星期二, 九月 29, 2015

Kham

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 23/176/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ตอบว่า ด้วยเหตุเพียงจักรรัตนะเหาะขึ้นสู่อากาศ เพียงองคุลีหนึ่งก็ได้
สององคุลีก็ได้.
บัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงข้อที่พระราชาพึงกระทำอาทิผิด สระในวิธีปราบดาภิเษกเป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ จึงตรัสคำอาทิผิด อักขะมีอาทิว่า อถ โข ภิกฺขเว ดังนี้. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า อฏฺฐายาสนา ได้แก่ ทรงลุกจากอาสนะที่ประทับนั่งเสด็จ
มาใกล้จักรรัตนะ. บทว่า สุวณฺณภิงฺคารํ คเหตฺวา ความว่า ทรงยกสุวรรณ
ภิงคาร มีช่องคล้ายงวงช้าง ทรงจับเต้าน้ำด้วยพระหัตถ์ซ้าย (ทรงหลั่งรด
จักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวา) รับสั่งว่า จงพัดผันไปเถิดจักรแก้วผู้เจริญ จงมี
ชัยชนะอย่างผู้ยิ่งใหญ่เถิดจักรแก้วผู้เจริญ. บทว่า อนฺวเทว ราชา จกฺกวตฺติ
สิทฺธึ จาตุรงฺคินิยา เสนาย ความว่า ก็ในขณะที่พระราชาทรงหลั่งน้ำ มุ่ง
ความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แล้วรับสั่งว่า จงมีชัยชนะอย่างผู้ยิ่งใหญ่เถิด
จักรแก้วผู้เจริญนั่นแหละ จักรแก้วก็ลอยขึ้นสู่เวหาส พัดผันไป. พระราชานั้น
ย่อมได้ชื่อว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิตลอดเวลาที่จักรแก้วพัดผันไป. ก็เมื่อจักร
แก้วพัดผันไปแล้ว พระราชาผู้กำลังติดตามจักรแก้วนั้นไปเรื่อย ๆ ก็เสด็จขึ้นสู่
ยานอัน ประเสริฐของพระเจ้าจักรพรรดิ เหาะขึ้นสู่เวหาสด้วยประการฉะนี้.
ลำดับนั้น คนผู้เป็นบริวาร และข้าราชการในราชสำนักของพระองค์
ต่างก็ถือฉัตรและจามรเป็นต้น ถัดจากนั้นไปก็ถึงกลุ่มอิสรชนจำเดิมแต่อุปราช
เสนาบดี พรั่งพร้อมไปด้วยกำลังทัพของพระองค์ที่ตกแต่งเครื่องสนาม (ผูก
สอด) มีเสื้อเกราะและเกราะ ๖ ประการเป็นต้น ประดับด้วยธงชัย ธงแผ่นผ้า
ที่ยกขึ้นโชติช่วงพร้อมไปด้วยแสงสีที่นำมาประดับหลายสิ่งหลายประการ ต่าง
เหาะขึ้นสู่เวหาสห้อมล้อมพระราชาเพียงผู้เดียว. ก็เพื่อจะสงเคราะห์ประชาชน
พวกพนักงานของพระราชา จึงป่าวประกาศไปทั่วทุกถนนในพระนครว่า พ่อแม่
ทั้งอาทิผิด อาณัติกะหลาย จักรแก้วเกิดแล้วแก่พระราชาของพวกเรา พวกท่านจงรีบจัดแจงแต่ง
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 九月 28, 2015

Khop Khet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 23/181/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มีสมุทรเป็นขอบเขตอาทิผิด อักขระนั้น โดยทำนองนั้นแหละ ก็พัดผันข้ามสมุทรด้านทิศปัจฉิม
ไปโดยวิธีนั่นแหละ เพื่อพิชิตอุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๘,๐๐๐ โยชน์
ครั้นมีชัยชนะอุตตรกุรุทวีป แม้นั้น ซึ่งมีสมุทรเป็นขอบเขตด้วยวิธีอย่างเดียวกัน
ก็พัดผันข้ามมาจากสมุทรด้านทิศอุดร. พระเจ้าจักรพรรดิทรงบรรลุความเป็นผู้
ยิ่งใหญ่ในแผ่นดิน มีสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ด้วยประการดังพรรณนามานี้.
พระเจ้าจักรพรรดินั้นมีชัยชนะเด็ดขาดเช่นนี้แล้ว เพื่อจะทรงทอดพระ
เนตรสิริราชสมบัติของพระองค์ จึงทรงพร้อมด้วยบริษัทเหาะขึ้นสู่พื้นนภากาศ
ชั้นบน ตรวจดูทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๆ ทวีปละอาทิผิด อาณัติกะ ๕๐๐ เป็นบริวาร
ดุจชาตสระทั้ง ๔ ทิศงามไปด้วยหมู่ไม้ต่าง ๆ เช่น ปทุม อุบลและบุณฑริกที่
แย้มดอกบานสล้างฉะนั้น แล้วเสด็จกลับราชธานีเดิมของพระองค์ ตามลำดับ
โดยมรรคาอาทิผิด ที่แสดงไว้แล้วในจักกุทเทสอาทิผิด อักขระนั่นแล.
ครั้งนั้นจักรรัตนะนั้น ประดิษฐานอยู่เหมือนเป็นเครื่องเสริมความงาม
ให้ประตูพระราชวัง ก็เมื่อจักรรัตนะนั้นประดิษฐานอยู่เช่นนี้ กิจที่จะพึงกระทำ
เกี่ยวกับคบเพลิงก็ดี การตามประทีปก็ดี ไม่จำต้องมีในพระราชวัง แสงสว่าง
แห่งจักรรัตนะนั้นแหละกำจัด ความมืดในยามราตรีได้ ส่วนคนเหล่าใดต้องการ
ความมืด คนเหล่านั้นก็ได้ความมืด ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทุกฺขิณสมุทฺทํ
อชฺโฌคาเหตฺวา ฯเปฯ เอวรูปํ จกฺกรตนํ ปาตุภวติ ดังนี้.
ก็อำมาตย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้มีจักรรัตนะปรากฏแล้วอย่างนี้
สั่งให้ทำความสะอาดภูมิภาค อันเป็นที่อยู่ของมงคลหัตถีโดยปกติ ให้ลูบไล้
ด้วยของหอมที่ชวนดมมีจันทน์แดงเป็นต้น เบื้องล่างให้เกลื่อนกล่นไปด้วย
โกสุมที่ชวนชมมีวรรณะอันวิจิตร เบื้องบนตบแต่งด้วยดาวทอง มีเพดาน
ประดับไปด้วยพวงโกสุมน่าชินชม รวมอยู่เป็นกลุ่ม ในระหว่างดาวทอง แต่ง
ให้งดงามดุจเทพวิมานแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอพระองค์
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 九月 26, 2015

Khum Khrong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 11/141/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คำว่า อถโข ภควา อมฺพลฏฺฐิกายํ ราชาคารเก เอกรตฺติวาสํ
อุปคญฺฉิ สทฺธึ ภิกฺขุสงฺเฆน ความว่า ในครั้งนั้นแลพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าเสด็จไปด้วยพุทธลีลานั้น ถึงประตูพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา
โดยลำดับ ทอดพระเนตรดูพระอาทิตย์ มีพระพุทธดำริว่า บัดนี้มิใช่กาล
ที่จะไป พระอาทิตย์ใกล้อัสดงคต จึงเสด็จเข้าประทับพักแรมราตรีหนึ่ง
ณ พระตำหนักหลวง ในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา.
ในพระบาลีนั้น อุทยานของพระราชา ชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา. ได้ยิน
ว่า ณ ที่ใกล้ประตูแห่งอุทยานอาทิผิด อักขระนั้นมีต้นมะม่วงหนุ่มอยู่ ซึ่งคนทั้งหลายเรียก
ว่า อัมพลัฏฐิกา แม้อุทยานก็พลอย ชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา ด้วย เพราะอยู่
ใกล้มะม่วงหนุ่มต้นนั้น. อุทยานนั้นสมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ มีกำแพง
ล้อมรอบ มีประตูประกอบไว้อย่างดี คุ้มครองอาทิผิด อักขระอย่างดี ปานดังหีบฉะนั้น.
ในอุทยานนั้นได้สร้างพระตำหนักอันวิจิตรด้วยประดิษฐกรรม เพื่อเป็นที่
เล่นทรงสำราญพระราชหฤทัย พระตำหนักนั้น จึงเรียกกันว่า พระตำหนัก
หลวง.
คำว่า สุปฺปิโยปิ โข ความว่า แม้สุปปิยปริพาชกแลดูพระอาทิตย์
ณ ที่ตรงนั้นแล้ว ดำริว่า บัดนี้มิใช่กาลที่จะไป ปริพาชกทั้งผู้น้อยและ
ผู้ใหญ่มีอยู่มาก และทางนี้ก็มีอันตรายอยู่มาก ด้วยโจรบ้าง ด้วยยักษ์ร้าย
บ้าง ด้วยสัตว์ร้ายบ้าง ก็พระสมณโคดมนี้เสด็จเข้าไปยังอุทยาน ในสถาน
ที่ประทับของพระสมณโคดม เทวดาย่อมพากันอารักขา อย่ากระนั้นเลย
แม้เราก็จักเข้าไปพักแรมราตรีหนึ่งในอุทยานนี้แล พรุ่งนี้จึงค่อยไป ครั้น
ดำริดังนี้แล้วจึงเข้าไปสู่อุทยานนั้นแล.
ลำดับนั้น ภิกษุสงฆ์แสดงวัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กำหนด
สถานที่พักของตน ๆ. แม้สุปปิยปริพาชกก็ให้วางบริขารของปริพาชก
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 九月 22, 2015

Chuen Chom

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 39/133/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
จะแสดงความนั้นว่า ตรัสไว้อย่างนี้, ข้าพเจ้าฟังมา, ฟังมาสมัยหนึ่ง, พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัส, ตรัสที่กรุงสาวัตถี, ตรัสแก่เทวดา ดังนี้จึงกล่าวว่า
เอวมฺเม สตํ เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถ-
ปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯปฯ ภควนฺตํ คาถาย อชฺฌภาสิ. คำนี้ ท่าน
พระอานนท์กล่าวไว้อย่างนี้. ก็แลคำนั้นพึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ในเวลาทำ
ปฐมมหาสังคีติ.
บัดนี้ จะอธิบายในข้อนี้ว่า ตรัสเพราะเหตุไร. เพราะเหตุที่ท่าน
พระมหากัสสปะถามถึงนิทาน ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวนิทานนั้นไว้พิศดารตั้งแต่
ต้น อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่เทวดาบางเหล่าเห็นท่านพระอานนท์นั่งเหนือ
ธรรมาสน์ ห้อมล้อมอาทิผิด อักขระด้วยคณะผู้เชี่ยวชาญ จึงเกิดจิตคิดว่า "ท่านพระอานนท์
นี้เป็นเวเทหมุนี แม้โดยปกตินับเพียงอยู่ในศากยตระกูล เป็นทายาทของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า แม้แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงยกย่องไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะถึง ๕ สถาน เป็นผู้ประกอบด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรม ๔ ประการ เป็น
ที่รักที่ต้องใจของบริษัท ๔ บัดนี้ เห็นทีจะเป็นรัชทายาทโดยธรรมของพระผู้มี
พระภาคเจ้า เกิดเป็นพุทธะ ผู้รู้".
ฉะนั้น ท่านพระอานนท์ รู้ทั่วถึงความปริวิตกทางใจของเทวดาเหล่า
นั้นด้วยใจตนเอง ทนการยกย่องคุณที่ไม่เป็นจริงนั้นไม่ได้เพื่อแสดงภาวะที่ตน
เป็นเพียงสาวก จึงกล่าวว่า เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํอาทิผิด อักขระ ภควา ฯปฯ
อชฺฌภาสิ. ในระหว่างนี้พระอรหันต์ ๕๐๐ รูปและเทวดาหลายพัน ก็ชื่นชมอาทิผิด อักขระ
ท่านพระอานนท์ว่า สาธุ สาธุ. แผ่นพื้นมหาปฐพีก็ไหว ฝนดอกไม้นานา
ชนิดก็หล่นลงจากอากาศ ความอัศจรรย์อย่างอื่นก็ปรากฏมากมาย และเทวดา
มากหลายก็เกิดความสังเวชว่า คำใด เราฟังมาต่อพระพักตร์ของพระผู้
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 九月 21, 2015

Ayatana

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 77/193/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๖.๗.๘ โอฆโคจฉกกาทิวิสัชนา
[๑๐๘] อายตนะ ๑๑ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ อายตนะ ๑๑ เป็นโนโยคะ
ฯลฯ อายตนะ ๑๐ เป็นโนนีวรณะ ธัมมายตนะ เป็นนีวรณะก็มี เป็น
โนนีวรณะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนีวรณิยะ อายตนะ ๒ เป็นนีวรณิยะก็มี
เป็นอนีวรณิยะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนีวรณวิปปยุต อายตนะอาทิผิด อักขระ ๒ เป็นนีวรณ
สัมปยุตก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณ-
นีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณิยะ
เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี
ธรรมายตนะ เป็นนีวรณนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณิยโนนีวรณะอาทิผิด อักขระก็มี กล่าวไม่ได้ว่า
แม้เป็นนีวรณนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าว
ไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ
มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณสัมปยุตต-
โนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี ธรรมายตนะ
เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี อายตนะ ๑๐
เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ อายตนะ ๒ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะก็มี
เป็นนีวรณวิปปยุตตอาทิผิด อักขระอนีวรณิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณวิปปยุตต
นีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี.

๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา
[๑๐๙] อายตนะ ๑๑ เป็นโนปรามาสะ ธรรมายตนะ เป็นปรามาสะ
ก็มี เป็นโนปรามาสะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นปรามัฏฐะ อายตนะ ๒ เป็น
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 九月 18, 2015

Lamdap

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/149/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ต้องการน้ำอ้อย พึงแสวงหาน้ำอ้อย ต้องการน้ำมัน พึงแสวงหาน้ำมัน ต้อง
การเนยใส ก็พึงแสวงหาเนยใส.
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทองไว้
ในมือกัปปิยการกสั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วย
กัปปิยภัณฑ์นี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจากกัปปิย-
ภัณฑ์อาทิผิด อักขระนั้นได้ แต่เรามิได้กล่าวว่า พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยาย
ไร ๆ เลย.

เรื่องเกณิยชฏิล
[๘๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านระยะ
ทางโดยลำดับอาทิผิด อักขระ เสด็จถึงอาปณนิคมแล้ว เกณิยชฎิลได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่าน
ผู้เจริญ พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จโดยลำดับ
ถึงอาปณนิคมแล้ว ก็พระกิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น
ขจรไปแล้ว อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรง
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงบรรลุวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว
ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของ
ทวยเทพและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำ
โลกนี้พร้อมอาทิผิด อาณัติกะทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง
ของพระองค์เอง แล้วทรงสั่งสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ ทวยเทพ
และมนุษย์ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง
การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นความดี.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 九月 17, 2015

Fai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 42/37/2  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นางทาสี ถึงที่นั้นแล้วได้ยืนคอยการมาของนายพรานอยู่. แม้นายพรานก็
ขับเกวียนออกไปแต่เช้าตรู่. ฝ่ายอาทิผิด อักขระนางก็เดินตามหลังนายพรานนั้นไป. เขา
เห็นนางจึงพูดว่า “ ข้าพเจ้าไม่รู้จักเจ้าว่า ‘ เป็นธิดาของผู้ชื่อโน้น .’ แน่ะ
แม่ เจ้าอย่าตามฉันไปเลย. ” นางตอบว่า “ท่านไม่ได้เรียกฉันมา ฉัน
มาตามธรรมดาของตน. ท่านจงนิ่ง ขับเกวียนของตนไปเถิด.” เขาห้าม
นางแล้ว ๆ เล่า ๆ ทีเดียว. ครั้นนางพูดกับเขาว่า “ อันการห้ามสิริอันมา
สู่สำนักของตนย่อมไม่ควร ” นายพรานทราบการมาของนางเพื่อตนโดย
ไม่สงสัยแล้ว ได้อุ้มนางขึ้นเกวียนไป.
มารดาบิดาของนางให้คนหาข้างโน้นข้างนี้ก็ไม่พบ สำคัญว่า “ นาง
จักตายเสียแล้ว ” จึงทำภัตเพื่อผู้ตาย๑. แม้นางอาศัยการอยู่ร่วมกับนาย-
พรานนั้น คลอดบุตร ๗ คนโดยลำดับ ผูกบุตรเหล่านั้นผู้เจริญวัยเติบโต
แล้ว ด้วยเครื่องผูกคือเรือน๒.
กุกกุฏมิตรอาฆาตในพระพุทธเจ้า
ภายหลังวันหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลกในเวลาใกล้รุ่ง
ทรงเห็นนายพรานกุกกุฏมิตรกับบุตรและสะใภ้ เข้าไปภายในข่ายคือพระ-
ญาณของพระองค์ ทรงใคร่ครวญว่า “ นั่นเหตุอะไรหนอแล ? ” ทรง
เห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติมรรคของชนเหล่านั้นแล้ว ทรงถือบาตรและ
จีวร ได้เสด็จไปที่ดักบ่วงของนายพรานนั้นแต่เช้าตรู่. วันนั้นแม้เนื้อ
สักตัวหนึ่งก็มิได้ติดบ่วง.
พระศาสดาทรงแสดงรอยพระบาท ที่ใกล้บ่วงของเขาแล้วประทับ
นั่งที่ใต้ร่มพุ่มไม้พุ่มหนึ่งข้างหน้า. นายพรานกุกกุฏมิตรถือธนูไปสู่บ่วง
๑. ทำบุญเลี้ยงพระแล้วอุทิศผลบุญให้ผู้ตาย. ๒. จัดแจงแต่งงานให้มีเหย้าเรือน.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 九月 16, 2015

Nam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 21/38/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๔๔๕] ท่านรัฐปาละ ก็ความเสื่อมจากญาติเป็นไฉน. ท่านรัฐปาละ
คนบางคนในโลกนี้ มีมิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตเป็นอันมาก ญาติเหล่านั้น
ของเขาถึงความสิ้นไปโดยลำดับ . เขาคิดเห็นดังนี้ว่า เมื่อก่อนเรามีมิตร อำมาตย์
ญาติสาโลหิตเป็นอันมาก [เดี๋ยวนี้] ญาติของเรานั้นถึงความสิ้นไปโดยลำดับ
ก็การที่เราจะได้โภคสมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทำโภคสมบัติที่ได้แล้วให้
เจริญ ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า
กาสายะออกอาทิผิด อักขระจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด ดังนี้ . เขาประกอบด้วยความ
เสื่อมจากญาตินั้นจึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต ท่านรัฐปาละ นี้เรียกว่าความเสื่อมจากญาติ. ส่วนท่านรัฐปาละ
มีมิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตในถุลลโกฏฐิตนิคมนี้เป็นอันมาก ไม่ได้มีความ
เสื่อมจากญาติเลย. ท่านรัฐปาละ รู้เห็นหรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตเสียเล่า. ท่านรัฐปาละ ความเสื่อมอาทิผิด อักขระ ๔ ประการนี้ ที่คนบางพวก
ในโลกนี้ถึงเข้าแล้ว จึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต ท่านรัฐปาละไม่ได้มีความเสื่อมเหล่านั้นเลย. ท่านรัฐปาละ
รู้เห็นหรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า.

ธัมมุทเทส ๔

[๔๔๖] ท่านพระรัฐปาละถวายพระพรว่า มีอยู่แล มหาบพิตร พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้า ทรงแสดงธัมมุทเทส ๔ ข้อ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึง
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ธัมมุทเทส ๔ ข้อเป็นไฉน คือ
๑. ดูก่อนมหาบพิตร ธัมมุทเทสข้อที่หนึ่งว่า โลกอันชรานำอาทิผิด เข้าไป
ไม่ยั่งยืน ดังนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 九月 14, 2015

Koet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 45/132/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แบบแผนมีกรรมอย่างเดียวกัน. บทว่า เภตฺวาน ได้แก่ ทำลายโดยให้สงฆ์
แตกกัน อันมีลักษณะดังที่ได้กล่าวมาก่อนแล้ว. บทว่า กปฺปํ ได้แก่ อายุกัป.
ก็อายุกัปในที่นี้ คือ อันตรกัปนั่นเอง. บทว่า นิรยมฺหิ ได้แก่ อเวจี-
มหานรก.
จบเภทสูตรที่ ๘

๙. โมทสูตร
ว่าด้วยสังฆสามัคคีให้ขึ้นสวรรค์
[๑๙๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเมื่ออาทิผิด อาณัติกะเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้น
เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์
แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ สังฆสามัคคี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อสงฆ์
พร้อมเพรียงกันอยู่ ย่อมไม่มีการบาดหมางซึ่งกันและกัน ไม่มีการบริภาษ
ซึ่งกันและกัน ไม่มีการขับไล่ซึ่งกันและกัน ในเพราะสังฆสามัคคีนั้น ชน-
ทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส และชนผู้เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่ง ๆ ขึ้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ความพร้อมเพรียงของหมู่ให้เกิดอาทิผิด อักขระสุข
และการอนุเคราะห์ซึ่งหมู่ผู้พร้อมเพรียง
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 九月 12, 2015

Lao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 28/198/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยจักษุ... ด้วยหู... ด้วยจมูก...
ด้วยลิ้น . . . ด้วยกาย. . . . ด้วยใจ อาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความ
สำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยธรรมอันใด ธรรมนี้เรียกว่าโลกในวินัย
ของพระอริยะ อาวุโสทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศ
โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารว่า เรามิได้กล่าวว่า ที่สุดของโลก
อันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว
ย่อมไม่กล่าวการกระทำที่สุดทุกข์ ดังนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่
พระวิหารเสียนั้น อาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมทราบเนื้อความแห่งอุเทศ
ที่ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้
อาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายประสงค์ความแจ่มแจ้ง พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าแล้วทูลถามเนื้อความข้อนั้นเถิด พระองค์ทรงพยากรณ์แก่พวก
ท่านอย่างไร ก็พึงทรงจำข้อที่ตรัสนั้นอย่างนั้นเถิด.
[๑๗๒] ภิกษุเหล่าอาทิผิด อาณัติกะนั้นรับคำท่านพระอานนท์ว่า. อย่างนั้นท่านผู้
มีอายุ ดังนี้แล้วลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงอุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารแก่พวกข้าพระองค์ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามิได้กล่าวว่า ที่สุดของโลกอันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น
พึงถึงด้วยการไป และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อมไม่กล่าวการกระทำ
ที่สุดทุกข์ ดังนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสีย เมื่อ
พระองค์เสด็จลุกไปไม่นาน พวกข้าพระองค์คิดกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 九月 10, 2015

Abat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 8/134/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุฉันนะต้องอาบัติแล้ว ไม่
ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำของภิกษุโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจ
ของสมณะใช้ไม่ได้ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุโมฆบุรุษนั้น ต้องอาบัติแล้ว
จึงไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของ
ภิกษุโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความอาทิผิด อักขระเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อม
ใส...ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์.
วิธีทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
[๒๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีทำอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่ทำคืนอาบัติ พึงทำอย่างนี้ :-
พึงโจทภิกษุฉันนะก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับ
อาบัติอาทิผิด สระ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจาว่าดังนี้:-
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 九月 08, 2015

Tham

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 28/197/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ภิ. ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านว่านั้นเป็นการถูกต้องแล้ว พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเมื่อทรงทราบ ย่อมทราบ เมื่อทรงเห็น ย่อมเห็น พระองค์
เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้กล่าว
เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ทำเนื้อความให้ตื้น เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของ
แห่งธรรม เป็นผู้ถึงธรรมอาทิผิด อักขระที่แท้ เวลานี้เป็นกาลสมควรที่จะทูลถามเนื้อความ
ข้อนั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงแก้ปัญหาแก่พวกเราอย่างใด
พวกเราควรทรงจำความข้อนั้นไว้อย่างนั้น ก็แต่ว่าท่านอานนท์ก็เป็นผู้ที่
พระศาสดา และเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่าน
ก็สามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้
โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ขอท่านอย่า
ได้หนักใจโปรดช่วยจำแนกเนื้อความทีเถิด.
[๑๗๑] อา. อาวุโสทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย จง
คอยฟัง จงใส่ใจให้ดี ข้าพเจ้าจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์
แล้ว ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงอุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจาก
พุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสียนั้น ข้าพเจ้าทราบแล้ว อาวุโสทั้งหลาย
ข้าพเจ้าย่อมทราบเนื้อความแห่งอาทิผิด อักขระอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ
ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ อาวุโสทั้งหลาย บุคคล
ย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลกด้วยธรรมอันใด ธรรมนี้เรียกว่า
โลกในวินัยของพระอริยะ อาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลก
ว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยธรรมอะไรเล่า อาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความ
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 九月 06, 2015

Sahachat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 86/297/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
๑. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ย่อมยินดี ย่อม
เพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำ
กุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
๒. บุคคลกระทำกุศลที่สั่งสมไว้แล้วในกาลก่อนให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง.
๓. บุคคลออกจากฌานแล้ว กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
แน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง.
๔. บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งอาทิผิด อาณัติกะ เพราะกระทำจักษุให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งอาทิผิด อาณัติกะ เพราะกระทำโผฏฐัพพะ
ฯลฯ หทยวัตถุและขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำธรรมนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ
ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
[๑๖๘๖] ๖. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสัง-
กิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผล ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตอาทิผิด อักขระาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 九月 05, 2015

Bukkhon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 86/302/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา แก่ความสุขทางกาย
แก่ทุกข์ทางกาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
บุคคลอาทิผิด อักขระฆ่าสัตว์แล้ว ย่อมให้ทานสมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม ยังฌาน
วิปัสสนา อภิญญา และสมาบัติให้เกิด เพื่อลบล้างบาปกรรมนั้น ฯลฯ บุคคล
ทำลายสงฆ์แล้ว ย่อมให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม เพื่อต้องการลบล้าง
บาปกรรมนั้น.
อกุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบาก ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[๑๖๙๘] ๓. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสัง-
กิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
๑. บุคคลอาศัยราคะแล้ว ยังมรรคให้เกิด เข้าผลสมาบัติ, อาศัยโทสะ
ฯลฯ ความปรารถนา ยังมรรคให้เกิด เข้าผลสมาบัติ.
๒. ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผลสมาบัติ
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[๑๖๙๙] ๔. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสัง-
กิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
๑. บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ยังสมาบัติให้เกิด อาศัยศีล สุตะ
จาคะ ปัญญา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ ย่อมให้
ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 九月 03, 2015

Paramattha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 80/37/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นิคคหจตุกกะ
[๓] ป. ก็ถ้าท่านยังจะยืนยันว่า กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่ง
เห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น
สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ไซร้ ด้วยเหตุนั้น ท่านเมื่อยังปฏิญาณอยู่
ข้างปฏิเสธบุคคลอย่างนี้ ด้วยปฏิญญานี้ก็ต้องนิคคหะอย่างนี้ ดังนั้น
เราจึงนิคคหะท่าน ท่านถูกนิคคหะชอบแล้วเทียว. หากท่านไม่หยั่งเห็น
บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ภาวะใด
เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ
นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะอาทิผิด สระ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า
ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่าสภาวะ
ใดเป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ
นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด
เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น โดยสัจฉิ-
กัตถปรมัตถะก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่ง
เห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น
สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้นตามสภาวะนั้น
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน.
นิคคหจตุกกะ จบ
 
พระปิฎกธรรม