星期四, 二月 27, 2020

Baep Phaen

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   68/20/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงยกพระพุทธพจน์คือพระ-
ไตรปิฎกขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นไว้ในภาษามาคธีเท่านั้น. เพราะ
เหตุไร ? ก็เพราะเพื่อจะนำอรรถะมาให้รู้ได้โดยง่าย. จริงอยู่ พระ-
พุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยมาคธีภาษา ยังไม่บรรลุถึงคลองแห่ง
โสตประสาทของพระอริยบุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เป็นการเนิ่นช้า.
แต่เมื่อโสตประสาทพอพระพุทธพจน์กระทบแล้วเท่านั้น เนื้อความก็
ปรากฏตั้งร้อยนัย พันนัย. ก็พระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนอาทิผิด อาณัติกะด้วย
ภาษาอื่น ก็ย่อมต้องเรียนเอาแบบตีความแล้วตีความเล่า. อันธรรมดาว่า
การเรียนพระพุทธพจน์แม้มากมายแล้วบรรลุปฏิสัมภิทา ย่อมไม่มีแก่
ปุถุชน, แต่พระอริยสาวกที่จะชื่อว่าไม่บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมไม่มีเลย.
บทว่า ญาเณสุ ญานํ ความว่า ความรู้แตกฉานในญาณทั้ง ๓
เหล่านั้น ของพระอริยบุคคลผู้กระทำญาณอันมีในที่ทั้งปวงให้เป็น
อารมณ์แล้วพิจารณาอยู่, หรือว่า ญาณอันถึงความกว้างขวางในญาณ
ทั้ง ๓ เหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งอารมณ์และกิจเป็นต้น ชื่อว่าปฏิภาณ
ปฏิสัมภิทา.
ก็บัณฑิตพึงทราบ ปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านี้ว่า ย่อมถึงซึ่งประเภท
ในฐานะ ๒. ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕. ย่อมถึงซึ่งประเภทในฐานะ ๒
เป็นไฉน ? คือ ในเสกขภูมิ ๑ อเสกขภูมิ ๑.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: