Parachik
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 68/48/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ธรรมะ, ธิติ, และจาคะ บุคคลนั้นแล ละโลกนี้
ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก๑ ดังนี้.
ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า บุญ ได้ในคำเป็นต้นว่า
ธรรมและอธรรมทั้ง ๒ นี้ มีผลเสมอกัน
หามิได้เลย อธรรมย่อมนำไปนรก ธรรมย่อมให้ถึง
สุคติ๒ ดังนี้.
ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า บัญญัติ ได้ในคำเป็นต้นว่า
บัญญัติธรรม, นิรุตติธรรม, อธิวจนธรรม๓ ดังนี้.
ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า อาบัติ ได้ในคำเป็นต้นว่า
ธรรมคือปาราชิกอาทิผิด สระ, ธรรมคือสังฆาทิเสส๔ ดังนี้.
ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปริยัติ ได้ในคำเป็นต้นว่า
ภิกษุในธรรมวินัย ย่อมเรียนธรรมคือสุตตะ, เคยยะ เวยยา-
กรณะ๕ดังนี้.
ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า นิสสัตตตา-ความไม่มีสัตว์ ได้ใน
คำเป็นต้นว่า
ก็สมัยนั้นแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมมี,๖และในคำเป็นต้นว่า
พระโยคีบุคคล ตามพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่๗ ดังนี้.
๑. สํ.ส. ๑๕/๘๔๕. ๒. ขุ.เถร. ๒๖/๓๓๒. ๓. อภิ.สํ. ๓๔/๑๕.
๔. วิ.มหาวิภงฺค. ๑/๓๐๐. ๕. องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๗๓. ๖. อภิ.สํ. ๓๔/๑๕.
๗. ที.มหา. ๑๐/๒๗๓.
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论