星期五, 七月 28, 2017

Wimut

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 37/182/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๗. สัตตธรรมสูตร
[๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗
ประการ ไม่นานนัก พึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีศีล ๑ เป็นพหูสูต ๑ เป็น
ผู้หลีกออกเร้น ๑ ปรารภความเพียร ๑ มีสติ ๑ มีปัญญา ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ไม่
นานนักพึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติอาทิผิด สระ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ
มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม
เข้าถึงอยู่.
จบ สัตตธรรมสูตรที่ ๗
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 七月 25, 2017

Satsada

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 55/177/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
การอยู่เป็นสุขนั้นนั่นแหละที่บุคคลผู้ปรารภความเพียร ผู้ไม่ทำความยึดมั่น
ผู้เห็นแจ้ง จะพึงบรรลุได้ด้วยกำลังและความเพียร จึงตรัสว่า มุนีผู้ประกอบ
ด้วยความเพียรและกำลัง เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน พึงได้ความสงบใจ ฉันนั้น.
ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า พ่อค้าเหล่านั้นไม่เกียจคร้าน ขุดอยู่ในทางทราย
ย่อมได้น้ำ ฉันใด ภิกษุในศาสนานี้ก็ฉันนั้น เป็นผู้ฉลาด ไม่เกียจคร้าน
พากเพียรอยู่ ย่อมได้ความสงบใจอันต่างด้วยปฐมฌานเป็นต้น. ดูก่อนภิกษุ
ในกาลก่อน เธอนั้นกระทำความเพียรเพื่อต้องการทางน้ำ บัดนี้ เพราะเหตุไร
เธอจึงละความเพียรในศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ เพื่อประโยชน์แก่
มรรคผลเห็นปานนี้.
พระศาสดาอาทิผิด อักขระครั้นทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้ อย่างนี้แล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะ ๔. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้ละความเพียรดำรงอยู่ในพระอรหัต
อันเป็นผลอันเลิศ. แม้พระศาสดาก็ตรัสเรื่อง ๒ เรื่องสืบต่อกัน ทรงประชุม
ชาดกแสดงว่า คนรับใช้ผู้ไม่ละความเพียร ต่อยอาทิผิด อักขระหินให้น้ำแก่มหาชน ในสมัย
นั้น ได้เป็นภิกษุผู้ละความเพียรรูปนี้ ในบัดนี้ บริษัทที่เหลือในสมัยนั้น
เป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนหัวหน้าพ่อค้าเกวียนได้เป็นเรา ดังนี้ ได้ให้
พระธรรมเทศนานี้จบลงแล้ว.
จบ วัณณุปถชาดกที่ ๒
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 七月 24, 2017

Attama

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 55/187/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ท่านเรียนบทเหนือ ๆ ขึ้นไป บทที่เรียนแล้ว ๆ ก็เลือนหายไป เมื่อท่าน
จุลลปันถกนั้นพยายามเรียนคาถานี้เท่านั้น ๔ เดือนล่วงไปแล้ว ลำดับนั้น
พระมหาปันถกจึงคร่าพระจุลลปันถกนั้น ออกจากวิหารโดยกล่าวว่า จุลลปันถก
เธอเป็นผู้อาภัพในพระศาสนานี้โดย  เดือนไม่อาจเรียนคาถาเดียวได้ ก็เธอจัก
ทำกิจแห่งบรรพชิตให้ถึงที่สุดได้อย่างไร จงออกไปจากวิหาร. พระจุลลปันถก
ไม่ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ เพราะความรักในพระพุทธศาสนา.
ในคราวนั้น พระมหาปันถกได้เป็นพระภัตตุเทสก์ผู้แจกภัต. หมอ
ชีวกโกมารภัจถือของหอมและดอกไม้เป็นอันมากไปยังอัมพวันของตน บูชา
พระศาสดาฟังธรรมแล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระทศพลแล้วเข้าไปหา
พระมหาปันถกถามว่า ท่านผู้เจริญในสำนักของพระศาสดา มีภิกษุเท่าไร ? พระ-
มหาปันถกกล่าวว่า มีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป. หมอชีวกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ
พรุ่งนี้ ท่านจงพาภิกษุ ๕๐๐ รูปมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ไปรับภิกษาใน
นิเวศน์ของผม. พระเถระกล่าวว่า อุบาสก. ชื่อว่าพระจุลลปันถกเป็นผู้เขลามี
ธรรมไม่งอกงาม อาตมอาทิผิด อักขระภาพจะนิมนต์เพื่อภิกษุที่เหลือยกเว้น พระจุลลปันถกนั้น.
พระจุลลปันถกได้ฟังดังนั้น จึงคิดว่า พระเถระพี่ชายของเราเมื่อรับนิมนต์ เพื่อ
ภิกษุทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ก็รับ กันเราไว้ภายนอก พี่ชายของเราจักผิดใจ
ในเราโดยไม่ต้องสงสัย บัดนี้ เราจะประโยชน์อะไรด้วยพระศาสนานี้ เราจัก
เป็นคฤหัสถ์กระทำบุญมีทานเป็นต้นเลี้ยงชีวิต. วันรุ่งขึ้น พระจุลลปันถกนั้น
ไปแต่เช้าตรู่ด้วยคิดว่า จักเป็นคฤหัสถ์ ในเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาทรงตรวจ
โลก ได้ทรงเห็นเหตุนั้นนั่นแล จึงเสด็จไปก่อนล่วงหน้า ได้ประทับยืนจง
กรมอยู่ที่ซุ้มประตู ใกล้ทางที่พระจุลลปันถกจะไป. พระจุลลปันถกเมื่อจะเดิน
ไปสู่เรือน เห็นพระศาสดาจึงเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคม.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 七月 22, 2017

Apson

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 48/158/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ต่อมาวันหนึ่ง นางเข้าไปหาภิกษุผู้ฉันเสร็จไหว้แล้ว จึงถามอย่าง
นี้ว่า ท่านเจ้าขา จะหลุดพ้นจากทุกข์มีชาติเป็นต้นนี้ ได้อย่างไรเจ้าคะ.
ภิกษุทั้งหลายให้สรณะและศีล ๕ แก่นางแล้ว ประกาศให้รู้สภาพของ
ร่างกาย ประกอบนางไว้ในปฏิกูลมนสิการใส่ใจว่าปฏิกูล ภิกษุอีกพวกหนึ่ง
กล่าวธรรมมีกถาที่เกี่ยวด้วยความไม่เที่ยง. นางรักษาศีลอยู่ ๑๖ ปี ทำ
โยนิโสมนสิการติดต่อกันมาตลอดวันหนึ่ง ได้ความสบายในการฟังธรรม
และเจริญวิปัสสนาเพราะญาณแก่กล้า ก็ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
สมัยต่อมา นางทำกาละแล้วไปเกิดเป็นนางบำเรอสนิทเสน่หาของท้าว
สักกเทวราช. นางอันดุริยเทพหกหมื่นบำเรออยู่ มีอัปสรอาทิผิด สระ แสนหนึ่งแวดล้อม
เสวยทิพย์สมบัติใหญ่ ร่าเริงบันเทิงพร้อมด้วยบริวาร เที่ยวไปในอุทยาน
เป็นต้น. ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เห็นนางแล้ว ได้ถามโดยนัยที่กล่าว
ในหนหลังนั่นแหละว่า
ท่านแวดล้อมด้วยหมู่เทพนารี เที่ยวชมไปโดย
รอบในสวนจิตตลดาวันอันน่ารื่นรมย์ ประดุจท้าว
สักกเทวราช ส่องแสงสว่างไสวไปทุกทิศ เหมือนดาว
ประกายพรึก เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะ.
เช่นนี้ เพราะบุญอะไร อิฐผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน
และโภคทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.
ดูราเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม
ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ ท่าน
จึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่านจึง
สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 七月 20, 2017

Radiang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/184/5  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือ
ข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตร บน
พื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง.
เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือ
สายระเดียงอาทิผิด อักขระแล้ว ทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วเก็บจีวร.
ถ้าลมเจือด้วยผงคลี พัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านอาทิผิด ตะวัน-
ออก ถ้าพัดมาแต่ทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก ถ้าพัดมาแต่
ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมาแต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าฤดูหนาวพึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน ถ้าฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่าง
กลางวัน เปิดกลางคืน.
ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน เรือนไฟ วัจจกุฏี รก พึงปัดกวาดเสีย
ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำมาไว้ใน
หม้อชำระ.
ถ้าความกระสันอาทิผิด อักขระบังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงช่วยงับ หรือพึง
วานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงทำธรรมกถาแก่อาจารย์นั้น ถ้าความรำคาญ
บังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงช่วยบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย
บรรเทา หรือพึงทำธรรมกถาแก่อาจารย์นั้น ถ้าความเห็นผิดบังเกิดแก่อาจารย์
อันเตวาสิกพึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงทำธรรมกถาแก่
อาจารย์นั้น ถ้าอาจารย์ต้องอาบัติหนัก ควรปริวาส อันเตวาสิกพึงทำความ
ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อาจารย์ ถ้าอาจารย์
ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร
หนอ สงฆ์พึงชักอาจารย์เข้าหาอาบัติเดิม ถ้าอาจารย์ควรมานัต อันเตวาสิกอาทิผิด อักขระพึง
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 七月 18, 2017

Avijjamana

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 79/181/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
วางไว้ซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย ชื่อว่า อายตน-
บัญญัติ. การบัญญัติ. . .ซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นสภาพทรงไว้ซึ่งเป็นธาตุทั้งหลาย
ชื่อว่า ธาตุบัญญัติ. การบัญญัติ. . . ซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นจริง ชื่อว่า
สัจจบัญญัติ. การบัญญัติ. . .ซึ่งธรรมที่เป็นใหญ่ทั้งหลาย ชื่อว่า อินทริย-
บัญญัติ. การบัญญัติ. . .ซึ่งบุคคลทั้งหลายว่า เป็นบุคคล ชื่อว่า บุคคล-
บัญญัติ.
บัญญัติ ๖ นอกพระบาลี
ก็ว่าโดยนัยแห่งอรรถกถาบาลีมุตตกะ คือนอกจากพระบาลี บัญญัติ ๖
อื่นอีก คือ
๑. วิชชมานบัญญัติ
๒. อวิชชอาทิผิด อักขระมานบัญญัติ
๓. วิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ
๔. อวิชชนาเนน วิชชมานบัญญัติ
๕. วิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ
๖. อวิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ.
บรรดาบัญญัติ ๖ เหล่านั้น การบัญญัติธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล
อันเป็นของมีอยู่ เป็นอยู่ เกิดตามความเป็นจริงนี้แหละ ด้วยอำนาจแห่งสัจฉิ-
กัตถะและปรมัตถะ ชื่อว่า วิชชมานบัญญัติ.
อนึ่ง การบัญญัติคำทั้งหลายมีคำว่า หญิง ชาย เป็นต้น อันล้วน
แต่คำเป็นภาษาของชาวโลก อันไม่มีอยู่ (โดยแท้จริง) ชื่อว่า อวิชชมาน-
บัญญัติ.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 七月 17, 2017

Kha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 70/204/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
โบกขรณีเกลื่อนกล่นด้วยพวงผ้า คือพวงผ้าอันหาค่าอาทิผิด อักขระมิได้ มีผ้าปัตตุณณะ
และผ้าจีนะเป็นต้น ประดับตกแต่งด้วยพวงรัตนะทั้ง ๗. ดาดาษด้วย
ดอกไม้ คือดาดาษด้วยดอกไม้หอมมีจำปา สฬละ และจงกลนีเป็นต้น
วิจิตรงดงามด้วยดี. สระโบกขรณีมีอะไรอีกบ้าง ? คือสระโบกขรณีอบ
อวลด้วยสุคนธชาติอันมีกลิ่นหอมน่าพอใจยิ่ง. เจิมด้วยของหอมไว้โดยรอบ
คือประดับด้วยของหอมที่เอานิ้วทั้ง ๕ ไล้ทาไว้ สระโบกขรณีอันมีอยู่ใน
ทิศทั้ง ๔ ของปราสาท มุงอาทิผิด อาณัติกะด้วยเครื่องมุงเหมคือมุงด้วยเครื่องมุงอันเป็น
ทอง และเพดานทอง ดาดาษแผ่เต็มไปด้วยปทุมและอุบล ปรากฏเป็น
สีทองในรูปทอง สระโบกขรณีฟุ้งไปด้วยละอองเรณูของดอกปทุม คือ
ขจรขจายไปด้วยละอองธุลีของดอกปทุม งดงามอยู่.
รอบ ๆ เวชยันตปราสาทของเรา มีต้นไม้มีต้นจำปาเป็นต้นออก
ดอกทุกต้น นี้เป็นต้นไม้ดอก. ดอกไม้ทั้งหลายหล่นมาเองแล้วลอยไป
โปรยปราสาท อธิบายว่า โปรยลงเบื้องบนปราสาท.
มีอธิบายว่า ในเวชยันตปราสาทของเรานั้น มีนกยูงฟ้อน มีหมู่
หงส์ทิพย์ คือหงส์เทวดาส่งเสียงร้อง หมู่นกการวิก คือโกกิลาที่มีเสียง
เพราะขับขาน คือทำการขับร้อง และหมู่นกอื่น ๆ ที่ไม่สำคัญ ก็ร่ำร้อง
ด้วยเสียงอัน ไพเราะอยู่โดยรอบปราสาท.
รอบ ๆ ปราสาท มีกลองขึงหนังหน้าเดียวและกลองขึงหนังสอง-
หน้าเป็นต้นทั้งหมดได้ดังขึ้น คือได้ตีขึ้น พิณนั้นทั้งหมดซึ่งมีสายมิใช่น้อย
ได้ดีดขึ้น คือส่งเสียง. สังคีตทุกชนิด คือเป็นอเนกประการ จงเป็นไป
คือจงบรรเลง อธิบายว่า จงขับขานขึ้น.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 七月 16, 2017

Samma Nen

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 9/175/23 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๑๑๗. เรื่องกิฏาคิรีชนบท ๑๑๘. เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวีให้นวกรรมด้วย
เหตุเพียงวางก้อนดินฉาบทาฝา ตั้งประตู ติดสายยู ติดกรอบเช็ดหน้า ทำให้
มีสีขาว สีดำ สีเหลือง มุงหลังคา ผูกมัดหลังคา ปิดบังที่อาศัยแห่งนกพิราบ
ปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดผุพัง ขัดถู ให้นวกรรมทั้ง ๒๐ ปี ๓๐ ปี ตลอดปี ชั่วเวลา
ควันขึ้น ในเมื่อวิหารสำเร็จแล้ว เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้
นวกรรมแก่วิหารที่ยังไม่ได้ทำ ที่ทำยังไม่เสร็จ ให้ตรวจการงานในวิหารเล็ก
แล้วให้นวกรรม ๕-๖ ปี ให้ตรวจการงานในวิหารมุงแถบเดียว แล้วให้
นวกรรม ๗-๘ ปี ให้ตรวจการงานในวิหารหรือปราสาทใหญ่ แล้วให้นวกรรม
๑๐ ปี ๑๒ ปี ๑๑๙. เรื่องภิกษุให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง ๑๒๐. เรื่องภิกษุ
ให้นวกรรม ครั้ง แก่วิหารหนึ่งหลัง ๑๒๑. เรื่องภิกษุถือนวกรรมแล้วให้ภิกษุ
อื่นอยู่ ๑๒๒. เรื่องภิกษุถือนวกรรมแล้วเกียดกันเสนาสนะของสงฆ์ ๑๒๓.
เรื่องภิกษุให้นวกรรมแก่วิหารที่ตั้งอยู่นอกสีมา ๑๒๔. เรื่องภิกษุถือเอานวกรรม
แล้วเกียดกันตลอดฤดูกาล ๑๒๕. เรื่องภิกษุถือเอานวกรรมแล้วหลีกไปเสียบ้าง
สึกเสียบ้าง มรณภาพบ้าง ปฏิญาณเป็นสามเณรบ้าง บอกลาสิกขาบ้าง ต้อง
อันติมวัตถุบ้าง วิกลจริตบ้าง มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
บ้าง ถูกยกวัตรฐานไม่เห็นอาบัติบ้าง ฐานไม่ทำคืนอาบัติบ้าง ฐานไม่สละคืน
ทิฏฐิอันลามกบ้าง ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์บ้าง เป็นเถยยสังวาสบ้าง เข้ารีต
เดียรถีย์บ้าง เป็นสัตว์ดิรัจฉานบ้าง เป็นผู้ฆ่ามารดาบ้าง เป็นผู้ฆ่าบิดาบ้าง
ผู้ฆ่าพระอรหันต์บ้าง ผู้ประทุษร้ายภิกษุณีบ้าง ผู้ทำลายสงฆ์บ้าง ผู้ทำโลหิ-
ตุปบาทบ้าง เป็นอุภโตพยัญชนกบ้าง พึงมอบแก่ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า อย่าให้
ของสงฆ์เสียหาย เมื่อยังไม่เสร็จ ควรมอบให้แก่ภิกษุอื่น เมื่อทำเสร็จ แล้ว
หลีกไป นวกรรมเป็นของภิกษุนั้นนั่นเองอาทิผิด อักขระ สึก ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็น
สามเณรอาทิผิด อักขระ บอกลาสิกขา ต้องอันติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ วิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 七月 13, 2017

Phat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 5/198/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย เข้าไปปฏิบัติอยู่ใกล้ ๆ ด้วยน้ำฉัน หรือ
ด้วยการพัดวี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน เข้าไปปฏิบัติอยู่ใกล้ ๆ ด้วย
น้ำฉัน หรือด้วยการพัดวี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ฉักกะทุกกฏ
ปฏิบัติอยู่นอกหัตถบาส ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุฉันของเคี้ยว ภิกษุณีเข้าไปปฏิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ.
เข้าไปปฏิบัติอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร
[๑๗๑] ภิกษุณีถวายเอง ๑ ให้คนอื่นถวาย ๑ สั่งอนุปสัมบันให้
ปฏิบัติ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๖
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ภตฺตวิสฺสคฺคํ แปลว่า ภัตกิจ.
สามบทว่า ปานีเยน จ วิธูปเนน จ อุปติฏฺฐิตฺวา ความว่า
ยืนเอามือข้างหนึ่งถือขันน้ำ เอามือข้างหนึ่งถือพัด พัดอาทิผิด อักขระวีอยู่ใกล้ ๆ.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 七月 12, 2017

To

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 25/181/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นั้น จะพึงเสพเพื่อต้องการจีวรเป็นต้นก็หามิได้ ที่แท้พึงประพฤติเพื่อต้อง
การหลุดพ้นจากสังโยชน์ ๑๐. บทว่า สงฺเฆ วเส ความว่า เมื่อไม่ได้ความ
ยินดีในเสนาสนะเหล่านั้น ก็ไม่อยู่ในป่าซึ่งเกิดขึ้นเหมือนขี้ผงบนหลังลา พึง
อยู่ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อรักษาน้ำใจญาติโยมเป็นต้น. บทว่า รกฺขิตตฺโต
สติมา ความว่า ก็ภิกษุเมื่ออยู่ในที่นั้นไม่เสียดสีไม่กระทบกระทั่งเพื่อนพรหม-
จรรย์ รักษาตนมีสติปัฏฐานเป็นเบื้องหน้าอยู่เหมือนโคผู้ตัวดุในถิ่นของตน.
บัดนี้สหัมบดีพรหมนั้นบอกภิกขาจารวัตรแก่ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์ จึงกล่าว
คำว่า กุลา กุลํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิณฺฑิกาย จรนฺโต
ได้แก่ เที่ยวไปเพื่อต้องการอาหาร. บทว่า เสเวถ ปนฺตานิ สยนาสนานิ
ความว่า แม้หยั่งลงสู่ท่ามกลางสงฆ์อยู่ ปลูกต้นตาลและมะพร้าวเป็นต้นใน
บริเวณใกล้ ไม่พึงเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วยอุปัฏฐากเป็นต้น ทำความคู่ควรแห่ง
จิตให้เกิด ให้จิตร่าเริงยินดี จึงอยู่ในเสนาสนะอันสงัดอีกเท่านั้น เพราะฉะนั้น
จึงกล่าวสรรเสริญป่าอย่างเดียว. บทว่า ภยา ได้แก่ จากภัยในวัฏฏะ. บทว่า
อภเย ได้แก่ พระนิพพาน. บทว่า วิมุตฺโต ได้แก่ พึงเป็นผู้น้อมไปอยู่.
บทว่า ยตฺถ เภรวา ความว่า สัตว์ที่มีวิญญาณครองมีสีหะและเสือ
โคร่งเป็นต้นที่ก่อให้เกิดภัยในที่ใด สิ่งที่ไม่มีวิญญาณมีตออาทิผิด อักขระไม้และเถาวัลย์เป็นต้น
มีมากในกลางคืน. บทว่า สิรึสปา ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลานมีงูเป็นต้น. บทว่า
นิสีทิ ตตฺถ ภิกขุ ความว่า ภิกษุนั่งในที่เช่นนั้น. ด้วยคำว่า นิสีทิ ตตฺถ
ภิกฺขุ นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความไว้ดังนี้ว่า บัดนี้พวกเธอนั่งไม่ใส่
ใจถึงอารมณ์ที่น่าสะพึงกลัวที่อยู่ในที่นั้น สัตว์เลื้อยคลานและสายฟ้าแลบเป็น
ต้น โดยประการใด ภิกษุทั้งหลายย่อมนั่งประกอบความเพียรโดยประการนั้น
เหมือนกัน.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 七月 11, 2017

Phra Nam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 25/184/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี
ตรัสกะภิกษุอภิภูว่า ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมีกถาจงแจ่มแจ้งแก่พรหม พรหม
บริษัทและพรหมปาริสัชชะทั้งหลายเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอภิภูรับ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามอาทิผิด อักขระว่าสิขีแล้ว แล้ว
ยังพรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะทั้งหลาย ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว.
[๖๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าในกาลนั้น พรหม พรหม
บริษัท และพรหมปาริสัชชะทั้งหลาย ยกโทษติเตียนโพนทะนาว่า แน่ะท่าน
ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาเลย ก็เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะหน้า
เหตุไฉน พระสาวกจึงแสดงธรรม.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี
ตรัสเรียกภิกษุอภิภูมาว่า ดูก่อนพราหมณ์ พรหม พรหมบริษัท และพรหม
ปาริสัชชะเหล่านั้นติเตียนว่า แน่ะท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาเลย
ก็เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะหน้า เหตุไฉน พระสาวกจึงแสดงธรรม
ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้พรหม พรหมบริษัท และพรหม
ปาริสัชชะทั้งหลายสลดใจประมาณยิ่ง.
ภิกษุอภิภูทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าสิขีแล้ว มีกายปรากฏแสดงธรรมบ้าง มีกายไม่ปรากฏแสดงธรรมบ้าง
มีกายปรากฏกึ่งหนึ่งตอนล่าง ไม่ปรากฏกึ่งหนึ่งตอนบนแสดงธรรมบ้าง มีกาย
ปรากฏกึ่งหนึ่งตอนบน ไม่ปรากฏกึ่งหนึ่งตอนล่างแสดงธรรมบ้าง.
[๖๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ในกาลนั้น พรหม พรหม
บริษัท และพรหมปาริสัชชะอาทิผิด สระทั้งหลาย ได้มีจิตพิศวงเกิดแล้วว่า น่าอัศจรรย์จริง
ไม่เคยมีมาเลย ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ความที่สมณะเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 七月 09, 2017

Ap

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 4/664/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำจีวรอาบน้ำได้
[๖๑๕] สมัยต่อมา ภิกษุหลายรูปกำลังช่วยกัน ทำจีวรกรรมอยู่ในที่
แจ้งถูกต้องลมผสมธุลี ทั้งฝนก็ตกถูกต้องประปราย ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจ
ไม่อาบน้ำ ย่อมนอนทั้ง ๆ ที่ร่างกายโสมม ร่างกายที่โสมมนั้นย่อมประทุษร้าย
ทั้งจีวร ทั้งเสนาสนะ ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวฝนปนพายุ เราอนุญาต ยัง
หย่อนกึ่งเดือน อาบอาทิผิด อักขระน้ำได้.
ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ ๕
๑๐๖. ๗. จ. อนึ่ง ภิกษุใด ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำ เว้น
ไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อน
เดือนต้นแห่งฤดูฝน สองเดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อน เป็นคราว
กระวนกระวาย คราวเจ็บไข้ คราวทำการงาน คราวไปทางไกล
คราวฝนมากับพายุ นี้สมัยในเรื่องนั้น.
เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุทำจีวรอาบน้ำได้ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๑๖] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ... นี้
ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ยังหย่อนกึ่งเดือน คือ ยังไม่ถึงครึ่งเดือน.
บทว่า อาบน้ำ ได้แก่ อาบน้ำด้วยจุรณหรือดินเหนียว เป็นทุกกฏ
ในประโยค เมื่ออาบน้ำเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 七月 08, 2017

Bai Mai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 72/188/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สัพพผลทายกเถราปทานที่ ๙ (๕๑๙)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลไม้ต่าง ๆ

[๑๐๙] ครั้งนั้น เราเป็นพราหมณ์มีนาม
ชื่อว่า วรุณะ เป็นผู้เรียนจบมนต์ ทิ้งบุตร ๑๐ คน
เข้าไปกลางป่า สร้างอาศรมอย่างสวยงาม สร้าง
บรรณศาลาจัดไว้เป็นห้อง ๆ น่ารื่นรมย์ใจ อาศัย
อยู่ในป่าใหญ่
พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้
แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ทรงพระประ-
สงค์จะช่วยเหลือเรา พระองค์จึงได้เสด็จมายัง
อาศรมของเรา
พระรัศมีได้แผ่กว้างใหญ่ตลอดไพรสณฑ์
ครั้งนั้น ป่าใหญ่โพลงไปด้วยพุทธานุภาพ เรา
เห็นปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้
คงที่ ได้เก็บเอาใบอาทิผิด ไม้มาเย็บเป็นกระทง แล้วเอา
ผลไม้ใส่จนเต็มหาบ เข้าไปเฝ้าพระสัมมา-
พุทธเจ้าแล้วได้ถวายพร้อมทั้งหาบ เพื่อทรง
อนุเคราะห์เรา พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่เราว่า
ท่านจงถือเอาหาบเดินตามหลังเรามา เมื่อ
สงฆ์บริโภคแล้ว บุญจักมีแก่ท่าน
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 七月 03, 2017

Kamnoet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 72/189/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เราได้หาบผลไม้ไปถวายแก่พระภิกษุ-
สงฆ์ เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระภิกษุสงฆ์แล้ว
ได้เข้าถึงสวรรค์ชั้นดุสิต
เป็นผู้ประกอบด้วยการฟ้อน การขับ
การประโคมอันเป็นทิพย์ เสวยยศในสวรรค์ชั้น
ดุสิตนั้นโดยบุญกรรม เราเข้าถึงกำเนิดอาทิผิด อักขระใด ๆ คือ
เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้น ๆ เราไม่มี
ความบกพร่องในเรื่องโภคทรัพย์เลย นี้เป็นผล
แห่งการถวายผลไม้
เพราะได้ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า เรา
จึงได้เป็นใหญ่ตลอดทวีปทั้ง ๔ พร้อมด้วยสมุทร
พร้อมทั้งภูเขา ถึงฝูงนกมีเท่าใดที่บินอยู่ในอากาศ
นกเหล่านั้นก็ตกอยู่ในอำนาจของเรา นี้เป็นผล
แห่งการถวายผลไม้
ยักษ์ ภูต รากษส กุมภัณฑ์และครุฑ
เท่าที่มีอยู่ในไพรสัณฑ์ ต่างก็บำรุงบำเรอเรา ถึง
พวกเต่า หมาไน ผึ้งและเหลือบยุง ก็ตกอยู่ใน
อำนาจของเรา นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
แม้เหล่าสกุณปักษีมีกำลังมากชื่อสุบรรณ
ก็นับถือเรา นี้ก็เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
ถึงพวกนาคที่มีอายุยืน มีฤทธิ์ มียศใหญ่
ก็ตกอยู่ในอำนาจเรา นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 七月 02, 2017

Praphruet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 20/191/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แล้ว ดูก่อนปุณณะ แม้เพราะอย่างนี้ เราจึงกล่าวว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท
ข้อนี้เรากล่าวว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว.
ดูก่อนปุณณะ ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อม
เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมนั้นเป็นไฉน ดูก่อนปุณณะ บรรดากรรม ๓
ประการนั้น เจตนาเพื่อละกรรมดำ มีวิบากดำ เจตนาเพื่อละกรรมขาว มี
วิบากขาว เจตนาเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวนั้นเสีย ข้อนี้
เรากล่าวว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
สิ้นกรรม ดูก่อนปุณณะ กรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญา
อันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม.

ปุณณโกลิยบุตรแสดงตนอาทิผิด อักขระเป็นอุบาสก
[๘๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ปุณณโกลิยบุตรผู้
ประพฤติอาทิผิด อักขระวัตรดังโค ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่
คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้
ฉันใด พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมและ
พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น
อุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งอาทิผิด อักขระแต่วันนี้เป็นต้นไป.

เสนิยอเจละขอบรรพชาอุปสมบท
เสนิยอเจละ ผู้ประพฤติวัตรดังสุนัขได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระ-
 
พระปิฎกธรรม