Fi
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 35/106/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นฝีอาทิผิด อักขระ โดยความเป็นสังกิเลส เศร้าหมอง
ย่อมยินดี. ภิกษุเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่ยินดีอย่างนี้แล.
บทว่า เนวตฺตานุกฺกํเสติ ความว่า ภิกษุย่อมไม่ทำการยกตนอย่าง
นี้ว่า เมื่อเราทำกรรมในวิปัสสนาว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตามาตลอด
๖๐ ปี ๗๐ ปี ถึงปัจจุบันนี้ ใครเล่าจะเป็นผู้เสมอเราดังนี้. บทว่า โน ปรํ
วมฺเภติ ความว่า ย่อมไม่ทำการข่มคนอื่นอย่างนี้ว่า แม้เพียงวิปัสสนาว่า
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ดังนี้ ก็ไม่มี ทำไมพวกเหล่านี้จึงละเลยกัมมัฏฐานเที่ยวไป
ดังนี้. บทที่เหลือมีนัยอันกล่าวแล้วทั้งนั้น.
บทว่า อิเม โข ภิกฺขเว จตฺตาโร อริยวํสา ความว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงยักเยื้องพระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ ๔ เหล่านี้
เป็นวงศ์ของพระอริยะ เป็นเชื้อสายของพระอริยะ เป็นทางของพระอริยะ เป็น
หนทางไปของพระอริยะ ดังนี้ บัดนี้ เมื่อทรงแสดงอิสระโดยภิกษุผู้บำเพ็ญ
มหาอริยวงศ์ จึงตรัสว่า อิเมหิ จ ปน ภิกฺขเว เป็นต้น . ในบทเหล่านั้น
บทว่า เสฺวว อรตึ สหติ ความว่า เธอเท่านั้น ย่อมย่ำยีครอบงำความ
ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง ความเอือมระอาเสียได้. บทว่า น ตํ อรติ สหติ
ความว่า ชื่อว่าความไม่ยินดี ในการเจริญอธิกุศล ในเสนาสนะที่สงัดนั้นใด
ความไม่ยินดีนั้น ย่อมไม่สามารถจะย่ำยีครอบงำภิกษุนั้นได้. บทว่า อรติร-
ติสโห ความว่า ภิกษุผู้มีปัญญาย่อมย่ำยี สามารถครอบงำความไม่ยินดี
และความยินดีในกามคุณ ๕.
บัดนี้ เมื่อทรงถือเอายอดธรรมด้วยคาถาทั้งหลาย จึงตรัสคำว่า นารตี
เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ธีรํ คือผู้มีความเพียร. บทว่า นารตี
ธีรสํหติ นี้เป็นคำกล่าวเหตุแห่งบทแรก. เพราะเหตุที่ความไม่ยินดี ไม่ย่ำยี
ภิกษุผู้มีปัญญา คือ ย่อมไม่สามารถจะย่ำยี คือ ครอบงำภิกษุผู้มีปัญญาได้
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论