星期二, 三月 24, 2015

Luk

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 79/301/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ข้อว่า “เนว อาทึ มนสิกโรติ” ได้แก่ ไม่มนสิการถ้อยคำที่ตั้ง
ไว้ในเบื้องต้น.
บทว่า “กุมฺโภ” ได้แก่ หม้อ.
บทว่า “นิกุชฺชิโต” ได้แก่ หม้อที่เขาตั้งคว่ำปากไว้. ในคำนี้ว่า
“เอวเมว” ความว่า บัณฑิต พึงเห็นบุคคลผู้มีปัญญาที่เปรียบด้วยหม้อ
คว่ำ ก็เหมือนกันหม้อที่เขาคว่ำปากไว้. บัณฑิตพึงเห็นเวลาที่เขาได้ฟังพระ-
ธรรมเทศนา เปรียบเหมือนเวลาที่รดด้วยน้ำ. พึงเห็นเวลาที่เขานั่ง ณ อาสนะ
นั้นแล้วไม่สามารถเพื่อเรียนธรรมได้ เปรียบเหมือนเวลาที่น้ำไหลออกไปจาก
หม้อ. พึงทราบว่าเวลาที่เขาลุกอาทิผิด อักขระขึ้นจากอาสนะแล้วกำหนดธรรมไม่ได้ เปรียบ
เหมือนเวลาที่น้ำไม่ขังอยู่ในหม้อ.
สองบทว่า “อยํ วุจฺจติ” ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน
เรียกว่า อวกุชฺชปญฺโญ แปลว่า ผู้มีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ. อธิบายว่า
มีปัญญาเหมือนหม้อน้ำที่เขาตั้งคว่ำปากไว้.
บทว่า “อากิณฺณานิ” ได้แก่ ใส่เข้าแล้ว.
สองบทว่า “สติสมฺโมสา ปกิเรยฺย” ความว่า เพราะเผลอสติ สิ่ง
ของทั้งหลายจึงกระจัดกระจายไป. บัณฑิตพึงเห็นบุคคลผู้มีปัญญาดังหน้าตัก
(ชายพก) ก็เหมือนกับหน้าตักที่ท่านตรัสไว้ในคำว่า “เอวเมว” นี้. บัณฑิตพึง
เห็นพุทธพจน์มีประการต่าง ๆ เหมือนอาหารที่เคี้ยวกินนานาชนิด. พึงทราบว่า
เวลาที่เขานั่ง ณ อาสนะนั้นแล้วเรียนพุทธพจน์ เหมือนเวลาที่เขานั่งเคี้ยวกิน
ของที่ควรเคี้ยวกินต่าง ๆ ชนิดอยู่บนหน้าตัก. พึงทราบว่า เวลาที่เขาลุกจาก
อาสนะนั้นแล้วเดินไปไม่สามารถกำหนดธรรมได้ เปรียบเหมือนเวลาที่เขา
เผลอลืมสติลุกขึ้นทำให้ของเคี้ยวกินกระเด็นกระจัดกระจายไป.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: