星期四, 十月 10, 2013

Tratsaru

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   39/8/6  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

1 条评论:

Searched message 1 说...

พจนานุกรมพุทธศาสตร์
ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ³¹ [คลิก]
คำศัพท์ : ตรัสรู้

รู้แจ้ง หมายถึงรู้อริยสัจจ์ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อย่างแจ่มชัด ถึงได้บรรลุมรรคผล
ใน “ปฐมสมโพธิกถา” พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (ทรงชำระเสร็จใน พ.ศ. ๒๓๘๘) ทรงใช้คำว่า “ตรัสรู้” แก่พระอรหันต์ทั้งปวง เช่น “เหตุผลในการกราบทูลให้แสดงธรรม คือ บุคคลผู้พร้อมตรัสรู้ตามมีอยู่ หากไม่ตรัสธรรม พวกเขาก็ย่อมเสียโอกาส” และทรงใช้แก่การบรรลุมรรคผลทุกระดับ ตั้งแต่เป็นโสดาบัน เช่นว่า “อันว่าพระธรรมาภิสมัย คือตรัสรู้มรรคผลก็บังเกิดแก่สัตว์ ๘๔ โกฏิเป็นประมาณ” และ “เบื้องว่าบุคคลตรัสรู้ซึ่งองค์พระอริยมรรคทั้ง ๘ ประการนี้แล้ว ก็จะได้ซึ่งโสดาปัตติผล”

ในหนังสือ พระปฐมสมโพธิ แบบธรรมยุต ที่สมเด็จพระสังฆราช (สาปุสฺสเทว) ทรงรจนาในช่วง พ.ศ. ๒๔๑๙-๒๔๔๕ ซึ่งพิมพ์เป็นแบบเรียนนักธรรมในธรรมสมบัติ เป็นหมวดที่ ๑ ตามพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ก็ใช้คำว่า “ตรัสรู้” แก่พระอรหันตสาวกทั่วไป เช่น “เราผู้พระศาสดาและท่านทั้งหลายผู้สาวกได้ตามตรัสรู้แล้ว” และ “ท่านทั้งหลายผู้สาวก อันได้ตรัสรู้จบซึ่งศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ นั้นแล้ว”

ตัวอย่างที่ยกมานี้ แสดงว่าในสมัยก่อน ท่านใช้คำว่า “ตรัสรู้” แก่ผู้บรรลุมรรคผลทั่วทั้งหมด โดยคงถือว่าการรู้ของผู้บรรลุมรรคผล มิใช่เป็นการรู้สามัญอย่างปุถุชน

ตามพจนานุกรมของทางการในปัจจุบัน แสดงความหมายของ “ตรัสรู้” ว่า “รู้แจ้ง” (ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า)¹ ซึ่งผู้อ่านมักเข้าใจว่าเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ถ้าถือความหมายว่าใช้เฉพาะพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ ประเภท คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอนุพุทธเจ้า ก็พอไปกันได้กับความหมายที่ได้แสดงมา (บัดนี้ตามปกติไม่ใช้คำว่า “พระอนุพุทธเจ้า” จะเรียกแค่ว่า “พระอนุพุทธ” แต่ถ้าพิจารณาตามหนังสือเก่าที่ยังใช้เป็นแบบเรียนนักธรรมในบัดนี้ อย่างธรรมสมบัติ (หมวดที่ ๒ สังคีติกถา) ซึ่งใช้คำว่า “พระอรหันต์เจ้า” ทั่วไปหมด ถ้าใช้คำว่า “พระอนุพุทธเจ้า” ก็เป็นความสอดคล้องกัน)