星期五, 九月 30, 2011

Sampachanya

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 65/408/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ต่อกันไป ไม่ทำให้ติดต่อกันไป. บุคคลนี้ไม่ทำอย่างนั้น เหตุนั้นจึงชื่อว่า
เป็นผู้ทำไม่หยุด.
บทว่า อโนลีนวุตฺติโก ความว่า เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน
หามิได้ เพราะมีการแผ่ไป กล่าวคือการทำไม่มีระหว่าง เหตุนั้นจึงชื่อว่า
เป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน.
บทว่า อนิกฺขิตฺตจฺฉนฺโท ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ปลงฉันทะ
เพราะความที่ไม่ปลงฉันทะในความเพียรทำกุศล.
บทว่า อนิกฺขิตฺตธุโร ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ทอดธุระ เพราะ
ไม่ปลงธุระคือความเพียร อธิบายว่า เป็นผู้มีใจไม่ท้อถอย.
บทว่า โย ตตฺถ ฉนฺโท จ วาจาโม จ ความว่า ความพอใจใน
ธรรมคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อกระทำ, ความพยายามกล่าวคือประกอบความ
อุตส่าห์ด้วยสามารถความขะมักเขม้น, และความเป็นผู้ขยันด้วยสามารถ
ความขะมักเขม้นมีประมาณยิ่ง. นี้ชื่อว่าความพยายาม ด้วยอรรถว่าไปสู่ฝั่ง.
นี้ชื่อว่าความอุตส่าห์ ด้วยอรรถว่าไปก่อน. นี้ชื่อว่าความเป็นผู้ขยันด้วย
อรรถว่ามีประมาณยิ่ง.
บทว่า อปฺปฏิวานี จ ได้แก่ ความไม่ถอยกลับ.
บทว่า สติ จ สมฺปชญฺญญฺจอาทิผิด ความว่า ชื่อว่าสติ ด้วยอรรถว่า
ระลึกได้ ชื่อว่า สัมปชัญญะ ด้วยอรรถว่า รู้ตัว. อธิบายว่า รู้โดย
ประการทั้งหลายโดยรอบ. พึงทราบประเภทแห่งสัมปชัญญะนี้ คือ สาตถก
สัมปชัญญะ, สัปปายสัมปชัญญะอาทิผิด อักขระ, โคจรสัมปชัญญะ, อสัมโมหสัมปชัญญะ.
บทว่าอาทิผิด อาณัติกะ อาตปฺปํ ได้แก่ ความเพียรเครื่องเผากิเลส.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 九月 29, 2011

Okha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 91/1506/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
การนับจำนวนวาระในอนุโลม
[๑๔๔๙] ในเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ
นสรณทุกนคันถโคจฉกทุกสรณทุกคันถโคจฉกทุกะ จบ

นสรณทุกนโอฆโคจฉกทุกสรณทุกโอฆโคจฉกทุกะ
(๑๐๐. สรณทุกะ ๓๒.-๓๗. โอฆอาทิผิด อักขระโคจฉกทุกะ)
ปฏิจจวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย
โอฆบท
[๑๔๕๐] ๑. โอฆธรรม ที่เป็นสรณธรรม อาศัยธรรมที่ไม่ใช่
โอฆธรรม ที่ไม่ใช่อรณธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

การนับจำนวนวาระในอนุโลม
[๑๔๕๑] ในเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ
นสรณทุกนโอฆโคจฉกทุกสรณทุกโอฆโคจฉกทุกะ จบ
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 九月 26, 2011

Khamphi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 38/594/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คำสรุปท้ายอรรถกถา
ด้วยการพรรณนามาฉะนี้ ข้าพเจ้าอัน ท่านโชติปาลเถระ
ผู้มีปัญญาดี ซึ่งเคยอยู่ร่วมกับข้าพเจ้าในเมืองกัญจีประเป็นต้น
อาราธนา แม้ในขณะที่อยู่ในมหาวิหารลังกาทวีป เมื่อพระสัท-
ธรรมกำลังทรุดโทรม เหมือนต้นไม้ถูกพายุกระหน่ำ ทั้ง ชีวก-
อุบาสก ผู้ถึงฝั่งสาคร คือ เรียนจบพระไตรปิฎก ผู้มีปัญญาดี
อาราธนาแล้ว ปรารถนาความยั่งยืนแห่งพระศาสนา จึงเริ่ม
แต่งคัมภีร์อรรถกถาอันใดแห่งบาลีอังคุตตรนิกาย ซึ่งวิจิตร
ด้วยลัทธิสมัย อันพระธรรมกถึกทั้งหลายเป็นอันมาก ผู้
ละเอียดถี่ถ้วนในนัยแห่งธรรมกถา แต่งร้อยแก้วและร้อยกรอง
ไว้แล้วอาทิผิด คัมภีร์อรรถกถานี้นั้นเก็บสาระสำคัญของคัมภีร์อาทิผิด อักขระมหา-
อรรถกถาสำเร็จแล้ว แต่เพราะเหตุที่มโนรถความปรารถนา
ของข้าพเจ้าที่จะอธิบายนิกายทั้งหมด โดยภาณวารแห่งบาลี
ประมาณ ๙๔ ภาณวารบริบูรณ์แล้ว อรรถกถานั้นจึงชื่อว่า
มโนรถปูรณี ต่อนั้นเพราะเหตุที่แม้คัมภีร์วิสุทธิมรรคประมาณ
๕๙ ภาณวาร แห่งมโนรถปูรณีนั้น ข้าพเจ้าก็แต่งเพื่อประกาศ
อรรถของนิกายทั้งหลายแล้ว ฉะนั้น อรรถกถานี้กับคัมภีร์
วิสุทธิมรรคนั้น พึงทราบว่ามี ๑๕๓ ภาณวาร ตามนัยแห่งการ
นับคาถา. อรรถกถานี้ ประกาศลัทธิสมัยของพระเถระ
ผู้อยู่ในมหาวิหาร โดยภาณวารนับได้ ๑๕๓ ภาณวาร ข้าพเจ้า
ผู้แต่งคัมภีร์มโนรถปูรณีนี้ เก็บสารสำคัญของอรรถกถาเดิม
สร้างสมบุญอันใดไว้ ด้วยบุญอันนั้น ขอสัตว์โลกทั้งหมดจง
มีสุข เทอญ.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 九月 25, 2011

Laong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 1/137/5  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
จักนั่งบนอาสนะทั้งหลาย หรือจักไม่นั่งหนอ เมื่อท้าวเธอ ทรงดำริอยู่อย่างนั้น
นั่นแล นายสารถีนั้น ก็มาถึงประตูพระนคร (พอดี). เวลานั้นนายสารถีได้
เห็นพระเถระทั้งหลาย มารัดประคดเอว ห่มจีวรอยู่ก่อนแล้ว. ครั้นเธอเห็น
แล้ว ก็เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสยิ่งนัก แล้วกลับมาทูลแด่พระราชาว่า ขอเดชะ
ใต้ฝ่าละอองอาทิผิด อักขระธุลีพระบาท ! พระเถระทั้งหลายมาถึงแล้ว.
พระราชา ตรัสถามว่า พระเถระทั้งหลาย ขึ้นรถมาหรือ ?
* นายสารถีกราบทูลว่า ไม่ขึ้น พระเจ้าข้า ! อีกอย่างหนึ่ง พระเถระ
ทั้งหลายออกทีหลังข้าพระพุทธเจ้า มาถึงก่อนได้ยืนอยู่ที่ประตูด้านทิศปราจีน.
พระราชาทรงสดับว่า พระเถระทั้งหลายไม่ขึ้นแม้ซึ่งรถ จึงทรงพระดำริว่า
บัดนี้ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จักไม่ยินดีอาสนะสูง แล้วตรัสสั่งว่า แน่ะพนาย !
ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงปูอาสนะ โดยอาการเพียงลาดพื้น เพื่อพระเถระ
ทั้งหลาย ดังนี้แล้ว ได้เสด็จสวนทางไป. พวกอำมาตย์ปูเสื่ออ่อนบนพื้นแล้ว
ปูเครื่องลาดอันวิจิตรอาทิผิด อักขระมีผ้าโกเชาว์เป็นต้น (พรม) ข้างบน. พวกโหรผู้ทำนายนิมิต
เห็น (เหตุการณ์นั้น) แล้ว พากันพยากรณ์ว่า แผ่นดินนี้ถูกพระเถระเหล่านี้
ยึดแล้วในบัดนี้, ท่านเหล่านี้ จักเป็นเจ้าของแห่งเกาะตัมพปัณณิทวีป. ฝ่าย
พระราชาได้เสด็จมาถวายบังคมพระเถระทั้งหลายแล้ว ทรงรับเอาบาตรจาก
หัตถ์ของพระมหินทเถระ แล้วนิมนต์เหล่าพระเถระให้เข้าไปในเมือง ด้วยการ
บูชาและสักการะใหญ่ ให้เข้าไปสู่ภายในพระราชนิเวศน์. พระเถระเห็นการให้
ปูอาสนะแล้ว นั่งพลางคิดไปว่า ศาสนาของเราจักแผ่ไปทั่วลังกาทวีป และ
ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดุจแผ่นดิน. พระราชาทรงเลี้ยงดูพระเถระทั้งหลายให้อิ่มหนำ
ด้วยขาทนียะโภชนียะ อันประณีต ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เสร็จเรียบร้อย
* พระธรรมบัณฑิต (มานิต ถาวโร ป. ธ. ๙ ) วัดสัมพันธวงศ์ แปล.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 九月 22, 2011

Samma

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   13/3/1  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาอาทิผิด อักขระสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าวิปัสสี ได้เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ ทรงอุบัติในขัตติยสกุล พระผู้
มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี ได้เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ
ทรงอุบัติในขัตติยสกุล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า
เวสสภู ได้เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ ทรงอุบัติในขัตติยสกุล พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ. ได้เป็นพราหมณ์โดยพระชาติ
ทรงอุบัติในพราหมณสกุล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม
ว่าโกนาคมนะ ได้เป็นพราหมณ์โดยพระชาติ ทรงอุบัติในพราหมณสกุล
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ ได้เป็นพราหมณ์
โดยพระชาติ ทรงอุบัติในพราหมณสกุล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราผู้อรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ได้เป็นกษัตริย์โดยชาติ อุบัติในขัตติยสกุล.
[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าวิปัสสี เป็นโกญฑัญญโคตร พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าสิขี เป็นโกณฑัญญโคตร พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าเวสสภู เป็นโกณฑัญญโคตร พระผู้มีพระภาคอรหันตสันมาอาทิผิด อักขระสัม-
พุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ เป็นกัสสปโคตร พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ เป็นกัสสปโคตร พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ เป็นกัสสปโคตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ เป็นโคตมโคตร.
[๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ประมาณอาทิผิด อักขระ ๘๐,๐๐๐ ปี พระชนมายุของ
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี ประมาณ ๗๐,๐๐๐ ปี
พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเวสสภู
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 九月 21, 2011

Banphachit, Bapphachit, Bapchit

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 64/685/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
กาลไม่นานเลย เพราะทรงกันแสงเป็นนิตย์.
กาลนั้นพรานเจตบุตรก็มีความโสมนัส ด้วยคิดว่า ได้ยินว่า บัดนี้
พราหมณ์นี้จะมาเชิญเสด็จพระเวสสันดรกลับ จึงผูกสุนัขทั้งหลายไว้ให้อยู่ที่
ส่วนข้างหนึ่ง แล้วให้ชูชกลงจากต้นไม้ ให้นั่งบนที่ลาดกิ่งไม้ ให้โภชนาหาร
เมื่อจะทำปฏิสันถาร จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าแต่ตาพราหมณ์ ตาเป็นทูตที่รักของพระเวส-
สันดรผู้เป็นที่รักของข้า ข้าจะให้กระบอกน้ำผึ้งและ
ขาเนื้อย่างเป็นบรรณาการแก่ตา และจักบอกประเทศที่
พระเวสสันดรผู้ประทานความประสงค์ประทับอยู่แก่ตา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิยสฺส เม ความว่า ตาเป็นทูตที่รักของ
พระเวสสันดรผู้เป็นที่รักของข้า ข้าจะให้บรรณาการแก่ตา เพื่อความเต็มแห่ง
อัธยาศัย
จบชูชกบรรพ
จุลวนวรรณนา
พรานเจตบุตรให้พราหมณ์ชูชกบริโภคแล้ว ให้กระบอกน้ำผึ้งและขา
เนื้อย่างแก่ชูชก เพื่อเป็นเสบียงเดินทางอย่างนี้แล้ว ยืนที่หนทางยกมือเบื้อง
ขวาขึ้นเมื่อจะแจ้งโอกาสเป็นที่ประทับอยู่แห่งพระเวสสันดรมหาสัตว์ จึงกล่าวว่า
ดูก่อนมหาพราหมณ์ นั่นภูเขาคันธมาทน์ล้วน
แล้วไปด้วยศิลา ซึ่งเป็นที่ประทับแห่งพระราชา
เวสสันดรพร้อมด้วยพระมัทรีราชเทวีทั้งพระชาลีและ
พระกัณหาชินา ทรงเพศบรรพชิตอาทิผิด อักขระอันประเสริฐ และ
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 九月 18, 2011

Banphacha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 54/116/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เกิดเป็นธิดาเศรษฐีมีสมบัติมาก ในกรุงพาราณสี ด้วยผลแห่งบุพกรรมจึงมี
ร่างกายเหม็น พวกมนุษย์รังเกียจ นางเกิดความสังเวชจึงเอาเครื่องประดับ
ของตนสร้างอิฐทองประดิษฐานไว้ที่เจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และถือดอก
อุบลบูชา ด้วยบุญกรรมนั้นร่างกายของนางมีกลิ่นหอมจับใจในภพนั้นเอง นาง
เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของสามี ทำกุศลตลอดชีวิตเคลื่อนจากอัตภาพนั้นเกิดใน
สวรรค์ แม้ในสวรรค์นั้นก็ได้เสวยทิพยสุขตลอดชีวิต จุติจากสวรรค์นั้นเป็น
ราชธิดาของพระเจ้าพาราณสี เสวยสมบัติเช่นกับสมบัติเทวดาในกรุงพาราณสี
นั้น บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเวลานาน เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้า
เหล่านั้นปรินิพพานแล้ว เกิดความสังเวช เป็นดาบสินีอยู่ในพระราชอุทยาน
เจริญฌานทั้งหลายแล้วเกิดในพรหมโลก จุติจากพรหมโลกนั้นเกิดในเรือนของ
ตระกูลพราหมณ์โกสิยโคตร ในสาคลนคร เติบโตขึ้นด้วยบริวารใหญ่ เจริญ
วัยแล้วบิดามารดานำไปสู่เรือนของปิปผลิกุมารในมหาติตถคาม เมื่อปิปผลิกุมาร
ออกบวช นางละโภคะกองใหญ่และญาติหมู่ใหญ่ออกเพื่อต้องการบวช เข้าไป
อยู่ในอารามเดียรถีย์ ๕ ปี เวลาต่อมา นางได้บรรพชาอาทิผิด อักขระและอุปสมบทในสำนัก
ของพระมหาปชาบดีโคตมี เริ่มตั้งวิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า
ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมาร
พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้รู้จบธรรมทั้งปวง เป็นนายก
ของโลก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ครั้งนั้น ในพระนคร
หังสวดี มีเศรษฐีชื่อว่าวิเทหะ เป็นผู้มีรัตนะมาก
ข้าพเจ้าเป็นชายาของเขา บางครั้ง เศรษฐีนั้นพร้อมกับ
ชนบริวารเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นดังดวงอาทิตย์
ของนรชนได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์ซึ่งเป็นเหตุนำ
๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๖๗. ภัททกาปิลานีเถรีอปทาน.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 九月 16, 2011

Nop Nom

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 32/38/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เท้าข้างหนึ่งไว้ โดยอาการที่ถูกหนีบอยู่นั่นแล ยกเท้าที่ ๒ ขึ้น เหยียบ
กระดองหลังปูนั้น ทำให้แหลกอาทิผิด สระละเอียด กระชากปูนั้นเหวี่ยงขึ้นบนฝั่ง.
ลำดับนั้น ช้างทั้งหมดชุมนุมกันทำปูนั้นให้แหลกละเอียดด้วยคิดว่า
มันเป็นไพรีของพวกเรา. เสียงของหญิง ครอบงำจิตของปูทองด้วย
ประการฉะนี้ก่อน.

ฝ่ายนกยูงทอง เข้าไปยังป่าหิมพานต์ อาศัยชัฏแห่งภูเขาใหญ่อยู่
แลดูดวงอาทิตย์ ในเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นตลอดกาลเป็นนิตย์ เมื่อจะ
กระทำการรักษาตนจึงกล่าวอย่างนี้ว่า

พระอาทิตย์ เป็นดวงตาโลก เป็นราชาเอก
มีสีเหลืองดังทอง ทำพื้นแผ่นดินให้สว่างไสว
อุทัยขึ้นมา ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้า ขอนอบอาทิผิด อักขระน้อม
พระอาทิตย์นั่นซึ่งมีสีเหลืองดังทอง ทำพื้น
แผ่นดินให้สว่างไสว ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นผู้
อันท่านคุ้มครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุข
ตลอดวัน พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้จบเวท
ในธรรมทั้งปวง ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพราหมณ์
เหล่านั้น และพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น โปรด
รักษาข้าพเจ้าด้วย ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จง
มีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ความนอบน้อมของ
ข้าพเจ้า จงมีแด่พระโพธิญาณ ความนอบน้อม
ของข้าพเจ้า จงมีแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว ความ
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 九月 15, 2011

Binthabat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   8/47/9  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อุบาสกเล่าเรื่องให้พระฟัง
[๘๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาในแคว้นกาสี
เดินทางไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงชนบทกิฏาคีรี
แล้ว ครั้นเวลาเช้าภิกษุนั้นครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาต
ยังชนบทกิฏาคีรี มีอาการเดินไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน
น่าเลื่อมใส มีจักษุทอดลงสมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ
คนทั้งหลายเห็นภิกษุรูปนั้น แล้วพูดอย่างนี้ว่าภิกษุรูปนี้เป็นใคร
ดูคล้ายคนไม่ค่อยมีกำลัง เหมือนคนอ่อนแอ เหมือนคนมีหน้าสยิ้ว ใคร
เล่าจักถวายบิณฑะแก่ท่านผู้เข้าไปเที่ยวบิณฑบาตอาทิผิด อักขระรูปนี้ ส่วนพระผู้เป็นเจ้า
เหล่าพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะของพวกเรา เป็นผู้อ่อนโยน พูดจา
ไพเราะ อ่อนหวาน ยิ้มย้มก่อน มักพูดว่า มาเถิด มาดีแล้ว มีหน้าไม่
สยิ้ว มีหน้าชื่นบาน มักพูดก่อน ใคร ๆ ก็ต้องถวายบิณฑะแก่ท่านเหล่านั้น.
อุบาสกคนหนึ่งได้ลเห็นภิกษุรูปนั้น กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ใน
ชนบทกิฏาคีรี ครั้นแล้วจึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น กราบเรียนถามภิกษุรูป
นั้นว่า พระคุณเจ้าได้บิณฑะบ้างไหม ขอรับ.
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ยังไม่ได้บิณฑะเลย ท่านผู้มีอายุ.
อุบาสกกล่าวอาราธนาว่า นิมนต์ไปเรือนผมเถิดขอรับ แล้วนำ
ภิกษุรูปนั้นไปเรือน นิมนต์ให้ฉันแล้วเรียนถามว่า พระคุณเจ้าจักไปที่ไหน
ขอรับ.
ภิ. อาตมาจักไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.
อุ. ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณเจ้า จงกราบถวายบังคมพระบาทยุคล
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 九月 12, 2011

Prachum

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/92/14  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้ที่ใช้เพาะพันธุ์ไม่ได้ หรือที่ปล้อนเมล็ดออก
แล้ว ยังมิได้ทำกัปปะก็ฉันได้.

พระพุทธบัญญัติห้ามทำสัตถกรรม
[๕๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี
ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพระนครราชคฤห์ เสด็จ
พระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับ ถึงพระนครราชคฤห์ ทราบว่า พระ
องค์ประทับอยู่ในพระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต
เขตพระนครราชคฤห์นั้น คราวนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคริดสีดวงทวาร
นายแพทย์ชื่ออากาสโคตตะกำลังทำการผ่าตัดทวารหนักด้วยศัสตรา ขณะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินตามเสนาสนะ เสด็จไปถึงวิหารที่อยู่
ของภิกษุรูปนั้น นายแพทย์อากาสโคตตะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จ
มาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขออาราธนาท่าน
พระโคดมเสด็จมาทอดพระเนตรวัจจมรรคของภิกษุรูปนี้ เหมือนปากคางคก.

ทรงประชุมอาทิผิด อักขระภิกษุทั้งหลาย
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า โมฆบุรุษนี้เยาะเย้ยเรา
จึงเสด็จกลับจากที่นั้นแล แล้วรับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ในวิหารหลังโน้น มีภิกษุอาพาธหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า มี พระพุทธเจ้าข้า.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 九月 06, 2011

Phro

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 37/855/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อันหาปัจจัยมิได้ให้ประจักษ์. บทว่า ตเทว นามํ จกฺขุํ ภวิสฺสติ
ได้แก่ จักษุนั่นเอง คือปสาทจักษุ จักแตกต่างกันไปก็หามิได้.
บทว่า เต รูปา ได้แก่รูปารมณ์นั้นเอง จักมาสู่คลอง (ปสาทจักษุ).
บทว่า ตญฺจายตนํ โน ปฏิสํเวทิสฺสติ ได้แก่ บุคคลผู้ไม่มีสัญญา
จักไม่รู้รูปายตนนั้น. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อุทายี ได้แก่พระกาฬุทายิเถระ. บทว่า สญฺญเมว นุ โข
ได้แก่ เป็นผู้มีจิตหรืออาทิผิด สระหนอ. ม อักษรเป็นเพียงบทสนธิ. บทว่า
กิํ สญฺญี ได้แก่ เป็นผู้มีสัญญาด้วยสัญญาชนิดไหนอาทิผิด สระ บทว่า สพฺพโส
รูปสญฺญานํ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ความว่า
ถามว่า เพราะอาทิผิด สระเหตุไร พระอานนท์จึงถือเอารูปสัญญาอาทิผิด นี้ การเสวย
อารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น ย่อมมีแก่ท่านผู้พร้อมเพรียงด้วย
ปฐมฌานเป็นต้นหรือ. ตอบว่า ไม่มี ก็กสิณรูปยังเป็นอารมณ์อยู่
เพียงใด รูปชื่อว่า ยังไม่ล่วงไปอยู่เพียงนั้น รูปนั้นจักอาจเพื่อเป็น
ปัจจัย เพราะยังไม่ล่วงไป แต่ก็รูปนั้น เพราะยังไม่ล่วงไปจึงชื่อว่า
ไม่มี พระอานนท์ถือเอาคำนี้นั่นแลเพื่อแสดงว่า เพราะรูปไม่มี
จึงไม่อาจเป็นปัจจัยได้.
บทว่า ชฏิลคาหิยา ได้แก่ ภิกษุณีผู้อยู่ในเมืองชฏิลคหะ.
ในบทว่า น จาภิณโต เป็นต้น พึงทราบเนื้อความต่อไปนี้ สมาธิ
ชื่อว่า ข่มห้ามด้วยการชักชวนไม่ได้ เพราะไม่น้อมไปด้วยอำนาจ
ของราคะ ไม่นำออกไปด้วยอำนาจของโทสะ ข่มห้ามกิเลสทั้งหลาย
แล้วตั้งอยู่ด้วยการชักชวน ด้วยการประกอบไม่ได้ แต่เกิดขึ้นได้
ในเมื่อตัดกิเลสได้แล้ว. บทว่า วิมุตฺตตฺตา ฐิโต ได้แก่ชื่อว่าตั้ง
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 九月 05, 2011

Sakathakhami

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 80/247/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อย่างละเอียดขาดแล้ว พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ
พยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[๒๒๙] ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระ-
สกทาคามีอาทิผิด เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระโสดา-
บันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระ-
สกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระโสดาบันละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ
โมหะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละกาม
ราคะอย่างหยาบขาดแล้ว... ละพยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระ-
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 九月 04, 2011

Samathan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 74/576/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เพราะกล่าวถึงความอดทนในการเพ่งธรรม คือความสูญของสัตว์ แล้วกล่าว
ถึงสัจจะอันเป็นญาณเพิ่มพูนขันตินั้น. ท่านกล่าวอธิษฐานในลำดับของสัจจะ
เพราะความสำเร็จแห่งสัจจะด้วยอธิษฐาน เพราะการงดเว้นย่อมสำเร็จ
แก่ผู้ตั้งใจไม่หวั่นไหว. เพราะกล่าวคำไม่ผิดความจริง แล้วกล่าวถึงความเป็น
ผู้ไม่หวั่นไหว ในการกล่าวคำไม่ผิดความจริงนั้น จริงอยู่ ผู้ไว้ใจได้ไม่หวั่น-
ไหว ประพฤติตามสมควรแก่ปฏิญญาในทานเป็นต้น เพราะกล่าวญาณสัจจะ
แล้วจึงกล่าวถึงการเพ่งความเป็นไปในสัมภาระทั้งหลาย จริงอยู่ ผู้มีญาณ
ตามเป็นจริง ย่อมอธิษฐานโพธิสมภารทั้งหลาย และยังโพธิสมภารนั้นให้
สำเร็จ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยปฏิปักษ์ทั้งหลาย. ท่านกล่าวเมตตาในลำดับ
แห่งอธิษฐาน เพราะความสำเร็จแห่งอธิษฐานด้วยการสมาทานทำประโยชน์
เพื่อผู้อื่นด้วยเมตตา เพราะกล่าวถึงอธิษฐานแล้วจึงกล่าวถึงการนำประโยชน์
เข้าไป เพราะผู้สำรวมในอาทิผิด โพธิสมภารเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา. และเพราะ
ผู้มีอธิษฐานไม่หวั่นไหว ยังสมาทานอาทิผิด สระให้เจริญด้วยการไม่ทำลายสมาทาน.
ท่านกล่าวอุเบกขาในลำดับแห่งเมตตา เพราะความบริสุทธิ์แห่งเมตตาด้วย
อุเบกขา เพราะกล่าวถึงการนำประโยชน์ในสัตว์ทั้งหลาย แล้วจึงกล่าวถึง
ความไม่สนใจโทษผิดของผู้นั้น เพราะกล่าวถึงเมตตาภาวนา แล้วกล่าวถึง
ความเจริญอันเป็นผลของเมตตาภาวนานั้น และเพราะกล่าวถึงความเป็นคุณ
น่าอัศจรรย์ว่า ผู้วางเฉยแม้ในสัตว์ ผู้ใคร่ประโยชน์ พึงทราบลำดับแห่ง
บารมีทั้งหลายเหล่านั้นด้วยประการ ฉะนี้แล.
 
พระปิฎกธรรม

Chuea

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 62/696/24 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในคาถานั้น คำว่า เพลิดเพลิน ได้แก่ เกิดความเพลิดเพลินขึ้นแล้ว.
คำว่า ปลื้มใจ ชื่นใจ อิ่มใจ นอกนี้ก็เป็นคำอธิบายขยายความของคำว่าเพลิด
เพลินนั่นแล แท้จริงคำทั้ง ๔ คำนี้ ก็คือเป็นคำที่แสดงถึงอาการร่าเริงยินดีนั่นเอง.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า ท่านจักให้พรอะไร เมื่อจะตรัส
รุกรานเจ้าโปริสาทได้ตรัสพระคาถาว่า
ดูก่อนพระสหายผู้มีธรรมอันลามก พระองค์ไม่
รู้สึกถึงความตายของพระองค์ ไม่รู้สึกถึงสิ่งที่เป็น
ประโยชน์และหาประโยชน์มิได้ ทั้งนรกและสวรรค์
เป็นผู้ติดอยู่ในรส ตั้งอยู่ในทุจริต จักให้พรอะไร.
ข้าพเจ้าพึงบอกพระองค์ว่า จงให้พร แม้อาทิผิด อาณัติกะพระองค์
ให้พรแล้ว จะกลับไม่ให้ก็ได้ ความทะเลาะวิวาทนี้
อยู่ในอำนาจของพระองค์ ใครจะเข้ามาเป็นบัณฑิต
วินิจฉัยชี้ขาดได้.
ในคาถานั้น บทว่า โย อธิบายว่า พระองค์ไม่รู้สึก คือไม่รู้ถึง
ความตายแม้ของพระองค์เองว่า ตัวเรานี้ก็มีความตายเป็นธรรมดา จึงได้ประ-
กอบกรรมอันลามกอย่างเดียว. บทว่า หิตาหิตํ ความว่า พระองค์ไม่รู้จักว่า
กรรมนี้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา กรรมนี้หามีประโยชน์ไม่ กรรมนี้จักนำไป
สู่นรก กรรมนี้จักนำอาทิผิด สระไปสู่สวรรค์. บทว่า รเส ได้แก่ ในรสแห่งเนื้อมนุษย์.
บทว่า วชฺชํ แปลว่า พึงกล่าว. บทว่า อวากเรยฺย ความว่า พระองค์
ให้พรด้วยวาจา แม้ข้าพเจ้ากล่าวอยู่ว่า พระองค์จงให้พรนั้นแก่ข้าพเจ้า
พระองค์จะกลับไม่ให้เสียก็ได้. บทว่า อุปพฺพเชยฺย ความว่า ใครจะมา
เป็นบัณฑิตวินิจฉัยการทะเลาะนี้ได้.
ลำดับนั้น เจ้าโปริสาทดำริว่า ท่านสุตโสมนี้ไม่เชื่อเรา เราจะให้เธอ
เชื่ออาทิผิด อักขระให้ได้ แล้วกล่าวคาถาว่า
 
พระปิฎกธรรม

Kasin

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 11/168/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทองคำพุ่งขึ้นจากพระสรีระอันมีวรรณะดังทองคำของพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้นไปจนถึงภวัคพรหม เป็นประหนึ่งกาลเป็นที่ประดับหมื่นจักรวาลทั้ง
สิ้น. รัศมีอย่างที่สอง ๆ กับอย่างแรก ๆ เหมือนเป็นคู่ ๆ พวยพุ่งออก
ราวกะว่าในขณะเดียวกัน. อันชื่อว่าจิตสองดวงจะเกิดในขณะเดียวกัน
ย่อมมีไม่ได้. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ทรงมีการพักภวังคจิต
เร็ว และทรงมีความชำนาญที่สั่งสมไว้โดยอาการ ๕ อย่าง ดังนั้น พระ
รัศมีเหล่านั้นจึงเป็นไปราวกะว่าในขณะเดียวกัน. แต่พระรัศมีนั้น ๆ ยัง
มีอาวัชชนะ บริกรรม และอธิษฐาน แยกกันอยู่นั่นเอง คือ พระผู้มี
พระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์รัศมีสีเขียว ก็ทรงเข้าฌานมีนีลกสิณเป็น
อารมณ์ มีพระพุทธประสงค์รัศมีสีเหลือง ก็ทรงเข้าฌานมีปีตกสิณเป็น
อารมณ์ มีพระพุทธประสงค์รัศมีสีแดงและสีขาว ก็ทรงเข้าฌานมีโลหิต-
กสิณเป็นอารมณ์ โอทาตกสิณอาทิผิด อักขระเป็นอารมณ์ มีพระพุทธประสงค์ท่อไฟ ก็
ทรงเข้าฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ มีพระพุทธประสงค์สายน้ำ ก็ทรงเข้า
ฌานมีอาโปกสิณเป็นอารมณ์. พระศาสดาเสด็จจงกรม พระพุทธนฤมิต
ก็ประทับยืน หรือประทับนั่ง หรือบรรทม บัณฑิตพึงอธิบายให้พิสดาร
ทุกบท ด้วยประการฉะนี้. ในข้อนี้ กิจแห่งศีลแม้อย่างเดียวก็ไม่มี ทุก
อย่างเป็นกิจของสมาธิทั้งนั้น ศีลไม่ถึงสมาธิ เป็นอย่างนี้.
อนึ่งเล่า ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีมาสี่อาทิผิด สระอสงไขย
ยิ่งด้วยแสนกัปแล้ว เมื่อกาลที่ทรงมีพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา เสด็จออก
จากที่ประทับ อันเป็นที่อยู่อาศัย อันเป็นสิริแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ผนวช
ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงบำเพ็ญเพียรตลอด ๖ พรรษา ครั้นถึงวัน
วิสาขบุรณมี ดิถีเพ็ญเดือน ๖ เสวยมธุปายาสใส่ทิพยโอชา ซึ่งนางสุชาดา
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 九月 01, 2011

Lek

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 35/527/23 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
การรับคนเป็นทาสหญิง ทาสชาย ไม่ควร ก็แต่ว่าเมื่อพูดอาทิผิด อย่างนี้ว่า เราถวาย
เป็นกัปปิยการก เราถวายเป็นคนวัด ดังนี้ ก็ควร.
แม้ในแพะและแกะเป็นต้น มีนาและสวนเป็นที่สุด ควรตรวจสอบ
ที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะโดยทางวินัย. ในข้อนั้น ปุพอาทิผิด อักขระพัณณชาติ (ข้าว)
งอกขึ้นในที่ใด ที่นั้นชื่อว่า นา อปรพัณณชาติ (ถั่วงา) งอกขึ้นในที่ใด
ที่นั้นชื่อว่า สวน. อีกอย่างหนึ่ง ทั้งสองอย่าง งอกขึ้นในที่ใดที่นั้นชื่อว่า นา.
พื้นที่ที่ยังมิได้ทำเพื่อประโยชน์แก่นานั้น ชื่อว่า ที่สวน. แม้บึงและหนอง
เป็นต้น ท่านก็สงเคราะห์เข้าในบทนี้ ด้วยหัวข้อว่านาอาทิผิด อักขระและสวน.
บทว่า กยวิกฺกยา ได้แก่ การซื้อและการขาย ทูตกรรมการทำ
เป็นทูต ได้แก่ การรับหนังสือ หรือข่าวของพวกคฤหัสถ์แล้วไปในที่นั้น ๆ
ท่านเรียกว่า ทูเตยยะ (ความเป็นทูต) การที่ภิกษุถูกอาทิผิด สระคฤหัสถ์ส่งจากเรือนหลัง
หนึ่งสู่เรือนหลังหนึ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ท่านเรียกว่า ปหิณคมนะ (รับใช้). ทำทั้ง
สองอย่างนั้นชื่อว่า อนุโยคะ (ประกอบเนืองๆ) เพราะฉะนั้น พึงทราบความ
ในบทนี้อย่างนี้ว่า เว้นจากประกอบเนือง ๆ ซึ่งการเป็นทูตและรับ ใช้คฤหัสถ์.
พึงทราบวินิจฉัยการโกงตาชั่งเป็นต้น การหลอกลวง ชื่อว่า โกง.
ในการโกงนั้น การโกงตาชั่งมี ๔ อย่าง คือ โกงด้วยรูปอาทิผิด ๑ โกงด้วยอวัยวะ
๑ โกงด้วยการจับ ๑ โกงด้วยการกำบัง ๑. ในการโกง ๔ อย่างนั้น เขาทำ
ตาชั่งสองอันมีรูปเท่า ๆ กัน เมื่อรับก็รับด้วยตาชั่งอาทิผิด อันใหญ่ เมื่อให้ก็ให้ด้วย
ตาชั่งอันเล็ก ชื่อว่า โกงด้วยรูป. เมื่อรับก็ใช้มือกดตาชั่งข้างหลังไว้ เมื่อให้
ก็ใช้มือกดตาชั่งอาทิผิด อักขระข้างหน้าไว้ ชื่อว่าโกงด้วยอวัยวะ. เมื่อรับก็จับเชือกไว้ที่โคน
ตาชั่ง เมื่อให้ก็จับเชือกไว้ที่ปลายตาชั่ง ชื่อว่าโกงด้วยการจับ. ทำตราชั่ง
ให้กลวง ใส่ผงเหล็กไว้ภายใน เมื่อรับก็เลื่อนผงเหล็กนั้นไปปลายตาชั่ง เมื่อให้
ก็เลื่อนผงเหล็กอาทิผิด อักขระนั้นไว้หัวตาชั่ง ชื่อว่าโกงด้วยการกำบัง ถาดทองท่านเรียกว่า
 
พระปิฎกธรรม