星期日, 六月 21, 2020

Yot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   46/32/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คาถาที่หนึ่งนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยอาทิผิด อักขระยอด คือ พระอรหัต
ด้วยประการฉะนี้แล.
บัดนี้ ถึงลำดับการพรรณนาเนื้อความแห่งคาถาที่ ๒ ในคาถาที่ ๒ นั้น
มีมาติกา (หัวข้อ) ดังนี้เหมือนกันว่า
คาถานี้ใครกล่าว ? กล่าวที่ใด ?
กล่าวเมื่อใด ? กล่าวเพราะเหตุไร ? ข้าพเจ้า
จักประกาศวิธีนี้ แล้วทำการอธิบายความ
แห่งพระคาถานั้น.
ต่อแต่นั้นไป ก็เพราะกลัวความพิสดารเกินไปในคาถาทั้งปวง นับ
แต่นี้ไป ข้าพเจ้าจะไม่ยกมาติกามาแสดง แสดงอยู่ซึ่งเนื้อความแห่งคาถานั้นๆ
โดยนัยแสดงเหตุเกิดขึ้นเท่านั้น จักกระทำการอธิบายเนื้อความ คือ คาถาที่ ๒
นี้ว่า โย ราคมุทจฺฉิทา อเสสํ เป็นต้น. คาถาที่ ๒ นั้น มีเหตุเกิดขึ้น
ดังต่อไปนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล บุตรช่างทองคนหนึ่ง
ซึ่งเป็นอุปัฏฐากของพระสารีบุตรเถระ ได้บวชในสำนักของพระเถระ พระเถระ
คิดว่า อสุภกรรมฐานเหมาะสำหรับคนหนุ่มทั้งหลาย จึงได้ให้อสุภกรรมฐาน
แก่พระหนุ่มนั้น เพื่อกำจัดราคะ. จิตแม้สักว่า เสพคุ้นในกรรมฐานนั้น ก็ไม่
เกิดแก่พระภิกษุนั้น ท่านจึงได้บอกแก่พระเถระว่า กรรมฐานนี้ไม่เป็นอุปการะ
แก่ผม พระเถระคิดว่า กรรมฐานนี้เหมาะสำหรับคนหนุ่มทั้งหลาย จึงได้ให้
กรรมฐานนั้นนั่นแลซ้ำอีก ๔ เดือนผ่านไปอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ได้คุณวิเศษแม้
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: