Amit
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 21/445/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
นี้ ย่อมไม่มี คฤหัสถ์เท่านั้นบำเพ็ญได้ ส่วนพระสมณโคดมย่อมตรัสบ่อย ๆ
ว่า มาณพ สำหรับคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ดังนี้ ย่อมไม่เปล่งวาจา ถึงบรรพชิต
เท่านั้น เห็นจะไม่ทรงกำหนดการถาม ของข้าพระองค์ เพราะเหตุนั้น ข้าพระ-
องค์ขอถามธรรม ๕ ประการ โดยมีจาคะเป็นสุดยอด (คือข้อท้าย). คำว่า
ถ้าท่านไม่หนักใจ ดังนี้ ความว่า ถ้าท่านไม่มีความหนักใจเพื่อที่จะกล่าวใน
ที่นี้โดยประการที่พวกพราหมณ์บัญญัติไว้นั้น. อธิบายว่า ถ้าไม่มีความหนัก
ใจไร ๆ ท่านก็จงกล่าว. มาณพกล่าวว่า ท่านพระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์
ไม่หนักใจเลย ดังนี้ หมายเอาอะไร. ก็การกล่าวในสำนักของบัณฑิตเทียม
ย่อมเป็นทุกข์. ท่านบัณฑิตเทียมเหล่านั้น ย่อมให้ เฉพาะโทษเท่านั้น
ในทุก ๆ บท ในทุก ๆ อักษร. ส่วนบัณฑิตแท้ ฟังถ้อยคำแล้วย่อม
สรรเสริญคำที่กล่าวถูก. เมื่อกล่าวผิด ในบรรดาบาลีบท อรรถ และพยัญชนะ
คำใด ๆ ผิด ย่อมให้ คำนั้น ๆ ให้ถูก. ก็ชื่อว่า บัณฑิตแท้เช่นกับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่มี. เพราะเหตุนั้น มาณพจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระโคคม
ผู้เจริญ ณ ที่ที่พระองค์หรือท่านผู้เป็นเหมือนพระองค์ประทับนั่งอยู่ ข้าพระองค์
ไม่มีความหนักใจเลย ดังนี้. บทว่า สัจจะ คือ พูดจริง. บทว่า ตบะ ได้แก่
การประพฤติตบะ.. บทว่า พรหมจรรย์ ได้แก่ การเว้นจากเมถุน. บทว่า การ
สาธยาย ได้แก่การเรียนมนต์. บทว่า จาคะ คือการบริจาคอามิสอาทิผิด อักขระ. คำว่า จักเป็น
ผู้ให้ถึง ความลามก คือ จักเป็นผู้ให้ถึงความไม่รู้. คำว่า ได้กล่าวคำนี้
ความว่า มาณพถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข่มด้วยการเปรียบเหมือนแถวคนตา
บอด เมื่อไม่อาจเพื่อตอบโต้คำนั้นได้ เมื่อจะอ้างถึงอาจารย์ เปรียบปานสุนัข
อ่อนกำลัง ต้อนเนื้อให้ตรงหน้าเจ้าของแล้ว ตนเองก็อ่อนล้าไปฉะนั้น จึงได้
กล่าวคำนั้นมีอาทิว่า พราหมณ์ดังนี้ .. คำว่า โปกขรสาติ นี้ ในคำว่า พราหมณ์
เป็นต้นนั้น เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น. เรียกว่า โปกขรัสสาติ บ้างก็มี. ได้ยินว่า
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论