星期日, 六月 28, 2015

Phangphon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 57/101/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พังพอนว่า ชลาพุชะ. ด้วยว่าพังพอนอาทิผิด สระนั้นเรียกว่าชลาพุชะเพราะ
เกิดในครรภ์ บทว่า วิวริย แปลว่า อ้าปาก.
พระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว พังพอนจึงบอกว่า พระคุณ-
เจ้า ขึ้นชื่อว่าศัตรูไม่ควรดูหมิ่น ควรระแวงไว้เสมอ แล้วกล่าว
คาถาที่ ๒ ว่า :-
บุคคลพึงระแวงภัยในศัตรูไว้ แม้ในมิตร
ก็ไม่ควรวางใจ ภัยเกิดขึ้นแล้วจากมิตร ย่อม
ตัดมูลรากทั้งหลายเสีย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกยา ภยมุปฺปนฺนํ ได้แก่
ภัยไม่เกิดแก่ท่านจากโอกาสนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีภัย
ใครจัดว่าเป็นมิตร ผู้ที่คุ้นเคยจัดว่าเป็นมิตร เพราะฉะนั้น ภัย
ย่อมเกิดขึ้นจากมิตรนั้น ย่อมตัดแม้มูลรากนั้นเสีย อธิบายว่า
ชื่อว่าย่อมเป็นไปเพื่อกำจัดมูลราก เพราะค่าที่มิตรรู้โทษทั้งหมด
แล้ว.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้สอนพังพอนนั้นว่า เจ้าอย่า
กลัวเลย เราได้กระทำโดยที่ไม่ให้งูทำร้ายเจ้าแล้ว ตั้งแต่นี้ไป
เจ้าอย่าได้ระแวงงูนั้นเลย แล้วสอนให้เจริญพรหมวิหารสี่มุ่ง
ต่อพรหมโลก. แม้สัตว์เหล่านั้นก็ไปตามยถากรรม.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 六月 27, 2015

Mongkhon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 47/125/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
การบำรุงมารดา ๑ การบำรุงบิดา ๑
การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่
อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล.
ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑ การ
สงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้
เป็นอุดมมงคล.
การงดเว้นจากบาป ๑ ความสำรวม
จากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทใน
ธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล.
การเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อม-
ตน ๑ ความสันโดษ ๑ ความกตัญญู ๑
การฟังธรรมตามกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล.
ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑
การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การสนทนา
ธรรมตามกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคลอาทิผิด อักขระ.
ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็น
อริยสัจ ๑ การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็น
อุดมมงคล.
จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลาย
ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้าโศก
๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็น
อุดมมงคล.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 六月 26, 2015

Silapa

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 57/100/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ ในบ้าน
แห่งหนึ่ง ครั้นเจริญวัย ได้เรียนศิลปะอาทิผิด อักขระทุกแขนง ในกรุงตักกสิลา
สละเพศฆราวาสออกบวชเป็นฤๅษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้
เกิด มีรากไม้และผลาผลในป่าเป็นอาหาร โดยการเที่ยวแสวง
หา พำนักอยู่ในหิมวันตประเทศ. ท้ายสุดที่จงกรมของพระ-
โพธิสัตว์ มีพังพอนอาศัยอยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง. ใกล้จอมปลวก
นั้นมีงูอาศัยอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง. งูและพังพอนทั้งสองก็ทะเลาะกัน
ตลอดกาล. พระโพธิสัตว์กล่าวถึงโทษในการทะเลาะกันและ
อานิสงส์ในการเจริญเมตตาแก่สัตว์ทั้งสองนั้น แล้วสอนว่า ไม่
ควรทะเลาะกัน ควรอยู่กันด้วยความสามัคคี ได้ทำให้สัตว์
ทั้งสองนั้นสามัคคีกัน. ครั้นถึงเวลาที่งูออกไปข้างนอก พังพอน
ก็นอนอ้าปากหันหัวไปทางช่องโพลงจอมปลวก ท้ายที่จงกรม
หายใจเข้าออกหลับไป. พระโพธิสัตว์เห็นพังพอนนั้นนอนหลับ
เมื่อจะถามว่า ภัยอะไรเกิดขึ้นแก่เจ้า จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-
ดูก่อนพังพอน ท่านได้ทำมิตรภาพกับงู
ผู้เป็นศัตรู ไฉนจึงยังนอนแยกเขี้ยวอยู่อีกเล่า
ภัยที่ไหนจะมาถึงแก่ท่านอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺธึ กตฺวา คือทำความเป็น
มิตรกัน. บทว่า อณฺฑเชน งูซึ่งเกิดในกะเปาะไข่. เรียก
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 六月 24, 2015

Fi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 35/106/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นฝีอาทิผิด อักขระ โดยความเป็นสังกิเลส เศร้าหมอง
ย่อมยินดี. ภิกษุเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่ยินดีอย่างนี้แล.
บทว่า เนวตฺตานุกฺกํเสติ ความว่า ภิกษุย่อมไม่ทำการยกตนอย่าง
นี้ว่า เมื่อเราทำกรรมในวิปัสสนาว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตามาตลอด
๖๐ ปี ๗๐ ปี ถึงปัจจุบันนี้ ใครเล่าจะเป็นผู้เสมอเราดังนี้. บทว่า โน ปรํ
วมฺเภติ ความว่า ย่อมไม่ทำการข่มคนอื่นอย่างนี้ว่า แม้เพียงวิปัสสนาว่า
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ดังนี้ ก็ไม่มี ทำไมพวกเหล่านี้จึงละเลยกัมมัฏฐานเที่ยวไป
ดังนี้. บทที่เหลือมีนัยอันกล่าวแล้วทั้งนั้น.
บทว่า อิเม โข ภิกฺขเว จตฺตาโร อริยวํสา ความว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงยักเยื้องพระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ ๔ เหล่านี้
เป็นวงศ์ของพระอริยะ เป็นเชื้อสายของพระอริยะ เป็นทางของพระอริยะ เป็น
หนทางไปของพระอริยะ ดังนี้ บัดนี้ เมื่อทรงแสดงอิสระโดยภิกษุผู้บำเพ็ญ
มหาอริยวงศ์ จึงตรัสว่า อิเมหิ จ ปน ภิกฺขเว เป็นต้น . ในบทเหล่านั้น
บทว่า เสฺวว อรตึ สหติ ความว่า เธอเท่านั้น ย่อมย่ำยีครอบงำความ
ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง ความเอือมระอาเสียได้. บทว่า น ตํ อรติ สหติ
ความว่า ชื่อว่าความไม่ยินดี ในการเจริญอธิกุศล ในเสนาสนะที่สงัดนั้นใด
ความไม่ยินดีนั้น ย่อมไม่สามารถจะย่ำยีครอบงำภิกษุนั้นได้. บทว่า อรติร-
ติสโห ความว่า ภิกษุผู้มีปัญญาย่อมย่ำยี สามารถครอบงำความไม่ยินดี
และความยินดีในกามคุณ ๕.
บัดนี้ เมื่อทรงถือเอายอดธรรมด้วยคาถาทั้งหลาย จึงตรัสคำว่า นารตี
เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ธีรํ คือผู้มีความเพียร. บทว่า นารตี
ธีรสํหติ นี้เป็นคำกล่าวเหตุแห่งบทแรก. เพราะเหตุที่ความไม่ยินดี ไม่ย่ำยี
ภิกษุผู้มีปัญญา คือ ย่อมไม่สามารถจะย่ำยี คือ ครอบงำภิกษุผู้มีปัญญาได้
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 六月 22, 2015

Dabot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 58/25/2  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระดาบส แล้วแผ่พังพานใหญ่ไว้เหนือศีรษะ. นอนพักอยู่หน่อยหนึ่ง
พอบรรเทาความสิเนหานั้นแล้วจึงคลายร่างไหว้พระดาบสอาทิผิด อักขระแล้วกลับไป
นาคพิภพของตน. เพระความกลัวพระยานาคนั้น พระดาบสจึงซูบ-
ผอมเศร้าหมอง ผิวพรรณไม่ผ่องใส เกิดเป็นโรคผอมเหลือง มีเนื้อตัว
สะพรั่งไปด้วยแถวเส้นเอ็น. วันหนึ่ง จึงไปหาดาบสผู้พี่ชาย. ลำดับ
นั้น ดาบสผู้พี่ชายจึงได้ถามดาบสผู้น้องชายนั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ
เพราะเหตุไรท่านจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณทราม เกิดเป็น
โรคผอมเหลือง เนื้อตัวสะพรั่งด้วยแถวเส้นเอ็น. ดาบสผู้น้องชายจึง
บอกเรื่องราวนั้นแก่ดาบสผู้พี่ชาย ผู้อันดาบสผู้พี่ชายถามว่า ท่าน
ผู้เจริญ ก็ท่านไม่ต้องการให้พระยานาคนั้นมาหรือ จึงตอบว่า ไม่ต้อง
การ เมื่อดาบสผู้พี่ชายกล่าวว่า ก็พระยานาคนั้น เมื่อมายังสำนัก
ของท่านประดับเครื่องประดับอะไรมา จึงกล่าวตอบว่า ประดับ
แก้วมณีมา. ดาบสผู้พี่ชายกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เมื่อพระยานาคนั้นมา
ไหว้ท่านแล้วยังไม่ทันนั่ง จงรีบขอว่า ท่านจงให้แก้วมณี เมื่อขอ
อย่างนั้น พระยานาคนั้นจักไม่รัดท่านด้วยขนดเลย จักไปทันที
วันรุ่งขึ้นพระยานาคนั้นมายืนที่ประตูอาศรมบทยังไม่ทันเข้าไป ท่าน
พึงขอ ในวันที่ ๓ ท่านจงไปยืนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา พอพระยานาคนั้น
ผุดขึ้นจากน้ำ พึงร้องขอทันที เมื่อเป็นอย่างนี้ พระยานาคนั้นจักไม่
มาหาท่านอีกต่อไป. พระดาบสรับคำแล้วกลับไปบรรณศาลาของตน
วันรุ่งขึ้น พระยานาคพอมายืนเท่านั้น ก็ร้องขอว่า ท่านจงให้แก้วมณี
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 六月 20, 2015

Yep

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 4/420/9  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ติกทุกกฏ
ภิกษุเย็บเองก็ดี ให้เย็บก็ดี ซึ่งจีวร เพื่อภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์
ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ...ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ.. .ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๕๐] ภิกษุเย็บเพื่อภิกษุณีผู้เป็นญาติ ๑ ภิกษุเย็บเองก็ดี ให้เย็บ
ก็ดี ซึ่งบริขารอื่นเว้นจีวร ๑ ภิกษุเย็บเพื่อสิกขมานา ๑ ภิกษุเย็บเพื่อสามเณรี ๑
ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

ภิกขุนีวรรค จีวรสิพพนสิกขาบทที่ ๖
วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้
[แก้อรรถ เรื่องเย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ]
คำว่า อุทายี ได้แก่ พระโลลุทายี.
บทว่า ปฏฺโฐ แปลว่า ผู้มีความสามารถ. มีคำอธิบายว่า เป็นผู้
เข้าใจและสามารถ.
สองบทว่า อญฺญตรา ภิกฺขุนี ได้แก่ ภิกษุณีผู้เป็นภรรยาเก่า
พระอุทายีนั้นนั่นเอง.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 六月 17, 2015

Phuttha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 4/813/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พึงแต่งอาหารถวาย ครั้นต่อมาภิกษุหลายรูป ไปเที่ยวจาริกในกาสีชนบท ได้
เดินผ่านเข้าไปทางโรงงานของอนาถบิณฑิกคหบดี บุรุษนั้นได้แลเห็นภิกษุ
เหล่านั้นเดินมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วจึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น กราบไหว้
แล้ว ได้กล่าวอาราธนาว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงรับนิมนต์ฉัน
ภัตตาหารของท่านคหบดีในวันพรุ่งนี้.
ภิกษุเหล่านั้นรับนิมนต์ด้วยอาการดุษณีภาพ.
จึงบุรุษนั้น สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีตโดยล่วงราตรีนั้น
แล้วให้คนไปบอกภัตกาล แล้วถอดแหวนวางไว้ อังคาสภิกษุเหล่านั้นด้วย
ภัตตาหารแล้วกล่าวว่า นิมนต์พระคุณเจ้าฉันแล้วกลับได้ แม้กระผมก็จักไปสู่
โรงงานดังนี้ ได้ลืมแหวนนั้น ไปแล้ว.
ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว ปรึกษากันว่า ถ้าพวกเราไปเสีย แหวน
วงนี้จักหาย แล้วได้อยู่ในที่นั้นเอง.
ครั้นบุรุษนั้นกลับมาจากโรงงาน เห็นภิกษุเหล่านั้นจึงถามว่า เพราะ
เหตุไร พระคุณเจ้าทั้งหลายจึงยังอยู่ในที่นี้เล่า ขอรับ.
จึงภิกษุเหล่านั้นได้บอกเรื่องราวนั้นแก่เขา ครั้นเธอไปถึงพระนคร
สาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า.
พระพุทธานุญาตอาทิผิด สระพิเศษ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บเอาก็ดี ใช้ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของ
ที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี แล้วเก็บรักษาไว้ด้วยหมาย
ว่า เป็นของผู้ใด ผู้นั้นจะได้นำไป.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 六月 16, 2015

Bot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 5/162/1  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทอาทิผิด สระว่า ด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่าง
หนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง คือ เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง
บทว่า เขาตั้งใจถวายบุคคล คือ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุณีรูปเดียว
ไม่ใช่สงฆ์ ไม่ใช่คณะ.
บทว่า ขอมาเป็นส่วนตัว คือ ขอร้องเขาเอง.
บทว่า ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ความว่า ทายกถวายกัปปิย-
ภัณฑ์ไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยใด เว้นปัจจัยนั้น ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น
เป็นทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ ด้วยได้ปัจจัยนั้นมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์
คณะ หรือภิกษุณีรูปหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลปัจจัยอย่างอื่นที่ได้มานั้น อันภิกษุณีพึง
เสียสละอย่างนี้.

วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ . . . แม่เจ้า ปัจจัยอย่างอื่นนี้ของข้าพเจ้า
ให้เปลี่ยนมาด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศ
ไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายบุคคล แต่ขอมาเป็นส่วนตัว เป็นของจำจะสละ
ข้าพเจ้าสละปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่สงฆ์ . . . สงฆ์พึงให้ปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่ภิกษุณีมี
ชื่อนี้ ดังนี้.

เสียสละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป. . . แม่เจ้าทั้งหลายพึงให้
ปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้ .
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 六月 14, 2015

Samrap

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 5/167/2  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สิกขาบทวิภังค์
[๑๓๙] ที่ชื่อว่า ผ้าห่มหนัก ได้แก่ผ้าชนิดหนึ่งที่สำหรับอาทิผิด อักขระห่มในฤดู
หนาว
บทว่า ผู้จะให้จ่าย คือ ผู้จะขอ.
บทว่า พึงให้จ่ายได้เพียงราคา ๔ กังสะเป็นอย่างยิ่ง คือ ให้
จ่ายผ้ามีราคาเพียง ๑๖ กหาปนะได้.
คำว่า ถ้าให้จ่ายยิ่งกว่านั้น ความว่า ขอผ้ามีราคาเกินกว่านั้นเป็น
ทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้ผ้ามา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือ
ภิกษุณีรูปหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลผ้าเป็นนิสสัคคีย์นั้น อันภิกษุณีพึงเสียสละ
อย่างนี้.

วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ . . .แม่เจ้า ผ้าห่มหนักผืนนี้ของข้าพเจ้า
มีราคาสูงเกิน ๔ กังสะ ขอได้มา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละผ้าห่มหนัก
ผืนนี้แก่สงฆ์. . . สงฆ์พึงให้ผ้าห่มหนักผืนนี้แก่ภิกษุณีชื่อนี้ ดังนี้.

เสียสละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป. . . แม่เจ้าทั้งหลาย พึงให้
ผ้าห่มหนักผืนนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

เสียสละแก่ภิกษุรูปหนึ่ง
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง. . . ข้าพเจ้าให้ผ้าห่มหนักผืน
นี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 六月 12, 2015

Bahiddha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 10/386/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[วิวาทมูลนิทเทส]
วินิจฉัยในวิวาทมูลนิทเทส พึงทราบดังนี้:-
เนื้อความแห่งข้อว่า สตฺถริปิ อคารโว เป็นอาทิ พึงทราบตามนัย
ที่กล่าวแล้ว ในความไม่มีความเคารพในพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั่นแล.
บทว่า อปฺปฏิสฺโส ได้แก่ ไม่ประพฤติถ่อมตน คือ ไม่ยกพระ-
ศาสดาให้เป็นใหญ่อยู่.
บทว่า อชฺฌตฺตํ วา ความว่า (ถ้าว่า ท่านทั้งหลายพึงเล็งเห็น
มูลแห่งวิวาทเห็นปานนั้น) ในสันดานของตนก็ดี ในพวกของตนก็ดี ในบริษัท
ของตนก็ดี.
บทว่า พหิทฺธาอาทิผิด อักขระ วา ความว่า ในสันดานของผู้อื่นก็ดี ในพวกของ
ผู้อื่นก็ดี.
สองบทว่า ตตฺถ ตุมฺเห ความว่า ทั้งในสันดานของตนและผู้อื่น
หรือทั้งในบริษัทของตนและผู้อื่น อันต่างกันด้วยมีในภายในและมีในภายนอก
นั้น.
สองบทว่า ปหานาย วายเมยฺยาถ มีความว่า ท่านทั้งหลายพึง
พยายามเพื่อละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั่นแล ด้วยนัยทั้งหลาย มีเมตตาภาวนา
เป็นอาทิ.
จริงอยู่ วิวาทมูลนั้น ทั้งที่มีในภายใน ทั้งที่มีในภายนอกย่อมละเสีย
ได้ ด้วยนัยมีเมตตาภาวนาเป็นต้น.
บทว่า อนวสฺสวาย ได้แก่ เพื่อความไม่เป็นไป.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 六月 09, 2015

Phokhe

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/376/22 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แห่งวันของท่านเท่าไร ? ดังนี้ พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ฤดูชื่อนี้ คือ ฤดูฝนก็ตาม
ฤดูหนาวก็ตาม ฤดูร้อนก็ตาม เงาของข้าพเจ้าเท่านี้ ประมาณฤดูเท่านี้ ส่วน
แห่งวันเท่านี้.
บทว่า โอหาย ได้แก่ ทิ้ง.
สองบทว่า ทุติยํ ทาตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุให้เป็นเพื่อน
แก่ภิกษุผู้อุปสมบทใหม่ ซึ่งจะไปสู่บริเวณจากโรงที่อุปสมบทและให้บอก-
อกรณียกิจ ๔ .
บทว่า ปณฺฑุอาทิผิด อักขระปลาโส ได้แก่ ใบไม้มีสีเหลือง.
สองบทว่า พนฺธนา ปมุตฺโต ได้แก่ หล่นแล้วจากขั้ว.
สองบทว่า อภพฺโพ หริตตฺตาย มีความว่า ไม่อาจเป็นของเขียว
สดอีก.
สองบทว่า ปุถุสิลา ได้แก่ ศิลาใหญ่.
ข้อว่า อลพฺภมานาย สามคฺคิยา อนาปตฺติ สมฺโภเค สํวาเส
มีความว่า ความพร้อมเพรียงเพื่อประโยชน์แก่การทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุนั้น
อันภิกษุยังไม่ได้เพียงใด ไม่เป็นอาบัติในเพราะกินร่วม และอยู่ร่วมต่างโดยทำ
อุโบสถ และปวารณาเป็นต้นกับภิกษุนั้น เพียงนั้น.
คำที่เหลือทุกแห่งนับว่าปรากฏแล้วแท้ เพราะเป็นคำที่จะพึงทราบได้
ง่าย โดยทำนองที่กล่าวไว้แล้วในมหาวิภังค์ ด้วยประการฉะนี้.
คำอธิบายความแห่งมหาขันธกะ
อันประดับ ด้วย ๑๗๒ เรื่องในอรรถกถาแห่งพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ

๑. สมฺโภเคติ ธมฺมสมฺโภเค อามิสสมฺโภเคอาทิผิด สระ จาติ สารตฺถทีปนี.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 六月 06, 2015

Trai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 4/385/1  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สงเคราะห์ด้วยไตรอาทิผิด สิกขาทั้งสิ้น เป็นอันเธอบอกแล้ว. ภิกษุนั้นรับว่า ดีละ
แล้วพึงบอกแก่ภิกษุณีทั้งหลายในวันแรมค่ำ ๑.
แม้ภิกษุณีสงฆ์ พึงส่งภิกษุณีเหล่านั้นไปว่า ไปเถิดแม่เจ้า ! จงถามว่า
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีสงฆ์ย่อมได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาทหรือ ? ภิกษุณี
เหล่านั้นรับว่า ดีละ พระแม่เจ้า ! แล้วไปยังอาราม เข้าไปหาภิกษุนั้น พึง
กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีสงฆ์ย่อมได้การเข้ามาเพื่อรับ
โอวาทหรือ ? ภิกษุนั้น พึงกล่าวว่า ไม่มีภิกษุบางรูปที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้
สั่งสอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์ จงให้ถึงพร้อมด้วยกรรมอันน่าเลื่อมใสเถิด. ภิกษุณี
เหล่านั้น พึงรับว่า ดีละ พระผู้เป็นเจ้า !
ก็ท่านกล่าวคำพหูพจน์ว่า ตาหิ ด้วยอำนาจแห่งภิกษุณีทั้งหลายผู้มา
พร้อมกัน. ก็บรรดาภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีรูปหนึ่ง พึงกล่าวและพึงรับ.
ภิกษุณีนอกนี้ พึงเป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น. ก็ถ้าว่าภิกษุณีสงฆ์ก็ดี ภิกษุสงฆ์
ก็ดี ไม่ครบ (องค์เป็นสงฆ์). หรือทั้ง ๒ ฝ่ายเป็นเพียงคณะหรือบุคคลเท่านั้น
ก็ดี ภิกษุณีรูปเดียวถูกส่งไปจากสำนักภิกษุณีมากแห่ง เพื่อประโยชน์แก่โอวาท
ก็ดี. ในคำว่า ภิกฺขุนีสงฺโฆ วา น ปูรติ เป็นต้นนั้น มีพจนานุกรม
ดังต่อไปนี้
[ลำดับคำขอทั้งสองฝ่ายที่ครบสงฆ์และไม่ครบสงฆ์]
๑. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมไหว้เท้าของ
ภิกษุสงฆ์ และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้ยินว่า
พวกภิกษุณีจงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.
๒. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันไหว้เท้าภิกษุสงฆ์ และขอการ
เข้ามาเพื่อรับโอวาท, ได้ยินว่า ดิฉันจงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 六月 05, 2015

Phawana

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 34/106/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เทวทูตวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาพรหมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในพรหมสูตรที่ ๑ แห่งเทวทูตวรรคที่ ๔ ดังต่อ
ไปนี้ :-
บทว่า อชฺฌาคาเร ได้แก่ในเรือนของตน. บทว่า ปูชิตา โหนฺติ
ความว่า มารดาบิดาเป็นผู้อันบุตรปฏิบัติบำรุง ด้วยสิ่งของที่อยู่ในเรือน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศตระกูลที่บูชามารดาบิดา ว่าเป็น
ตระกูลมีพรหม (ประจำบ้าน) โดยมีมารดาบิดา (เป็นพรหม) อย่างนี้แล้ว
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงข้อที่มารดาบิดาเหล่านั้น เป็นบุรพาจารย์เป็นต้น
จึงตรัสคำมีอาทิว่า สปุพฺพาจริยกานิ (มีบุรพาจารย์) ดังนี้. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมา เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อให้สำเร็จ
ความเป็นพรหมเป็นต้น แก่ตระกูลเหล่านั้น. บทว่า พหุการา ได้แก่
มีอุปการะมากแก่บุตรทั้งหลาย. บทว่า อาปาทกา ได้แก่ ถนอมชีวิตไว้.
อธิบายว่า มารดาบิดาถนอมชีวิตบุตร คือเลี้ยงดู ประคบประหงม ได้แก่
ให้เป็นไปโดยต่อเนื่องกัน. บทว่า โปสกา ความว่า เลี้ยงดูให้มือเท้าเติบโต
ให้ดื่มเลือดในอก. บทว่า อิมสฺส โลกสฺส ทสฺเสตาโร ความว่า เพราะ
ชื่อว่า การที่บุตรทั้งหลายได้เห็นอิฎฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ในโลกนี้เกิด
มีขึ้น เพราะได้อาศัยมารดาบิดา เพราะฉะนั้น มารดาบิดาจึงชื่อว่า เป็นผู้แสดง
โลกนี้.
คำว่า พรหม ในบทคาถาว่า พฺรหมาติ มาตาปิตโร นี้ เป็นชื่อของ
ท่านผู้ประเสริฐสุด. พระพรหมจะไม่ละภาวนาอาทิผิด อักขระ ๔ อย่าง คือ เมตตา กรุณา
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 六月 04, 2015

Mung

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 4/349/23 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
(ยังไม่งอก) ก็หรือว่า เมื่อฝนตกแล้ว จักสำเร็จ (จักงอก) พืชแม้นี้ ก็ถึง
การนับว่าของสดเขียวเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น ภิกษุยืนอยู่ แม้ในนาเห็นปาน
นั้น ก็ไม่อำนวยการ. พึงยืนอำนวยการในที่ปราศจากของสดเขียวเท่านั้น.
ในเรื่องอำนวยการปราศจากของสดเขียวในนาที่หว่านพืชแล้ว แม้นั้น
มีกำหนดดังต่อไปนี้คือ ภิกษุนั่งอยู่ที่ข้างอกไก่ก็ดี ช่อฟ้าเรือนยอดก็ดี ยอดโดม
ข้างบนก็ดี มองดูทางริมขอบเชิงชายแห่งหลังคาเห็นคนผู้ยืนอยู่บนภูมิภาคใด.
และคนยืนอยู่ที่ภูมิภาคใด ย่อมเห็นภิกษุนั้น ผู้นั่งอยู่ข้างบน, พึงยืนอยู่ที่ภูมิภาค
นั้น, ย่อมไม่ได้เพื่อจะยืนอำนวยการในที่แม้เป็นที่ปราศจากของสดเขียว ภายใน
แห่งภูมิภาคนั้นเข้ามา เพราะเหตุไร ? เพราะว่าภูมิภาคนี้ เป็นโอกาสที่จะ
พังลงมาแห่งวิหารเมื่อจะพัง.
การมุงตรง ๆ ไปไม่อ้อม ชื่อว่า การมุงตามทางแถว ในคำว่า
มคูเคน ฉาเทนฺตสฺส นี้. การมุงตามทางแถวนั้น ย่อมมีได้ด้วยอิฐ ศิลา
และปูนขาว.
คำว่า เทฺว มคฺเค อธิฏฺหิตฺวา มีความว่า ทางแถว ๒ แถว
ถ้ามุงไม่ดี, ย่อมได้แม้เพื่อจะรื้อออกเสียแล้วให้มุงบ่อย ๆ เพราะฉะนั้น พึง
มุงเอง ๒ แถว อย่างที่ตนต้องการ แล้วแถวที่ ๓ พึงสั่งว่า ต่อไปนี้ จงมุง
อย่างนี้ แล้วหลีกไป.
บทว่า ปริยาเยน แปลว่า ด้วยการพอกเป็นชั้น ๆ (การมุงเป็นชั้น ๆ).
ก็การมุงอย่างนั้น ย่อมได้ด้วยหญ้าและใบไม้. เพราะเหตุนั้น ในการมุงแม้นี้
ภิกษุพึงมุงเอง ๒ ชั้น อย่างที่ตนต้องการแล้ว ชั้นที่ ๓ พึงสั่งว่า ทีนี้ จงมุง
อย่างนี้ แล้วหลีกไป ก็ถ้าว่า ไม่หลีกไป พึงยืนนิ่งเสีย. ก็การมุงทั้งหมดนี้
พึงทราบว่า ในเบื้องบนหลังคา. ภิกษุทั้งหลายเข้าใจว่า ก็วิหารที่มุงเป็นชั้น ๆ
ฝนจะไม่รั่วได้นาน จึงมุงอาทิผิด อักขระอย่างนี้.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 六月 03, 2015

Katha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 34/86/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาเสวิตัพพสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเสวิตัพพสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า เสวิตพฺโพ ได้แก่ พึงเข้าไปหา. บทว่า ภชิตพฺโพ ได้แก่
พึงสนิทสนม. บทว่า ปยิรูปาสิตพฺโพ ได้แก่ พึงเข้าไปบ่อย ๆ ด้วยการ
นั่งในที่ใกล้. บทว่า สกฺกตฺวา ครุกตฺวา ความว่า ทำทั้งสักการะและ
ความเคารพ.
ในบทว่า หีโน โหติ สีเลน เป็นต้น พึงทราบความต่ำ (กว่ากัน )
โดยเทียบเคียงกัน. อธิบายว่า ในบรรดาคนเหล่านั้น ผู้รักษาศีล ๑๐ ไม่ควร
คบคนรักษาศีล ๕. ผู้รักษาจาตุปาริสุทธิศีล ไม่ควรคบคนรักษาศีล ๑๐. บทว่า
อญฺญตฺร อนุทยา อิตร อนุกมฺปา ความว่า นอกจากจะเอ็นดู
จะอนุเคราะห์. เพราะว่า เพื่อประโยชน์ตนแล้ว ก็ไม่ควรคบคนเช่นนี้. แต่จะ
เข้าไปหาเขา โดยความเอ็นดู โดยอนุเคราะห์ก็ควร.
บทว่า สีลสามญฺญคตานํ สตํ ความว่า แก่เราทั้งหลายผู้ถึงความ
เป็นผู้มีศีลเสมอกันมีอยู่. บทว่า สีลกถาอาทิผิด อักขระ จ โน ภวิสฺสติ ความว่า กถา
ปรารภศีลนั่นแหละจักมีแก่เราทั้งหลาย ผู้มีศีลเสมอกันอย่างนี้. บทว่า สา จ
โน ปวตฺตนี ภวิสฺสติ ความว่า กถาของพวกเราทั้งหลาย ที่พูดกันแม้
ตลอดวันนั้น จักดำเนินไป คือไม่ขาดระยะ. บทว่า สา จ โน ผาสุ ภวิสฺสติ
ความว่า และสีลกถาที่ดำเนินไปตลอดทั้งวันนั้น จักเป็นการอยู่อย่างสำราญ
ของเราทั้งหลาย. แม้ในสมาธิปัญญากถา ก็มีนัยเหมือนกันนี้แหละ.
บทว่า สีลกฺขนธํ ได้แก่กองศีล. บุคคลเว้นธรรมที่ไม่เป็นสัปปายะ
ของศีล คือไม่เป็นอุปการะแก่ศีล ซ่องเสพ (ประพฤติ) ธรรมที่เป็นสัปปายะ
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 六月 02, 2015

Avigata

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 90/144/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๒. อารัมมณปัจจัย
[๔๒๕] ๑. ภาวนายปหาตัพพเหตุกธรรมที่เป็นเหตุ เป็น
ปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพเหตุกธรรมที่เป็นเหตุ ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ.
การนับจำนวนวาระในอนุโลม
[๔๒๖] ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ในสมนันตรปัจจัย
มี ๙ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัยมี ๙ วาระ ใน
นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๙
วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาหารปัจจัย
มี ๓ วาระ ฯลฯ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
ในอวิคตอาทิผิด สระปัจจัย มี ๙ วาระ.
ปัจจนียนัย
การยกปัจจัยในปัจจนียะ
[๔๒๗] ๑. ภาวนายปหาตัพพเหตุกธรรมที่เป็นเหตุ เป็น
ปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพเหตุกธรรมที่เป็นเหตุ ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ
[๔๒๘] ในนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
 
พระปิฎกธรรม