Thing
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 63/373/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
เมื่อพระโพธิสัตว์ทูลดังนี้ พระเจ้าวิเทหราชทอดพระเนตรดูเสนกะ
ตรัสว่า มโหสถสรรเสริญคนมีปัญญาว่าเป็นผู้สูงสุดมิใช่หรือ เสนกะทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า มโหสถยังเด็ก แม้จนวันนี้ปากของเธอก็ยังไม่สิ้นกลิ่น
น้ำนมมิใช่หรือ เธอจะรู้อะไร ทูลฉะนี้แล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า
ศิลปะนี้ หรือเผ่าพันธุ์ หรือร่างกาย ย่อมหาได้
จัดแจงโภคสมบัติให้ไม่ มหาชนย่อมคบหาโครวินท
เศรษฐีผู้มีเขฬะไหลจากคางทั้งสองข้าง ผู้ถึงความสุข
ผู้มีสิริต่ำช้า ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงทูลว่า คน
มีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมีสิริเป็นคนประเสริฐแท้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอฬมูคํ ได้แก่ มีน้ำลายไหลเลอะหน้า.
บทว่า โครวินฺทํ ความว่า ได้ยินว่า โครวินทะนั้นเป็นเศรษฐีมีสมบัติ ๘๐
โกฏิ ในพระนครนั้นแล มีรูปร่างแปลก ไม่มีบุตร ไม่มีธิดา ไม่รู้ศิลปะอะไร ๆ
เมื่อเขาพูด น้ำลายไหล ๒ ข้างลูกคาง มีสตรีสองคนดั่งเทพอัปสร ประดับ
ด้วยเครื่องประดับทั้งปวงถือดอกอุบลเขียวที่บานดีแล้ว ยืนอยู่สองข้างคอยรอง
รับน้ำลายด้วยดอกอุบลเขียวแล้วทิ้งอาทิผิด สระดอกอุบลทางหน้าต่าง ฝ่ายพวกนักเลงสุรา
เมื่อจะเข้าร้านเครื่องดื่ม มีความต้องการดอกอุบลเขียว ก็พากันไปประตูเรือน
ของเศรษฐีนั้น แล้วกล่าวว่า ข้าแต่นายโครวินทเศรษฐี ท่านเศรษฐีได้ยิน
เสียงนักเลงเหล่านั้น ยืนที่หน้าต่างกล่าวว่า อะไรพ่อ ขณะนั้นน้ำลายก็ไหล
จากปากของท่าน หญิงสองคนนั้นก็เอาดอกอุบลเขียวรองรับน้ำลายแล้วโยนทั้ง
ไปในระหว่างถนน พวกนักเลงก็เก็บดอกอุบลเหล่านั้นเอาไปล้างน้ำ แล้ว
ประดับตัวเข้าร้านเครื่องดื่ม เศรษฐีนั้นเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสิริอย่างนี้ เสนกะ
เมื่อแสดงเศรษฐีนั้นเป็นตัวอย่าง จึงกล่าวอย่างนี้.
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论