วยวิธีอย่างนี้แล้ว  จึงได้ถวาย

สมณบริขารทั้งหมดมีไตรจีวรเป็นต้นแก่พระเถระ.   จริงอยู่ในกาลนั้นเครื่อง

ใช้สอยของบรรพชิตมีอาทิ   ไตรจีวร   บิณฑบาต   ถลกบาตร   หม้อกรองน้ำ

ภาชนะใส่ของบริโภค   ร่ม   รองเท้า   หม้อน้ำ  เข็ม  กรรไกร    ไม้เท้า  สว่าน

ดีปลี   มีดตัดเล็บ   ประทีป    ชื่อว่า   พระโพธิสัตว์มิได้ถวายแก่พระเถระมิได้

มีเลย.  พระโพธิสัตว์รักษาศีล ๕ รักษาศีลอุโบสถ    บำรุงพระเถระตลอดชีวิต.

พระเถระอาศัยอยู่ ณ ที่นั้นได้บรรลุพระอรหัตแล้วปรินิพพาน.

แม้พระโพธิสัตว์ก็ได้ทำบุญตราบเท่าอายุไปบังเกิดขึ้นเทวโลก  จุติจาก

เทวโลกนั้นมาสู่มนุษยโลก   บังเกิดในราชธานีกุสาวดี   ได้เป็นพระเจ้าจักร-

พรรดิพระนามว่า   มหาสุทัศนะราชา.   อานุภาพแห่งความเป็นใหญ่ของพระ-

ราชามหาสุทัศนะนั้น  มาแล้วในสูตรโดยนัยมีอาทิว่า  ดูก่อนอานนท์เรื่องเคย


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 84

มีมาแล้ว   พระราชามหาสุทัศนะได้เป็นกษัตริย์  พุทธาภิเษก.    นัยว่าพระ-

ราชามหาสุทัศนะนั้น   มีเมืองประเทศราช ๘๔,๐๐๐ อันมีเมืองกุสาวดีราชธานี

เป็นประมุข.   มีปราสาท   ๘๔,๐๐๐  มีธรรมปราสาทเป็นประมุข.  มีเรือนยอด

๘๔,๐๐๐  มีเรือนยอดหมู่ใหญ่เป็นประมุข.   ทั้งหมดเหล่านั้นเกิดด้วยอานิสงส์

แห่งบรรณศาลาหลังหนึ่งซึ่งพระองค์สร้างถวายแก่พระเถระนั้น.       บัลลังก์

๘๔,๐๐๐    ช้าง  ๑,๐๐๐  ม้า  ๑,๐๐๐ รถ   ๑,๐๐๐   เกิดด้วยอานิสงส์แห่งเดียง

และตั่งที่พระองค์ถวายแก่พระเถระนั้น.  แก้วมณี  ๘๔,๐๐๐  เกิดด้วยอานิสงส์

แห่งประทีปที่พระองค์ถวายแก่พระเถระ.   สระโบกขรณี   ๘๔,๐๐๐   เกิดด้วย

อานิสงส์   แห่งสระโบกขรณีสระหนึ่ง.    สตรี ๘๔ ,๐๐๐   บุตร  ๑,๐๐๐    และ

คฤหบดี  ๑,๐๐๐     เกิดด้วยอานิสงส์แห่งการถวายเครื่องบริขารของบรรพชิต

อันสมควรแก่สมณบริโภคมีถลกบาตรเป็นต้น.   แม้โคนม  ๘๔,๐๐๐ เกิดด้วย

อานิสงส์แห่งการถวายเบญจโครส.   คลังผ้า ๘๔,๐๐๐    เกิดด้วยอานิสงส์แห่ง

การถวายเครื่องนุ่งห่ม.     หม้อหุงข้าว  ๘  ....     เกิดด้วยอานิสงส์แห่งการ

ถวายโภชนะ.   พระโพธิสัตว์เป็นพระราชาธิราชประกอบด้วย  รตนะ ๗ และ

ฤทธิ์ ๔     ทรงชนะครอบครองปฐพีมณฑลมีสาครเป็นที่สุดทั้งสิ้นโดยธรรม

ทรงสร้างโรงทานในที่หลายร้อยที่ตั้งมหาทาน.   ทรงให้ราชบุรุษตีกลองป่าว-

ประกาศในพระนคร   วันละ ๓ ครั้ง   ว่า ผู้ใดปรารถนาสิ่งใด   ผู้นั้นจงมาที่

โรงทานรับเอาสิ่งนั้นเถิด.  ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า    ตตฺถาห

ทวเส    ติกฺขตฺตุ,  โฆสาเปมิ  ตหึ  ตหึ   เราให้ประกาศทุก ๆ วัน  วันละ

๓ ครั้ง.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 85

ในบทเหล่านั้น  บทว่า  ตตฺถ  คือในพระนครนั้น.   ปาฐะว่า   ตทาห

ก็มี   อธิบายว่า   ในครั้งนั้น  คือ  ในครั้งที่เราเป็นพระราชามหาสุทัศนะ.

บทว่า   ตหึ   ตหึ  คือในที่นั้น ๆ  อธิบายว่า    ทั้งภายในและภายนอกแห่ง

กำแพงนั้น ๆ.    บทว่า  โก   กิํ   อิจฺฉติ   ใครปรารถนาอะไร    คือบรรดา

พราหมณ์เป็นต้น    ผู้ใดปรารถนาอะไรในบรรดาไทยธรรม    มีข้าวเป็นต้น.

บทว่า  ปตฺเถติ  เป็นไวพจน์ของบทว่า  อิจฉติ  นั้น.   บทว่า กสฺส  กิํ ทิยฺยตู

ธน  เราจะให้ทรัพย์อะไรแก่ใคร คือ ท่านกล่าว เพื่อแสดงความที่การโฆษณา

ทานเป็นไปแล้ว   โดยปริยายหลายครั้ง.  ด้วยบทนี้   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดง    สรุปด้วยทานบารมี.  จริงอยู่ทานบารมีของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย  เว้น

จากการกำหนดไทยธรรมและปฎิคคาหก.  บัดนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรง

แสดงสรรเสริญบุคคลผู้สมควรแก่ไทยธรรมนั้นด้วยการโฆษณาทาน  จึงตรัส

พระดำรัสมีอาทิว่า   โก   ฉาตโก  ใครหิว   ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า  ฉาตโก    คืออยาก.     บทว่า   ตสิโต    คือ

กระหาย.   พึงนำบทว่า   อิจฺฉติ   มาประกอบบทว่า  โก  มาลํ  โก  วิเลปน

ความว่า  ใครต้องการดอกไม้   ใครต้องการร่มดังนี้.  บทว่า   นคฺโค   ขาด-

แคลนผ้า  อธิบายว่า   มีความต้องการผ้า.  บทว่า  ปริทหิสฺสติ  คือ  นุ่งห่ม.

บทว่า   โก   ปเถ   ฉตฺคมาเทติ    ความว่า   ใครเดินทางต้องการร่ม

เพื่อป้องกันฝน   ลมและแดด   ของตนในหนทาง   อธิบายว่า   มีความต้องการ

ด้วยร่ม.   บทว่า   โก  ปาหนา   มุทู  สุภา   ใครต้องการรองเท้าอันอ่อนงาม


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 86

คือ   รองเท้า   ชื่อว่า  งาม    เพราะน่าดู   ชื่อว่า  อ่อน    เพราะมีสัมผัส สบาย

เพื่อป้องกันเท้าและนัยน์ตาของตน.    บทว่า   โก   อาเทติ   ความว่า   ใครมี

ความต้องการรองเท้าเหล่านั้น.      พึงนำบทว่า   มชฺฌนฺติเก   จ     และเวลา

เที่ยงมาประกอบด้วย จ  ศัพท์ในบทนี้ว่า   สายญฺจ   ปาโตจ     ทั้งเวลาเย็น

เวลาเช้า   และเวลาเที่ยง.   ท่านกล่าวว่าให้ประกาศวันละ ๓ ครั้ง.

บทว่า   น  ตํ  ทสสุ    าเนสุ   โยชนาแก้ไว้ว่า   ทานนั้นมิใช่เราตก

แต่งไว้ในที่  ๑๐  แห่ง.     หรือมิใช่   ๑๐๐  แห่ง   ที่แท้เราตกแต่งไว้ในที่หลาย

ร้อยแห่ง.     บทว่า   ยาจเภ  ธน   คือ  เราตกแต่ง คือ เตรียมไว้สำหรับ ผู้ขอ

ทั้งหลาย.   เพราะในนครยาว ๗ โยชน์ กว้าง ๗ โยชน์  ล้อมไปด้วยแนวต้น-

ตาล ๗ แถว.  ณ  แนวต้นตาลเหล่านั้น  มีสระโบกขรณี  ๘๔,๐๐๐  สระ เราตั้ง

มหาทานไว้ที่ฝั่งสระโบกขรณี  เฉพาะสระหนึ่ง ๆ. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า :-

ดูก่อนอานนท์     พระราชามหาสุทัศนะ

ทรงตั้งทานเห็นปานนี้ไว้   ณ   ฝั่งสระโบกขรณี

เหล่านั้น    คือ   ตั้งข้าวไว้สำหรับผู้ต้องการข้าว

ตั้งน้ำไว้สำหรับผู้ต้องการน้ำ    ตั้งผ้าไว้สำหรับผู้

ต้องการผ้า  ตั้งยานไว้สำหรับผู้ต้องการยาน   ตั้ง

ที่นอนไว้สำหรับผู้ต้องการที่นอน     ตั้งสตรีไว้


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 87

สำหรับผู้ต้องการสตรี      ตั้งเงินไว้สำหรับผู้ต้อง

การเงิน   ตั้งทองไว้สำหรับผู้ต้องการทอง.

พึงทราบความในบทนั้นดังนี้   จริงอยู่มหาบุรุษปรารถนาแต่จะให้ทาน

จึงสร้างเครื่องประดับอันสมควรแก่สตรีและบุรุษ    ตั้งสตรีไว้เพื่อให้รับใช้ใน

ที่นั้น   และตั้งทานทั้งหมดนั้นไว้เพื่อบริจาค   จึงให้ตีกลองป่าวร้องว่า   พระ-

ราชามหาสุทัศนะพระราชทานทาน     พวกท่านจงบริโภคทานนั้นตามสบาย-

เถิด.     มหาชนไปยังฝั่งสระโบกขรณีอาบน้ำ    นุ่งห่มผ้าเป็นต้นแล้ว    เสวย

มหาสมบัติ   ผู้ใดมีสมบัติเช่นนี้แล้ว   ผู้นั้นก็ละไป   ผู้ใดไม่มี   ผู้นั้นก็ถือเอา

ไป.   ผู้ใดนั่งบนยานช้างเป็นต้นก็ดี  เที่ยวไปตามสบาย    นอนบนที่นอนอัน

ประเสริฐก็ดี   ก็เอาสมบัติไปเสวยความสุขกับสตรีบ้าง  ประดับเครื่องประดับ

ล้วนแก้ว ๗ ประการก็เอาสมบัติไป   ถือเอาสมบัติจากสำนักที่ได้เอาไป   เมื่อ

ไม่ต้องการก็ละไป.      พระราชามหาสุทัศนะทรงกระวีกระวาดบริจาคทานแม้

ทุก ๆ วัน.  ในครั้งนั้นชาวชมพูทวีปไม่มีการงานอย่างอื่น.  บริโภคทาน  เสวย

สมบัติเที่ยวเตร่กันไป.     ทานนั้นมิได้มีกำหนดแล.     ผู้มีความต้องการจะมา

เมื่อใดทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน    ก็พระราชทานเมื่อนั้น.      ด้วยประการฉะนี้

มหาบุรุษทรงทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้สนุกสนานรื่นเริง    ยังมหาทานให้เป็นไป

ตลอดพระชนมายุ.   ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า    ทิวา    วา

ยทิ   วา   รตฺตึ   ยทิ   เอติ   วณิพฺพโก    วณิพกจะมาในเวลากลางวันก็ตาม

หรือในเวลากลางคืนก็ตาม   เป็นต้น.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 88

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงทานตามกาลของมหาบุรุษนั้นด้วยบทนี้

ว่า   ทิวา   วา   ยทิ  วา   รตฺตึ   ยทิ   เอติ. จริงอยู่กาลเวลาที่ผู้ขอเข้าไปเพื่อ

หวังลาภ    ชื่อว่าเป็นกาลเวลาแห่งทานของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย.      บทว่า

วณิพฺพโก  คือผู้ขอ.  ด้วยบทนี้ว่า  ลทฺธา   ยทิจฺฉก  โภค  ได้โภคะตาม

ความปรารถนา     ท่านกล่าวถึงทานตามความชอบใจ.     เพราะว่าผู้ขอคนใด

ปรารถนาไทยธรรมใด ๆ    พระโพธิสัตว์ทรงให้ทานนั้น ๆ    แก่ผู้ข้อคนนั้น

พระโพธิสัตว์มิได้ทรงคิดถึงความที่ไทยธรรมนั้นมีค่ามากหาได้ยากอันเป็น

การกีดขวางพระองค์เลย.   ด้วยบทนี้ว่า  ปูรหตฺโถว  คจฺฉติ  เต็มมือกลับไป

แสดงถึงทานตามความปรารถนา.         เพราะว่าผู้ขอทั้งหลายปรารถนาเท่าใด

พระมหาสัตว์ทรงให้เท่านั้นไม่ลดหย่อน        เพราะมีพระอัธยาศัยกว้างขวาง

และเพราะมีอำนาจมาก.

ด้วยบทว่า   ยาวชีวิก   ตลอดชีวิตนี้     แสดงถึงความไม่มีสิ้นสุดของ

ทาน.     เพราะว่าตั้งแต่สมาทาน   พระมหาสัตว์ทั้งหลายมิได้ทรงกำหนดกาล

เวลาในท่ามกลางจนกว่าจะบริบูรณ์.     การไม่เข้าไปตัดรอนแม้ด้วยความตาย

จากการไม่เข้าที่สุดในระหว่าง ๆ   เพราะไม่มีความเบื่อหน่ายในการสะสมโพธิ-

สมภาร.     แม้อื่นจากนั้น   เพราะการปฏิบัติอย่างนั้นท่านจึงกล่าวด้วยอำนาจ

แห่งความประพฤติของพระราชามหาสุทัศนะว่า    ยาวชีวิก     จนตลอดชีวิต

ดังนี้.   บทว่า   นปาห  เทสฺ ส   ธน   ทมฺมิ     เราได้ให้ทรัพย์ที่น่าเกลียดก็

หามิได้ คือ ทรัพย์ของเรานี้น่าเกลียดไม่น่าพอใจก็หามิได้  เพราะเหตุนั้นเรา


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 89

เมื่อให้มหาทานเห็นปานนี้   จึงให้นำทรัพย์ออกจากเรือน.   บทว่า  นปิ นตฺถิ

นิจโย    มยิ   เราไม่มีการสะสมก็หามิได้ คือ  การสะสมทรัพย์ การสงเคราะห์

ด้วยทรัพย์ในที่ใกล้ไม่มีแก่เราก็หามิได้.     อธิบายว่า    แม้การไม่สงเคราะห์

ดุจสมณะผู้ประพฤติขัดเกลากิเลสก็ไม่มี.      มหาทานนี้ของพระมหาสัตว์นั้น

เป็นไปแล้วด้วยอัธยาศัยใด    เพื่อแสดงถึงอัธยาศัยนั้นท่านจึงกล่าวไว้.

บัดนี้เพื่อแสดงความนั้นโดยอุปมาจึงกล่าวว่า   ยถาปิ   อาตุโร   นาม

เหมือนคนไข้กระสับกระส่าย   ดังนี้เป็นต้น.

บทนี้แสดงเนื้อความพร้อมด้วยการเปรียบเทียบโดยอุปมา      เหมือน

บุรุษถูกโรคครอบงำกระสับกระส่าย   ประสงค์จะให้ตนพ้นจากโรค   ต้องการ

ให้หม้อผู้เยียวยาพอใจ   คือยินดีด้วยทรัพย์มีเงินและทองเป็นต้น   แล้วปฏิบัติ

ตามวิธี  ก็พ้นจากโรคนั้นฉันใด     แม้เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน    ประสงค์จะ

เปลื้องสัตว์โลกทั้งสิ้น     อันได้รับทุกข์จากโรคคือกิเลส   และจากโรคคือทุกข์

ในสงสารทั้งสิ้น  รู้อยู่ว่าการบริจาคสมบัติทั้งปวงนี้   เป็นทานบารมี  เป็นอุบาย

แห่งการปลดเปลื้องจากโลกนั้น   เพื่อยังอัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลายให้บริบูรณ์

ด้วยอำนาจแห่งผู้รับไทยธรรมโดยไม่มีเศษเหลือ      และด้วยอำนาจแห่งมหา-

ทานโดยไม่มีเศษเหลือ   อนึ่ง  ทานบารมีของเรายังไม่บริบูรณ์แก่ตน   เพราะ

ฉะนั้น    เพื่อยังใจที่บกพร่องอันเป็นไปในบทว่า   อูนมน    ใจบกพร่องให้

เต็ม   จึงได้ให้ทานนั้นแก่วณิพก   คือผู้ขอ   เราให้มหาทานเห็นปานนี้    เรา

มิได้อาลัยมิได้หวังอะไรในการให้ทานนั้นและในผลของการให้นั้น    ให้เพื่อ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 90

บรรลุพระสัมโพธิญาณ  คือ  เพื่อบรรลุพระสัพพัญญุตญาณอย่างเดียว.

พระมหาสัตว์ยังมหาทานให้เป็นไปอย่างนี้    เสด็จขึ้นสู่ธรรมปราสาท

อันเกิดด้วยบุญญานุภาพของพระองค์  ทำลายกามวิตกเป็นต้น  ณ ประตูเรือน

ยอดหมู่ใหญ่นั่นเอง     ประทับนั่งเหนือราชบัลลังก์ทำด้วยทองคำ   ณ  ประตู

เรือนยอดนั้นยังฌานและอภิญญาให้เกิด   เสด็จออกจากที่นั้น  เสด็จเข้าไปยัง

เรือนยอดสำเร็จด้วยทอง      ประทับนั่งเหนือบัลลังก์สำเร็จด้วยเงิน ณ  เรือน

ยอดนั้นทรงเจริญพรหมวิหาร ๔      ยังกาลเวลาให้น้อมล่วงไปด้วยฌานและ

สมาบัติตลอด    ๘๔,๐๐๐  ปี ทรงให้โอวาทแก่นางสนมกำนัลใน  ๘๔,๐๐๐  คน มี

พระนางสุภัททาเทวีเป็นหัวหน้า   และอำมาตย์กับสมาชิกที่ประชุมกันเป็นต้น

ซึ่งเข้าไปเพื่อเฝ้าในมรณสมัยด้วยคาถานี้ว่า :-

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ    มีการเกิด

ขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา      สังขาร

ทั้งหลาย   ครั้นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป    การเข้าไป

สงบสังขารเหล่านั้นเป็นสุข.

เมื่อสิ้นสุดพระชนมายุ   ก็ได้เสด็จสู่พรหมโลก.

พระนางสุภัททาเทวีในครั้งนั้น   ได้เป็นพระมารดาพระราหุลในครั้ง

นี้.   ปริณายกแก้ว  คือ พระราหุล.   บริษัทที่เหลือ   คือ พุทธบริษัท.   ส่วน

พระราชามหาสุทัศนะ  คือ พระโลกนาถ.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 91

แม้ในจริยานี้เป็นอันได้บารมี  ๑๐  โดยสรุป.  ทานบารมีเท่านั้นมาใน

บาลี    เพราะอัธยาศัยในการให้กว้างขวางมาก.     ธรรมที่เหลือมีนัยดังกล่าว

แล้วในหนหลังนั้นแล.

อนึ่ง   พึงเจาะจงลงไปถึงคุณานุภาพมีอาทิอย่างนี้ว่า     แม้ดำรงอยู่ใน

ความเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ อันรุ่งเรืองด้วยรตนะ ๗ อย่างมากมาย  ก็ไม่พอ

ใจโภคสุขเช่นนั้น    ข่มกามวิตกเป็นต้นแต่ไกล     ยังกาลเวลาให้น้อมไปด้วย

สมาบัติตลอด  ๘๔,๐๐๐   ปี   ของผู้ประพฤติในมหาทานเห็นปานนั้น     แม้

กระทำธรรมกถาปฏิสังยุตด้วยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น       ก็ไม่ทอดทิ้ง

ความขวนขวายในวิปัสสนาในที่ทั้งปวง.

จบ   อรรถกถามหาสุทัศนจริยาที่  ๔


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 92

มหาโควินทจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโควินทพราหมณ์

[๕]       อีกเรื่องหนึ่ง  ในกาลเมื่อเราเป็นพราหมณ์

นามว่ามหาโควินท์   เป็นปุโรหิตของพระราชา

พระองค์  อันนรชนและเทวดาบูชา     ในกาล

นั้น    เครื่องบรรณาการอันใดในราชอาณาจักร

ทั้ง     ได้มีแล้วแก่เรา    เราได้ให้มหาทานร้อย

ล้านแสนโกฏิ     เปรียบด้วยสาครด้วยบรรณา-

การนั้น    เราจะเกลียดทรัพย์และข้าวเปลือกก็

หามิได้  และเราจะไม่มีการสั่งสมก็หามิได้ แต่

พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา     ฉะนั้น

เราจึงให้ทานอย่างประเสริฐ   ฉะนี้แล.

จบ  มหาโควินทจริยาที่  ๕

 

อรรถถกถามหาโควินทจริยาที่  ๕

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถามหาโควินทจริยาที่  ๕ ดังต่อไปนี้. บทว่า

สตฺตราชปุโรหิโจ   คือปุโรหิตผู้เป็นอนุสาสก คือผู้ถวายอนุศาสน์    ในกิจ-

การทั้งปวงแด่พระราชา ๗ พระองค์ มีพระราชาพระนามว่า สัตตภู เป็นต้น.

บทว่า  ปูชิโต  นรเทเวหิ   อันนรชนและเทวดาทั้งหลายบูชาแล้ว  คือ   อัน


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 93

นรชนเหล่าอื่น  และกษัตริย์ทั้งหมดในชมพูทวีปบูชาแล้วด้วยปัจจัย  และ

ด้วยสักการะและสัมมานะ.  บทว่า  มหาโควินฺทพฺราหฺมโณ   คือพราหมณ์

ชื่อว่า  มหาโควินทะ   เพราะเป็นผู้มีอานุภาพมาก   และเพราะได้รับแต่งตั้ง

โดยอภิเษกให้เป็นโควินทะ.    เพราะว่าพระโพธิสัตว์ได้ชื่อนี้ตั้งแต่วันอภิเษก

ชื่อเดิมว่า   โชติปาละ   ได้ยินว่าในวันที่โชติปาละเกิด     สรรพาวุธทั้งหลาย

สว่างไสว.   แม้พระราชาก็ทอดพระเนตรเห็นมังคลาวุธของพระองค์    สว่าง

ไสวในตอนใกล้รุ่ง      ทรงสะดุ้งพระทัยตรัสถามปุโรหิตของพระองค์ซึ่งเป็น

บิดาของพระโพธิสัตว์ผู้มาปฏิบัติราชการ    ปุโรหิตทูลให้เบาพระทัยว่า   ขอ

เดชะข้าแต่มหาราชเจ้า   ขอพระองค์อย่าทรงหวาดสะดุ้งไปเลย     บุตรของข้า

พระองค์เกิด  ด้วยอานุภาพของบุตรนั้นมิใช่ในกรุงราชคฤห์เท่านั้น   แม้ใน

นครทั้งสิ้น       อาวุธทั้งหลายก็สว่างไสว   อันตรายมิได้มีแด่พระองค์เพราะ

อาศัยบุตรของข้าพระองค์   อนึ่ง   ในชมพูทวีปทั้งสิ้น  จักหาผู้ที่มีปัญญาเสมอ

ด้วยบุตรของข้าพระองค์ไม่มี.    นั่นเป็นบุรพนิมิตของเขาพระเจ้าข้า.   พระ-

ราชาทรงยินดี   พระราชทานทรัพย์    ๑,๐๐๐   โดยตรัสว่า   จงเป็นค่าน้ำนม

ของพ่อกุมารเถิด   แล้วตรัสว่า  เมื่อบุตรของท่านเจริญวัย  จงนำมาอยู่กับเรา.

ต่อมากุมารนั้นเจริญวัย     เป็นผู้เห็นประโยชน์อันควรจึงเป็นอนุสาสกในกิจ

ทั้งปวงของพระราชา  ๗  พระองค์    ครั้นบวชแล้วก็ได้สั่งสอนสัตว์ทั้งหลาย

จากสิ่งไม่เป็นประโยชน์        แล้วชักชวนด้วยสิ่งมีประโยชน์ทั้งปัจจุบันและ

สัมปรายภพ.  ด้วยเหตุนี้จึงได้ขนานนามว่า  โชติปาละ  เพราะเป็นผู้รุ่งเรือง

และเพราะสามารถในการอบรมสั่งสอน.   ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า  นาเมน


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 94

โชติปาโล  นาม  ชื่อเดิมว่า  โชติปาละ.  พึงทราบเนื้อความในบทนั้นดัง ต่อ

ไปนี้   พระโพธิสัตว์เป็นบุตรของโควินทพราหมณ์    ผู้เป็นปุโรหิตของพระ-

ราชาพระนามว่าทิสัมบดี      เมื่อบิดาของตนล่วงลับไปและพระราชาสวรรคต

แล้ว   ยังพระราชา  ๗  พระองค์  ให้ดำรงอยู่ในราชสมบัติโดยที่พระราชาทั้ง

๗  พระองค์ คือ พระเรณุราชา โอรสของพระทิสัมบดีราชา  พระสหายราชา

พระสัตตภูราชา    พระพรหมทัตตราชา    พระเวสสภูราชา   พระภารตราชา

พระธตรัฐราชา    มิได้ทรงวิวาทกันและกัน     ถวายอนุศาสน์อรรถธรรมแด่

พระราชาเหล่านั้น   พระราชาทั้งหมด  พราหมณ์  เทวดา  นาค  และคฤหบดี

ในพื้นชมพูทวีป   สักการะ  นับถือ  บูชา  อ่อนน้อม  ได้ถึงฐานะเป็นที่เคารพ

อย่างสูงสุด.  เพราะความที่โควินทพราหมณ์นั้นเป็นผู้ฉลาดในอรรถและธรรม

จึงได้รับสมัญญาว่า   มหาโควินทะ    ด้วยประการฉะนี้.   ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

โควินฺโท   วต  โภ   พฺราหฺมโณ   มหาโควินฺโท  วต   โภ  พฺราหฺมโณ  ท่าน

ผู้เจริญโควินทพราหมณ์   ได้เป็นมหาโควินทพราหมณ์แล้วหนอ    ด้วยเหตุ

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

อีกเรื่องหนึ่ง   ในกาลเมื่อเราเป็นพราหมณ์

นามว่ามหาโควินทะ   เป็นปุโรหิตของพระราชา

๗  พระองค์   อันนรชนและเทวดาบูชาแล้ว.

ลำดับนั้น ลาภสักการะอันมากมายนับไม่ถ้วน  อันพระราชาผู้ตื่นเต้น

ด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์  กษัตริย์ผู้นับถือพระราชาเหล่านั้น พราหมณ์


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 95

คฤหบดี   และชาวนิคม   ชาวชนบท   น้อมนำเข้าไปถมไว้ ๆ  ดุจห้วงน้ำใหญ่

ท่วมทับโดยรอบ  เหมือนอย่างลาภสักการะเกิดแก่ผู้สะสมบุญอันไพบูลย์ซึ่งได้

สะสมไว้ในชาตินับไม่ถ้วน    ผู้มีธรรมเกิดขึ้นแล้วมากมาย     มีศิลาจารวัตร

บริสุทธิ์     มีศีลเป็นที่รัก  สำเร็จศิลปศาสตร์ทุกชนิด  มีหทัยอ่อนโยนน่ารักแผ่

ไปด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ทั้งหลายเช่นกับบุตร.      พระโพธิสัตว์ดำริว่า

บัดนี้  ลาภและสักการะมากมายเกิดขึ้นแก่เรา   ถ้ากระไรเราจะให้สรรพสัตว์ทั้ง

หลาย  เอิบอิ่มด้วยลาภและสักการะนี้แล้ว  ยังทานบารมีให้บริบูรณ์ จึงให้สร้าง

โรงทานขึ้น  ๖ แห่ง คือ กลางพระนคร ๑ ที่ประตูพระนคร  ๑ ที่ประตูพระราช

นิเวศน์  ๑   แล้วยังมหาทานให้เป็นไปด้วยการบริจาคทรัพย์หาประมาณมิได้

ทุก ๆ  วัน.   ของขวัญใด  ๆ ที่มีผู้นำมามอบให้เพื่อประโยชน์แก่ตน   ทั้งหมด

นั้นส่งไปที่โรงทาน.   เมื่อพระโพธิสัตว์ทำมหาบริจาคทุก ๆ วันอย่างนี้  ความ

อิ่มใจก็ดี  ความพอใจก็ดี  มิได้มีแก่ใจของพระโพธิสัตว์นั้นเลย. ความเหนื่อย-

หน่ายจะมีได้แต่ไหน.    หมู่ชนผู้มายังโรงทานเพื่อหวังลาภของพระโพธิสัตว์

ได้รับไทยธรรมกลับไป   และประการคุณวิเศษ   ของพระมหาสัตว์  โดยรอบ

ด้านทั้งภายในพระนคร    และภายนอกพระนคร    ได้มีเสียงเซ็งแซ่อึงคะนึง

เป็นอันเดียวกันดุจมหาสมุทร     มีห้วงน้ำเป็นอันเดียวกัน    หมุนวนเพราะ

กระทบพายุใหญ่อันตั้งขึ้นตลอดกัป  ฉะนั้น.  ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า :-

ในกาลนั้นเครื่องบรรณาการอันใดในราช-

อาณาจักรทั้ง  ๗   ได้มีแล้วแก่เรา      เราได้ให้


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 96

มหาทานร้อยล้านแสนโกฏิ    เปรียบด้วยสาคร

ด้วยบรรณาการนั้น.

ในบทเหล่านั้น    บทว่า   ตทาห   คือในกาลที่เราเป็นมหาโควินท-

พราหมณ์ เป็นปุโรหิตของพระราชา  ๗  พระองค์.  บทว่า  สตฺตรชฺเชสุ คือ

ในราชอาณาจักรของพระราชา  ๗  พระองค์   มีพระราชาพระนามว่า   เรณุ

เป็นต้น.   บทว่า   อกฺโขภ  ( การนับที่สูงคือเลข  ๑  มีศูนย์ตาม  ๔๒  ศูนย์)

ชื่อว่าอันใคร ๆ  ให้กำเริบไม่ได้   เพราะข้าศึกภายในและภายนอกเกียดกั้นไม่

ได้.  ปาฐะว่า  อจฺจุพฺภ   บ้าง  คือ  กองทัพที่มีกระบวนพร้อมมูล    อธิบายว่า

บริบูรณ์อย่างยิ่งด้วยความกว้างขวาง     และด้วยความไพบูลย์แห่งอัธยาศัยใน

การให้อันเต็มเปี่ยม   และแห่งไทยธรรม.  บทว่า  สาครูปม   คือเช่นกับสาคร

อธิบายว่า  ไทยธรรมในโรงทานของพระโพธิสัตว์   ดุจน้ำในสาครอันชาวโลก

ทั้งสิ้นนำไปใช้ก็ไม่สามารถให้หมดไปได้.

พึงทราบความในคาถาสุดท้ายดังต่อไปนี้   บทว่า   วร       ทรัพย์

ประเสริฐ.  คือทรัพย์  สูงสุดหรือทรัพย์ที่คนต้องการ. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าว

แล้วนั่นแล.

พระมหาสัตว์   ยังฝนคือทานใหญ่ให้ตกโดยไม่หยุดยั้งดุจมหาเมฆใน

ปฐมกัป  ยังฝนใหญ่ให้ตกฉะนั้น  แม้เป็นผู้ขวนขวายในทานเวลาที่เหลือก็ยัง

ไม่ประมาท   ถวายอนุสาสน์  อรรถธรรมแด่พระราชา  ๗  พระองค์   และยัง

พราหมณ์มหาศาล  ๗ ให้ศึกษาวิชาศิลปศาสตร์.  และบอกมนต์กะช่างกัลบก


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 97

๗๐๐   คน.        ครั้นย่อมากิตติศัพท์อันงดงามนี้   ของพระโพธิสัตว์ขจรไปว่า

มหาโควินทพราหมณ์    เผชิญหน้าเห็นพระพรหม.    มหาโควินทพราหมณ์

เผชิญหน้า  สนทนา พูดจา ปรึกษากับพระพรหม. พระมหาสัตว์บำเพ็ญพรหม

วิหารภาวนาตลอด   ๔  เดือนในฤดูฝนโดยตั้งใจว่า   เราพึงอำลาพระราชา  ๗

พระองค์    พราหมณ์มหาศาล   ๗  ช่างกัลบก  ๗๐๐   และบุตรภรรยาไปเฝ้า

พระพรหม. ด้วยความตั้งใจของพระโพธิสัตว์นั้น  สุนังกุมารพรหมได้รู้ความ

คิดคำนึง   จึงได้ปรากฏข้างหน้า.   มหาบุรุษเห็นพรหมจึงถามว่า :-

ท่านผู้นิรทุกข์   ท่านเป็นใครหนอ  จึงมี

ผิวพรรณ  มียศ  มีสิริ   ข้าพเจ้าไม่รู้จักท่าน  จึง

ถามข้าพเจ้าจะรู้จักท่านได้อย่างไร.

พระพรหมเมื่อจะยังพระโพธิสัตว์ให้รู้จักตน  จึงกล่าวว่า :-

ท่านโควินทะ    ทวยเทพทั้งปวง    รู้จัก

ข้าพเจ้า  ว่าเป็นกุมารพรหมอยู่ในพรหมโลกมา

เก่าแก่        ขอท่านจงรู้จักข้าพเจ้าด้วยประการ

ฉะนี้เถิด.

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เป็นพรหม ข้าพเจ้าขอต้อนรับ

ท่านผู้เจริญด้วยอาสนะ  น้ำ  เครื่องเช็ดเท้าและ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 98

ผักผสมน้ำผึ้ง    ขอได้โปรดรับของมีค่าอันเป็น

ของข้าพเจ้าเถิด.

พระพรหมแม้ไม่มีความต้องการของต้อนรับแขก   ที่พระโพธิสัตว์นำ

เข้าไปก็ยินดีรับเพื่อความเบิกบานใจของพระโพธิสัตว์    และเพื่อทำความคุ้น

เคย จึงกล่าวว่า ท่านโควินทะข้าพเจ้าขอรับของมีค่าที่ท่านบอก เมื่อให้โอกาส

จึงกล่าวว่า :-

ข้าพเจ้าให้โอกาส   ท่านจงถามสิ่งที่ต้อง

การถาม เพื่อประโยชน์ในภพนั้นและเพื่อความ

สุขในภพหน้า.

ลำดับนั้น พระมหาบุรุษจึงถามถึงประโยชน์ในภพหน้าอย่างเดียวว่า :-

ข้าพเจ้าผู้มีความสงสัย ขอถามท่านสนัง-

กุมารพรหมผู้ไม่มีความสงสัย       ในปัญหาอัน

ปรากฏแก่ผู้อื่นว่า    สัตว์ตั้งอยู่ในอะไร    และ

ศึกษาในอะไร       จึงจะถึงพรหมโลกอันเป็น

อมตะ.

พระพรหมเมื่อจะพยากรณ์แก่พระโพธิสัตว์    จึงกล่าวถึงทางอันไปสู่

พรหมโลกว่า :-


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 99

ท่านผู้ประเสริฐ    สัตว์ละความเป็นของ

เราในสัตว์ทั้งหลาย   เป็นอยู่ผู้เดียว    น้อมไป

ในกรุณา    ไม่มีกลิ่นน้ำยินดี     เว้นจากเมถุน

ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น     และศึกษาอยู่ในธรรม

เหล่านี้   ย่อมถึงพรหมโลกอันเป็นอมตะ.

ในบทเหล่านั้น  บทว่า    เว  ภุมาร  ชานนฺติ   คือทวยเทพทั้งหลาย

รู้จักข้าพเจ้าว่า  เป็นกุมารพรหมโดยส่วนเดียวเท่านั้น.   บทว่า  พฺรหฺมโลเก

คือในโลกอันประเสริฐ.   บทว่า   สนนฺตน   คือโบราณนานมาแล้ว.   บทว่า

เอว  โควินฺท  ชานาหิ   คือ  ท่านโควินทะท่านจงจำข้าพเจ้าไว้อย่างนี้.

บทว่า   อาสน  นี้.   คืออาสนะที่ปูไว้   เพื่อให้พระพรหมผู้เจริญนั่ง.

น้ำนี้สำหรับใช้เพื่อล้างเท้า   น้ำดื่มเพื่อบรรเทาความกระหาย.   เครื่องเช็ดเท้า

นี้  คือน้ำมันทาเท้าเพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อย.   ผักผสมน้ำผึ้งนี้   ไม่ใช่

เปรียง  ไม่ใช่เกลือ   ไม่ใช่ลมควัน    ล้างน้ำสะอาด     ท่านกล่าวหมายถึงผัก.

ก็ในการนั้นพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ประพฤติพรหมจรรย์ตลอด  ๔   เดือน

เป็นพรหมจรรย์ยอดเยี่ยมอย่างยิ่งในการประพฤติขัดเกลากิเลส.   ข้าพเจ้าขอ

เอาของมีค่าทั้งหมดเหล่านี้ต้อนรับท่าน        ขอจงรับของมีค่านี้อันเป็นของ

ข้าพเจ้าเอง.   พระมหาบุรุษแม้รู้อยู่พระพรหมไม่บริโภคของเหล่านั้น   แต่งตั้ง

ไว้เป็นพิธีในการปฏิบัติ       เมื่อจะแสดงการบูชาแขกที่ตนเคยประพฤติมาจึง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 100

กล่าวอย่างนั้น  แม้พระพรหมก็ทราบความประสงค์ของพระโพธิสัตว์นั้น จึง

กล่าวว่า   ท่านโควินทะ   ข้าพเจ้าขอรับสิ่งมีค่าที่ท่านบอกนั้นไว้.

อธิบายในบทนั้นว่า   ข้าพเจ้าจะนั่งบนอาสนะของท่าน.    จะล้างเท้า

ด้วยน้ำล้างเท้า.  จะดื่มน้ำดื่ม.  จะทาเท้าด้วยเครื่องทาเท้า.  จะบริโภคผักที่ล้าง

ด้วยน้ำ.

บทว่า   กงฺขี    อกงฺขึ   ปรเวทิเยสุ   คือข้าพเจ้าไม่สงสัยในปัญญาที่

ปรากฏแก่ผู้อื่น   เพราะผู้อื่นสร้างปัญหาขึ้นมาเอง.

บทว่า   หิตฺวา   มมฺตฺต  คือสละตัณหาอันเป็นเครื่องอุดหนุนให้เป็น

ไปอย่างนี้ว่า  นี้ของเรา  นี้ของเรา ดังนี้. บทว่า มนุเชสุ  คือในสัตว์ทั้งหลาย

บทว่า   พฺรหฺเม   คือพระพรหมเรียกพระโพธิสัตว์.   บทว่า    เอโกทิภูโต

ชื่อว่า  เอโกทิภูโต   เพราะเป็นไปผู้เดียว   คืออยู่ผู้เดียว.   ด้วยบทนี้    ท่าน

กล่าวหมายถึงกายวิเวก. อีกชื่อว่า เอโกทิ เพราะเป็นเอกผุดขึ้นได้แก่  สมาธิ.

ชื่อว่า   เอโกทิภูโต    เพราะถึงความเป็นเอกผุดขึ้นนั้น.   อธิบายว่า  สมาธิ.

ด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ.      พระพรหมเมื่อจะแสดงความเป็นเอก

ผุดขึ้นด้วยอำนาจแห่งกรุณาพรหมวิหาร    จึงกล่าวว่า    กรุเณธิมุตฺโต   คือ

น้อมไปในฌานคือกรุณา.  อธิบายว่า  ยังฌานให้เกิดขึ้น. บทว่า  นิรามคนฺโธ

ไม่มีกลิ่นน่ารื่นรมย์  คือปราศจากกลิ่นเป็นพิษคือกิเลส.  บทว่า เอตฺถฏฺิโต

คือตั้งอยู่ในธรรมทั้งหลายเหล่านี้ . ยังธรรมทั้งหลายเหล่านี้ให้สมบูรณ์ บทว่า


没有评论: