星期一, 十月 09, 2017

Tam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 55/166/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระศาสดาครั้นตรัสธรรมกถานี้แล้วตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ในกาล
ก่อน คนผู้มีปกติยึดถือโดยการคาดคะเน ถึงความพินาศใหญ่หลวงด้วย
ประการอย่างนี้ ส่วนคนผู้มีปรกติยึดถือตามอาทิผิด อักขระความจริง พ้นจากเงื้อมมือของ
พวกอมนุษย์ ไปถึงที่ที่ปรารถนา ๆ โดยสวัสดี แล้วกลับมาเฉพาะยังที่อยู่ของ
ตนแม้อีก เมื่อจะทรงสืบต่อเรื่องแม้ทั้งสองเรื่อง ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งเองใน
อปัณณกธรรมเทศนานี้ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
คนพวกหนึ่งกล่าวฐานะไม่ผิด นักเดาทั้งหลาย
กล่าวฐานะนั้น ว่าเป็นที่สอง คนมีปัญญารู้ฐานะและ
มิใช่ฐานะนั้นแล้วควรถือเอาฐานะที่ไม่ผิดไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปณฺณกํ ได้แก่ เป็นไปอย่างแน่นอน
คือ ไม่ผิด เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์. บทว่า ฐานํ ได้แก่ เหตุ. จริงอยู่
ในเหตุ เพราะเหตุที่ผลชื่อว่าย่อมตั้งอยู่ เพราะมีความเป็นไปต่อเนื่องกับเหตุนั้น
ฉะนั้น ท่านจึงเรียกเหตุนั้นว่าฐานะ และพึงทราบประโยคของบทว่า านํ
นั้นในประโยคมีอาทิว่า ฐานญฺจ ฐานโต อฐานญฺจ อฐานโต ฐานะโดย
ฐานะ และมิใช่ฐานะ.โดยมิใช่ฐานะ. ดังนั้น แม้ด้วยบททั้งสองว่า อปณฺณ-
กฏฺฐานํ ท่านแสดงว่า เหตุใดนำมาซึ่งความสุขโดยส่วนเดียว เหตุนั้น
บัณฑิตทั้งหลายปฏิบัติแล้ว เหตุอันเป็นไปอย่างแน่นอน เหตุอันงาม ชื่อว่า
อปัณณกะไม่ผิด นี้เป็นเหตุอันไม่ผิด เป็นเหตุเครื่องนำออกจากทุกข์ ความ
ย่อในที่นี้ เพียงเท่านี้. แต่เมื่อว่าโดยประเภท สรณคมน์ ๓ ศีล ๕ ศีล ๘
ศีล ๑๐ ปาฏิโมกขสังวร อินทรีย์สังวร อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยปฏิเสวนะ
การเสพปัจจัย จตุปาริสุทธิศีลแม้ทั้งหมด ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์
ทั้งหลาย ความรู้ประมาณในโภชนะ ชาคริยานุโยค ฌาน วิปัสสนา อภิญญา
สมาบัติ อริยมรรค อริยผล แม้ทั้งหมดนี้ เป็นฐานะอันไม่ผิด อธิบายว่า
ข้อปฏิบัติไม่ผิด ข้อปฏิบัติอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: