星期一, 三月 30, 2015

Lang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 30/109/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๕. มหีปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน
[๒๐๔] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศ
ปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
จบมหีปาจีนนินนสูตรที่ ๕

๖. มหานทีปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำใหญ่ไหลไปสู่ทิศปราจีน
[๒๐๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ ๆ สายใด
สายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำ
มหี ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งอาทิผิด อาณัติกะไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน
แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือน
กัน ฯลฯ
จบมหานทีปาจีนนินนสูตรที่ ๖
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 三月 29, 2015

Thang Lai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 67/69/9  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ประพฤติมณิภัททพรต ไฟเป็นเทวดาของพวกประพฤติอัคคิพรต นาค
เป็นเทวดาของพวกประพฤตินาคพรต ครุฑเป็นเทวดาของพวกประพฤติ
สุบรรณพรต ยักษ์เป็นเทวดาของพวกประพฤติยักขพรต อสูรเป็นเทวดา
ของพวกประพฤติอสูรพรต คนธรรพ์เป็นเทวดาของพวกประพฤติคัน-
ธัพพพรต ท้าวมหาราชเป็นเทวดาของพวกประพฤติมหาราชพรต จันท-
เทวบุตรเป็นเทวดาของพวกประพฤติจันทรพรต สุริยเทพบุตรเป็นเทวดา
ของพวกประพฤติสุริยพรต อินทเทพบุตรเป็นเทวดาของพวกประพฤติ
อินทพรต พรหมเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรหมพรต พวกเทพเป็น
เทวดาของพวกประพฤติเทพพรต ทิศทั้งหลายอาทิผิด เป็นเทวดาของพวกประพฤติ
ทิศาพรต พระทักขิไณยบุคคลผู้สมควรแก่ไทยธรรมของชนเหล่าใด ก็เป็น
เทวดาของชนเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กษัตริย์. . . พราหมณ์. . .
เทวดาทั้งหลาย.
[๑๒๑] ไทยธรรม คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่
นอน ที่พัก เครื่องประทีป ท่านเรียกว่า ยัญ ในอุเทศว่า “ยญฺญมกปฺปึสุ
ปุถูธ โลเก” คำว่า แสวงหาแล้วซึ่งยัญ ความว่า แม้ชนเหล่าใดย่อม
แสวงหา เสาะหา สืบหายัญ คือจีวร . . . เครื่องประทีป แม้ชนเหล่านั้น
ก็ชื่อว่าแสวงหายัญ แม้ชนเหล่าใดย่อมจัดแจงยัญ คือจีวร . . . เครื่อง
ประทีปแม้ชนเหล่านั้น ก็ชื่อว่า แสวงหายัญ แม้ชนเหล่าใดย่อมให้ ย่อม
บูชา ย่อมบริจาคยัญ คือจีวร . . . เครื่องประทีป แม้ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่า
แสวงหายัญ.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 三月 26, 2015

Riap Roi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 35/501/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนสาฬหะ เรากล่าวสีลวิสุทธิ
เเลว่า เป็นองค์แห่งสมณธรรมอย่างหนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะ
ยกย่องการเกลียดตบะ ถือการเกลียดตบะเป็นสาระ ติดอยู่ในการเกลียดตบะ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่ควร เพื่อจะรื้อถอนโอฆะออกได้ อนึ่ง สมณ-
พราหมณ์เหล่าใดมีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจา
ไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางใจไม่บริสุทธิ์ มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ สมณพราหมณ์
เหล่านั้นไม่ควรเพื่อญาณทัศนะ เพื่อความตรัสรู้ชั้นเยี่ยม ดูก่อนสาฬหะ
เปรียบเหมือนบุรุษใคร่จะข้ามแม่น้ำ พึงถือผึ่งอันคมเข้าไปสู่ป่า เขาพบต้น
รังใหญ่ในป่านั้น ลำต้นตรง ยังหนุ่ม ไม่มีที่น่ารังเกียจ เขาพึงตัดที่โคน
ตัดที่ปลาย ริดกิ่งและใบเรียบร้อยดีแล้ว ถากด้วยผึ่ง แล้วเกลาด้วยมีด ขีดลง
พอเป็นรอย ขัดด้วยลูกหินแล้วปล่อยลงแม่น้ำ ดูก่อนสาฬหะ ท่านจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นควรจะข้ามแม่น้ำนั้นได้หรือ.
สาฬหะ. ข้อนั้นเป็นไม่ได้ พระเจ้าข้า.
พ. ข้อนั้น เพราะเหตุไร.
สาฬหะ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะต้นรังนั้นเขาแต่งเกลี้ยงเกลา
ในภายนอกไม่เรียบอาทิผิด อักขระร้อยในภายใน บุรุษนั้น พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ไม้รังจะต้องจม
และบุรุษนั้นจักถึงความพินาศ พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนสาฬหะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณพราหมณ์เหล่าใดมี
วาทะยกย่องการเกลียดตบะ ถือการเกลียดตบะเป็นสาระ ติดอยู่ในการเกลียด
ตบะ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ควรเพื่อรื้อถอนโอฆะออก อนึ่ง สมณพราหมณ์
เหล่าใดมีความประอาทิผิด อักขระพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
มีความประพฤติทางใจไม่บริสุทธิ์ มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ไม่ควรเพื่อญาณทัศนะ เพื่อความตรัสรู้ชั้นเยี่ยม ส่วนสมณพราหมณ์เหล่าใด
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 三月 25, 2015

Khukhuan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 35/505/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า ชิยาริตฺตํ พนฺเธยฺย ได้แก่ ติดกรรเชียงและหางเสือ. บทว่า
เอวเมว โข เทียบด้วยอุปมาดังนี้ อัตภาพเหมือนต้น สาละหนุ่ม. กระแส
สงสารวัฏเหมือนกระแสน้ำ พระโยคาวจร เหมือนคนผู้ประสงค์จะไปฝั่งโน้น
เวลาที่ความสำรวมตั้งมั่นในทวาร ๖ เหมือนเวลาที่ทำภายนอกให้เรียบศีลอาจาระ
บริสุทธิ์ในภายใน เหมือนความที่ทำภายในให้เรียบ การทำความเพียรทางกาย
และใจ เหมือนการติดกรรเชียงและหางเสือ การบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา
โดยลำดับ แล้วถึงนิพพาน พึงเห็นเหมือนการไปถึงฝั่งโน้นได้โดยสวัสดี.
บทว่า กณฺฑจิตฺตกานิ ได้แก่ กระบวนการที่ควรทำด้วยลูกศร
มีไม่น้อย เป็นต้นว่า คันศร เชือกศร รางศร ฉากศร สายศร ดอกศร.
บทว่า อถโข โส ตีหิ ฐาเนหิ ความว่า เขาแม้รู้กระบวนการลูกศรมาก
อย่างนี้ ก็ไม่คู่ควรแก่พระราชา แต่จะคู่ควรโดยฐานะ ๓ เท่านั้น.
บทว่า สมฺมาสมาธิ โหติ ในบทนี้มีความว่า เป็นผู้ตั้งมั่นแล้ว
ด้วยมรรคสมาธิ และผลสมาธิ. บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ได้แก่ ประกอบแล้ว
ด้วยมรรคสัมมาทิฏฐิ. ท่านกล่าวมรรค ๔ ผล ๓ ด้วยสัจจะ ๔ มีอาทิว่า อิทํ
ทุกขํ ดังนี้. พึงทราบความว่า ก็ผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐินี้ พึงทราบว่า
ชื่อว่า ยิงไม่พลาดด้วยมรรคเท่านั้น. บทว่า สมฺมาวิมุตฺติ ได้แก่ ประกอบ
แล้วด้วยวิมุตติ คือ อรหัตผล. บทว่า อวิชฺชากฺขนฺธํ ปทาเลติ ความว่า
ผู้ประกอบด้วยสัมมาวิมุตติ ท่านกล่าวว่า ชื่อว่าทำลายกองอวิชชาด้วยอรหัต-
มรรค. จริงอยู่ กองอวิชชาถูกทำลายด้วยอรหัตมรรคนี้ในภายหลัง แต่ในที่นี้
ควรกล่าวว่า ย่อมทำลายอาศัยกองอวิชชาที่ถูกทำลายแล้ว.
จบอรรถกถาสาตถสูตรที่ ๖
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 三月 24, 2015

Luk

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 79/301/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ข้อว่า “เนว อาทึ มนสิกโรติ” ได้แก่ ไม่มนสิการถ้อยคำที่ตั้ง
ไว้ในเบื้องต้น.
บทว่า “กุมฺโภ” ได้แก่ หม้อ.
บทว่า “นิกุชฺชิโต” ได้แก่ หม้อที่เขาตั้งคว่ำปากไว้. ในคำนี้ว่า
“เอวเมว” ความว่า บัณฑิต พึงเห็นบุคคลผู้มีปัญญาที่เปรียบด้วยหม้อ
คว่ำ ก็เหมือนกันหม้อที่เขาคว่ำปากไว้. บัณฑิตพึงเห็นเวลาที่เขาได้ฟังพระ-
ธรรมเทศนา เปรียบเหมือนเวลาที่รดด้วยน้ำ. พึงเห็นเวลาที่เขานั่ง ณ อาสนะ
นั้นแล้วไม่สามารถเพื่อเรียนธรรมได้ เปรียบเหมือนเวลาที่น้ำไหลออกไปจาก
หม้อ. พึงทราบว่าเวลาที่เขาลุกอาทิผิด อักขระขึ้นจากอาสนะแล้วกำหนดธรรมไม่ได้ เปรียบ
เหมือนเวลาที่น้ำไม่ขังอยู่ในหม้อ.
สองบทว่า “อยํ วุจฺจติ” ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน
เรียกว่า อวกุชฺชปญฺโญ แปลว่า ผู้มีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ. อธิบายว่า
มีปัญญาเหมือนหม้อน้ำที่เขาตั้งคว่ำปากไว้.
บทว่า “อากิณฺณานิ” ได้แก่ ใส่เข้าแล้ว.
สองบทว่า “สติสมฺโมสา ปกิเรยฺย” ความว่า เพราะเผลอสติ สิ่ง
ของทั้งหลายจึงกระจัดกระจายไป. บัณฑิตพึงเห็นบุคคลผู้มีปัญญาดังหน้าตัก
(ชายพก) ก็เหมือนกับหน้าตักที่ท่านตรัสไว้ในคำว่า “เอวเมว” นี้. บัณฑิตพึง
เห็นพุทธพจน์มีประการต่าง ๆ เหมือนอาหารที่เคี้ยวกินนานาชนิด. พึงทราบว่า
เวลาที่เขานั่ง ณ อาสนะนั้นแล้วเรียนพุทธพจน์ เหมือนเวลาที่เขานั่งเคี้ยวกิน
ของที่ควรเคี้ยวกินต่าง ๆ ชนิดอยู่บนหน้าตัก. พึงทราบว่า เวลาที่เขาลุกจาก
อาสนะนั้นแล้วเดินไปไม่สามารถกำหนดธรรมได้ เปรียบเหมือนเวลาที่เขา
เผลอลืมสติลุกขึ้นทำให้ของเคี้ยวกินกระเด็นกระจัดกระจายไป.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 三月 21, 2015

Laai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 62/527/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๓๐๘] พระเจ้าพกะและพระเจ้าพาวรีย์ ทรง
หมกมุ่นอยู่ในกามเกินส่วน พระมเหสียังประพฤติ
อนาจารกับคนใช้ใกล้ชิด ซ้ำตกอยู่ในอำนาจ พึงมี
หรือที่หญิงจะไม่ประพฤติล่วงชายอื่น นอกจากคนนั้น.
[๓๐๙] พระนางปิงคิยานีพระมเหสีที่รักของ
พระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง ได้ประพฤติ
อนาจารกับคนเลี้ยงม้าผู้ใกล้ชิด และเป็นไปในอำนาจ
พระนางปิงคิยานีผู้ใคร่กามนั้น ไม่ได้ประสบความใคร่
ทั้งสองราย.
[๓๑๐] บุรุษผู้ไม่ถูกผีสิง ไม่ควรเชื่อหญิง
ทั้งหลายผู้หยาบช้า ใจเบา อกตัญญู ประทุษร้ายมิตร
หญิงเหล่านั้นไม่รู้จักสิ่งที่กระทำแล้ว สิ่งที่ควรกระทำ
ไม่รู้อาทิผิด อาณัติกะจักมารดาบิดาหรือพี่น้อง ไม่มีละอายอาทิผิด ล่วงเสีย
ซึ่งธรรม ย่อมเป็นไปตามอำนาจจิตของตน เมื่อมี
อันตราย และเมื่อกิจเกิดขึ้น ย่อมละทิ้งสามีอาทิผิดแม้จะอยู่
ด้วยกันมานาน เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่อนุเคราะห์
แม้อาทิผิด อาณัติกะเสมอกับชีวิต เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่วิสาสะกับ
หญิงทั้งหลาย จริงอยู่ จิตของหญิงเหมือนจิตของวานร
ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เหมือนเงาไม้ หัวใจของหญิงไหวไป
ไหวมา เหมือนล้อรถที่กำลังหมุน เมื่อใด หญิงทั้งหลาย
ผู้มุ่งหวัง เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรจะถือเอาได้ เมื่อนั้น
ก็ใช้วาจาอ่อนหวานชักนำบุรุษไปได้ เหมือนชาว
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 三月 17, 2015

Hae

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 20/106/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
โดยส่วน ๓ ชื่อว่า เหตุ การพยากรณ์อย่างนั้นของมหาชนชื่อว่า ตามเหตุ. แต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่เสวยเนื้อที่เขาทำเจาะจง (อุทิศมังสะ) เพราะฉะนั้น
ข้อนั้นไม่ชื่อว่าเหตุ. การกระทำอย่างนั้นของพวกเดียรถีย์ก็ไม่ชื่อว่า ตามเหตุ.
คำว่า สหธมฺมิโก วาทานุวาโท ความว่า การกล่าวหรือการกล่าวตาม
ของพวกท่านมีเหตุ โดยเหตุที่คนอื่น ๆ กล่าวแล้ว เป็นเหตุที่ผู้รู้ทั้งหลายพึง
ติเตียนวาทะอะไร ๆ เล็กน้อย จะมาถึงหรือหนอ ท่านอธิบายว่า เหตุที่จะพึง
ติเตียนในวาทะของพวกท่านย่อมไม่มีโดยอาการทั้งหมดหรือ. คำว่า อพฺภา-
จิกฺขนฺติ แปลว่า กล่าวข่ม (ตู่). คำว่า าเนหิ คือ โดยเหตุทั้งหลาย.
บรรดาส่วนทั้ง ๓ มีส่วนที่เห็นแล้วเป็นต้น เห็นเขาฆ่าเนื้อและปลา
แล้วเอามา (ทำอาหาร) ถวายภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ส่วนที่เห็นแล้ว. ได้ยิน
มาว่า ชื่อว่า ส่วนที่สงสัยมี ๓ อย่าง คือส่วนที่สงสัยว่า ได้เห็นมา ส่วนที่
สงสัยว่า ได้ยินมา ส่วนที่สงสัยอันนอกไปจากทั้งสองอย่างนั้น. ในส่วนที่สงสัย
ทั้ง ๓ นั้น มีวินิจฉัยรวบรัด ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้ เห็นคนทั้งหลายถือตาข่าย และแหอาทิผิด สระ
เป็นต้น กำลังออกไปจากบ้านหรือกำลังเที่ยวอยู่ในป่า แต่วันรุ่งขึ้น เมื่อภิกษุ
เหล่านั้น เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้น คนเหล่านั้นก็นำบิณฑบาต (อาหาร) ที่มี
เนื้อปลาถวาย ภิกษุเหล่านั้น ก็สงสัยโดยการเห็นนั้นว่า เนื้อปลาเขาทำมา
เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายหรือหนอ. นี้ชื่อว่าสงสัยโดยเห็น รับอาหารที่
สงสัยโดยการเห็นนั้น ไม่ควร. อาหารใด ภิกษุไม่ได้สงสัยอย่างนั้น รับอาหาร
นั้นก็ควร. ก็ถ้าคนเหล่านั้นถามว่า ท่านเจ้าข้า เหตุไรพระคุณเจ้าจึงไม่รับ
ฟังคำตอบของพวกภิกษุแล้ว ก็กล่าวว่า อาหารนี้ พวกเรา มิได้ทำเพื่อ
ประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายดอก แต่พวกเราทำเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือ
เพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการเป็นต้นต่างหาก รับอาหารนั้นก็ควร.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 三月 14, 2015

Nuea

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 9/84/15 เ ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
การที่ไม่ยังบทและพยัญชนะให้เสียคือ ไม่ทำให้ผิดเพี้ยนเปลี่ยนโดยนัย
ที่เหมาะ ซึ่งสมควรแก่สมณะนั้นแล เป็นลักษณะแห่งวัตรทั้งปวง.
สองบทว่า พาหิรโลมึ อุณฺณึ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ห่มผ้า
ปาวารขนสัตว์เอาขนไว้ข้างนอก. เป็นทุกกฎแก่ภิกษุผู้ทรงอย่างนั้น. จะห่ม
เอาขนไว้ข้างใน ควรอยู่. .
สมณกัปปกถา ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาแห่งภูตคามสิกขาบท.
หลายบทว่า น ภิกฺขเว อตฺตโน องฺคชาตํ มีความว่า เป็น
ถุลลัจจัย แก่ภิกษุผู้ตัดองคชาตเท่านั้น. แม้เมื่อภิกษุตัดอวัยวะอื่นอย่างใด
อย่างหนึ่ง มีหูจมูกและนิ้วเป็นต้นก็ตาม ยังทุกข์เช่นนั้นให้เกิดขึ้นก็ตาม เป็น
ทุกกฏ. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้กอกโลหิตหรือตัดอวัยวะเพราะถูกงูหรือร่าน
กัดเป็นต้นก็ตาม เพราะปัจจัยคืออาพาธอย่างอื่นก็ตาม.
[ว่าด้วยบาตร]
สามบทว่า จนฺทนคณฺฐี อุปฺปนฺนา โหติ มีความว่า ปุ่มไม้จันทน์
เป็นของเกิดขึ้นแล้ว.
ได้ยินว่า ราชคหเศรษฐีนั้นให้ขึงข่ายทั้งเหนืออาทิผิด น้ำ และใต้น้ำแล้ว
เล่นในแม่น้ำคงคา. ปุ่มไม้จันทน์อันกระแสแห่งแม่น้ำนั้นพัดลอยมาติดที่ข่าย.
บุรุษทั้งหลายของเศรษฐีนั้น ได้นำปุ่มไม้จันทน์นั้นมาให้. ปุ่มไม้จันทน์นั้น
เป็นของเกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้.
อิทธิปาฏิหาริย์ คือ การแผลง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว
ในบทว่า อิทฺธิปาฏิหาริยํ นี้.
ส่วนฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยอำนาจอธิษฐานพึงทราบว่า ไม่ได้ทรงห้าม.
วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว โสวณฺณมโย ปตฺโต เป็นต้น
พึงทราบดังนี้:-
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 三月 13, 2015

Khian

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/252/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
จำไว้อย่างนี้ ผู้นี้จะหนีไม่ได้ จักทำการของเรา ดังนี้ ก็ดี ผู้นั้นแม้ทำลายอาทิผิด อักขระเครื่อง
จำหนีไป ก็ควรให้บวช.
ฝ่ายผู้ใดรับผูกขาดบ้าน นิคม และท่า เป็นต้น ด้วยส่วย ไม่ส่ง
ส่วยนั้นให้ครบ ถูกส่งไปยังเรือนจำ ผู้นั้นหนีมาแล้ว ไม่ควรให้บวช.
แม้ผู้ใดรวมเก็บทรัพย์ไว้ เลี้ยงชีวิตด้วยกสิกรรมเป็นต้น ถูกใคร ๆ
ส่อเสียดใส่โทษเอาว่า ผู้นี้ได้ขุมทรัพย์ แล้วถูกจองจำจะให้ผู้นั้นบวชในถิ่นนั้น
เอง ไม่ควร. แต่จะให้เขาซึ่งหนีไปแล้วบวชในที่ซึ่งไปแล้วทุกตำบล ควรอยู่.
ในข้อนี้ว่า น ภิกฺขเว ลิขิตโก เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยว่าบุคคลที่
ชื่อว่าผู้ร้ายซึ่งถูกเขียนไว้ จะได้แก่ผู้ร้ายซึ่งถูกเขียนไว้ว่า พบเข้าในที่ใด ให้
ฆ่าเสียในที่นั้น ดังนี้ อย่างเดียวหามิได้ โดยที่แท้ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งกระทำโจรกรรม
หรือความผิดในพระราชาอย่างหนักชนิดอื่นแล้วหนีไป และพระราชารับสั่งให้
เขียนผู้นั้นลงในหนังสือหรือใบลานว่า ผู้มีชื่อนี้ ใครพบเข้าในที่ใด พึงจับฆ่า
เสียในที่นั้นหรือว่า พึงตัดอวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้นของมันเสีย หรือว่า พึง
ให้นำมาซึ่งสินไหมมีประมาณเท่านี้ ผู้นี้ชื่อผู้ร้ายซึ่งถูกเขียนไว้. ผู้นั้นไม่ควร
ให้บวช.
ในคำว่า กสาหโต กตทณฺฑกมฺโม นี้ มีวินิจฉัยว่า ผู้ใดไม่ยอม
ทำการมีให้การและยอมรับใช้เป็นต้น จึงถูกลงอาชญา ผู้นั้นไม่นับว่าผู้ถูกลง
ทัณฑกรรม. ฝ่ายผู้ใดรับเก็บทรัพย์บางอย่าง โดยเป็นส่วน หรือโดยประการ
อื่นแล้วกินเสีย เมื่อไม่สามารถจะใช้คืนให้ จึงถูกเฆี่ยนด้วยหวายว่า นี้แล จง
เป็นสินไหมอาทิผิด ของเจ้า ผู้นี้ชื่อ ผู้ถูกเฆี่ยนด้วยหวาย ถูกลงทัณฑกรรม. ก็แล
เขาจะถูกเฆี่ยนอาทิผิด อาณัติกะด้วยหวายหรือถูกด้วยไม้ค้อนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม จง
ยกไว้ แผลยังสดอยู่เพียงใด ไม่ควรให้บวชเพียงนั้น. ต่อกระทำแผลทั้งหลาย
ให้กลับเป็นปกติแล้วจึงควรให้บวช.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 三月 10, 2015

Watthu

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 9/78/16  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นอก ทรงอนุญาตรางรองปัสสาวะ ไม้ชำระ ตะกร้ารองรับไม้ชำระ หลุม
วัจจกุฎีไม่ได้ปิด ทรงอนุญาตฝาปิด ๑๗๐. วัจจกุฎี บานประตู กรอบเช็ดหน้า
ครกรับเดือยบานประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน ลิ่ม ช่องดาล
ช่องเชือกชัก เชือกชัก ผงหญ้าตกลงเกลื่อน ทรงอนุญาตให้รื้อลงฉาบด้วยดิน
ทั้งข้างบนข้างล่าง ทำให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้
เครือไม้ ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียง ๑๗๑. ภิกษุชรา
ทุพพลภาพ ๑๗๒. ทรงอนุญาตอาทิผิด ให้ล้อมเครื่องล้อม ๑๗๓. ทรงอนุญาตซุ้มประตู
วัจจกุฎี โรยกรวดแร่ วางศิลาเลียบ น้ำขัง ทรงอนุญาต ท่อระบายน้ำ หม้อ
น้ำชำระ ขันตักน้ำชำระ นั่งชำระลำบาก ละอาย ทรงอนุญาตฝาปิด ๑๗๔.
พระฉัพพัคคีย์ประพฤติอนาจาร ๑๗๕. ทรงอนุญาตเครื่องโลหะ เว้นเครื่อง
ประหาร พระมหามุนีทรงอนุญาตเครื่องไม้ทั้งปวง เว้นเก้าอี้นอนมีแคร่ บัลลังก์
บาตรไม้และเขียงไม้ พระตถาคตผู้ทรงอนุเคราะห์ ทรงอนุญาตเครื่องดินแม้
ทั้งมวล เว้นเครื่องเช็ดเท้า และกุฎีที่ทำด้วยดินเผา.
นิเทศแห่งวัตถุใด ถ้าเหมือนกับข้างต้น นักวินัยพึงทราบวัตถุนั้นว่า
ท่านย่อไว้ในอุทาน โดยนัย.
เรื่องในขุททกวัตถุอาทิผิด อักขระขันธกะ ที่แสดงมานี้มี ๑๑๐ เรื่อง พระวินัยธรผู้
ศึกษาดีแล้ว มีจิตเกื้อกูล มีศีลเป็นที่รักด้วยดี มีปัญญาส่องสว่างดังดวง
ประทีปเป็นพหูสูต ควรบูชา จะเป็นผู้ดำรงพระสัทธรรม และอนุเคราะห์แก่
เหล่าสพรหมจารีผู้มีศีลเป็นที่รัก.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 三月 09, 2015

Phawana

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 74/36/1  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สพฺพสมฺภารภาวนาอาทิผิด อักขระ (การบำเพ็ญบุญกุศลทั้งหมด) ด้วยบทนี้ว่า สพฺพํ
จริตํ ความประพฤติทั้งหมด ในอรรถวิกัปที่สอง. ท่านกล่าว สกฺกจฺจ-
ภาวนา ( การบำเพ็ญโดยความเคารพ ) ด้วยบทนี้ว่า โพธิปาจนํ เป็น
เครื่องบ่มโพธิญาณ. ความประพฤตินั้นย่อมบ่มสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะ
แสดงความเป็นอย่างนั้น ฉันใด ความประพฤตินั้นย่อมควรที่จะกล่าวว่า
โพธิปาจนํ เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ ฉันนั้นไม่ควรที่จะกล่าวโดยอาการ
อื่น. ก็ในบทนี้พึงทราบความที่โพธิจริยาติดต่อกันไปอย่างไร. ผิว่า จิตนั้น
ไม่ควร เพราะจิตติดต่อกันไป เป็นความจริงที่ไม่อาจจะกล่าวได้ว่า จิตอื่นจาก
จิตสะสมโพธิสมภาร จะเกิดขึ้นสูงกว่ามหาภินิหารของพระมหาสัตว์ทั้งหลาย.
เมื่อเป็นเช่นนั้น พึงกล่าวหมายถึงความเป็นไปแห่งจิตสำเร็จด้วยกิริยา. แม้
อย่างนี้ก็ไม่ควร. ความจริงไม่ควรเห็นว่า จิตสำเร็จด้วยกิริยาทั้งหมดของพระ
มหาโพธิสัตว์เหล่านั้น ย่อมเป็นไปได้ด้วยอำนาจแห่งการสะสมโพธิสมภาร
เท่านั้น แม้การทำความเพียรติดต่อกันไป ท่านก็ห้ามด้วยบทนี้เหมือนกัน.
อนึ่ง พึงทราบนิรันดรภาวนา เพราะความติดต่อกันแห่งชาติ. พระมหา-
โพธิสัตว์ยังมหาปณิธานให้เกิดในชาติใด ชาตินั้นย่อมไม่เข้าไปได้ตั้งแต่นั้น
จนถึงอัตภาพหลัง. ชาติใดที่พระมหาโพธิสัตว์สะสมโพธิสมภารไว้หมดสิ้น
ทุกประการ โดยที่สุดหมายเอาเพียงทานบารมีก็พึงมีไม่ได้. เพราะชาตินี้
เป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนากิจของพระศาสนา. พระ-
โพธิสัตว์เหล่านั้น ยังไม่ถึงความเป็นผู้ชำนาญในกรรมเป็นต้น เพียงใด
พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมถึงความขวนขวายอันมีขอบเขตในการสะสมบุญ
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 三月 06, 2015

Thawip

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 55/49/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คงที่ งามสง่าอยู่ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกด้วยพระ
ขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน นครชื่อรัมมวดี กษัตริย์
ทรงพระนามสุเมธ เป็นพระชนก พระชนนีทรง
พระนามว่าสุเมธา ของพระศาสดาทีปังกร พระองค์
ทรงครองเรือนอยู่หมื่นปี มีปราสาทอย่างดีที่สุดอยู่
สามหลัง ชื่อรัมมะ สุรัมมะและสุภะ มีเหล่านารี
แต่งตัวสวยงามนับได้สามแสน มีพระจอมนารีพระ-
นามว่า ยโสธรา มีพระโอรสพระนามว่า อสุภขันธะ
พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ อย่าง เสด็จออกบวช
ด้วยยานคือช้าง พระชินเจ้าทรงตั้งความเพียรอยู่
ไม่หย่อนกว่าหมื่นปี พระมุนีทรงบำเพ็ญเพียรทางใจ
ได้ตรัสรู้แล้ว พระมหาวีระทรงประกาศพระธรรมจักร
ที่ป่านันทวัน อันหนาแน่นไปด้วยสิริ ได้ทรงกระทำ
การย่ำยีเดียรถีย์ที่โคนต้นซึกอันน่ารื่นรมย์ มีพระอัคร-
สาวกคือ พระสุมังคละและพระติสสะ พระศาสดา
ทีปังกรมีพระอุปฐากนามว่า สาคระ มีพระอัครสาวิกา
คือ พระนางนันทาและพระนางสุนันทา ต้นไม้ตรัสรู้
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกกันว่าต้น
ปิปผลิ พระมหามุนีทีปังกรอาทิผิด อาณัติกะมีพระวรกายสูงได้ ๘๐ ศอก
พญาไม้สาละมีดอกบานสะพรั่ง เป็นต้นไม้ประจำทวีปอาทิผิด อักขระ
ดูงาม พระผู้แสวงหาพระคุณใหญ่นั้นมีพระชนมายุ
ได้แสนปี พระองค์ทรงพระชนม์อยู่เท่านั้นทรง
ให้เหล่าชนเป็นอันมากข้ามถึงฝั่ง [นิพพาน] พระ-
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 三月 05, 2015

Phawana

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 87/31/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

星期二, 三月 03, 2015

Chaem Chaeng

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 67/56/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คำว่า มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ ชื่อว่ามีสติ
เพราะเป็นผู้เจริญสติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นกายในกาย ๑ ... การ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ๑ ... การพิจารณาเห็นจิตในจิต ๑ ...
การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ๑ ฯ ล ฯ ภิกษุนั้นท่านเรียกว่า
ผู้มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ.
[๑๑๐] ญาณ ปัญญา กิริยาที่รู้ ความเลือกเฟ้น ฯ ลฯ ความ
ไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ปัญญาอันเห็นชอบ ชื่อว่า สังขา
ในอุเทศว่า สงฺขาย นิพฺพุโต ภิกฺขุ.
คำว่า ทราบแล้ว ความว่า ทราบ คือรู้ เทียบเคียง พิจารณา
เจริญทำให้แจ่มแจ้งแล้ว คือทราบ ... ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ...
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.
อีกอย่างหนึ่ง ทราบ ... ทำให้แจ่มอาทิผิด อักขระแจ้งแล้วโดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง ... เป็นทุกข์ ... เป็นโรค ... เป็นดังหัวฝี ... เป็นดังลูกศร ฯล ฯ
โดยไม่มีอุบายเครื่องออกไป.
คำว่า ดับแล้ว ความว่า ชื่อว่าดับแล้ว เพราะเป็นผู้ดับราคะ
โทสะ โมหะ ... มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวน
กระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลา-
ภิสังขารทั้งปวง.
คำว่า ภิกฺขุ ความว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ทำลายธรรม
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 三月 02, 2015

Samathan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 16/255/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ว่าด้วยสังคีติหมวด ๑๐

[๓๕๗] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๑๐ ที่พระผู้
มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์
นั้น ตรัสไว้โดยชอบมีอยู่ พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึง
โต้แย้งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย. ธรรม ๑๐ เหล่านั้นเป็นไฉน.
นาถกรณธรรม ๑๐
๑. ดูก่อนท่านอาทิผิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี
ศีล เป็นผู้สำรวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่ มี
ปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.
แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีลสำรวมในพระปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมารยาท
และโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานอาทิผิด อักขระศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.
๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้มีธรรม
อันสดับแล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สะสมธรรมที่ได้สดับแล้ว. ธรรม
ทั้งหลายที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปานนั้น
อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรงไว้มาก คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอด
ดีแล้วด้วยทิฏฐิ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีธรรม
อันสดับแล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สะสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรม
ทั้งหลายที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 三月 01, 2015

Lai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 40/59/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ศ. เธอได้ถามโดยเอื้อเฟื้อถึงการรับบริขาร ของภิกษุเหล่านั้น
หรือ ?
ต. ข้าพระองค์ไม่ได้ถามโดยเอื้อเฟื้อ พระเจ้าข้า.
ศ. เธอได้ถามโดยเอื้อเฟื้อถึงธรรมเนียม หรือน้ำดื่มหรือ ?
ต. ข้าพระองค์ไม่ได้ถามโดยเอื้อเฟื้อ พระเจ้าข้า.
ศ. เธอนำอาสนะมาแล้ว ทำการนวดเท้าให้หรือ ?
ต. ไม่ได้ทำ พระเจ้าข้า.

พระติสสะไม่ยอมขมาภิกษุสงฆ์
ศ. ติสสะ วัตรทั้งปวงนั่น เธอควรทำแก่ภิกษุผู้แก่. การที่
เธอไม่ทำวัตรทั้งปวงนั่น นั่งอยู่ในท่ามกลางวิหาร ไม่สมควร, โทษ
ของเธอเองมี, เธอจงขอโทษภิกษุทั้งหลายนั่นเสีย.
ต. พระองค์ผู้เจริญ พวกภิกษุนี้ได้ด่าข้าพระองค์, ข้าพระองค์
ไม่ยอมขอโทษเธอ.
ศ. ติสสะ เธออย่าได้ทำอย่างนี้. โทษของเธอเองมี เธอจงขอ
โทษภิกษุเหล่านั้นเสีย.
ต. พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ยอมขอโทษภิกษุเหล่านี้ .
ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อภิกษุทั้งหลายอาทิผิด อักขระกราบทูลว่า "ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระติสสะนี้เป็นคนว่ายาก" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า
"ภิกษุทั้งหลาย ติสสะนี้ มิใช่เป็นผู้ว่ายากแต่ในบัดนี้เท่านั้น, ถึงใน
กาลก่อน ติสสะนี้ก็เป็นคนว่ายากเหมือนกัน," เมื่อภิกษุเหล่านั้น
กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ทราบความที่
 
พระปิฎกธรรม