星期日, 七月 29, 2018

Duendat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/36/21  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทรงเปล่งพระอุทาน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความข้อนี้แล้ว จึงทรงเปล่ง
พระอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:-
อารยชนเห็นโทษในโลก ทราบธรรมที่
ปราศจากอุปธิแล้ว ฉะนั้น จึงไม่ยินดีในบาป
เพราะคนสะอาดย่อมไม่ยินดีในบาป.

กราบทูลอาณัติกพจน์ของพระอุปัชฌายะ ๕ ประการ
[๒๒] ลำดับนั้น ท่านพระโสณะคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลัง
โปรดปรานเรา เวลานี้ควรกราบทูลถ้อยคำที่พระอุปัชฌายะของเราสั่งมา ดังนี้
แล้วลุกจากที่นั่ง ห่มจีวรเฉวียงบ่า หมอบลงที่พระบาทยุคลของพระผู้มี
พระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า แล้วได้กราบทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระ-
พุทธเจ้าข้า ท่านพระมหากัจจานะอุปัชฌายะของข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายบังคม
พระยุคลบาทของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า และสั่งให้ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูล
อย่างนี้ว่า:-
๑. พระพุทธเจ้าข้า อวันตีทักขิณาอาทิผิด สระบถ มีภิกษุน้อยรูป ข้าพระพุทธ-
เจ้าได้จัดหาภิกษุสงฆ์แต่ที่นั้น ให้ครบองค์ประชุมทสวรรคได้ยากลำบากนับ
แต่วันที่ข้าพระพุทธเจ้าบรรพชาล่วงไป ๓ ปี จึงได้อุปสมบท ถ้ากระไร เฉพาะ
ในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตอุปสมบท ด้วยคณะ
สงฆ์น้อยรูปกว่านี้ได้.
๒. พระพุทธเจ้าข้า พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีดินสีดำมาก
ขรุขระ ดื่นดาษอาทิผิด อักขระด้วยระแหงกีบโค ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักิขิณาบถ ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตรองเท้าอาทิผิด อักขระหลายชั้น.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 七月 28, 2018

Wibak

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 86/152/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ที่เป็นอารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ พระอรหันต์เห็นจักษุ ฯลฯ กายะ
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯ ล ฯ เห็นรูป ฯลฯ
โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯ ล ฯ เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ
ฯลฯ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ ฯลฯ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ที่เป็น
เนววิปากนวิปากธัมมธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
๒. เนววัปากนวิปากธัมมธรรม เป็นปัจจัยแก่วิปาก
ธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ.
ที่เป็นอารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ พระเสกขะ หรือปุถุชน พิจารณา
เห็นจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อม
เพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัสย่อมเกิดขึ้น เมื่อ
กุศลและอกุศลดับแล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น. พิจารณา
เห็นโสตะ ฯ ล ฯ หทยวัตถุโดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ตทารัมมณจิต
อันเป็นวิบากย่อมเกิดขึ้น.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
ที่เป็นวัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ, หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่วิบาก-
ขันธ์ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
๓. เนววิปากนวิปากธัมมธรรม เป็นปัจจัยแก่วิปาก-
ธัมมธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 七月 24, 2018

Kuman

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 64/186/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระบาทจักเป็น
บ้า มีความเจริญถูกขจัดแล้ว มีสรีระเกลือกกลั้วด้วย
ธุลี ถ้าเขาฆ่าจันทกุมารอาทิผิด อักขระ ลมปราณของข้าพระบาทก็
จะแตกทำลาย ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระ-
บาทจักเป็นบ้า มีความเจริญถูกขจัดแล้ว มีสรีระ
เกลือกกลั้วด้วยธุลี ถ้าเขาฆ่าสุริยกุมาร ลมปราณของ
ข้าพระบาทก็จะแตกทำลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภูนหตา แปลว่า มีความเจริญถูกขจัด
แล้ว. บทว่า ปํสุนาว ปริกิณฺณา ความว่า ข้าพระบาท มีสรีระเหมือน
เกลือกกลั้วด้วยฝุ่น จักเป็นบ้าเที่ยวไป.
พระนางโคตมีเทวี เมื่อคร่ำครวญอยู่อย่างนี้ มิได้รับพระดำรัสอย่างไร
จากสำนักพระราชา จึงทรงกล่าวแก่พระสุณิสาทั้งหลายว่า ชรอยลูกเราโกรธ
เจ้าแล้วจึงจักไปเสียกระมัง เหตุไรเจ้าไม่ยังเขาให้กลับมา ทรงสวมกอดชายา
ทั้ง ๔ ของพระกุมารเข้าแล้ว ก็ทรงกล่าวคร่ำครวญว่า
สะใภ้เราเหล่านี้ คือ นางฆัฏฏิกา นางอุปริกขี
นางโปกขรณี และนางคายิกา ล้วนกล่าววาจาเป็นที่
รักแก่กันและกัน เพราะเหตุไร จึงไม่ฟ้อนรำขับร้อง
ให้จันทกุมาร และสุริยกุมารรื่นรมย์เล่า ใครอื่นที่จะ
เสมอด้วยนางทั้ง ๔ นั้นไม่มี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺนุมา น รมาเปยฺยุํ ความว่า
เพราะเหตุไร สะใภ้ทั้ง ๔ มีนางฆัฏฏิกาเป็นต้นนี้ จึงไม่พูดคำพึงใจแก่กัน
และกัน ฟ้อนรำขับร้อง ให้ราชโอรสทั้งสอง ของเราเพลิดเพลิน ไม่ให้เบื่อ

๑. อรรถกถาว่า โคปรักขี.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 七月 22, 2018

Ubat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 13/2/21  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้า
พระองค์ ในเวลาหลังอาหารกลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้นั่งประชุมกันในโรงกลม
ใกล้ไม้กุ่มน้ำ แล้วเกิดสนทนาธรรมกันขึ้นเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาสว่า. บุพเพนิวาส
แม้เพราะเหตุนี้ บุพเพนิวาสแม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เรื่องนี้แลที่พวกข้าพระองค์พูดค้างไว้ พอดีพระองค์เสด็จมาถึง.
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอปรารถนา
หรือไม่ที่จะฟังธรรมีกถา ซึ่งเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาส ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นการสมควรแล้วที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงกระทำ
ธรรมีกถาซึ่งเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาส ข้าแต่พระสุคต เป็นการสมควรแล้วที่พระ
ผู้มีพระภาคจะพึงทรงกระทำธรรมีกถาซึ่งเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาส ภิกษุทั้งหลายได้
ฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว จักได้ทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นพวกเธอจงฟังจงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว-
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลายนับแต่นี้ไป ๙๑ กัป ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ
เจ้า พระนามว่าวิปัสสีได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก นับแต่นี้ไป ๓๑ กัป ที่พระผู้มี
พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขีอาทิผิด สระ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลกใน
กัปที่ ๓๑ นั่นเอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า เวสสภู
ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระ
ภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า
โกนาคมนะ ได้เสด็จอุบัติอาทิผิด อักขระขึ้นในโลก ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในภัทท
กัปนี้แหละ เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้อุบัติขึ้นแล้วในโลก.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 七月 20, 2018

Haeng

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 13/403/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
หลังต้องเอี้ยวไปทั้งตัวฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ต้องทรงเอี้ยวพระวรกายไป
ฉันนั้น. แต่พอพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนที่ประตูพระนคร ก็ทรงเกิดความ
คิดว่า จะทอดทัศนากรุงเวสาลี แผ่นมหาปฐพีนี้เหมือนจะกราบทูลว่า ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมาหลายแสนโกฏิกัป มิได้ทรง
กระทำ คือเอี้ยวพระศอแลดู จึงเปรียบเหมือนล้อดิน กระทำพระผู้มี
พระภาคเจ้าให้บ่ายพระพักตร์มุ่งไปทางกรุงเวสาลี. ท่านหมายเอาข้อนั้น จึง
กล่าวว่า นาคาวโลกิตํ นี้.
ถามว่า การทอดทัศนากรุงเวสาลี มิใช่เป็นปัจฉิมทัศนะอย่างเดียว
การทอดทัศนาแม้ในกรุงสาวัตถี กรุงราชคฤห์ เมืองนาลันทา บ้านปาฏลิคาม
โกฏิคาม และนาทิกคาม เวลาเสด็จออกจากที่นั้น ๆ ทั้งหมดนั้น ก็เป็นปัจฉิม
ทัศนะทั้งนั้นมิใช่หรือ เหตุไรในที่นั้นๆ จึงไม่เป็นการทอดทัศนาเป็นนาคาวโลก
(คือเป็นปัจฉิมทัศนะ). ตอบว่า เพราะไม่เป็นอัศจรรย์. จริงอยู่ พระผู้มีพระ
ภาคเจ้ากลับมาเหลียวดูในที่นั้น ข้อนั้นไม่น่าอัศจรรย์ เพราะฉะนั้น จึงไม่ชื่อว่า
ทรงเอี้ยวพระวรกายแลดู. อนึ่ง เหล่าเจ้าลิจฉวี กรุงเวสาลีใกล้พินาศ จักพินาศ
ไปใน ๓ ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น จึงสร้างเจดีย์ชื่อว่า
นาคาปโลกิตเจดีย์ ใกล้ประตูพระนคร จักบูชาเจดีย์นั้นด้วยสกัการะมีของหอม
และดอกไม้เป็นต้น ข้อนั้นก็จะมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขตลอดกาล
นาน เพราะฉะนั้น จึงเอี้ยวพระวรกายแลดูเพื่ออนุเคราะห์เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น.
บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตกโร ได้แก่กระทำที่สุดแห่งอาทิผิด อักขระวัฏฏทุกข์. บทว่า
จกฺขุมา ได้แก่ผู้มีจักษุด้วยจักษุ ๕. บทว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่ปรินิพพาน
ด้วยกิเลสปรินิพพาน.
บทว่า มหาปเทเส ได้แก่โอกาสใหญ่ หรือในข้ออ้างใหญ่
อธิบายว่า เหตุใหญ่ที่ท่านกล่าวอ้างผู้ใหญ่ เช่นพระพุทธเจ้าเป็นต้น. บทว่า
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 七月 18, 2018

Song

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 26/200/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ให้เหมือนที่ที่ถอนตาลขึ้นทั้งรากตั้งไว้. ข้อว่า อนภาวํ คตานิ แปลว่า
ถึงความไม่มีในภายหลัง.
จบอรรถกถาปฐมอวิชชาปัจจยสูตรที่ ๕

๖. ทุติยอวิชชาปัจจยสูตร

ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร

[๑๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวล
นี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[๑๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นไฉน
และชรามรณะนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นอย่างอื่น และ
ชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองอาทิผิด อักขระของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง
สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ฯ ล ฯ
ชาติเป็นไฉน. . .ภพเป็นไฉน. . .อุปาทานเป็นไฉน. . .ตัณหาเป็น
ไฉน. . . เวทนาเป็นไฉน. . . ผัสสะเป็นไฉน. . . สฬายตนะเป็นไฉน. . .
นามรูปเป็นไฉน. . . วิญญาณเป็นไฉน.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 七月 17, 2018

Praman

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 4/847/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๔๐. ๙. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าอาบน้ำฝน พึงให้ทำให้ได้
ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๖ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบ
ครึ่งด้วยคืบสุคต เธอทำให้ล่วงประมาณนั้น เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้
ตัดเสีย.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๗๓] ที่ชื่อว่า ผ้าอาบน้ำฝน ได้แก่ ผ้าที่ทรงอนุญาตให้ใช้ได้
สี่เดือนแห่งฤดูฝน.
บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ต้องให้ทำให้ได้
ประมาณ นี้ประมาณอาทิผิด อักขระในคำนั้น คือ โดยยาว ๖ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบครึ่ง ด้วย
คืบสุคต.
ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ให้ล่วงประมาณนั้น ไป เป็นทุกกฏใน
ประโยคเป็นปาจิตตีย์ ด้วยได้ผ้านั้นมา พึงตัดเสีย แล้วจึงแสดงอาบัติตก.
บทภาชนีย์
จตุกปาจิตตีย์
[๗๗๔] ผ้าอาบน้ำฝน ตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
ผ้าอาบน้ำฝน ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 七月 16, 2018

Muea

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 27/254/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า อภินนฺทิ คือรับเอา และไม่ใช่แค่รับเอาอย่างเดียว
(เท่านั้น) ยังชื่นชมด้วย.
ก็ท่านพระติสสะ ได้รับการปลอบใจจากสำนักพระศาสดานี้แล้ว
พากเพียรพยายามอยู่ไม่กี่วัน ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์.
จบ อรรถกถาติสสสูตรที่ ๒

๓. ยมกสูตร

ว่าด้วยพระขีณาสพตายแล้วสูญหรือไม่

[๑๙๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร อยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล
ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อม
ขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ภิกษุหลายรูป ได้ฟังแล้วว่า
ได้ยินว่า ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เรารู้ถึงธรรม
ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพ เมื่ออาทิผิด อักขระตายไปแล้ว
ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงพากัน
เข้าไปหาท่านยมกภิกษุถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านยมกภิกษุ
ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยชวนให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วจึงถามท่านยมกภิกษุว่า ดูก่อนท่านยมกะ
ทราบว่า ท่านเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว
ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก จริงหรือ ท่านยมกะกล่าวว่า
อย่างนั้นอาวุโส.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 七月 14, 2018

Phi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 67/596/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ประตูบ้าน ดูข้างบน ดูข้างล่าง ดูทิศใหญ่ทิศน้อย เดินไป ภิกษุเป็นผู้
ไม่สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ถือนิมิต ถืออนุพยัญชนะ
ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้
อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่รักษาจักขุนทรีย์
ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุเป็นผู้ไม่สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เหมือนท่านสมณพราหมณ์บางจำพวก ฉันโภชนะที่
เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว เป็นผู้ขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็น
ปานนี้ คือการฟ้อน การขับร้อง การประโคม มหรสพมีการรำเป็นต้น
การเล่านิยาย เพลงปรบมือ การเล่นปลุกผีอาทิผิด อักขระ การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้าน
เมืองที่สวยงาม การเล่นของคนจัณฑาล การเล่นไต่ราว การเล่นหน้าศพ
ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา
รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล การจัด
กระบวนทัพ กองทัพ ภิกษุเป็นผู้ไม่สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนเป็นผู้
สำรวม ไม่ดูกองทัพช้าง ไม่ดูกองทัพม้า ไม่ดูกองทัพรถ ไม่ดูกองทัพ
เดินเท้า ไม่ดูพวกกุมาร ไม่ดูพวกกุมารี ไม่ดูพวกสตรี ไม่ดูพวกบุรุษ
ไม่ดูร้านตลาด ไม่ดูประตูบ้าน ไม่ดูข้างบน ไม่ดูข้างล่าง ไม่ดูทิศใหญ่
ทิศน้อย เดินไป ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้
เหลวไหลเพราะจักษุ ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้เหลวไหลเพราะจักษุ
ด้วยความไม่ดำริว่า เราจะดูรูปที่ไม่เคยดู จะผ่านเลยรูปที่เคยดูแล้ว ไม่
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 七月 13, 2018

Phayabat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 17/434/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[ดูหมิ่นท่าน] มทะ [มัวเมา] ปมาทะ [เลินล่อ] [เหล่านี้เป็น
ธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต.
อุปกิเลส ๑๖
[๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า อภิชฌาวิสมโลภะ
พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา
สาเถยยะ ถัมภะอาทิผิด อักขระ สารัมภะ มานะอาทิผิด อักขระ อติมานะ มทะ ปมาทะ เป็น
ธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตด้วยประการฉะนี้แล้ว ย่อมละอภิชฌาวิสม-
โลภะ พยาบาทอาทิผิด อักขระ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ
มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ
อันเป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตเสีย.
[๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุรู้ชัดว่า อภิชฌา-
วิสมโลภะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา-
มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ
ปมาทะ เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็ละ
อภิชฌาวิสมโลภะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ
อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะอาทิผิด อักขระ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ
มทะ ปมาทะ อันเป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตเสียได้แล้ว ในกาล
นั้น เธอเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้าว่า
แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว
ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 七月 12, 2018

Sut

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 44/49/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เหตุเกิดเรื่องขึ้น จึงถือเอาสุตตนิกเขปที่เกิดด้วยอัธยาศัยของผู้อื่น และ
ที่เกิดด้วยอำนาจคำถามไว้ส่วนหนึ่งต่างหาก. จริงอย่างนั้น เหตุในการ
แสดงคุณและโทษ และการเกิดขึ้นแห่งอามิส แห่งพรหมชาลสูตร และ
ธรรมทายาทสูตร เป็นต้น ท่านเรียกว่า อัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่องขึ้น.
เว้นคำถามของคนอื่นเสีย อรรถที่ท่านแสดงเฉพาะอัธยาศัยให้เป็นนิมิต
นี้ปรากฏว่า ปรัชฌาสยะ เกิดจากอัธยาศัยของผู้อื่น ที่ท่านแสดงด้วย
อำนาจคำถาม นี้ปรากฏว่า ปุจฉาวสิกะ เกิดด้วยอำนาจคำถามแล.
ในนิกเขป ๔ อย่างนั้น อุทานเหล่านี้ คือ โพธิสูตร ๓ สูตร มีสูตร
แรกเป็นต้น มุจจลินทสูตร อายุสังขาโรสัชชนสูตร ปัจจเวกขณสูตร
และปปัญจสัญญาสูตร จัดเป็นอัตตัชฌาสยนิกเขป. อุทานเหล่านี้คือ
หุหุงกสูตร พราหมณชาติกสูตร พาหิยสูตรอาทิผิด อักขระ จัดเป็นปุจฉาวสิกนิกเขป.
อุทานเหล่านี้ คือ ราชสูตร สักการสูตร อุจฉาทนสูตร ปิณฑปาติกสูตร
สิปปสูตร โคปาลกสูตร สุนทริกาสูตร มาตุสูตร สังฆเภทสูตร อุทปานสูตร
ตถาคตุปปาทสูตร โมเนยยสูตร ปาฏลิคามิยสูตร และทัพพสูตร ๒ สูตร
จัดเป็นอัตถุปปัตติกนิกเขป. อุทานเหล่านี้คือ ปาลิเลยยสูตร ปิยสูตร
นาคสมาลสูตร และวิสาขาสูตร เป็นทั้งอัตตัชฌาสยนิกเขป และปรัชฌา-
สยนิกเขป. สูตรที่เหลืออีก ๕๑ สูตร จัดเป็นปรัชฌาสยนิกเขป. พึงทราบ
ความแปลกกันแห่งนิกเขปของอุทานเหล่านั้น ด้วยอำนาจอัตตัชฌาสย-
นิกเขปเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ .
ก็ในที่นี้ อุทานเหล่าใดพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสต่อหน้าภิกษุทั้งหลาย
อุทานเหล่านั้นเป็นพระสูตรตามที่ตรัสไว้ ภิกษุเหล่านั้นท่องให้คล่องปาก
เพ่งได้ด้วยใจ ตรัสไว้แก่ท่านพระธรรมภัณฑาคาริก. ส่วนอุทานเหล่าใด
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 七月 08, 2018

Rueang Yot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 53/167/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ภิกษุรูปนั้นย่อมเห็นเทพเจ้าทั้งหลายได้ตามความประสงค์.
เมื่อก่อนเรามีนามว่า อันนภาระ เป็นคนยากจนเที่ยว
รับจ้างหาเลี้ยงชีพ ได้ถวายอาหารแก่พระอุปริฏฐปัจเจก-
พุทธเจ้า ผู้เป็นสมณะผู้เรืองยศอาทิผิด อาณัติกะ. เพราะบุญกรรมที่ได้ทำ
มาแล้ว เราจึงได้มาเกิดในศากยตระกูล พระประยูรญาติ
ได้ขนานนามให้เราว่า อนุรุทธะ เป็นผู้เพียบพร้อมด้วย
การฟ้อนรำและขับร้อง มีเครื่องดนตรีบรรเลงปลุกให้
รื่นเริงใจอยู่ทุกค่ำเช้า ต่อมาเราได้เห็นพระบรมศาสดา
สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ ได้ยังจิตให้
เลื่อมใสในพระองค์ท่านแล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต
เราระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้ เราได้เคยเป็นท้าวสักกรินทร์
เทวราช อยู่ดาวดึงส์เทพพิภพมาแล้ว เราได้ปราบปราม
ไพรีพ่ายแพ้แล้ว ขึ้นผ่านสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
จอมมนุษย์นิกรในชมพูทวีป มีสมุทรสาครทั้ง ๔ เป็น
ขอบเขต ๗ ครั้ง ได้ปกครองปวงประชานิกรโดยธรรม
ด้วยไม่ต้องใช้อาชญาหรือศาสตราใด ๆ เราระลึกชาติหน
หลังในคราวที่อยู่ในมนุษยโลกได้ ดังนี้ คือเป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ๗ ชาติ เป็นพระอินทร์ ๗ ชาติ รวมการ
ท่องเที่ยวอยู่เป็น ๑๔ ชาติด้วยกัน. ในเมื่อสมาธิอันประ-
กอบด้วยองค์เป็นธรรมอันเอกปรากฏขึ้น ที่เราได้ความ
สงบระงับกิเลส ทิพยจักษุของเราจึงบริสุทธิ์. เราดำรงอยู่
ในฌานอันประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ รู้จุติและอุปบัติ
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 七月 07, 2018

Racha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 61/189/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๒๑๙๔] (พระราชาตรัสกำชับว่า) เธอเป็นผู้มีพิษ
ร้ายแรงยิ่ง มีเดชมาก ทั้งโกรธง่าย เธอหลุดพ้น
จากที่คุมขังไปได้ ก็เพราะเหตุที่เราช่วยเหลือ เธอ
ควรจะรู้บุญคุณที่เราทำไว้แก่เธอ.
[๒๑๙๕] (นาคราชทูลว่า) ข้าพระพุทธเจ้าถูก
คุมขังอยู่ในกระโปรง เกือบจะถึงความตาย จักไม่รู้จัก
อุปาการคุณที่พระองค์ทรงกระทำแล้วเช่นนั้น ก็ขอให้
ข้าพระพุทธเจ้า จงหมกไหม้อยู่ในนรก อันแสน
ร้ายกาจ อย่าได้รับความสำราญกายสักหน่อยหนึ่งเลย.
[๒๑๙๖] (พระราชาอาทิผิด อักขระตรัสว่า) คำปฏิญญาของ
เธอนั้น จงเป็นคำสัตย์จริง เธออย่าได้มีความโกรธ
อย่าผูกโกรธไว้ อนึ่ง ขอสุบรรณทั้งหลายจงละเว้น
นาคสกุลของท่านทั้งมวล เหมือนไฟในฤดูร้อนฉะนั้น.
[๒๑๙๗] (นาคราชทูลว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เป็น
จอมประชาชน พระองค์ทรงเอ็นดูนาคสกุล เหมือน
มารดาผู้เอ็นดูบุตรคนเดียว ผู้เป็นสุดที่รักฉะนั้น ข้า-
พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งเหล่านาค จะขอกระทำ
เวยยาวฏิกกรรม อย่างโอฬารแด่พระองค์.
[๒๑๙๘] (พระราชาตรัสสั่งว่า) เจ้าพนักงานรถ
จงตระเตรียมราชรถอันงามวิจิตร จงเทียมอัสดรอัน
เกิดในกัมโพชกรัฐ ซึ่งฝึกหัดอย่างดีแล้ว และเจ้า
พนักงานช้าง จงผูกช้างตัวประเสริฐทั้งหลาย ให้งาม
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 七月 06, 2018

Ramrai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 63/153/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แน่ะสีวลีผู้เจริญ เธอจงดูหญ้ามุงกระต่ายนี้ ก็หญ้ามุงกระต่ายนี้จะไม่อาจสืบต่อ
ในกอนี้ได้อีก ฉันใด ความอยู่ร่วมกับเธอของอาตมา ก็ไม่อาจจะสืบต่อกัน
ได้อีก ฉันนั้น แล้วได้ตรัสกึ่งคาถาว่า
หญ้ามุงกระต่ายที่ติดกันอยู่แต่เดิม ซึ่งอาตมา
ถอนแล้วนี้ ไม่อาจสืบต่อกันไปได้อีก ฉันใด ความ
อยู่ร่วมกันระหว่างเธอกับอาตมา ก็ไม่อาจสืบต่อได้อีก
ฉันนั้น เพราะฉะนั้น เธอจงอยู่ผู้เดียว อาตมาก็จะ
อยู่ผู้เดียวเหมือนกัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกา ความว่า แน่ะสีวลีผู้เจริญ หญ้า
มุงกระต่ายที่ติดกันอยู่แต่เดิม อันอาตมาถอนแล้ว ไม่อาจสืบต่อได้อีก ฉันใด
การอยู่ร่วมกันระหว่างเธอกับอาตมา ก็ไม่อาจทำได้แม้ฉันนั้น เพราะฉะนั้น
เราจักอยู่ผู้เดียวนะสีวลี แม้เธอก็จงอยู่ผู้เดียวเหมือนกัน พระมหาสัตว์ได้
ประทานพระโอวาทแก่พระนางสีวลีเทวี ด้วยประการฉะนี้.
พระนางได้ฟังพระดำรัสของพระมหาสัตว์แล้วตรัสว่า จำเดิมแต่นี้ไป
เราจะไม่ได้อยู่ร่วมกับ พระมหาชนกนรินทรราชอีก พระนางไม่อาจจะอาทิผิด อักขระทรงกลั้น
โศกาดูร ก็ข้อนทรวงด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง ทรงปริเทวนาการร่ำไรอาทิผิด อยู่เป็นอัน
มาก ถึงวิสัญญีภาพล้มลงที่หนทางใหญ่ พระมหาสัตว์ทรงทราบว่า พระนาง
ถึงวิสัญญีภาพ ก็สาวพระบาทเสด็จเข้าสู่ป่า ขณะนั้น หมู่อมาตย์มาสรงพระสรีระ
แห่งพระนางนั้น ช่วยกันถวายอยู่งานที่พระหัตถ์และพระบาท พระนางได้สติ
เสด็จลุกขึ้นตรัสถามว่า พระราชาเสด็จไปข้างไหน หมู่อมาตย์ย้อนทูลถามว่า
พระแม่เจ้าก็ไม่ทรงทราบดอกหรือ พระนางตรัสให้เที่ยวค้นหา พวกนั้นพากัน
วิ่งไปข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง ก็ไม่พบพระราชา พระนางทรงปริเทวนาการ
มากมาย แล้วให้สร้างพระเจดีย์ตรงที่พระราชาประทับยืน บูชาด้วยของหอม
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 七月 05, 2018

Phran Phrueng

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 18/75/4  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทำลายแผ่นดินด้วยเท้าทั้งสี่ แล้วยืนอยู่โดยไม่หวั่นไหวฉันใด แม้พระตถาคต
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงถึงพร้อมด้วยกำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ ทรง
ทำลายแผ่นดินคือ บริษัทแปด ด้วยพระบาทคือเวสารัชชะ ๔ ประการแล้ว ไม่
พรั่นพรึงอาทิผิด ต่อข้าศึก คือปัจจามิตรไร ๆ ในโลก พร้อมกับเทวโลก ทรงดำรง
อยู่โดยไม่หวั่นไหว. ก็เมื่อทรงดำรงอยู่อย่างนั้น ชื่อว่า ทรงประกาศ คือ ทรง
เข้าถึงฐานะแห่งความเป็นผู้นำนั้น คือทรงยกไว้ในพระองค์โดยไม่ประจักษ์.
เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า อาสภณฺานํ ปฏิชานาติ. บทว่า ปริสาสุ คือ
ในบริษัทแปด. บทว่า สีหนาทํ นทติ ความว่า ทรงบันลือถึงการบันลือ
อันประเสริฐที่สุด คือ ที่ไม่มีใครกลัว หรือ ทรงบันลือถึงการบันลืออันเป็น
เช่นกับการบันลือของสีหะ. เนื้อความนี้พึงแสดงโดยสีหนาทสูตร. อีกประการ
หนึ่ง ราชสีห์เรียกว่า สีหะ เพราะครอบงำและเพราะฆ่าฉันใด พระตถาคต
เรียกว่า สีหะ เพราะครอบงำโลกธรรมทั้งหลาย และเพราะฆ่าลัทธิของศาสดา
อื่น ๆ ฉันนั้น. การบันลือของสีหะตามที่กล่าวแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า สีหนาทะ.
ในบทนั้นมีอธิบายว่า สีหะถึงพร้อมด้วยกำลังของสีหะแล้ว แกล้วกล้า
ปราศจากขนพอง ย่อมบันลือสีหนาทในที่ทั้งปวงฉันใด แม้สีหะ คือ พระ
ตถาคต ถึงพร้อมด้วยกำลังของพระตถาคตทั้งหลายแล้ว แกล้วกล้า ปราศจาก
ขนพอง ทรงบันลือสีหนาท ที่ถึงพร้อมด้วยความกว้างขวางแห่งพระเทศนา
มีวิธีต่าง ๆ โดยนัยเป็นอาทิว่า รูป ด้วยประการฉะนี้ ในบริษัทแปดฉันนั้น.
เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า ทรงบันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ดังนี้.
ในบทว่า พฺรหมฺจกฺกํ ปวตฺเตติ นี้ บทว่า พฺรหฺมํ ได้แก่ ประเสริฐ
ที่สุด คือ อุดม สละสลวย. ก็ศัพท์แห่งจักรนี้
 
พระปิฎกธรรม