星期五, 七月 17, 2015

Wing Won

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   6/34/4  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ความรำพึงแห่งใจนี้ จึงเกิดขึ้นแก่พระพุทธ-
เจ้าทุกพระองค์ ?
ตอบว่า เพราะทรงพิจารณาชื่อที่พระธรรมเป็นคุณใหญ่ เป็นคุณเลิศ
ลอย เป็นของหนัก และเพราะเป็นผู้ใคร่จะทรงแสดงตามคำที่พรหมทูลวิงวอนอาทิผิด อาณัติกะ.
จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงทราบว่า เมื่อพระองค์ทรงรำพึง
อย่างนั้น พรหมจักมาทูลเชิญแสดงธรรม ที่นั้น สัตว์ทั้งหลายจักให้เกิดความ
เคารพในธรรม เพราะว่า โลกสันนิวาสเคารพพรหม. ความรำพึงนี้ เกิดขึ้น
เพราะเหตุ ๒ ประการนี้ ด้วยประการฉะนั้นแล.
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า อธิคโต โข มยายํ ตัดบทว่า
อธิคโต โข เม อยํ ความว่า ธรรมนี้ อันเราบรรลุแล้วแล.
บทว่า อาลยรามา มีความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมพัวพันในกามคุณ
๕ อย่าง เพราะเหตุนั้น กามคุณ ๕ เหล่านั้น ท่านจึงเรียกว่า อาลัย หมู่สัตว์
ย่อมรื่นรมย์ด้วยกามคุณเป็นที่พัวพันเหล่านั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้รื่นรมย์ด้วย
อาลัย. หมู่สัตว์ยินดีแล้วในกามคุณเป็นที่พัวพันทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อ
ว่าผู้ยินดีในอาลัย. หมู่สัตว์เพลินด้วยดีในกามคุณเป็นที่พัวพันทั้งหลาย เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้เพลินในอาลัย.
บทว่า ยทิทํ เป็นนิบาต ความแห่งบทว่า ยทิทํ นั้น หมายเอา
ฐานะ พึงเห็นอย่างนี้ว่า ยํ อิทํ หมายเอาปฏิจจสมุปบาท พึงเห็นอย่างนี้ว่า
โย อยํ.
บทว่า อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺสมุปฺปาโท มีอรรถวิเคราะห์ว่าธรรม
เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งธรรมเหล่านี้ ชื่อ อิทปฺปจฺจยา อิทปฺปจฺจยา นั่น
ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา ธรรมเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งธรรมเหล่านี้นั้น เป็นธรรม
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: