星期一, 三月 09, 2015

Phawana

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 74/36/1  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สพฺพสมฺภารภาวนาอาทิผิด อักขระ (การบำเพ็ญบุญกุศลทั้งหมด) ด้วยบทนี้ว่า สพฺพํ
จริตํ ความประพฤติทั้งหมด ในอรรถวิกัปที่สอง. ท่านกล่าว สกฺกจฺจ-
ภาวนา ( การบำเพ็ญโดยความเคารพ ) ด้วยบทนี้ว่า โพธิปาจนํ เป็น
เครื่องบ่มโพธิญาณ. ความประพฤตินั้นย่อมบ่มสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะ
แสดงความเป็นอย่างนั้น ฉันใด ความประพฤตินั้นย่อมควรที่จะกล่าวว่า
โพธิปาจนํ เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ ฉันนั้นไม่ควรที่จะกล่าวโดยอาการ
อื่น. ก็ในบทนี้พึงทราบความที่โพธิจริยาติดต่อกันไปอย่างไร. ผิว่า จิตนั้น
ไม่ควร เพราะจิตติดต่อกันไป เป็นความจริงที่ไม่อาจจะกล่าวได้ว่า จิตอื่นจาก
จิตสะสมโพธิสมภาร จะเกิดขึ้นสูงกว่ามหาภินิหารของพระมหาสัตว์ทั้งหลาย.
เมื่อเป็นเช่นนั้น พึงกล่าวหมายถึงความเป็นไปแห่งจิตสำเร็จด้วยกิริยา. แม้
อย่างนี้ก็ไม่ควร. ความจริงไม่ควรเห็นว่า จิตสำเร็จด้วยกิริยาทั้งหมดของพระ
มหาโพธิสัตว์เหล่านั้น ย่อมเป็นไปได้ด้วยอำนาจแห่งการสะสมโพธิสมภาร
เท่านั้น แม้การทำความเพียรติดต่อกันไป ท่านก็ห้ามด้วยบทนี้เหมือนกัน.
อนึ่ง พึงทราบนิรันดรภาวนา เพราะความติดต่อกันแห่งชาติ. พระมหา-
โพธิสัตว์ยังมหาปณิธานให้เกิดในชาติใด ชาตินั้นย่อมไม่เข้าไปได้ตั้งแต่นั้น
จนถึงอัตภาพหลัง. ชาติใดที่พระมหาโพธิสัตว์สะสมโพธิสมภารไว้หมดสิ้น
ทุกประการ โดยที่สุดหมายเอาเพียงทานบารมีก็พึงมีไม่ได้. เพราะชาตินี้
เป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนากิจของพระศาสนา. พระ-
โพธิสัตว์เหล่านั้น ยังไม่ถึงความเป็นผู้ชำนาญในกรรมเป็นต้น เพียงใด
พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมถึงความขวนขวายอันมีขอบเขตในการสะสมบุญ
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: