turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 26/506/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
๓. อนมตัคคสังยุต
ปฐมวรรคที่ ๑
๑. ติณกัฏฐสูตร
ว่าด้วยที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายของสงสาร
[๔๒๑] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดอาทิผิด เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี
อวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่
ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ.
[๔๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า
ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้
เป็นมัด ๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็น
มารดาของมารดาของเรา โดยลำดับ มารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้นไม่
พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการ
หมดสิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น
เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็น
เครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 47/47/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เย เป็นอุทเทส (บทตั้ง) ที่ไม่กำหนดแน่.
คำว่า ปุคฺคลา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย.
คำว่า อฏฺฐสตํ ได้แก่ การกำหนดคุณของพระอริยบุคคลเหล่านั้น
ว่ามี ๑๐๘.
จริงอยู่ พระอริยบุคคล ๘ จำพวกเหล่านั้น รวมเป็น ๕๔ จำพวก
คือ พระโสดาบัน ๓ จำพวก คือเอกพีชีอาทิผิด อักขระ ๑ โกลังโกละ ๑ สัตตักขัตตุปรมะ ๑
พระสกทาคามี ๓ จำพวก คือ ผู้ได้บรรลุผลแล้วในกามภพ รูปภพ
อรูปภพ พระโสดาบัน และพระสกทาคามี เหล่านั้น แม้ทั้งหมดรวมเป็น ๒๔
จำพวก ด้วยสามารถอาทิผิด อักขระแห่งปฏิอาทิผิด อักขระปทา ๔ (๔x๖)
พระอนาคามี ๔ จำพวก คือ พระอนาคามีในชั้นอวิหาภูมิ ๕
จำพวก คือ อันตราปรินิพพายี ๑ อุปหัจจปรินิพพายี ๑ สสังขารปรินิพพายี ๑
อสังขารปรินิพพายี ๑ และอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑ ในอตัปปาภูมิ สุทัสสา
ภูมิ สุทัสสีภูมิ ก็เหมือนกัน (คือมีภูมิละ ๕ จำพวก) แต่ในอกนิฏฐภูมิมี ๔
จำพวกเว้นอุทธังโสโต พระอรหันต์ ๒ จำพวกคือสุกขวิปัสสกะ ๑ สมถยานิ-
กะ ๑ และท่านผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ จำพวก (รวมเป็น ๕๔ จำพวก) พระอริย-
บุคคลทั้ง ๕๔ จำพวกเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เอา ๒ คูณด้วยอำนาจแห่งสัทธาธุระ
และปัญญาธุระ จึงรวมเป็นพระอริยบุคคล ๑๐๘ จำพวก คำที่เหลือมีนัย
อันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล.
บาทคาถาว่า จตฺตาริอาทิผิด สระ เอตานิ ยุคานิ โหนฺติ ความว่า พระอริย-
บุคคลเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ซึ่งท่านแสดงไว้ว่า ๘ จำพวก หรือ ๑๐๘ จำพวก
โดยพิสดาร แต่โดยสังเขปมี ๔ คู่ คือ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค และตั้ง
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 48/36/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
อพฺภาคตานํ ผู้มาถึงแล้ว. แต่ในคาถานั้น เทวดากล่าวคำเป็นพหุวจนะ
ก็ด้วยความเคารพ. บุคคลย่อมนั่งจ่อมลงในสิ่งใด เหตุนั้น สิ่งนั้น ชื่อว่า
อาสนะ สิ่งที่นั่ง ได้แก่สิ่งที่ประกอบเป็นที่นั่ง หรือควรนั่งได้ อย่างใด
อย่างหนึ่ง แต่ในที่นี้ประสงค์เอา ปีฐะ ตั่ง. เทวดากล่าวว่า อาสนกํ
ที่นั่ง เพราะตั่งนั้นเป็นของเล็ก และเป็นของไม่โอฬาร [ ไม่ใหญ่ ]. บทว่า
อทาสึ ความว่า เทวดาเกิดโสมนัสว่า ทานที่ถวายแก่พระเถระรูปนั้นนี้
จักมีผลมาก อานิสงส์มากแก่เรา ดังนี้แล้ว เชื่อกรรมและผลแห่งกรรม
ได้ถวายเพื่อพระเถระรูปนั้นจะได้ใช้สอย อธิบายว่า บริจาคโดยบริจาค
ไม่มุ่งผล.
บทว่า อภิวาทยึ ได้แก่ ได้กระทำการอภิวาทกราบไหว้ อธิบายว่า
ไหว้พระทักขิไณยบุคคลด้วยเบญจางคประดิษฐ์. จริงอยู่ เทวดาเมื่อไหว้
โดยใจความ ชื่อว่ากล่าวอวยพรกะผู้ไหว้นั้นนั่นแหละ โดยนัยเป็นต้นว่า
ขอท่านจงมีสุข จงไม่มีโรค. บทว่า อญฺชลิกํ อกาสึ ความว่า ดีฉัน
ประคองเหนือเศียรเกล้า ซึ่งอัญชลี ที่รุ่งเรืองด้วยทศนัขสโมธาน [ ชุม
นุม ๑๐ นิ้ว ] ได้กระทำความยำเกรงอาทิผิด อาณัติกะต่อท่านผู้มีคุณอันประเสริฐทั้งหลาย.
บทว่า ยถามุภาวํ ได้แก่ ตามกำลัง อธิบายว่า ตามสมควรแก่ทรัพย์
สมบัติของดีฉัน ซึ่งมีอยู่ในเวลานั้น. บทว่า อทาสิ ทานํ ได้แก่ ดีฉัน
นิมนต์พระทักขิไณยบุคคลให้ฉัน ด้วยการบริจาคไทยธรรมมีข้าวน้ำเป็น
ต้น ก็ประสบบุญที่สำเร็จด้วยทาน.
ก็ในคาถานั้น คำว่า อหํ ดีฉันนี้ เป็นคำแสดงความสัมพันธ์
ด้วยการเห็นกรรมและผลว่าตกสืบต่อเป็นสายเดียวกัน. คำว่า มนุสฺเสสุ
มนุสฺสภูตา ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ นี้ เป็นคำแสดงความวิเศษ
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 48/29/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
พระอัครสาวก พระมหาสาวก พระเจ้าจักรพรรดิ และสัตว์ผู้มีอานุภาพ
เหล่าอื่น ย่อมเกิดในชมพูทวีปนั้นแห่งเดียว. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า
แม้ชาวทวีปใหญ่พวกนี้ กับชาวทวีปน้อย ก็รู้กันแล้วว่าเป็นมนุษย์เหมือน
กัน เพราะมีรูปเป็นต้นเสมออาทิผิด อักขระกับชาวชมพูทวีปเหล่านั้น. ส่วนอาจารย์อีก
พวกหนึ่งกล่าวว่า ชื่อว่ามนุษย์ ก็เพราะใจที่ประกอบด้วยโลภะเป็นต้น
และอโลภะเป็นต้นหนาแน่น. จริงอยู่ สัตว์เหล่าใด เกิดเป็นมนุษย์ ใน
สัตว์เหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหล่าสัตว์ที่มีโลภะเป็นต้นและอโลภะ
เป็นต้นหนาแน่น ย่อมทำทางอบายให้เต็ม เพราะเป็นผู้มีโลภะเป็นต้นหนา-
แน่น และทำทางสุคติและทางไปพระนิพพานให้เต็ม เพราะเป็นผู้มีอโลภะ
เป็นต้นแน่นหนา เพราะฉะนั้น สัตว์วิเศษชาวทวีปใหญ่ทั้ง ๔ กับชาวทวีป
น้อยทั้งหลาย เรียกกันว่า มนุษย์ เพราะใจที่ประกอบด้วยโลภะเป็นต้น
และอโลภะเป็นต้นหนาแน่นแล.
ฝ่ายชาวโลกกล่าวว่า ชื่อว่ามนุษย์ เพราะเป็นเหล่ากอของพระมนู
มนุษย์กัปแรกที่เป็นต้นแห่งการยึดครองโลก จัดประโยชน์และมิใช่ประ-
โยชน์อยู่ในฐานะเป็นบิดาของสัตว์ทั้งหลาย ที่ในพระศาสนาเรียกว่าพระ-
เจ้ามหาสมมต ชื่อว่าพระมนู. และเหล่าสัตว์ที่ตั้งอยู่ในโอวาทานุสาสนีของ
พระมนูนั้น สืบ ๆ ต่อกันมาโดยประจักษ์ ก็เลยเรียกกันว่ามนุษย์ เพราะ
เป็นเสมือนบุตร. ก็เพราะเหตุนั้นนั่นเอง สัตว์เหล่านั้น เขาจึงเรียกว่า
มาณพ และมนุษย์ ผู้เป็นแล้ว เกิดแล้ว หรือถึงความเป็นมนุษย์ในหมู่
มนุษย์ เหตุนั้น จึงชื่อว่า มนุสฺสภูตา ผู้เกิดเป็นมนุษย์.
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 71/477/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ปโรธโกอาทิผิด สระ ตทา อาสึ ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า ในคราวที่เราเป็น
พรานเที่ยวฆ่าสัตว์อื่น ได้ถวายผลมะหาดแล้ว ทำจิตให้เลื่อมใส. บทว่า
ปโรธโก ได้แก่ เป็นผู้ฆ่าสัตว์อื่น คือเป็นผู้เบียดเบียน (สัตว์อื่น). ใน
เมื่อควรจะกล่าวว่า ปรโรธโก แต่ท่านกล่าวว่า ปโรธโก เพราะทำการ
ลบ ร อักษรตัวต้นเสีย. บทว่า ปริจารึ วินายกํ ความว่า เราได้ปวารณา
นิมนต์ อาราธนาพระศาสดาผู้บรรลุพระนิพพานนั้นด้วยคำว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงบริโภคผลไม้นี้เถิด. คำที่เหลือมีเนื้อความ
พอจะรู้ได้โดยง่ายทีเดียว.
จบอรรถกถาปิยาลผลทายกเถราปทาน
จบอรรถกถาโสภิตวรรคที่ ๑๔
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โสภิตเถราปทาน ๒. สุทัสสนเถราปทาน ๓. จันทนปูชก-
เถราปทาน ๔. ปุปผฉทนิยเถราปทาน ๕. รโหสันทัสสกเถราปทาน
๖. จัมปกปุปผิยเถราปทาน ๗. อัตถสันทัสสกเถราปทาน ๘. เอกรัง-
สนิยเถราปทาน ๙. สาลทายกเถราปทาน ๑๐. ผลทายกเถราปทาน.
บัณฑิตทั้งหลายรวมคาถาได้ ๗๒ คาถา ฉะนี้แล.
จบโสภิตวรรคที่ ๑๔
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 46/32/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คาถาที่หนึ่งนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยอาทิผิด อักขระยอด คือ พระอรหัต
ด้วยประการฉะนี้แล.
บัดนี้ ถึงลำดับการพรรณนาเนื้อความแห่งคาถาที่ ๒ ในคาถาที่ ๒ นั้น
มีมาติกา (หัวข้อ) ดังนี้เหมือนกันว่า
คาถานี้ใครกล่าว ? กล่าวที่ใด ?
กล่าวเมื่อใด ? กล่าวเพราะเหตุไร ? ข้าพเจ้า
จักประกาศวิธีนี้ แล้วทำการอธิบายความ
แห่งพระคาถานั้น.
ต่อแต่นั้นไป ก็เพราะกลัวความพิสดารเกินไปในคาถาทั้งปวง นับ
แต่นี้ไป ข้าพเจ้าจะไม่ยกมาติกามาแสดง แสดงอยู่ซึ่งเนื้อความแห่งคาถานั้นๆ
โดยนัยแสดงเหตุเกิดขึ้นเท่านั้น จักกระทำการอธิบายเนื้อความ คือ คาถาที่ ๒
นี้ว่า โย ราคมุทจฺฉิทา อเสสํ เป็นต้น. คาถาที่ ๒ นั้น มีเหตุเกิดขึ้น
ดังต่อไปนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล บุตรช่างทองคนหนึ่ง
ซึ่งเป็นอุปัฏฐากของพระสารีบุตรเถระ ได้บวชในสำนักของพระเถระ พระเถระ
คิดว่า อสุภกรรมฐานเหมาะสำหรับคนหนุ่มทั้งหลาย จึงได้ให้อสุภกรรมฐาน
แก่พระหนุ่มนั้น เพื่อกำจัดราคะ. จิตแม้สักว่า เสพคุ้นในกรรมฐานนั้น ก็ไม่
เกิดแก่พระภิกษุนั้น ท่านจึงได้บอกแก่พระเถระว่า กรรมฐานนี้ไม่เป็นอุปการะ
แก่ผม พระเถระคิดว่า กรรมฐานนี้เหมาะสำหรับคนหนุ่มทั้งหลาย จึงได้ให้
กรรมฐานนั้นนั่นแลซ้ำอีก ๔ เดือนผ่านไปอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ได้คุณวิเศษแม้
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 80/374/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
แต่วิญญาณนั้น เขาไม่กล่าวกันว่า ได้มีแล้ว เขาไม่กล่าวกันว่า
จักมี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครรลองแห่งภาษา ครรลองแห่งชื่อ
ครรลองแห่งบัญญัติ ๓ ประการเหล่านั้นแล อันสมณพราหมณ์ผู้
รู้ทั้งหลาย ไม่ลบล้าง ไม่เคยลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ
มิได้คัดค้าน แม้ชนที่เป็นชาวอุกกละ ชาววัสสภัญญะ ที่เป็น
อเหตุกวาท อกิริยวาทอาทิผิด อักขระ ก็ได้สำคัญครรลองแห่งภาษา ครรลอง
แห่งชื่อ ครรลองแห่งบัญญัติ ๓ ประการนี้ว่า อันตนไม่พึง
ติเตียน อันตนไม่พึงคัดค้าน ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะกลัว
การติเตียน การเพิดเพ้ยและการโต้แย้ง ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง
มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า อดีตมีอยู่ อนาคต
มีอยู่น่ะสิ.
[๓๘๕] ส. อดีตมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ท่านพระผัคคุณะได้กราบทูลพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า บุคคลเมื่อยังพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่
ล่วงไปแล้วปรินิพพานแล้ว มีธรรมเครื่องเนิ่นช้าอันตัดแล้ว มี
๑. สํ. ขนฺธ. ๑๗/๑๓๔
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 47/466/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
เย กาเม หิตฺวา อคหา จรนฺติ
สุสํยตตฺตา ตสรํว อุชฺชุ.
ชนเหล่าใดละกามได้แล้วไม่ยึดอาทิผิด สระถือ
อะไรเที่ยวไป มีตนสำรวมดีแล้ว เหมือน
กระสวยที่พุ่งตรงไปฉะนั้น.
บทว่า ชเหตฺวา แปลว่า ละแล้ว. บาลีว่า ชหิตฺวา บ้าง. ความก็
อย่างเดียวกัน . บทว่า อตฺตทีปา ท่านกล่าวถึงพระขีณาสพทำที่พึ่งของตนเที่ยว
ไปในคุณของตน. ห อักษรในบทว่า เย เหตฺถ เป็นนิบาตในอรรถเพียงทำ
บทให้เต็ม. ข้อนี้มีอธิบายว่า ชนเหล่าใดรู้ความสืบต่อแห่งขันธ์และอายตนะ
เป็นต้นตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธ์และนี้คืออายตนะ เมื่อรู้สภาวะตามความ
เป็นจริงด้วยสามารถแห่งความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมรู้อย่างนี้ว่า อยมนฺ-
ติมา นตฺถิ ปุนพฺภโว ชาตินี้มีในที่สุด ภพใหม่ไม่มีดังนี้ อธิบายว่า ชาติ
ของเราทั้งหลายนี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี. บทว่า โย เวทคู ชนใดเป็น
ผู้ถึงเวท พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถานี้หมายถึงพระองค์ในบัดนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สตีมา มีสติ คือประกอบด้วยสติอันเป็นวิหาร-
ธรรมเนืองนิตย์ ๖ อย่าง. บทว่า สนฺโพธิปตฺโต คือบรรลุสัพพัญญุตญาณ.
บทว่า สรณํ พหุนฺนํ คือเป็นที่พึ่งของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก
ให้พ้นจากความกลัวและการเบียดเบียน.
พราหมณ์ครั้นได้ฟังทักขิไณยบุคคลอย่างนี้แล้วชอบใจ กราบทูลว่า
อทฺธา อโมฆา คำถามของข้าพระองค์ไม่เปล่าประโยชน์แน่นอน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวญฺเหตฺถ ชานาสิ ยถา ตถา อิทํ พระ-
องค์ทรงทราบไญยธรรมนี้ในโลกนี้อย่างถ่องแท้ ความว่า จริงอยู่พระองค์ทรง
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 8/607/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
สมถักขันธกวรรณนา
สัมมุขาวินัย
วินิจฉัยในสมถักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางบทมาติกา ๖ มีคำว่า อธมฺมวาที
ปุคฺคโล เป็นต้น ตรัสความพิสดารโดยนัยมีคำว่า อธมฺมวาที
ปุคฺคโล ธมฺมวาทึ ปุคฺคลํ สญฺญาเปติ เป็นต้น
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สญฺญาเปติ ได้แก่ กล่าวถ้อยคำ
ที่สมกับเหตุ ขู่ให้ยินยอม.
บทว่า นิชฺฌาเปติ คือธรรมวาทีบุคคลนั้นจะจ้องดู คือเล็งแล
เนื้อความนั้น ด้วยประการใด, ย่อมทำด้วยประการนั้น.
สองบทว่า เปกฺเขติ อนุเปกฺเขติ คือธรรมวาทีบุคคลนั้นจะ
เพ่งเล็งและเพ่งเล็งบ่อย ๆ ซึ่งเนื้อความนั้น ด้วยประการใด, ย่อมทำ
ด้วยประการนั้น .
สองบทว่า ทสฺเสติ อนุทสฺเสติ เป็นคำบรรยายอาทิผิด อักขระแห่งสองบทว่า
เปกฺเขติ อนุเปกฺเขติอาทิผิด สระ นั้นแล.
สองบทว่า อธมฺเมน วูปสมติ มีความว่า เพราะเหตุที่
อธรรมวาทีบุคคลนั้น ยังธรรมวาทีบุคคลนั้นให้หลงแล้ว แสดงอธรรม
นั่นเอง โดยนัยมีอาทิว่า นี้เป็นธรรม, อธิกรณ์จึงชื่อว่าระงับโดย
อธรรม.
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 6/589/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ไว้ว่า ภิกษุจะแสดงสภาคาบัติไม่ได้ จะรับแสดงสภาคาบัติก็ไม่ได้ ก็สงฆ์หมู่
นี้ ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็
ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันปวารณา สงฆ์ทั้งหมดในศาสนานี้ต้องสภาคาบัติ พวก
เธอพึงสั่งภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่อาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมาทัน ในวันนั้น ด้วย
สั่งว่า อาวุโส คุณจงไปทำคืนอาบัตินั้นแล้วมา พวกเราจักทำคืนอาบัตินั้นใน
สำนักคุณ ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่ได้ ภิกษุผู้ฉลาด
ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้ต้องสภาอาทิผิด อักขระ-
คาบัติ เมื่อใดพบภิกษุรูปอื่นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ เมื่อนั้นสงฆ์จักทำ
คืนอาบัตินั้นในสำนักภิกษุรูปนั้น.
ครั้นแล้วพึงปวารณา แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา เพราะข้อที่
ต้องสภาคาบัตินั้นเป็นปัจจัย.
สงสัยในสภาคาบัติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันปวารณา สงฆ์
ทั้งหมดในศาสนานี้ มีความสงสัยในสภาคาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 73/339/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
พระองค์อื่นๆ ซึ่งมีรัศมีพระสรีระ ประมาณ ๘๐ ศอกบ้าง วาหนึ่งบ้างโดย
รอบ ส่วนรัศมีแห่งพระสรีระของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น แผ่ไปตลอด
หมื่นโลกธาตุเป็นนิจนิรันดร์ ต้นไม้ ภูเขา เรือน กำแพง หม้อน้ำ บานประตู
เป็นต้น ได้เป็นเหมือนหุ้มไว้ด้วยแผ่นทอง พระองค์มีพระชนมายุถึงเก้า
หมื่นปี. รัศมีของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดวงดาวเป็นต้นไม่มีตลอดเวลาถึง
เท่านั้น การกำหนดเวลากลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลายทำการงาน
กันทุกอย่างด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้าเท่านั้น เหมือนทำงานด้วยแสงสว่าง
ของดวงอาทิตย์เวลากลางวัน โลกกำหนดเวลาตอนกลางคืนกลางวัน โดยดอก-
ไม้บานยามเย็นและนกร้องยามเช้า.
ถามว่า อานุภาพนี้ของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ไม่มีหรือ. ตอบว่า
ไม่มี หามิได้ ความจริง พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อทรงประสงค์ ก็ทรง
แผ่พระรัศมีไปได้ตลอดหมื่นโลกธาตุ หรือยิ่งกว่านั้น แต่รัศมีแห่งพระสรีระของ
พระผู้มีพระภาคเจ้ามงคล แผ่ไปตลอดหมื่นโลกอาทิผิด อักขระธาตุเป็นนิจนิรันดร์ เหมือน
รัศมีวาหนึ่งของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ก็ด้วยอำนาจความปรารถนาแต่เบื้อง
ต้น. เขาว่า ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ พระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระ
โอรสและพระชายา ในอัตภาพเช่นเดียวกับอัตภาพเป็นพระเวสสันดร ประทับ
อยู่ ณ ภูเขาเช่นเดียวกับเขาวงกต. ครั้งนั้น ยักษ์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่งกินมนุษย์
เป็นอาหาร ชอบเบียดเบียนคนทุกคน ชื่อขรทาฐิกะ ได้ข่าวว่า พระมหาบุรุษ
ชอบให้ทาน จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์เข้าไปหา ทูลขอทารกสองพระองค์กะ
พระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์ทรงดีพระทัยว่า เราจะให้ลูกน้อยสองคนแก่
พราหมณ์ดังนี้ ได้ทรงประทานพระราชบุตรทั้งสองพระองค์แล้ว ทำให้แผ่นดิน
หวั่นไหวจนถึงน้ำ ขณะนั้น ทั้งที่พระมหาสัตว์ทรงเห็นอยู่ ยักษ์ละเพศเป็น
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 73/329/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
๓. วงศ์พระมงคลพุทธเจ้าที่ ๓
ว่าด้วยพระประวัติของพระมงคลพุทธเจ้า
[๔] ต่อมาจากสมัย ของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าพระนามว่า มงคล ผู้นำโลก ทรงกำจัด
ความมืดในโลก ทรงชูประทีปธรรม.
รัศมีของพระองค์ไม่มีใครเทียบ ยิ่งกว่าพระชิน-
พุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ข่มรัศมีของดวงจันทร์และดวง
อาทิตย์ ทำหมื่นโลกธาตุให้สว่างจ้า.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศสัจจะ ๔
อันประเสริฐสูงสุด. สัตว์นั้น ๆ ก็ดื่มรสสัจจะบรรเทา
ความมืดใหญ่ลงได้,
ในการที่ทรงบรรลุพระโพธิญาณ อันหาที่เทียบ
มิได้ แล้วทรงแสดงธรรมครั้งแรก ธรรมาภิสมัย ครั้ง
ที่ ๑ ก็ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมโปรด ในภพของ
ท้าวสักกะเทวราชจอมเทพ ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัย
ครั้งที่ ๒ ได้มีแก่เทวดาแสนโกฏิ.
ครั้ง พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิราช เข้าเฝ้าพระ-
สัมพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้า ก็ทรงลั่นธรรมเภรีอาทิผิด อักขระอัน
ประเสริฐสูงสุด.
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 81/367/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม ล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว
บรรเทาความรำคาญใจได้แล้ว กำจัดความวิปฏิสารได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อจะก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เขาได้ปลงชีวิตมารดา ได้ปลงชีวิตบิดา ฯลฯ ได้ยัง
สงฆ์ให้แตกจากกัน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมอาทิผิด สระ ล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว
บรรเทาความรำคาญใจได้แล้ว กำจัดความวิปฏิสารได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อจะก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กรรมนั้นได้ล้มเลิกแล้ว ความรำคาญใจก็ได้บรรเทา
แล้ว ความวิปฏิสารก็ได้กำจัดแล้ว มิใช่หรือ ?
ป.ถูกแล้ว.
ส. หากว่า กรรมนั้นได้ล้มเลิกแล้ว ความรำคาญใจก็
ได้บรรเทาแล้ว ความวิปฏิสารก็ได้กำจัดแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่าบุคคลผู้
ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม ล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความรำคาญใจ
ได้แล้ว กำจัดความวิปฏิสารได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม
[๑๕๒๐] ป. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม พึงก้าวลงสู่สัมมัตต-
นิยาม หรือ ?
ส.ถูกแล้ว.
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 69/366/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
อนึ่ง วิโมกข์ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะทำการแยกความเป็นฆนะ (ก้อน)
ของสังขารทั้งหลายด้วยอนิจจานุปัสสนา แล้วละนิมิตว่าเที่ยง นิมิต ว่ายั่งยืน
นิมิตว่าคงที่ออกไปเสีย. ชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะละสุขสัญญาด้วยทุกขานุ-
ปัสสนา แล้วยังความปรารถนาที่ตั้งไว้ให้แห้งไป. ชื่อว่า สุญญตะ เพราะ
ละความสำคัญว่าตน สัตว์ บุคคลด้วยอนัตตานุปัสสนา แล้วเห็นสังขารทั้งหลาย
โดยความเป็นของสูญ นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยความเป็นข้าศึก.
อนึ่ง ชื่อว่า สุญญตะ เพราะความเป็นของสูญจากราคะเป็นต้น
ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะไม่มีรูปนิมิตเป็นต้น หรือราคะนิมิตเป็นต้น. ชื่อว่า
อัปปณิหิตะ เพราะไม่มีที่ตั้งของราคะเป็นต้น นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยความมีคุณ
ของมรรคนั้น.
มรรคนี้นั้น ย่อมทำนิพพานอันเป็นของสูญ ไม่มีนิมิต ไม่มีที่ตั้ง
ให้เป็นอารมณ์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ
นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยความเป็นอารมณ์.
อนึ่ง การมามี ๒ อย่าง คือ วิปัสสนาคมนะ (การมาแห่งวิปัสสนา) ๑
มัคคาคมนะ (การมาแห่งมรรค) ๑.
การมาแห่งวิปัสสนาย่อมได้ในมรรค การมาแห่งมรรคย่อมได้ในผล.
เพราะอนัตตานุปัสสนา ชื่อว่า สุญญตะ มรรคแห่งสุญญตอาทิผิด สระวิปัสสนา ชื่อว่า
สุญญตะ. ผลแห่งสุญญตมรรค ชื่อว่า สุญญตะ. อนิจจานุปัสสนา ชื่อว่า
อนิมิตตะ มรรคแห่งอนิมิตตานุปัสสนา ชื่อว่า อนิมิตตะ. ก็ชื่อนี้ย่อมได้
ด้วยอภิธรรมปริยาย แต่ในสุตตันตปริยายก็ได้ด้วย. จริงอยู่ อาจารย์ทั้งหลาย
กล่าวไว้ในสุตตันตปริยายนั้นว่า พระโยคาวจรทำนิพพานอันเป็นโคตรภูญาณ
หานิมิตมิได้ให้เป็นอารมณ์ เป็นชื่อที่ไม่มีนิมิตตั้งอยู่ในอาคมนียฐาน (ที่เป็นที่
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 44/168/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ธรรมสภานั้นท่านเรียกว่า อุปัฏฐานศาลา เพราะเป็นที่ที่พวกภิกษุกระทำ
อุปัฏฐากพระตถาคตผู้เสด็จมาแสดงธรรม. อีกอย่างหนึ่ง ศาลาก็ดี มณฑป
ก็ดี ซึ่งเป็นที่ที่เหล่าภิกษุวินิจฉัยวินัยแสดงธรรม ประชุมธรรมสากัจฉา
และเป็นที่เข้าไปประชุมตามปกติโดยการประชุมกัน ท่านก็เรียกว่า อุปัฏ-
ฐานศาลา เหมือนกัน. จริงอยู่ แม้ในที่นั้น ก็เป็นอันพระองค์ทรงบัญญัติ
พระพุทธศาสนาเป็นนิตย์ทีเดียว. จริงอยู่ ข้อนี้เป็นจารีตของเหล่าภิกษุใน
สมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่. บทว่า สนฺนิสินฺนานํ ได้แก่ นั่ง
ประชุมโดยการนั่ง. บทว่า สนฺนิปติตานํ ได้แก่ผู้ประชุมกัน โดยมาจาก
ที่นั้นๆ แล้วประชุม. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ประชุมโดยมุ่งเอาพระพุทธศาสนา
เป็นหลัก แล้วนั่งประชุมกันโดยเคารพ เพื่อให้เกิดความเอื้อเฟื้อ เหมือน
ประชุมอยู่เฉพาะพระพักตร์พระศาสดา คือ เพราะมีอัธยาศัยเสมอกันจึง
ประชุมตามอัธยาศัยแห่งกันและกัน และด้วยการตกลงกันด้วยดีโดย
ชอบ. ด้วยบทว่า อยํ ท่านแสดงถึงคำที่กำลังกล่าวอยู่ในขณะนี้. บทว่า
อนฺตรากถา ได้แก่ ถ้อยคำอันหนึ่ง คืออย่างหนึ่งในระหว่างกิจ มีมนสิการ-
กรรมฐาน อุเทศ และการสอบถามเป็นต้น, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
อันตรากถา เพราะเป็นไปในระหว่างแห่งสุคโตอาทิผิด อักขระวาทที่ได้ในเวลาเที่ยงวัน
และในระหว่างการฟังธรรมที่จะพึงได้ในเวลาเย็น, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
อันตรากถา เพราะเป็นคาถาอย่างหนึ่ง คืออันหนึ่ง ที่เป็นไปในระหว่าง
แห่งสมณสมาจารนั่นเอง. บทว่า อุทปาทิ แปลว่า เกิดขึ้นแล้ว.
บทว่า อิเมสํ ทฺวินฺนํ ราชูนํ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถนิทธารณะ.
ในคำว่า มหทฺธนตโร วา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า มีทรัพย์
มาก เพราะผู้นั้นมีทรัพย์มาก กล่าวคือสะสมรัตนะทั้ง ๗ ฝังไว้ในแผ่นดิน,
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 4/5/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ที่ชื่อว่า ไม่รู้ คือ ไม่รู้ด้วยใจ.
ที่ชื่อว่า เห็น คือ เห็นด้วยตา.
ที่ชื่อว่า ได้ยิน คือ ได้ยินด้วยหู
ที่ชื่อว่า ทราบ คือ ได้สูดดมด้วยจมูก ได้ลิ้มอาทิผิด ด้วยลิ้น ได้สัมผัสด้วยกาย.
ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้ด้วยใจ.
อาการของการกล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้
ไม่เห็น - ว่าเห็น
[๑๗๖] ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๓
อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าวก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จ ว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ
ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระปิฎกธรรม