NIRUTTI SAPHA 82N C1 100


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 1

พระอภิธรรมปิฎก

เล่มที่    ๕

ยมก  ภาคที่  ๑  ตอนที่  ๑

ขอนอบน้อมแด่

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระองค์นั้น

มูลยมกที่  ๑

อุทเทสวาระในกุสลบท

มูลนยะที่  ๑

๑. มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ที่เป็นกุศล  มีอยู่ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด

ชื่อว่ากุศลมูล  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด  ชื่อว่ากุศลมูล  มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมดเป็นกุศล  ใช่ไหม  ?

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ที่เป็นกุศล  มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้ง

หมด  มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล  ใช่ไหม?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 2

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล   มีอยู่

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นกุศล   ใช่ไหม.

๓.  อัญญมัญญมูลกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล  มีอยู่

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับกุศลมูล  ใช่ไหม  ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด      ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับกุศลมูล

มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นกุศล   ใช่ไหม  ?

มูลมูลนยะที่  ๒

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นกุศล   มีอยู่.    ธรรมเหล่านั้นทั้ง

หมด   ชื่อว่ามูลที่เป็นกุศลมูล  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    ชื่อว่ามูลที่เป็นกุศลมูล    มีอยู่,     ธรรม

เหล่านั้นทั้งหมด  เป็นกุศล   ใช่ไหม ?

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นกุศล   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้ง

หมด   มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับกุศลมูล    ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด  มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับกุศล

มูล   มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นกุศล   ใช่ไหม ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 3

๓.  อัญญมัญญมูลกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง      มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

กุศลมูล   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด    ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่

กันและกันกับกุศลมูล  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกัน

กับกุศลมูล   มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นกุศล   ใช่ไหม ?

มูลกนยะที่  ๓

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นกุศล   มีอยู่,     ธรรมเหล่านั้นทั้ง

หมด  มีมูลที่เป็นกุศล  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   มีมูลที่เป็นกุศล   มีอยู่   ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   เป็นกุศล  ใช่ไหม ?

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นกุศล   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้ง

หมด มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล    มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นกุศล  ใช่ไหม ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 4

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล   มีอยู่

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   มีมูลแก่กันและกันกับกุศลมูล   ใช่ไหม  ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    มีมูลแก่กันและกันกับกุศลมูล     มีอยู่.

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นกุศล  ใช่ไหม  ?

 

มูลมูลกนยะที่  ๔

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นกุศล   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้ง

หมด    มีมูลที่เป็นกุศลมูล  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด  มีมูลที่เป็นกุศลมูล  มีอยู่ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด เป็นกุศล  ใช่ไหม

๒.   เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง     ที่เป็นกุศล   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้ง

หมด    มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับกุศลมูล  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด  มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับกุศล

มูล   มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด    เป็นกุศล  ใช่ไหม ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 5

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ  :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง      มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

กุศลมูล    มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด      มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กัน

และกันกับกุศลมูล  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด     มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับ

กุศลมูล    มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด    เป็นกุศล  ใช่ไหม ?

กุสลบท  จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 6

[๒]                  อุทเทสวาระในอกุสลบท

มูลนยะที่  ๑

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นอกุศล  มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้ง

หมด  ชื่อว่าอกุศลมูล   ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    ชื่อว่าอกุศลมูล   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด    เป็นอกุศล   ใช่ไหม ?

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง      ที่เป็นอกุศล    มีอยู่,      ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล   มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นอกุศล   ใช่ไหม ?

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล  มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับอกุศลมูล ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับอกุศลมูล

มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นอกุศล  ใช่ไหม  ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 7

มูลมูลนยะที่  ๒

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นอกุศล    มีอยู่      ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด  ชื่อว่ามูลที่เป็นอกุศลมูล  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    ชื่อว่ามูลที่เป็นอกุศลมูล   มีอยู่,   ธรรม

เหล่านั้นทั้งหมด   เป็นอกุศล  ใช่ไหม ?

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นอกุศล    มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอกุศลมูล   ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด        มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

อกุศลมูล   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นอกุศล  ใช่ไหม ?

๓.  อัญญมัญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง      มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

อกุศลมูล   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด    ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่

กันและกันกับอกุศลมูล   ใช่ไหม  ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกัน

กับอกุศลมูล   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นอกุศล  ใช่ไหม ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 8

มูลกนยะที่  ๓

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นอกุศล    มีอยู่,     ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด  มีมูลที่เป็นอกุศล  ใช่ไหม  ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    มีมูลที่เป็นอกุศล  มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด  เป็นอกุศล  ใช่ไหม ?

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นอกุศล  มีอยู่,      ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอกุศล    ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด        มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

อกุศลมูล    มีอยู่   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นอกุศล  ใช่ไหม  ?

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง     มีมูลที่เรียกว่าเป็นอันเดียวกันกับอกุ-

ศลมูล   มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด    มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและ

กันกับอกุศลมูล  ใช่ไหม ?

ก็หรือ  ว่าธรรมเหล่าใด     มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับ

อกุศลมูล   มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นอกุศล   ใช่ไหม ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 9

มูลมูลกนยะที่  ๔

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นอกุศล    มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด  มีมูลที่เป็นอกุศลมูล  ใช่ไหม  ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    มีมูลที่เป็นอกุศลมูล     มีอยู่,     ธรรม

เหล่านั้นทั้งหมด    เป็นอกุศล  ใช่ไหม ?

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง    ที่เป็นอกุศล    มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด    มีมูลที่เรียกว่าเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด         มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

อกุศลมูล    มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นอกุศล  ใช่ไหม ?

๓. อัญญมัญญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง      มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

อกุศลมูล    มีอยู่,     ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กัน

และกันกับอกุศลมูล ใช่ไหม  ?

หรือว่าธรรมเหล่าใด     มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับ

อกุศลมูล  มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นอกุศล  ใช่ไหม ?

อกุสลบท  จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 10

[๓]                 อุทเทสวาระในอัพยากตบท

มูลนยะที่  ๑

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ที่เป็นอัพยากตะ  มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   ชื่อว่าอัพยากตมูล   ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   ชื่อว่าอัพยากตมูล  มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด    เป็นอัพยากตะ  ใช่ไหม ?

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ที่เป็นอัพยากตะ  มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล   มี

อยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นอัพยากตะ  ใช่ไหม  ?

๓   อัญญมัญญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าโดเหล่าหนึ่ง       มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล

มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับอัพยากตมูล

ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับอัพยากต-

มูล  มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด เป็นอัพยากตะ  ใช่ไหม ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 11

มูลมูลนยะที่  ๒

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   เป็นอัพยากตะ   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด  ชื่อว่ามูลที่เป็นอัพยากตมูล  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด  ชื่อว่ามูลที่เป็นอัพยากตมูล  มีอยู่,  ธรรม

เหล่านั้นทั้งหมด   เป็นอัพยากตะ  ใช่ไหม ?

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ที่เป็นอัพยากตะ  มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอัพยากตมูล   ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด  มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอัพ-

ยากตมูล   มีอยู่,     ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นอัพยากตะ  ใช่ไหม  ?

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง      มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

อัพยากตมูล   มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด    ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูล

แก่กันและกันกับอัพยากตมูล   ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด  ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกัน

กับอัพยากตมูล  มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นอัพยากตะ ใช่ไหม ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 12

มูลกนยะที่  ๓

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นอัพยากตะ  มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   มีมูลทาเป็นอัพยากตะ  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    มีมูลที่เป็นอัพยากตะ  มีอยู่,    ธรรมเหล่า

นั้นทั้งหมด   เป็นอัพยากตะ  ใช่ไหม  ?

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ที่เป็นอัพยากตะ  มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด  มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด  มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล   มี

อยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นอัพยากตะ  ใช่ไหม ?

๓.  อัญญมัญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล  มี

อยู่,      ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด     มีมูลแก่กันและกันกับอัพยากตมูล  ใช่

ไหม  ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด  มีมูลแก่กันและกันกับอัพยากตมูล   มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นอัพยากตะ ใช่ไหม  ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 13

มูลมูลกนยะที่  ๔

๑.  มูลนยะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ที่เป็นอัพยากตะ  มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด  มีมูลที่เป็นอัพยากตมูล  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    มีมูลที่เป็นอัพยากตมูล   มีอยู่,     ธรรม

เหล่านั้นทั้งหมด   เป็นอัพยากตะ   ใช่ไหม ?

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ที่เป็นอัพยากตะ  มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอัพยากตะ    ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอัพ-

ยากตมูล   มีอยู่,     ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด    เป็นอัพยากตะ  ใช่ไหม  ?

๓ อัญญมัญญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง      มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

อัพยาตมูล มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กัน

และกันกับอัพยากตมูล  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด      มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับ

อัพยากตมูล   มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นอัพยากตะ.  ใช่ไหม ?

อัพยากตบท  จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 14

[๔]                 อุทเทสวาระในนามบท

มูลนยะที่  ๑

๑. มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง     ที่เป็นนาม    มีอยู่,     ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   ชื่อว่านามมูล  ใช่ไหม  ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด      ชื่อว่านามมูล   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด เป็นนาม  ใช่ไหม ?

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง    ที่เป็นนาม    มีอยู่,     ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล   มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นนาม  ใช่ไหม ?

๓.   อัญญมัญญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง      มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล    มี

อยู่,      ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด      ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับนามมูล

ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด     ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับนามมูล

มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด    เป็นนาม  ใช่ไหม ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 15

มูลมูลนยะที่  ๒

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นนาม   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้ง

หมด  ชื่อว่ามูลที่เป็นนามมูล ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    ชื่อว่ามูลที่เป็นนามมูล    มีอยู่,   ธรรม

เหล่านั้นทั้งหมด  เป็นนาม  ใช่ไหม ?

๒.   เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง     ที่เป็นนาม    มีอยู่    ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด    มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับนามมูล ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับนาม

มูล    มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นนาม  ใช่ไหม ?

๓.  อัญญมัญญมูลนยะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง      มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

นามมูล     มีอยู่,      ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด     ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูล

แก่กันและกันนามมูล ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด     ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกัน

กับนามมูล   มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นนาม ใช่ไหม ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 16

มูลกนยะที่  ๓

๑. มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นนาม     มีอยู่,      ธรรมเหล่านั้นทั้ง

หมด   มีมูลที่เป็นนามมูล ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด        มีมูลที่เป็นนามมูล  มีอยู่,       ธรรม

เหล่านั้นทั้งหมด   เป็นนาม  ใช่ไหม ?

๒.   เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นนาม    มีอยู่,      ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล    มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นนาม  ใช่ไหม ?

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล   มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   มีมูลแก่กันและกันกับนามมูล  ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    มีมูลแก่กันและกันกับนามมูล     มิอยู่.

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นนาม ใช่ไหม ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 17

มูลมูลกนยะที่ ๔

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นนาม มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด

มีมูลที่เป็นนามมูล ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    มีมูลที่เป็นนามมูล   มีอยู่,    ธรรมเหล่า

นั้นทั้งหมด เป็นนาม ใช่ไหม ?

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ที่เป็นนาม   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้ง

หมด   มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับนามมูล ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด        มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

นามมูล  มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นนาม  ใช่ไหม ?

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง      มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

นามมูล    มีอยู่,     ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กัน

และกันกับนามมูล ใช่ไหม ?

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด     มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับ

นามมูล   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   มีนาม  ใช่ไหม ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 18

[๕]   ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นกุศล  มีอยู่,  ธรรมเหล่า

นั้นทั้งหมด   เป็นกุศลเหตุ  ใช่ไหม ?

....................เป็นกุศลนิทาน ใช่ไหม ?

....................เป็นกุศลสัมภวะ ใช่ไหม ?

....................เป็นกุศลปภวะ ใช่ไหม ?

....................เป็นกุศลสมุฏฐาน ใช่ไหม ?

....................เป็นกุศลาหาร  ใช่ไหม ?

....................เป็นกุศลารัมมณะ ใช่ไหม  ?

....................เป็นกุศลปัจจัย  ใช่ไหม  ?

....................เป็นกุศลสมุทัย  ใช่ไหม  ?

พระธรรมสังคาหกาจารย์ได้ประพันธ์ไว้เป็นคาถาว่า :-

มูล,   เหตุ,   นิทาน,      สัมภวะ    และปภวะ,   สมุฏฐาน,

อาหาร,  อารัมมณะ,   ปัจจัย,   และสมุทัย.

อุทเทสวาระ   จบ

 

๑.  คำเหล่านี้เป็น  ไวพจน์  แก่กันและกัน.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 18

ยมกปฺปกรณฏฺกถา

(อรรถกถาแห่งปกรณ์ยมก )

อารมฺภกถา

สงฺเขเปเนว   เทวาน            เทวเทโว   สุราลเย

กถาตฺถุปฺปกรณ                 เทสยิตฺวา  รณญฺชโห ฯ

ยมสฺส  วีสยาตีโต              นานายมกมณฺฑิต

อภิธมฺมปฺปกรณ                อฏฺ  ฉฏฺานเทสโก ฯ

ยมก  อยมสวฏฺฏ-              นีลามลตนูรุโห

ย  เทสยิ   อนุปฺปตฺโต          ตสฺส สวณฺณนากฺกโม

อิทานิ  ยสฺมา  ตสฺมาสฺส      โหติ  สวณฺณนา  อย ฯ

พระสัมมาสัมพุทธะ  ผู้เป็นวิสุทธิเทพ   ผู้ประหาณกิเลสอันเป็น

เหตุยังสัตว์ให้ร้องไห้อยู่ในภพน้อยใหญ่    ครั้นทรงแสดงกถาวัตถุปกรณ์

โดยสังเขป   แก่ทวยเทพทั้งหลายในสุราลัยเทวโลกแล้ว    พระองค์ผู้ก้าว

พ้นเขตแดน  ( วิสัย )  ของพระยายม    เป็นผู้ไม่มีมลทินเกิดในพระองค์

อันจะหมุนมาสู่วัฏฏะอีก     ผู้แสดงธรรมเครื่องประหาณกิเลส     ได้ทรง

แสดงอภิธรรมปกรณ์    ชื่อว่า  ยมก   ซึ้งเป็นปกรณ์ที่  ๖    ประดับด้วย

นานายมกไว้แล้ว  บัดนี้   ลำดับการสังวรรณนาแห่งปกรณ์นั้น   ถึงพร้อม

แล้ว   เพราะฉะนั้น   การสังวรรณนาจะมีต่อไป.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 18

อรรถกถามูลยมก

วรรณนาอุทเทสวาระ

ก็ปกรณ์นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจำแนกไว้แล้ว  ๑๐ อย่าง  ด้วย

อำนาจของยมก ๑๐  อย่าง  คือ   มูลยมก   ขันธยมก    อายตนยมก

ธาตุยมก  สัจจยมก สังขารยมก  อนุสยยมก จิตตยมก  ธรรมยมก

และ    อินทริยยมก    พึงทราบอรรถแห่งยมก  ๑๐   อย่างเหล่านี้ของ

ปกรณ์นี้อย่างนี้

ถามว่า  ชื่อว่า   ยมก   เพราะอรรถว่ากระไร ?

ตอบว่า  เพราะอรรถว่า   เป็นคู่กัน

จริงอยู่   คำว่า   คู่กัน   ท่านเรียกว่า   ยมก    เหมือนกับที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า  ยมกปาฏิหาริย์  =   ปาฏิหาริย์คู่   ยมกสาลา   =  ไม้สาละ

คู่  เป็นต้น

ในยมกทั้ง ๑๐ อย่างนี้    ยมกหนึ่งๆ ชื่อว่า  คู่     เพราะแสดงไว้

ด้วยอำนาจของยมกทั้งหลาย  คือ  คู่  ด้วยประการฉะนี้  ปกรณ์นี้ทั้งหมด

พึงทราบว่า   ชื่อว่า   ยมก    เพราะรวบรวมคู่ทั้งหลายเหล่านี้ไว้

ยมกแรกแห่งยมก ๑๐ อย่าง    เรียกว่า  มูลยมก    เพราะในมูล-

ยมกนั้นพระพุทธองค์ทรงกระทำการถามและตอบด้วยอำนาจแห่งมูล


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 18

มูลยมกนั้น   มี ๒ วาระ   คือ   อุทเทสวาระ    และนิทเทสวาระ

ใน ๒ วาระนั้น  อุทเทสวาระ  เป็นวาระแรกทรงยกขึ้นแล้วนำออกแสดง

ไปตามลำดับ

ยมกนี้ว่า  เยเกจิ   กุสลา    ธมฺมา    สพฺเพ   เต   กุสลมูลา

เย  วา  ปน  กุสลมูลา  สพฺเพ  เต   ธมฺมา   กุสลา   เป็นยมกต้น

(คู่แรก )   ของมูลยมกนั้น

พึงทราบความเป็นคู่กัน  ( ความเป็นยมก )  แห่งอุทเทสวาระนั้น

ด้วยวิธี ๓ อย่าง   คือ   อรรถยมก   ท่านแสดงด้วยอำนาจแห่งเนื้อความ

๒ อย่าง   คือ   กุศลและอกุศลอย่างหนึ่ง      ธรรมยมก     ท่านแสดงด้วย

อำนาจของธรรมที่เป็นแบบแผนที่ดำเนินไปโดยอนุโลม     ( ตามลำดับ )

และปฏิโลม    ท่านลำดับ  ของเนื้อความเหล่านั้นอย่างหนึ่ง   อีกอย่าง

หนึ่ง   ท่านแสดง    ปุจฉายมก     ด้วยอำนาจของคำถามที่ดำเนินไปโดย

อนุโลมและปฏิโลม   ยมกทั้งหลายที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน

บัดนี้    พึงทราบการกำหนดพระบาลี    ด้วยอำนาจแห่งประเภท

ของวาระมี   นัย   ยมก   ปุจฉา  และ  อรรถ   แห่งอุทเทสวาระในมูล-

ยมกนี้       อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยยมกทั้งหลายเหล่านี้

อย่างนี้


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 18

นัย ๔ อย่างเหล่านี้   คือ มูลนัย  มูลมูลนัย  มูลกนัย  มูล-

มูลนัย   มีอยู่    เพราะอาศัยบทที่เป็นเบื้องต้นนี้ว่า    กุสลา     ธมฺมา

แห่งกุสลติกมาติกา

ในนัย ๔ อย่างเหล่านี้  นัยหนึ่ง ๆ มียมก ๓ อย่าง  คือ  มูลยมก

เอกมูลยมก  อัญญมัญญมูลยมก   จึงเป็นยมก ๑๒ อย่าง

ในยมกหนึ่งๆ   มีปุจฉา ๒ อย่างด้วยอำนาจ     อนุโลม     และ

ปฏิโลม  จึงเป็นปุจฉา ๒๔

ในปุจฉาหนึ่ง ๆ     มีอรรถ  ๒  อย่างด้วยอำนาจ      สันนิฏฐาน

บทตั้ง )   และ   สังสยะ    ( บทถามหรือบทสงสัย )   จึงเป็นอรรถ ๔๘

พึงทราบอรรถแห่งสันนิฏฐานในบทนี้ว่า      เยเกจิ       กุสลา

ธมฺมา = ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นกุศล  (มีอยู่ )  เพราะความ

ไม่มีความสงสัยในกุศลทั้งหลายว่าเป็นกุศลหรือไม่เป็นกุศล

พึงทราบอรรถแห่งสังสยะในบทนี้ว่า  สพฺเพ  เต  กุสลมูลา =

กุศลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศลมูลหรือ      เพราะการถามด้วยอำนาจ

ความสงสัยอย่างนี้ว่า   กุศลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุลมูลหรือไม่เป็นกุศล

มูล  ก็เนื้อความนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วเพื่อแสดงความสงสัยใน


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 18

ที่เป็นที่สงสัยของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย   แต่ว่า  ชื่อว่าความสงสัยย่อมไม่มี

แก่พระตถาคต   ในบทปุจฉาแม้เหล่าอื่นจากบทนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน

บัณฑิตพึงทราบว่า     ก็บททั้งหลาย  ๔     แม้ทั้งปวงที่ท่านกล่าว

แล้วด้วยนัย ๑๖    ยมก  ๔๘    ปุจฉา ๙๖    อรรถ  ๑๙๒    ด้วยสามารถ

แห่งอุทเทสในกุศลติกมาติกาตากาว่า   ก็นัย   เหล่านี้ย่อมมีเพราะอาศัยกุศล

บท      ยมก    ๑๒   ย่อมมีด้วยอำนาจแห่งยมก   ๓   อย่างในนัย ๆ   หนึ่ง

ปุจฉา  ๒๔  ย่อมมีด้วยอำนาจปุจฉา  ๒  อย่างในยมกหนึ่ง ๆ   อรรถ  ๔๘

ย่อมมีด้วยสามารถแห่งอรรถ ๒ อย่างในปุจฉาหนึ่ง  ดังนี้ฉันใด  นัย  ๔

อย่างเหล่านี้ก็ย่อมมีเพราะอาศัยอกุศลบทบ้าง    เพราะอาศัยอัพยากตบท

บ้าง   เหมือนกันฉันนั้น   เพราะอาศัยซึ่งบท  จึงชื่อว่านำออกแสดงแล้ว

เพรากระทำบททั้ง   ๓  ให้เป็นอันเดียวกันบ้าง

เบื้องหน้าแต่นี้     วาระ ๙ อย่าง    มีวาระว่า    เยเกจิ    กุสลา

ธมฺมา  สพฺเพ   เต    กุสลเหตุ    =   ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นกุศล

มีอยู่      ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศลเหตุหรือ       ดังนี้เป็นต้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดงแล้วด้วยอำนาจไวพจน์แห่งมูลวาระ

นั้นวาระแม้ทั้งหมด   ๑๐  วาระ   คือ   มูลวาระ   เหตุวาระ  นิทานวาระ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 18

สัมภววาระ  ปภววาระ   สมุฏฐานวาระ  อาหารวาระ  อาลัมพณวาระ

ปัจจยวาระ   สมุทยวาระ   ย่อมมีด้วยประการฉะนี้

นัย ๑๖๐   ยมก ๔๘๐   ปุจฉา ๙๖๐   อรรถ ๑๙๒๐    พึงทราบ

ว่าท่านยกขึ้นแสดงไว้แล้วในวาระทั้ง  ๑๐   แม้ทั้งหมดว่า   พึงทราบวาระ

ทั้งหลายมีนัยเป็นต้น     ในบทที่เหลือด้วยการกำหนดบทที่มาแล้วในมูล

วาระนั้น  บัณฑิตพึงทราบการกำหนดพระบาลีด้วยสามารถประเภทแห่ง

วาระมี   นัย   ยมก    ปุจฉา   และ  อรรถ   ในอุทเทสวาระอย่างนี้ก่อน

พระคาถาที่ว่า   มูล   เหตุ   นิทาน   จ   ดังนี้เป็นต้น   ชื่อว่า

อุทานคาถา   ของวาระทั้งหลาย ๑๐   คำทั้งหลายมีคำว่า   มูล   เป็นต้น

แม้ทั้งหมดในคาถานั้น   เป็นไวพจน์ของ   เหตุ   ( การณะ)   นั่นแหละ

ก็เหตุ   ชื่อว่า   มูล   เพราะอรรถว่าตั้งไว้เฉพาะ

ธรรมชาติใดย่อมไป    คือ    ย่อมเป็นไป    เพื่อยังผลของตนให้

สำเร็จ   เหตุนั้น   ธรรมชาตินั้น   ชื่อว่า   เหตุ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 18

ธรรมชาติใดย่อมให้ซึ่งผลของตน  ราวกะแสดงอยู่ว่า  เชิญท่าน

ถือเอาซึ่งผลนั้น   เหตุนั้นธรรมชาตินั้น   ชื่อว่า  นิทาน

ผลย่อมเกิดพร้อมจากธรรมใด เหตุนั้นธรรมนั้น ชื่อว่า สัมภวะ

ผลย่อมเกิดทั่วจากธรรมใด   เหตุนั้นธรรมนั้น   ชื่อว่า   ปภวะ

ผลย่อมตั้งขึ้นในธรรมนี้  หรือว่า  ย่อมตั้งขึ้นด้วยธรรมนี้  เหตุนี้

ธรรมนี้ชื่อว่า  สมุฏฐาน

ธรรมใดย่อมนำมาซึ่งผลของตน      เหตุนั้นธรรมนั้น      ชื่อว่า

อาหาร

ธรรมใดอันผลของตนย่อมยึดไว้  เพราะอรรถว่าไม่พึงถูกปฏิเสธ

(ด้วยผลของตน )    เหตุนั้นธรรมนั้น   ชื่อว่า   อาลัมพณะ   ( หรือ

อารัมมณะ )

ผลอาศัยธรรมนั้น    คือไม่ปฏิเสธ    ( ธรรมนั้น )     ย่อมเกิด

คือย่อมเป็นไป   เหตุนั้นธรรมนั้น   ชื่อว่า   ปัจจัย


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 18

ผลย่อมเกิดแต่ธรรมนี้   เหตุนั้นธรรมนั้น  ชื่อว่า  สมุทัย

บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งคำ    แห่งบททั้งหลาย    เหล่านั้น

อย่างนี้    ด้วยประการฉะนี้.

วรรณนาอุทเทสวาระ   จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 19

[๖]                มูลวารนิทเทสในกุสลบท

มูลนยะที่  ๑

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง     ที่เป็นกุศล,    มีอยู่,     ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด  ชื่อว่ากุศลมูล  ใช่ไหม ?

มูลมี   ๓   เท่านั้น    ชื่อว่ากุศลมูล,   กุศลธรรมที่เหลือนอกนั้น

ไม่ชื่อว่ากุศลมูล.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    ชื่อว่ากุศลมูล    มีอยู่,     ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   เป็นกุศล  ใช่ไหม ?

ใช่.

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง    ที่เป็นกุศล    มีอยู่,      ธรรมเหล่านั้นทั้ง

หมด  มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล ใช่ไหม ?

ใช่.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล   มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นกุศล ใช่ไหม ?

รูปที่มีกุศลเป็นสมุฏฐาน    มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล    แต่

ไม่ใช่เป็นกุศล,  กุศลธรรมมีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลด้วย   เป็น

กุศลด้วย.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 20

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ  :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล  มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับกุศลมูล  ใช่ไหม ?

กุศลมูลเหล่าใดเกิดขึ้นคราวเดียวกัน   กุศลมูลเหล่านั้นมีมูลเป็น

อันเดียวกันด้วย    ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันด้วย,     ธรรมที่เกิดพร้อม

กันกับกุศลที่เหลือนอกนั้น  มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล  แต่ไม่ชื่อว่า

เป็นมูลแก่กันและกัน.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด      ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับกุศลมูล

มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นกุศลมูล    ใช่ไหม ?

ใช่.

๗ ]                       มูลมูลนยะที่  ๒

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เป็นกุศล มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด

ชื่อว่ามูลที่เป็นกุศลมูล   ใช่ไหม ?

มูลมี   ๓   เท่านั้น   ชื่อว่ามูลที่เป็นกุศลมูล,    กุศลธรรมที่เหลือ

นอกนั้น ไม่ชื่อว่ามูลที่เป็นกุศลมูล.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   ชื่อว่ามูลที่เป็นกุศลมูล    มีอยู่,     ธรรม

เหล่านั้น ทั้งหมด   เป็นกุศล  ใช่ไหม ?

ใช่.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 21

๒.  เอกามูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นกุศล   มีอยู่,     ธรรมเหล่านั้นทั้ง

หมด   มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับกุศลมูล   ใช่ไหม ?

ใช่.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับกุศล

มูล   มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นกุศล  ใช่ไหม  ?

รูปที่มีกุศลเป็นสมุฏฐาน     มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

กุศลมูลแต่ไม่ใช่เป็นกุศล     กุศลธรรมมีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกัน

กับกุศลมูลด้วย   เป็นกุศลด้วย

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง      มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

กุศลมูล    มีอยู่,     ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด    ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่

กันและกันกับกุศลมูล ใช่ไหม ?

กุศลมูลเหล่าใดเกิดขึ้นคราวเดียวกัน   กุศลมูลเหล่านั้น    มีมูลที่

เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันด้วย  ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกัน

ด้วย,      ธรรมที่เกิดพร้อมกับกุศลมูลที่เหลือนอกนั้น      มีมูลที่เรียกว่า

เป็นมูลอันเดียวกันกับกุศลมูล      แต่ไม่ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กัน

และกัน.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 22

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกัน

กับกุศลมูล  มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด    เป็นกุศล  ใช่ไหม ?

ใช่.

๘]                         มูลกนยะที่  ๓

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เป็นกุศล มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด

มีมูลที่เป็นกุศล  ใช่ไหม ?

ใช่.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   มีมูลที่เป็นกุศล   มีอยู่.    ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   เป็นกุศล   ใช่ไหม ?

รูปที่มีกุศลเป็นสมุฏฐาน     มีมูลที่เป็นกุศล   แต่ไม่ใช่เป็นกุศล,

กุศลธรรมมีมูลที่เป็นกุศลด้วย   เป็นกุศลด้วย.

๒.  เอกมูลนทกะ  :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง     ที่เป็นกุศล     มีอยู่,     ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด  มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล ใช่ไหม ?

ใช่.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล   มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นกุศล  ใช่ไหม  ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 23

รูปที่มีกุศลเป็นสมุฏฐาน    มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล   แต่

ไม่ใช่เป็นกุศล,   กุศลธรรมมีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลด้วย  เป็น

กุศลด้วย.

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล  มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด    มีมูลแก่กันและกันกับกุศลมูล ใช่ไหม  ?

กุศลมูลเหล่าใดเกิดขึ้นคราวเดียวกัน   กุศลมูลเหล่านั้นมีมูลเป็น

อันเดียวกันด้วย   มีมูลแก่กันและกันด้วย.  ธรรมที่เกิดพร้อมกับกุศลมูล

ที่เหลือนอกนั้น       มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล       แต่ไม่ใช่มีมูล

แก่กันและกัน.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด       มีมูลแก่กันและกันกับกุศลมูล     มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นกุศลมูล  ใช่ไหม ?

ใช่.

[๙]                         มูลมูลกนยะที่  ๔

๑.  มูลยมกะ  :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ที่เป็นกุศล   มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้ง

หมด  มีมูลที่กุศลมูล  ใช่ไหม  ?

ใช่.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 24

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   มีมูลที่เป็นกุศลมูล   มีอยู่   ธรรมเหล่า

นั้นทั้งหมด  เป็นกุศล ใช่ไหม ?

รูปที่มีกุศลเป็นสมุฎฐาน   มีมูลที่เป็นกุศลมูล  แต่ไม่ใช่เป็กุศล

กุศลธรรมมีมูลที่เป็นกุศลมูลด้วย   เป็นกุศลด้วย.

๒.   เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เป็นกุศล มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด

มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกบกุศลมูล  ใช่ไหม ?

ใช่.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด  มีมูลที่เรียกว่าเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล

มีอยู่ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นกุศลมูล   ใช่ไหม ?

รูปที่มีกุศลเป็นสมุฏฐาน    มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

กุศลมูล แต่ไม่ใช่เป็นกุศล     กุศลธรรมมีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียว

กันกับกุศลมูลด้วย   เป็นกุศลด้วย,

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง      มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

กุศลมูล    มีอยู่,     ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด    มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กัน

และกันกับกุศลมูล  ใช่ไหม ?

กุศลมูลเหล่าใดเกิดขึ้นคราวเดียวกัน  กุศลมูลเหล่านั้น    มีมูลที่

เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันด้วย มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกันด้วย,


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 25

ธรรมที่เกิดพร้อมกับกุศลมูลที่เหลือนอกนั้น    มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอัน

เดียวกันกับกุศลมูล   แต่ไม่มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกัน.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด     มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับ

กุศลมูล มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นกุศล  ใช่ไหม ?

ใช่.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 26

[๑๐]            มูลวารนิทเทสในอกุสลบท

มูลนยะที่  ๑

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นอกุศล   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด  ชื่อว่าอกุศลมูล   ใช่ไหม ?

มูลมี  ๓   เท่านั้น  ชื่อว่าอกุศลมูล  อกุศลธรรมที่เหลือนอกนั้น

ไม่ชื่อว่ากุศลมูล.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   ชื่อว่าอกุศลมูล  มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด เป็นอกุศล   ใช่ไหม ?

ใช่.

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง    ที่เป็นอกุศล   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล  ใช่ไหม ?

อกุศลที่เป็นอเหตุกะ          ไม่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล

อกุศลที่เป็นสาเหตุกะ   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล  มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นอกุศล   ใช่ไหม ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 27

รูปที่มีอกุศลเป็นสมุฏฐาน       มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล

แต่ไม่ใช่เป็นอกุศล      อกุศลธรรมมีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูลด้วย

เป็นอกุศลด้วย.

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล  มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับอกุศลมูล ใช่ไหม ?

อกุศลมูลเหล่าใดเกิดขึ้นคราวเดียวกัน   อกุศลมูลเหล่านั้น  มีมูล

เป็นอันเดียวกันด้วย      ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันด้วย,       ธรรมที่เกิด

พร้อมกันกับอกุศลมูลที่เหลือนอกนั้น  มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล

ไม่ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกัน.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด      ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับอกุศลมูล

มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นอกุศล  ใช่ไหม ?

ใช่.

[๑๑]                       มูลมูลนยะที่  ๒

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง    ที่เป็นอกุศล    มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   ชื่อว่ามูลที่เป็นอกุศลมูล  ใช่ไหม ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 28

มูลมี  ๓  เท่านั้น  ชื่อว่ามูลที่เป็นอกุศลมูล,อกุศลธรรม

นอนนั้น  ไม่ชื่อว่ามูลที่เป็นอกุศลมูล.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด ชื่อว่ามูลที่เป็นอกุศลมูล  มีอยู่  ธรรม

เหล่านั้นทั้งหมด  เป็นอกุศล  ใช่ไหม ?

ใช่.

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เป็นอกุศล  มีอยู่ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด  มีมูลที่เรียวว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอกุศลมูล  ใช่ไหม ?

อกุศลที่เป็นอเหตุกะ  ไม่มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

อกุศลมูล,  อกุศลที่เป็นสเหตุกะ  มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

อกุศลมูล.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด  มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

อกุศลมูล  มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นอกุศล  ใช่ไหม ?

รูปที่มีอกุศลที่เป็นสมุฏฐาน  มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกัน

อกุศลมูล  แต่ไม่ใช่อกุศล,  อกุศลธรรมมีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกัน

กับอกุศลมูลด้วย  เป็นอกุศลด้วย.

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 29

อกุศลมูล   มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด    ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่

กันและกันกับอกุศลมูล  ใช่ไหม ?

อกุศลมูลเหล่าใดเกิดขึ้นคราวเดียวกัน   อกุศลมูลเหล่านั้น  มีมูล

ทีเรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันด้วย     ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและ

กันด้วย   ธรรมที่เกิดพร้อมกันกับอกุศลมูลที่เหลือนอกนั้น   มีมูลที่เรียก

ว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอกุศลมูล      แต่ไม่ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่

กันและกัน

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกัน

กับอกุศลมูล.   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นอกุศล   ใช่ไหม ?

ใช่.

๑๒]                      มูลกนยะที่  ๓

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นอกุศล    มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้ง

หมด   มีมูลที่เป็นอกุศล  ใช่ไหม ?

อกุศลที่เป็นอเหตุกะไม่มีมูลที่เป็นอกุศล        อกุศลที่เป็นสาเหตุกะ

มีมูลที่เป็นอกุศล   ( อกุสลมูลก )

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใดมีมูลที่เป็นอกุศล   มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด    เป็นอกุศล   ใช่ไหม ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 30

รูปที่มีอกุศลเป็นสมุฏฐานมีมูลที่เป็นอกุศลมูล       แต่ไม่ใช่เป็น

อกุศล,   อกุศลธรรมมีมูลที่เป็นอกุศลมูลด้วย  เป็นอกุศลด้วย.

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นอกุศล มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด

มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอกุศลมูล  ใช่ไหม ?  (เอกมูลมูล ๓ )

อกุศลที่เป็นอเหตุกะไม่มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอกุศล

มูล,   อกุศลที่เป็นสเหตุกะมีมูลที่เรียกว่าเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด         มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

อกุศลมูล   มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นอกุศล    ใช่ไหม  ?

รูปที่มีอกุศลเป็นสมุฏฐานมีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

อกุศลมูล     แต่ไม่ใช่เป็นอกุศล,    อกุศลธรรมมีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอัน

เดียวกันกับอกุศลมูลด้วย   เป็นอกุศลด้วย.

๓.   อัญญมัญญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง      มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

อกุศลมูล  มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและ

กันกับอกุศลมูล  ใช่ไหม ?

อกุศลมูลเหล่าใดเกิดขึ้นคราวเดียวกัน     อกุศลมูลเหล่านั้นมีมูล

ที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันด้วย      มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกัน


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 31

ด้วย,   ธรรมที่เกิดพร้อมกับอกุศลมูลที่เหลือนอกนั้น  มีมูลที่เรียกว่าเป็น

มูลอันเดียวกันกับอกุศลมูล   แต่ไม่มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกัน.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด          มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกับ

อกุศลมูล   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นอกุศล   ใช่ไหม ?

ใช่.

[๑๓]                       มูลมูลกนยะที่  ๔

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นอกุศล มีอยู่ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด

มีมูลที่เป็นอกุศลมูล  ใช่ไหม ?

อกุศลที่เป็นอเหตุกะไม่มีมูลที่เป็นอกุศลมูลอกุศลที่เป็นสาเหตุกะ

มีมูลที่เป็นอกุศลมูล   ( อกุสลมูลมูลก)

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใดมีมูลที่เป็นอกุศลมูล มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด  เป็นอกุศล  ใช่ไหม ?

รูปที่มีอกุศลเป็นสมุฏฐานมีมูลเป็นอกุศลมูล แต่ไม่ใช่เป็นอกุศล,

อกุศลธรรมมีมูลที่เป็นอกุศลมูลด้วย   เป็นอกุศลด้วย.

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นอกุศล มีอยู่ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด

มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล   ใช่ไหม ?   ( เอกมูลกา )


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 32

อกุศลที่เป็นอเหตุกะไม่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล,  อกุศล

ที่เป็นสเหตุกะมีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล

มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นอกุศลมูล   ใช่ไหม ?

รูปที่มีอกุศลเป็นสมูฏฐาน       มีเป็นมูลอันเดียวกันกับอกุศลมูล

แต่ไม่ใช่เป็นอกุศล     อกุศลธรรมมีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมลด้วย

เป็นอกุศลด้วย.

๓. อัญญมัญญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีมูลแก่กันและกันกับอกุศล  ใช่ไหม ?

อกุศลมูลเหล่าใดเกิดขึ้นคราวเดียวกัน     อกุศลมูลเหล่านั้นมีมูล

เป็นอันเดียวกันด้วย มีมูลแก่กันและกันด้วย,  ธรรมที่เกิดพร้อมกับอกุศล

มูลที่เหลือนอกนั้น   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล   แต่ไม่ใช่มีมูลแก่

กันและกัน.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใดมีมูลแก่กันและกันกับอกุศลมูล        มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นอกุศล  ใช่ไหม  ?

ใช่.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 33

[๑๔]          มูลวารนิทเทสในอัพยากตบท

มูลนยะที่  ๑

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ที่เป็นอัพยากตะ  มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด  ชื่อว่าอัพยากตมูล  ใช่ไหม ?

มูลที่เป็นอัพยากตกะมี  ๓  เท่านั้น  ชื่อว่าอัพยากตมูล  อัพยากต-

ธรรมที่เหลือนอกนั้น  ไม่ชื่อว่าอัพยากตมูล.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   ชื่อว่าอัพยากตมูล  มีอยู่.  ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด  เป็นอัพยากตะ  ใช่ไหม ?

ใช่.

๒.  เอกมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ที่เป็นอัพยากตะ  มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด    มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล  ใช่ไหม ?

อัพยากตะที่เป็นอเหตุกะ ไม่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล,

อัพยากตะที่เป็นสเหตุกะ   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นอัพยากตะ   ใช่ไหม ?

ใช่.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 34

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง        มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล

มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับอัพยากตมูล

ใช่ไหม ?

อัพยากตมูลเหล่าใดเกิดขึ้นคราวเดียวกัน  อัพยากตมูลเหล่านั้น

มีมูลเป็นอันเดียวกันด้วย   ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันด้วย,   ธรรมที่เกิด

พร้อมกันกับอัพยากตมูลที่เหลือนอกนั้น  มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยา-

กตมูล   แต่ไม่ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกัน.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด     ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับอัพยากต

มูล   มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นอัพยากต   ใช่ไหม ?

ใช่.

[๑๕]                       มูลมูลนยะที่  ๒

๑.  มูลยมกะ :-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   เป็นอัพยากตะ   มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   ชื่อว่ามูลที่เป็นอัพยากตมูล   ใช่ไหม ?

มูลที่เป็นอัพยาตมูลมี ๓ เท่านั้น    ชื่อว่ามูลที่เป็นอัพยากตมูล,

อัพยากตธรรมที่เหลือนอกนั้น   ไม่ชื่อว่ามูลที่เป็นอัพยากตมูล.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด  ชื่อว่ามูลที่เป็นอัพยากตมูล มีอยู่,   ธรรม

เหล่านั้น ทั้งหมด   เป็นอัพยากตะ   ใช่ไหม ?

ใช่.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 35

๒.  เอกมูลยมกะ :-    (เอกมูลมูลา )

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นอัพยากตะ  มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอัพยากตมูล  ใช่ไหม ?

อัพยากตะที่เป็นอเหตุกะ     ไม่มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกัน

กับอัพยากตมูล,            อัพยากตะที่เป็นสเหตุกะมีมูลเป็นอันเดียวกันกับ

อัพยากตมูล.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด         มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

อัพยากตมูล  มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นอัพยากตะใช่ไหม  ?

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ :-     (อญฺญมญฺญมูลมูลา)

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง       มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

อัพยากตมูล   มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด    ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูล

แก่กันและกันกับอัพยากตมูล   ใช่ไหม ?

¹³ยกศัพท์ บรรทัดที่ ๑๓อัพยากตมูลเหล่าใดเกิดขึ้นคราวเดียวกัน    อัพยากดมูลเหล่านั้น

มีมูลที่เรียกว่าเป็นอันเดียวกันด้วย   ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและ

กันด้วย,  ธรรมที่เกิดพร้อมกันกับอัพยากตมูลที่เหลือนอกนั้น    มีมูลที่

เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอัพยากตมูล   แต่ไม่ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็น

มูลแก่กันและกัน.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 36

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกัน

กับอัพยากตมูล มีอยู่ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นอัพยากตะ   ใช่ไหม  ?

ใช่.

[๑๖ ]                         มูลกนยะที่  ๓

๑.  มูลยมกะ  (มูลกา)

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ที่เป็นอัพยากตะ  มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด    มีมูลที่เป็นอัพยากตะ  ใช่ไหม ?

อัพยากตะที่เป็นอเหตุกะ  ไม่มีมูลที่เป็นอัพยากตะ,   อัพยากตะที่

เป็นสเหตุกะ   มีมูลที่เป็นอัพยากตะ.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   มีมูลที่เป็นอัพยากตะ  มีอย่,   ธรรมเหล่า

นั้นทั้งหมด   เป็นอัพยากตะ  ใช่ไหม  ?

ใช่.

๒.   เอกมูลยมกะ :-    ( เอกมูลกา )

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ที่เป็นอัพยากตะ  มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด    มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตะมูล  ใช่ไหม  ?

อัพยากตะที่เป็นอเหตุกะ ไม่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล,

อัพยากตะที่เป็นสเหตุกะ   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด  มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล มีอยู่

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นอัพยากตะ   ใช่ไหม  ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 37

ใช่.

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ :- (อญฺมญฺมูลมูลกา)

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  มีมูลเป็นอันเดียวกับอัพยากตมูล  มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   มีมูลแก่กันและกันกับอัพยากตมูล   ใช่ไหม  ?

อัพยากตมูลเหล่าใดเกิดขึ้นคราวเดียวกัน    อัพยากตมูลเหล่านั้น

มีมูลเป็นอันเดียวกันด้วย  มีมูลแก่กันและกันด้วย,  ธรรมที่เกิดพร้อมกัน

กับอัพยากตมูลที่เหลือนอกนั้น  มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล  แต่

ไม่ใช่มีมูลแก่กันและกัน.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใดมีมูลแก่กันและกันกับอัพยากตมูล    มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นอัพยากตะ    ใช่ไหม  ?

ใช่.

[๑๗ ]                      มูลมูลกนยะที่  ๔

๑.  มูลยมกะ  (มูลมูลกา )

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ที่เป็นอัพยากตะมีอยู่,   ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   มีมูลที่เป็นอัพยากตมูล  ใช่ไหม ?

อัพยากตะที่เป็นอเหตุกะ  ไม่มีมูลที่เป็นอัพยากตมูล,   อัพยากตะ

ที่เป็นสเหตุกะ   มีมูลที่เป็นอัพยากตมูล.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 38

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด  มีมูลที่เป็นอัพยากตะมูล  มีอยู่,  ธรรม

เหล่านั้นทั้งหมด  เป็นอัพยากตะ  ใช่ไหม  ?

๒.  เอกมูลยมกะ (เอกมูลมูลกา)

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ที่เป็นอัพยากตะ  มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด  มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอัพยากตมูล  ใช่ไหม  ?

อัพยากตธรรมที่เป็นอเหตุกะ  ไม่มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียว

กันกับอัพยากตะมูล,  อัพยากตะที่เป็นสาเหตุกะ  มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูล

ใช่.

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ  (อญฺญมญฺญมูลมูลกา)

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

อัพยากตมูล  มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่

กันและกันกับอัพยากตมูล  ใช่ไหม  ?

อัพยากตมูลเหล่าใดเกิดขึ้นคราวเดียวกัน  อัพยากตมูลเหล่านั้น

มีมูลที่เรียวกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอัพยากตมูลด้วย  มีมูลที่เรียกว่าเป็น

มูลแก่กันและกันด้วย,  ธรรมที่เกิดร่วมกับอัพยากตมูลที่เหลือนอกนั้น


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 39

มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอัพยากตมูล  แต่ไม่ใช่มีมูลที่เรียกว่า

เป็นมูลแก่กันและกัน.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด      มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับ

อัพยากตมูล.   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นอัพยากตะ  ใช่ไหม ?

ใช่.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 40

มูลวารนิทเทสในนามบท

๑๘ ]                        มูลนยะที่  ๑

๑.  มูลยมกะ   ( มูลา)

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง    ที่เป็นนาม    มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด    ชื่อว่านามมูล   ใช่ไหม ?

มูลมี ๙ เท่านั้น     ชื่อว่านามมูล,     นามธรรมที่เหลือนอกนั้น

ไม่ชื่อว่านามมูล.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด     ชื่อว่านามมูล    มีอยู่,     ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด  เป็นนาม  ใช่ไหม  ?

ใช่.

๒.   เอกมูลยมกะ   ( เอกมูลา )

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง    ที่เป็นนาม    มีอยู่,     ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด    มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล  ใช่ไหม ?

นามธรรมที่เป็นอเหตุกะ      ไม่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล,

นามธรรมที่เป็นสเหตุกะ   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล.

 

๑.  กุศลมูล ๓,  อกุศลมูล ๓,  อัพยากตมูล ๓  รวมเป็น ๙.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 41

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล    มีอยู่,

ธรรมเหลานั้นทั้งหมด   เป็นนาม  ใช่ไหม  ?

รูปที่มีนามเป็นสมุฏฐาน   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล   แต่

ไม่ใช่นามมูล,    นามธรรม    มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูลด้วย   เป็น

นามด้วย.

๓.   อัญญมัญญมูลยมกะ  (อญฺญมญฺญมูลา)

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ที่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับนามมูล  ใช่ไหม ?

นามมูลเหล่าใดเกิดขึ้นคราวเดียวกัน    นามมูลเหล่านั้น    มีมูล

เป็นอันเดียวกันด้วย  ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันด้วย,  ธรรมที่เกิดพร้อม

กับนามมูลที่เหลือนอกนั้น มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล  แต่ไม่ชื่อว่า

เป็นมูลแก่กันและกัน.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด       ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับนามมูล

มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นนาม  ใช่ไหม  ?

ใช่.

[๑๙]             มูลมูลนยะที่  ๒

๑.  มูลยมกะ  (มูลมูลา)

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง    ที่เป็นนาม    มีอยู่,     ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   ชื่อว่ามูลที่เป็นนามมูล  ใช่ไหม  ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 42

มูล ๙ เท่านั้น      ชื่อว่ามูลที่เป็นนามมูล,      นามธรรมที่เหลือ

นอกนั้นไม่ชื่อว่ามูลที่เป็นนามมูล.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   ชื่อว่ามูลที่เป็นนามมูล    มีอยู่,    ธรรม

เหล่านั้นทั้งหมด   เป็นนาม  ใช่ไหม ?

ใช่.

๒.   เอกมูลยมกะ   ( เอกมูลมูลา )

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง    ที่เป็นนาม    มีอยู่,     ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด  มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับนามมูล   ใช่ไหม ?

นามธรรมที่เป็นอเหตุกะ    ไม่มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกัน

กับนามมูล    นามธรรมที่เป็นสเหตุกะ      มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียว

กันกับนามมูล.

ก็หรือว่า  ธรรมเหล่าใดมีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับนาม

มูล   มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นนาม  ใช่ไหม ?

รูปที่เป็นนามสมุฏฐาน       มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

นามมูล แต่ไม่ใช่เป็นนาม,  นามธรรมมีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกัน

กับนามมูลด้วย   เป็นนามด้วย.

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ.  (อญฺญมญฺญมูลมูลา)

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง      มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

นามมูล  มีอยู่   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กัน

และกัน   ใช่ไหม  ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 43

นามมูลเหล่าใดเกิดขึ้นคราวเดียวกัน   นามมูลเหล่านั้น    มีมูลที่

เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันด้วย  ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกัน

ด้วย,     ธรรมที่เกิดพร้อมกันกับนามมูลที่เหลือนอกนั้น    มีมูลที่เรียกว่า

เป็นมูลอันเดียวกันกับนามมูล      แต่ไม่ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กัน

และกัน.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด   ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกัน

กับนามมูล  มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นนาม  ใช่ไหม  ?

ใช่.

[๒๐]                        มูลกนยะที่ ๓

๑.  มูลยมกะ   ( มูลกา )

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง    ที่เป็นนาม    มีอยู่,    ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด   มีนามมูล  ใช่ไหม  ?

นามธรรมที่เป็นอเหตุกะ ไม่มีนามมูลนามธรรมที่เป็นสเหตุกะ

มีนามมูล.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใดมีนามมูล    มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด

เป็นนาม  ใช่ไหม  ?

รูปที่มีนามเป็นสมุฏฐาน   มีนามมูล   แต่ไม่ใช่เป็นนาม,    นาม

ธรรมมีนามมูลด้วย   เป็นนามด้วย.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 44

๒.   เอกมูลยมกะ   ( เอกมูลกา )

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เป็นนามมีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด

มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล  ใช่ไหม ?

นามธรรมที่เป็นอเหตุกะ     ไม่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล

นามธรรมที่เป็นสเหตุกะ   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด    มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล   มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นนาม  ใช่ไหม ?

รูปที่มีนามเป็นสมุฏฐาน   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล   แต่

ไม่ใช่นาม,     นามธรรม     มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูลด้วย    เป็น

นามด้วย.

๓.  อัญญมัญญมูลยมกะ (อญฺมญฺมูลกา)

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล  มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   มีมูลแก่กันและกันกับนามมูล   ใช่ไหม ?

นามมูลเหล่าใดเกิดขึ้นคราวเดียวกัน    นามมูลเหล่านั้น    มีมูล

เป็นอันเดียวกันด้วย   มีมูลแก่กันและกันด้วย,   ธรรมที่เกิดพร้อมกันกับ

นามมูลที่เหลือนอกนั้น  มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล   แต่ไม่ใช่มีมูล

ที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกัน.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด     มีมูลแก่กันและกันกับนามมูล     มีอยู่,

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นนาม  ใช่ไหม  ?

ใช่.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 45

[๒๑]                       มูลมูลกนยะที่  ๔

๑.  มูลยมกะ   ( มูลมูลกา)

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นนาม มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด

มีมูลที่เป็นนามมูล  ใช่ไหม  ?

นามธรรมที่เป็นอเหตุกะ    ไม่มีมูลที่เป็นนามมูล,    นามธรรม

ที่เป็นสเหตุกะมีมูลที่เป็นนามมูล.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใดมีมูลที่เป็นนามมูล  มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด  เป็นนาม  ใช่ไหม  ?

รูปที่มีนามเป็นสมุฏฐาน  มีมูลที่เป็นนามมูล  แต่ไม่ใช่เป็นนาม,

นามธรรมมีมูลที่เป็นนามมูลด้วย   เป็นนามด้วย.

๒.  เอกมูลยมกะ   ( เอกมูลมูลกา )

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นนาม  มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด

มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับนามมูล   ใช่ไหม  ?

นามธรรมที่เป็นอเหตุกะ    ไม่มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกัน

กับนามมูล,    นามธรรมที่เป็นสเหตุกะ    มีมูลทีเรียกว่าเป็นมูลอันเดียว

กันกับนามมูล.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใดมีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับนาม

มูล   มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด    เป็นนาม   ใช่ไหม  ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 46

รูปที่มีนามเป็นสมุฏฐาน     มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ

นามมูล   แต่ไม่เป็นนาม,    นามธรรม    มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียว

กันกับนามมูลด้วย   เป็นนามด้วย.

