星期日, 九月 30, 2018

Pheri

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 64/203/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชปริสา จ ความว่า ฝ่ายบริษัทแห่ง
พระราชาทั้งหลาย ก็ได้ถวายน้ำอภิเษกกะพระจันทกุมารนั้น ด้วยสังข์ทั้ง ๓.
บทว่า ราชกญฺญาโย ความว่า แม้ขัตติยราชธิดาทั้งหลายก็ถวายน้ำอภิเษก
พระจันทกุมาร. บทว่า เทวปริสา ความว่า ท้าวสักกเทวราช ก็ถือสังข์
วิชัยยุตรถวายน้ำอภิเษกพร้อมด้วยเทพบริษัท. บทว่า เทวกญฺญาโย ความ
ว่า แม้นางสุชาดาเทพธิดา พร้อมด้วยนางเทพกัญญาทั้งหลาย ก็ถวายน้ำ
อภิเษก. บทว่า เจลุกฺเขปมกรุํ ความว่า ได้ให้ยกธงทั้งหลายพร้อมผ้าสี
ต่าง ๆ ชักขึ้นซึ่งผ้าห่มทั้งหลายทำให้เป็นแผ่นผ้าในอากาศ. บทว่า ราชปริสา
ความว่า ราชบริษัททั้งหลาย และอีก ๓ เหล่า (คือราชกัญญา เทวบริษัท
เทพกัญญา) ซึ่งเป็นผู้กระทำอภิเษกพระจันทกุมาร รวมเป็นสี่หมู่ด้วยกัน ได้
กระทำการชัก โบกผ้าและธงนั่นแล. บทว่า อานนฺทิโน อหุวาทึสุ ความ
ว่า คนทั้งหลายผู้บันเทิงทั่ว บันเทิงยิ่งแล้ว. บทว่า นนฺทิปฺปเวสนครํ
ความว่า คนทั้งหลายผู้บันเทิงร่าเริงทั่วแล้ว ในกาลที่พระจันทกุมารเสด็จเข้า
สู่พระนครให้กั้นฉัตร แล้วตีกลองอานันทเภรีอาทิผิด อักขระร้องประกาศไปทั่วพระนคร. ถาม
ว่า เพื่อประโยชน์อะไร ? แก้ว่า พระจันทกุมารของเราทั้งหลายพ้นแล้วจาก
เครื่องจองจำฉันใด คนทั้งปวงหลุดพ้นจากการจองจำฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะ
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า พนฺธโมกฺโข อโฆสถ ได้ประกาศการพ้นจากเครื่อง
จำดังนี้.
ลำดับนั้นแล พระโพธิสัตว์ทรงเริ่มตั้งวัตรปฏิบัติต่อพระราชบิดา.
พระราชบิดาไม่ได้เสด็จเข้าสู่พระนคร. ในกาลเมื่อเสบียงอาหารสิ้นไป พระ-
โพธิสัตว์ ก็เสด็จไปเพื่อประโยชน์แก่กิจต่าง ๆ มีการเล่นสวนเป็นต้น ก็เข้าไป
เฝ้าพระราชบิดานั้น แต่ก็มิได้ถวายบังคม. ฝ่ายพระเจ้าเอกราชกระทำอัญชลี
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 九月 27, 2018

Khai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 5/295/9  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระบัญญัติ
๘๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่ช่วยเหลือ ไม่ขวนขวายเพื่อให้
ผู้อื่นช่วยเหลือ ซึ่งสหชีวินีผู้ได้รับความลำบาก เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๒๗๐] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ผู้ได้รับความลำบาก ได้แก่ ที่เรียกกันว่าผู้ป่วยไข้อาทิผิด สระ.
ที่ชื่อว่า สหชีวินี ได้แก่ ภิกษุณีที่เรียกกันว่าสัทธิวิหารินี.
บทว่า ไม่ช่วยเหลือ คือ ไม่ดูแลด้วยตนเอง.
บทว่า ไม่ขวนขวายเพื่อให้ผู้อื่นช่วยเหลือ คือ ไม่ใช้ผู้อื่น.
พอทอดธุระว่าจักไม่ช่วยเหลือ จักไม่ขวนขวายเพื่อให้ผู้อื่นช่วยเหลือ
ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ไม่ช่วยเหลือ ไม่ขวนขวายเพื่อให้ผู้อื่นช่วยเหลือ ซึ่งอันเตวาสินีก็ดี
อนุปสัมบันก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 九月 26, 2018

Fakfai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 60/198/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แม้อำมาตย์ราชเสวกทั้งหลาย จะพากันกราบทูลด้วยเหตุต่าง ๆ อย่างนี้
ก็ไม่อาจให้พระราชาเชื่อถ้อยคำของตนได้. แม้พระโพธิสัตว์ก็วิงวอนอยู่ก็ไม่อาจ
ให้พระราชาเชื่อถ้อยคำของตนได้. ฝ่ายพระราชาผู้เป็นอันธพาล เมื่อจะทรง
บังคับอำมาตย์ว่า ไปเถิด พวกท่านจงจับปทุมกุมารนั้นทิ้งลงในเหวทิ้งโจร ได้
ตรัสพระคาถาที่ ๘ ว่า
ด้วยเหตุใด ชาวโลกทั้งหมด จึงร่วมกันเป็นพวก
พ้องของเจ้าปทุมกุมาร ส่วนมเหสีนี้ พระองค์เดียว
เท่านั้น ไม่มีพวกพ้อง ด้วยเหตุนั้น เราจักปฏิบัติตามคำ
ของมเหสี ท่านทั้งหลายจงไป จงโยนเจ้าปทุมกุมาร
นั้นลงในเหวทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตนาหํ ความว่า ด้วยเหตุใด ชาวโลก
ทั้งปวง จึงร่วมเป็นฝักฝ่ายอาทิผิด อักขระแห่งพระกุมารดำรงอยู่ ส่วนพระมเหสีพระองค์เดียว
เท่านั้น ไม่มีพวกพ้อง ด้วยเหตุนั้น เราจักปฏิบัติตามคำของพระนาง ไปเถิด
ท่านทั้งหลาย จงยกปทุมกุมารนั้นขึ้นสู่ภูเขาแล้วโยนไปในเหวเถิด.
เมื่อพระราชามีพระราชโองการตรัสอย่างนี้แล้ว นางพระสนมหมื่นหก-
พันสักคนหนึ่งก็ไม่อาจดำรงภาวะของตนอยู่ได้พากันร้องไห้คร่ำครวญ ชาว
พระนครทั้งสิ้นกอดอกร้องไห้สยายผมพิลาปรำพันอยู่ พระราชาทรงดำริว่า
คนเหล่านั้นจะพึงห้ามการทิ้งกุมารลงเหว จึงพร้อมด้วยบริวารเสด็จไป เมื่อ
มหาชนกำลังคร่ำครวญอยู่นั่นแล จึงรับสั่งให้จับปทุมกุมารเอาพระบาทขึ้นเบื้อง
บน เอาพระเศียรลงเบื้องล่าง แล้วให้โยนลงไปในเหว ทันใดนั้น ด้วยอานุภาพ
เมตตาภาวนาของปทุมกุมาร เทวดาที่สิงสถิตอยู่ ณ ภูเขา ได้ปลอบโยนพระกุมาร
ว่า อย่ากลัวเลย พ่อมหาปทุม แล้วกางมือทั้งสองออกรองรับไว้ที่หทัย
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 九月 23, 2018

Mit

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 2/121/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สะอาดอยู่ไซร้, เธอจะพูดแม้คำเท็จว่า งานดินในวัดที่จะต้องทำมีอยู่, คำพูด
ใด ๆ ที่เป็นคำเท็จ. ย่อมเป็นปาจิตตีย์ เพราะคำพูดนั้น ๆ. แต่ในมหา
อรรถกถา ท่านปรับทุกกฏทั้งนั้น ทั้งคำจริงทั้งคำเหลาะแหละ. คำที่กล่าวไว้
ในมหาอรรถกถานั้นพึงทราบว่า เขียนไว้ด้วยความพลั้งเผลอ. ขึ้นชื่อว่าทุกกฏ
ในฐานแห่งปาจิตตีย์ ซึ่งเป็นบุพประโยคแห่งอทินนาทาน ไม่มีเลย. ก็ถ้า
จอบไม่มีด้าม, ภิกษุพูดว่า จักทำด้าม แล้วลับมีดหรือขวานออกเดินไปเพื่อ
ต้องการไม้ด้ามจอบนั้น, ครั้นไปแล้วก็ตัดไม้แห้ง ถาก ตอก ย่อมต้องทุกกฏ
เพราะขยับมือ และย่างเท้าทุก ๆ ครั้งไป. เธอตัดไม้ที่ยังสด ต้องปาจิตตีย์.
ถัดจากนั้นไปก็ต้องทุกกฎ ในทุก ๆ ประโยค. แต่ในสังเขปอรรถกถา และ
มหาปัจจรี ท่านปรับทุกกฎไว้แม้แก่พวกภิกษุผู้แสวงหามีดอาทิผิด และขวาน เพื่อ
ต้องการตัดไม้และเถาวัลย์ซึ่งเกิดอยู่ในที่นั้น. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ก็ถ้า
ภิกษุเหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราเมื่อขอมีดขวานและจอบอยู่จักไม่มี
ความสงสัย* พวกเราค้นให้พบแร่เหล็กแล้วจึงทำ ดังนี้แล้ว ภายหลังนั้นจึง
เดินไปยังบ่อแร่เหล็ก แล้วขุดแผ่นดิน เพื่อต้องการแร่เหล็ก. เมื่อพวกเธอ
ขุดแผ่นดินที่เป็นอกัปปิยะ ก็ต้องปาจิตตีย์พร้อมทั้งทุกกฏหลายกระทง เหมือน
อย่างว่า ในบาลีประเทศนี้ ปาจิตตีย์พร้อมทั้งทุกกฏหลายกระทง ย่อมมีได้
ฉันใด ในบาลีประเทศทุกแห่งก็ฉันนั้น ในฐานะแห่งปาจิตตีย์ ย่อมไม่พ้นไป
จากทุกกฏ. เมื่อพวกเธอขุดแผ่นดินที่เป็นกัปปิยะอยู่ ก็เป็นทุกกฏหลายกระทง
ทีเดียว. ก็ครั้นถือเอาแร่แล้ว ต่อจากนั้น ก็ต้องทุกกฏทุก ๆ ประโยค เพราะ
กิริยาที่ทำทุกอย่าง. ถึงแม้ในการแสวงหาตะกร้า ก็ต้องทุกกฏเพราะขยับมือ
และย่างเท้าตามนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นเอง.ต้องปาจิตตีย์เพราะพูดเท็จ. เพราะ
//* น่าจะเป็นว่า จักถูกสงสัย.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 九月 22, 2018

Ap

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 4/664/7  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำจีวรอาบน้ำได้
[๖๑๕] สมัยต่อมา ภิกษุหลายรูปกำลังช่วยกัน ทำจีวรกรรมอยู่ในที่
แจ้งถูกต้องลมผสมธุลี ทั้งฝนก็ตกถูกต้องประปราย ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจ
ไม่อาบน้ำ ย่อมนอนทั้ง ๆ ที่ร่างกายโสมม ร่างกายที่โสมมนั้นย่อมประทุษร้าย
ทั้งจีวร ทั้งเสนาสนะ ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวฝนปนพายุ เราอนุญาต ยัง
หย่อนกึ่งเดือน อาบอาทิผิด อักขระน้ำได้.
ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ ๕
๑๐๖. ๗. จ. อนึ่ง ภิกษุใด ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำ เว้น
ไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อน
เดือนต้นแห่งฤดูฝน สองเดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อน เป็นคราว
กระวนกระวาย คราวเจ็บไข้ คราวทำการงาน คราวไปทางไกล
คราวฝนมากับพายุ นี้สมัยในเรื่องนั้น.
เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุทำจีวรอาบน้ำได้ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๑๖] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ... นี้
ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ยังหย่อนกึ่งเดือน คือ ยังไม่ถึงครึ่งเดือน.
บทว่า อาบน้ำ ได้แก่ อาบน้ำด้วยจุรณหรือดินเหนียว เป็นทุกกฏ
ในประโยค เมื่ออาบน้ำเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 九月 21, 2018

Wai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 52/191/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า เอวํ เป็นต้น ความว่า กำลังคลื่นแห่งมหาสมุทร ตั้งขึ้น
ซ้อน ๆ กัน ย่อมครอบงำบุรุษนั้นผู้ไม่สามารถว่ายอาทิผิด อักขระข้ามมหาสมุทรนั้นไปได้
ฉันใด ชาติและชราก็ฉันนั้น ย่อมครอบงำ คือย่อมย่ำยีท่านผู้ถูกความ
เกียจคร้านครอบงำ.
บทว่า โส กโรหิ ความว่า ดูก่อนกาติยานะ ท่านจงกระทำเกาะ
ที่ดี กล่าวคือพระอรหัตผลที่โอฆะทั้ง ๔ ท่วมทับไม่ได้แก่ตน คือจงให้
เกิดขึ้นในสันดานของตน.
ศัพท์ว่า หิ ในบทว่า น หิ ตาณํ ตว วิชฺชเตว อญฺญํ เป็นนิบาต
ใช้ในอรรถว่า เหตุ อธิบายว่า เพราะเหตุที่ ชื่อว่าที่พึ่งของท่านอื่นจาก
พระอรหัตผลนั้น ย่อมไม่ได้ในโลกนี้หรือโลกหน้า ฉะนั้น ท่านจงกระทำ
เกาะที่ดีคือพระอรหัตผลนั้น.
บทว่า สตฺถา หิ วิเชสิ มคฺคเมตํ ความว่า พระศาสดาทรงครอบงำ
เทวปุตตมารเป็นต้นแล้วตรัสบอก คือทำอริยมรรคที่เป็นตัวเหตุแห่งเกาะ
ที่ดีนั้น อันล่วงพ้นจากกิเลสเครื่องข้อง ๕ ประการ และจากภัยมีชาติ
เป็นต้น ซึ่งพวกอัญญเดียรถีย์จำนวนมากไม่อาจให้สำเร็จต้องพ่ายแพ้นั้น
ให้สำเร็จแก่ท่าน. เพราะเหตุที่ของที่มีอยู่ของพระศาสดา สาวกควรครอบ
ครอง ไม่ควรละทิ้ง เพราะฉะนั้น เพื่อจะครอบครองของที่เป็นของ
พระศาสดานั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทตลอดราตรีก่อนและราตรีหลัง คือ
ตลอดยามต้นและยามหลัง คือจงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ หมั่นประกอบ
ความเพียรและการเจริญภาวนาให้มั่นคงไว้.
บทว่า ปุริมานิ ปมุญฺจ พนฺธนานิ ความว่า ท่านจงปล่อย คือละ
เครื่องผูกของคฤหัสถ์ ได้แก่ เครื่องผูกคือกามคุณที่มีอยู่ในกาลก่อน คือ
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 九月 20, 2018

Watha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 66/183/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ว่าด้วยวิวาทกันเพราะถือทิฏฐิ
[๕๒๖] คำว่า สมณพราหมณ์บางพวก ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้
ย่อมวิวาท ความว่า สมณพราหมณ์บางพวก ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น
ยึดมั่นทิฏฐิอย่างนี้ ย่อมวิวาท คือทำความทะเลาะ ทำความหมายมั่น
ทำความแก่งแย่ง ทำความวิวาท ทำความมุ่งร้ายกันว่า ท่านไม่รู้ธรรม
วินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์บางพวก ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้ย่อมวิวาท.
[๕๒๗] คำว่า และกล่าวว่า คนอื่นโง่ ไม่ฉลาด ความว่า กล่าว
บอก พูด แถลง อย่างนี้ว่า คนอื่นโง่ เลว ทราม ต่ำช้า ลามก
สกปรก ต่ำต้อย ไม่ฉลาด ไม่มีความรู้ ถึงอวิชชา ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญา
แจ่มแจ้ง มีปัญญาทึบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และกล่าวว่า คนอื่นโง่
ไม่ฉลาด.
[๕๒๘] คำว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะอาทิผิด อักขระไหนจะจริง
หนอ ความว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจริง แท้ แน่
เป็นจริงไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
วาทะไหนจะจริงหนอ.
[๕๒๙] คำว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้าง
ตนอาทิผิด อักขระว่าเป็นผู้ฉลาด ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้างตน
ว่าเป็นผู้ฉลาด อ้างตนเป็นบัณฑิต อ้างตนเป็นธีรชน อ้างคนเป็นผู้มีญาณ
อ้างตนโดยเหตุ อ้างตนโดยลักษณะ อ้างตนโดยการณ์ อ้างตนโดยฐานะ
โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 九月 16, 2018

Phiksuni

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 5/183/2  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุณีอาทิผิด อักขระฉัพพัคคีย์
[๑๕๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์ ให้ถอนขนในที่แคบ แล้วเปลือยกายอาบน้ำท่าเดียวกันกับหญิง
แพศยา ในแม่น้ำอจิรวดี พวกหญิงแพศยาพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้ให้ถอนขนในที่แคบเหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกามเล่า ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินหญิงแพศยาพวกนั้นพากันเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ให้ถอนขนในที่แคบ. . .

ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุณีทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์ให้ถอนขนในที่แคบ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ให้ถอนขนในที่แคบเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 九月 14, 2018

Phra

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 9/188/22 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อุคคคฤหบดี ได้ซื้อพื้นที่ประมาณกึ่งคาวุต ด้วยเรียงอิฐทองคำสร้าง
วิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า โกนาคมนะ.
สุมังคลคฤหบดี ได้ซื้อพื้นที่ประมาณ ๒๐ อุสภะ ด้วยเรียงเต่าทองคำ
สร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ
สุทัตตคฤหบดี ได้ซื้อพื้นที่ประมาณ ๘ กรีส ด้วยเรียงกหาปณะสร้าง
วิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ฉะนั้นแล.
สมบัติทั้งหลายเสื่อมสิ้นไปโดยลำดับ ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้น
สมควรแท้ที่จะเบื่อหน่ายในสมบัติทั้งปวง สมควรอาทิผิด อักขระแท้ที่จะพ้น ไปเสีย ฉะนั้นแล.
[ว่าด้วยนวกรรม]
บทว่า ขณฺฑํ ได้แก่ โอกาสที่ร้าว.
บทว่า ผุลฺลํ ได้แก่ โอกาสที่แตกแยะ.
บทว่า ปฏิสงฺขริสฺสติ ได้แก่ จักทำให้คืนเป็นปกติ.
ในกุรุนทีแก้ว่า ก็ภิกษุผู้ได้นวกรรม ไม่ควรถือเอา เครื่องมือมีมีด
ขวานและสิ่วอาทิผิด สระเป็นต้น ลงมือทำเอง. ควรรู้ว่า เป็นอันทำแล้วหรือไม่เป็นอันทำ.
[ว่าด้วยการจับจองเสนาสนะ]
หลายบทว่า ปิฏฺฐิโต ปิฏฺฐิโต คนฺตฺวา มีความว่า ได้ยินว่า
พระเถระมัวปรนนิบัติภิกษุไข้อยู่ มัวช่วยเหลือภิกษุผู้แก่ผู้เฒ่าอยู่ จึงมาข้างหลัง
ภิกษุทั้งปวง. ข้อนี้เป็นจารีตของท่าน. ด้วยเหตุนั้นพระธรรมสังคาหกาจารย์จึง
กล่าวว่า ไปล้าหลัง.
บทว่า อคฺคาสนํ ได้แก่ เถรอาสน์
บทว่า อคฺโคทกํ ได้แก่ ทักษิโณทก.
บทว่า อคฺคปิณฺฑํ ได้แก่ บิณฑบาตสำหรับพระอาทิผิด สระสังฆเถระ.
อุสภะ = ๕๒ วา.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 九月 13, 2018

Asathisathan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 9/184/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[ว่าด้วยบริกรรมพื้น ]
บทว่า อิกฺกาสํ ได้แก่ ยางไม้หรือยางผสม.
บทว่า ปิฏฺฐมทฺทํ ได้แก่อาทิผิด สระ แป้งเปียก.
บทว่า กุณฺฑกมตฺติกํ ได้แก่ ดินเหนียวปนรำ.
บทว่า สาสปกุฏํ ได้แก่ แป้งเมล็ดพรรณผักกาด.
บทว่า สิตฺถเตลกํ ได้แก่ ขี้ผึ้งอาทิผิด อาณัติกะเหลว.
สองบทว่า อจฺจุสฺสนฺนํ โหติ มีความว่า เป็นหยด ๆ ติดอยู่.
บทว่า ปจฺจุทฺธริตุํ ได้แก่ เช็ด
บทว่า ลณฺฑมตฺติกํ ได้แก่ ดินเหนียว คือ ขุยไส้เดือน.
บทว่า กสาวํ ได้แก่ น้ำฝาดแห่งมะขามป้อมและสมอ.
วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว ปฏิภาณจิตฺตํ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
รูปสตรีและบุรุษอย่างเดียวเท่านั้น อันภิกษุไม่ควรให้ทำ หามิได้ รูป-
สัตว์ดิรัจฉาน โดยที่สุดแม้รูปไส้เดือนภิกษุไม่ควรทำเองหรือสั่งว่า ท่านจงทำ
ย่อมไม่ได้แม้เพื่อสั่งว่า อุบาสก ท่านจงทำคนเฝ้าประตู. แต่ยอมให้ใช้ผู้อื่น
เขียนเรื่องทั้งหลายซึ่งน่าเลื่อมใส มีปกรณ์ชาดกแลอสทิสทานอาทิผิด อักขระเป็นต้น หรือซึ่ง
ปฏิอาทิผิด อักขระสังยุตด้วยความเบื่อหน่าย, ทั้งอาทิผิด อาณัติกะยอมให้ทำเองซึ่งมาลากรรมอาทิผิด อักขระเป็นต้น .
บทว่า อาฬกมนฺทา มีความว่า เป็นลาน อันเดียว คับคั่งด้วยมนุษย์.
[ว่าด้วยห้องเป็นต้น]
วินิจฉัยในบทว่า ตโย คพฺเภ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
สิวิกาคัพภะนั้น ได้แก่ ห้อง ๔ เหลี่ยมจตุรัส.
นาฬิกาคัพภะนั้น ได้แก่ ห้องยาวกว่าด้านกว้าง ๒ เท่าหรือ ๓ เท่า
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 九月 10, 2018

Rian

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 70/194/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คือ ทีฆนิกายอาทิผิด อักขระ มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททก-
นิกาย ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในขุททกนิกาย, ในบรรดานวังคสัตถุศาสน์
คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูต-
ธรรม เวทัลละ ท่านสงเคราะห์ลงในคาถา. ในบรรดาธรรมขันธ์
๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ซึ่งท่านพระอานนท์กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ธรรมเหล่าใดที่คล่องปากขึ้นใจของข้าพเจ้า ธรรมเหล่านั้น
มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ คือที่ข้าพเจ้าเรียนอาทิผิด อักขระจากพระพุทธเจ้า
๘๒,๐๐๐ เรียนจากภิกษุ ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ดังนี้.
เป็นอันสงเคราะห์ลงใน ๒-๓ พระธรรมขันธ์.
บัดนี้ ท่านเมื่อจะแสดงอปทานนั้น จึงกล่าวว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็น
พระธรรมราชาสมบูรณ์ด้วยบารมี ๓๐ ถ้วน มีจำนวนนับไม่ถ้วน ดังนี้.
ในคำเหล่านั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บารมี ๑๐ ถ้วนนั่นเอง จัดเป็นบารมี ๓๐ ถ้วน ด้วยอำนาจบารมี
๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ โดยเป็นอย่างต่ำ อย่างกลาง
และอย่างสูง. ผู้บริบูรณ์ดี คือผู้สมบูรณ์ ประกอบ พร้อมพรั่ง บรรลุ
ประกอบพร้อมด้วยบารมี ๑๐ ถ้วนนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้สมบูรณ์
ด้วยบารมี ๓๐ ถ้วน. ชื่อว่า ราชา เพราะยังหมู่สัตว์ผู้อยู่ในสกลโลกทั้ง ๓
และกายของตนให้ยินดี คือให้อาทิผิด สระยึดติดด้วยพรหมวิหารสมาบัติ ๔ คือ
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรือด้วยความเป็นผู้มีจิตเป็นอันเดียว
ด้วยธรรมเครื่องอยู่แห่งผลสมาบัติ, พระราชาโดยธรรม ชื่อว่า
พระธรรมราชา, พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอย่างนี้. อธิบายว่า พระพุทธ-
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 九月 09, 2018

Nang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 58/157/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ได้ยินว่า ในกาลครั้งนั้น กาทั้งหลายพากันกินนกเค้าทั้งหลาย
ในตอนกลางวัน ฝ่ายนกเค้าทั้งหลาย จำเดิมแต่พระอาทิตย์อัศดงคต
ก็พากันเฉี่ยวศีรษะของพวกกาที่นอนอยู่ในที่นั้น ๆ ทำให้พวกกาเหล่า-
นั้นถึงความสิ้นชีวิตไป. ศีรษะกาแม้มากมาย เปื้อนเลือดประมาณ
๗-๘ ทนาน หล่นจากต้นไม้ ภิกษุรูปหนึ่งผู้อยู่ในบริเวณแห่งหนึ่ง
ท้ายพระวิหารเชตวัน ต้องเก็บทิ้งในเวลากวาด. ภิกษุนั้นจึงบอกเนื้อ
ความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นนั่งสนทนากันในโรงธรรม-
สภาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า ในเวลาที่ภิกษุรูปโน้นกวาด
จะต้องทิ้งศีรษะกาทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ทุกวัน ๆ พระศาสดาเสด็จ
มาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งอาทิผิด สระประชุมกันด้วย
เรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า
มิใช่ในบัดนี้เท่านั้นน่ะ ภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน กากับนกเค้า
ก็ได้กระทำการทะเลาะกันมาแล้ว. ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ กากับนกเค้าก่อเวรแก่กันและกันขึ้นในคราวไร
พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า จำเดิมแต่กาลอันเป็นปฐมกัปทีเดียว
แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งปฐมกัป มนุษย์ทั้งหลายประชุมกัน คัด
เลือกบุรุษคนหนึ่งผู้มีรูปงาม ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความงาม สมบูรณ์
ด้วยมารยาท บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง แต่งตั้งให้เป็นพระราชา.
ฝ่ายสัตว์ ๔ เท้าก็ประชุมกันตั้งราชสีห์ให้เป็นพระราชา. พวกปลาใน
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 九月 06, 2018

Chiwon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/185/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อาจารย์ ถ้า
อาจารย์ควรอัพภาน อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
สงฆ์พึงอัพภานอาจารย์.
ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะทำกรรมแก่อาจารย์ คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม
ปัพพาชยนีกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม อันเตวาสิกพึงทำความ
ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อาจารย์ หรือสงฆ์
พึงน้อมไปเพื่อกรรมสถานเบา หรืออาจารย์นั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยส-
กรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปณียกรรมแล้ว อันเตวาสิก
พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ อาจารย์พึงประพฤติชอบ พึง
หายเย่อหยิ่ง พึงประพฤติอาทิผิด อักขระแก้ตัว สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย.
ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องซัก อันเตวาสิกพึงซัก หรือพึงทำความขวน
ขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรอาทิผิด อักขระของอาจารย์ ถ้าจีวรของอา
จารย์จะต้องทำ อันเตวาสิกพึงทำ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่าง
ไรหนอใคร ๆ พึงทำจีวรของอาจารย์ ถ้าน้ำย้อมของอาจารย์จะต้องต้ม อันเตวา-
สิกพึงต้ม หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำ
ย้อมของอาจารย์ ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องย้อม อันเตวาสิกพึงย้อมหรือพึงทำ
ความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของอาจารย์
เมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดี ๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่
ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย.
อันเตวาสิกไม่บอกอาจารย์ก่อน ไม่พึงให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึง
รับบาตรของภิกษุบางรูป ไม่พึงให้จีวรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับจีวรของภิกษุ
บางรูป ไม่พึงให้บริขารแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบริขารของภิกษุบางรูป ไม่
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 九月 05, 2018

Nikhom

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 32/189/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เป็นมัชฌิมชนบท. ในทิศทักษิณ มีนิคมอาทิผิด อักขระชื่อว่าเสตกัณณิกะ ถัดจาก
เสตกัณณิกนิคมนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท
ในทิศประจิม มีบ้านพราหมณ์ ชื่อว่าถูนะ ถัดจากบ้านพราหมณ์นั้นไป
เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท ในทิศอุดร มีภูเขา
ชื่อว่า อุสีรธชะ ถัดจากเขานั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็น
มัชฌิมชนบท. พระตถาคตย่อมอุบัติ ในมัชฌิมประเทศ ที่ท่านกำหนด
ดังกล่าวมาแล้วนั้น โดยส่วนยาว วัดได้ ๓๐๐ โยชน์ โดยส่วนกว้าง
วัดได้ ๑๕๐ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๙๐๐ โยชน์. อนึ่งพระตถาคต
หาได้อุบัติแต่ลำพังพระองค์อย่างเดียวอาทิผิด อักขระไม่ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
พระอัครสาวก พระอสีติมหาเถระ แม้ท่านผู้มีบุญอื่น ๆ ก็ย่อมเกิด
ขึ้น. พระพุทธมารดา พระพุทธบิดา พระเจ้าจักรพรรดิ์ และ
พราหมณ์คฤหบดี ผู้เป็นบุคคลสำคัญเหล่าอื่น ก็ย่อมเกิดในมัชฌิม-
ประเทศนี้เหมือนกัน.
ก็บทว่า อุปฺปชฺชมาโน อุปฺปชฺชติ ทั้งสองนี้ เป็นคำกล่าว
ค้างไว้เท่านั้น. ก็ในคำนี้พึงทราบความอย่างนี้ว่า พระตถาคตเมื่อ
อุบัติ ย่อมอุบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก หาอุบัติ
ด้วยเหตุอื่นไม่. ก็ในอธิการนี้ ลักษณะเห็นปานนี้ ใคร ๆ หาอาจ
คัดค้านคำทั้งสองนั่นโดยลักษณะศัพท์อื่นไม่.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความต่างกันในคำนี้ ดังนี้ว่า อุปฺปชฺ-
ชมาโน นาม (ชื่อว่าเมื่อจะอุบัติ ) อุปฺปชฺชติ นาม (ชื่อว่ากำลังอุบัติ)
อุปฺปนฺโน นาม (ชื่อว่าอุบัติแล้ว.) จริงอยู่ พระพุทธองค์ได้รับคำ
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 九月 04, 2018

Sangyut

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 21/204/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
จึงนำหนังสือออกมาวางตรงหน้าพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี่เป็นข่าวการตายของเสนาบดีกับบุตร ๓๒ คน หม่อม-
ฉันมิได้คิดแม้เรื่องนี้ เหตุไรจะคิดเพราะเหตุหม้อสัปปี (แตก). พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถาให้ปฏิสังยุตอาทิผิด อาณัติกะด้วยสามัญลักษณะมีความไม่เที่ยงเป็นต้น
ว่า ดูก่อนนางมัลลิกา อย่าคิด (มาก) ไปเลย ธรรมดาในสังสารวัฏฏ์มีที่สุด
และเบื้องต้นอันใคร ๆ ไปตามอยู่ รู้ไม่ได้แล้ว ย่อมเป็นไปเช่นนั้น แล้วเสด็จ
กลับ. นางมัลลิกาเรียกลูกสะใภ้ ๓๒ คน มาให้โอวาท. พระราชารับสั่งให้
นางมัลลิกาเข้าเฝ้า ตรัสถามว่า ในระหว่างเสนาบดีกับเรา โทษที่แตกกันมีหรือ
ไม่มี.๑. นางทูลว่า ไม่มี พะยะค่ะ. พระราชาทรงทราบว่า เสนาบดีนั้น
ไม่มีความผิดตามคำของนาง จึงมีความเดือดร้อนอาทิผิด อักขระเกิดความเสียพระทัยอย่างล้น
พ้น. พระองค์ทรงรำพึงว่า ได้นำสหายผู้ยกย่องเราว่ากระทำสิ่งที่หาโทษมิได้
เห็นปานนี้มาแล้วให้พินาศแล้ว ตั้งแต่นั้นไป ก็ไม่ได้ความสบายพระทัยในปราสาท
หรือในเหล่านางสนม หรือความสุขในราชสมบัติทรงเริ่มเที่ยวไปในที่นั้น ๆ.
กิจอันนี้แหละได้มีแล้ว. หมายถึงเรื่องนี้ จึงกล่าวไว้ว่า ด้วยราชกรณียกิจ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้.
บทว่า ทีฆํ การายนํ ความว่า ทีฆการายนะซึ่งเป็นหลานของ
พันธุละเสนาบดีคิดว่า พระราชาทรงฆ่าลุงของเรา ผู้มิได้ทำผิดนั้นโดยไม่มีเหตุ
พระราชาได้ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งอาทิผิด อักขระเสนาบดีแล้ว. คำนั้น ท่านกล่าวหมายถึง
เรื่องนี้. คำว่า มหจฺจราชานุภาเวน ความว่า ด้วยราชานุภาพอันใหญ่
หมายความว่า ด้วยหมู่พลมากมายงดงามด้วยเพศอันวิจิตร ดุจถล่มพื้นธรณี
ให้พินาศ ประหนึ่งจะยังสาครให้ป่วนปั่นฉะนั้น . บทว่า ปาสาทิกานิ ความว่า
อันให้เกิดความเลื่อมใสพร้อมทั้งน่าทัศนาทีเดียว. บทว่า ปาสาทนียานิ เป็น

๑. สี. จิตฺตโทโส.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 九月 03, 2018

That

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 56/190/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติใน
กรุงพาราณสี พระโอรสของพระองค์ทรงพระนามว่า "ทุฏฐกุมาร"
มีสันดานกักขฬะ หยาบคาย เปรียบได้กับอสรพิษที่ถูกประหาร
ยังไม่ได้ด่า ไม่ได้ตีใครแล้ว จะไม่ยอมตรัสกับใคร ท้าวเธอไม่
เป็นที่ชอบใจ เป็นที่น่าสยดสยองของคนภายใน และคนภายนอก
เหมือนผงกระเด็นเข้านัยน์ตา และเหมือนปีศาจร้ายที่มาคอย
เคี้ยวกิน วันหนึ่งท้าวเธอปรารถนาจะเล่นน้ำในแม่น้ำ ได้เสด็จ
ดำเนินไปสู่ฝั่งน้ำกับบริวารเป็นอันมาก ขณะนั้นมหาเมฆก็ตั้งขึ้น
ทิศทั้งหลายมืดมิด. ท้าวเธอรับสั่งกะผู้รับใช้อย่างทาสอาทิผิด อักขระว่า เฮ้ย !
มาเถิดจงมาพาข้าพาไปกลางแม่น้ำ ให้ข้าอาบน้ำแล้วพามา.
พวกคนรับใช้ก็พาท้าวเธอไปกลางแม่น้ำ ปรึกษากันว่า พระราชา
จักทรงทำอะไรพวกเราได้ พวกเราจงปล่อยให้คนใจร้ายตายเสีย
ในแม่น้ำนี้แหละ ดังนี้แล้วกล่าวว่า คนกาลกรรณี จงไปที่ชอบเถิด
แล้วช่วยกันกดลงไปในน้ำ แล้วพากันว่ายกลับขึ้นไปยืนอยู่บนฝั่ง
เมื่อมีผู้ถามว่า พระราชกุมารไปไหน ? ก็พากันตอบว่า พวกเรา
ไม่เห็นพระกุมาร ท้าวเธอคงเห็นเมฆตั้งเค้า จึงดำลงในน้ำ ชะรอย
จักล่วงหน้าไปแล้ว พวกอำมาตย์ก็พากันไปยังพระราชสำนัก
พระราชาตรัสถามว่า โอรสของเราไปไหน ? พวกอำมาตย์
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่ทราบเกล้า เมื่อเมฆตั้งเค้าขึ้น พวกข้าพระพุทธเจ้าก็สำคัญว่า
พระราชกุมารคงเสด็จล่วงหน้ามาแล้ว จึงพากันกลับมาพระเจ้าข้า.
 
พระปิฎกธรรม