星期五, 七月 20, 2018

Haeng

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 13/403/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
หลังต้องเอี้ยวไปทั้งตัวฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ต้องทรงเอี้ยวพระวรกายไป
ฉันนั้น. แต่พอพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนที่ประตูพระนคร ก็ทรงเกิดความ
คิดว่า จะทอดทัศนากรุงเวสาลี แผ่นมหาปฐพีนี้เหมือนจะกราบทูลว่า ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมาหลายแสนโกฏิกัป มิได้ทรง
กระทำ คือเอี้ยวพระศอแลดู จึงเปรียบเหมือนล้อดิน กระทำพระผู้มี
พระภาคเจ้าให้บ่ายพระพักตร์มุ่งไปทางกรุงเวสาลี. ท่านหมายเอาข้อนั้น จึง
กล่าวว่า นาคาวโลกิตํ นี้.
ถามว่า การทอดทัศนากรุงเวสาลี มิใช่เป็นปัจฉิมทัศนะอย่างเดียว
การทอดทัศนาแม้ในกรุงสาวัตถี กรุงราชคฤห์ เมืองนาลันทา บ้านปาฏลิคาม
โกฏิคาม และนาทิกคาม เวลาเสด็จออกจากที่นั้น ๆ ทั้งหมดนั้น ก็เป็นปัจฉิม
ทัศนะทั้งนั้นมิใช่หรือ เหตุไรในที่นั้นๆ จึงไม่เป็นการทอดทัศนาเป็นนาคาวโลก
(คือเป็นปัจฉิมทัศนะ). ตอบว่า เพราะไม่เป็นอัศจรรย์. จริงอยู่ พระผู้มีพระ
ภาคเจ้ากลับมาเหลียวดูในที่นั้น ข้อนั้นไม่น่าอัศจรรย์ เพราะฉะนั้น จึงไม่ชื่อว่า
ทรงเอี้ยวพระวรกายแลดู. อนึ่ง เหล่าเจ้าลิจฉวี กรุงเวสาลีใกล้พินาศ จักพินาศ
ไปใน ๓ ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น จึงสร้างเจดีย์ชื่อว่า
นาคาปโลกิตเจดีย์ ใกล้ประตูพระนคร จักบูชาเจดีย์นั้นด้วยสกัการะมีของหอม
และดอกไม้เป็นต้น ข้อนั้นก็จะมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขตลอดกาล
นาน เพราะฉะนั้น จึงเอี้ยวพระวรกายแลดูเพื่ออนุเคราะห์เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น.
บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตกโร ได้แก่กระทำที่สุดแห่งอาทิผิด อักขระวัฏฏทุกข์. บทว่า
จกฺขุมา ได้แก่ผู้มีจักษุด้วยจักษุ ๕. บทว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่ปรินิพพาน
ด้วยกิเลสปรินิพพาน.
บทว่า มหาปเทเส ได้แก่โอกาสใหญ่ หรือในข้ออ้างใหญ่
อธิบายว่า เหตุใหญ่ที่ท่านกล่าวอ้างผู้ใหญ่ เช่นพระพุทธเจ้าเป็นต้น. บทว่า
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: