Khum Sap
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 53/413/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ทำลาย พึงตัด พึงละความพอใจในกามคุณ เพราะฉะนั้น ความตรึกของ
เรานั้นจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.
บทว่า อิณฏฺโฏว ทลิทฺทโก นิธิํ อาราธยิตฺวา ความว่า คนจนบาง
คนเป็นผู้มีการเลี้ยงชีพเป็นปกติ กู้หนี้ เมื่อไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ มีคดี
เพราะหนี้ คืออึดอัดใจเพราะหนี้ ถูกเจ้าทรัพย์บีบคั้น ครั้นยินดีคือ
ประสบขุมอาทิผิด อักขระทรัพย์ และชำระหนี้แล้ว พึงเป็นอยู่ ยินดีโดยความสุขฉันใด
แม้เราก็ฉันนั้น เมื่อไรหนอ จะพึงละกามฉันทะอัน เป็นเสมือนกับผู้ไม่มี
หนี้ แล้วประสบความยินดีในพระศาสนาของท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
คือพระศาสนาของพระพุทธเจ้า อันเป็นเสมือนขุมทรัพย์อันเต็มไปด้วย
รัตนะ มีแก้วมณีและทองคำเป็นต้น เพราะเพียบพร้อมไปด้วยอริยทรัพย์
เพราะฉะนั้น ความตรึกของเรานั้นจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.
ครั้นแสดงความเป็นไปแห่งวิตกของตน อันเป็นแล้วด้วยอำนาจ
เนกขัมมวิตกในกาลก่อน แต่การบรรพชาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ครั้นบวช
แล้ว เมื่อจะแสดงอาการอันเป็นเหตุให้สอนตนแล้วจึงบรรลุ จึงได้กล่าว
คาถามีอาทิว่า พหูนิ วสฺสานิ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหูนิ วสฺสานิ ตยามฺหิ ยาจิโต
อคารวาเสน อลํ นุ เต อิทํ ความว่า ดูก่อนจิตผู้เจริญ เราถูกท่าน
อ้อนวอนมาหลายปีแล้วมิใช่หรือว่า พอละ คือถึงที่สุดแล้วสำหรับท่าน ด้วย
การอยู่ในท่ามกลางเรือน ด้วยการตามผูกพันทุกข์ต่าง ๆ อยู่หลายปี.
บทว่า ตํ ทานิ มํ ปพฺพชิตํ สมานํ ความว่า ดูก่อนจิต ท่านไม่
ประกอบเรานั้น ผู้เป็นบรรพชิต ด้วยความอุตสาหะเช่นนั้น ด้วยเหตุ
อย่างหนึ่ง อธิบายว่า ทิ้งสมถะและวิปัสสนา ประกอบในความเกียจคร้าน
อันเลว.
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论