星期一, 八月 03, 2015

Khai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 63/265/22 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นายนิรยบาลผูกคอสัตว์นรกด้วยเชือกเหล็กลุก
โพลง แล้วตัดศีรษะโยนลงไปในน้ำร้อน ความกลัว
เกิดแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนี้ ดูก่อนมาตลี
เทพสารถี เราขอถามท่าน สัตว์เหล่านี้ได้ทำบาป
อะไรไว้ จึงมีศีรษะขาดนอนอยู่.
มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตามที่
ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระราชาผู้
ไม่ทรงทราบว่า ข้าแต่พระองค์เป็นจอมประชาชน
สัตว์เหล่าใดเมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก มีบาปธรรม จับ
นกมาฆ่า สัตว์เหล่านั้นมีกรรมหยาบช้ากระทำบาป
จึงมีศีรษะขาดนอนอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลุญฺจนฺติ ได้แก่ เพิกขึ้น. บทว่า
อถ เวฐยิตฺวา ความว่า เอาเชือกโลหะอันลุกโพลงผูกคอให้ก้มหน้า. บทว่า
อุโณฺหทกสฺมึ ได้แก่ ในน้ำโลหะที่ตั้งมาเป็นกัป. บทว่า ปกิเลทยิตฺวา
ได้แก่ ให้ชุ่ม คือโยนลงไป มีคำอธิบายว่า แน่ะสหายมาตลี นายนิรยบาล
เหล่านี้เอาเชือกเหล็กลุกอาทิผิด สระโพลงผูกคอของสัตว์เหล่าใด แล้วโน้มสรีระซึ่งมี
ประมาณสามคาวุตลง ควั่นคอต้อนไปด้วยท่อนเหล็กลุกโพลง ใส่เข้าในน้ำ
โลหะที่ลุกโพลงแห่งหนึ่ง แล้วยินดีร่าเริง และเมื่อคอนั้นขาดแล้ว มีคออื่น
พร้อมกับศีรษะเกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้นอีกทีเดียว สัตว์เหล่านั้นได้กระทำกรรม
อะไรไว้ ความกลัวเกิดแก่ข้าพเจ้า เพราะเห็นสัตว์เหล่านั้น. บทว่า ปกฺขี
คเหตฺวาน วิเหฐยนฺติ ความว่า ข้าแต่มหาราช สัตว์เหล่าใดเมื่อยังอยู่ใน
มนุษยโลก จับนกมาตัดปีกผูกคอฆ่ากินบ้าง ขายอาทิผิด อักขระบ้าง สัตว์เหล่านั้นนั่นมีศีรษะ
ขาดอยู่ในที่นี้.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: