Katha
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 34/86/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
อรรถกถาเสวิตัพพสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในเสวิตัพพสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า เสวิตพฺโพ ได้แก่ พึงเข้าไปหา. บทว่า ภชิตพฺโพ ได้แก่
พึงสนิทสนม. บทว่า ปยิรูปาสิตพฺโพ ได้แก่ พึงเข้าไปบ่อย ๆ ด้วยการ
นั่งในที่ใกล้. บทว่า สกฺกตฺวา ครุกตฺวา ความว่า ทำทั้งสักการะและ
ความเคารพ.
ในบทว่า หีโน โหติ สีเลน เป็นต้น พึงทราบความต่ำ (กว่ากัน )
โดยเทียบเคียงกัน. อธิบายว่า ในบรรดาคนเหล่านั้น ผู้รักษาศีล ๑๐ ไม่ควร
คบคนรักษาศีล ๕. ผู้รักษาจาตุปาริสุทธิศีล ไม่ควรคบคนรักษาศีล ๑๐. บทว่า
อญฺญตฺร อนุทยา อิตร อนุกมฺปา ความว่า นอกจากจะเอ็นดู
จะอนุเคราะห์. เพราะว่า เพื่อประโยชน์ตนแล้ว ก็ไม่ควรคบคนเช่นนี้. แต่จะ
เข้าไปหาเขา โดยความเอ็นดู โดยอนุเคราะห์ก็ควร.
บทว่า สีลสามญฺญคตานํ สตํ ความว่า แก่เราทั้งหลายผู้ถึงความ
เป็นผู้มีศีลเสมอกันมีอยู่. บทว่า สีลกถาอาทิผิด อักขระ จ โน ภวิสฺสติ ความว่า กถา
ปรารภศีลนั่นแหละจักมีแก่เราทั้งหลาย ผู้มีศีลเสมอกันอย่างนี้. บทว่า สา จ
โน ปวตฺตนี ภวิสฺสติ ความว่า กถาของพวกเราทั้งหลาย ที่พูดกันแม้
ตลอดวันนั้น จักดำเนินไป คือไม่ขาดระยะ. บทว่า สา จ โน ผาสุ ภวิสฺสติ
ความว่า และสีลกถาที่ดำเนินไปตลอดทั้งวันนั้น จักเป็นการอยู่อย่างสำราญ
ของเราทั้งหลาย. แม้ในสมาธิปัญญากถา ก็มีนัยเหมือนกันนี้แหละ.
บทว่า สีลกฺขนธํ ได้แก่กองศีล. บุคคลเว้นธรรมที่ไม่เป็นสัปปายะ
ของศีล คือไม่เป็นอุปการะแก่ศีล ซ่องเสพ (ประพฤติ) ธรรมที่เป็นสัปปายะ
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论