๓.   อัญญมัญญมูลยมกะ   ( อญฺมฺมูลมูลกา )

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับนาม

มูลมีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด    มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกัน

กับนามมูล   ใช่ไหม ?

นามมูลเหล่าใดเกิดขึ้นคราวเดียวกัน       นามมูลเหล่านั้นมีมูลที่

เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันด้วย มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกันด้วย,

ธรรมที่เกิดพร้อมกันกับนามมูลที่เหลือนอกนั้น    มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูล

อันเดียวกันกับนามมูล  แต่ไม่มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกัน.

ก็หรือว่าธรรมเหล่าใดมีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับ

นามมูล  มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด   เป็นนาม  ใช่ไหม ?

ใช่.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 47

เหตุวาราทินิทเทส

๒๒ ]   ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นกุศล มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด     ชื่อว่า      กุศลเหตุ,... กุศลนิทาน,...กุศลสัมภวะ,...กุศล

ปภวะ,...กุศลสมุฏฐาน,...กุศลาหาร,...กุศลารัมมณะ,...กุศลปัจ-

จัย,...กุศลสมุทัย.

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นอกุศล   มีอยู่,....

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นอัพยากตะ   มีอยู่,....

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นนาม   มีอยู่,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด

เป็นนามเหตุ,...นามนิทาน,...นามสัมภวะ,...นามปภวะ,...นาม

สมุฏฐาน,...นามาหาร,...นามารัมมณะ,...นามปัจจัย,...นามสมุทัย.

มูลยมก   มีวาระ  ๑๐   คือ :-

มูลวาระ,   เหตุวาระนิทานวาระสัม-

ภววาระ,  ปภววาระ,  สมุฏฐานวาระ,  อาหารวาระ,

อารัมมณวาระ,   ปัจจยวาระ,   สมุทยวาระ.

มูลยมก  จบ

 

๑.  พึงทำ  นยะ  ๔ยมกะ  ๓,  อนุโลม,  ปฏิโลม,  ปุจฉา  วิสัชนาเหมือนในมูล

วารนิทเทสทุกประการ  ในที่นี้พระบาลีท่านเปยยาละไว้.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 48

อรรถกถามูลยมกะ

นิทเทสวาระ

บัดนี้         พระผู้มีพระภาคทรงเริ่มนิทเทสวาระโดยนัยเป็นต้นว่า

เยเกจิ  กุสลา ธมฺมา  =  ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นกุศล (มีอยู่).

ในคำเหล่านั้น  คำว่า   เยเกจิ  = เหล่าใดเหล่าหนึ่ง   เป็นคำที่-

แสดงถึงกุศลทั้งหมดโดยไม่มีส่วนเหลือ.

สองบทว่า   กุสลา   ธมฺมา  ได้แก่สภาวะธรรมที่เป็นกุศล   ไม่มี

โทษ    มีผลเป็นความสุข      อันเป็นลักษณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

แล้วในบทภาชนะแห่งกุศลติกะ.

หลายบทว่า   สพฺเพ  เต  กุสลมูลา   =   ธรรมเหล่านั้นทั้งปวง

เป็นกุศลมูลหรือ   ได้แก่ย่อมถามว่า  ธรรมทั้งปวงนั่นแหละเป็นกุศลมูล

ใช่ไหม ?

สองบทว่า   ตีเณว  กุสลมูลานิ  =   สามเท่านั้นชื่อว่ากุศลมูล

ได้แก่ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดไม่ชื่อว่า  กุศลมูล  อธิบายว่า  มูล ๓ มีอโลภะ

เป็นต้นเท่านั้น   ชื่อว่ากุศลมูล.

หลายบทว่า  อวเสสา  กุสลา  ธมฺมา น กุสลมูลา  =  ธรรม ท.

ที่เหลือชื่อว่ากุศล  แต่ไม่ชื่อว่ากุศลมูล   ได้แก่   กุศลธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือมีผัสสะเป็นต้น    ไม่ชื่อว่ากุศลมูล   อีกอย่างหนึ่งอธิบายว่า   กุศล

ทั้งหลายที่เหลือมีผัสสะเป็นต้น  ชื่อว่ากุศลธรรมเท่านั้นไม่ชื่อว่ากุศลมูล.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 49

หลายบทว่า   เยวาปน  กุสลมูลา  =   ก็หรือว่ากุศลมูลเหล่าใด

ได้แก่มูล ๓  มีอโลภะเป็นต้น  ท่านถือเอาแล้วว่า  ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด

เป็นกุศลมูล   ด้วยบทที่สองแห่งปุจฉาแรก.

หลายบทว่า  สพฺเพ เต  ธมฺมา กุสลา   =   ธรรมเหล่านั้นทั้งปวง

เป็นกุศลหรือ  ได้แก่ย่อมถามว่า  ธรรมทั้งหลายแม้ ๓ ทั้งหมดเหล่านั้น

เป็นกุศลหรือ  คำว่า อามนฺตา=ใช่ ได้แก่  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว

เพื่อจะทรงรับรองความที่แห่งกุศลมูลทั้งหลายแม้ทั้งหมดเป็นกุศล นี้เป็น

เนื้อความของมูลยมกในมูลนัย   พึงทราบนัยแห่งการวิสัชนา     ในปุจฉา

ทั้งปวงโดยอุบายนี้.

ความแปลกกันอันใด   มีอยู่ในที่ใด  ข้าพเจ้า   ( พระพุทธโฆษา-

จารย์)    จักพรรณนาความแปลกกันนั้น   ในที่นั้นต่อไป   กล่าวคือใน

เอกมูลยมก      กุศลทั้งหลายบัณฑิตไม่ควรถือเอากุศลที่มีมูลอันหนึ่งด้วย

อรรถแห่ การนับ     แต่ควรถือเอาด้วยอรรถแห่งการนับ    แต่ควรถือเอา

ด้วยอรรถที่เสมอกันว่าธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีมูลเป็นอันเดียวกันกับ

กุศลมูล   อธิบายว่า    ในเอกมูลยมกนี้   กุศลเหล่านั้นทั้งหมดมีมูลที่เสมอ

กันกับกุศลมูล      มูลใดเป็นมูลของผัสสะ     มูลนั้นก็เป็นมูลของธรรม

ทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นนั่นแหละ        ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมียู่

พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงรับรองความที่กุศลเหล่านั้นเป็นอย่างนั้น   จึง

ตรัสคำว่า   อามนฺตา  = ใช่.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 50

คำว่า   กุสลสมุฏฺาน  ท่านแสดงรูปซึ่งมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน.

คำว่า   เอกมูล  ได้แก่มีมูลเสมอกันกับกุศลมูลมีอโลภะเป็นต้น

มูลทั้งหลายมีอโลภะเป็นต้น   ชื่อว่า   มูล    เพราะเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่

ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้นฉันใด    มูลนั้นก็เป็นมูลแม้แก่สมุฏฐานรูป

ฉันนั้น    แต่สมุฏฐานรูปนั้นไม่ใช่กุศล     เพราะความไม่มีลักษณะแห่ง

กุศล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสถามในยมกอื่น ๆ ว่า เยเกจิ  กุสลา =

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นกุศล   ( มีอยู่ )   แต่ตรัสถามว่า    เยเกจิ

กุสลมูเลน  เอกมูลา  =  ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีมูลเป็นอันเดียวกัน

กับกุศล  ( มีอยู่ ).

ถามว่า   เพราะเหตุไร  ?   ตอบว่า   เพราะเนื้อความนั้นนั่นแหละ

มีอยู่พร้อมโดยพยัญชนะแม้นั้น    คำว่า    กุสลมูลานิ    นี้เป็นวิเสสนะ

ของคำก่อน     จริงอยู่พระองค์ตรัสว่า    มูลเหล่าใด    ย่อมเกิดขึ้นโดย

ความเป็นอันเดียวกัน   ก็มูลเหล่านั้นเป็นกุศลมูลบ้างเป็นอกุศลมูลบ้าง

เป็นอัพยากตมูลบ้าง   คำนี้ท่านกล่าวไว้    เพื่อแสดงความวิเศษของคำว่า

กุสลมูลานิ.

คำว่า    อญฺมญฺมูลานิ  จ   =  เป็นมูลซึ่งกันและกันด้วย

อธิบายว่า มูลทั้งหลายย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัย กะกันและกันโดยเป็นเหตุ

เป็นปัจจัย  ในปฏิโลมปุจฉา  ไม่ตรัสว่า  สพฺเพ  เต ธมฺมา กุสลมูเลน


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 51

เอกมูลา  = ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล

แต่ตรัสว่า  สพฺเพ  เต  ธมฺมา  กุสลา  =   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็น

กุศล  ถามว่า เพราะเหตุไร  ตอบว่า เพราะไม่มีเนื้อความแปลกกันก็เมื่อ

จะทำการปุจฉาว่า   กุสลมูเลน  เอกมูลา  =   มีมูลเป็นอันเดียวกันกับ

กุศลมูลหรือ  ดังนี้  พึงทำการสัชชนาตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังว่า

มูลานิ   ยานิ   เอกโต    อุปฺปชฺชนฺติ  =  มูลทั้งหลายเหล่าใดเกิดขึ้น

คราวเดียวกัน      ก็เมื่อความแปลกกันแห่งเนื้อความไม่มีอยู่     เหตุนั้น

พระองค์จึงไม่ทรงกระทำการถามอย่างนั้น  แต่ทรงกระทำการถามอย่างนี้

แม้ในมูลนัย เป็นต้น ในอัญญมัญญมูลยมก ก็พึงทราบคำถามที่แปลกกัน

โดยอุบายนี้.

ใน   มูลมูลนัย   คำว่า   สพฺเพ  เต    กุสลมูลมูลา  = ธรรม

ทั้งหลายเหล่านั้นมีมูลที่เป็นกุศลมูล    ได้แก่    ย่อมถามว่า   ธรรม

ทั้งหลายเหล่านั้น   ชื่อว่ามูล   กล่าวคือกุศลมูลหรือ   คำว่า   เอก-

มูลมูลา  มีมูลที่เรียกว่ามูลอันเดียวกัน  ดังนี้   อธิบายว่า  มูลที่เป็น

มูลอันเดียวกันกับกุศลมีอยู่    เหตุนั้น   มูลนั้นจึงชื่อว่า  เป็นมูลที่เรียก

ว่ามูลอันเดียวกัน   เพราะอรรถว่าเสมอกัน.

บทว่า   อญฺมญฺมูลมูลา  =  มีมูลที่เป็นมูลซึ่งกันและกัน

ดังนี้   ได้แก่มูลแก่กันและกัน    ชื่อว่า- อัญญมัญญมูล   คือว่า    อัญญ-


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 52

มัญญมูล    ชื่อว่า    มูลของธรรมเหล่านั้น    เพราะอรรถว่าเป็นเหตุเป็น

ปัจจัย  เหตุนั้น  มูลนั้นจึงชื่อว่า  อัญญมัญญมูลมูล.

ใน   มูลกนัย   บทว่า   กุสลมูลกา  ดังนี้    อธิบายว่า   มูลที่

เป็นกุศลของธรรมเหล่านั้นมีอยู่         เพราะอรรถว่าเป็นเหตุเป็นปัจจัย

เหตุนั้นธรรมเหล่านั้น   จึงชื่อว่า   มีมูลที่เป็นกุศล.

ใน  มูลมูลกนัย   บทว่า   กุสลมูลมูลกา   ดังนี้    อธิบายว่า

มูลของกุศลเหล่านั้นเป็นกุศลมูล  คือ มูลที่เป็นกุศลมูลของกุศลเหล่านั้น

มีอยู่   เพราะอรรถว่าเป็นเหตุเป็นปัจจัย  เหตุนั้นกุศลเหล่านั้น  จึงชื่อว่า

มีมูลที่เรียกว่ากุศลมูล      นี้เป็นเนื้อความพิเศษในนัยยมกปุจฉาเป็นต้น

เพราะอาศัยกุศลบท   เพียงเท่านี้    แม้ในบททั้งหลายมีอกุศลบทเป็นต้น

ก็นัยนี้   ส่วนความพิเศษมีดังนี้.

สองบทว่า   อเหตุก   อกุสล   ตรัสหมายเอาโมหะที่สัมปยุตด้วย

วิจิกิจฉาและอุทธัจจะ สองบทว่า อเหตุก อพฺยากต ได้แก่ธรรมที่เหลือ

เว้นสเหตุกะและอัพยากตสมุฏฐานรูป  ย่อมได้ในที่นี้ว่า  จิตตุปปาท  ๑๘,

รูป และนิพพาน ชื่อว่าไม่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล   สเหตุกะ

และอัพยากตสมุฏฐานรูป  มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล  ท่านทำ

อัพยากตะนั้นให้เป็นอัพโพหาริก      คือสิ่งที่กล่าวอ้างไม่ได้     หรือไม่มี

โวหารแล้ว  จึงกระทำการวิสัชนาด้วยอำนาจของอัพยากตมูลที่ได้อยู่โดย

ความเป็นอันเดียวกัน.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 53

ธรรมทั้งหลายกล่าวคือ    นาม    ชื่อว่า    นามา    ธมฺมา    นาม

เหล่านั้น   ว่าโดยอรรถได้แก่   อรูปขันธ์  ๔  และนิพพาน   สองบทว่า

นเวว   นามมูลานิ   =  ๙  เท่านั้น   ชื่อว่า   นามมูล  ได้แก่มูล ๙ อย่าง

ด้วยอำนาจของกุศล  อกุศล   และอัพยากตมูลนามที่เป็นอเหตุกะ   ไม่มี

มูลอันเดียวกันกับนามมูล      เพราะฉะนั้นนามนั้นจึงชื่อว่าไม่มีเหตุนาม

แม้ทั้งหมด คือ จิตตุปปาท ๑๘  โมหะที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ

และนิพพาน ไม่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล  ก็อเหตุกนามนั้น  ย่อม

ไม่เกิดพร้อมกับนามมูล   อธิบายว่า   สเหตุกนาม  ย่อมเกิดขึ้น พร้อมกัน

กับนามมูล    แม้ในบททั้งหลายว่า    สเหตุก   นาม   นามมูเลน   คำที่

เหลือในที่ทั้งปวงมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น  ด้วยประการฉะนี้.

แม้ในวาระทั้งหลาย  มี  เหตุวาระ    เป็นต้น   พึงทราบเนื้อความ

โดยอุบายนี้   คาถาว่า  มูล  เหตุ  นิทาน  จ   ดังนี้เป็นต้น  พระผู้มีพระภาค

เจ้าตรัสแล้วด้วยอำนาจแห่งอุทานของวาระทั้ง ๑๐  ตามที่ข้าพเจ้าชี้แจงมา

แล้ว   ดังนี้แล.

อรรถกถามูลยมกะ   จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 54

ขันธยมกที่ ๒

ปัณณัตติวารุทเทส

[๒๓]  ขันธ์   ๕  คือ :-

๑.  รูปขันธ์

๒.  เวทนาขันธ์

๓.  สัญญาขันธ์

๔.  สังขารขันธ์

๕.  วิญญาณขันธ์.

อุทเทสวาระ

ปทโสธนวาระ  อนุโลม

๒๔ ]  ธรรมที่ชื่อว่ารูป  ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่ารูปขันธ์,                ชื่อว่ารูป  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา.        ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าเวทนาขันธ์,          ชื่อว่าเวทนา  ใช่ไหม  ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 55

ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา,         ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าสัญญาขันธ์,           ชื่อว่าสัญญา  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าสังขาร,          ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าสังขารขันธ์,            ชื่อว่าสังขาร   ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณ,      ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์,        ชื่อว่าวิญญาณ  ใช่ไหม  ?

ปทโสธนวาระ  อนุโลม  จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 56

ปทโสธนวาระ    ปัจจนิก

๒๕ ]   ธรรมที่ไม่ชื่อว่ารูป,   ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์   ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์,                    ไม่ชื่อว่ารูป  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าเวทวนา,          ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์,              ไม่ชื่อว่าเวทนา ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสัญญา,           ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์,             ไม่ชื่อว่าสัญญา  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขาร,            ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์,              ไม่ชื่อว่าสังขาร   ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าวิญญาณ,        ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์            ไม่ชื่อว่าวิญญาณ   ใช่ไหม ?

ปทโสธนวาระ  ปัจจนิก  จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 57

ปทโสธนมูลจักกวาระ  อนุโลม

รูปขันธมูล

๒๖ ]   ธรรมที่ชื่อว่ารูป,        ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                            ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่ารูป,                     ชื่อว่ารูปขันธ์   ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                            ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่ารูป,                     ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                            ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่ารูป,                     ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                            ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

จบ  รูปขันธมูล

 

เวทนาขันธมูล

ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา,                ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                            ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าเวทวนา,              ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                            ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม  ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 58

ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา,               ชื่อว่าเวทนาขันธ์   ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                           ชื่อว่าสังขารขันธ์   ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา,               ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                           ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม ?

จบ  เวทนาขันธมูล

 

สัญญาขันธมูล

ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา,              ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                            ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา,               ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                            ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา,               ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                            ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา                ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                             ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม ?

จบ  สัญญาขันธมูล


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 59

สังขารขันธมูล

ธรรมที่ชื่อว่าสังขาร,            ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                        ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าสังขาร,            ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                        ชื่อว่าเวทนาขันธ์   ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าสังขาร,            ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                        ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าสังขารขันธ์,     ชื่อว่าสังขารขันธ์   ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                        ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม ?

จบ  สังขารขันธมูล

 

วิญญาณขันธมูล

ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณ,        ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                        ชื่อว่ารูปขันธ์   ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณ,        ชื่อว่าวิญญาณขันธ์ ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                        ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม  ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 60

ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณ,        ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                        ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณ,         ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                         ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม ?

จบ  วิญญาณขันธมูล

ปทโสธนมูลจักกวาระ   อนุโลม   จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 61

ปทโสธนมูลจักกวาระ  ปัจจนิก

รูปขันธมูล

[๒๗]   ธรรมที่ไม่ชื่อว่ารูป,     ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์ ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                       ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์   ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่ารูป,                ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์                        ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่ารูป,                ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                       ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่ารูป,                ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                       ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

จบ  รูปขันธมูล

 

เวทนาขันธมูล

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าเวทนา,           ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม ?  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                       ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าเวทนา,           ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                       ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม  ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 62

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าเวทนา,          ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                      ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าเวทนา,          ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                      ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

จบ   เวทนาขันธมูล

สัญญาขันธมูล

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสัญญา,         ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                       ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสัญญา,          ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                       ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสัญญา,          ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                        ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสัญญา,           ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                        ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

จบ  สัญญาขันธมูล


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 63

สังขารขันธมูล

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขาร,           ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                       ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขาร,           ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                       ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์   ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขาร,           ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                       ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม   ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขาร,           ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์   ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                       ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม ?

จบ   สังขารขันธมูล

วิญญาณขันธมูล

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าวิญญาณ,       ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์    ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                       ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าวิญญาณ,       ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                       ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม  ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 64

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าวิญญาณ,        ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                        ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าวิญญาณ,        ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                        ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม ?

จบ  วิญญาณขันธมูล

ปทโสธนมูลจักกวาระ  ปัจจนิก  จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 65

สุทธขันธวาระ  อนุโลม

๒๘ ]   ธรรมที่ชื่อว่ารูป,     ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม   ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                         ชื่อว่ารูป  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา,             ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                         ชื่อว่าเวทนา  ใช่ไหม   ?

ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา,            ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                         ชื่อว่าสัญญา  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าสังขาร,             ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์                          ชื่อว่าสังขาร   ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณ,        ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                         ชื่อว่าวิญญาณ  ใช่ไหม ?

สุทธขันธวาระ  อนุโลม  จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 66

สุทธขันธวาระ  ปัจจนิก

๒๙ ]   ธรรมที่ไม่ชื่อว่ารูป,     ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                         ไม่ชื่อว่ารูป   ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าเวทนา,             ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                         ไม่ชื่อว่าเวทนา  ใช่ไหม   ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสัญญา,            ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                         ไม่ชื่อว่าสัญญา  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขาร,             ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                         ไม่ชื่อว่าสังขาร   ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าวิญญาณ,         ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                         ไม่ชื่อว่าวิญญาณ   ใช่ไหม  ?

สุทธขันธวาระ  ปัจจนิก  จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 67

สุทธขันธมูลจักกวาระ  อนุโลม

รูปขันธมูล

[๓๐]  ธรรมที่ชื่อว่ารูป,      ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                       ชื่อว่าเวทนา  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่ารูป,                ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                       ชื่อว่าสัญญา  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่ารูป,                ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม   ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                       ชื่อว่าสังขาร   ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่ารูป,                ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                       ชื่อว่าวิญญาณ,  ใช่ไหม  ?

จบ  รูปขันธมูล

เวทนาขันธมูล

ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา,           ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                       ชื่อว่ารูป  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา,           ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                       ชื่อว่าสัญญา  ใช่ไหม  ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 68

ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา,                  ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                              ชื่อว่าสังขาร   ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา,                  ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                              ชื่อว่าวิญญาณ  ใช่ไหม  ?

จบ  เวทนาขันธมูล

สัญญาขันธมูล

ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา,                 ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                               ชื่อว่ารูป  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา,                  ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                               ชื่อว่าเวทนา  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา,                  ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                                ชื่อว่าสังขาร   ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา,                  ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                                ชื่อว่าวิญญาณ  ใช่ไหม  ?

จบ  สัญญาขันธมูล


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 69

สังขารขันธมูล

ธรรมที่ชื่อว่าสังขาร,           ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                       ชื่อว่ารูป  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าสังขาร,           ชื่อว่าขันธ์   ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                       ชื่อว่าเวทนา  ใช่ไหม   ?

ธรรมที่ชื่อว่าสังขาร,           ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                       ชื่อว่าสัญญา  ใช่ไหม   ?

ธรรมที่ชื่อว่าสังขาร,           ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม   ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                       ชื่อว่าวิญญาณ  ใช่ไหม  ?

จบ  สังขารขันธมูล

วิญญาณขันธมูล

ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณ,       ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                       ชื่อว่ารูป  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณ,       ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                       ชื่อว่าเวทนา  ใช่ไหม  ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 70

ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณ,          ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                          ชื่อว่าสัญญา   ใช่ไหม   ?

ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณ,          ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,                          ชื่อว่าสังขาร    ใช่ไหม  ?

จบ   วิญญาณขันธมูล

สุทธขันธมูลจักกวาระ  อนุโลม  จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 71

สุทธขันธมูลจักกวาระ  ปัจจนิก

รูปขันธมูล

๓๑ ]  ธรรมที่ไม่ชื่อว่ารูป,      ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                         ไม่ชื่อว่าเวทนา  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่ารูป,                  ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                         ไม่ชื่อว่าสัญญา   ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่ารูป,                  ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                         ไม่ชื่อว่าสังขาร   ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่ารูป,                  ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                         ไม่ชื่อว่าวิญญาณ,   ใช่ไหม ?

จบ  รูปขันธมูล

เวทนาขันธมูล

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าเวทนา,             ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                         ไม่ชื่อว่ารูป   ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าเวทนา,             ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม   ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                         ไม่ชื่อว่าสัญญา ใช่ไหม   ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 72

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าเวทนา,          ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                      ไม่ชื่อว่าสังขาร   ใช่ไหม   ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าเวทนา,          ไม่ชื่อว่าขันธ์   ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                      ไม่ชื่อว่าวิญญาณ  ใช่ไหม ?

จบ  เวทนาขันธมูล

 

สัญญาขันธมูล

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสัญญา,         ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                       ไม่ชื่อว่ารูป  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสัญญา,          ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                        ไม่ชื่อว่าเวทนา    ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสัญญา,           ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                         ไม่ชื่อว่าสังขาร   ใช่ไหม   ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสัญญา,            ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                         ไม่ชื่อว่าวิญญาณ   ใช่ไหม ?

จบ  สัญญาขันธมูล


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 73

สังขารขันธมูล

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขาร,         ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                     ไม่ชื่อว่ารูป   ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขาร,         ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                     ไม่ชื่อว่าเวทนา  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขาร,         ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                     ไม่ชื่อว่าสัญญา  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขาร,         ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                     ไม่ชื่อว่าวิญญาณ  ใช่ไหม  ?

จบ  สังขารขันธมูล

วิญญาณขันธมูล

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าวิญญาณ,     ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                     ไม่ชื่อว่ารูป    ใช่ไหม ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าวิญญาณ,     ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                     ไม่ชื่อว่าเวทนา  ใช่ไหม  ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 74

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าวิญญาณ,        ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                        ไม่ชื่อว่าสัญญา  ใช่ไหม   ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าวิญญาณ,        ไม่ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม   ?

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,                        ไม่ชื่อว่าสังขาร   ใช่ไหม  ?

จบ  วิญญาณขันธมูล

สุทธขันธมูลจักกวาระ   ปัจจนิก  จบ

ปัณณัตติวารุทเทส  จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 75

อรรถกถาขันธยมก

วรรณนาอุทเทสวาระ

บัดนี้   เป็นการวรรณนา   ขันธยมก  ที่พระผู้มีพระภาคทรง

แสดงไว้ในลำดับต่อจาก  มูลยมก  เพราะทรงรวบรวมซึ่งธรรมทั้งหลาย

มีกุศลเป็นต้น    อันพระองค์ทรงแสดงแล้วในมูลยมก   ด้วยอำนาจแห่ง

ขันธ์   พึงทราบการกำหนดพระบาลีในขันธ์ยมกอย่างนี้ก่อน.

ใน  ขันธยมก    นี้    มี  มหาวาระ ๓   คือ  ปัณณัตติวาระ

ปวัตติวาระ   และปริญญาวาระ.

ในมหาวาระทั้ง ๓ นั้น    ปัณณัตติวาระ       ตรัสเรียกว่า   ปัณ-

ปวัตติวาระ   เพราะทรงกระทำด้วยอำนาจการชำระชื่อของขันธ์ทั้งหลาย.

ปวัตติวาระ     ตรัสเรียกว่า   ปวัตติวาระ    เพราะทรงชำระความ

เป็นไปด้วยอำนาจการเกิดขึ้นและการดับไปของขันธ์ทั้งหลายที่พระองค์

ทรงชำระชื่อแล้ว.

ปริญญาวาระ    ตรัสเรียกว่า    ปริญญาวาระ    เพราะทรงแสดง

ปริญญา ๓ แห่ง   ขันธ์ทั้งหลายอันเป็นไปแล้วตามลำดับ   โดยสังเขป.

ในมหาวาระเหล่านั้น   ปัณณัตติวาระ  พระองค์ทรงกำหนดด้วย

อาการ ๒ อย่าง    ด้วยอำนาจอุทเทสและนิทเทส    ในอุเทสและนิทเทส

แม้เหล่านี้     อุทเทสวาระไม่มีโดยแผนกหนึ่ง    จำเดิมแต่ต้น    พระองค์


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 76

ทรงกำหนดนิทเทสโดยส่วนเดียวด้วยอำนาจปุจฉาและวิสัชนา   บัณฑิต

พึงทราบอุทเทสวาระแห่งปัณณัตติวาระตั้งแต่บทว่า  ปญฺจกฺขนฺธา

เป็นต้น   จนถึง   นขนฺธา  นสงฺขารา   แม้คำว่า   ปุจฉาวาระ  นี้    ก็

เป็นชื่อของอุทเทส   ในปัณณัตติวาระนั้น  บทว่า ปญฺจกฺขนฺธา  ดังนี้

ความว่า   นี้เป็นอุทเทสของขันธ์ทั้งหลายที่พึงถามด้วยอำนาจของยมก.

พึงทราบการกำหนดชื่อของขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น  โดยประเภท

ว่า  รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์  สังขารขันธ์ และวิญญาณ-

ขันธ์.

บัดนี้  นัยวาระ ๔ คือ  ปทโสธนวาระ,  ปทโสธนมูลจักก-

วาระ,  สุทธักขันธวาระ,   สุทธักขันมูลจักกวาระ   ย่อมมีด้วยอำนาจ

ของขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น.

ในนัยวาระเหล่านั้น      วาระที่ทำการชำระบทโดยนัยเป็นต้นว่า

รูป   รูปกฺขนฺโธ   รูปกฺขนฺโธ   รูป     ดังนี้นั่นแหละ   ชื่อว่า  ปทโส-

ธนวาระ     ในปทโสธนวาระนั้น   มี ๒ อย่าง  ด้วยอำนาจอนุโลมและ

ปฏิโลม   ในปทโสธนวาระนั้น   ในอนุโลมวาระมี ๕ ยมก คือ   รูป

รูปกฺขนฺโธ  รูปกฺขนฺโธ   รูป   ดังนี้เป็นต้น  ถึงในปฏิโลมก็มี ๕ อย่าง

คือ  นรูป   นรูปกฺขนฺโธ  นรูปกฺขนฺโธ  นรูป   ดังนี้เป็นต้น.

เบื้องหน้าแต่นี้   เป็นวาระที่ทรงผูกมูลแห่งขันธ์หนึ่ง ๆ แห่งขันธ์

ทั้งหลาย  อันพระองค์ทรงชำระแล้วในปทโสธนวาระเหล่านั้นนั่นแหละ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 77

ให้เป็นจักร     โดยนัยเป็นต้นว่า   รูป   รูปกฺขนฺโธ,  ขนฺธา  เวทนากฺ

ขนฺโธ   ดังนี้    ชื่อว่า   ปทโสธนมูลจักกวาระ     เพราะความที่แห่งจักร

ทั้งหลายอันเป็นมูลแห่งการชำระบทมีอยู่    แม้ในปทโสธนมูลจักกวาระ

นั้นก็มี  ๒  อย่าง     ด้วยอำนาจอนุโลมปฏิโลม     ในอนุโลมและปฏิโลม

เหล่านั้น   ในอนุโลมวาระ  มียมก ๒๐  เพราะกระทำมูลแห่งขันธ์หนึ่ง ๆ

ให้เป็น ๔ มี  รูป  รูปกฺขนฺโธ,   ขนฺธา   เวทนากฺขนฺโธ   ดังนี้เป็นต้น

แม้ในปฏิโลมก็มี  ๒๐ เท่านั้น   เพราะทำมูลแห่งขันธ์หนึ่ง ๆ  ให้เป็น  ๔

มี  นรูป   นรูปกฺขนฺโธ,   นขนฺธา   นเวทนากฺขนฺโธ   ดังนี้เป็นต้น.

เบื้องหน้าแต่นี้วาระที่ดำเนินไปแล้วด้วยอำนาจขันธ์ล้วน ๆ  โดย

นัยเป็นต้นว่า   รูป   ขนฺโธ,   ขนฺธา  รูป    ดังนี้    ชื่อ   สุทธักขันธ-

วาระ  ในสุทธักขันธวาระนั้น   ในปุจฉาว่า   ขนฺธา  รูป   เป็นต้น   พึง

ถือเอาเนื้อความว่า   ขันธ์ทั้งหลาย   ชื่อว่ารูปขันธ์   ใช่ไหม  ?       ขันธ์

ทั้งหลาย   ชื่อว่าเวทนาขันธ์     หรือ     ถามว่า   เพราะเหตุไร     ตอบว่า

เพราะท่านจำแนกไว้ในนิทเทสวาระอย่างนี้.

ก็ใน   นิทเทสวาระ   นั้น   ถามว่า   รูป   ชื่อว่า  ขันธ์หรือ

ตอบว่า  ใช่.

ถามว่า  ขันธ์ทั้งหลาย  ชื่อว่า  รูปขันธ์หรือ ?

ตอบว่า  รูปขันธ์   ชื่อว่า   รูปด้วย   ชื่อว่า  รูปขันธ์ด้วย

ขันธ์ทั้งหลายที่เหลือไม่ชื่อว่ารูปขันธ์    ดังนี้      ท่านยกบทขึ้นจำแนก


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 78

เนื้อความโดยนัยเป็นต้นว่า    ขันธ์ทั้งหลายชื่อว่ารูปขันธ์หรือ    แห่งบท

ทั้งหลาย    ว่าขันธ์ทั้งหลายชื่อว่ารูปหรือ     ดังนี้      ด้วยประการฉะนี้

ก็ด้วยเหตุนั้น    วาระนั้นท่านจึงเรียกว่า   สุทธักขันธวาระ   ในสุทธัก-

ขันธวาระนี้    คำว่า   น   ขนฺธา   เป็นคำที่มีประมาณ    เหมือนในการ

ชำระคำ     ก็สุทธักขันธวาระย่อมได้โดยประการใด ๆ     เนื้อความเทียว

เป็นประมาณ     ย่อมได้โดยประการนั้น ๆ     แม้ในอายตนยมกเป็นต้น

ข้างหน้าก็มีนัยนี้เหมือนกัน    ก็ในสุทธักขันธวาระมี  ๒  อย่าง    ด้วย

อำนาจอนุโลมและปฏิโลม   ในอนุโลมและปฏิโลมเหล่านั้น   ในอนุโลม

วาระมียมก ๕ อย่าง    คือ    รูป    ขนฺโธ,   ขนฺธา   รป    เป็นต้น    แม้

ในปฏิโลมวาระก็มียมก  ๕  อย่าง    คือ    นรูป     นขนฺโธ,      นขนฺธา

นรป   ดังนี้เป็นต้น

เบื้องหน้าแต่นั้นท่านกระทำการผูกมูลแห่งขันธ์หนึ่ง ๆ  แห่งสุท-

ธักขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นโดยนัยเป็นต้นว่า  รูป  ขนฺโธ  ขนธา เวทานา

ให้เป็น  ๔    ชื่อ    สุทธักขันธมูลจักกวาระ     เพราะความที่จักรมี

สุทธักขันธ์เป็นมูลมีอยู่      ในสุทธักขันธมูลจักกวาระนั้น       พึงทราบ

เนื้อความ   โดยนัยเป็นต้นว่า  ขันธ์ทั้งหลาย  ชื่อว่า  เวทนาขันธ์หรือ

แห่งคำถามว่า   ขนฺธา   เวทนา   เป็นต้น

โดยประการนอกนี้  จึงมีความผิดกันกับนิทเทสวาระ  แม้สุทธัก-

ขันธมูลจักกวาระนั้นก็มี  ๒ อย่าง   ด้วยอำนาจอนุโลมและปฏิโลม  ใน


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 79

อนุโลมและปฏิโลมเหล่านั้น   ในอนุโลมวาระมียมก   ๒๐  เพราะกระทำ

มูลแห่งขันธ์หนึ่ง ๆ ให้เป็นจักร ๔ มีบทเป็นต้นว่า  รูป   ขนฺโธ,    ขนฺธา

เวทนา  ดังนี้    แม้ในปฏิโลมวาระก็มี ๒๐ เหมือนกัน   เพราะกระทำมูล

แห่งขันธ์หนึ่ง ๆ ให้เป็น ๔  มีบทเป็นต้นว่า   นรูป   นขนฺโธ,  นขนฺธา

นเวทนา   ดังนี้      พึงทราบอุทเทสวาระแห่งปัณณัตติวาระ   อันประดับ

แล้วด้วยยมก  ๑๐๐  ด้วยคำถาม  ๒๐๐  และด้วยอรรถ   ๔๐๐ เพราะกระทำ

อรรถทั้งหลายให้เป็นสอง   ด้วยอำนาจสันนิฏฐานและสังสยะ   เพื่อการ

ถามในนัยหนึ่ง ๆ อย่างนี้ก่อน   ด้วยประการฉะนี้.

วรรณนาอุทเทสวาระ   จบ.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 80

นิทเทสวาระ

ปทโสธนวาระ  อนุโลม

๓๒]   ธรรมที่ชื่อว่ารูป   ชื่อว่ารูปขันธ์   ใช่ไหม ?

ปิยรูป    สาตรูป    ชื่อว่า    รูป    แต่ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์,    รูปขันธ์

ชื่อว่ารูปด้วย    ชื่อว่ารูปขันธ์ด้วย.

ธรรมที่ชื่อว่ารูปขันธ์   ชื่อว่ารูป   ใช่ไหม ?

ใช่.

[๓๓]  ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา   ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม ?

ใช่.

ธรรมที่ชื่อว่าเวทนาขันธ์   ชื่อว่าเวทนา   ใช่ไหม ?

ใช่.

[๓๔]   ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา   ชื่อว่าสัญญาขันธ์   ใช่ไหม ?

ทิฏฐิสัญญาชื่อว่าสัญญา    แต่ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์    สัญญาขันธ์

ชื่อว่าสัญญาด้วย   ชื่อว่าสัญญาขันธ์ด้วย.

ธรรมที่ชื่อว่าสัญญาขันธ์   ชื่อว่าสัญญา   ใช่ไหม ?

ใช่.

[๓๕]   ธรรมที่ชื่อว่าสังขาร   ชื่อว่าสังขารขันธ์   ใช่ไหม ?

ยกเว้นสังขารเสียแล้ว  สังขารที่เหลือนอกนั้น    ชื่อว่าสังขาร   แต่


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 81

ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์   สังขารขันธ์   ชื่อว่าสังขารด้วย    ชื่อว่าสังขารขันธ์

ด้วย.

ธรรมที่ชื่อว่าสังขารขันธ์   ชื่อว่าสังขาร   ใช่ไหม  ?

ใช่.

๓๖ ]   ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณ,  ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม ?

ใช่.

ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ชื่อว่าวิญญาณ ใช่ไหม   ?

ใช่.

ปทโสธนวาระ  อนุโลม  จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 82

ปทโสธนวาระ    ปัจจนิก

[๓๗]  ธรรมที่ไม่ชื่อว่ารูป  ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์  ไม่ชื่อว่ารูป  ใช่ไหม  ?

ปิยรูป   สาตรูป  ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์   แต่ชื่อว่า    รูป    ยกเว้นรูป

และรูปขันธ์เสียแล้ว     สภาวธรรมที่เหลือนอกนั้น    ไม่ชื่อว่ารูป    และ

ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์.

[๓๘]   ธรรมที่ไม่ชื่อว่าเวทนา  ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์ ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ไม่ชื่อว่าเวทนา  ใช่ไหม ?

ใช่.

[๓๙]   ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสัญญา  ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์ ใช่ไหม ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ไม่ชื่อว่าสัญญา   ใช่ไหม ?

ทิฏฐิสัญญา  ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  เป็นแต่สัญญา  ยกเว้นสัญญา

และสัญญาขันธ์เสียแล้ว    สภาวธรรมที่เหลือนอกนั้น    ไม่ชื่อว่าสัญญา

และไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 83

๔๐ ]    ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขาร  ไม่ชื่อวาสังขารขันธ์ ใช่ไหม   ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์  ไม่ชื่อว่าสังขาร  ใช่ไหม  ?

ยกเว้นสังขารขันธ์เสียแล้ว    สังขารที่เหลือนอกนั้น    ไม่ชื่อว่า

สังขารขันธ์      เป็นแต่สังขาร      ยกเว้นสังขารและสังขารขันธ์เสียแล้ว

สภาวธรรมที่เหลือนอกนั้น  ไม่ชื่อว่าสังขารและไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์.

๔๑ ]  ธรรมที่ไม่ชื่อว่าวิญญาณ ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ไม่ชื่อว่าวิญญาณ   ใช่ไหม  ?

ใช่.

ปทโสธนวาระ  ปัจจนิก  จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 84

อรรถกถาปัณณัตติวาระ

ปทโสธนวาระ

บัดนี้   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มนิทเทสวาระโดยนัยเป็นต้นว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า  รูป  ในปัญหาที่ว่า  " รูป   รูปกฺขนฺโธ

ธรรมที่ชื่อว่ารูป ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?  ดังนี้  รูปเหล่านั้นทั้งหมด

พระองค์ตรัสไว้เพื่อทรงชำระคำว่า   รูปขันธ์.

คำวิสัชนาที่ว่า  ปิยรูป   สาตรูป   รูป  น  รูปกฺขนฺโธ     ปิยรูป

สาตรูป ชื่อว่ารูป ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์  อธิบายว่า  คำว่า  รูปใด  พระองค์

ตรัสว่า รูป  ในคำนี้ว่า  ปิยรูป   สาตรูป  รูปนั้น  ชื่อว่า รูป  เท่านั้น

ไม่ชื่อว่า  รูปขันธ์.

คำวิสัชนาที่ว่า  รูปกฺขนฺโธ     รูปญฺเจว  รูปกฺขนฺโธ   จ     รูป

ขันธ์ชื่อว่า  รูปด้วย  ชื่อว่า  รูปขันธ์ด้วย   อธิบายว่า   ก็รูปใดเป็น

รูปขันธ์ รูปนั้นย่อมควรเพื่อที่จะกล่าวว่าเป็นรูปด้วย  เป็นรูปขันธ์ด้วย.

ในปัญหาที่ว่า รูปกฺขนฺโธ  รูป  รูปขันธ์ชื่อว่ารูป  ใช่ไหม ?   ดังนี้

เพราะรูปขันธ์พึงกล่าวว่าเป็นรูปโดยแน่นอนเท่านั้น   ฉะนั้น   พระองค์

จึงตรัสว่า  อามนฺตา- ใช่ พึงทราบเนื้อความในวิสัชนาทั้งหมดโดยอุบาย

นี้    ส่วนความแปลกกันมีอยู่ในที่ใด   จักพรรณนาความแปลกกันนั้นใน

ที่นั้น.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 85

ใน สัญญายมก  ก่อน คำว่า  " ทิฏฺิสญฺา "  ได้แก่  ทิฏฐิ-

สัญญา  ที่มาแล้วในคำเป็นต้นว่า   " ปปญฺจสฺา "

ใน  สังขารยมก   คำว่า  อวเสสา  สฺงขารา   สังขารทั้งหลาย

ที่เหลือ ได้แก่ สังขารที่มาแล้วในคำเป็นต้นว่า    " อนิจฺจา วต  สงฺขารา "

คำว่า  " สังขารทั้งหลายที่เหลือ"  ได้แก่   สังขตธรรมที่เหลือจากสังขาร

ขันธ์  แม้ในปฏิโลมวาระก็นัยนี้แล.

อรรถกถาปทโสธนวาระ  จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 86

ปทโสธนมูลจักกวาระ  อนุโลม

รูปขันธมูล

[๔๒]  ธรรมที่ชื่อว่ารูป,   ชื่อว่ารูปขันธ์   ใช่ไหม ?

ปิยรูป     สาตรูป   ชื่อว่า    รูป      แต่ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์,    รูปขันธ์

ชื่อว่ารูปด้วย   ชื่อว่ารูปขันธ์ด้วย.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,  ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าเวทนาขันธ์,    ชื่อว่าขันธ์ด้วย    ชื่อว่าเวทนาขันธ์

ด้วย,   ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์   แต่ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์.

[๔๓]  ธรรมที่ชื่อว่ารูป,  ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม ?

ปิยรูป    สาตรูป   ชื่อว่า    รูป    แต่ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์    รูปขันธ์

ชื่อว่ารูปด้วย   ชื่อว่ารูปขันธ์ด้วย.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,   ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าสัญญาขันธ์,    ชื่อว่าขันธ์ด้วย    ชื่อว่าสัญญาขันธ์

ด้วย,  ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์   แต่ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์.

[๔๔]  ธรรมที่ชื่อว่ารูป,  ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ปิยรูป    สาตรูป   ชื่อว่า    รูป    แต่ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์,   รูปขันธ์

ชื่อว่ารูปด้วย   ชื่อว่ารูปขันธ์ด้วย.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 87

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,   ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าสังขารขันธ์,    ชื่อว่าขันธ์ด้วย    ชื่อว่าสังขารขันธ์

ด้วย   ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์  แต่ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์.

๔๕ ]   ธรรมที่ชื่อว่ารูป,   ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ปิยรูป    สาตรูป   ชื่อว่า   รูป   แต่ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์,   รูปขันธ์

ชื่อว่ารูปด้วย   ชื่อว่ารูปขันธ์ด้วย.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,  ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์,   ชื่อว่าขันธ์ด้วย  ชื่อว่าวิญญาณขันธ์

ด้วย,    ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์   แต่ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์.

จบ  รูปขันธมูล

เวทนาขันธมูล

๔๖ ]   ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา,  ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,  ชื่อว่ารูปขันธ์ ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่ารูปขันธ์  ชื่อว่าขันธ์ด้วย  ชื่อว่ารูปขันธ์ด้วย,  ขันธ์

ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์   แต่ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 88

๔๗ ]   ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา,   ชื่อว่าเวทนาขันธ์   ใช่ไหม ?

ใช่.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,   ชื่อว่าสัญญาขันธ์   ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าสัญญาขันธ์,     ชื่อว่าขันธ์ด้วย    ชื่อว่าสัญญาขันธ์

ด้วย,   ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์   แต่ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์.

๔๘ ]   ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา,    ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม ?

ใช่.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,   ชื่อว่าสังขารขันธ์   ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าสังขารขันธ์,    ชื่อว่าขันธ์ด้วย    ชื่อว่าสังขารขันธ์

ด้วย,    ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์   แต่ว่าไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์.

๔๙ ]   ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา,   ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,   ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์,  ชื่อว่าขันธ์ด้วย  ชื่อว่าวิญญาณขันธ์

ด้วย,   ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์   แต่ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์.

จบ  เวทนาขันธมูล


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 89

สัญญาขันธมูล

๕๐ ]  ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา,  ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ทิฏฐิสัญญา  ชื่อว่าสัญญา  แต่ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์สัญญาขันธ์

ชื่อว่าสัญญาด้วย   ชื่อว่าสัญญาขันธ์ด้วย.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,   ชื่อว่ารูปขันธ์    ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่ารูปขันธ์,  ชื่อว่าขันธ์ด้วย  ชื่อว่ารูปขันธ์ด้วย,   ขันธ์

ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์   แต่ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์

๕๑ ]  ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา,   ชื่อว่าสัญญาขันธ์   ใช่ไหม ?

ทิฏฐิสัญญา  ชื่อว่าสัญญา  แต่ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์,  สัญญาขันธ์

ชื่อว่าสัญญาด้วย   ชื่อว่าสัญญาขันธ์ด้วย.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,   ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม   ?

ธรรมที่ชื่อว่าเวทนาขันธ์     ชื่อว่าขันธ์ด้วย    ชื่อว่าเวทนาขันธ์

ด้วย,   ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์   แต่ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์.

๕๒ ]  ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา,   ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ทิฏฐิสัญญา  ชื่อว่าสัญญา  แต่ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์,  สัญญาขันธ์

ชื่อว่าสัญญาด้วย   ชื่อว่าสัญญาขันธ์ด้วย.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์   ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าสังขารขันธ์     ชื่อว่าขันธ์ด้วย     ชื่อว่าสังขารขันธ์

ด้วย,   ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์   แต่ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 90

๕๓]  ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา   ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ทิฏฐิสัญญา  ชื่อว่าสัญญา  แต่ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์   สัญญาขันธ์

ชื่อว่าสัญญาด้วย  ชื่อว่าสัญญาขันธ์ด้วย.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,   ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์   ชื่อว่าขันธ์ด้วย  ชื่อว่าวิญญาณขันธ์

ด้วย,   ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์   แต่ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์.

จบ  สัญญาขันธมูล

สังขารขันธมูล

๕๔  ]  ธรรมที่ชื่อว่าสังขาร   ชื่อว่าสังขารขันธ์    ใช่ไหม ?

ยกเว้นสังขารขันธ์เสียแล้ว    สังขารที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าสังขาร

แต่ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์,     สังขารขันธ์ชื่อว่าสังขารด้วย    ชื่อว่าสังขาร-

ขันธ์ด้วย.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,   ชื่อว่ารูปขันธ์   ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่ารูปขันธ์      ชื่อว่าขันธ์ด้วย      ชื่อว่ารูปขันธ์ด้วย,

ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์   แต่ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 91

[๕๕]   ธรรมที่ชื่อว่าสังขาร,   ชื่อว่าสังขารขันธ์   ใช่ไหม  ?

ยกเว้นสังขารขันธ์เสียแล้ว    สังขารที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าสังขาร

แต่ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์,     สังขารขันธ์ชื่อว่าสังขารด้วย    ชื่อว่าสังขาร-

ขันธ์ด้วย.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,   ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าเวทนาขันธ์    ชื่อว่าขันธ์ด้วย     ชื่อว่าเวทนาขันธ์

ด้วย,   ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์   แต่ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์.

[๕๖]   ธรรมที่ชื่อว่าสังขาร,    ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม  ?

ยกเว้นสังขารขันธ์เสียแล้ว  สังขารที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าสังขาร

แต่ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์,   สังขารขันธ์ชื่อว่าสังขารด้วย  ชื่อว่าสังขารขันธ์

ด้วย.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,   ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ชื่อว่าขันธ์ด้วย  ชื่อว่าสัญญาขันธ์ด้วย,

ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์   แต่ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์.

[๕๗]   ธรรมที่ชื่อว่าสังขาร,   ชื่อว่าสังขารขันธ์   ใช่ไหม ?

ยกเว้นสังขารขันธ์เสีย   สังขารที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าสังขาร  แต่

ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์,    สังขารขันธ์ชื่อว่าสังขารด้วย    ชื่อว่าสังขารขันธ์

ด้วย.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์  ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 92

ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ชื่อว่าด้วย  ชื่อว่าวิญญาณขันธ์

ด้วย,   ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์  แต่ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์.

จบ  สังขารขันธมูล

 

วิญญาณขันธมูล

[๕๘]   ธรรม ที่ชื่อว่าวิญญาณ,  ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,  ชื่อว่ารูปขันธ์   ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่ารูปขันธ์  ชื่อว่าขันธ์ด้วย  ชื่อว่ารูปขันธ์ด้วย,  ขันธ์

ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์   แต่ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์.

[๕๙ ]   ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณ,  ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,   ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม ?

ธรรมที่ชื่อว่าเวทนาขันธ์     ชื่อว่าขันธ์ด้วย    ชื่อว่าเวทนาขันธ์

ด้วย,   ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์  แต่ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์.

[๖๐]   ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณ,   ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 93

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์?,  ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ชื่อว่าขันธ์ด้วย  ชื่อว่าสัญญาขันธ์ด้วย,

ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์  แต่ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์.

๖๑ ]  ธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณ,  ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์   ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม  ?

ธรรมที่ชื่อว่าสังขารขันธ์,    ชื่อว่าขันธ์ด้วย    ชื่อว่าสังขารขันธ์

ด้วย,   ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นชื่อว่าขันธ์   แต่ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์.

จบ  วิญญาณขันธมูล

ปทโสธนมูลจักกวาระ   อนุโลม  จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 94

ปทโสธนมูลจักกวาระ  ปัจจนิก

น   รูปขันธมูล

๖๒]   ธรรมที่ไม่ชื่อว่ารูป,  ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,   ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่ารูป,   ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,  ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่ารูป,  ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์  ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์   ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่ารูป,   ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,  ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

จบ  น  รูปขันธมูล


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 95

น เวทนาขันธมูล

๖๓]   ธรรมที่ไม่ชื่อว่าเวทนาไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์ ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,  ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าเวทนา,   ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,  ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าเวทนา,  ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,  ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าเวทนา,  ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,  ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม ?

ใช่.

จบ  น  เวทนาขันธมูล


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 96

น  สัญญาขันธมูล

[๖๔]   ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสัญญาไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,  ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสัญญา,  ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,  ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสัญญา,  ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์ ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,  ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์   ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสัญญา,  ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,    ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์   ใช่ไหม ?

ใช่.

จบ   น  สัญญาขันธมูล


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 97

น  สังขารขันธมูล

๖๕ ]   ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขาร,    ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์ ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,   ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์,  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขาร,  ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,  ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขาร,   ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์   ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,  ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขาร,   ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม   ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,  ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

จบ  น  สังขารขันธมูล


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 98

น  วิญญาณขันธมูล

๖๖ ]  ธรรมที่ไม่ชื่อว่าวิญญาณ,  ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,  ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าวิญญาณ,  ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,  ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าวิญญาณ,  ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,  ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์ ใช่ไหม ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าวิญญาณ,  ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์,  ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

จบ  น  วิญญาณขันธมูล

ปทโสธนมูลจักกวาระ  ปัจจนิก  จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 99

อรรถกถาปทโสธนมูลจักกวาระ

ใน  ปทโสธนมูลจักกวาระ  คำปุจฉาว่า  ขนฺธา   เวทนากฺ-

ขนฺโธ    ดังนี้    ย่อมตรัสถามว่า   ขันธ์ทั้งหลายเหล่าใดมีอยู่    ขันธ์

ทั้งหลายเหล่านั้น    ชื่อว่า    เวทนาขันธ์    ใช่ไหม ?    ตรัสตอบว่า

เวทนาขันธ์  ชื่อว่า  ขันธ์ด้วย   ชื่อว่า   เวทนาขันธ์ด้วย  แต่ขันธ์

ทั้งหลายที่เหลือชื่อว่าขันธ์เท่านั้น     ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์     ดังนี้

แห่งคำถามนั้น   แม้คำถามที่เหลือก็นัยนี้.

ในปฏิโลม  ในคำถามนี้ว่า  นกฺขนฺธา  นเวทนากฺขนฺโธ     ธรรม

ที่ไม่ชื่อว่าขันธ์    ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม   ?  ได้แก่    ธรรม

ทั้งหลายเหล่าใด    กล่าวคือ   บัญญัติและนิพพาน  ไม่ชื่อว่าขันธ์  เพราะ

บัญญัติและนิพพานไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์     ฉะนั้น     พระองค์จึงตรัสว่า

อามนฺตา  ใช่   แม้ในคำวิสัชนาที่เหลือก็มีนัยนี้   ด้วยประการฉะนี้.

อรรถกถาปทโสธนมูลจักกวาระ   จบ


พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 100

สุทธขันธวาระ  อนุโลม

[๖๗]   ธรรมที่ชื่อว่ารูป,   ชื่อว่าขันธ์   ใช่ไหม ?

ใช่.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์  ชื่อว่ารูปขันธ์   ใช่ไหม   ?

รูปขันธ์ชื่อว่าขันธ์ด้วย  ชื่อว่ารูปขันธ์ด้วย  ขันธ์ที่เหลือนอกนั้น

ชื่อว่าขันธ์  ไม่ชื่อว่ารูขันธ์.

[๖๘]   ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา,  ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม ?

ใช่.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,   ชื่อว่าเวทนาขันธ์  ใช่ไหม   ?

เวทนาขันธ์ชื่อว่าขันธ์ด้วย   ชื่อว่าเวทนาขันธ์ด้วย  ขันธ์ที่เหลือ

นอกนั้นชื่อว่าขันธ์  ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์.

[๖๙]   ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา   ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.

ธรรมที่ชื่อว่าขันธ์,  ชื่อว่าสัญญาขันธ์  ใช่ไหม ?

สัญญาขันธ์ชื่อว่าขันธ์ด้วย  ชื่อว่าสัญญาขันธ์ด้วย   ขันธ์ที่เหลือ

นอกนั้นชื่อว่าขันธ์  ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์.

[๗๐]   ธรรมที่ชื่อว่าสังขาร,  ชื่อว่าขันธ์  ใช่ไหม  ?

ใช่.


没有评论: