星期六, 十二月 24, 2011

Parachik

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 42/214/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๖. ยสฺส อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ มาลุวา สาลมิโวตฺถตํ
กโรติ โส ตถตฺตานํ ยถา นํ อิจฺฉตี ทิโส.
“ ความเป็นผู้ทุศีลล่วงส่วน รวบรัด (อัตภาพ)
ของบุคคลใด ดุจเถาย่านทรายรัดรึงต้นสาละ ฉะนั้น,
บุคคลนั้น ย่อมทำตนอย่างเดียวกันกับที่โจรหัวโจก
ปรารถนาทำให้ตนฉะนั้น. ”
แก้อรรถ
ความเป็นผู้ทุศีลโดยส่วนเดียว ชื่อว่า อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ ในพระคาถา
นั้น. บุคคลผู้เป็นคฤหัสถ์ ทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ ตั้งแต่เกิดก็ดี. ผู้เป็น
บรรพชิต ต้องครุกาบัติ ตั้งแต่วันอุปสมบทก็ดี ชื่อว่า ผู้ทุศีลล่วงส่วน.
แต่บทว่า อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในพระคาถา
นี้ ทรงหมายเอาความเป็นผู้ทุศีลอันมาแล้วตามคติของบุคคลผู้ทุศีลใน
๒ - ๓ อัตภาพ.
อนึ่ง ตัณหาอันอาศัยทวาร ๖ ของผู้ทุศีลเกิดขึ้น บัณฑิตพึงทราบว่า
“ ความเป็นผู้ทุศีล ” ในพระคาถานี้.
บาทพระคาถาว่า มาลุวา สาลมิโวตฺถตํ ความว่า ความเป็นผู้ทุศีล
กล่าวคือตัณหา รวบรัด คือหุ้มห่ออัตภาพของบุคคลใดตั้งอยู่. เหมือน
เถาย่านทรายรัดรึงต้นสาละ. คือปกคลุมทั่วทั้งหมดทีเดียว ด้วยสามารถรับ
น้ำด้วยใบในเมื่อฝนตก แล้วหักรานลงฉะนั้นแล. บุคคลนั้นคือผู้ถูกตัณหา
กล่าวคือความเป็นผู้ทุศีลนั้นหักราน ให้ตกไปในอบายทั้งหลาย เหมือน
๑. แปลว่า อาบัติหนัก ได้แก่ ปาราชิกอาทิผิด สระ และสังฆาทิเสส.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: