星期三, 三月 11, 2020

Yukhanattha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 35/403/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ภิกษุนั้น เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญ
กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป
อาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม มา
พยากรณ์การบรรลุพระอรหัตในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ โดยประการ
ทั้งปวง หรือด้วยมรรคใดมรรคหนึ่งใน ๔ มรรคนั้น.
จบยุคนัทธอาทิผิด อักขระสูตรที่ ๑๐
จบปฏิปทาวรรคที่ ๒
อรรถกถายุคนัทธสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในยุคนัทธสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมถปุพฺพงฺคมํ ได้แก่ ทำสมถะไปเบื้องหน้า คือ ให้เป็น
ปุเรจาริก. บทว่า มคฺโค สญฺชายติ ได้แก่ โลกุตรมรรคที่ ๑ ย่อมเกิดขึ้น.
บทว่า โส ตํ มคฺคํ. ความว่า ชื่อว่าอาเสวนะเป็นต้น ไม่มีแก่มรรคอัน
เป็นไปในขณะจิตเดียว. แต่เมื่ออาทิผิด อาณัติกะยังมรรคที่ ๒ ให้เกิดขึ้น ท่านกล่าวว่า เธอ
ส้องเสพเจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นนั่นแล. บทว่า วิปสฺสนา ปุพฺพงฺคมํ
ได้แก่ทำวิปัสสนาไปเบื้องหน้า คือ ให้เป็นปุเรจาริก บทว่า สมถํ ภาเวติ
ความว่า โดยปกติผู้ได้วิปัสสนาตั้งอยู่ในวิปัสสนา ย่อมยังสมาธิให้เกิดขึ้น.
บทว่า ยุคนทฺธํ ภเวติ ได้แก่ เจริญทำให้เป็นคู่ติดกันไป. ใน
ข้อนั้น ภิกษุไม่สามารถจะใช้จิตดวงนั้นเข้าสมาบัติ แล้วใช้จิตดวงนั้นนั่นแล
พิจารณาสังขารได้. แต่ภิกษุนี้เข้าสมาบัติเพียงใด ย่อมพิจารณาสังขาร
เพียงนั้น พิจารณาสังขารเพียงใด ย่อมเข้าสมาบัติเพียงนั้น. ถามว่า อย่างไร.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: