星期一, 二月 28, 2011

Suep

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 1/386/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือก
เป็นทรัพยากรมาก พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและ
บำเพ็ญบุญ มาเถิดพ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติ
และบำเพ็ญบุญเถิด
คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีปาระพฤติพรหมจรรย์อยู่
พระสุทินน์ตอบ.
แม้ครั้งที่สอง มารดาของท่านพระสุทินน์ก็ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระ
สุทินน์ว่า พ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงิน
มาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อควร
กลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญ มาเถิดพ่อสุทินน์
พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด.
คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่
พระสุทินน์ตอบ.
แม้ครั้งที่สาม มารดาของท่านพระสุทินน์อาทิผิด สระก็ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระ-
สุทินน์ว่า พ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงิน
มาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อ
สุทินน์ ดังนั้น พ่อจงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง พวกเจ้าลิจฉวีจะได้ไม่ริบทรัพย์สมบัติ
ของเรา อันหาบุตรผู้สืบอาทิผิด สระสกุลมิได้ไปเสีย.
สุ. คุณโยม เฉพาะเรื่องนี้รูปอาจทำได้
ม. พ่อสุทินน์ ก็เวลานี้พ่อพำนักอยู่ที่ไหน.
ที่ป่ามหาวันจ้ะ ท่านพระสุทินน์ตอบ และแล้วได้ลุกจากอาสนะหลีกไป.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 二月 27, 2011

Wibak

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 63/218/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๕๓๘] เราจะดูนรกอันเป็นที่อยู่ของเหล่าสัตว์
ผู้ทำบาป สถานที่อยู่ของเหล่าสัตว์ ผู้มีกรรมหยาบช้า
และคติของเหล่าชนผู้ทุศีลก่อน.
[๕๓๙] มาตลีเทพสารถีอาทิผิด ได้แสดงแม่น้ำเวตรณี
ซึ่งข้ามยาก ประกอบด้วยน้ำแสบเผ็ดร้อนเดือดพล่าน
เปรียบดังเปลวเพลิงแด่พระเจ้าเนมิราชอาทิผิด .
[๕๔๐] พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นชน
ซึ่งตกอยู่ในเวตรณีนทีภาค ซึ่งยากจะข้ามได้ จึงตรัส
กะมาตลีเทพสารถีว่า แน่ะนายสารถี ความกลัวมาก
ปรากฏแก่เรา เพราะเห็นตัว อยู่ในแม่น้ำเวตรณี
แน่ะมาตลี เราขอถามท่าน สัตว์เหล่านี้ได้ทำบาป
อะไรไว้ จึงได้ตกในเวตรณีนที.
[๕๔๑] มาตลีเทพสารถี ทูลพยากรณ์พระดำรัส
ถาม ตามที่ทราบวิบากอาทิผิด อักขระแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แต่
พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใดเมื่อยังอยู่ใน
มนุษยโลก เป็นผู้มีกำลังมีบาปธรรม เบียดเบียนด่า
กระทบผู้ที่หากำลังมิได้ สัตว์เหล่านั้นมีกรรมหยาบช้า
กระทำบาป จึงตกลงในเวตรณีนที.
[๕๔๒] พระราชาตรัสว่า สุนัขแดง สุนัขด่าง
ฝูงแร้ง ฝูงกา น่ากลัว เคี้ยวกินสัตว์นรก ความกลัว
ปรากฏแก่เราเพราะเห็นสัตว์เหล่านั้น เคี้ยวกินสัตว์นรก
เราขอถามท่าน สัตว์เหล่านี้ที่ฝูงกาเคี้ยวกิน ได้ทำบาป
อะไรไว้.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 二月 24, 2011

Mueang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 70/230/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ประมาณถึงเข่า. พระราชารับสั่งให้เที่ยวตีกลองป่าวร้อง ทรัพย์ที่ประตู
ด้านทิศตะวันตกจงเป็นของชาวพระนคร ทรัพย์ที่ประตูด้านทิศตะวันออก
จงนำเข้าท้องพระคลังหลวง. คนทั้งปวงกระทำอย่างนั้นแล้ว. ในครั้งนั้น
ช้างนาฬาคิรีได้มีชื่อว่า ธนบาล. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปยังพระ-
เวฬุวนาราม. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า.
ในกาลก่อน เราได้เป็นนายควาญช้าง ได้ทำช้างให้โกรธ
พระปัจเจกมุนีผู้สูงสุด ผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอาทิผิด อักขระอยู่นั้น.
เพราะวิบากของกรรมนั้น ช้างนาฬาคิรีตัวดุร้ายหมุนเข้า
มาประจัญในบุรีอันประเสริฐ ชื่อว่า คิริพพชะ คือกรุง
ราชคฤห์.
ปัญหาข้อที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การผ่าฝีด้วยศัสตรา คือ ตัดด้วยผึ่ง ด้วยศาสตรา ชื่อว่า สัตถัจ-
เฉทะ. ได้ยินว่า ในอดีตกาลพระโพธิสัตว์ได้เป็นพระราชาในปัจจันต-
ประเทศ พระโพธิสัตว์นั้นเป็นนักเลง ด้วยอำนาจการคลุกคลีกับคนชั่ว
และด้วยอำนาจการอยู่ในปัจจันตอาทิผิด อักขระประเทศ เป็นคนหยาบช้า อยู่มาวันหนึ่ง
ถือมีดเดินเท้าเปล่า เที่ยวไปในเมืองอาทิผิด อักขระ ได้เอามีดฆ่าฟันคนผู้ไม่มีความผิด
ได้ไปแล้ว. ด้วยวิบากของกรรมอันลามกนั้น พระโพธิสัตว์นั้นไหม้ใน
นรกหลายพันปี เสวยทุกข์ในทุคติ มีสัตว์เดียรัจฉานเป็นต้น ด้วยวิบาก
ที่เหลือ ในอัตภาพหลังสุดแม้ได้เป็นพระพุทธเจ้า หนังอาทิผิด ก็ได้เกิดห้อพระ-
โลหิตขึ้น เพราะก้อนหินที่พระเทวทัตกลิ้งใส่กระทบเอา โดยนัยดังกล่าว
ในหนหลัง. หมอชีวกผ่าหนังที่บวมขึ้นนั้นด้วยจิตเมตตา. การทำพระ-
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 二月 23, 2011

Boi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 49/129/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ญาติเผาอยู่ ยังไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของพวกญาติ
เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงเขา คติอันใด
ของเขามีอยู่ เขาก็ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทารโก ได้แก่ เด็กอ่อน. บทว่า
จนฺทํ ได้แก่ ดวงจันทร์. บทว่า คจฺฉนฺตํ ได้แก่ ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า.
บทว่า อนุโรทติ ความว่า ย่อมร้องไห้ว่า จงจับล้อรถให้ฉันเถิด.
บทว่า เอวํ สมฺปหเมเวตํ ความว่า ผู้ใดย่อมเศร้าโศกถึงผู้ล่วง
ลับไปแล้ว คือ ตายไปแล้ว, ความเศร้าโศกของผู้นั้น ก็เปรียบเหมือน
อย่างนั้น คือเห็นปานนั้น, อธิบายว่า เหมือนมีความต้องการจะจับ
พระจันทร์ ซึ่งลอยอยู่กลางอากาศ เพราะความอยากได้ในสิ่งที่
ไม่ควรจะได้.
ท้าวสักกะครั้นฟังคำภริยาของเขาอย่างนั้นแล้ว จึงถามทาสี
ว่า เธอเป็นอะไรกะเขา ทาสีตอบว่า เขาเป็นนายของดิฉันจ๊ะ
ท้าวสักกะกล่าวว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น เธอคงจักถูกเขาโบยอาทิผิด อักขระตีแล้ว
ใช้ให้ทำการงาน เพราะฉะนั้น เธอเห็นจะไม่ร้องไห้ ด้วยคิดว่า
เราพ้นดีแล้วจากเขา. นางทาสีกล่าวว่า นาย อย่าได้พูดอย่างนั้น
กะดิฉันเลย ทั้งข้อนั้นก็ไม่สมควรแก่ดิฉัน, บุตรของเจ้านายดิฉัน
พร้อมด้วยขันติ เมตตา และความเอ็นดู เป็นอย่างยิ่ง ชอบกล่าว
ความถูกต้อง ได้เป็นเหมือนบุตรที่เติบโตในอก. ท้าวสักกะกล่าวว่า
เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร เธอจึงไม่ร้องไห้. ฝ่ายนางทาสี
เมื่อจะบอกเหตุที่ตนไม่ร้องไห้อาทิผิด สระ จึงกล่าว ๒ คาถาว่า :-
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 二月 20, 2011

Phutthanuyat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/269/3  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร ชอบแก่
สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

พระพุทธานุญาตเรือนคลัง
[๑๔๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร ได้
เก็บจีวรไว้ในมณฑปบ้าง ที่โคนไม้บ้าง ที่ชายคาบ้าง ที่กลางแจ้งบ้าง จีวร
ถูกหนูกัดบ้าง ถูกปลวกกินบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติ
วิหาร เพิง เรือนชั้น เรือนโล้น หรือถ้ำอาทิผิด สระ ที่สงฆ์จำหมายให้เป็นเรือนคลัง.

วิธีสมมติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้
สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังอาทิผิด ข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นเรือนคลัง นี้เป็น
ญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังอาทิผิด ข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้
ให้เป็นเรือนคลัง การสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นเรือนคลัง ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
พูด.
สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นเรือนคลังแล้ว ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 二月 19, 2011

Banthao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 18/340/22 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เสียแล้ว เหตุกายนี้ผูกด้วยใยยางคือตัณหา ที่พระอริยทั้งหลายคายอาทิผิด อักขระแล้ว
เพราะตัณหาก่อให้เกิดตามพระบาลีอย่างนี้ว่า ตัณหาทำคนให้เกิด จิตของคน
นั้น ย่อมแล่นไป. อนึ่ง สัตว์เล็ก ๆ มีประการต่าง ๆ ภายในจอมปลวก ย่อม
เกิด ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ. นอนป่วย ย่อมตายตกไปในจอมปลวกนั้นนั่นเอง
ดังนั้นจอมปลวกนั้น จึงเป็นเรือนเกิด เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาล และเป็น
สุสานของสัตว์เล็กๆ เหล่านั้นฉันใด กายแม้ของกษัตริย์มหาศาล เป็นต้น ก็ฉัน
นั้น เหล่าสัตว์ที่อาศัยผิว หนังอาทิผิด เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่ออาทิผิด อักขระในกระดูก มิได้คิด
ว่า กายนี้ถูกคุ้มครองรักษาแล้ว ประดับตกแต่งแล้ว เป็นกายของผู้มีอานุภาพ
ใหญ่ รวมความว่า หมู่หนอนโดยการนับตระกูลมีประมาณ ๘๐,๐๐๐ ตระกูล
ย่อมเกิด ย่อมถ่ายอุจจาระปัสสาวะ นอนกระสับกระส่าย เพราะความป่วยไข้
ตายตกคลักอยู่ในกายนี้เอง เหตุนั้น จึงนับได้ว่าเป็นจอมปลวก เพราะ
เป็นเรือนคลอดอาทิผิด อักขระ เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาล และเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้น.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่า วัมมิกะนี้เป็น
ชื่อของกายนี้ ที่เกิดจากมหาภูตทั้ง ๔.
บทว่า มาตาเปติกสมฺภวสฺส ความว่า ที่เกิดจากการรวมตัวของ สุกกา
ซึ่งเกิดจากมารดาบิดา ที่ชื่อว่า มาตาเปติกะ. บทว่า โอทน กมฺมาสูปจยสฺส
ความว่า ก่อเติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมกุมมาส. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า
อนิจฺจุจฺฉาทนปริมทฺทนเภทนวิทฺธํสนธมฺมสฺส ดังต่อไปนี้ กายนี้ชื่อว่า
มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา เพราะอรรถาว่า มีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่ามีการฉาบ
ทาเป็นธรรมดา เพราะฉาบทาด้วยหนังบางเพื่อประโยชน์แก่การกำจัดกลิ่นเหม็น
ชื่อว่า มีการนวดฟั้นเป็นธรรมดา เพราะมีการนวดฟั้นเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อประ-
โยชน์แก่การบรรเทาอาทิผิด สระ ความเจ็บป่วยทางอวัยวะน้อยใหญ่ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
มีการประคบประหงมเป็นธรรมดา โดยการหยอดยาตาและบีบเป็นต้น เพื่อความ
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 二月 14, 2011

Khuan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 11/531/22 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเสด็จจาริกไปด้วยเหตุ ๔ ประการแม้อย่าง
อื่นอีก ด้วยทรงดำริว่า สัตว์ทั้งหลายจักถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ จักถึง
พระธรรม จักถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ หรือว่าเราจักให้บริษัททั้ง ๔ เอิบอิ่ม
ด้วยการฟังธรรมเป็นการใหญ่. พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะ
เสด็จจาริกไปด้วยเหตุ ๕ ประการแม้อย่างอื่นอีก ด้วยทรงดำริว่า สัตว์
ทั้งหลายจักงดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงบ้าง จากการถือเอาสิ่งของ
ที่เขามิได้ให้บ้าง จากการประพฤติผิดในกามบ้าง จากการกล่าวเท็จบ้าง จาก
ที่ตั้งแห่งความประมาทคือน้ำอาทิผิด อาณัติกะเมาอันได้แก่สุราและเมรัยบ้าง. พระผู้มี
พระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเสด็จจาริกไปด้วยเหตุ ๘ ประการแม้อย่าง
อื่นอีก ด้วยทรงดำริว่า สัตว์ทั้งหลายจักกลับได้ปฐมฌานบ้าง ทุติยฌาน
บ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง วิญญา-
ณัญจายตนสมาบัติบ้าง อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เนวสัญญานาสัญญา-
ยตนสมาบัติบ้าง. พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเสด็จจาริกไป
ด้วยเหตุ ๘ ประการแม้อย่างอื่นอีก ด้วยทรงพระดำริว่า สัตว์ทั้งหลายจัก
บรรลุโสดาปัตติมรรคบ้าง โสดาปัตติผลบ้าง สกทาคามิมรรคอาทิผิด อักขระบ้าง สกทา-
คามิผลบ้าง อนาคามิมรรคบ้าง อนาคามิผลบ้าง อรหัตตมรรคบ้าง จัก
กระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผลบ้าง. ดังกล่าวมานี้จัดเป็นการเสด็จจาริกไม่รีบ
ด่วน. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาการเสด็จจาริกไม่รีบด่วน.
ก็การเสด็จจาริกไม่รีบด่วนนี้ มีอยู่ ๒ อย่าง คือ การเสด็จจาริก
ประจำ ๑ การเสด็จจาริกไม่ประจำ ๑. บรรดาจาริก ๒ อย่างนั้น การ
เสด็จไปตามลำดับบ้าน อำเภอ และจังหวัด จัดเป็นการเสด็จจาริกประจำ.
ส่วนการเสด็จไปเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ที่ควรอาทิผิด อักขระจะให้ตรัสรู้ได้คนเดียวเท่านั้น
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 二月 13, 2011

Kappiya

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 11/571/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อำนาจแห่งจรณะนั้นนั่นแหละ จึงตรัสพระดำรัสว่า ภิกษุย่อมเข้าถึงฌาน
ที่ ๑ อยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของภิกษุนั้น ฯ ล ฯ ภิกษุย่อมเข้าถึงฌาน
ที่ ๔ อยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของภิกษุนั้น เป็นต้น. ด้วยพระดำรัสเพียง
เท่านี้เป็นอันว่าพระองค์ตรัสระบุชัดถึงสมาบัติแม้ทั้ง ๘ ว่าเป็นจรณะ ส่วน
ปัญญาแม้ทั้ง ๘ นับแต่วิปัสสนาญาณไป พระองค์ตรัสระบุชัดว่า เป็นวิชชา.
บทว่า อปายมุขานิ แปลว่า ปากทางแห่งความพินาศ บทว่า
ผู้ยังไม่ตรัสรู้ คือยังไม่บรรลุ หรือว่า ยังไม่สามารถ. ในบทว่า ถือเอา
เครื่องหาบดาบสบริขารอาทิผิด อักขระ นี้ บริขารของดาบสอาทิผิด อักขระมี ไม้สีไฟ เต้าน้ำ เข็ม และ
แส้หางจามรี เป็นต้น ชื่อว่าขารี. บทว่า วิโธ แปลว่า หาบ. เพราะ
ฉะนั้นจึงมีใจความว่า ถือเอาหาบอันเต็มด้วยบริขารดาบส. แต่อาจารย์ที่
กล่าวว่า ขาริวิวิธํ ท่านก็พรรณนาว่า คำว่า ขาริ เป็นชื่อของหาบ คำว่า
วิวิธํ คือบริขารมากอย่างมีเต้าน้ำ เป็นต้น. บทว่า ปวตฺตผลโภชโน
แปลว่า มีปรกติบริโภคผลไม้ที่หล่นแล้ว. บทว่า เป็นคนรับใช้ คือเป็น
คนรับใช้ด้วยสามารถกระทำวัตร เช่น ทำกัปปิยะอาทิผิด สระ รับบาตรและล้างอาทิผิด อาณัติกะเท้า เป็น
ต้น. สามเณรผู้เป็นพระขีณาสพ แม้มีคุณธรรมสูง ย่อมเป็นผู้รับใช้พระ
ภิกษุผู้ปุถุชน โดยนัยที่กล่าวแล้วโดยแท้ แต่สมณะหรือพราหมณ์หาเป็น
เช่นนั้นไม่ ยังเป็นผู้ต่ำอยู่ทีเดียว ด้วยอำนาจแห่งคุณธรรมบ้าง ด้วย
อำนาจแห่งการกระทำการรับใช้บ้าง.
ถามว่า ก็การบวชเป็นดาบส ท่านกล่าวว่า เป็นปากทางแห่งความ
พินาศของศาสนา เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะศาสนาที่กำลังดำเนิน
ไป ๆ ย่อมถอยหลัง ด้วยอำนาจแห่งการบรรพชาเป็นดาบส. เป็นความจริง
ผู้ที่มีความละอาย ใคร่ในการศึกษา มักรังเกียจผู้ที่บวชในศาสนานี้ แล้ว
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 二月 10, 2011

Trakun

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 39/238/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ตระกูลอุโบสถก็มี จากตระกูลช้างฉัททันต์ก็มี ถ้ามาจากตระกูลอุโบสถก็เป็นพี่
ของช้างทั้งหมด ถ้ามาจากตระกูลฉัททันต์ ก็เป็นน้องของช้างทั้งหมด มีการ
ศึกษาที่ศึกษาแล้ว ฝึกมาแล้ว ช้างนั้นพาบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ ตระเวน
ทั่วชมพูทวีป ไปแล้วกลับมาเอง ก่อนอาหารเช้านั่นแล.
อสัสรัตนะ ก็เกิดติดตามหัตถิอาทิผิด อักขระรัตนะแม้นั้นนั่นแล คือม้าขาวปลอด
เท้าแดง ศีรษะดังกา มีผมดังหญ้ามุงกระต่าย มาจากตระกูลอาทิผิด อักขระพระยาม้าพลาหก.
ในข้อนี้ คำที่เหลือก็เช่นเดียวกับหัตถิรัตนะนั่นแหละ.
มณีรัตนะ ก็เกิดติดตามอัสสรัตนะแม้นั้น มณีนั้นเป็นแก้วไพฑูรย์
งามโดยธรรมชาติ แปดเหลี่ยม เจียระไนอย่างดี โดยยาวก็เสมือนดุมแห่งจักร
มาจากเวปุลลบรรพต มณีนั้น ยามมืดแม้ที่ประกอบด้วยองค์ ๔ อยู่ถึงยอดธง
ของพระราชา ก็ส่องแสงสว่างไปตั้งโยชน์ ซึ่งโดยแสงสว่าง พวกมนุษย์สำคัญ
ว่ากลางวัน ก็ประกอบการงาน มองเห็นโดยที่สุดแม้กระทั่งมดดำมดแดง.
อิตถีรัตนะ ก็เกิดติดตามมณีรัตนะแม้นั้นแล คือสตรีที่เป็นพระอัคร-
มเหสีโดยปกติหรือมาจากอุตตรกุรุทวีป หรือจากราชตระกูลมัททราช เว้นจาก
โทษ ๖ มีสูงเกินไปเป็นต้น ล่วงวรรณะของมนุษย์ แต่ไม่ถึงวรรณะทิพย์ ซึ่ง
สำหรับพระราชา ก็จะมีกายอุ่นเมื่อยามเย็น จะมีกายเย็นเมื่อยามร้อน มีสัมผัส
เหมือนปุยนุ่นที่ชีแล้ว ๗ ครั้ง กลิ่นจันทน์จะโชยออกจากกาย กลิ่นอุบลจะโชย
ออกจากปาก และเป็นผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติเป็นอันมาก มีตื่นก่อนเป็นต้น.
คหปตรัตนะ ก็เกิดติดตามอิตถีรัตนะแม้นั้นแล ก็คือเศรษฐี ผู้ทำ
การงานโดยปกติของพระราชา ซึ่งพอจักรรัตนะเกิดขึ้น ก็ปรากฏทิพยจักษุ
เห็นขุมทรัพย์ได้ประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบ ทั้งที่ไม่มีเจ้าของ ทั้งที่มีเจ้าของ
ก็เข้าเฝ้าพระราชาทูลปรารถนาว่า ข้าแต่เทวราช ขอพระองค์โปรดทรงวาง
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 二月 09, 2011

Pokkhrong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 2/244/3  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อาคันตุกะทั้งหลาย ไม่ควรตั้งอาทิผิด อักขระอยู่ในข้อกติกา ของพวกภิกษุเจ้าถิ่น ต้นไม้
เหล่าใด ที่ทายกถวายไว้เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การบริโภคผล และพวกภิกษุ
เจ้าถิ่น ก็รักษาปกครองอาทิผิด อักขระต้นไม้เหล่านั้นไว้ นำไปใช้สอยโดยชอบ, ในต้นไม้
เหล่านั้นนั่นแหละ พระอาคันตุกะทั้งหลาย ควรตั้งอยู่ในข้อกติกา ของพวก
ภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านั้น.
ส่วนในมหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุเมื่อฉันผลไม้ ที่ทายกกำหนด
ถวายไว้เพื่อปัจจัย ๔ ด้วยไถยจิต พึงให้ตีราคาสิ่งของปรับอาบัติ, เมื่อแจกกัน
ฉันด้วยอำนาจการบริโภค เป็นภัณฑไทย, ก็บรรดาผลไม้เหล่านั้น เมื่อภิกษุ
แจกกันฉันผลไม้ที่ทายกกำหนดไว้ เพื่อประโยชน์แก่เสนาสนะ ด้วยอำนาจ
การบริโภค เป็นถุลลัจจัยด้วย เป็นภัณฑไทยด้วย.
ผลไม้ที่ทายกอุทิศถวายไว้ เพื่อประโยชน์แก่จีวร ควรน้อมเข้าไปใน
จีวรเท่านั้น ถ้าเป็นวัดที่มีภิกษาหาได้โดยยาก ภิกษุทั้งหลาย ย่อมลำบากด้วย
บิณฑบาต ส่วนจีวรหาได้ง่าย จะทำอปโลกนกรรมเพื่อความเห็นชอบแห่งสงฆ์
แล้วน้อมเข้าไปในอาทิผิด สระบิณฑบาต ก็ควร. เมื่อลำบากอยู่ด้วยเสนาสนะ หรือคิลาน-
ปัจจัย จะทำอปโลกนกรรมเพื่อความเห็นชอบแห่งสงฆ์ แล้วน้อมเข้าไปเพื่อ
ประโยชน์แก่เสนาสนะและคิลานปัจจัยนั้น ก็ควร. แม้ในผลไม้ที่ทายกอุทิศ
ถวายไว้ เพื่อประโยชน์แก่บิณฑบาต และเพื่อประโยชน์แก่คิลานปัจจัย ก็มีนัย
เหมือนกันนี้. ส่วนสิ่งของที่ทายกอุทิศถวายไว้ เพื่อประโยชน์แก่เสนาสนะ
เป็นครุภัณฑ์, ควรรักษาปกครองอาทิผิด อักขระสิ่งนั้นไว้ แล้วน้อมเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่
เสนาสนะนั้นเท่านั้น. ก็ถ้าเป็นวัดที่ภิกษาหาได้โดยยาก ภิกษุทั้งหลายจะเลี้ยง
อัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตไม่ได้, ในวัดหรือรัฐนี้ วิหารของพวกภิกษุผู้
อพยพไปในที่อื่น เพราะราชภัย โรคภัย และโจรภัยเป็นต้น ย่อมชำรุดอาทิผิด อักขระไป ,
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 二月 08, 2011

Daowadueng

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/122/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ขณะนั้น นางอัมพปาลีคณิกา ทำให้งอนรถกระทบงอนรถ แอก
กระทบแอก ล้อกระทบล้อ เพลากระทบเพลา ของเจ้าลิจฉวีหนุ่ม ๆ เจ้าลิจ-
ฉวีเหล่านั้นจึงได้ตรัสถามนางว่า แม่อัมพปาลี เหตุไฉนเธอจึงได้ทำให้งอนรถ
กระทบงอนรถ แอกกระทบอาทิผิด แอก ล้อกระทบอาทิผิด ล้อ เพลากระทบเพลา ของ
เจ้าลิจฉวีหนุ่ม ๆ ของพวกเราเล่า.
อัม. จริงอย่างนั้น พ่ะยะค่ะ เพราะหม่อมฉันได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้.
ลจ. แม่อัมพปาลี เธอจงให้ภัตตาหารมื้อนี้แก่พวกฉัน ด้วยราคาแสน
กษาปณ์เถิด.
อัม. แม้ว่าฝ่าพระบาท จะพึงประทาน พระนครเวสาลีพร้อมทั้ง
ชนบทแก่หม่อมฉัน ๆ ก็ถวายภัตตาหารมื้อนั้นไม่ได้ พ่ะยะค่ะ.
เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น จึงได้ทรงดีดพระองคุลีตรัสว่า ท่านทั้งหลาย พวก
เราแพ้แม่อัมพปาลีแล้ว ท่านทั้งหลาย พวกเราแพ้แม่อัมพปาลีแล้ว จึงพากัน
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ได้ทอดพระเนตรเห็นเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นกำลัง
เสด็จมาแต่ไกลครั้นแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่าใดไม่เคยเห็นเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ก็จงแลดูพวกเจ้าลิจฉวี พิจารณาดู
เทียบเคียงอาทิผิด อักขระดู พวกเจ้าลิจฉวีกับพวกเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์อาทิผิด อักขระเถิด เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น
จึงได้เสด็จไป ด้วยยวดยาน ตลอดพื้นที่ที่ยวดยานจะไปได้ แล้วเสด็จลงจาก
ยวดยานทรงดำเนินด้วยพระบาท เข้าไปถึงพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มี-
พระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่งอยู่ ณ ที่อาทิผิด อาณัติกะควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงชี้แจงให้เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ทรงเห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงได้กราบทูลอาราธนาพระ-
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 二月 06, 2011

Laek

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 4/414/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
จึงไม่ให้แลกเปลี่ยนแก่พวกเรา ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินภิกษุณีเหล่านั้นเพ่งโทษ
ติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยนจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนแก่สหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี
สิกขมานา สามเณร สามเณรี เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนแก่สหธรรมิก ๕ เหล่า
นี้ได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น
ว่าดังนี้
พระอนุบัญญัติ
๗๔. ๕. ข. อนึ่ง ภิกษุใด ให้จีวรแก่ภิกษุณี ผู้ไม่ใช่ญาติ
เว้น ไว้แลกอาทิผิด อักขระเปลี่ยน เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๔๔] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...นี้
ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทาง
บิดาก็ดี ตลอดอาทิผิด สระ ๗ ชั่วบุรพชนก.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 二月 05, 2011

Patchai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 85/253/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๑๙๖] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย
นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย นอุปนิสสย-
ปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นกัมม-
ปัจจัย นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ...
ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย
มี ๑ วาระ.
[๑๙๗] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย
นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย อุปนิสสย-
ปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาอาทิผิด สระชาตปัจจัยอาทิผิด อักขระ นอาเสวนปัจจัย นกัมม-
ปัจจัย นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัยอาทิผิด อักขระ นอินทริยปัจจัย นฌานปัจจัย
นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย นวิปปยุตตปัจจัย โนนัตถิปัจจัย โน-
วิคตปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ
ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.
[๑๙๘] เพราะนอารัมมณปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ ... ใน
อธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัญญมัญญ-
ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๕
วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๕ วาระ ใน
อินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๕ วาระ ในมัคคปัจจัย
มี ๕ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ
ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 二月 04, 2011

Pariphachok

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 15/98/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ได้แก่ เจ็ดวันที่พระสมณโคดมกำหนดอาทิผิด สระไว้แล้ว จักทำอะไรแก่พวกเราได้.
พวกปริพาชกได้กล่าวว่า พระสมณโคดมตรัสว่า นิโครธปริพาชกจัก
ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งของตนตลอดหนึ่งสัปดาห์ หนึ่งสัปดาห์นั้นจะทำ
ความไม่ผาสุกอะไรแก่เขา เอาเถอะ พวกเราจะประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อความรู้ว่า ในภายในหนึ่งสัปดาห์ พวกเราจะสามารถทำให้แจ้งธรรม
นั้นได้หรือไม่. อีกนัยหนึ่ง ในข้อนี้ มีอธิบายว่า ปริพาชกเหล่านั้นไม่ได้
เกิดความคิด เพื่อจะรู้สักครั้งเดียวว่า ในวันหนึ่งพวกเราจักรู้ธรรมของ
พระองค์เลย ก็หนึ่งสัปดาห์จักอาทิผิด อักขระทำอะไรแก่ปริพาชกผู้เกียจคร้านเหล่านั้น
ได้ ปริพาชกอาทิผิด อักขระเหล่านั้น จักบำเพ็ญตลอดสัปดาห์ได้อย่างไร.
บทว่า สีหนาทํ คือบันลือแล้ว บันลือแบบไม่กลัวใคร
เป็นการทำลายวาทะผู้อื่น และเป็นการประกาศวาทะของตน. บทว่า
ปจฺจุฏฺฐาสิ คือดำรงอยู่แล้ว. บทว่า ตาวเทว แปลว่า ในขณะนั้น
นั่นเอง. บทว่า ราชคหํ ปาวิสิ ได้แก่ เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์
ก็จริง ถึงอย่างนั้น จัดเป็นปัจจัยเพื่อเป็นวาสนาแก่ปริอาทิผิด สระพาชกเหล่านั้น
ต่อไป. คำที่เหลือทุก ๆ บท ชัดเจนแล้วทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาอุทุมพริกสูตร
จบ สูตรที่ ๒
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 二月 03, 2011

Samma

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 26/787/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เหล่านั้นทูลว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น แม้พวกหม่อมฉันก็จักบวช. ภริยาทั้งหมด
พากันเทียมรถออกไป.
ฝ่ายพระราชาพร้อมด้วยอำมาตย์พันหนึ่งเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำคงคา ใน
เวลานั้น แม่น้ำคงคาเต็มเปี่ยม. ลำดับนั้น พวกเขาเห็นดังนั้นจึงคิดว่า
แม่น้ำคงคานี้เต็มเปี่ยม คลาคล่ำไปด้วยปลาร้าย และพวกทาสหรือมนุษย์
ที่มากับพวกเรา ที่จะทำเรือหรือแพให้พวกเราก็ไม่มี ก็ขึ้นชื่อว่าคุณของ
พระศาสดานี้ แผ่ไปเบื้องล่างถึงอเวจี เบื้องบนถึงภวัคคพรหม ถ้าพระ-
ศาสดานี้เป็นพระสัมมาสัมอาทิผิด สระพุทธะ ขอให้หลังกีบม้าเหล่านี้จงอย่าเปียก
ดังนี้แล้ว จึงให้ม้าวิ่งไปบนผิวน้ำ. แม้เพียงหลังกีบม้าตัวหนึ่งก็ไม่เปียก.
พวกเขาเหมือนไปตามทางที่เสด็จถึงฝั่งข้างโน้น แล้วถึงแม่น้ำใหญ่สายอื่น
ข้างหน้า. ในที่นั้นไม่มีสัจกิริยาอย่างอื่น พวกเขาข้ามแม่น้ำกว้างกึ่งโยชน์
แม้นั้นด้วยสัจกิริยานั้นเอง. ลำดับนั้น พวกเขาถึงแม่น้ำใหญ่สายที่ ๓
ชื่อจันทภาคา ได้ข้ามแม่น้ำนั้นด้วยสัจกิริยานั้นนั่นเอง.
วันนั้นเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาเสด็จออกจากมหากรุณาสมาบัติ
ทรงตรวจดูสัตวโลก ทรงเห็นว่า วันนี้พระเจ้ามหากัปปินะอาทิผิด อักขระทรงละราช-
อาณาจักรสามร้อยโยชน์ แวดล้อมไปด้วยอำมาตย์พันหนึ่งมาเพื่อบวชใน
สำนักของเรา พระดำริว่า เราควรต้อนรับพวกเขา ทรงชำระพระวรกาย
แต่เช้าตรู่ มีภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จบิณฑบาต ณ กรุงสาวัตถี หลัง
จากเสวยพระกระยาหารแล้วเสด็จกลับจากบิณฑบาต พระองค์เองทรงถือ
บาตรและจีวร เสด็จเหาะไปประทับนั่งขัดสมาธิดำรงพระสติมั่นเปล่งพระ-
พุทธฉัพพรรณรังสี ณ ที่ต้นไทรใหญ่ซึ่งมีอยู่ในที่ตรงท่าข้ามของพวกเขา
เหล่านั้น ริมฝั่งแม่น้ำจันทภาคา. ตรงท่าอาทิผิด สระนั้น พวกเขาแลดูพระพุทธ-
 
พระปิฎกธรรม