星期二, 四月 10, 2012

Mun

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 77/685/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 
อัพยากตนิเทศ (บาลีข้อ ๓)
อธิบายความ
อัพยากฤต ทรงจำแนกไว้โดยลำดับที่มาในจิตตุปปาทกัณฑ์ ในหน
หลังแล้วนั้นแหละ ในวาระทั้งหมด ทรงลดนัยมีอวิชชาเป็นมูล เพราะเหตุไร ?
เพราะไม่มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในฐานะแห่งอวิชชา จริงอยู่ ในกุศลจิตทั้งหลาย
มีกุศลมูลพึงตั้งในฐานะแห่งอวิชชา ในอเหตุกจิตมีจักขุวิญญาณเป็นต้น ก็ไม่มี
แต่ในสเหตุกจิตทั้งหลายมีกุศลมูลอาทิผิด อยู่โดยแท้ แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์จึง
ทรงตัดออกเสียในสเหตุกจิตนี้ ไม่ทรงถือเอาในอเหตุกจิตนั้น ในกระแสแห่ง
วิญญาณ ๕ พึงทราบว่า ทรงทำเทศนาเป็นสภาพให้ตกไปในกระแสเดียว
(คือแสดงโดยลำดับ ).
อนึ่ง ว่าโดยต่างกัน ในอัพยากฤตนี้ทรงลดฐานะแห่งตัณหา และอุปา-
ทานในอเหตุกจิตมีจักขุวิญญาณเป็นต้น เพราะเหตุไร ? เพราะไม่มีธรรมที่มี
กำลังอันควรแก่ฐานะแห่งตัณหา และเพราะเว้นจากอธิโมกข์ แต่ในอเหตุกจิตที่
เหลือ ทรงลดฐานะแห่งตัณหาโดยแท้.
ในสเหตุกจิตทั้งหลาย ทรงเพิ่มบทปสาทะ ในที่แห่งตัณหา เพราะ
เป็นสภาพแห่งความผ่องใส. บรรดาอัพยากฤตเหล่านี้ ในอเหตุกจิตมีจักขุวิญ-
ญาณเป็นต้นที่เป็นกุศลวิบาก และอกุศลวิบาก พึงทราบนัยอย่างละ ๖ ซึ่งมี
สังขาร วิญญาณ นาม สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนาเป็นมูล ในอเหตุกจิต
ที่เหลือ พึงทราบว่า มีนัยอย่างละ ๗ กับนัยที่มีอธิโมกข์เป็นมูล. ส่วนใน
สเหตุกจิตทั้งหลาย พึงทราบนัยอย่างละ ๘ กับปสาทะเป็นมูล.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: