Thamma Chariya
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 39/192/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
อย่างนี้เป็นต้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคลแห่งคาถานี้ไว้ ๔ มงคล คือการบำรุง
มารดา ๑ การบำรุงบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ และการงาน
ไม่อากูล ๑ หรือ ๕ มงคล เพราะแยกการสงเคราะห์บุตรและภรรยาออกเป็น
๒ หรือ ๓ มงคล เพราะรวมการบำรุงมารดาและบิดาเป็นข้อเดียวกัน . ก็
ความที่มงคลเหล่านั้น เป็นมงคล ได้ชี้แจงไว้ในมงคลนั้น ๆ แล้ว ทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาความแห่งคาถานี้ว่า มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ
พรรณนาคาถาว่า ทานญฺจ
บัดนี้ จะพรรณนาในคาถานี้ว่า ทานญฺจ. ชื่อว่า ทาน เพราะเขาให้
ด้วยวัตถุนี้ ท่านอธิบายว่า เขามอบทรัพย์ที่มีอยู่ของตนให้แก่ผู้อื่น. การประพฤติ
ธรรมหรือความประพฤติที่ไม่ปราศจากธรรม ชื่อว่า ธรรมอาทิผิด อักขระจริยา. ชื่อว่า ญาติ
เพราะใคร ๆ ก็รู้ว่า ผู้นี้พวกของเรา. ไม่มีโทษ ชื่อว่า อนวัชชะ ท่าน
อธิบายว่า ใคร ๆ นินทาไม่ได้ ติเตียนไม่ได้. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวมาแล้ว
ทั้งนั้นแล. นี้เป็นการพรรณนาบท .
ส่วนการพรรณนาความ พึงทราบดังนี้. เจตนาเป็นเหตุบริจาคทาน.
วัตถุ ๑๐ มีข้าวเป็นต้น ซึ่งมีความรู้ดีเป็นหัวหน้า เฉพาะผู้อื่น หรือความ
ไม่โลภ ที่ประกอบด้วยจาคเจตนานั้น ชื่อว่า ทาน. จริงอยู่ บุคคลย่อมมอบ
ให้วัตถุนั้น แก่ผู้อื่น ด้วยความไม่โลภ. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ชื่อว่า
ทาน เพราะเขาให้ทานด้วยวัตถุนี้ ตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุประสบผลวิ-
เศษที่เป็นไปในปัจจุบัน และเป็นไปภายหน้า มีความเป็นผู้ที่ชนเป็นอันมากรัก
และพอใจเป็นต้น. ในเรื่องทานนี้ พึงระลึกถึงสูตรทั้งหลาย เป็นต้น อย่างนี้ว่า
ดูก่อนสีหะ ทานบดีผู้ทายกย่อมเป็นที่รักที่พอใจของชนเป็นอันมาก.
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论