星期六, 三月 31, 2018

Yuea

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/2/16  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในเนือง ๆ อยู่ พิจารณาเห็น
จิตในจิตภายนอกเนือง ๆ อยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและ
ภายนอกเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสเสียได้ในโลก.
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในเนือง ๆ อยู่ พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมภายนอกเนือง ๆ อยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งภายในและภายนอกเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.

กายานุปัสสนานิทเทส
พิจารณาเห็นกายอาทิผิด อักขระในกายภายใน
[๔๓๒] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นกายในกายภายในเนือง ๆ อยู่ เป็น
อย่างไร ?
ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายภายใน แต่พื้นเท้าขึ้นไปในเบื้องบน
แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด
มีประการต่าง ๆ ว่า ในกายนี้ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก
เยื่ออาทิผิด อาณัติกะในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร๑.

๑. บาลีในทุกแห่งไม่มี มตฺถลุงคํ = มันสมอง.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 三月 30, 2018

Ratsadon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 61/121/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
(พญาหงส์ทูลว่า) พระองค์ผู้ทรงพระเจริญ
ทรงเกษมสำราญดีหรือ โรคาพยาธิมิได้เบียดเบียน
พระองค์หรือ รัฐสีมาอาณาจักรของพระองค์นี้ สมบูรณ์
ดีหรือ พระองค์ทรงปกครองประชาราษฎรโดยธรรม
หรือ.
(พระราชาตรัสตอบว่า) ดูก่อนพญาหงส์ เรา
เกษมสำราญดี ทั้งโรคาพยาธิก็มิได้เบียดเบียน รัฐสีมา
อาณาจักรของเรานี้ ก็สมบูรณ์ดี เราปกครองราษฎรอาทิผิด อักขระ
โดยธรรม.
(พญาหงส์ทูลว่า) โทษผิดบางประการในหมู่อำ-
มาตย์ราชเสวกทั้งหลายของพระองค์ ไม่มีอยู่หรือ หมู่
ศัตรูห่างไกลจากพระองค์ เหมือนเงาที่ไม่เจริญด้าน
ทิศทักษิณอยู่แลหรือ.
(พระราชาตรัสตอบว่า) โทษผิดบางประการใน
หมู่อำมาตย์ราชเสวกทั้งหลายของเราแม้น้อยหนึ่งไม่มี
เลย อนึ่ง หมู่ศัตรูก็ห่างไกลจากเรา เหมือนเงาย่อม
ไม่เจริญทางด้านทิศทักษิณฉะนั้น.
(พญาหงส์ทูลว่า) พระมเหสีของพระองค์ มิได้
ทรงประพฤติล่วงละเมิดพระทัย ทรงเชื่อฟัง ทรง
ปราศรัยน่ารัก พรักพร้อมไปด้วยบุตรสมบัติ รูปสมบัติ
และยศสมบัติ ยังเป็นที่โปรดปรานของพระองค์อยู่
หรือประการใด.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 三月 29, 2018

Ubasok

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   7/16/5  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทรงอนุญาตรองเท้าหลายชั้นที่ใช้แล้ว
[๗] ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว
ทรงถือบาตรจีวร เสด็จพระพุทธดำเนินเข้าไปบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ มี
ภิกษุรูปหนึ่งเป็นปัจฉาสมณะ แต่ภิกษุรูปนั้นเดินเขยกตามพระผู้มีพระภาคเจ้า
ไปเบื้องพระปฤษฎางค์ อุบาสกอาทิผิด อักขระคนหนึ่งสวมรองเท้าหลายชั้น ได้เห็นพระผู้มี
พระภาคเจ้ากำลังเสด็จพระพุทธดำเนินมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วจึงถอดรองเท้า
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น อภิวาทแล้ว
จึงได้ถามว่า เพราะอะไร พระผู้เป็นเจ้าจึงเดินเขยก ขอรับ.
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า เพราะเท้าทั้งสองของอาตมาแตก
อ. นิมนต์พระผู้เป็นเจ้ารับรองเท้า ขอรับ.
ภิ. อย่าเลย ท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามรองเท้าหลายชั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า เธอรับรองเท้านั้นได้ ภิกษุ.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าหลายชั้นที่ใช้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รองเท้า
หลายชั้นที่ใหม่ ภิกษุไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ห้ามสวมรองเท้าในที่บางแห่ง
[๘] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงฉลองพระบาท
เสด็จพระพุทธดำเนินอยู่ในที่แจ้ง ภิกษุผู้เถระทั้งหลายทราบว่า พระศาสดามิได้
ทรงฉลองพระบาทเสด็จพระพุทธดำเนินอยู่ ดังนี้ จึงเดินไม่สวมรองเท้า เมื่อ
พระศาสดาเสด็จพระพุทธดำเนินมิได้ทรงฉลองพระบาทแม้เมื่อภิกษุผู้เถระ
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 三月 19, 2018

Sin

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 31/338/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ศากยะสมาทานสิกขาในเวลาจะสิ้นอาทิผิด อาณัติกะพระชนม์ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงว่า ได้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาสามในเวลาจะสิ้นพระชนม์.
จบอรรถกถาปฐมสรกานิสูตรที่ ๔

๕. ทุติยสรกานิสูตร

ผู้ถึงสรณคมน์ไม่ไปสู่วินิบาต

[๑๕๓๗] กบิลพัสดุ์นิทาน. ก็สมัยนั้น เจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่าน ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ
เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะ
มากด้วยกัน มาร่วมประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมยกโทษติเตียนบ่นว่า น่า-
อัศจรรย์หนอ ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ในที่นี้
ใครเล่าจักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์แล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่าน ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ
เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า เจ้าสรกานิศากยะมิได้กระทำ
ให้บริบูรณ์ในสิกขา.
[๑๕๓๘] ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานพระวโรกาส เจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพยากรณ์ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง
ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะมากด้วยกัน มาร่วม
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 三月 18, 2018

Rat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   7/1/8   ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระวินัยปิฎก
เล่มที่ ๕
มหาวรรค ภาคที่ ๒

ขอนอบน้อมอาทิผิด อักขระแด่อาทิผิด อาณัติกะพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
จัมมขันธกะ
เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร
[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ
เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชอาทิผิด อักขระ เสวย
ราชสมบัติเป็นอิสราธิบดี ในหมู่บ้านแปดหมื่นตำบล ก็สมัยนั้น ในเมืองจัมปาอาทิผิด สระ
มีเศรษฐีบุตรชื่อโสณโกฬิวิสโคตร เป็นสุขุมาลชาติ ที่ฝ่าเท้าทั้งสองของเขามี
ขนงอกขึ้น คราวหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช มีพระบรมราชโอง-
การโปรดเกล้า ให้ราษฎรอาทิผิด อักขระในตำบลแปดหมื่นนั้นประชุมกันแล้ว ทรงส่งทูตไป
ในสำนักเศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะ ดุจมีพระราชกรณียกิจสักอย่างหนึ่ง ด้วย
พระบรมราชโองการว่า เจ้าโสณะจงมา เราปรารถนาให้เจ้าโสณะมา มารดา
บิดาของเศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะจึงได้พูดตักเตือนเศรษฐีบุตรนั้นว่า พ่อโสณะ
พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรเท้าทั้งสองของเจ้า ระวังหน่อย
พ่อโสณะ เจ้าอย่าเหยียดเท้าทั้งสองไปทางที่พระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ จงนั่งขัด
สมาธิตรงพระพักตร์ของพระองค์ เมื่อเจ้านั่งแล้ว พระเจ้าอยู่หัว จักทอด
พระเนตรเท้าทั้งสองได้.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 三月 17, 2018

Top

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 21/454/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภารทวาชะ เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว
อาฬารดาบสกาลามโคตรได้กล่าวว่า อยู่เถิดท่าน วิญญูบุรุษทำลัทธิของอาจารย์
ตน ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งโดยไม่ช้าในธรรมใดแล้วเข้าถึงอยู่ ธรรมนี้ก็
เช่นนั้น เรานั้นเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลันไม่นานเลย เรากล่าวญาณวาท
และเถรวาทได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจา เพียงชั่วกาลที่พูดตอบเท่านั้น
อนึ่ง ทั้งเราและผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้เราเห็น เรามีความคิดเห็นว่า
อาฬารดาบสกาลามโคตรจะประกาศว่า เราทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองแล้ว เข้าถึงธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงศรัทธาอย่างเดียวดังนี้หามิได้ ที่แท้
อาฬารดาบสกาลามโคตรรู้เห็นธรรมนี้อยู่ได้ถามว่า ท่านกาลามะ ครั้งนั้นเรา
จึงเข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองเข้าถึงแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ เมื่อเราถามอย่างนี้
อาฬารดาบสกาลามโคตรได้ประกาศอากิญจัญญายตนะ เราได้มีความคิดเห็นว่า
มิใช่อาฬารดาบสกาลามโคตรเท่านั้นมีศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา มิใช่อาฬาร-
ดาบสกาลามโคตรเท่านั้นมีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา แม้เราก็มี
ความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา ถ้ากระไร เราพึงตั้งความเพียร เพื่อ
จะทำให้แจ้งชัดซึ่งธรรมที่อาฬารดาบสกาลามโคตรประกาศว่า ทำให้แจ้งชัด
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่นั้นเถิด เรานั้นได้ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ โดยฉับพลันไม่นานเลย ลำดับนั้น เราได้เข้า
ไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร แล้วได้ถามว่า ท่านกาลามะ ท่านทำธรรมนี้
ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้
หรือหนอ อาฬารดาบสกาลามโคตรตอบอาทิผิด อักขระว่า อาวุโส เราทำธรรมนี้ให้แจ้งชัด
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เราได้
กล่าวว่า แม้เราก็ทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ด้วยเหตุ
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 三月 16, 2018

Kradan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 75/113/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ตอบว่า มิใช่ไม่มี จริงอยู่ พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อจำนงอยู่
ก็พึงแผ่พระรัศมีไปสู่หมื่นโลกธาตุ หรือยิ่งกว่านั้นก็ได้ แต่ว่า พระรัศมีสรีระ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า มังคละ แผ่ไปสู่หมื่นโลกธาตุตั้งอยู่เป็น
นิตย์ทีเดียว ด้วยอำนาจการตั้งความปรารถนาไว้ในบุรพชาติ เหมือนพระรัศมี
วาหนึ่งของพระพุทธเจ้าอื่น ๆ.
ได้ยินว่า พระมังคลพุทธเจ้านั้น ในขณะที่บำเพ็ญบารมีเป็นพระ-
โพธิสัตว์ ดำรงอัตภาพเช่นเดียวกับพระเวสสันดร พร้อมทั้งบุตรและภรรยา
อยู่ที่ภูเขาเช่นกับภูเขาวงกตอาทิผิด อักขระ ครั้งนั้น มียักษ์ตนหนึ่งชื่อว่า ขรทาฐิกะ ทราบว่า
พระมหาบุรุษมีพระทัยในการจำแนกทาน จึงแปลงเพศเป็นพราหมณ์เข้าไป
แล้วทูลขอทารกทั้งสองพระองค์กะพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์ทรงยินดีร่าเริง
แล้วด้วยทรงพระดำริว่า เราจักให้ลูกน้อยแก่พราหมณ์ ดังนี้ แล้วพระราชทาน
ทารกทั้งสอง อันสามารถยังแผ่นดินหวั่นไหวจดน้ำรองแผ่นดิน ยักษ์ยืนพิง
แผ่นกระดานอาทิผิด อักขระที่พิงไว้ในที่สุดแห่งที่จงกรม เมื่อพระมหาสัตว์มองดูอยู่นั่นแหละ
เคี้ยวกินทารกทั้งสองพระองค์ เหมือนเคี้ยวกินกองรากไม้ มหาบุรุษแลดูยักษ์
เมื่อยักษ์นี้สักว่าอ้าปากเท่านั้น ธารโลหิตก็หลั่งออกดุจเปลวไฟ พระมหาบุรุษนั้น
แม้เห็นปากของยักษ์นั้น ก็มิได้เสียพระทัย แม้เพียงปลายผมให้เกิดขึ้น ทรง
พระดำริว่า สุทินฺนํ วต เม ทานํ (ทานเราให้ดีแล้ว ) แล้วยังปีติโสมนัส
อันใหญ่ให้เกิดแก่พระองค์.
พระมหาบุรุษนั้น ทรงตั้งความปรารถนาว่า ด้วยวิบากเป็นเครื่อง
ไหลออกแห่งบุญของเรานี้ ในอนาคตกาล ขอรัศมีทั้งหลายจงออกจากสรีระโดย
ทำนองนี้ ดังนี้ เมื่อพระองค์อาศัยเหตุนั้นตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว รัศมี
ทั้งหลายจึงออกจากพระสรีระแผ่ไปสู่ที่มีประมาณเท่านี้.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 三月 15, 2018

Akan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 3/754/3  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เข้าไปหาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจุ่มจีวรนี้ลงในน้ำแล้วดึงเป็น
หลายครั้ง เพื่อประสงค์อะไร
ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า อกาลอาทิผิด อักขระจีวรผืนนี้เกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้า จะ
ทำจีวรก็ไม่พอ เพราะฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้จุ่มจีวรนี้ตากแล้วดึง
เป็นหลายครั้ง พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ก็เธอยังมีหวังจะได้จีวรมาอีกหรือ
ภิ. มี พระพุทธเจ้าข้า
ทรงอนุญาตอกาลจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับอกาลจีวรแล้วเก็บไว้ได้
โดยมีหวังว่าจะได้จีวรใหม่มาเพิ่มเติม.
[๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตให้รับอกาลจีวรแล้วเก็บไว้ได้ โดยมีหวังว่าจะได้จีวรใหม่มา
เพิ่มเติม จึงรับอกาลจีวรแล้วเก็บไว้เกินหนึ่งเดือน จีวรเหล่านั้นเธอห่อ
แขวนไว้ที่สายระเดียง
ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปตามเสนาสนะ ได้เห็นจีวรเหล่านั้น
ซึ่งภิกษุทั้งหลายห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง ครั้นแล้วจึงถามภิกษุทั้งหลายว่า
จีวรเหล่านี้ของใครห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง
ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า อกาลจีวรเหล่านี้ของพวกกระผม ๆ เก็บไว้
โดยมีหวังว่าจะได้จีวรใหม่มาเพิ่มเติม
อา. เก็บไว้นานเท่าไรแล้ว
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 三月 12, 2018

Pen

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 3/343/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บัณฑิตพึงทราบอาการที่ภิกษุจำเป็นต้องกล่าวว่า เธอจักเป็นผัว, เธอจัก
เป็นสามี, จักอาทิผิด อักขระเป็นชู้.
สองบทว่า อนฺตมโส ตํขณิกายปิ มีความว่า หญิงที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ตังขณิกา เพราะผู้อันชายพึงอยู่ร่วมเฉพาะ
ในขณะนั้น คือ เพียงชั่วครู่, ความว่า เป็นเมียเพียงชั่วคราว โดย
กำหนดอย่างต่ำที่สุดทั้งหมด. เมื่อภิกษุบอกความประสงค์ของชายอย่างนี้
ว่า เธอจักเป็นเมียชั่วคราว แก่หญิงแม้นั้น ก็เป็นสังฆาทิเสส. โดยอุบาย
นี้นั่นแล แม้ภิกษุผู้บอกความประสงค์ของหญิงแก่ชายอย่างนี้ว่า เธอจัก
เป็นผัวชั่วคราว บัณฑิตพึงทราบว่า ต้องสังฆาทิเสส.
[อธิบายหญิง ๑๐ จำพวก]
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงหญิงจำพวกที่ทรง
ประสงค์ในคำว่า อิตฺถิยา วา ปุริสมตึ นี้ โดยประเภทแล้ว ทรงแสดง
ชนิดแห่งอาบัติ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ชักสื่อ ในหญิงเหล่านั้น จึงตรัส
คำว่า ทส อิตฺถิโย เป็นอาทิผิด สระต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาตุรกฺขิตา ได้แก่ หญิงที่มารดา
รักษา คือ มารดารักษาโดยประการที่จะสำเร็จการอยู่ร่วมกับผู้ชายไม่ได้
ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีจึงกล่าวแม้บทภาชนะแห่งบทว่า มาตุรกฺขิตา
นั้นว่า มารดาย่อมรักษาคุ้มครอง ยังตนให้ทำความเป็นใหญ่ ยังอำนาจ
ให้เป็นไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รกฺขิตา ความว่า ไม่ให้ไปในที่
ไหน ๆ. บทว่า โคเปติ ความว่า ย่อมกักไว้ในที่คุ้มครอง โดยประการ
ที่ชายเหล่าอื่นจะไม่เห็น.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 三月 11, 2018

Bot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 52/318/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทาฐิโน. คำว่า นทนฺติ ทาฐิโน แม้นี้ ท่านถือเอาก็เพื่อจะแสดงชี้ถึง
ความสงัดเงียบจากหมู่ชนเท่านั้น.
บทว่า วิตกฺเก อุปรุนฺธิยตฺตโน ความว่า กำจัดมิจฉาวิตกทั้งหลาย
มีกามวิตกเป็นต้น โดยพลังแห่งความเป็นปฏิอาทิผิด อักขระปักษ์ของตน เพราะนับ
เนื่องในสันดานของตน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อตฺตโน นี้ พึงประกอบ
เข้าด้วยบทว่า วินฺทติ นี้ว่า เมื่อนั้นย่อมไม่ได้ประสบความยินดีอย่างอื่น
ยิ่งไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น ดังนี้.
บทอาทิผิด อักขระว่า นคนฺตเร แปลว่า ภายในภูเขา.
บทว่า นควิวรํ ได้แก่ ถ้ำภายในภูเขา หรือเงื้อมเขา.
บทว่า สมสฺสิโต ได้แก่ เข้าไปโดยการอาศัยอยู่.
บทว่า วีตทฺทโร ได้แก่ ปราศจากกิเลสเป็นเหตุให้กระวนกระวาย
ได้.
บทว่า วีตขิโล ได้แก่ ละกิเลสดุจตะปูตรึงใจเสียได้.
บทว่า สุขี ได้แก่ มีความสุข ด้วยสุขอันเกิดแต่ฌานเป็นต้น.
บทว่า มลขิลโสกนาสโน ได้แก่ ละมลทินมีราคะเป็นต้น ละ
กิเลสดุจตะปูตรึงใจ ๕ ประการ และละความเศร้าโศก มีความพลัดพราก
จากญาติเป็นต้นเป็นเหตุได้.
บทว่า นิรคฺคโฬ ได้แก่ อวิชชา ท่านเรียกว่า กลอนประตู
เพราะห้ามการเข้าไปใกล้พระนิพพาน, เรียกว่า นิรคฺคโฬ เพราะไม่มี
กลอนประตูคืออวิชชานั้น.
บทว่า นิพฺพนโถ ได้แก่ ไม่มีตัณหา. บทว่า วิสลฺโล ได้แก่
ปราศจากลูกศรคือกิเลสมีราคะเป็นต้น.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 三月 10, 2018

Chetiya

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 39/313/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในเจดีย์ก็ดี ในสงฆ์ก็ดี ในบุคคลก็ดี ในแขก
ก็ดี ในมารดาก็ดี ในบิดาก็ดี ในพี่ชายก็ดี.
ในคาถานั้น ชื่อว่า เจติยะ เพราะควรก่อ ท่านอธิบายว่า ควรบูชา
ชื่อว่า เจติยะอาทิผิด อักขระ เพราะวิจิตรแล้ว. เจดีย์นั้นมี ๓ อย่าง คือ บริโภคเจดีย์
อุทิสสกเจดีย์ ธาตุกเจดีย์.
บรรดาเจดีย์ทั้ง ๓ นั้น โพธิพฤกษ์ ชื่อว่า บริโภคเจดีย์ พระพุทธ
ปฏิมาอาทิผิด อักขระ ชื่อว่า อุทิสสกเจดีย์ พระสถูปที่มีห้องบรรจุอาทิผิด อักขระพระธาตุ ชื่อว่า ธาตุก-
เจดีย์อาทิผิด .
บทว่า สงฺโฆ ได้แก่ ผู้ใดผู้หนึ่ง ในหมู่สงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข. บทว่า ปุคฺคโล ได้แก่ ผู้ใดผู้หนึ่ง ในหมู่คฤหัสถ์และบรรพชิต
เป็นต้น. ชื่อว่า อติถิ [แขก] เพราะเขาไม่มีดิถี คือมาในวันไหนก็ได้ คำ
นี้เป็นชื่อของแขกผู้มาในขณะนั้น. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.
บัณฑิตรู้จักเจดีย์เป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ พึงทราบความแห่งคาถานี้
อย่างนี้ ขุมทรัพย์นั้นใดตรัสว่า เป็นอันฝังดีแล้ว ขุมทรัพย์นั้น ที่เขาฝังไว้
ในวัตถุเหล่านั้น ย่อมชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว. เพราะเหตุไร เพราะสามารถอำนวย
ผลที่น่าปรารถนาได้ตลอดกาลนาน. จริงอย่างนั้น ชนทั้งหลายถวายในพระ-
เจดีย์แม้เล็กน้อย ย่อมเป็นผู้ได้ผลที่ปรารถนาตลอดกาลนาน เหมือนอย่างที่
ตรัสไว้ว่า
เอกปุปผํว ทตฺวาน อสีติกปฺปโกฏิโย
ทุคฺคตึ นาภิชานามิ ปุปฺผทานสฺสิทํ ผลํ.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 三月 09, 2018

Kratai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/365/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พึงทราบวินิจฉัยว่าด้วยความเป็นครุภัณฑ์ ในอธิการนี้ต่อไป.
จริงอยู่ บุคคลย่อมซื้อขายแม้ใบไม้ในที่ใด ชนทั้งหลาย ย่อมถือเอา
เพื่อต้องการแก่ประโยชน์ทั้งหลาย มีการห่อหนังสือเป็นต้น ในที่อันหาได้ยาก
เช่นนั้น ย่อมจัดเป็นครุภัณฑ์ทีเดียว. พึงทราบวินิจฉัยในใบไม้ทองหลาง และ
ใบตาล. แม้ใบตาลบัณฑิตก็พึงกล่าวในฐานะนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ แม้ใบตาล
ในป่าตาลที่เกิดเอง ในที่อันสงฆ์กำหนดไว้นั่นแหละ จัดเป็นครุภัณฑ์. นอก
จากนั้นไม่เป็น. ตาลที่สงฆ์ปลูกไว้ เป็นครุภัณฑ์ แม้ทั้งหมด. ใบลานเปล่า
โดยที่สุดมีประมาณ ๘ นิ้ว เป็นประมาณของครุภัณฑ์. แม้หญ้า ก็พึงอนุโลม
เข้าในข้อนี้เหมือนกัน. ก็ในที่ใด หญ้าไม่มี ในที่นั้น ชนทั้งหลายย่อมใช้
กำบัง ด้วยหญ้ามุงกระต่ายอาทิผิด อักขระ ด้วยฟาง และด้วยใบมะพร้าวเป็นต้น เพราะฉะนั้น
หญ้าทั้งหลาย แม้เหล่านั้น ท่านจึงสงเคราะห์เข้าในข้อนี้. ในหญ้ามุงกระต่าย
และฟางเป็นต้น หญ้าอย่างใดอย่างหนึ่ง มีประมาณหนึ่งกำมือ เป็นครุภัณฑ์.
ในบรรดาใบมะพร้าวเป็นต้น แม้ใบหนึ่ง อันบุคคลถวายแก่สงฆ์ หรือที่เกิด
ในที่ของสงฆ์ หรือหญ้าที่เกิดเอง เป็นของอันบุคคลคุ้มครองรักษาในพื้นที่
แห่งหญ้าของสงฆ์ ภายนอกอารามก็จัดเป็นครุภัณฑ์. เมื่อสงฆ์ทำสังฆกรรมก็ดี
ทำเจดีย์ก็ดี ในการทำอันเป็นของเฉพาะบุคคลก็ดี การให้หญ้านั้นเกินไป
ก็ควร. แม้ในไม้ไผ่ที่กล่าวแล้วในหนหลัง ก็นัยนี้เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในการให้ดอกไม้ ดอกไม้ทั้งหลายที่จัดเป็นครุภัณฑ์
คือ ที่สงฆ์กำหนดไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายเก็บดอกไม้ที่ต้นไม้ทั้งหลาย มี
ประมาณเท่านี้ แล้วน้อมไปในระเบียบแห่งข้าวยาคูและภัต หรือน้อมไปใน
การปฏิสังขรณ์เสนาสนะ มีประมาณเท่านี้ ดังนี้.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 三月 05, 2018

Sampayut

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 30/369/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ก็เมื่อรูปในจักขุทวารไปสู่คลอง เมื่ออาวัชชนะเป็นต้นเกิดแล้วดับไป
ด้วยสามารถทำกิจของตนให้สำเร็จเบื้องบนจากภวังคจลนะในที่สุด ชวนะย่อม
เกิดขึ้น. ชวนะนั้นย่อมเป็นเหมือนอาคันตุกบุรุษในจักขุทวารอันเป็นเรือนของ
อาวัชชนะเป็นต้นที่เกิดขึ้นในครั้งก่อน. เมื่ออาคันตุกบุรุษนั้นเข้าไปในเรือน
ของคนอื่นเพื่อขออะไร ๆ แม้เมื่อเจ้าของบ้านนั่งนิ่งก็ไม่ควรบังคับ ฉันใด
แม้เมื่ออาวัชชนะเป็นต้น ในจักขุทวารอันเป็นเรือนของอาวัชชนะเป็นต้น ไม่-
กำหนัด ไม่โกรธ และไม่หลง ก็ไม่ควรกำหนัด โกรธ และหลงฉันนั้น. พึงทราบ
อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถความเป็นอาคันตุกะ (ผู้จรมา) อย่างนี้
ด้วยประการฉะนี้.
ก็จิตเหล่านี้ใด อันมีโวฏฐัพพนะเป็นที่สุด เกิดขึ้นในจักขุทวาร จิต
เหล่านั้น ย่อมแตกทำลายไปในที่นั้น ๆนั่นเอง พร้อมกับสัมปยุตตธรรม ย่อม
ไม่เห็นกันและกัน จิตนอกนี้ ย่อมเป็นไปชั่วคราว. ในข้อนั้น อุปมาเหมือน
ในเรือนหลังหนึ่ง เมื่อคนตายกันหมด คนหนึ่งที่เหลือไม่ควรยินดีในการฟ้อน
การขับเป็นต้น ของผู้มีมรณธรรมในขณะนั้น ฉันใด เมื่ออาวัชชนะเป็นต้น
สัมปยุตในทวารหนึ่ง ตายไปในที่นั้น ๆ แม้ชวนะแห่งมรณธรรมในขณะนั้น
ที่เหลือก็ไม่ควรยินดีด้วยสามารถ ความกำหนัด ความโกรธ และความหลง
พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถความเป็นตาวกาลิก (เป็นไป
ชั่วคราว) อย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถการ
พิจารณาขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจัย. ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ จักษุและรูปเป็น
รูปขันธ์ เวทนาสัมปยุตด้วยรูปขันธ์นั้น เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาสัมปยุตอาทิผิด อักขระด้วย
เวทนานั้น เป็นสัญญาขันธ์ สังขารมีผัสสะเป็นต้น เป็นสังขารขันธ์. การแล
และการเหลียวย่อมปรากฏในการพร้อมเพรียงแห่งขันธ์ทั้งหลาย ๕ เหล่านี้ ด้วย
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 三月 04, 2018

Sakadagami

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 23/409/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
กาสาวะพันคอในอนาคต พึงกล่าวตามสมัยนั้นเท่านั้น. ก็สมณปุถุชนซึ่งนำไป
เฉพาะจากสงฆ์ เป็นปาฏิบุคคลิกโสดาบัน เมื่อบุคคลอาจเพื่อทำความยำเกรง
ในสงฆ์ ทานที่ให้ในสมณะผู้ปุถุชน มีผลมากกว่า. ในคำแม้มีอาทิว่า โสดาบัน
อันทายกถือเอาเจาะจง เป็นปาฏิบุคคลิกสกทาคามีอาทิผิด อักขระ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่
เมื่อบุคคลอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ ให้ทานแม้ในภิกษุทุศีล
ซึ่งเจาะจงถือเอา มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายในพระขีณาสพนั้น
แล. ก็คำใดที่กล่าวว่า ดูก่อนมหาบพิตร ทานที่ให้แก่ผู้มีศีลแล มีผลมาก
ทานที่ให้ในผู้ทุศีลหามีผลมากอย่างนั้นไม่ คำนั้นพึงละนัยนี้แล้ว พึงเห็นใน
จตุกะนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักขิณานี้มี ๔ อย่าง.
บทว่า ทายกโต วิสุชฺฌติ ความว่า ทักขิณาบางอย่างบริสุทธิ์ โดยความมี
ผลมาก อธิบายว่า เป็นทาน มีผลมาก. บทว่า กลฺยาณธมฺโม ได้แก่ มีสุจิธรรม
บทว่า ปาปธมฺโม คือมีธรรมอันชั่ว. ก็พึงแสดงพระเวสสันดรมหาราชใน
บทนี้ว่า ทักขิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก. ก็พระเวสสันดรมหาราชนั้น ทรง
ให้พระโอรสพระธิดาแก่พราหมณ์ชูชกแล้ว ยังแผ่นดินให้หวั่นไหว พึงแสดง
นายเกวัฏฏะ ผู้อาศัยอยู่ที่ประตูปากน้ำกัลยาณนทีในคำนี้ว่า ทักขิณาบางอย่าง
บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก. ได้ยินว่า เกวัฏฏะนั้น ได้ถวายบิณฑบาตแก่พระทีฆ-
โสมเถระถึง ๓ ครั้ง นอนบนเตียงเป็นที่ตายได้กล่าวว่า บิณฑบาตที่ถวายแก่
พระผู้เป็นเจ้าทีฆโสมเถระ ย่อมยกข้าพเจ้าขึ้น. พึงแสดงถึงพรานผู้อยู่ใน
วัฑฒมานะในบทว่า เนว ทายกโต นี้. ได้ยินว่า นายพรานนั้นเมื่อให้ทักขิณาอาทิผิด สระ
อุทิศถึงผู้ตายได้ให้แก่ภิกษุผู้ทุศีลรูปหนึ่งนั้น แลถึง ๓ ครั้ง. ในครั้งที่ ๓ อมนุษย์
ร้องขึ้นว่า ผู้ทุศีลปล้นฉัน ดังนี้. ในเวลาที่พรานนั้นถวายแก่ภิกษุผู้มีศีลรูป
หนึ่งมาถึง ผลของทักขิณาก็ถึงแก่เขา. พึงแสดงอสทิสทานในคำนี้ว่า ทักขิณา
บางอย่างบริสุทธิ์ ฝ่ายทายกเท่านั้น.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 三月 03, 2018

Amit

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 21/445/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นี้ ย่อมไม่มี คฤหัสถ์เท่านั้นบำเพ็ญได้ ส่วนพระสมณโคดมย่อมตรัสบ่อย ๆ
ว่า มาณพ สำหรับคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ดังนี้ ย่อมไม่เปล่งวาจา ถึงบรรพชิต
เท่านั้น เห็นจะไม่ทรงกำหนดการถาม ของข้าพระองค์ เพราะเหตุนั้น ข้าพระ-
องค์ขอถามธรรม ๕ ประการ โดยมีจาคะเป็นสุดยอด (คือข้อท้าย). คำว่า
ถ้าท่านไม่หนักใจ ดังนี้ ความว่า ถ้าท่านไม่มีความหนักใจเพื่อที่จะกล่าวใน
ที่นี้โดยประการที่พวกพราหมณ์บัญญัติไว้นั้น. อธิบายว่า ถ้าไม่มีความหนัก
ใจไร ๆ ท่านก็จงกล่าว. มาณพกล่าวว่า ท่านพระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์
ไม่หนักใจเลย ดังนี้ หมายเอาอะไร. ก็การกล่าวในสำนักของบัณฑิตเทียม
ย่อมเป็นทุกข์. ท่านบัณฑิตเทียมเหล่านั้น ย่อมให้ เฉพาะโทษเท่านั้น
ในทุก ๆ บท ในทุก ๆ อักษร. ส่วนบัณฑิตแท้ ฟังถ้อยคำแล้วย่อม
สรรเสริญคำที่กล่าวถูก. เมื่อกล่าวผิด ในบรรดาบาลีบท อรรถ และพยัญชนะ
คำใด ๆ ผิด ย่อมให้ คำนั้น ๆ ให้ถูก. ก็ชื่อว่า บัณฑิตแท้เช่นกับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่มี. เพราะเหตุนั้น มาณพจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระโคคม
ผู้เจริญ ณ ที่ที่พระองค์หรือท่านผู้เป็นเหมือนพระองค์ประทับนั่งอยู่ ข้าพระองค์
ไม่มีความหนักใจเลย ดังนี้. บทว่า สัจจะ คือ พูดจริง. บทว่า ตบะ ได้แก่
การประพฤติตบะ.. บทว่า พรหมจรรย์ ได้แก่ การเว้นจากเมถุน. บทว่า การ
สาธยาย ได้แก่การเรียนมนต์. บทว่า จาคะ คือการบริจาคอามิสอาทิผิด อักขระ. คำว่า จักเป็น
ผู้ให้ถึง ความลามก คือ จักเป็นผู้ให้ถึงความไม่รู้. คำว่า ได้กล่าวคำนี้
ความว่า มาณพถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข่มด้วยการเปรียบเหมือนแถวคนตา
บอด เมื่อไม่อาจเพื่อตอบโต้คำนั้นได้ เมื่อจะอ้างถึงอาจารย์ เปรียบปานสุนัข
อ่อนกำลัง ต้อนเนื้อให้ตรงหน้าเจ้าของแล้ว ตนเองก็อ่อนล้าไปฉะนั้น จึงได้
กล่าวคำนั้นมีอาทิว่า พราหมณ์ดังนี้ .. คำว่า โปกขรสาติ นี้ ในคำว่า พราหมณ์
เป็นต้นนั้น เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น. เรียกว่า โปกขรัสสาติ บ้างก็มี. ได้ยินว่า
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 三月 02, 2018

Nikhom

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/31/10  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ำดับนั้น ท้าวสหัมบดีอาทิผิด อักขระพรหมได้หายไปในพรหมโลก มาปรากฏ ณ
เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้
แขนที่เหยียดฉะนั้น ครั้นแล้วห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าคุกชานุมณฑลอาทิผิด อักขระเบื้องขวา
ลงบนแผ่นดิน ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีภาคเจ้าแล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มี.
พระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดทรงแสดงธรรม
ขอพระสุคตได้โปรดทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีในจักษุ
น้อยมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี.
ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลดังนี้แล้ว จึงกราบทูลเป็นประพันธคาถา
ต่อไปว่า:-

พรหมนิคมอาทิผิด อักขระคาถา
เมื่อก่อนธรรมไม่บริสุทธิ์อันคนมี
มลทินทั้งหลาย คิดแล้วได้ปรากฏในมคธชน-
บท ขอพระองค์ได้โปรดทรงเปิดประตูแห่ง
อมตธรรมนี้ ขอสัตว์ทั้งหลายจงฟังธรรมที่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หมดมลทินตรัสรู้
แล้วตามลำดับ เปรียบเหมือนบุรุษมีจักษุยืน
อยู่บนยอดภูเขา ซึ่งล้วนแล้วด้วยศิลา พึง
เห็นชุมชนได้โดยรอบฉันใด ข้าแต่พระองค์
ผู้มีปัญญาดี มีพระปัญญาจักษุรอบคอบ ขอ
พระองค์ผู้ปราศจากความโศกจงเสด็จขึ้นอาทิผิด สระ สู่
ปราสาท อันสำเร็จด้วยธรรม แล้วทรง
 
พระปิฎกธรรม