Yamkreng
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 48/36/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
อพฺภาคตานํ ผู้มาถึงแล้ว. แต่ในคาถานั้น เทวดากล่าวคำเป็นพหุวจนะ
ก็ด้วยความเคารพ. บุคคลย่อมนั่งจ่อมลงในสิ่งใด เหตุนั้น สิ่งนั้น ชื่อว่า
อาสนะ สิ่งที่นั่ง ได้แก่สิ่งที่ประกอบเป็นที่นั่ง หรือควรนั่งได้ อย่างใด
อย่างหนึ่ง แต่ในที่นี้ประสงค์เอา ปีฐะ ตั่ง. เทวดากล่าวว่า อาสนกํ
ที่นั่ง เพราะตั่งนั้นเป็นของเล็ก และเป็นของไม่โอฬาร [ ไม่ใหญ่ ]. บทว่า
อทาสึ ความว่า เทวดาเกิดโสมนัสว่า ทานที่ถวายแก่พระเถระรูปนั้นนี้
จักมีผลมาก อานิสงส์มากแก่เรา ดังนี้แล้ว เชื่อกรรมและผลแห่งกรรม
ได้ถวายเพื่อพระเถระรูปนั้นจะได้ใช้สอย อธิบายว่า บริจาคโดยบริจาค
ไม่มุ่งผล.
บทว่า อภิวาทยึ ได้แก่ ได้กระทำการอภิวาทกราบไหว้ อธิบายว่า
ไหว้พระทักขิไณยบุคคลด้วยเบญจางคประดิษฐ์. จริงอยู่ เทวดาเมื่อไหว้
โดยใจความ ชื่อว่ากล่าวอวยพรกะผู้ไหว้นั้นนั่นแหละ โดยนัยเป็นต้นว่า
ขอท่านจงมีสุข จงไม่มีโรค. บทว่า อญฺชลิกํ อกาสึ ความว่า ดีฉัน
ประคองเหนือเศียรเกล้า ซึ่งอัญชลี ที่รุ่งเรืองด้วยทศนัขสโมธาน [ ชุม
นุม ๑๐ นิ้ว ] ได้กระทำความยำเกรงอาทิผิด อาณัติกะต่อท่านผู้มีคุณอันประเสริฐทั้งหลาย.
บทว่า ยถามุภาวํ ได้แก่ ตามกำลัง อธิบายว่า ตามสมควรแก่ทรัพย์
สมบัติของดีฉัน ซึ่งมีอยู่ในเวลานั้น. บทว่า อทาสิ ทานํ ได้แก่ ดีฉัน
นิมนต์พระทักขิไณยบุคคลให้ฉัน ด้วยการบริจาคไทยธรรมมีข้าวน้ำเป็น
ต้น ก็ประสบบุญที่สำเร็จด้วยทาน.
ก็ในคาถานั้น คำว่า อหํ ดีฉันนี้ เป็นคำแสดงความสัมพันธ์
ด้วยการเห็นกรรมและผลว่าตกสืบต่อเป็นสายเดียวกัน. คำว่า มนุสฺเสสุ
มนุสฺสภูตา ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ นี้ เป็นคำแสดงความวิเศษ
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论