星期一, 四月 30, 2012

Doi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 29/86/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ผู้มิได้ทำบุญไว้ยากที่จะได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้
อันมาตุคามผู้มิได้ทำบุญไว้ยากที่จะได้.
จบ ฐานสูตรที่ ๗

๘. วิสารทสูตร

ว่าด้วยฐานะ ๕ ประการ ผู้ทำบุญไว้ย่อมได้โดยง่าย

[๔๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันมาตุคาม
ผู้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย ฐานะ ๕ ประการเป็นไฉน. คือ ขอเราพึงเกิดใน
สกุลอันสมควร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๑ อันมาตุคามผู้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย
เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ขอเราพึงไปสู่สกุลอันสมควร นี่เป็นฐานะ
ข้อที่ ๒. . .เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว ขอเรา
พึงอยู่ครองเรือนปราศจากหญิงร่วมสามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๓ . . .เกิดใน
สกุลอันสมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว อยู่ครองเรือนปราศจากหญิง
ร่วมสามี ขอเราพึงมีบุตร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๔. . .เกิดในสกุลอันสมควร
แล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว อยู่ครองเรือนปราศจากหญิงร่วมสามี มีบุตร
ขอเราพึงประพฤติครอบงำสามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๕ อันมาตุคามผู้ทำบุญ
ไว้ ได้โดยง่าย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล อันมาตุคาม
ผู้ทำบุญไว้ได้โดยอาทิผิด ง่าย.
จบ วิสารทสูตรที่ ๘

๙. ปัญจเวรสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

สามารถอยู่ครองเรือน

[๔๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ เป็นผู้สามารถอยู่ครองเรือน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน. คือ
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 四月 29, 2012

Du

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 2/305/6  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เรื่องฆ่ายักษ์
[๒๑๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหมอผีรูปหนึ่ง ปลงชีวิตยักษ์แล้วมี
ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

เรื่องส่งไปสู่ที่มีอาทิผิด สัตว์ร้ายและยักษ์ดุอาทิผิด สระ ๙ เรื่อง
[๒๑๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่
วิหารที่มียักษ์ดุ พวกยักษ์ได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีความอาทิผิด อักขระรังเกียจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบอาทิผิด อักขระทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย ได้ส่ง
ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่วิหารที่มียักษ์ดุ พวกยักษ์ได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก.
๓. ก็โดยสมัยนั้น แล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย ได้ส่ง
ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่วิหารที่มียักษ์ดุ แต่พวกยักษ์ไม่ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีความ
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 四月 27, 2012

Phak

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 44/128/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ช่วยกันยกสรีระของ
พระพาหิยทารุจีริยะขึ้นสู่เตียง แล้วนำไปเผา และทำสถูปไว้ แล้วเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สรีระของพาทิย-
ทารุจีริยะ ข้าพระองค์ทั้งหลายเผาแล้ว และสถูปของพาหิยทารุจีริยะนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายทำไว้แล้ว คติของพาหิยทารุจีริยะนั้นเป็นอย่างไร ภพ
เบื้องหน้าของเขาเป็นอย่างไร.
พระผู้มีพระภาคอาทิผิด อักขระเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะ.
เป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. ทั้งไม่ทำเราให้ลำบาก เพราะ
เหตุแห่งการแสดงธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะปรินิพพาน
แล้ว .
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพาน-
ธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง
พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง
ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใด พราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนี
เพราะรู้ (สัจจะ ๔) รู้แล้วด้วยตน เมื่อนั้น พราหมณ์
ย่อมหลุดพ้นจากรูปและอรูป จากสุขและทุกข์.
จบพาหิยสูตรที่ ๑๐
จบโพธิวรรคที่ ๑
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 四月 22, 2012

Nirutti

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 11/538/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สำเร็จประโยชน์.
คำนี้ว่า อัชฌายกะ (ผู้ไม่มีฌาน) เป็นคำกล่าวติเตียนพวก
พราหมณ์ผู้ปราศจากฌาน ในกาลอันเป็นปฐมกัปอย่างนี้ว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ
และภารทวาชะ พราหมณ์เหล่านั้นไม่เพ่งในบัดนี้ พราหมณ์เหล่านี้ ไม่เล่าเรียน
ในบัดนี้ เพราะเหตุนี้แล อักษรที่ ๓ ว่า อัชฌายิกา อัชฌายิกา ดังนี้
แลจึงเกิดขึ้น.
แต่บัดนี้ชนทั้งหลาย เรียกพราหมณ์นั้นกระทำให้เป็นคำสรรเสริญ
แล้ว ด้วยความหมายนี้ว่า บุคคลใดย่อมเล่าเรียน บุคคลนั้น ชื่อว่า
อัชฌายกะ (ผู้คงแก่เรียน ) คือสาธยายมนต์. บุคคลใดย่อมทรงจำมนต์
ทั้งหลายได้ บุคคลนั้นชื่อมันตธระ (ผู้ทรงจำมนต์ได้. )บทว่า ไตรเพท คือ
อิรุพเพทยชุพเพทและสามเพท. บุคคลใดถึงแล้วซึ่งฝั่ง ด้วยอำนาจกระทำ
ให้ริมฝีปากกระทบกัน บุคคลนั้น ชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง ( ผู้เรียนจบไตรเพท).
ไตรเพทเป็นไปกับด้วยนิฆันฑุศาสตร์และเกฏุภศาสตร์ ชื่อว่าพร้อมกับ
นิฆัณฑุศาสตร์และเกฏุภศาสตร์.
คำว่า นิฆัณฑุ คือศาสตร์ที่แสดงถึงคำไวพจน์ของสิ่งทั้งหลายมี
นิฆัณฑุรุกข์ เป็นต้น. คำว่า เกฏุภะ คือ กิริยากัปปวิกัปป ได้แก่ ศาสตร์ว่า
ด้วยเครื่องมือของกวีทั้งหลาย. ไตรเพทเป็นไปกับด้วยประเภทแห่งอักขระ
ชื่อว่า พร้อมด้วยประเภทแห่งอักขระ. บทว่า ประเภทแห่งอักขระ ได้แก่
สิกขา และนิรุตติอาทิผิด . บทว่า มีศาสตร์ว่าด้วยพงศาวดารเป็นที่ ๕ ความว่า
พงศาวดาร กล่าวคือเรื่องราวเก่า ๆ ที่ประกอบด้วยคำเช่นนี้ ว่า อิติห อส
อิติห อส (สิ่งนี้ได้เป็นมาแล้วเช่นนี้ สิ่งนี้ได้เป็นมาแล้วเช่นนี้ ) เป็น
๑. อัคคัญญสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๑๑ หน้า ๑๐๓
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 四月 21, 2012

Khiao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 71/62/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๒๐. อรรถกถาอาทิผิด สุมังคลเถราปทาน
อปทานของท่านพระสุมังคลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อาหุตึ ยิฏฺฐุ-
กาโมหํ ดังนี้.
แม้ท่านสุมังคละนี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี บังเกิดเป็นรุกขเทวดา.
วันหนึ่งท่านเห็นพระศาสดาทรงสรงสนาน มีจีวรผืนเดียวประทับยืน ถึง
โสมนัสปรบมือ ด้วยบุญนั้นท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลแห่งคนเข็ญใจ ด้วยวิบากเครื่องไหล
ออกแห่งกรรมเช่นนั้น ในหมู่บ้านตำบลหนึ่ง ไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถี.
ท่านได้มีชื่อว่า สุมังคละ ดังนี้ . ท่านเจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีเคียวอาทิผิด อักขระ มีไถ. มี
จอบอันเป็นสมบัติของคนค่อมเป็นบริขาร เลี้ยงชีพด้วยการไถ. วันหนึ่ง
เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงบำเพ็ญมหาทานให้เป็นไปแก่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าและภิกษุสงฆ์ เขาถือหม้อนมส้มเดินรวมกันกับมนุษย์ทั้งหลายผู้ถือเอา
เครื่องอุปกรณ์ทานเดินมา เห็นเครื่องสักการะและสัมมานะของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ของภิกษุทั้งหลาย จึงคิดว่าสมณศากยบุตรเหล่านี้ นุ่งผ้า
เนื้อละเอียด เสวยโภชนะดี ๆ อยู่ในที่สงัดลม ไฉนหนอ แม้เราก็จะพึง
บวช จึงเข้าไปหาพระเถระรูปหนึ่งแล้วแจ้งความประสงค์ของตน. พระ-
มหาเถระนั้นมีความกรุณาท่าน จึงให้ท่านบวชแล้วบอกกรรมฐาน. ท่าน
อยู่ในป่าเบื่อหน่ายกระสันในที่อยู่ผู้เดียว ใคร่จะสึก จึงไปบ้านญาติ เห็น
มนุษย์ในระหว่างทาง ต่างถกกระเบนไถนาอยู่ นุ่งผ้าปอน ๆ มีร่างกาย
เปื้อนด้วยธุลีโดยรอบซูบซีดด้วยลมและแดดไถนาอยู่ จึงได้ความสังเวชว่า
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 四月 18, 2012

Khropngam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 58/551/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาโคธชาดกที่ ๕
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้โกหก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สมณนฺตํ
มญฺญมาโน ดังนี้.
เรื่องได้ให้พิสดารแล้วในหนหลังนั้นแล. แม้ในเรื่องนี้ ภิกษุ
ทั้งหลายก็นำภิกษุนั้นมาแสดงแด่พระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุนี้เป็นผู้โกหก. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่
บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ภิกษุนี้ก็ได้เป็นผู้โกหกเหมือนกัน
แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดเหี้ย พอเจริญวัย มีร่างกาย
สมบูรณ์อยู่ในป่า. ดาบสทุศีลคนหนึ่งสร้างบรรณศาลาอยู่ในที่ไม่ไกล
พระโพธิสัตว์นั้น แล้วสำเร็จการอยู่. พระโพธิสัตว์เที่ยวหาเหยื่อ
ได้เห็นบรรณศาลานั้นแล้วคิดว่า จักเป็นบรรณศาลาของดาบสผู้มีศีล
จึงไป ณ ที่นั้นไหว้ดาบสนั้น แล้วจึงไปยังที่อยู่ของตน. อยู่มา
วันหนึ่ง ดาบสโกงนั้นได้เนื้ออร่อยที่เขาปรุงเสร็จแล้วในตระกูล
อุปัฏฐากทั้งหลาย จึงถามว่า นี้ชื่อเนื้ออะไรได้ฟังว่า เนื้อเหี้ย เป็นผู้
ถูกความอยากในรสครอบงำอาทิผิด อักขระ คิดว่า เราจักฆ่าเหี้ยที่มายังอาศรมบท
ของเราเป็นประจำ แล้วแทงกินตามความชอบใจ จึงถือเอาเนยใส
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 四月 15, 2012

Dang Ni

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 47/91/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทั้งปวง เข้าไปแล้วสู่ป่าอิสิปตนะนั้นเอง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบน
อาสนะ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ในสมัยนั้นนั่นเอง. ดาบสเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ไม่ถวายบังคม เป็นผู้นิ่งได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นดาบสนั้นแล้ว ตรัสปฏิสันถารโดยนัยที่ข้าพเจ้า
กล่าวแล้ว ในตอนต้นนั้นแล. แม้ดาบสนั้นกล่าวคำทั้งหลายเป็นต้นว่า ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะผู้เจริญ พระองค์ทรงพออดทนได้อยู่หรือ.
ดังนี้เป็นต้น แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระกัสสปะผู้เจริญ พระองค์เสวยกลิ่นดิบหรือไม่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
พราหมณ์ เราหาได้เสวยกลิ่นดิบไม่. ดาบสทูลว่า ข้าแต่พระกัสสปะผู้เจริญ
สาธุ สาธุ พระองค์เมื่อไม่เสวยซากศพของสัตว์อื่น ได้ทรงกระทำกรรมดีแล้ว
ข้อนั้นสมควรแล้วแก่ชาติ สกุล และโคตร ของพระกัสสปะผู้เจริญ.
ต่อแต่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงดำริว่า เราพูดว่าเราไม่บริโภค
กลิ่นดิบ ดังนี้หมายถึง (กลิ่นดิบ) คือกิเลสทั้งหลาย พราหมณ์เจาะจงเอา
ปลาและเนื้อ ทำอย่างไรหนอ เราจะไม่เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตพรุ่งนี้ จะพึง
บริโภคบิณฑบาตที่เขานำมาจากวังของพระเจ้ากิกิ คาถาปรารภกลิ่นดิบจักเป็น
ไปอย่างนี้ ต่อแต่นั้นเราจะให้พราหมณ์เข้าใจได้ ด้วยพระธรรมเทศนา
ดังอาทิผิด สระนี้แล้ว ทรงทำบริกรรมสรีระแต่เช้าตรู่ในวันที่สอง เสด็จเข้าไปยังพระคันธ-
กุฎี ภิกษุทั้งหลายเห็นพระคันธกุฎีปิด จึงรู้ได้ว่าวันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ประสงค์จะเสด็จเข้าไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย จึงได้กระทำประทักษิณพระ
คันธกุฎี แล้วเข้าไปเพื่อบิณฑบาต แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากพระคันธกุฎี
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 四月 14, 2012

Khap Khaep

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 35/515/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดีหรือบุตรแห่งคฤหบดี หรือบุคคล
ผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น เขาฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อม
ได้ศรัทธาในพระตถาคต เขาประกอบด้วยการได้ซึ่งศรัทธานั้น ย่อมเห็น
ตระหนักชัดดังนี้ว่า ฆราวาสคับแคบอาทิผิด อักขระ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทาง
ปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์โดย
ส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร
เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด สมัย-
ต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อเขาบวชแล้วอย่างนี้ ถึงความ
เป็นผู้มีสิกขาและสาชีพ เสมอด้วยภิกษุทั้งหลาย ละปาณาติบาต งดเว้นจาก
ปาณาติบาท วางอาชญา วางศาสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู อนุเคราะห์
เกื้อกูลสรรพสัตว์อยู่เสมอ ละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน ถือเอา
แต่ของที่เขาให้ จำนงแต่ของที่เขาให้ มีตนไม่เป็นขโมย สะอาดอยู่เสมอ
ละกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล
เว้น จากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน ละมุสาวาท งดเว้น จากมุสาวาท พูดแต่
คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก ละคำ
ส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อ
ให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คน
หมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียง
กันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน
เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้พร้อมเพรียงกัน ละ
วาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบ กล่าวแต่คำที่ปราศจากโทษ เสนาะโสต
ชวนให้รัก จับใจ สุภาพ คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาด
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 四月 13, 2012

Chanok

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 85/122/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ปุเรชาตปัจจัย กับปัจฉาชาตปัจจัย จัดเป็นคู่หนึ่ง เพราะมีกาลเป็น
ปฏิปักษ์กัน.
กัมมปัจจัย กับวิปากปัจจัย จัดเป็นคู่หนึ่ง เพราะเป็นเหตุและเป็น
ผลกัน.
สัมปยุตตปัจจัย กับวิปปยุตตปัจจัย จัดเป็นคู่หนึ่ง เพราะเป็น
ปฏิปักษ์ซึ่งกันและกัน.
อัตถิปัจจัย กับนัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย กับอวิคตปัจจัยก็เหมือนกัน
อย่างนั้น. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วยอำนาจปัจจัยที่เป็นของคู่กันใน
อธิการนี้ ดังกล่าวมาแล้ว.
๗. บทว่า โดยเป็นชนกปัจจัย และอชนกปัจจัย ความว่า
ก็บรรดาปัจจัยเหล่านี้ ปัจจัยนี้คืออนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อนันตรูป-
นิสสยปัจจัย ปกตูปนิสสยปัจจัย และอาเสวนปัจจัย นานักขณิกกัมมปัจจัย
นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย จัดเป็นชนกปัจจัยอย่างเดียว ไม่เป็นอชนกปัจจัย.
ปัจฉาชาตปัจจัยเป็นฝ่ายอุปถัมภ์เท่านั้น ไม่เป็นชนกปัจจัย. ปัจจัยที่เหลือ
เป็นชนกอาทิผิด ปัจจัย อชนกปัจจัยและอุปถัมภ์ปัจจัย. พึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วย
อำนาจของปัจจัย ที่เป็นชนกปัจจัยและอชนกปัจจัยในอธิการนี้ ดังพรรณนา
มาแล้ว.
๘. บทว่า โดยเป็นปัจจัยที่เข้ากับธรรมทั้งหมด และไม่ทั้งหมด
ความว่า ในปัจจัยเหล่านี้ สหชาตปัจจัย นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย และ
อวิคตปัจจัย ชื่อว่าเข้าได้กับธรรมทั้งหมด (สพฺพฏฺฐานิก). อธิบายว่า
เป็นที่ตั้ง เป็นเหตุแห่งรูปธรรมและอรูปธรรม ที่เป็นสังขตะทั้งหมด
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 四月 12, 2012

Mak Mai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 65/89/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ที่อาทิผิด อักขระถูกต้นไม้ทำลายนั้น. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย
ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก มีทุกข์มาก มี
ความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษมากมายอาทิผิด ดังนี้แล้ว วางอุเบกขาที่มีความ
ต่างกัน อาศัยความต่างกันนั้นเสีย เจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอย่างเดียว
อาศัยความเป็นอย่างเดียว ซึ่งเป็นที่ดับความยึดมั่นโลกามิสไม่เหลือ โดย
ประการทั้งปวงนั้นนั่นเที่ยว. พระสารีบุตรเถระแสดงวิปัสสนา โดยเปรียบ
ด้วยโครงกระดูกเป็นต้น และเปรียบด้วยกองไฟเป็นที่สุดอย่างนี้แล้ว บัดนี้
เมื่อจะแสดงอุปจารสมาธิ จึงกล่าวคำว่า พุทฺธานุสฺสติํ ภาเวนฺโต
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น สตินั่นแหละ ชื่อว่า อนุสสติ เพราะเกิดขึ้น
บ่อย ๆ. อนึ่ง ชื่อว่า อนุสสติ เพราะอรรถว่า สติที่สมควรแก่กุลบุตร
ผู้บวชด้วยศรัทธา เพราะเป็นไปในฐานะที่ควรให้เป็นไปนั่นเอง ดังนี้ก็มี.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทธานุสสติ. คำว่า พุทธา-
นุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีพระพุทธคุณ. มีความเป็นพระอรหันต์เป็นต้น
เป็นอารมณ์ ซึ่งพุทธานุสสตินั้น บทว่า ภาเวนฺโต ได้แก่ เจริญอยู่
คือเพิ่มพูนอยู่.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระธรรม ชื่อว่า ธรรมานุสสติ, คำว่า
ธรรมานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีพระธรรมคุณ, มีความเป็นธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 四月 10, 2012

Mun

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 77/685/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 
อัพยากตนิเทศ (บาลีข้อ ๓)
อธิบายความ
อัพยากฤต ทรงจำแนกไว้โดยลำดับที่มาในจิตตุปปาทกัณฑ์ ในหน
หลังแล้วนั้นแหละ ในวาระทั้งหมด ทรงลดนัยมีอวิชชาเป็นมูล เพราะเหตุไร ?
เพราะไม่มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในฐานะแห่งอวิชชา จริงอยู่ ในกุศลจิตทั้งหลาย
มีกุศลมูลพึงตั้งในฐานะแห่งอวิชชา ในอเหตุกจิตมีจักขุวิญญาณเป็นต้น ก็ไม่มี
แต่ในสเหตุกจิตทั้งหลายมีกุศลมูลอาทิผิด อยู่โดยแท้ แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์จึง
ทรงตัดออกเสียในสเหตุกจิตนี้ ไม่ทรงถือเอาในอเหตุกจิตนั้น ในกระแสแห่ง
วิญญาณ ๕ พึงทราบว่า ทรงทำเทศนาเป็นสภาพให้ตกไปในกระแสเดียว
(คือแสดงโดยลำดับ ).
อนึ่ง ว่าโดยต่างกัน ในอัพยากฤตนี้ทรงลดฐานะแห่งตัณหา และอุปา-
ทานในอเหตุกจิตมีจักขุวิญญาณเป็นต้น เพราะเหตุไร ? เพราะไม่มีธรรมที่มี
กำลังอันควรแก่ฐานะแห่งตัณหา และเพราะเว้นจากอธิโมกข์ แต่ในอเหตุกจิตที่
เหลือ ทรงลดฐานะแห่งตัณหาโดยแท้.
ในสเหตุกจิตทั้งหลาย ทรงเพิ่มบทปสาทะ ในที่แห่งตัณหา เพราะ
เป็นสภาพแห่งความผ่องใส. บรรดาอัพยากฤตเหล่านี้ ในอเหตุกจิตมีจักขุวิญ-
ญาณเป็นต้นที่เป็นกุศลวิบาก และอกุศลวิบาก พึงทราบนัยอย่างละ ๖ ซึ่งมี
สังขาร วิญญาณ นาม สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนาเป็นมูล ในอเหตุกจิต
ที่เหลือ พึงทราบว่า มีนัยอย่างละ ๗ กับนัยที่มีอธิโมกข์เป็นมูล. ส่วนใน
สเหตุกจิตทั้งหลาย พึงทราบนัยอย่างละ ๘ กับปสาทะเป็นมูล.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 四月 09, 2012

Amnat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 85/404/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๗. ปัญหาวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย
[๔๘๔] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ
เหตุปัจจัย
คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ
ของเหตุปัจจัย
คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วย
อำนาจอาทิผิด อักขระของเหตุปัจจัย.
๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย
คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
[๔๘๕] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของ
เหตุปัจจัย
คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 四月 08, 2012

Lom

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 49/526/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อันยอดเยี่ยม กว่าเทวดาและมนุษย์ว่าเป็นสรณะ
เราจะรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ และ
ยินดีด้วยพระมเหสีของตน จะไม่พูดเท็จ จะไม่
ดื่มน้ำเมา เราจะคลายความเห็นอันชั่วช้า เหมือน
โปรยแกลบอันลอยไปตามลมอาทิผิด อักขระอันแรง เหมือน
ทั้งหญ้าและใบไม้ ลอยไปในแม่น้ำ มีกระแสอัน
เชี่ยว จักเป็นผู้ยินดีในพระพุทธศาสนา พระเจ้า-
สุรัฐ ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงงดเว้นจากความ
เห็นอันชั่วช้า ทรงนอบน้อมต่อพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว เสด็จขึ้นทรงรถพระที่นั่ง บ่าย
พระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก กลับคืนสู่
พระนคร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชา ปิงฺคลโก นาม สุรฏฺฐานํ
อธิปติ อหุ ความว่า ได้มีพระราชาพระองค์หนึ่ง เป็นอิสระแห่ง
สุรัฐประเทศ ปรากฏพระนามว่า ปิงคละ เพราะมีจักษุเหลือง.
ด้วยบทว่า โมริยานํ ท่านกล่าวหมายถึงพระเจ้าโมริยธรรมาโศก.
บทว่า สุรฎฺฐํ ปุนราคมา ความว่า ได้เสด็จกลับมาตามทางเป็นที่
ไปยังสุรัฐประเทศ มุ่งที่อยู่แห่งสุรัฐประเทศ. บทว่า ปงฺกํ
ได้แก่ ภูมิภาคอันอ่อนนุ่ม. บทว่า วณฺณุปถํ ได้แก่ หนทางมีทราย
ที่เปรตนิรมิตรไว้.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 四月 05, 2012

Chang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 64/400/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อายูหตํ ความว่า บรรดาเราทั้งสองผู้
พยายามเล่นสกา ความชนะและความแพ้ย่อมมีแก่คนใดคนหนึ่งเป็นธรรมดา
เพราะฉะนั้น ท่านอย่าคิดว่า เราเป็นผู้แพ้แล้ว. บทว่า ฆินฺโนสิ ความว่า
ท่านเป็นผู้เสื่อมแล้ว. บทว่า วรนฺธเนน แปลว่า ด้วยทรัพย์อันประเสริฐ.
บทว่า ขิปฺปมาวากโรหิ ความว่า ขอพระองค์โปรดพระราชทานทรัพย์สำหรับ
เป็นค่าชัยชนะโดยฉับพลันเถิดพระเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะตรัสกะปุณณกยักษ์ว่า จงรับเอาซิ พ่อ
จึงตรัสพระคาถาว่า
ดูก่อนท่านกัจจานะ ช้างอาทิผิด อาณัติกะ ม้า โค แก้วมณี
กุณฑล และแก้วอันประเสริฐกว่าทรัพย์ทั้งหลายมีอยู่
ในแผ่นดินของเรา ท่านจงรับเอาเถิด เชิญขนเอาไป
ตามปรารถนาเถิด.
ปุณณกยักษ์กราบทูลว่า
ช้าง ม้า โค แก้วมณี กุณฑล และแก้วอื่นใด
ที่มีอยู่ในแผ่นดินของพระองค์ บัณฑิตมีนามว่าวิธุระ
เป็นแก้วมณีอันประเสริฐกว่าทรัพย์เหล่านั้น ข้าพระ-
องค์ชนะพระองค์แล้ว โปรดพระราชทานวิธุรบัณฑิต
แก่ข้าพระองค์เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส เม ชิโต ความว่า ข้าพระองค์ก็
ชนะพระองค์แล้ว ผู้เป็นรัตนะอันสูงสุด และพระองค์ก็เป็นผู้ประเสริฐกว่ารัตนะ
ทั้งปวง เพราะฉะนั้น เป็นอันชื่อว่า ข้าพระองค์ชนะพระองค์แล้ว พระองค์
โปรดจงทรงพระราชทานวิธุรบัณฑิตแก่ข้าพระองค์เถิด.

๑. บาลีเป็น ชินฺโนสิ- ท่านเป็นผู้ชนะแล้ว.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 四月 03, 2012

Sati Patthan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 67/35/2  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อีกอย่างหนึ่ง พึงเป็นผู้ฉลาดในขันธ์ ... ธาตุ ... อายตนะ ...
ปฏิจจอาทิผิด อักขระสมุปบาท ... สติปัฏฐานอาทิผิด สระ ... สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ...
พละ ... โพชฌงค์ ... มรรค ... ผล ... นิพพาน พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรม
ทั้งปวงแม้ด้วยอาการอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง อายตนะ ๑๒ คือ จักษุ รูป หู เสียง จมูก กลิ่น
ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ ใจ ธรรมารมณ์ เรียกว่า ธรรมทั้งปวง.
ก็ภิกษุเป็นผู้ละความกำหนัดในอายตนะภายในภายนอก คือ ตัดรากขาด
แล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งเหมือนตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความ
ไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุใด ภิกษุพึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง
แม้ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ฉลาดในธรรม
ทั้งปวง.
[๙๘] บทว่า สโต ในอุเทศว่า "สโต ภิกขุ ปริพฺพเช" ความ
ว่า ภิกษุมีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ในกาย ๑ มีสติเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในเวทนาทั้งหลาย ๑ มีสติ
เจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต ๑ มีสติเจริญธัมมานุปัสสนาสติ-
ปัฏฐานในธรรมทั้งหลาย ๑.
ภิกษุมีสติด้วยเหตุ ๔ ประการแม้อื่นอีก คือ มีสติเพราะเว้นความ
เป็นผู้ไม่มีสติ ๑ เพราะทำธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความทำสติ ๑ เพราะละ
ธรรมเป็นข้าศึกแก่สติ ๑ เพราะไม่หลงลืมธรรมอันเป็นนิมิตแห่งสติ ๑.
ภิกษุมีสติด้วยเหตุ ๔ ประการแม้อื่นอีก คือ มีสติเพราะความเป็น
ผู้ประกอบด้วยสติ ๑ เพราะถึงความชำนาญด้วยสติ ๑ เพราะความเป็นผู้
คล่องแคล่วด้วยสติ ๑ เพราะไม่กลับปลงจากสติ ๑.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 四月 01, 2012

Phiang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 58/558/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แลย่อมควรประดับดอกฟักทิพย์.
คำที่เป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า :- บุคคลใดไม่ลักแม้แต่เส้นหญ้า
อันเป็นของของคนอื่น และแม้จะเสียชีวิตก็ไม่กล่าวมุสาวาทด้วยวาจา.
คำนี้ เป็นเพียงอาทิผิด อักขระหัวข้อเทศนาเท่านั้น. ในคำนี้มีอธิบายนี้ว่า ก็บุคคล
ใดไม่กระทำอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ด้วยกายทวาร วจีทวาร และมโน-
ทวาร. บทว่า ยโส ลทฺธา ความว่า บุคคลใดได้แม้ความเป็นใหญ่
แล้ว ไม่มั่วเมาในความเป็นใหญ่ปล่อยให้สติกระทำกรรมอันลามก
บุคคลผู้ประกอบด้วยคุณเหล่านี้เห็นปานนั้นนั่นแล ย่อมควรซึ่งดอกไม้
ทิพย์นี้ เพราะฉะนั้น บุคคลใดประกอบด้วยคุณเหล่านี้. บุคคลนั้น
ย่อมควรขอดอกไม้เหล่านี้ พวกเราจักให้แก่บุคคลนั้น.
ปุโรหิตได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า เราไม่มีคุณเหล่านี้แม้แต่อย่างเดียว
แต่เราจักกล่าวมุสาวาทรับเอาดอกไม้เหล่านี้มาประดับ เมื่อเป็นอย่างนี้
มหาชนจักรู้เราว่า ผู้นี้สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ. ปุโรหิตนั้นจึงกล่าวว่า
เราเป็นผู้ประกอบด้วยคุณเหล่านี้ จึงให้นำดอกไม้เหล่านั้นมาอาทิผิด อักขระประดับ
แล้วได้อ้อนวอนขอกะเทวบุตรองค์ที่ ๒ เทวบุตรองค์ที่ ๒ นั้น จึง
กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ผู้ใดแสวงหาทรัพย์มาได้โดยชอบธรรม
ไม่ล่อลวงเอาทรัพย์เขามา ได้โภคทรัพย์แล้ว
ไม่มัวเมา ผู้นั้นแลย่อมควรประดับดอกฟัก-
ทิพย์.
 
พระปิฎกธรรม