星期六, 二月 15, 2020

Kwang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 76/182/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สิเนรุราชนั้น ตามลำดับ* เป็นที่สิ่งสถิตของ
มหาราชทั้งหลาย เป็นถิ่นประจำของหมู่เทพ
และพวกยักษ์.
ยังมีภูเขาชื่อหิมพานต์สูง ๕๐๐ โยชน์
ยาวและกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ งดงามด้วยยอด
๘๔,๐๐๐ ยอด ชมพูทวีปรุ่งเรืองแล้วด้วย
อานุภาพแห่งต้นชมพูใด ต้นชมพู (ต้นหว้า)
นั้นวัดรอบลำต้นได้ ๑๕ โยชน์ มีกิ่งลำต้น
ยาว ๕๐ โยชน์รอบด้าน กว้างอาทิผิด ได้ร้อยโยชน์
สูงขึ้นร้อยโยชน์เหมือนกัน.
อนึ่ง ประมาณแห่งต้นชมพูนี้อันใด ต้นจิตตปาฏลี (แคฝอย) ของ
พวกอสูรก็ดี ต้นสิมพลี (ไม้งิ้ว) ของพวกครุฑก็ดี ต้นกทัมพะ (ไม้กระทุ่ม)
ในทวีปอมรโคยานก็ดี ต้นกัลปพฤกษ์อาทิผิด ในทวีปอุตตรกุรุก็ดี ต้นสิรีสะ ในทวีป
ปุพพวิเทหะก็ดี ต้นปาริฉัตตกะในดาวดึงส์ทั้งหลายก็ดี ก็มีประมาณนั้นเหมือน
กัน ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
ต้นปาฏลี (แคฝอย) ๑ ต้นสิมพลี
(ไม้งิ้ว) ๑ ต้นชมพู (ไม้หว้า) ๑ ต้นปาริฉัตตกะ
(ต้นทองหลาง) ของพวกเทพ ๑ ต้นกทัมพะ
(ไม้กระทุ่ม) ๑ ต้นกัลปพฤกษ์ ๑ ต้นสิรีสะ
(ไม้ซึก) เป็นที่ ๗
* โยชนา เอเต สตต ปพพตา อนุปฏิปาฏิยา สมุคคตา โสปานสทิสา หุตฺวา ฐิตา ภูเขา
๗ เทือกเหล่านี้สูงขึ้นโดยลำดับเป็นเหมือนกับบันไดตั้งอยู่.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: