星期六, 四月 14, 2018

Damrong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 45/366/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
วิวตฺตยิ สํโยชนํ ความว่า หมุนสังโยชน์ ๑๐ อย่างไปได้โดยรอบ คือทำให้
ไม่มีราคะ. บทว่า สมฺมา ได้แก่โดยเหตุ คือโดยการณ์. บทว่า มานาภิสมยา
ความว่า เพราะตรัสรู้ด้วยการเห็น หรือเพราะตรัสรู้ด้วยการละซึ่งมานะ.
อธิบายว่า อรหัตมรรคเห็นมานะ ด้วยอำนาจแห่งกิจ นี้เป็นการบรรลุ
ด้วยการเห็นซึ่งมานะนั้น. ก็มานะที่อริยมรรคเห็นแล้วนั้น อันอริยมรรคนั้น
ย่อมละได้ในทันใดนั้นเอง เหมือนชีวิตของสัตว์ที่ถูกกัดแล้ว ย่อมละได้ด้วยพิษ
ที่กัดแล้ว นี้เป็นการบรรลุด้วยการละซึ่งมานะนั้น. บทว่า อนฺตมกาสิ
ทุกฺขสฺส ความว่า พระอริยสาวกได้ทำที่สุดกล่าวคือเงื่อน ได้แก่สุดสาย
ปลายทาง แห่งวัฏทุกข์ทั้งหมด. มีอธิบายว่า ได้การทำทุกข์ให้เหลือไว้เพียง
ร่างกายในชาติสุดท้าย.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ บทว่า โย ได้แก่
พระอริยสาวกใด. บทว่า อทฺทา แปลว่า ได้เห็นแล้ว. อธิบายว่า เห็น
สุขเวทนาโดยเป็นทุกข์. แท้จริง สุขเวทนาเป็นเสมือนโภชนะที่เจือด้วยยาพิษ
ในเวลาบริโภคจะให้ความอร่อย ในเวลาเปลี่ยนแปลงไป ย่อมเป็นทุกข์อย่าง
เดียว. บทว่า ทุกฺขมทกฺขิ สลฺลโต ความว่า ทุกขเวทนาเมื่อเกิดขึ้นก็ดี
ถึงฐิติขณะ (ดำรงอาทิผิด อยู่) ก็ดี แตกดับไปก็ดี ย่อมเบียดเบียนทั้งนั้น เหมือน
ลูกศรกำลังเสียบเข้าสรีระก็ดี หยุดอยู่ก็ดี กำลังถอนออกก็ดี ย่อมให้เกิดความ
เจ็บปวดทั้งนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เห็นทุกข์นั้น
โดยเป็นลูกศร. บทว่า อทกฺขิ นํ อนิจฺจโต ความว่า เห็นอทุกขมสุข-
เวทนานั้น แม้ที่เกิดขึ้นละเอียดกว่า เพราะเป็นภาวะที่ละเอียดกว่าสุขและทุกข์
โดยความไม่เที่ยง เพราะมีความไม่เที่ยงเป็นที่สุด. บทว่า สเว สมฺมทฺทโส
ความว่า พระอริยสาวกนั้นเอง มีปกติเห็นเวทนาทั้ง ๓ โดยเป็นทุกข์เป็นต้น
 
พระปิฎกธรรม

1 条评论:

Searched message 2 说...

… ✍️🇹🇭 ตอบแต่งศัพท์อธิบาย ใช้ครั่ง นี้
โคลงกลอน

๏ เปลื้องแปรแต่กิจเกล้า . . กลมรี่
เทียบที่เทียมฤดี . . ส่องสะท้อน
เสถียรแสงโพชชัย . . กระชุก ชมนอ
ช่องแสมุกง่อนฉะอ้อน . . สถิตสิ้นสมบูรณ์

๏ เปรื่องปรับโลกแก่โม . . -ฬีลุก
ณ แกนขุกแก่นคุก . . ครั่นครื้ม
สยดเสียบป่วยปมสุข . . กรมรื่น ภูตา
กองรีศูนย์ช่วยชื้น . . ครั่งใช้อำนวย

๏ บ่อำนวยตรงเมื่อ . . บริรักษ์
ปฏิปักษ์เทียบฮัก . . ลื่อรั้น
ไกลกันย่อมถูกภักดิ์ . . -มิภักดิ์ สาทัณฑ์
องก์ใกล้เรื่องเอกอั้น . . โธ่ทุ้งรุงระวิง

ศัพท์!สำคัญ คงซึ่งจะมีได้ก็แต่ในพระไตรปิฎก ว่า คลั่ง! ที่อื่น ไม่มี๚